Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312259
ทั่วไป:13878763
ทั้งหมด:14191022
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 593, 594, 595, 596  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44579
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2025 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟ อนุมัติ ร่างแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการไฮสปีด 3 สนามบิน ปรับวิธีจ่ายเงิน
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17:02 น.

บอร์ดรถไฟ อนุมัติแก้สัญญา ‘ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน’ คาดลงนาม มิ.ย.นี้
เศรษฐกิจในประเทศ
วันศุกร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11:26 น.


บอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติแก้สัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้เกณฑ์ใหม่ 5 ข้อ เตรียมลงนามเดือนมิถุนายนนี้ คาดจะพร้อมให้บริการปี 2572... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
บอร์ดรถไฟ อนุมัติ ร่างฉบับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการไฮสปีด 3 สนามบิน ลงนามแก้สัญญา มิ.ย.68
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟท. ได้พิจารณาเห็นชอบอนุมัติ ร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ฉบับแก้ไข แล้ว โดยขั้นตอนต่อไป ทาง รฟท. จะส่งร่างแก้ไขสัญญาให้ คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(คณะกรรมการกำกับสัญญา) ตาม พ.ร.บ. อีอีซี ให้ความเห็นก่อน จากนั้นขั้นตอนต่อไป จะส่งร่างสัญญาฉบับแก้ไข ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อตรวจสอบตามขั้นตอน ซึ่งจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 30 วัน และจากนั้นเมื่อผ่านการตรวจสอบก็ต้องกลับมาที่บอร์ดรถไฟเพื่อรับทราบ

นายอนันต์ กล่าวว่า จากนั้นขั้นตอนต่อไป เมื่อ บอร์ดการรถไฟฯ รับทราบ ทาง รฟท. จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี พิจารณา ก่อนที่ส่งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ และ เมื่อ ครม. อนุมัติ คาดว่าจะมีการลงนามแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ภายในเดือนมิถุนายน 2568 และ สำหรับแผนก่อสร้าง หลังจากออก หนังสือแจ้งเริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) เอกชนที่จะรับผิดชอบการก่อสร้าง จะต้องเริ่มงานภายใน 30 วัน และ จะใช้เวลาขั้นออกแบบและก่อสร้างทั้งหมด 5 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือเริ่มแจ้งงาน และ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จและสามารถเปิดให้บริการในช่วงปี 2572



อย่างไรก็ตาม นายอนันต์ กล่าวว่า ที่ประชุม บอร์ดย้ำว่า หลังจากที่ผ่านบอร์ดไป จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ นายอนันต์ กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้าง รูปแบบเร่งด่วนที่เอกชนจะต้องดำเนินการ คือ เร่งออกแบบโครงสร้างร่างร่วม และเริ่มการก่อสร้างบริเวณใต้รันเวย์ ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา และบางซื่อ-ดอนเมือง บริเวณที่มี โครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟไทย-จีน(สัญญา 4-1 )


ทั้งนี้ นายอนันต์ กล่าวว่า หลักการการแก้สัญญามีทั้งหมด 5 ประเด็น ได้แก่ แก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้สัญญาใหม่ 5 ข้อ คือ

1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะ “แบ่งจ่าย” เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กันรวมเป็นเงินจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็นรัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ รฟท.ตรวจรับวงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้เอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิมรวมเป็นจำนวน 152,164 ล้านบาท เพื่อประกันว่างานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ รฟท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้นๆ

2. การกำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ (ARL) จะให้เอเชีย เอรา วัน แบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ออกเป็น 7 งวดเป็นรายปี ในจำนวนแบ่งชำระเท่าๆ กัน แต่บริษัทจะต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญากับ รฟท. และบริษัทยังต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ ที่ รฟท.จะต้องรับภาระด้วย

3. การกำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นผลทำให้เอเชีย เอรา วัน ได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกินกว่า 5.52% แล้วก็จะให้สิทธิ รฟท.เรียกให้บริษัทชำระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ตามแต่จะตกลงกันต่อไป

