Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312285
ทั่วไป:13930823
ทั้งหมด:14243108
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2025 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

‘สทร.’ รับสมัคร ‘ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง’ ภายใน7พ.ค.นี้
นวัตกรรมขนส่ง
วันศุกร์ ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 17:04 น.

“สทร.” ประกาศรับสมัคร "ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง" ภายใน 7 พ.ค.นี้
สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ “สทร.” กระทรวงคมนาคม เป็นสถาบันหลักด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง บูรณาการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสร้างอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ มีความประสงค์เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อสรรหาเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง” โดยมีรายละเอียดดังนี้


1.ยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ภายในวันที่ 7 พ.ค.68 เวลา 16.30 น.

2.ทางไปรษณีย์ตอบรับ โดยจัดส่งมาที่ (EMS) ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการ  สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เลขที่ 111 ชั้น 10 ถนนริมคลองบางกะปิ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310  (ภายในวันที่7พ.ค.68) โดยยึดถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์รับ 

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สำนักอำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)  และ https://www.rtrda.or.th/ข่าวสาร-กิจกรรม/ร่วมงานกับ-สทร/สมัครงาน...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2025 1:03 am    Post subject: Reply with quote

• A 247-km railway from Udon Thani to Sakon Nakhon and Nakhon Phanom => time to say goodbye 👋 to Highway 🛣️ No. 22 since the new railway line is not supposed to duplicate the existing highway which was opened on the same day as Udon Thani railway station
• A 316-km railway from Nong Khai to Bueng Kan and Nakhon Phanom
=> time to say goodbye to Highway no. 212 since the new railway line has to be not a duplicate of existing Highways
• A 173-km railway from Mukdahan to Amnat Charoen and Ubon Ratchathani => how to construct the line without duplicated the existing highways are still questionable 🤨
https://www.nationthailand.com/news/policy/40049305?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44644
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2025 11:01 am    Post subject: Reply with quote

“ไทย-ญี่ปุ่น”ร่วมลงนาม MOC ร่วมมือพัฒนาระบบรางและ TOD หนุนงานซ่อมบำรุง”สายสีแดง-ม่วงใต้”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:35 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:35 น.




“สุริยะ”หารือ รมต.กระทรวง MLIT ญี่ปุ่น พร้อมลงนาม MOC ความร่วมมือผลักดันระบบรางและพัฒนาเมือง สนับสนุนการดำเนินงานและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสีม่วงใต้และพัฒนาTOD

วันที่ 30 เม.ย.68 ที่กระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายนากาโนะ ฮิโรมาสะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) เป็นประธานร่วมในการประชุมทวิภาคีและร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางและพัฒนาเมืองระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยมีนายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นเข้าร่วมการประชุม

ad



โดยที่ประชุมมีการหารือแนวทางความร่วมมือด้านคมนาคมในโครงการสำคัญหลายด้าน โดยเฉพาะด้านระบบราง ประกอบด้วย การสนับสนุนการดำเนินการและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (TOD)

ภายหลังการประชุม ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางและพัฒนาเมืองระหว่างกระทรวงคมนาคมไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น



สำหรับบันทึกความร่วมมือฉบับใหม่นี้เป็นการปรับปรุงบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางที่ได้ลงนามไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2565

ทั้งนี้ บันทึกความร่วมมือฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การพัฒนาในด้านระบบรางและการพัฒนาเมืองของทั้งสองประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจร่วมกัน ขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมการสนับสนุนการซ่อมบำรุงรถไฟสายสีแดง การดำเนินการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 (M-MAP 2) การพัฒนาระบบรางในเขตเมือง โครงการรถไฟความเร็วสูง การขนส่งสินค้าทางรถไฟ แนวทางการเตรียมการรับมือต่อภัยพิบัติ มาตรการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีของระบบขนส่งมวลชน (TOD) ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาระบบราง ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่นในอนาคต
https://mgronline.com/business/detail/9680000040770
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48321
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/05/2025 9:54 am    Post subject: Reply with quote

พลิมโฉมรอบ ‘สถานีรถไฟ’พื้นที่เศรษฐกิจใหม่น่าจับตา! เป็นมากกว่าแค่จุดเปลี่ยนสถานี
เดลินิวส์ 13 พ.ค. 68 18:09 น.

