Main Menu
Homepage
Members Zone
·
ข้อมูลส่วนตัว
ข่าวสารส่วนตัว
·
บริการเว็บเมล์
·
กระดานข่าว
กระดานฝากข้อความ
·
รถไฟไทยแกลลอรี่
รายนามสมาชิก
·
แบบสำรวจ
สมุดเยี่ยม
·
เกี่ยวกับสมาชิก
News & Stories
·
เรื่องทั้งหมด
·
เนื้อหาสาระ
·
เรื่องสำหรับพิมพ์
·
ยอดฮิตติดอันดับ
·
ค้นหาข่าวสาร
·
ค้นหากระทู้เก่า
Contents
·
กำหนดเวลาเดินรถ
·
ประเภทขบวนรถโดยสาร
·
ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
·
แผนที่เส้นทางรถไฟ
·
อัตราค่าโดยสาร
·
คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
·
รูปแบบการให้บริการรถไฟ
·
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
·
ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
·
ระบบติดตามขบวนรถ
Services
·
Downloads
·
GoogleSearch
·
Hotels Booking
·
FlashGames
·
Wallpaper 1
·
Wallpaper 2
·
Wallpaper 3
·
Wallpaper 4
Information
·
เกี่ยวกับเรา
·
นโยบายความเป็นส่วนตัว
·
แผนผังเว็บไซต์ฯ
ส่งข้อแนะนำติชม
·
ติดต่อลงโฆษณา
·
แนะนำและบอกต่อ
·
สถิติทั้งหมด
·
สำหรับผู้ดูแลระบบ
Sponsors
Visitors
มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:
312283
ทั่วไป:
13929344
ทั้งหมด:
14241627
คน ตั้งแต่
01-08-2004
Rotfaithai.Com :: View topic - ภาพหายากในอดีต และภาพเก่าจากหนังไทย
Forum FAQ
Search
Usergroups
Profile
Log in to check your private messages
Log in
ภาพหายากในอดีต และภาพเก่าจากหนังไทย
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
...
166
,
167
,
168
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic
::
View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/01/2025 8:45 pm
Post subject:
ภาพอาคารสถานีพิษณุโลกรุ่นแรก
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/28984631064457583
Back to top
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006
Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
Posted: 22/02/2025 2:09 pm
Post subject:
กิจการในกระทรวงพาณิชย์แลคมนาคม ประมาณปี 2470-2472
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
Apr 23, 2022
ภาพยนตร์นี้เป็นผลงานส่วนพระองค์ของ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์แลคมนาคม ตั้งแต่ปี ๒๔๖๙ จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ด้วยความที่ทรงเป็นนักนิยมภาพยนตร์และนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการภาพยนตร์สมัครเล่นนานาชาติ ทรงเคยให้สัมภาษณ์วารสารภาพยนตร์ฉบับหนึ่งในประเทศอังกฤษว่า ทรงสนใจการใช้ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา ทรงถ่ายและใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมในกรมทหารที่ทรงเป็นผู้บังคับบัญชา และต่อมาเมื่อทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงจัดตั้งกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว ขึ้นในกรมรถไฟหลวงตั้งแต่ปี ๒๔๖๕ นับเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ผลิตและใช้ภาพยนตร์ของรัฐแห่งแรก ๆ แห่งหนึ่งในโลก น่าสังเกตว่า เมื่อทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ตั้งแต่ปี ๒๔๖๙ ทำไมจึงโปรดให้ถ่ายทำภาพยนตร์ขนาด ๑๖ มม เรื่อง กิจการกระทรวงพาณิชย์แลคมนาคม เป็นการส่วนพระองค์ คือในนาม บ้านดอกไม้ฟิล์ม ไม่ใช่ภาพยนตร์ขนาด ๓๕ มม ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว ยังไม่พบและสามารถระบุหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในปีอะไร แต่คาดว่าระหว่าง ๒๔๗๐ ๗๒ เหตุที่ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์นั้น อาจจะต้องการทำเร่งด่วน และเพื่อใช้เผยแผ่ให้ผู้ชมซึ่งอาจมีทั้งผู้คนภายในราชการ และสาธารณะหรือประชาชนทั่วไป เพราะมีหลักฐานว่าทรงนำภาพยนตร์ขนาดเล็กนี้ไปฉายเสมอในการเสด็จตรวจราชการต่างจังหวัด และโดยเฉพาะอาจใช้สำหรับเผยแพร่ชาวต่างชาติที่มาติดต่อกระทรวงด้วย เพราะจะเห็นว่าตัวอักษรบรรยายในภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบนี้มีทั้งภาษาไทยบ้างและอังกฤษบ้าง (แต่ในการฉาย สามารถจะมีผู้บรรยายประกอบหนังได้ หรือเสด็จในกรมจะทรงบรรยายเองก็ได้)
เนื้อหาของภาพยนตร์จึงเป็นการเล่าเพื่อแนะนำว่ากระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีอาคารที่ตั้งหน้าตาเป็นเช่นไร ทำงานอะไรกันบ้าง ภาพยนตร์เป็นภาพยนตร์เงียบ ใช้ตัวหนังสือบอกหัวข้อเรื่องแต่ละกิจการหรือหน่วยงานในกระทรวง เริ่มเปิดเรื่องด้วยอาคารที่ทำการกระทรวงถนนสนามไชย ถ่ายจากประตูรั้วด้านหน้า เห็นรถยนต์แล่นออกมา จากนั้นตัดไปที่ห้องทำงาน เห็นพนักงานกำลังพิมพ์จดหมายราชการ แล้วตัดไปขึ้นข้อความ
BUSY SCENE AT BANGKOK GOODS YARD ให้เห็นบริเวณสถานีชุมทางรถไฟ เข้าใจว่าที่บางซื่อ ในเวลาที่รถตู้สินค้าจากเชียงใหม่นำลำใยมาลง เห็นพ่อค้าแม่ขายชุมนุมกันแน่นเพื่อแย่งซื้อลำใยไปจำหน่าย จากนั้นตัดเข้าไปภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ หัวลำโพง เป็นเหตุการที่เสนาบดี กรมพระกำแพงเพชรจะเสด็จขึ้นรถไฟไปตรวจราชการต่างจังหวัด เห็นบรรดาข้าราชการมาส่ง ในผู้มาส่งที่น่าสนใจคือพระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรนรเสริญ สุขยางค์) ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงขณะนั้น และ หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) หัวหน้ากองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว ของกรมรถไฟ (น่าสนใจว่าหลวงกลมาส่ง ไม่ได้มาถ่ายภาพยนตร์) กรมพระกำแพงฯ และข้าราชการบางท่านสวมปลอกแขนไว้ทุกข์ อาจจะเป็นเวลาไว้ทุกข์ของเจ้านายที่สิ้นพระชมน์ในขณะนั้น (เช่น เจ้าฟ้ามหิดล ) รถไฟเคลื่อนออกจากสถานี ตัดไปหัวข้อ ประชุมสหกรณ์ ให้เห็นบรรยากาศการประชุมสหกรณ์แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ไม่ชัดเจนว่าสหกรณ์เดียวหรือเป็นการประชุมเจ้าหน้าที่กิจการสหกรณ์ ซึ่งเสด็จในกรมทรงมาเป็นประธาน ทรงมอบเอกสารคล้ายวุฒิบัตร นี้เป็นการบอกว่ากิจการสหกรณ์ก็เป็นกิจการอย่างหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์แลคมนาคม แล้วภาพยนตร์ตัดไปถ่ายที่ป้ายเหนือประตูทางเข้า สำนักงานกลาง มาตราชั่งตวงวัด Central Bureau of Weights & Measures ให้เห็นข้าราชการสำนักนี้กำลังทำงานกัน กับการตวง การชั่ง การวัด ให้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานนี้ ที่น่าสนใจคือในบรรดาข้าราชการหนุ่ม ๆ ที่กำลังทำงานอย่างขมักเขม้นนี้ มีขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งเป็นหัวหน้ากอง กำกับการอยู่ด้วย (ท่านขุนผู้นี้ต่อมามีชื่อเสียงรุ่งโรจน์ในฐานะ นักเขียน นักการลคร ผู้กำกับภาพยนตร์ โดยเฉพาะของโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง) นี่แสดงว่าการกำหนดและควบคุมมาตรฐานการชั่งตวงวัดเป็นอีกกิจการหนึ่งของกระทรวงนี้