4. การ “ยกเว้น” เงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกความตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ (การรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ) เพื่อให้ รฟท.สามารถออกหนังสือ NTP ให้กับเอเชีย เอรา วัน ได้ทันทีหลัง 2 ฝ่ายลงนามในการแก้ไขสัญญา และ

5. ป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยทำการปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของ “เหตุสุดวิสัย” กับ “เหตุผ่อนปรน” ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการอื่น...
https://www.prachachat.net/economy/news-1782083
https://www.matichon.co.th/economy/news_5112365

Wisarut wrote:
คมนาคมเตรียมการเจรจาจีน ผลักดันความร่วมมือโครงการรถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/961505536173909
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44579
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2025 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

"พิชัย" สั่งเช็ค "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" หากพบเอี่ยวนอมินีจีน เจอโทษหนัก
หน้าเศรษฐกิจ-นโยบาย
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17:16 น.
อัปเดตล่าสุด : วันจันทร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา18:00 น.

"พิชัย" รมว.พาณิชย์ สั่งตรวจ "ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10" ลั่นพบเอี่ยวนอมินีพร้อมดำเนินคดีถึงที่สุดระวางโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 100,000-1,000,000 บาท
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากกรณีแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งผลกระทบให้ตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างถล่มทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น โดยพบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นคู่สัญญาในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นคนไทย 51% และคนจีน 49%



โดยมีข้อสงสัยว่าจะเป็นธุรกิจอำพรางของคนต่างด้าว (นอมินี) หรือไม่ จึงได้สั่งการให้ คณะทำงานปราบปรามสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ที่มีร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะทำงาน เร่งลงพื้นที่และตรวจสอบเรื่องธุรกิจนอมินี


เบื้องต้นได้รับรายงานจากร้อยตรีจักรา ว่า ได้ลงพื้นที่พร้อมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ณ ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ปรากฏว่า สำนักงานปิดเงียบ ไม่มีเจ้าที่ในสำนักงาน และไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ที่ให้ไว้ตอนจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่



ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะนัดประชุมหารือทั้งคณะในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 1 เมษายน 2568) เพื่อเร่งขยายผลติดตามเรื่องนี้โดยเร็วต่อไป


รมว.พาณิชย์ กล่าวต่อว่า ได้มอบให้คณะทำงานฯ เร่งดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายอย่างเข้มงวดเคร่งครัดและรัดกุม หากเป็นธุรกิจนอมินีก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษขั้นสูงสุด คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลของ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน คือ ประกอบกิจการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย และ วัตถุประสงค์ที่มาจากงบการเงินปีล่าสุด (2567)

ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการบริการด้านการทรัพยากรมนุษย์และรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการ ทางรถไฟ ทางรถสาธารณะ ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน กรรมการมีจำนวน 2 ราย คือ 1.นายชวนหลิง จาง (ถือหุ้น 49%) และ 2.นายโสภณ มีชัย (ถือหุ้น 51%)



นอกจากนี้ คณะทำงานฯ จะขยายผลการตรวจสอบนิติบุคคลอื่นซึ่งมีที่ตั้งเดียวกับบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัดรวมทั้งนิติบุคคลอื่นซึ่งมีกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10(ประเทศไทย) จำกัด เข้าไปเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยรวมอีก 13 ราย ต่อไปด้วย

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้ความสำคัญและได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาธุรกิจอำพรางของคนต่างด้าว เนื่องจากกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ยืนยันว่าการดำเนินงานครั้งนี้จะเป็นมาตรการที่ต่อเนื่องและเข้มข้น หวังให้สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในระยะยาว รมว.พณ.พิชัย กล่าวทิ้งท้าย
Wisarut wrote:
“สุริยะ” สั่งเช็กวัสดุสร้างรถไฟไฮสปีด “สัญญา 3-1” ใช้บริษัทกลุ่มเดียวกับสร้างตึก สตง. ถล่ม
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:01 น.

"สุริยะ" สั่งเช็กวัสดุ-ขั้นตอนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง "กทม.-โคราช" ทั้งระบบ เผยสร้างมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว เน้นสัญญา 3-1 ที่มีบริษัทจีนให้รู้ผลใน 2 วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:48 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 15:02 น.


https://www.dailynews.co.th/news/4561406/?
https://mgronline.com/business/detail/9680000031037?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44579
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2025 3:33 pm    Post subject: Reply with quote

‘สุริยะ’ ยืนยันรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 “ไทยคุมงานเองทั้งหมด”
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:22 น.

