RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312283
ทั่วไป:13928066
ทั้งหมด:14240349
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2025 11:28 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'สุริยะ'สั่งรฟม.เจรจาแก้สัญญารถไฟฟ้า'สีน้ำเงิน-ชมพู-เหลือง'
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, February 14, 2025 05:07

แบ่งผลประโยชน์รัฐเพิ่มชี้นโยบาย 20 บาททำเอกชนมีรายได้เพิ่ม


ลิงก์มาแล้ว

“สุริยะ”สั่งรฟม.เจรจาแก้สัญญารถไฟฟ้า”น้ำเงิน-ชมพู-เหลือง”แบ่งผลประโยชน์รัฐเพิ่ม ชี้นโยบาย 20 บาท ทำเอกชนมีรายได้เพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 16:48 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 00:02 น.

KEY POINTS
• เหตุผลการแก้ไขสัญญา เนื่องจากนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
• รัฐบาลต้องการปรับสัดส่วนการแบ่งปันรายได้ให้รัฐได้รับส่วนแบ่งเพิ่มขึ้น
• คาดว่า รฟม. จะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด รฟม. ในเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนเสนอ ครม. อนุมัติต่อไป
https://mgronline.com/business/detail/9680000014585
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2025 11:31 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
20 บ.ใช้พุ่งรายได้เพิ่มไม่ต้องชดเชย
Source - เดลินิวส์
Monday, February 10, 2025 04:37

'สีแดง-ม่วง'เลยจุดคุ้มทุน อีก7เดือนทุกสีเข้านโยบาย

Source: Daily News Newspaper, February 11, 2025 (Afternoon Edition)


รายได้เกินเป้า! รถไฟฟ้า 20 บาท “สีแดง-ม่วง” ผู้โดยสารเพิ่มต่อเนื่อง "สุริยะ" แย้มรัฐอาจไม่ต้องชดเชย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 10:02 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 15:30 น.

1,476
KEY POINTS
• ยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
• รายได้เพิ่มขึ้น 12.28% คาดว่าปี 2568 รัฐบาลอาจไม่ต้องชดเชยค่าใช้จ่ายส่วนต่าง
• เดือนกันยายนนี้จะขยายโครงการไปยังทุกเส้นทางรถไฟฟ้า




“สุริยะ” สุดปลื้ม! รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายดันยอดผู้โดยสาร “สายสีม่วง-สีแดง” โตต่อเนื่อง เผยแนวโน้มดี ปี 68 รัฐอาจไม่ต้องอุ้มค่าชดเชยส่วนต่าง หลังพบกวาดรายได้เพิ่ม 12.28% ยัน ก.ย.นี้ใช้ทุกเส้นทาง ลดภาระค่าเดินทางให้ประชาชนตามเป้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่ในปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 1 ปี 2 เดือนในโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยจากผลการดำเนินนโยบายพบว่าได้ผลตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี สะท้อนได้จากข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาที่มีสถิติการมีผู้ใช้บริการสูงที่สุด (นิวไฮ) ตั้งแต่เปิดให้บริการ


ad

สำหรับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ยืนยันว่าจะประกาศใช้ในโครงการรถไฟฟ้าทุกสี ทุกสาย และทุกเส้นทางภายในเดือนกันยายน 2568 ตามที่เคยกำหนดไว้ ภายใต้การขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. …. ผ่านการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ที่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการ โดยคาดว่าจะประกาศราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปี 2568 และเสนอประกาศกฎหมายลำดับรองภายในเดือนกันยายน 2568 อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า เมื่อนโยบายนี้ครอบคลุมในทุกเส้นทางจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้รายงานผลการดำเนินนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2567 ปริมาณผู้โดยสารยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ รถไฟฟ้าสายสีแดงมีปริมาณผู้โดยสาร 1,027,458 คน เพิ่มขึ้น 24.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีปริมาณผู้โดยสาร 2,026,981 คน เพิ่มขึ้น 4.89% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทั้ง 2 สายดังกล่าวมีปริมาณผู้โดยสารรวม 3,054,439 คน เพิ่มขึ้น 10.86% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่รายได้จากการดำเนินนโยบายฯ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2567) โดยทั้ง 2 สายดังกล่าวมีรายได้รวมกันอยู่ที่ 49.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น รถไฟฟ้าสายสีแดง ก่อนดำเนินนโยบายฯ มีรายได้ 15.97 ล้านบาท เมื่อดำเนินนโยบายแล้วมีรายได้ 20.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 4.07 ล้านบาท ด้านรถไฟฟ้าสายสีม่วง ก่อนดำเนินนโยบายฯ มีรายได้ 28.48 ล้านบาท เมื่อดำเนินนโยบายฯ แล้วมีรายได้ 29.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.39 ล้านบาท



นายสุริยะกล่าวว่า จากแนวโน้มปริมาณผู้โดยสารที่ตอบรับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่รัฐบาล และกระทรวงคมนาคมได้ช่วยลดภาระค่าครองชีพในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชน อีกทั้งยังจูงใจให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และสร้างโอกาสในการเดินทางอย่างเท่าเทียมของคนทุกกลุ่มด้วย