ภาพยนตร์ตัดไปที่หัวข้อ ต่อไปคือ สถานีโทรศัพท์กลาง แล้วนำไปที่ตัวอาคารที่ตั้งสถานี เป็นอาคารตึกใหญ่โตสองชั้นริมถนน (ซึ่งน่าจะที่สามเสน ?) แล้วพาเข้าไปข้างใน ดูข้าราชการหนุ่ม ๆ กำลังทำงานในห้อง ก่อนจะตัดไปเห็นพนักงานต่อโทรศัพท์ หรือโอปะเรเตอร์ ซึ่งล้วนเป็นสตรีและล้วนแต่งกายชุดผ้านุ่ง เสื้อคอกระเช้า ? (เรียกไม่ถูก) และเอาไว้ผมทรงบ้อบที่คงกำลังเป็นสมัยนิยมทุกคน พนักงานสตรีเหล่านี้กำลังเดินเรียงแถวมาลงชื่อเข้างาน เพื่อเปลี่ยนกะเข้าเวรประจำที่นั่งสำหรับต่อโทรศัพท์ ภาพยนตร์บรรจงถ่ายให้เห็นเฉพาะตัวที่พนักงานบางคนกำลังทำงานอย่างคล่องแคล่ว แสดงว่านี้เป็นกิจการอีกอย่างหนึ่งของกระทรวงนี้
ภาพยนตร์ตัดไปที่หัวข้อ คนงานโทรศัพท์ คราวนี้พาไปให้เห็นพนักงานกำลังใช้เครื่องจักร์ปักและติดตั้งเสาโทรศัพท์ ในท้องถนนหลวงในพระนคร เห็นการฝังท่อวางสายใต้ดิน การเดินสายบนอากาศ การถอนเปลี่ยนเสาไม้เก่าที่ชำรุด
สุดท้ายภาพยนตร์ตัดไปที่หัวข้อ ที่ศาลาแยกธาตุ ให้เห็นอาคารปูนชั้นเดียวหลังหนึ่งในบริเวณพื้นที่ของกระทรวง เข้าไปข้างใน เห็นเจ้าหน้าที่กำลังทำงาน มีฝรั่งชาวต่างชาติคนหนึ่งกำลังทำงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องซึ่งเต็มไปด้วยขวดแก้วและอุปกรณ์การทดลองทดสอบเคมี มีเจ้าหน้าที่ชายไทยอีกสามสี่นายกำลังทำงานทดสอบด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ นี่คือกิจการอีกอย่างหนึ่งของกระทรวงพาณชย์แลคมนาคม คือการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อกำหนดและควบคุมมาตรฐานของสินค้า
ภาพยนตร์จบลงเพียงเท่านี้ ไม่มีข้อความบอกจบ จึงยังระบุไม่ได้ว่ามีเพียงเท่านี้หรือเหลือมาเพียงเท่านี้
คำอธิบายเนื้อหาโดย โดม สุขวงศ์
https://www.youtube.com/watch?v=2mYO7AYqzh4
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 22/02/2025 3:02 pm
Post subject:
มีราง Dual gauge ให้ชมด้วย เยี่ยมเลยครับ
ชอบฉากพนักงานสลับสายโทรศัพท์ แจ็คถอดเข้าออกบ่อย น่าจะพังไวนะครับ
ศาลาแยกธาตุก็น่าสนใจ คลาสสิกมากครับ อยากทำงานในห้องแล็บโบราณแบบนี้
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/02/2025 3:39 pm
Post subject:
มรดกพระจอมเกล้า (2497)
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
Feb 25, 2025
ในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อโลกเข้าสู่ภาวะสงครามเย็น สำนักข่าวสารอเมริกันได้เข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติการทางจิตวิทยาให้ประชาชนหวาดกลัวและต่อต้านคอมมิวนิสต์ บทบาทที่สำคัญหนึ่งคือการโหมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกาให้คนไทยรู้จัก และได้เชิญชวนนักสร้างหนังไทยมืออาชีพมาสร้างภาพยนตร์ที่เรียกว่าภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อให้สำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ
ผลงานเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในระยะแรกคือเรื่อง มรดกพระจอมเกล้า ที่แสดงความสัมพันธ์อันดีตั้งแต่เริ่มต้นระหว่างอเมริกันกับไทยที่มีมายาวนาน โดยสำนักข่าวสารอเมริกัน ได้ชักชวน ม.จ. ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล พระโอรสของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และเป็นผู้กำกับหนังไทยที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลก ให้มาเป็นผู้กำกับ