ปัจจุบันเรามักจะมองสถานีรถไฟเป็นเพียงแค่จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง แต่เมื่อได้พูดคุยกับ "รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา" สาขาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ฉายภาพให้เห็นถึงการพัฒนาของสถานีรถไฟ วันนี้เลยได้มีการเปิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและศักยภาพของสถานีรถไฟที่ซ่อนอยู่อีกมากมาย
พลวัตการพัฒนารถไฟ

เมื่อย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบคมนาคมทางรถไฟเพื่อยกระดับประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ การวางระบบรางรถไฟในยุคแรกนั้นสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลจากชาติตะวันตกอย่างชัดเจน โดยมีการแบ่งมาตรฐานของรางรถไฟออกเป็นสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยฝั่งธนบุรีมีการวางรางรถไฟขนาด 1 เมตร หรือที่เรียกว่า มีเตอร์เกจ (Meter Gauge) ตามแบบของอังกฤษ ขณะที่ฝั่งพระนครใช้รางขนาด 1.435 เมตร ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล หรือสแตนดาร์ดเกจ (Standard Gauge)

ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบรถไฟ สถานีรถไฟส่วนใหญ่มักตั้งอยู่บริเวณชานเมือง โดยไม่ต้องการให้รถไฟเข้าเขตเมือง เพราะจะกระทบการตั้งถิ่นฐานและใช้พื้นที่มาก ดังนั้นสถานีรถไฟยุคแรกจึงมักตั้งอยู่นอกเขตเมืองหลัก แต่ยังเชื่อมโยงกับศูนย์เศรษฐกิจภายในเมืองได้ดี ทำหน้าที่ในด้านการขนส่งสินค้า และการเดินทางของผู้คน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ตลาดหรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในสมัยก่อนนั้นตั้งอยู่ในเขตตัวเมือง ส่งผลให้การเดินทางจากสถานีรถไฟเข้าสู่ใจกลางเมืองต้องพึ่งพาระบบถนนเป็นหลัก ด้วยบริบทในขณะนั้น พื้นที่รอบสถานีในอดีตจึงไม่มีการพัฒนาเพื่อการอยู่อาศัยหรือพาณิชย์มากนัก เพราะเป้าหมายหลักคือเปลี่ยนถ่ายแล้ว “ออกให้เร็วที่สุด” การออกแบบสถานีรถไฟจึงมุ่งเน้นไปที่การเดินทางและการขนส่งเป็นหลัก โดยยังไม่มีความต้องการถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดการพัฒนาในปัจจุบันอย่างการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ Transit Oriented Development (TOD)

บทบาทของรถไฟเปลี่ยน ไม่ใช่แค่เพียงจุดเปลี่ยนถ่าย

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ไม่ได้เริ่มต้นพร้อมระบบรถไฟไทย แต่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อต้องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบสถานีที่มีศักยภาพ และบทบาทของรถไฟเริ่มเปลี่ยนไป สถานีรถไฟไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดเปลี่ยนถ่ายอีกต่อไป แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ Transit-Oriented Development (TOD) เข้ามามีบทบาทมากขึ้น อีกทั้งสถานีรถไฟมีศักยภาพในการเข้าถึงที่ดีขึ้น แม้แต่สถานีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เปิดใหม่ หรือพื้นที่ที่ยังไม่หนาแน่น แต่เมื่อมีปัจจัยหนุน เช่น แรงงาน ความต้องการที่อยู่อาศัย พื้นที่พัฒนาได้จริง ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานีรถไฟของขนส่งมวลชนในเมือง กับขนส่งระหว่างเมืองนั้นมีแนวคิดที่ต่างกัน ถ้าเป็นรถไฟไทยยังคงมีแนวคิดแบบเดิม โดยเน้นการเปลี่ยนถ่ายและการรวบรวมสินค้าจากอำเภอต่าง ๆ เข้าสู่กรุงเทพฯ ซึ่งไม่ใช่ทุกสถานีจะมีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรม อีกทั้งการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน (Job-Housing Balance) ด้วย