‘สุริยะ’ เผย ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 ช่วงโคราช-หนองคาย ลั่น ! “ไทยคุมงานเองทั้งหมด” ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% ยันมาตรฐานสากล สั่ง ร.ฟ.ท.-ขร. เข้มงวดมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ด้านผู้ว่าการการรถไฟฯ ชี้เฟส 1 ‘กรุงเทพฯ-โคราช’ โครงสร้างแข็งแรง ใช้เหล็ก ‘ทาทา สตีล’ คาดผลสอบเหล็ก สรุปภายใน 2 วัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568


เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ สปป.ลาว และจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค สำหรับการประกวดราคา ระยะที่ 2 นั้น จะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่าเป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

นายสุริยะกล่าวต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท. และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย

ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่าง ๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม


ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต อีกทั้งก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทย คือ ต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด

ขณะเดียวกัน เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน และขนาดเหล็ก เมื่อผ่านมาตรฐานแล้ว จึงจะทำการเทคอนกรีต

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2572 ทั้งนี้ ยืนยันว่าดำเนินการบนมาตรฐานที่สูง ขณะที่โครงสร้างเหล็กต่าง ๆ มีมาตรฐานตามระดับสากล และได้รับรายงานว่าโครงการนี้ใช้เหล็กของบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อีกทั้งการดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ทำการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว ขณะที่การตรวจสอบสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร วงเงิน 9,348 ล้านบาท มีผู้รับจ้างเป็น บจ.กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 ซึ่งขณะนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็ก รวมถึงวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบแล้ว คาดว่าจะทราบผลภายใน 2 วัน...
https://www.prachachat.net/general/news-1786299

“สุริยะ” เบรกจ้างจีน ดันรับเหมาไทยคุมงาน สร้างไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ : วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:11 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:19 น.

"สุริยะ" สั่งระงับข้อตกลงจ้างจีนตรวจสอบ เข็นผู้รับเหมาไทยคุมงาน ลุยไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 ช่วงโคราช-หนองคาย” จ่อเปิดประมูลงานโยธาเริ่ม พ.ค. - มิ.ย.นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 (เฟส 2) ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) นั้น

ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568 นี้ ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ กับ สปป.ลาวและจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค

สำหรับการประกวดราคาไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 นั้น ไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

“สุริยะ” เบรกจ้างจีน ดันรับเหมาไทยคุมงาน สร้างไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100% โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น

อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย

ส่วนเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง



ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่างๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม


นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศ 100% โดยเฉพาะในเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต

ขณะเดียวกันก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทยคือต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด

นายวีริศ กล่าวต่อว่า เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้างจะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน และขนาดเหล็ก เมื่อผ่านมาตรฐานแล้ว จึงจะทำการเทคอนกรีต

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. นั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่า จะแล้วเสร็จภายในปี 2572

ทั้งนี้ยืนยันว่าดำเนินการบนมาตรฐานที่สูง โดยโครงสร้างเหล็กต่างๆ มีมาตรฐานตามระดับสากล และได้รับรายงานว่า โครงการนี้ ใช้เหล็กของ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อีกทั้ง การดำเนินการก่อสร้างโครงการ ได้ทำการออกแบบ เพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว


ขณะที่การตรวจสอบ สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348 ล้านบาท โดยมีผู้รับจ้างเป็น บจ. กิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10 ปัจจุบันได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็ก รวมถึงวิศวกรทีมีความเชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบแล้ว คาดว่าจะทราบผลภายใน 2 วัน

รายงานข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเปิดขายซองเอกสารประกวดราคาในโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟไทยจีน ระยะที่ 2 คาดว่าจะเริ่มเปิดขายซองได้ในช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย.นี้