นอกจากนี้ เมื่อมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วง และรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีรายได้เท่ากับหรือมากกว่าช่วงก่อนเริ่มนโยบายภายในปี 2568 หรือเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ จากเดิมที่คาดว่าภายในระยะ 2 ปี 7 เดือนหลังจากเริ่มนโยบาย ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐอาจจะไม่ต้องชดเชยส่วนต่างรายได้ให้ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวแล้ว
https://mgronline.com/business/detail/9680000014351
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2025 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

รายได้เกินเป้า! รถไฟฟ้า 20 บาท “สีแดง-ม่วง” ผู้โดยสารเพิ่มต่อเนื่อง "สุริยะ" แย้มรัฐอาจไม่ต้องชดเชย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 10:02 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 15:30 น.

กทม.พร้อมร่วมนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ปัดแก้สัญญา”บีทีเอส”แบ่งรายได้ใหม่
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Monday, February 17, 2025 16:25
กทม.พร้อมร่วมนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ปัดแก้สัญญาสัมปทานสีเขียวกับ “บีทีเอส” ชี้เงื่อนไข-ต้นทุนต่างกัน รอกรุงเทพธนาคมตรวจสอบตัวเลข ให้รัฐบาลกลางชดเชย

รายงานข่าว แจ้งว่า จากกรณีที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบาย ให้แก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง โดยต้องมีการเจรจาแบ่งผลประโยชน์กับเอกชนใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์กับภาครัฐเพิ่มตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มจากการเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าภายใต้การกํากับของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีจำนวน 3 สัญญา คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมขนส่งทางราง (ขร.) จัดทําข้อกําหนดทางธุรกิจ (Business Rule) เช่น เงื่อนไขการเดินทาง การคิดอัตราค่าโดยสาร การจัดแบ่งและชดเชยรายได้ และแหล่งเงินชดเชย เป็นต้น และระยะต่อไป รฟม. จะเข้าเจรจากับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าเพื่อแก้ไขสัญญาสัมปทาน

โดยคาดว่าภายในเดือนสิงหาคม 2568 จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ หลังจากนั้น รฟม. จะดำเนินการลงนามแก้ไขสัญญาฯ ดังนั้นกระบวนการต่างๆ จะแล้วเสร็จทั้งหมด ก่อนที่มาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะเริ่มภายในช่วงเดือนกันยายน 2568 นั้น

รายงานข่าวระบุว่า ในส่วนของ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ทำสัญญาสัมปทานกับทาง กรุงเทพมหานคร(กทม.) นั้น กระทรวงคมนาคม จะมีหนังสือแจ้งนโยบายดังกล่าวไปยังกทม. เพื่อให้ร่วมดำเนินการ นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าการจัดเก็บค่าโดยสาร 20 บาทจะทำให้ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30% เช่นกัน

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมคาดหวังให้ผู้ว่าฯกทม.ไปเจรจากับ บีทีเอส ตามเงื่อนไขที่ระบุใน พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 ส่วนรายละเอียด ทางกทม.อาจต้องพิจารณา เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนสัมปทาน ทางบีทีเอสเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและบริหาร 100% ซึ่งต่างจากรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ที่รัฐลงทุนงานโยธา

ทั้งนี้ เมื่อเจรจาการปรับเปลี่ยนการแบ่งผลประโยชน์ ยุติ กทม.ต้องทำหนังสือรายงานไปยังคณะกรรมการกำกับโครงการฯ ที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานเพื่อดำเนินการตามนโยบาย 20 บาทของรัฐบาลต่อไป

@กทม.ยันไม่แก้สัญญาสัมปทาน

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมเคยแจ้งให้ทราบแล้วว่า จะทำนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายภายในเดือน ก.ย. 2568 โดยให้ กทม.แจ้งว่า จะดำเนินการเข้าร่วมนโยบายนี้อย่างไร ซึ่ง กทม.ยืนยันไปแล้วว่า การใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสายของกระทรวงคมนาคม กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สามารถทำได้ แต่จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับตัวสัญญาสัมปทานเด็ดขาด และกทม.ยืนยันว่าจะไม่แก้สัญญาหรือทบทวนสัญญาสัมปทานใหม่แน่นอน

ดังนั้น หนทางที่จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวร่วมในมาตรการนี้ได้คือ รัฐบาลกลางจะต้องออกงบประมาณอุดหนุนชดเชยเท่านั้น

แหล่งข่าวจากกทม.กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ไม่รวมส่วนต่อขยาย) อัตราค่าโดยสารเฉลี่ย อยู่ที่ 33 บาท/คน โดยมีส่วนต่างที่รัฐบาลต้องอุดหนุน 13 บาท/คน ซึ่งหากเก็บราคาที่ถูกลง จะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นแน่นอน ดังนั้น ตอนนี้ กทม.กำลังศึกษาความเป็นไปได้ว่า หากเข้าร่วมมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทแล้ว จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเท่าไร และต้องหาเงินมาชดเชยเท่าไร