การพัฒนารอบสถานีอาจเกิดเพียงบางสถานี รถไฟความเร็วสูงก็ยังมีโอกาสไม่เท่ากัน

โดยหลักการแล้ว เราสามารถแบ่งสถานีตามศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ได้ประมาณ 4 ระดับ ระดับแรกคือ สถานีศูนย์กลาง เช่น สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งแน่นอนว่ามีศักยภาพในการพัฒนา TOD สูงมาก ระดับที่สองคือ สถานีปลายทาง เช่น สถานีเชียงใหม่ ซึ่งสถานีปลายทางมักจะเป็นเมืองใหญ่และมีศักยภาพรองลงมาจากสถานีศูนย์กลาง ระดับที่สามคือ สถานีจุดตัด หรือสถานีชุมทาง เช่น ชุมทางบ้านภาชี หรือชุมทางแก่งคอย สถานีในระดับนี้จะเป็นจุดรวมและกระจายสินค้าและผู้คน ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม หรือโลจิสติกส์ (Logistic) ได้ และระดับสุดท้ายคือ สถานีทั่วไป ซึ่งมักจะไม่มีศักยภาพในการพัฒนา TOD มากนัก เพราะฉะนั้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีสําหรับรถไฟไทย จําเป็นที่จะต้องเลือกสถานี ซึ่งไม่ใช่ทุกสถานีจะทําได้

แต่ว่ารถไฟไทยยังมีโอกาสในการพัฒนา เป็นสิ่งที่รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห้นศักยภาพแล้ว

จากแนวคิดที่รัชกาลที่ 5 ได้วางไว้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นมีที่ดินของตัวเอง และถูกจัดสรรเพื่อประโยชน์ในการเดินรถและการคมนาคมขนส่งของประเทศ จึงมีพื้นที่ตลอดแนวทางรถไฟเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต เช่นเดียวกับแนวคิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีที่ดินเพื่อสร้างรายได้ทดแทนจากการพัฒนา เช่น สยาม สามย่าน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงเล็งเห็นถึงศักยภาพของที่ดินรถไฟในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

โอกาสและข้อจำกัดของการรถไฟไทย?

รถไฟความเร็วสูงถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องการเดินทางที่รวดเร็วขึ้น แต่เป็นรูปแบบการเดินทางที่กำลังเข้ามาแทนเที่ยวบินระยะสั้น (Short Distance Flight) ทำให้เกิดความต้องการ (Demand) ในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น จากการเชื่อมต่อที่รวดเร็วและสะดวกกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน เมื่อพิจารณารวมเวลาเดินทางไปสนามบินและกระบวนการขึ้นเครื่อง เช่น ถ้าขึ้นรถไฟที่สถานีกลางบางซื่อ-เชียงใหม่ อาจใช้เวลาเพียงแค่ 4 ชั่วโมง ขณะที่เดินทางด้วยเครื่องบินเมื่อรวมเวลาการเดินทางมายังสนามบิน และเช็คอินแล้ว อาจใช้เวลามากกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งการเดินทางโดยเครื่องบินนั้น ควรมีไว้สําหรับเที่ยวบินระยะไกล และพัฒนารถไฟความเร็วสูงมาเพื่อรองรับการเดินทางระหว่างศูนย์กลางเมือง

แต่ในปัจจุบัน จำนวนผู้โดยสารรถไฟไทยลดลงอย่างมาก จาก 40 ล้านคนในปี 2555 เหลือเพียง 17 ล้านคนในปี 2565 ปัญหาหลักนั้นเกิดจากการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางจากสถานีรถไฟไปยังจุดหมายปลายทางไม่สะดวกมากนัก เมื่อเทียบกับสายการบินราคาประหยัด (Low Cost Airline) และรถยนต์ส่วนบุคคลที่ยังคงได้เปรียบเรื่องราคาและความสะดวก

ศูนย์กลางใหม่ของเมือง

ในเมืองใหญ่ที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ เช่น โตเกียว โอซาก้า หรือในประเทศไทย เช่น หัวลำโพง ศูนย์กลางเดิมของเมืองเหล่านี้มักเป็นพื้นที่อนุรักษ์ หรือมีข้อจำกัดในการพัฒนา เนื่องจากอาคารเก่าและแปลงที่ดินขนาดเล็ก พื้นที่รอบสถานีรถไฟซึ่งเดิมเคยอยู่ในชานเมืองจึงมีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นเมืองใหม่ เพราะมีแปลงที่ดินขนาดใหญ่สามารถสร้างตึกสูงและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบรับกับความต้องการของเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น กรณีของสถานีกลางบางซื่อที่สามารถรองรับได้อย่างเต็มรูปแบบ ต่างจากพื้นที่รอบหัวลำโพงซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องขนาดแปลงที่ดิน

จากแนวคิดการพัฒนาสถานีรถไฟในรูปแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะของความเข้มข้นและศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในบริบทของประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งสถานีออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

