Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312366
ทั่วไป:14095666
ทั้งหมด:14408032
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 289, 290, 291
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 45053
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2025 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ใต้ดิน-บนดิน คิกออฟ 1 ต.ค.
การเมือง
วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 12:42 น.



ครม.เห็นชอบค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เปิดลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ ใช้ได้ทั้งบัตรแรบบิท-บัตรเครดิต ลงทะเบียนสิงหาคม เริ่มคิกออฟให้บริการตุลาคม

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ในราคาไม่เกิน “20 บาทตลอดสาย” ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดราคาค่าครองชีพในทุกมติให้กับประชาชน เช่น การปรับราคาค่าครองชีพ ค่าสาธารณูปโภค และค่าพลังงานต่าง ๆ

ทั้งนี้ นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายจัดอยู่ในนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้กับประชาชนที่จะเร่งดำเนินการ ซึ่งมั่นใจว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องด้วยผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถที่มีข้อกำหนด หรือเงื่อนไขทางธุรกิจแตกต่างกัน จึงได้กำหนดให้ประชาชนลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” เพื่อรองรับการใช้งานตามนโยบาย

โดยเงื่อนไขการลงทะเบียนนั้น ก็เพื่อยืนยันตัวบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น โดยระบุเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้ผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรโดยสาร (Rabbit Card ที่เคยลงทะเบียนไว้) ที่จะใช้งานกับระบบรถไฟฟ้าผ่านแอป “ทางรัฐ” ทั้งนี้ บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิโดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 โดยจะครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง, สีชมพู, สีน้ำเงิน, สายสีม่วง, สายสีแดง และสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL)

ทั้งนี้ การใช้บริการรูปแบบบัตร Rabbit Card (บัตรเติมเงิน) จะใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, เหลือง, ชมพู ขณะที่บัตร EMV Contactless (หรือบัตรเครดิต Visa/Mastercard) สามารถใช้กับ 6 สาย คือ สายสีแดง, น้ำเงิน, ม่วง, ชมพู, เหลือง, ARL (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) โดยในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน

โดยมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายนี้จะครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 279.84 กิโลเมตร 194 สถานี สำหรับแนวทางการชดเชยรายได้ค่าโดยสารจากการดำเนินมาตรการ จะมาจากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ยังได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ จะประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ 2.ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และการลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ และ 3.ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทั้ง 3 ด้าน ประเมินเป็นประโยชน์ในการประหยัดงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ภายในช่วงเดือนสิงหาคม 2568 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิค่าโดยสาร 20 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” และภายใน 1 ตุลาคม 2568 จะเริ่มดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล และภายหลังจากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะ ลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน ช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะของรัฐ เพื่อเดินทางถึงปลายทางด้วยระบบรถไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัย สะดวก ตรงเวลา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในราคาค่าโดยสารที่เข้าถึงได้ตามนโยบายของรัฐบาล เกิดการใช้บริการในระบบขนส่งมวลชน

รวมทั้งความคุ้มค่าจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ และเพิ่มมูลค่าความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เป็นส่วนสนับสนุนการลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดการใช้พลังงานน้ำมัน ลดปริมาณมลพิษจากการจราจร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมให้คุณภาพอากาศในพื้นที่ตามแนวสายทางและข้างเคียงให้ดีขึ้น...
https://www.prachachat.net/politics/news-1842319

เตรียมลงทะเบียน รับสิทธิรถไฟฟ้า 20 บาท 6 สาย เริ่ม 1 ต.ค. 68
ในประเทศ
วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 12:48 น.



ครม.เห็นชอบมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ราคาไม่เกิน 20 บาท ครอบคลุม 6 สาย 13 เส้นทาง ต้องลงทะเบียนในแอปทางรัฐสิงหาคมนี้ 

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ระบุว่า เห็นชอบมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ในราคาไม่เกิน “20 บาทตลอดสาย” ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดราคาค่าครองชีพในทุกมติให้กับประชาชน เช่น การปรับราคาค่าครองชีพ ค่าสาธารณูปโภค และค่าพลังงาน



ทั้งนี้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จัดอยู่ในนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้กับประชาชน ที่จะเร่งดำเนินการ ซึ่งมั่นใจว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องด้วยผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถที่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางธุรกิจแตกต่างกัน

เงื่อนไขต้องลงทะเบียนในแอปทางรัฐ
ในมติ ครม.กำหนดให้การใช้รถไฟฟ้า ราคา 20 บาทตลอดสาย กำหนดให้ประชาชนลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” เพื่อรองรับการใช้งานตามนโยบาย