ส่วนโครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่งและช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต - คูคตและช่วงแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ ไม่นำมาคำนวนค่าโดยสาเรฉลี่ย เนื่องจาก ปัจจุบันส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม.เก็บค่าโดยสารที่ 15 บาท ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนจริงอยู่แล้ว และมีผลดำเนินงานที่ขาดทุน

ดังนั้นการที่กทม.เข้าร่วมมาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จึงต้องมาคิดว่า รัฐบาลต้องชดเชยให้กทม.เท่าไรในส่วนนี้ เพราะต้นทุนเดินรถส่วนสัมปทานหลักและส่วนต่อขยายไม่เท่ากัน แต่มาตรการดังกล่าวมันจะต้องครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งได้มอบหมายให้บจ.กรุงเทพธนาคม (KT) ไปศึกษาตัวเลขที่ต้องชดเชยให้กทม. คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ โดยปัจจุบันรายได้การเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนสัมปทานหลักอยู่ที่ 25 ล้านบาท/วัน

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีทองช่วงกรุงธนบุรี - คลองสาน นั้น ปัจจุบันกทม.เก็บค่าโดยสารที่ 16 บาทตลอดสาย เป็นราคาที่ต่ำมากอยู่แล้ว คงไม่จำเป็นต้องร่วมในมาตรการ 20 บาท แต่อย่างใด

Bangkok Ready to Join 20-Baht Electric Train Policy, Refuses to Amend Green Line Contract with BTS
Source - Manager Online
Monday, February 17, 2025 4:25 PM

Bangkok is ready to participate in the 20-baht electric train fare policy but refuses to amend the Green Line concession contract with BTS, citing differences in conditions and costs. They are awaiting Bangkok Thanakom's review of the figures for government compensation.

A news report states that in the case of Mr. Suriya Jungrungreangkit, Deputy Prime Minister and Minister of Transport's policy to amend the concession contract to drive the 20-baht flat fare policy for electric trains, there must be a negotiation to redistribute benefits with the private sector. This is to increase benefits for the government in accordance with the increased revenue from the increased number of passengers from the 20-baht flat fare. For the electric trains under the supervision of the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA), there are 3 contracts: the Blue Line, the Yellow Line, and the Pink Line.

The Department of Rail Transport (DRT) has been assigned to prepare business rules such as travel conditions, fare calculation, revenue allocation and compensation, and sources of compensation, etc. In the next stage, the MRTA will negotiate with the private sector that has been granted the electric train concession to amend the concession contract.

It is expected that by August 2025, it will be submitted to the Cabinet for consideration and approval. After that, the MRTA will proceed to sign the contract amendment. Therefore, all the processes will be completed before the 20-baht flat fare measure for electric trains will begin within September 2025.

The news report states that for the Green Line electric train, which Bangkok Mass Transit System Public Company Limited (BTSC) has a concession contract with Bangkok Metropolitan Administration (BMA), the Ministry of Transport will send a letter notifying the policy to the BMA to participate in the government's 20-baht flat fare policy, which is expected to increase the number of passengers on the Green Line by at least 30% as well.

Therefore, the Ministry of Transport expects the Bangkok Governor to negotiate with BTS according to the conditions specified in the Joint Venture Act B.E. 2562. As for the details, the BMA may have to consider that the Green Line concession section is 100% invested and managed by BTS, which is different from the Blue Line electric train, where the government invests in civil works.

When the negotiation on the adjustment of benefit sharing is concluded, the BMA must submit a report to the Project Supervision Committee, chaired by the Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Interior, to proceed according to the government's 20-baht policy.

@BMA insists on not amending the concession contract

A source from the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) said that previously the Ministry of Transport had informed them that they would implement the 20-baht flat fare policy for electric trains within September 2025, asking the BMA to inform them how they would participate in this policy. The BMA has confirmed that the Ministry of Transport's 20-baht flat fare policy can be implemented with the Green Line electric train, but it must not interfere with the concession contract in any way, and the BMA insists that it will not amend the contract or review the new concession contract.

Therefore, the way to make the Green Line electric train participate in this measure is for the central government to provide subsidy compensation.

A source from the BMA continued that currently, the average fare for the Green Line electric train (excluding extensions) is 33 baht/person, with a difference that the government must subsidize 13 baht/person. If the price is reduced, it will definitely increase the number of passengers. Therefore, the BMA is currently studying the feasibility of how many more passengers will there be if they participate in the 20-baht electric train measure and how much money will have to be compensated.

As for the Green Line extension projects, section 1 On Nut - Bearing and the Taksin Bridge - Bang Wa section, and extension section 2 Mo Chit - Khu Khot and Bearing - Kheha Samut Prakan section, they are not included in the average fare calculation because currently, the BMA collects a 15-baht fare for the Green Line extension, which is less than the actual cost, and the operating results are in a loss.

Therefore, the BMA's participation in the 20-baht flat fare measure for electric trains must be considered how much the government will have to compensate the BMA in this part because the operating costs of the main concession section and the extension section are not equal, but the measure must cover all sections. Bangkok Thanakom Company Limited (KT) has been assigned to study the figures to be compensated to the BMA, which is expected to take about 1 week. Currently, the revenue from the operation of the Green Line electric train in the main concession section is 25 million baht/day.