“ยืนยันว่าการยกเลิกข้อตกลงเจรจาจ้างฝ่ายจีนเข้ามาตรวจสอบแบบก่อสร้างโครงการดังกล่าว ไม่ได้กระทบต่อภาพรวมการดำเนินงาน เนื่องจากการพัฒนาโครงการรถไฟไทยจีน ระยะที่ 2 เดิมฝ่ายไทยต้องเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และลงทุนงานส่วนต่างๆ อยู่แล้ว แต่ทางฝ่ายจีนมีข้อเสนอที่จะเข้ามาช่วยตรวจสอบแบบเท่านั้น” รายงานข่าวจาก รฟท.กล่าว

รายงานข่าวจากรฟท.กล่าวต่อว่า วันนี้ได้เจรจาเป็นข้อยุติว่าฝ่ายไทยจะดำเนินการทั้งหมดเอง เนื่องจากวิศวกรไทยมีความสามารถและมีประสบการณ์ทำงานจากโครงการรถไฟไทยจีน ระยะที่ 1 ดังนั้นโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย จะถือได้ว่าเป็นโครงการไทยทำ 100%

"สุริยะ" ย้ำ! ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 ไทยคุมเอง ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% มาตรฐานสากล
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 - 3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568 เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ สปป.ลาว และจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค สำหรับการประกวดราคา ระยะที่ 2 นั้น จะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
นายสุริยะ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ รฟท. และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย
ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่าง ๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม
ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต อีกทั้งก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทย คือ ต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด ขณะเดียวกัน เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน และขนาดเหล็ก เมื่อผ่านมาตรฐานแล้ว จึงจะทำการเทคอนกรีต
ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2572 ทั้งนี้ ยืนยันว่า ดำเนินการบนมาตรฐานที่สูง ขณะที่โครงสร้างเหล็กต่าง ๆ มีมาตรฐานตามระดับสากล และได้รับรายงานว่าโครงการนี้ใช้เหล็กของบริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อีกทั้งการดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ทำการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว ขณะที่การตรวจสอบสัญญา 3 - 1 ช่วงแก่งคอย - กลางดง และปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร วงเงิน 9,348 ล้านบาท มีผู้รับจ้างเป็น บจ. กิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10 ซึ่งขณะนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็ก รวมถึงวิศวกรทีมีความเชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบแล้ว คาดว่าจะทราบผลภายใน 2 วัน
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/965518672439262
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44579
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2025 10:29 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ‘สุริยะ’สั่งคุมเข้มสร้างรถไฟไทย-จีนเฟส 2
หน้าโลกธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 06:10 น.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 (เฟส 2) ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) ว่าขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน จากนั้นจะเริ่มกระบวนการประกวดราคา และก่อสร้างภายในปี 2568 ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งทางรางความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ กับ สปป.ลาว และจีน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อภูมิภาค

สำหรับการประกวดราคา เฟส 2 นั้นจะไม่ใช้การประกวดราคาแบบนานาชาติ(International Bidding) จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย โดยยืนยันว่า เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560



อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 2 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างเอง รวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมทั้งจะใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100% โดยจะมีการตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรของไทย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล และฝ่ายจีนยอมรับได้ นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ร.ฟ.ท.และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำกับติดตามอย่างเข้มงวดให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย


ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีเหตุอาคารถล่ม ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ต้องทบทวนกระบวนการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างทั้งระบบ โดยเฉพาะงานโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างรถไฟความเร็วสูง โดยสั่งการให้ ร.ฟ.ท. ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด โดยเฉพาะการรับแรงสั่นสะเทือนและต้านทานแผ่นดินไหว โดยจะนำบทเรียนต่างๆ มาปรับใช้ในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มเติม