โดยเงื่อนไขการลงทะเบียน เพื่อยืนยันตัวบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น โดยระบุเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้ผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรโดยสาร (Rabbit Card ที่เคยลงทะเบียนไว้) ที่จะใช้งานกับระบบรถไฟฟ้าผ่านแอป “ทางรัฐ”

รถไฟฟ้า 6 สาย 20 บาท เริ่ม 1 ต.ค.นี้
ทั้งนี้ บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิโดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 โดยจะครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง, สีชมพู, สีน้ำเงิน, สายสีม่วง, สายสีแดง และสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL)

การใช้บริการรูปแบบบัตร Rabbit Card (บัตรเติมเงิน) จะใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, เหลือง, ชมพู ขณะที่บัตร EMV Contactless (หรือบัตรเครดิต Visa/Mastercard) สามารถใช้กับ 6 สาย คือ สายสีแดง, น้ำเงิน, ม่วง, ชมพู, เหลือง, ARL (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) โดยในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน


โดยมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายนี้ จะครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 279.84 กิโลเมตร 194 สถานี สำหรับแนวทางการชดเชยรายได้ค่าโดยสารจากการดำเนินมาตรการ จะมาจากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ จะประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

1. ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์
2. ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และการลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ
3. ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทั้ง 3 ด้าน ประเมินเป็นประโยชน์ในการประหยัดงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท

เริ่มลงทะเบียนสิงหาคม 2568
ทั้งนี้ ภายในช่วงเดือนสิงหาคม 2568 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิค่าโดยสาร 20 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” และภายใน 1 ตุลาคม 2568 จะเริ่มดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สูงสุด 20 บาทตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล และภายหลังจากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง.. https://www.prachachat.net/general/news-1842316
ดีเดย์ ต.ค.นี้!‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ ครอบคลุมทุกสายทั้งกรุงเทพและปริมณฑล
วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13.04 น.

‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ดีเดย์ราคาเดียว 1 ตุลาคม นี้ ครอบคลุมทุกสาย ทั้งกรุงเทพและปริมณฑล มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดตามนโยบายลดค่าครองชีพ คาดผู้ใช้จะเพิ่มมากขึ้น แถมลดปริมาณ pm 2.5 และการใช้รถยนต์บนถนนมากขึ้น

8 กรกฎาคม 2568 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ในราคาไม่เกิน “20 บาทตลอดสาย ” ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดราคาค่าครองชีพในทุกมติ ให้กับประชาชน เช่น การปรับราคาค่าครองชีพ ค่าสาธารณูปโภค และค่าพลังงานต่าง ๆ



ทั้งนี้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จัดอยู่ในนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้กับประชาชน ที่จะเร่งดำเนินการ ซึ่งมั่นใจว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องด้วยผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถที่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางธุรกิจแตกต่างกัน จึงได้กำหนดให้ประชาชนลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแอปพลิเคชั่น "ทางรัฐ" เพื่อรองรับการใช้งานตามนโยบาย


สำหรับเงื่อนไขการลงทะเบียนนั้น ก็เพื่อยืนยันตัวบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น โดยระบุเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้ผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรโดยสาร (Rabbit Card ที่เคยลงทะเบียนไว้) ที่จะใช้งานกับระบบรถไฟฟ้าผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” ทั้งนี้ บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิ์โดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 โดยจะครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว,สีทอง,สีเหลือง,สีชมพู,สีน้ำเงิน,สายสีม่วง,สายสีแดง และ สายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL)

ทั้งนี้การใช้บริการรูปแบบบัตร Rabbit Card (บัตรเติมเงิน) จะใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, เหลือง, ชมพู ขณะที่บัตร EMV Contactless (หรือบัตรเครดิต Visa/Mastercard) สามารถใช้กับ 6 สาย คือ สายสีแดง, น้ำเงิน, ม่วง, ชมพู, เหลือง, ARL (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) โดยในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน


นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า โดยมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายนี้จะครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 279.84 กิโลเมตร 194 สถานี สำหรับแนวทางการชดเชยรายได้ค่าโดยสารจากการดำเนินมาตรการ จะมาจากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ยังได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ จะประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ 2. ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และ การลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทั้ง 3 ด้าน ประเมินเป็นประโยชน์ในการประหยัดงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ภายในช่วงเดือน สิงหาคม 2568 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ค่าโดยสาร 20 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" และภายใน 1 ตุลาคม 2568 จะเริ่มดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สูงสุด 20 บาทตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล และภายหลังจากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะ ลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน ช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะของรัฐเพื่อเดินทางถึงปลายทางด้วยระบบรถไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัย สะดวก ตรงเวลา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในราคาค่าโดยสารที่เข้าถึงได้ตามนโยบายของรัฐบาล เกิดการใช้บริการในระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งความคุ้มค่าจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ และเพิ่มมูลค่าความอยู่ดีมีสุขของประชาชน เป็นส่วนสนับสนุนการลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดการใช้พลังงานน้ำมัน ลดปริมาณมลพิษจากการจราจร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมให้คุณภาพอากาศในพื้นที่ตามแนวสายทางและข้างเคียงให้ดีขึ้น