มรดกพระจอมเกล้า ดำเนินเรื่องตั้งแต่ครั้งเจ้าฟ้ามงกุฎ ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ 3 ภาพยนตร์แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระสหายเป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน คือ หมอบรัดเล ซึ่งทรงคุ้นเคยและเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาการสมัยใหม่จากพระสหายท่านนี้ เช่นเรื่องการพิมพ์ และการแพทย์ ต่อมา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัสประกาศว่า ในรัชสมัยของพระองค์ทรงมีความนิยมและไม่มีความระแวงสงสัยคนอเมริกันในทุกกรณี และเมื่อผลัดแผ่นดินเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามยังได้รับการช่วยเหลือจากคนอเมริกัน คือ ยอร์จ แมคคาแลน ที่มาเป็นอาจารย์สอนนักเรียนแพทย์ ทำให้เกิดมีโรงเรียนสอนการแพทย์ขึ้นเป็นแห่งแรก
ถึงแม้จะใช้ผู้สร้างมืออาชีพมาจากฮอลลีวู้ด แต่กองถ่ายมิได้ใช้นักแสดงอาชีพ หากใช้ผู้แสดงสมัครเล่นหรือกิตติมศักดิ์ เช่น ผู้แสดงเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ คือ สันตสิริ หรือ สงบ สวนสิริ นักประพันธ์นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ ในขณะที่บทหมอบรัดเล แสดงโดย Daniel Moore เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักข่าวสารอเมริกันที่เชียงใหม่มาแสดง
ผู้แต่งเรื่อง มรดกพระจอมเกล้า คือ Arnold Belgard ซึ่งได้สอดแทรกเกร็ดประวัติศาสตร์ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี เช่น การศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ อย่างมุ่งมั่นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ หรือ การประพาสต้นที่บ้านเจ๊กฮวด สมุทรสงคราม ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้นำภาพยนตร์นี้ออกฉายเผยแพร่ครั้งแรก ราวปี 2497 และฉายต่อเนื่องเป็นระยะอีกนานหลายปี ทั้งในโรงภาพยนตร์และหน่วยฉายหนังกลางแปลงทั่วประเทศ โดยเฉพาะการส่งไปฉายในโรงเรียน ก่อนที่สำนักข่าวสารอเมริกันนี้จะมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกนิยมชมชื่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นมหามิตรใหม่ที่หยิบยื่นความช่วยเหลือนานาชนิด และปกป้องมิให้ประเทศตกอยู่ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์
มรดกพระจอมเกล้า จึงมีค่าเป็นเอกสารหลักฐานการสร้างอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อประเทศไทย ผ่านการทำสงครามจิตวิทยา ซึ่งกลายเป็นสงครามเย็นที่ครอบงำโลกในยุคทศวรรษของปี พ.ศ. 2490 2510 เป็นบันทึกความทรงจำของยุคสมัยที่สังคมไทยเริ่มผูกพันอันดีกับอเมริกันได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่อาจจะสัมผัสได้จากคำบอกเล่า ปัจจุบัน หอภาพยนตร์ได้ขึ้นทะเบียนภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ
ปีสร้าง 2497
16 mm สี เสียง
ความยาว 51.00 นาที
ผู้สร้าง: สำนักข่าวสารอเมริกัน
https://www.youtube.com/watch?v=FNedKbEqV1o
อันนี้เป็นเวอร์ชันที่คุณมนัส กิ่งจันทร์ ลงไว้ครับ
มรดกพระจอมเกล้า ปี 2497 ของ สงบ สันติสิริ#ฟิล์มเก่าเล่าอดีต
ชุมทางหนังไทย
Aug 5, 2022
https://www.youtube.com/watch?v=sSu-rkQfotU
Last edited by Mongwin on 26/02/2025 3:29 pm; edited 1 time in total
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/02/2025 12:50 pm
Post subject:
หอภาพยนตร์ Thai Film Archive
สะพานในภาพยนตร์ เส้นทางเชื่อมต่อสู่อดีต
.