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศ 100% โดยเฉพาะเรื่องการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะต้องมีการตรวจรับรองคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ กล่าวคือ อาทิ การตรวจโรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต อีกทั้งก่อนที่จะนำเหล็กจากโรงงานมาใช้ ต้องมีการทดสอบคุณภาพของเหล็กตามข้อกำหนด โดยจะมีการทดสอบที่เพิ่มจากมาตรฐานของไทยคือต้องมีการทดสอบความล้าของเหล็กแต่ละขนาด ขณะเดียวกัน เมื่อนำเหล็กมาถึงโครงการก่อสร้าง จะต้องมีการเก็บ Tag ของเหล็กไว้ตรวจสอบ และจะต้องมีการสุ่มตัวอย่างโดยผู้ควบคุมงานและทำการทดสอบตามข้อกำหนด ขณะที่ ก่อนทำการเทคอนกรีต ผู้ควบคุมงานจะทำการสุ่มตรวจจำนวน และขนาดเหล็ก เมื่อผ่านมาตรฐานแล้ว จึงจะทำการเทคอนกรีต


ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่า จะแล้วเสร็จภายในปี 2572 ทั้งนี้ ยืนยันว่า ดำเนินการบนมาตรฐานที่สูง ขณะที่โครงสร้างเหล็กต่างๆ มีมาตรฐานตามระดับสากล และได้รับรายงานว่า โครงการนี้ ใช้เหล็กของ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) อีกทั้ง การดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ทำการออกแบบ เพื่อรองรับแผ่นดินไหวอยู่แล้ว ขณะที่การตรวจสอบ สัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. วงเงิน 9,348 ล้านบาท โดยมีผู้รับจ้างเป็น บจ. กิจการร่วมค้าITD - CREC No.10 ขณะนี้ได้ร่วมมือกับสถาบันเหล็ก รวมถึงวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญดำเนินการตรวจสอบแล้ว คาดว่า จะทราบผลภายใน 2 วัน

Wisarut wrote:
‘สุริยะ’ ยืนยันรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 “ไทยคุมงานเองทั้งหมด”
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:22 น.

https://www.prachachat.net/general/news-1786299

“สุริยะ” เบรกจ้างจีน ดันรับเหมาไทยคุมงาน สร้างไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ : วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:11 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพุธ ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 14:19 น.

"สุริยะ" ย้ำ! ไฮสปีดเทรนไทย-จีน เฟส 2 ไทยคุมเอง ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% มาตรฐานสากล
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/965518672439262
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48225
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/04/2025 11:49 am    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ความก้าวหน้างาน ประจำเดือนมีนาคม 2568
กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10
Apr 2, 2025


https://www.youtube.com/watch?v=sXDVg9uDyAQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48225
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/04/2025 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดกทม.-โคราชสร้าง12ปี+
Source - เดลินิวส์
Thursday, April 03, 2025 04:45

ปัญหารุมเร้าเคลียร์ไม่จบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 32 ผ่านระบบออนไลน์ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา 14 สัญญา ระยะทาง 253 กม. และเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. โดยปัจจุบันเฟส 1 ก่อสร้างเสร็จ 2 สัญญา กำลังก่อสร้าง 10 สัญญา และ 2 สัญญารอลงนามโดยได้กำชับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดไม่ให้โครงการฯ ล่าช้าไปกว่านี้

โครงการเฟส 2 รฟท. อยู่ระหว่างจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายใน 2-3 เดือนนี้ เริ่มก่อสร้างปี 2568 เรื่องการออกแบบการก่อสร้างที่ ฝ่ายจีนเสนอขอตรวจสอบแบบเพื่อให้โครงสร้างงานโยธาตลอดแนวกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่จากการพิจารณาร่วมกัน ยืนยันว่า คนไทยออกแบบได้อย่างมีมาตรฐานสากลอยู่แล้วและเชื่อมั่นในความสามารถของวิศวกรไทย อีกทั้งการตรวจแบบต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก การประชุมครั้งนี้ฝ่ายไทยจึงขอยุติเรื่องที่ฝ่ายจีนจะขอเข้ามาตรวจแบบก่อสร้าง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีอาคาร สตง. ที่มี บริษัทจีน (ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10) เป็นผู้รับเหมาร่วม และเฟส 2 จะไม่ประมูลแบบนานาชาติ จะใช้ผู้รับเหมาสัญชาติไทย ตามเงื่อนไข พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ฝ่ายไทยจะควบคุมงานการก่อสร้างรวมถึงออกแบบ และตรวจแบบเองทั้งหมด พร้อมใช้วัสดุภายในประเทศเกือบ 100% จะตรวจสอบทั้งระบบอย่างเข้มข้น หากบริษัทจีนเข้าร่วมประมูลแบบกิจการร่วมค้าจะหารือกับกระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ตรวจสอบบริษัทให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะผลงานที่ผ่านมาว่ามีการก่อสร้างที่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม่