As for the Gold Line electric train from Krung Thon Buri - Khlong San, the BMA currently collects a flat fare of 16 baht, which is a very low price. There is no need to participate in the 20-baht measure.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2025 11:38 am    Post subject: Reply with quote

M-MAP 2 พลิกโฉมกรุงเทพฯ รถไฟฟ้า 3 สายใหม่กำลังมา! เปิดโครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม M-MAP 2 ขยายเส้นทางเดิม-เพิ่ม 3 เส้นใหม่ครอบคลุมทั่วกรุง
ทีมเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 04:09 น.


กรมขนส่งทางราง” กางแผนคืบหน้ารถไฟฟ้าสายใหม่ ดัน “สายสีเงิน-สีเทา-สีฟ้า เปิดโครงข่ายรถไฟฟ้าใยแมงมุม M-MAP 2 ขยายเส้นทางเดิม-เพิ่ม 3 เส้นใหม่ครอบคลุมทั่วกรุง

“ทีมเศรษฐกิจ” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีโอกาสสัมภาษณ์ “นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพื่อมาตอบข้อสงสัยทั้งหมดนี้ และฉายภาพให้เห็นชัดเจนในสิ่งที่รัฐบาลมีแผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะดำเนินการอย่างไรในอนาคต

จาก “สารตั้งต้น” ที่ต้องการช่วยให้ประชาชนเดินทางด้วย “ระบบขนส่งสาธารณะ” ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยลดฝุ่นพิษ PM.2.5 จากการจราจรที่ติดขัดในช่วงที่ผ่านมา

กระทรวงคมนาคม จึงได้เร่งการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง โดย “นโยบายเรือธง” ที่ต้องการเร่งดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว คือการสร้างระบบตั๋วร่วม ทำให้ประชาชนมีตั๋วใบเดียว แต่สามารถเดินทางขึ้นรถ ลงเรือ ต่อรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสีทุกสายทาง” ที่เจ้ากระทรวงลั่นวาจาไว้ว่า จะต้องเกิดขึ้นภายในเดือน ก.ย.68 นี้

ต่อเนื่องด้วยการเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายทางต่างๆที่คั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ รวมทั้งจัดหารถไฟฟ้าเพื่อนำมาวิ่งในเส้นทางที่ยังติดขัดไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากในปัจจุบัน แม้ว่าโครงข่ายรถไฟฟ้า ที่รัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการมาแล้ว จะมีมากถึง 13 เส้นทาง รวม 194 สถานี ระยะทางรวมกว่า 276.84 กิโลเมตร (กม.) แต่หากเทียบกับแผนพัฒนารถไฟฟ้าทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีแผนดำเนินการสร้างรวมกว่า 553.41 กม. ถือว่าทำได้ 50% กว่าเท่านั้น

และขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการเดินหน้าแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M-MAP 2) เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในสายทางที่จำเป็นต้องก่อสร้างเร่งด่วน และการเตรียมความพร้อมขยายโครงข่ายใยแมงมุมของระบบรถไฟฟ้าไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยขยายเส้นทางที่มีอยู่แล้วให้ซอกซอนเข้าไปรองรับประชาชนในพื้นที่กว้างมากขึ้น และเพิ่มสายทางใหม่อีก 3 สายทาง



ซึ่งหลังจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.67 มีมติเห็นชอบ ให้โอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ จากเดิมที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปยังกระทรวงคมนาคม 3 โครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีเงิน (บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) รถไฟฟ้าสายสีเทา (ระยะที่ 1) (วัชรพล-ทองหล่อ) และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)

คนในพื้นที่ต่างตื่นตัวและตั้งตารอว่า ทั้ง 3 สายทางใหม่นี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และใช้เวลานานไหมถึงจะได้ใช้บริการ

“ทีมเศรษฐกิจ” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีโอกาสสัมภาษณ์ “นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพื่อมาตอบข้อสงสัยทั้งหมดนี้ และฉายภาพให้เห็นชัดเจนในสิ่งที่รัฐบาลมีแผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางที่จะดำเนินการอย่างไรในอนาคต

เดินหน้ารถไฟฟ้า 20 บาท–เร่งตั๋วร่วม
“ภายใต้แผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง กระทรวงคมนาคมเร่งเดินหน้านโยบายเรือธงของรัฐบาล โดยเฉพาะ “นโยบาย 20 บาทตลอดสาย” ที่จะต้องเกิดขึ้นทุกสาย ทุกสี ภายในเดือน ก.ย.68 ซึ่งคาดว่าจะทำได้อย่างแน่นอน” นายพิเชฐ ย้ำเป้าหมาย ซึ่งเป็นนโยบายที่คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯและปริมณฑลให้ความสนใจอย่างยิ่งให้ “ทีมเศรษฐกิจ” ฟัง

โดยในเบื้องต้นจะดำเนินนโยบายนี้ในระยะเวลา 2 ปี เนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้เตรียมนำเงินจากกองทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาอุดหนุน ซึ่งนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน กระตุ้นให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ขณะเดียวกันจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 และลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมืองด้วย