🌉 สะพาน คือ โครงสร้างที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่สองฝั่งเพื่อให้สิ่งมีชีวิตหรือยานพาหนะสามารถข้ามผ่านได้ สะพานบางแห่งเมื่อเวลาผ่านไปได้กลายเป็นแลนด์มาร์กของเมือง เพราะยังคงอยู่แม้สิ่งต่าง ๆ รอบข้างมีการเปลี่ยนแปลง อาจกล่าวได้ว่า สะพานสามารถใช้เป็นเส้นทางย้อนกลับสู่อดีต การเห็นสะพานในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านของพื้นที่และสังคมในแต่ละยุคสมัย
.
🌟ในวันนี้ หอภาพยนตร์ขอนำเสนอบทความจากคอลัมน์คลังอนุรักษ์ของจดหมายข่าวฉบับเดือนมีนาคม-เมษายน 2568 กับภาพยนตร์ที่ถ่ายภาพของ สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานพระราม 6 สะพานจุฬาลงกรณ์ สะพานปรมินทร์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ สะพานข้ามแม่น้ำแม่สาย สะพานห้าหอและสะพานคอมโพสิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความน่าสนใจจากคอลเลกชันของหอภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ข่าวจากสถานีโทรทัศน์ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ และภาพยนตร์สารคดีที่บันทึกภาพเหตุการณ์ของบ้านเมือง เป็นต้น
https://fapot.or.th/main/information/article2/view/126/0
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/04/2025 11:27 am
Post subject:
ถ้าชอบดูรถไฟเก่าๆ ในอดีต ต้องคลิปนี้ คัดมาจากหนังไทย ปี 2493-2510#ฟิล์มเก่าเล่าอดีต
ชุมทางหนังไทย
Sep 30, 2021
https://www.youtube.com/watch?v=XIwQYkNH7_Q
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/04/2025 8:20 pm
Post subject:
โตนงาช้าง ปี 2494 สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์-สอางค์ ทิพย์ทัศน์ พากย์เสียงโดย ลุงมนัส ป้าเทพ ป้าแตง ป้าสุ
ชุมทางหนังไทย
Mar 28, 2022
https://www.youtube.com/watch?v=AxNgx6mYFVk
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/05/2025 10:21 am
Post subject:
ภาพเก่า สถานีชุมทางแก่งคอย จากหนัง ชะตาชีวิต ปี 2519 ครรชิต-เพชรา-ประจวบ-ด. ญ.ตุ๊กตา จินดานุช
ชุมทางหนังไทย
May 7, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=bQs3wI_SFn8
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007
Posts: 48319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/05/2025 7:21 pm
Post subject:
พระเจ้าช้างเผือก 2484 (พากย์ไทย) หนังที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก
Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์)
May 16, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=DenTuorhSNI
พระเจ้าช้างเผือก เป็นภาพยนตร์ไทยพูดภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้น เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องสันติภาพให้แก่นานาประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนวยการสร้างและเขียนเรื่องโดย ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษและผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์คือสงครามช้างเผือกและสงครามยุทธหัตถี มาผูกเป็นเรื่องราวระหว่าง พระเจ้าจักราแห่งอโยธยา ธรรมราชาผู้สนพระทัยในทุกข์และสุขของราษฎร ไม่โปรดปรานในประเพณีที่ล้าหลัง กับ พระเจ้าหงสา ทรราชย์ผู้มีนโยบายรุกรานดินแดนอื่น และส่งกองทัพบุกมาบังคับขอช้างเผือกของพระเจ้าจักรา สงครามขึ้นระหว่างอโยธยากับหงสาจึงเกิดขึ้น แต่พระเจ้าจักรากลับท้าพระเจ้าหงสาชนช้างตัวต่อตัว เพราะไม่ต้องการให้พลทหารต้องบาดเจ็บล้มตาย การต่อสู้ในครั้งนี้มิได้ต้องการพิชิตสงครามในความหมายเก่า แต่ทรงต้องการสันติภาพในความหมายใหม่