1. สถานีหลักระดับประเทศ เช่น สถานีกลางบางซื่อ ที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงและรองรับการพัฒนาเมืองใหม่ เนื่องจากมีแปลงที่ดินขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับอาคารสูงและกิจกรรมเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้

2. สถานีปลายทางในเมืองสำคัญ เช่น สถานีเชียงใหม่ ซึ่งสามารถเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยใช้สถานีเป็นตัวเชื่อมโยงนักท่องเที่ยว การค้าบริการ และการพัฒนาเมือง

3. สถานีชุมทางหรือจุดตัด เช่น ชุมทางบ้านภาชี หรือชุมทางแก่งคอย ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบ แรงงาน และอุตสาหกรรมจากหลากหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดกระจายสินค้าและบริการในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ สถานีที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีปัจจัยร่วม ได้แก่ เป็นสถานีที่มีความต้องการใช้งานจริง มีแปลงที่ดินขนาดใหญ่รองรับการพัฒนา มีพื้นที่โดยรอบสถานีที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ

หลังจากฟัง รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา ฉายภาพถึงศักยภาพรถไฟไทย ทำให้เราเห็นภาพของ “สถานีรถไฟไทย” ที่ไม่ใช่แค่จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง แต่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพซ่อนอยู่มากมาย ทั้งในมิติประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และการพัฒนาเมือง จากการวางรากฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สู่แนวคิดการพัฒนาในปัจจุบัน

สถานีรถไฟจึงกลายเป็นมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีต้องอาศัยความเข้าใจในบทบาทเฉพาะของแต่ละสถานี รวมถึงการจัดสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและแหล่งงาน ซึ่งสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ระยะยาวที่ต้องการให้ระบบรถไฟไทยไม่เพียงแต่พัฒนาเพื่อการเดินทาง แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต

**Revamping Railway Stations: Emerging Economic Hubs to Watch! More Than Just Transit Points**
*Daily News*, May 13, 2025, 18:09

Currently, we often view railway stations merely as transit points. However, a discussion with "Assoc. Prof. Dr. Panit Pujinda" from the Urban and Regional Planning Department, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University, shed light on the evolution of railway stations. Today, we delve into the development and hidden potential of these stations.

**The Dynamics of Railway Development**

Looking back to the reign of King Rama V, His Majesty recognized the importance of developing a railway transportation system to elevate the nation to the standards of civilized countries. The initial railway network layout clearly reflected Western influence, with a division in rail gauge standards on either side of the Chao Phraya River. On the Thonburi side, a 1-meter gauge, or Meter Gauge, was laid, following the British model. Meanwhile, the Phra Nakhon side adopted the 1.435-meter gauge, the international standard or Standard Gauge.

In the early stages of railway development, most stations were located in suburban areas to avoid trains entering the city center, which would disrupt settlements and require extensive land use. Thus, early railway stations were typically situated outside the main urban areas but still well-connected to the city's economic centers, serving for both freight transport and passenger travel. They acted as connecting points between Bangkok and various provincial cities. However, markets and economic centers at the time were located within the city, making travel from the stations to the city center reliant on road transport. Given this context, the areas around the stations in the past did not see much residential or commercial development, as the primary goal was transit and "getting out as quickly as possible." The design of railway stations focused mainly on travel and transport, without the need for developing the surrounding areas, a stark contrast to current development concepts like Transit Oriented Development (TOD).

**The Changing Role of Railways: Not Just Transit Points Anymore**

The concept of Transit-Oriented Development (TOD) did not originate with the Thai railway system but emerged later when there was a desire to utilize the potential of the land around stations, and the role of railways began to change. Railway stations are no longer just transit points; the concept of Transit-Oriented Development (TOD) has become more significant. Moreover, railway stations offer improved accessibility. Even stations located in newly developed or less dense areas, when supported by factors such as labor, housing demand, and real development potential, create opportunities for developing the surrounding areas. However, the development concepts for urban mass transit railway stations differ from those for intercity transport. Thai railways still largely adhere to the traditional concept, focusing on transit and the collection of goods from various districts into Bangkok. Not every station has the potential for commercial development, and successful development requires a balance between residential and employment areas (Job-Housing Balance).