ขณะที่การเร่งรัดในส่วนของ “ตั๋วร่วม” ที่จะนำมาใช้เพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อด้วยบัตรใบเดียว แต่สามารถขึ้นเชื่อมต่อได้ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ นั้น ขณะนี้มี ความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... อย่างมาก เนื่องจากได้ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญ

“ทั้งสองร่างมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง เนื่องจากเป็นกฎหมายกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งทางราง ด้วยการนำเทคโนโลยีบัตรเดียวมาใช้ในการชำระค่าโดยสารขนส่งสาธารณะทุกระบบ ทั้งระบบราง รถ และเรือ เป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน”

โดย ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ได้มีการประชุมพิจารณามาแล้ว 13 ครั้ง และได้พิจารณาครบทุกมาตรา เหลือเพียงบทเฉพาะกาล ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ก็อยู่ระหว่างการพิจารณา และมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน คาดว่าจะเสร็จได้ทันกับการใช้บังคับตามนโยบายรัฐบาลใน เดือน ก.ย.68 ได้เช่นเดียวกัน



ส่องโครงข่ายใยแมงมุม M–MAP 2
ขณะที่การเร่งรัดการก่อสร้างและการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายทางต่างๆนั้น นายพิเชฐ ขยายความว่า ขณะนี้การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯและปริมณฑลกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะผุดโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆเพิ่มเติม โดยให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปศึกษาและจัดทำรายละเอียด ภายใต้ แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M–MAP 2) เพื่อขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมมากขึ้น

โดย M–MAP 2 จะถือเป็นโรดแม็ปสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของระบบรางในอนาคต โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดภาระจราจรบนถนน และทำให้การขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกหลักของประชาชน ซึ่งจะแบ่งโครงข่ายรถไฟฟ้าออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ

1.กลุ่ม A1 : เส้นทางที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและพร้อมดำเนินการทันที มี 4 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 2.รถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา 3.รถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางตลิ่งชัน-ศิริราช 4.รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เส้นทางแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)


2.กลุ่ม A2: เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน และคาดว่าดำเนินการภายในปี 72 จำนวน 6 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายสีแดง บางซื่อ-หัวลำโพง 2.สายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส 3.สายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน 4.สายสีแดง วงเวียนใหญ่-บางบอน5.สายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ และ 6.รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ


3.กลุ่ม B : เส้นทางที่มีศักยภาพ ซึ่งผ่านการศึกษาความคุ้มค่าไปแล้ว รวมถึงเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าและรอการพิจารณาเพิ่มเติมในปี 72 มีทั้งหมด 9 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทาง ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร 2.รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต-วงแหวนรอบนอก 3.รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลำลูกกา 4.รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง-ท่าพระ 5.รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ 6.รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน-มหาชัย-ปากท่อ 7.รถไฟฟ้าสายสีเขียว เคหะฯ-ตำหรุ 8.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 และ 9.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน-รัตนาธิเบศร์

และ 4.กลุ่ม C : เส้นทาง Feeder รองรับโครงข่ายหลัก เป็นโครงการที่จะมีการพัฒนาเส้นทางเพื่อพัฒนาโครงการตามแผนการพัฒนาโครงข่ายขนส่งมวลชนระบบราง คาดว่าจะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 343.7 กม. โดยแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ 1.ปี 68 การให้บริการรถไฟฟ้ามีระยะทาง 279.84 กม. มีจำนวนสถานี 167 สถานี 2.ปี 73 การให้บริการรถไฟฟ้ามีระยะทาง 387.81 กม. มีจำนวนสถานี 243 สถานี 3.ปี 78 การให้บริการรถไฟฟ้ามีระยะทาง 449.02 กม. มีจำนวนสถานี 295 สถานี และ 4.ปี 83 การให้บริการรถไฟฟ้ามีระยะทาง 581.37 กม. มีจำนวนสถานี 377 สถานี

ลุยเฟส 2 คัดเร่งด่วน 4 เส้นทาง
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้พิจารณาโครงการเร่งด่วน 4 เส้นทางหลักที่ต้องเร่งดำเนินการทันที ซึ่งทั้ง 4 เส้นทางก็อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M-MAP2) ประกอบด้วย 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางนี้ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 68 และเปิดให้บริการปี 71

โครงการที่ 2 และ 3 คือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงศิริราช–ตลิ่งชัน–ศาลายา ระยะทาง 20.50 กม. ซึ่งเดิมโครงการนี้แบ่งเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ ตลิ่งชัน–ศิริราช และตลิ่งชัน–ศาลายา แต่ขณะนี้ได้มีการรวมเป็นโครงการเดียว โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอ ครม. พิจารณา และโครงการที่ 4 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย–บึงกุ่ม–ลำสาลี ระยะทาง 22.10 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ นโยบายค่าโดยสาร 20 บาท และบูรณาการร่วมกับทางด่วน N2

โดยทั้ง 4 โครงการนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการขยายโครงข่ายระบบรางให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่สะดวกและเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ ขณะนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าได้อย่างราบรื่น และพร้อมรองรับความต้องการเดินทางของประชาชนในอนาคต