ด้านนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า การกำหนดให้ใช้วัสดุในประเทศเกือบ 100% โดยเฉพาะการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ต้องตรวจรับรองคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่แหล่งผลิต จนถึงติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ สำหรับโครงการฯ เฟสที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดบริการภายในปี 2572

"ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" รายงานว่า โครงการฯ เฟส 1 เริ่มก่อสร้างปี 2560 เดือน ก.พ. 2568 ได้ผลงาน 41.70% ล่าช้า 28.06% 2 สัญญาที่รอลงนาม สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.21 กม. รอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่มีโครงสร้างทับซ้อนคาดว่าจะลงนามสัญญาฯ มิ.ย.นี้ และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ยังไม่ลงนามสัญญาจ้างกับบริษัท บุญชัยพาณิชย์(1979) จำกัด ผู้รับจ้าง รอคณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก ส่งหนังสือตอบกลับมายังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) บริษัท บุญชัย พาณิชย์(1979) ขยายยืนราคาเดิมที่ 10,325.90 ล้านบาท ไปอีก 2 เดือน ถึงเดือน พ.ค. 2568 จากการประเมินร่วมกันระหว่างฝ่ายไทย-จีน คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จและเปิดบริการปี 2572 ซึ่งเลื่อนมาเรื่อย ๆ จากแผนเดิมเปิดบริการปี 2565 ล่าสุดปรับเป็น 2571 ส่วนเฟส 2 คาดว่าจะเปิดประมูลเดือน พ.ค.-มิ.ย.2568 เริ่มก่อสร้างเดือน พ.ย. 2568 และเปิดบริการปี 2574.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 เม.ย. 2568 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48225
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2025 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงประเทศไทย High-speed rail construction project in Thailand
รถไฟไทยสดใส
Apr 5, 2025

จากนครราชสีมาถึงหนองคาย เฟสที่สอง จีนไม่ต้องตรวจแบบแล้วนะครับอาจจะพูดได้ว่าเราทำเองหมดจริงๆ


https://www.youtube.com/watch?v=I3Xeu5h1b8E
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48225
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2025 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ส่งวิศวกรตรวจสอบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
ช่อง 7HD วันที่ 5 เม.ย. 2568 | 12.57 น.

โครงสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่มีรอยแตกร้าว ออกแบบรองรับแผ่นดินไหว การรถไฟฯ ส่งวิศวกรตรวจยืนยันผลทดสอบ ยืนยันควบคุมตรวจสอบคุณภาพเหล็กตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ตรวจสอบถึงโรงงาน

วันนี้ (5 เม.ย.68) นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า หลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 ซึ่งสร้างความกังวลต่อประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน การรถไฟฯ ได้ส่งทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงสัญญาที่ 3-1 ซึ่งครอบคลุมงานโยธาบริเวณช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า อย่างละเอียดแล้ว ไม่มีรอยแตกร้าวหรือความเสียหายใด ๆ ทั้งนี้ โครงสร้างดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและการใช้งานตามมาตรฐานที่กำหนด

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหล็กจากโรงเก็บเหล็กมวกเหล็กและโรงเก็บเหล็กทับกวาง ที่ใช้ในการก่อสร้างของสัญญา 3-1 (แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า) เพื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพในห้องปฏิบัติการ โดยครอบคลุมการทดสอบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความต้านแรงดึงที่จุดคราก ค่าความต้านแรงดึงสูงสุด ค่าความยืด การทดสอบการดัดงอ และส่วนประกอบทางเคมี

ผลการทดสอบดังกล่าวพบว่า เหล็กทุกตัวอย่างมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดครบถ้วนในทุกด้าน โดยผ่านการทดสอบค่าทางวิศวกรรมและส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดสำหรับวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างระบบรางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบดังกล่าวยืนยันได้ว่า เหล็กที่นำมาใช้ในโครงการมีคุณภาพสูง แข็งแรง และมีความปลอดภัยต่อการใช้งานตามมาตรฐานสากล