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2554 หอภาพยนตร์ได้จัดงานฉลองครบรอบ 70 ปี พระเจ้าช้างเผือก ภาพยนตร์แห่งสันติภาพเหนือกาลเวลา โดยได้ทำเสียงพากย์ไทยขึ้นมาใหม่อีกฉบับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติเมื่อปี 2554 และขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) โดยองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ในปี 2568
พระเจ้าช้างเผือก The King of the White Elephant
ประเทศไทย / พ.ศ. 2484 / ความยาว 100 นาที
Thailand / 1941 / 100 min
บริษัทสร้าง Production Company: ปรีดี โปรดักชัน Pridi Production
ผู้กำกับ Director: สัณห์ วสุธาร Sunh Vasudhara
เนื้อเรื่อง Story: ปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong
ผู้กำกับภาพ Director of Photography: ประสาท สุขุม Prasart Sukhum
บันทึกเสียง Sound: ชาญ บุนนาค Charn Bunnag
กำกับศิลป์ Art Director: หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ M.C. Yachai Chitrabongse
ลำดับภาพ Editor: บำรุง แนวพานิช Bamrung Naewbanji
นักแสดง Cast: เรณู กฤตยากร, สุวัฒน์ นิลเสน และหลวงศรีสุรางค์ Renu Kritayakorn, Suvat Nilsen and Luang Srisurang
Back to top
Display posts from previous:
All Posts
1 Day
7 Days
2 Weeks
1 Month
3 Months
6 Months
1 Year
Oldest First
Newest First
Rotfaithai.Com Forum Index
->
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
All times are GMT + 7 Hours
Goto page
Previous
1
,
2
,
3
...
166
,
167
,
168
Page
168
of
168
Share
|
Jump to:
Select a forum
General
----------------
ข้อตกลงและข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์ฯ
สัพเพเหระ
พักผ่อนหย่อนใจ
ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
Member's Zone
----------------
กำหนดตารางนัดหมาย
บทความ, เรื่องสั้นพิเศษ และทริปพิเศษ
คำถามเด็ดแฟนพันธุ์แท้รถไฟไทย
ซื้อขาย/แลกเปลี่ยน
กิจกรรมร่วมสนุก
สภากาแฟ
ภาพ/วิดีโอรถไฟไทยจากผลงานของสมาชิก
ทริปตะลอนทัวร์สไตล์รถไฟไทยดอทคอม
สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
Railway of Thailand
----------------
เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
Electrical Railways of Thailand
----------------
รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
Foreign Zone (English Language Only)
----------------
General Topics
State Railway of Thailand/Thai Rail Fans
World Railways
----------------
เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
ภาพรถไฟต่างประเทศ
ภาพประสบการณ์เดินทางกับรถไฟต่างประเทศ
Railway Games & Models
----------------
Railway Games & Train Simulator
Railway Models
Problems & Support
----------------
Problems, Bugs & Helpdesk
You
cannot
post new topics in this forum
You
cannot
reply to topics in this forum
You
cannot
edit your posts in this forum
You
cannot
delete your posts in this forum
You
cannot
vote in polls in this forum
Powered by
phpBB
© 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©