**Development Around Stations May Occur Only at Certain Locations; High-Speed Rail Also Faces Uneven Opportunities**

In principle, we can categorize stations based on their potential for Transit-Oriented Development (TOD) into approximately four levels. The first level is central stations, such as Bang Sue Grand Station, which undoubtedly has very high TOD potential. The second level is terminal stations, such as Chiang Mai Station, which are typically located in major cities and have potential secondary to central stations. The third level is junction or intersection stations, such as Ban Phachi Junction or Kaeng Khoi Junction. These stations serve as collection and distribution points for goods and people, with the potential to develop into industrial or logistics centers. The final level is general stations, which usually do not have significant TOD potential. Therefore, the development of areas around stations for Thai railways requires selecting specific stations, as not all are suitable.

However, Thai Railways Still Has Development Opportunities – Something King Rama V Foresaw.

Based on the vision laid out by King Rama V regarding the development of mass transit, the State Railway of Thailand owns land allocated for the operation and transportation of the country. This provides areas along the railway lines to accommodate future development, similar to Chulalongkorn University's concept of using its land, such as Siam and Sam Yan, to generate revenue in line with King Rama V's intention to recognize the potential of railway land for increased income.

**Opportunities and Limitations of Thai Railways?**

High-speed rail represents a significant development, as it is not just about faster travel but a mode of transportation that is replacing short-distance flights. This creates increased demand for economic development due to faster and more convenient connections than air travel. Considering the total travel time to the airport and boarding procedures, for example, traveling by train from Bang Sue Grand Station to Chiang Mai might take only 4 hours, while air travel, including travel to the airport and check-in, could take more than 5 hours. Air travel should be reserved for long-distance flights, and high-speed rail should be developed to serve travel between city centers.

However, the number of Thai railway passengers has significantly decreased, from 40 million in 2012 to only 17 million in 2022. The main problem is the inconvenient transfer from railway stations to final destinations compared to low-cost airlines and private cars, which still have an advantage in terms of price and convenience.

**New City Centers**

In major economic hubs such as Tokyo, Osaka, or in Thailand, like Hua Lamphong, the original city centers are often conservation areas or face development limitations due to old buildings and small land plots. The areas around railway stations, which were once suburban, are therefore suitable for new city development because they have large land plots capable of accommodating high-rise buildings and infrastructure that meets the needs of the modern economy, as seen in the case of Bang Sue Grand Station, which can fully accommodate such development, unlike the area around Hua Lamphong, which is limited by land plot sizes.

Based on the concept of developing railway stations in different formats according to the intensity and potential for economic stimulation, in the context of Thailand, stations can be divided into three main types:

1. **National Hub Stations**, such as Bang Sue Grand Station, which serves as the center of the high-speed rail network and supports new city development due to its large land plots and infrastructure capable of accommodating high-rise buildings and modern economic activities.

2. **Terminal Stations in Major Cities**, such as Chiang Mai Station, which can serve as regional economic centers by using the station to connect tourists, service industries, and urban development.

3. **Junction or Intersection Stations**, such as Ban Phachi Junction or Kaeng Khoi Junction, which have the potential to be centers for raw materials, labor, and industries from various areas, serving as regional distribution points for goods and services. Stations that can effectively stimulate the economy should have common factors, including actual usage demand, large land plots to support development, and surrounding areas that can be developed into economic stimulus projects.

After listening to Assoc. Prof. Dr. Panit Pujinda's insights into the potential of Thai railways, we can envision "Thai Railway Stations" as more than just transit points. They are areas with significant hidden potential in historical, economic, and urban development dimensions, stemming from the foundations laid during the reign of King Rama V to current development concepts.

Railway stations have thus become more than just infrastructure. The success of developing areas around stations depends on understanding the specific role of each station and balancing residential and employment areas, reflecting a long-term vision to ensure that the Thai railway system not only develops for travel but also serves as a crucial factor in driving the country forward in the future.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48321
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2025 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

‘TDRI-ผู้รับเหมา’กระทุ้งรัฐ เร่งลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์ใหม่
ฐานเศรษฐกิจ
16 พ.ค. 2568 | 04:00 น.