อัปเดตรถไฟฟ้าใหม่ 3 สายทาง
อธิบดี พิเชฐ ยังได้อัปเดตต่อถึงความคืบหน้าของแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลว่า นอกเหนือจากโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสี หลากเส้นทางที่รัฐบาลได้สร้างและเปิดให้บริการมาต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 13 เส้นทาง รวม 194 สถานี มีระยะทางรวมกว่า 276.84 กม. ซึ่งต้องเร่งดำเนินการเพื่อขยับจากที่แล้วเสร็จในขณะนี้กว่า 50% ของแผนพัฒนารถไฟฟ้าทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลให้เพิ่มขึ้นเป็น 100% ตามแผนพัฒนาที่จะต้องดำเนินการสร้างรวมกว่า 553.41 กม.

ขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ โอนภารกิจรถไฟฟ้าสายใหม่ ไปยังกระทรวงคมนาคม ทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่
1.รถไฟฟ้าสายสีเงิน (บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
2.รถไฟฟ้าสายสีเทา (ระยะที่ 1) (วัชรพล-ทองหล่อ)
3.รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)

และการผลักดัน แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M-MAP 2) ที่ทุกคนจับตามองว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน

“ถือเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อให้การเดินทางที่ไร้รอยต่อ เนื่องจากการโอนภารกิจความรับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ ถือเป็น 3 โครงการที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M– MAP 2) และการโอนความรับผิดชอบ ก็เพื่อให้ การพัฒนาโครงข่ายระบบรางมีความสอด คล้อง และเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

โดยจากเดิมโครงข่ายรถไฟฟ้าในปัจจุบันจะเป็นเส้นทางหลักที่วิ่งเชื่อมต่อจากทางเหนือของ กรุงเทพฯไปทางใต้ของกรุงเทพฯ จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก แต่โครงข่ายรถไฟฟ้า M-MAP 2 ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการสร้างโครงข่ายที่มีการเชื่อมต่อจากชุมชน จากเส้นทางหลักไปยังเส้นทางรอง และเข้าไปเชื่อมต่อชุมชน เพื่อให้โครงข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทุกพื้นที่ในการเดินทาง


ดังนั้น พันธกิจหลัก และเป้าหมายสำคัญของการโอนภารกิจครั้งนี้ คือ การบูรณาการระบบขนส่งสาธารณะให้สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ประชาชน ซึ่งล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังดำเนินการรวบรวมข้อมูลร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. เพื่อทำรายละเอียดของโครงการ ทั้งการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเดิม และจุดเชื่อมระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ ก่อนที่จะเข้าไปสู่การเดินหน้าร่างข้อกำหนดและเงื่อนไขของงาน (TOR) ต่อไป

“จากการวางแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางของไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ถือได้ว่าอนาคตของระบบขนส่งทางรางไทย กำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และพร้อมเป็นโครงข่ายหลักที่เชื่อมโยงเมือง และผู้คนเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง

กระทรวงคมนาคม และกรมราง ยังตั้งความหวังให้การพัฒนาระบบราง จะยังมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาการจราจร ลดมลพิษ และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก และการขยายตัวของศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ” นายพิเชฐ กล่าวทิ้งท้าย.
https://www.thairath.co.th/money/economics/thai_economics/2844791
https://www.youtube.com/watch?v=3Q9WdTA0Q70
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2025 11:10 am    Post subject: Reply with quote

ต้องลงทะเบียน“แอปทางรัฐ”-ใช้บัตรEMV-แรบบิท
*เปิดเงื่อนไขใช้รถไฟฟ้าทุกสายราคา20บาทก.ย.นี้
*ไม่เข้าเงื่อนไขต้องจ่ายค่าโดยสารในอัตราปกติ
*EMVใช้ได้แดง-ARL-น้ำเงิน-ม่วง-ชมพู-เหลือง
*Rabbitใช้ได้กับสายสีเขียว-ทอง-ชมพู-สีเหลือง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1199276004982965
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2025 1:23 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะรถไฟฟ้า 20 บาท”สีแดง-แอร์พอร์ตลิงก์” เงื่อนไขใหม่ ก.ย.68 เฉพาะบัตร EMVลงทะเบียนเท่านั้น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 06:11 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 06:11 น.