นายวีริศ กล่าวว่า การรถไฟฯ มีมาตรการควบคุมคุณภาพเหล็กอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเหล็ก ที่ตรวจสอบตั้งแต่โรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต เมื่อตรวจสอบโรงงานได้คุณภาพแล้วจึงจะนำเหล็กเข้ามาใช้ในโครงการ นอกจากนี้ ขั้นตอนก่อนใช้งานหลังเหล็กมาถึงหน้างาน ผู้ควบคุมงานจะเก็บตัวอย่างเหล็กไปทดสอบอีกครั้งตามข้อกำหนด หากได้มาตรฐานก็จะนำเหล็กไปใช้งานและเทคอนกรีต ขณะที่ขั้นตอนระหว่างการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบ และควบคุมทุกกระบวนการ เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในโครงการมีคุณภาพปลอดภัย เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44579
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2025 12:28 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
การรถไฟฯ ส่งวิศวกรตรวจสอบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
ช่อง 7HD วันเสาร์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 12.57 น.

โครงสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่มีรอยแตกร้าว ออกแบบรองรับแผ่นดินไหว การรถไฟฯ ส่งวิศวกรตรวจยืนยันผลทดสอบ ยืนยันควบคุมตรวจสอบคุณภาพเหล็กตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ตรวจสอบถึงโรงงาน

รฟท.แจ้งผลตรวจสอบเหล็กรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 3-1 มีคุณภาพมาตรฐาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 17:06 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 17:59 น.


การรถไฟฯ แจง วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญฯ ยืนยัน ผลทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพเหล็ก ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 3-1 ที่มี "ITD - CREC No.10" เป็นคู่สัญญา เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดทุกขั้นตอน มั่นใจปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างและคุณภาพของเหล็กที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงสัญญาที่ 3-1 (งานโยธาบริเวณช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า) ที่มีกิจการร่วมค้า ITD - CREC No.10 เป็นผู้รับจ้าง อย่างเร่งด่วน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความกังวลต่อพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงสร้างฯ นั้น การรถไฟฯ ได้ส่งทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างอย่างละเอียดแล้ว โดยผลการตรวจสอบโครงสร้างหลักพบว่า ไม่มีรอยแตกร้าวหรือความเสียหายใดๆ ทั้งนี้ โครงสร้างดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและการใช้งานตามมาตรฐานที่กำหนด


นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหล็กจากโรงเก็บเหล็กมวกเหล็กและโรงเก็บเหล็กทับกวาง ที่ใช้ในการก่อสร้างของสัญญา 3-1 (แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า) เพื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพในห้องปฏิบัติการ โดยครอบคลุมการทดสอบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความต้านแรงดึงที่จุดคราก (Yield Strength), ค่าความต้านแรงดึงสูงสุด (Tensile Strength), ค่าความยืด (Elongation), การทดสอบการดัดงอ (Bending Test) และส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition)


ผลการทดสอบดังกล่าวพบว่า เหล็กทุกตัวอย่างมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดครบถ้วนในทุกด้าน โดยผ่านการทดสอบค่าทางวิศวกรรมและส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดสำหรับวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างระบบรางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบดังกล่าวยืนยันได้ว่า เหล็กที่นำมาใช้ในโครงการมีคุณภาพสูง แข็งแรง และมีความปลอดภัยต่อการใช้งานตามมาตรฐานสากล


นายวีริศ กล่าวว่า การรถไฟฯ มีมาตรการควบคุมคุณภาพเหล็กอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเหล็ก ที่ตรวจสอบตั้งแต่โรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต เมื่อตรวจสอบโรงงานได้คุณภาพแล้วจึงจะนำเหล็กเข้ามาใช้ในโครงการ นอกจากนี้ ขั้นตอนก่อนใช้งานหลังเหล็กมาถึงหน้างาน ผู้ควบคุมงานจะเก็บตัวอย่างเหล็กไปทดสอบอีกครั้งตามข้อกำหนด หากได้มาตรฐานก็จะนำเหล็กไปใช้งานและเทคอนกรีต ขณะที่ขั้นตอนระหว่างการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบ และควบคุมทุกกระบวนการ เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในโครงการมีคุณภาพปลอดภัย เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา

“การรถไฟฯ ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงโครงการก่อสร้างทุกโครงการ ภายใต้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างรอบด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยปลอดภัย มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการเดินทางในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ”
https://mgronline.com/business/detail/9680000032640

การรถไฟฯ แจง วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญฯ ยืนยัน ผลทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพเหล็ก ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดทุกขั้นตอน มั่นใจปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างและคุณภาพของเหล็ก
ที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงสัญญาที่ 3-1 ซึ่งครอบคลุมงานโยธาบริเวณช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า อย่างเร่งด่วน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความกังวลต่อพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงสร้างฯ นั้น การรถไฟฯ ได้ส่งทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างอย่างละเอียดแล้ว โดยผลการตรวจสอบโครงสร้างหลักพบว่า ไม่มีรอยแตกร้าวหรือความเสียหายใดๆ ทั้งนี้ โครงสร้างดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวและการใช้งานตามมาตรฐานที่กำหนด
นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหล็กจากโรงเก็บเหล็กมวกเหล็กและโรงเก็บเหล็กทับกวาง ที่ใช้ในการก่อสร้างของสัญญา 3-1 (แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า) เพื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมและมาตรฐานคุณภาพในห้องปฏิบัติการ โดยครอบคลุมการทดสอบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ค่าความต้านแรงดึงที่จุดคราก (Yield
Strength), ค่าความต้านแรงดึงสูงสุด (Tensile Strength), ค่าความยืด (Elongation), การทดสอบการดัดงอ (Bending Test) และส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition)
ผลการทดสอบดังกล่าวพบว่า เหล็กทุกตัวอย่างมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดครบถ้วนในทุกด้าน โดยผ่านการทดสอบค่าทางวิศวกรรมและส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดสำหรับวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างระบบรางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบดังกล่าวยืนยันได้ว่า เหล็กที่นำมาใช้ในโครงการมีคุณภาพสูง แข็งแรง และมีความปลอดภัยต่อการใช้งานตามมาตรฐานสากล
นายวีริศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรถไฟฯ มีมาตรการควบคุมคุณภาพเหล็กอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเหล็ก ที่ตรวจสอบตั้งแต่โรงงานเพื่ออนุมัติและรับรองการผลิต เมื่อตรวจสอบโรงงานได้คุณภาพแล้วจึงจะนำเหล็กเข้ามาใช้ในโครงการ นอกจากนี้ ขั้นตอนก่อนใช้งานหลังเหล็กมาถึงหน้างาน ผู้ควบคุมงานจะเก็บตัวอย่างเหล็กไปทดสอบอีกครั้งตามข้อกำหนด หากได้มาตรฐานก็จะนำเหล็กไปใช้งานและเทคอนกรีต ขณะที่ขั้นตอนระหว่างการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานจะตรวจสอบ และควบคุมทุกกระบวนการ เพื่อให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในโครงการมีคุณภาพปลอดภัย เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
“การรถไฟฯ ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รวมถึงโครงการก่อสร้างทุกโครงการ ภายใต้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างรอบด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยปลอดภัย มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการเดินทางในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ว่า คมนาคมเพื่อโอกาสประเทศไทย” ผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวทิ้งท้าย
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1099891512168839
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48225
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/04/2025 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มก่อสร้างเต็มกำลัง สัญญาที่3-1 ช่วงมวกเหล็ก (สระบุรี) รถไฟความเร็วสูงไทยจีน | High Speed Rail
nanny official
Apr 6, 2025


https://www.youtube.com/watch?v=_aBOlRanKvo

*** สัญญาที่3-1 ช่วงแก่งคอย - กลางดง และปางอโศก - บันไดม้า เป็นงานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างแบบยกระดับ ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร หรือประมาณ 18.77 ไมล์ งบประมาณ 9,330 ล้านบาท ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ITD-CREC ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 6.83 ค่ะ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 593, 594, 595, 596  Next
Page 594 of 596

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©