KEY POINTS

ทีดีอาร์ไอ-รับเหมา กระทุ้งรัฐ สาดกระสุน ลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์ใหม่ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ฟาก “คมนาคม” เปิดขุมทรัพย์ ล็อตใหญ่ 3 ล้านล้านบาท ดันลงทุนปี 68
พร้อมชงครม.ไฟเขียวสารพัดโครงการ ปักธง 20 บาทตลอดสาย
ท่ามกลางเศรษฐกิจในประเทศผันผวน มีผลพวงมาจากหลายปัจจัยที่เผชิญ โดยเฉพาะกำแพงภาษีสหรัฐอเมริกา ฉุดภาคผลิตและส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักทรุดตัว

ดังนั้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐจึงเป็นความหวังเดียวที่จะช่วย ขับเคลื่อนก่อให้เกิดการจ้างงาน มีเม็ดเงินหมุนเวียนลงสู่ระบบฐานราก

ดร.สุเมธ องกิตติกุลผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผย” ฐานเศรษฐกิจ”ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ในปัจจุบันการก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ของกระทรวงคมนาคมในช่วงที่นี้ยังไม่ได้มีการก่อสร้างโครงการใหม่ ซึ่งมีแต่การก่อสร้างโครงการเดิมที่มีอยู่อีกทั้งมีความล่าช้ามาสักพักแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)

ขณะเดียวกันที่ผ่านมาหลายประเทศมองว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจะช่วยให้ประเทศได้ประโยชน์มากน้อยขนาดไหน หากมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานก็จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเช่นกัน เนื่องจากมีการใช้วัสดุภายในประเทศ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางเลือกหนึ่ง

“การลงทุนเหล่านี้ไม่ได้ต้องการแค่กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเท่านั้น แต่เราอยากได้ประโยชน์จากโครงการด้วย เช่น การสร้างท่าเรือจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ในความคาดหวังการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นสิ่งสำคัญ” ดร.สุเมธ กล่าว

ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า ส่วนกำแพงภาษีสหรัฐฯ ไม่กระทบการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าและส่งออกมากกว่า

โดยปกติการก่อสร้างมักจะใช้วัสดุจากภายในประเทศ แต่อาจจะเกี่ยวข้องกับสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทผู้รับเหมามากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เพราะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้ใช้วัสดุจากการนำเข้าและส่งออกมากเท่าไร

แหล่งข่าวจากTDRI กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้จะสร้างความต้องการแรงงานจำนวนมาก ช่วยลดอัตราการว่างงานและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน

ขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐจะก่อให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น วัสดุก่อสร้าง เหล็ก ปูนซีเมนต์ เครื่องจักรกลหนัก ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและการผลิตในประเทศ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนอกจากนี้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ ทำให้สินค้าและบริการของไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้มากขึ้น

ทางด้านนายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่ผ่านมาโครงการขนาดใหญ่ภาครัฐออกมาไม่มากและต้องรองบประมาณใหม่

อย่างไรก็ตาม สมาคมเสนอให้รัฐเร่งนำโครงการใหม่ออกมาประมูล รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เน้นวัสดุในประเทศ เช่นวัสดุตกแต่ง ฯลฯ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

ขณะกระทรวงคมนาคมภายใต้การดูแลของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในปี 2568 ที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท ประเดิมที่โครงการเรือธงแรกรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายที่ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ คาดว่าจะประกาศกฎหมายมีผลบังคับใช้ภายในเดือนกันยายน 2568 อย่างไรก็ดีคาดว่าจะใช้งบชดเชยอุดหนุนรถไฟฟ้าสายอื่นๆ โดยมาจากกำไรสะสมประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี


ถัดมาโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ในกรุงเทพฯ 3 โครงการ ประกอบ รถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 89,948 ล้านบาท ,รถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ วงเงิน 29,130 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทรปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาประมาณการและรูปแบบการลงทุนของโครงการ

หลังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสุริยะเป็นประธาน มีมติ ให้โอน3โครงการดังกล่าว จากกรุงเทพ มหานคร (กทม.) มายังกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันรฟม. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนรายละเอียดการศึกษาเพิ่มเติมถึงการวิเคราะห์ตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2568

ด้านความคืบหน้ารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง รวมวงเงิน 114,351 ล้านบาท โดยโครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,473 ล้านบาทขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูลภายในเดือนพฤษภาคม-กันยายนนี้

ขณะที่โครงการรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 15,176 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอบรรจุเข้าวาระครม. สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ -พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) วงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 44,573ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับย้ายตำแหน่งสถานีราชวิถี เปลี่ยนมาอยู่ฝั่งโรงพยาบาลรามาธิบดี และมีทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก) จากสถานีเชื่อมเช้าสู่อาคารของโรงพยาบาล ตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและครม.เห็นชอบต่อไป

ความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัย วงเงิน 48,129 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา บอร์ด รฟท. ได้อนุมัติสั่งจ้างกิจการค้าร่วม (Consortium) ในนามของบริษัท เทสโก้ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียด จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา โดยที่ปรึกษาจะมีระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา 15 เดือน (เม.ย.68 - มิ.ย.69)

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รวม 7 เส้นทาง วงเงินรวม 2.8 แสนล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 เส้นทาง คือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 28,679 ล้านบาท ส่วนอีก 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงปากน้ำโพ - เด่นชัย วงเงิน 81,143 ล้านบาท

ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี วงเงิน 44,103 ล้านบาท ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 30,422 ล้านบาท ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่ - สงขลา วงเงิน 66,270 ล้านบาท ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 7,900 ล้านบาท และช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 68,222 ล้านบาท

ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอครม.อนุมัติโครงการฯ ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) 2 โครงการ ประกอบด้วย ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท

ปัจจุบันคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อนุมัติแก้ไขร่างสัญญาร่วมลงทุนฯแล้ว เบื้องต้นตามขั้นตอนจะเสนอต่อคณะกรรมการกำกับสัญญาที่มีทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย รฟท. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด (ซีพี)

ทั้งนี้หลังจากนั้นจะส่งต่ออัยการสูงสุดตรวจสอบร่างสัญญา ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน และเสนอต่อสกพอ.เห็นชอบก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างสัญญาฯต่อไป คาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ด้านความคืบหน้าไฮสปีด ไทย - จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 3.41 แสนล้านบาท ล่าสุดครม.มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 โดยรฟท. อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกวดราคาหาผู้รับจ้าง คาดว่าจะเปิดประมูลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายนนี้ ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 2574

เช่นเดียวกับโครงการแลนด์บริดจ์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท ยังคงต้องรอร่างกฎหมายระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้มีผลบังคับใช้ก่อนจะจะสามารถเดินหน้าโครงการต่อได้

ขณะนี้กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม) พิจารณาภายในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะมีการเปิดประชุมสมัยสามัญวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 จะใช้ระยะเวลาการพิจารณาในสภาฯแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน คาดว่าร่างพ.ร.บ.SEC จะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนธันวาคม 2568

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม-20 เมษายน 2568 สนข.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.SEC ผ่านระบบกลางทางกฎหมายและผ่านการเชื่อมต่อเว็บไซต์กระทรวงคมนาคมและสนข.พบว่ามีผู้เห็นด้วย 8,000 ราย และมีผู้ให้ข้อเสนอแนะ 700 ราย หลังจากนั้นจะปรับปรุงร่างกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ตามแผนจะจัดทำร่างเอกสารการประกาศประกวดราคาเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ ภายในปลายปี 2568 ในระหว่างนี้จะดำเนินการออกพรฎ.เวนคืนที่ดิน ภายในปี 2569 และเสนอต่อครม.อนุมัติโครงการแลนด์บริดจ์ที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 (มอเตอร์เวย์) ช่วงนครปฐม-ปากท่อ-ชะอำ ระยะที่ 1 ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงินลงทุน 61,154 ล้านบาท

ปัจจุบันกรมทางหลวง(ทล.) เตรียมเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาเร็วๆนี้ หลังจากนั้นจะบรรจุวาระในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการฯ หาก ครม. เห็นชอบ จะดำเนินการในขั้นตอนประกวดราคาทันทีและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2570 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ติดตั้งงานระบบ พร้อมบำรุงรักษา (O&M) 1 ปี

‘TDRI-ผู้รับเหมา’กระทุ้งรัฐ เร่งลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์ใหม่

ขณะที่เฟสที่ 2 ช่วงปากท่อ-ชะอำ ระยะทาง48 กม. ขณะนี้ ทล. เตรียมว่าจ้างศึกษาแนวเส้นทางใหม่ เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดินของประชาชน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิม มีปัญหาข้อร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่บริเวณ จ.เพชรบุรี

ทั้งนี้ตามแผนคาดว่าจะเริ่มดำเนินการศึกษาภายในปี 2568 ใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี แล้วเสร็จปี 2569 จากนั้นจะเสนอ ครม. อนุมัติโครงการฯ ต่อไป โดยกรมทางหลวงได้เร่งรัดให้ดำเนินโครงการฯ เพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางลงพื้นที่ภาคใต้ และแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนพระราม 2 เป็นต้น

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16
Page 16 of 16

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©