บอร์ด รฟท. เคาะค่าโดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ 20 บาทเหมือนสายสีแดง ชงครม.เริ่มใช้ก.ย.68 กรมราง วางรูปแบบใหม่ ใช้จ่ายผ่านบัตร EMV ลงทะเบียนผูกบัตรประชาชน เงินสด-บัตรอื่น ไม่ลด ด้านรฟม.จ่อชงบอร์ด 8 เม.ย.นี้ ลุยเจรจาแก้สัญญาเอกชน “สีน้ำเงิน-เหลือง-ชมพู”

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) วันที่ 27 มี.ค. 2568 ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบ การใช้อัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ในโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) และโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่รอบเดือนกันยายน 2568 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 1 ปี

ทั้งนี้ รฟท.รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย คือ รถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งปัจจุบัน เข้าร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และส่งเสริมให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแล้ว โดย มียอดผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จะเข้าร่วมดำเนินการค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตั้งแต่เดือนก.ย. 2568 โดยปัจจุบัน ผู้ให้บริการเดินรถ คือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

สำหรับเงื่อนไขการกำหนดค่าโดยสารในอัตราสูงสุดไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย จะได้รับสิทธิ์เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านแอปพลิเคชันของรัฐบาล และชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV (บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต Contactless Payment) ที่ลงทะเบียนไว้ หากชำระค่าโดยสารผ่านบัตรประเภทอื่น หรือบัตรที่ไม่ได้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันของรัฐบาลไว้ จะต้องชำระค่าโดยสารในอัตราปกติ

ทั้งนี้ เนื่องจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ยังไม่มีช่องทางรับบัตร EMV มีเพียงช่องเงินสด เหรียญและบัตรโดยสารเท่านั้น ดังนั้น ทางธนาคารกรุงไทย จะเข้ามาช่วยดำเนินการเรื่องระบบและเครื่องรับบัตร EMV ต่อไป

​ โดยเรื่องนี้ กรมการขนส่งทางราง(ขร.) เป็นผู้วางหลักการรูปแบบดำเนินการ สำหรับรถไฟฟ้าของรฟท.และ โดยเป็นรูปแบบเดียวกับที่จะใช้กับรถไฟฟ้า MRT สายสีเหลืองและสีชมพู ที่จะต้องชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV ที่ลงทะเบียน ซึ่งรฟท.จะสรุปนำเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)​เห็นชอบในเดือนส.ค. 2568 ก่อนเริ่มใช้รถไฟฟ้า 20 บาททุกเส้นทางตลอดสาย ในเดือนก.ย.2568 ในรูปแบบใหม่ ผ่านบัตร EMV


ทั้งนี้ การรถไฟฯ จำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนเงินชดเชยรายได้ที่สูญเสีย ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการภายใต้โครงสร้างค่าโดยสารที่เป็นธรรมต่อประชาชน และคงความยั่งยืนของระบบขนส่งสาธารณะ

“ปัจจุบันรายได้และรายจ่าย จากแอร์พอร์ตลิงก์ ยังเป็นของรฟท. ซึ่งผลดำเนินงานยังขาดทุนอยู่ การชดเชยมีการคำนวณจำนวนรายได้ ที่ลดลง เนื่องจากต่อไป ทางเอกชนจะเข้ารับดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาร่วมลงทุนฯ โดยแอร์พอร์ตลิงก์มีค่าโดยสารเฉลี่ย ที่ 9.6 บาท ต่อคน-เที่ยว ส่วนสายสีแดง ค่าโดยสารเฉลี่ยที่ 10 บาทต่อคน-เที่ยว ที่ต้องชดเชย

การขยายมาตรการค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายอย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจากเดิมปี 2567 มีผู้โดยสารสายสีแดง ประมาณ 24,165 คนต่อเที่ยวต่อวัน และผู้โดยสาร ARL ประมาณ 66,943 คนต่อเที่ยวต่อวัน คาดว่าในปี 2568 จะมีผู้โดยสารสายสีแดงเฉลี่ย 26,495 คนต่อเที่ยวต่อวัน และผู้โดยสาร ARL ประมาณ 78,532 คนต่อเที่ยวต่อวัน และคาดการณ์ด้วยว่า ในปี 2569 และ 2570 ยอดผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงการตอบรับที่ดีของประชาชน เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ ที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ


@รฟม.เตรียมชงบอร์ด เม.ย.นี้ เร่งเจรจาแก้สัญญาสัมปทาน

ด้านนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาททุกเส้นทางตลอดสาย จะใช้เดือน ก.ย. 2568 นี้ ส่วนของรฟม. จะขยายจากโครงการ รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ไปใช้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเหลืองและสายสีชมพูด้วย และเนื่องจากมีผลต่อเงื่อนไขสัญญา เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าโดยสารและการชดเชยรายได้ที่ลดลง จึงจะต้องมีกระบวนการในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนจะต้องดําเนินตามมาตรา 46-48 ของ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

โดยจะเร่งนำเสนอบอร์ดรฟม.วันที่ 8 เม.ย. 2568 ขออนุมัติหลักการ ในขณะที่รฟม.ได้เจรจากับคู่สัญญาคู่ขนาน ในเรื่องการชดเชย ไปด้วย เพื่อหาจุดที่ลงตัว โดยรัฐต้องไม่เสียประโยชน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2025 1:56 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มพัฒนาต่อแล้ว รถไฟฟ้า 3 สายใหม่! เทา เงิน ฟ้า! | Real Recap

THE LIST
2 เม.ย. 2025

ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าให้บริการแล้วถึง 10 สาย โดยล่าสุดกรมการขนส่งทางรางได้อัปเดตความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าใหม่อีก 3 สาย ที่กำลังจะกลับมาพัฒนาต่ออีกครั้ง ได้แก่
.
สายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) – ผ่านย่านไลฟ์สไตล์และที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์
เส้นทางเริ่มจาก วัชรพล เชื่อมสายสีชมพู ผ่าน ถนนเกษตร-นวมินทร์ ทำเลบ้านหรู และคอมมูนิตี้มอลล์หลายแห่ง เช่น The Crystal, CDC และ Central Eastville ก่อนมุ่งสู่ ทองหล่อ แหล่งรวมออฟฟิศหรู โรงแรม 5 ดาว และคอนโด Super Luxury
ปัจจุบันผ่าน EIA แล้ว
.
สายสีเงิน (บางนา-สุวรรณภูมิ) – เชื่อมศูนย์กลางธุรกิจใหม่และสนามบิน
เส้นทางเริ่มต้นที่ BTS บางนา เดินทางสะดวกสู่ย่านธุรกิจและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เช่น ไบเทค บางนา, Mega บางนา, Bangkok Mall และเชื่อมต่อไปยัง สนามบินสุวรรณภูมิ ที่กำลังขยาย Terminal ใหม่
ปัจจุบันยังไม่ผ่าน EIA
.
สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร)
เส้นทางของสายนี้อยู่บนถนนดินแดง-สาทร ช่วยลดความหนาแน่นของการเดินทางใน CBD กรุงเทพ เชื่อม BTS สายสีเขียว, MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีส้ม ทำให้เดินทางเข้าออกเมืองสะดวกขึ้น
ปัจจุบันยังไม่ผ่าน EIA
.
โดยแต่ละโครงการจะเริ่มทยอยเปิดตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไป
.
แล้วทุกคนคิดว่าอีก 5 ปีจะได้เริ่มใช้จริงกี่สาย? มาพูดคุยกันในคอมเมนต์ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=BUS_G9NIAVM
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2025 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ย้ำดูแลพื้นที่ก่อสร้างรถไฟให้ปลอดภัย | ย่อโลกเศรษฐกิจ 9 เม.ย.68
TNN
Apr 9, 2025

รฟม. ดูแลพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายให้ปลอดภัย รับช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568 ย้ำให้ผู้รับจ้างก่อสร้างปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในงานก่อสร้างอย่างเคร่งครัด


https://www.youtube.com/watch?v=-NNhn_qeT7w
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2025 8:31 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” รื้อสัญญาดันรถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย | ย่อโลกเศรษฐกิจ 16 เม.ย. 68
TNN
Apr 16, 2025

กระทรวงคมนาคมเดินหน้าลุย รถไฟฟ้า20 บาทตลอดสายมาแน่ แก้ไขสัญญาสัมทาน ชง ครม."แพทองธาร" ส.ค.นี้ พร้อมเปิดให้ผู้โดยสาร -ประชาชน ลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ”ใช้ก.ย.นี้


https://www.youtube.com/watch?v=Z8PU4d-Jh00
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2025 1:02 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” สวนกลับ ปมเงินชดเชยรายได้ รฟม. สะดุด อุ้มรถไฟฟ้า 20 บาท

หน้าเศรษฐกิจ-นโยบาย
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 16:14 น.
อัปเดตล่าสุด : วันศุกร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 16:19 น.

“คมนาคม” ฟาด ปมกฤษฎีกาโต้เงินชดเชยรายได้ รฟม.ติดหล่มข้อกฎหมาย หวั่นพลาดรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ฟากรฟม.ยืนกรานไม่เคยถกร่วมกัน ยันรอมติครม.ไฟเขียวไม่เกิน ก.ย.นี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีที่มีประเด็นถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงการใช้แหล่งเงินจากรฟม.ชดเชยรายได้ให้กับเอกชน วงเงิน 8,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายที่ติดเรื่องข้อกฎหมายนั้น ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้มีการนำร่องรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟสายสีแดง โดยใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ

“ในช่วงที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังมีมติอนุมัติถึง 2 ครั้ง ในการใช้เงินชดเชยรายได้จากรฟม.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มาดำเนินการ ซึ่งก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด แล้วครั้งนี้จะติดเรื่องข้อกฎหมายได้อย่างไร อีกทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่เคยมีการโต้แย้งในเรื่องนี้” แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าว


นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวรฟม.ไม่เคยมีการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้

ทั้งนี้การใช้แหล่งเงินชดเชยรายได้ให้แก่เอกชนในมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสุงสุด 20 บาทตลอดสายเป็นเพียงแนวทางของกระทรวงคมนาคมที่จะดำเนินการ ซึ่งในรายละเอียดวิธีดำเนินการต่างๆต้องรอให้ครม.มีมติอนุมัติออกมาก่อนถึงจะดำเนินการได้


“หากในเรื่องนี้มีความชัดเจนจากมติครม.ที่เห็นชอบแล้ว เบื้องต้นรฟม.จะมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณารายละเอียดถึงแหล่งเงินงบประมาณให้รอบคอบว่าจะใช้จำนวนเท่าไร อย่างไรบ้าง” นายวิทยา กล่าว

อย่างไรก็ตามขณะนี้รฟม.ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว ซึ่งตามเป้าหมายคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือนกันยายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 287, 288, 289  Next
Page 288 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©