“สุริยะ”เร่งนำรถไฟฟ้า20 บ.ทั้ง 8 สายบรรจุวาระครม.
*30ก.ย.พร้อมบริการผู้โดยสารทุกสีทะลุ2ล้านคน/วัน
*เปิดตัวเลขสายสีแดง-สีม่วงปี 2ใช้บริการ-รายได้พุ่ง
*สายสีแดงปังมากใช้เพิ่ม79.22%-สีม่วงสูงขึ้น18.3%
*ชดเชย8พันล้าน/ปีน้อยลง-แต่ยังหาจุดคุ้มทุนไม่เจอ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1270458394531392

Wisarut wrote:
“ดร.สามารถ” เตือนรัฐบาล อย่าแถมเงินให้นายทุน ปมรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หวั่นเอื้อประโยชน์-เงินชดเชยไม่ยั่งยืน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13:54 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 15:52 น.

ทั้งหมดนี้ด้วยความหวังดี อยากให้นโยบายนี้มีความยั่งยืน ไม่ใช่แค่หาเสียงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้าเท่านั้น
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000063894

Wisarut wrote:
‘สามารถ’ ตั้ง 4 คำถาม รถไฟฟ้า 20 บาท ระวังแถมเงินให้นายทุน
วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 12:03 น.

6 ก.ค. 2568 – ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ระบุว่า

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระวัง! อย่าแถมเงินให้นายทุน
https://www.thaipost.net/x-cite-news/819559/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 45053
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2025 10:40 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์! 1 ต.ค.นี้ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” ครม. อนุมัติ 13 เส้นทาง
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13:46 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 13:49 น.

ครม. อนุมัติ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” รวม 13 เส้นทาง เริ่ม 1 ตุลาคม 2568 นี้ เป็นระยะเวลา 1 ปี เบื้องต้นจะใช้วงเงินในการดำเนินการกว่า 5,668 ล้านบาท พร้อมเปิดลงทะเบียน
วันนี้ (8 กรกฎาคม 2568) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” หรือมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ในราคาไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568-30 กันยายน 2569

สำหรับมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายนี้จะครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 286.84 กิโลเมตร 193 สถานี ประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน และแอร์พอร์ตลิงก์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเหลือ สายสีชมพู ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท สายสีลม และสายสีทอง ของกรุงเทพมหานคร (กทม.)
เบื้องต้นจะใช้วงเงินในการดำเนินการจำนวน 5,668 ล้านบาท แบ่งเป็น การชดเชยรายได้ค่าโดยสาร ซึ่งมีแหล่งเงินจากงบประมาณแผ่นดิน เงินกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม อีกส่วนคือ การพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ซึ่งจะใช้เงินจากงบกลาง โดยในการดำเนินมาตรการทั้งหมดจะครองคลุม 1 ปี

ใครใช้บริการต้องลงทะเบียน
ทั้งนี้ นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จัดอยู่ในนโยบายเร่งด่วน ที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้กับประชาชน ที่จะเร่งดำเนินการ ซึ่งมั่นใจว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องด้วยผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถที่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางธุรกิจแตกต่างกัน จึงได้กำหนดให้ประชาชนลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแอปพลิเคชั่น "ทางรัฐ" เพื่อรองรับการใช้งานตามนโยบาย

โดยเงื่อนไขการลงทะเบียนนั้น ก็เพื่อยืนยันตัวบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น โดยระบุเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้ผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรโดยสาร (Rabbit Card ที่เคยลงทะเบียนไว้) ที่จะใช้งานกับระบบรถไฟฟ้าผ่านแอปฯ “ทางรัฐ”

ทั้งนี้ บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิ์โดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 โดยจะครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว,สีทอง,สีเหลือง,สีชมพู,สีน้ำเงิน,สายสีม่วง,สายสีแดง และ สายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL)

ทั้งนี้การใช้บริการรูปแบบบัตร Rabbit Card (บัตรเติมเงิน) จะใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, เหลือง, ชมพู ขณะที่บัตร EMV Contactless (หรือบัตรเครดิต Visa/Mastercard) สามารถใช้กับ 6 สาย คือ สายสีแดง, น้ำเงิน, ม่วง, ชมพู, เหลือง, ARL (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) โดยในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน


ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ทั้งนี้ยังได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์
ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และ การลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ
ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยทั้ง 3 ด้าน ประเมินเป็นประโยชน์ในการประหยัดงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท และภายในช่วงเดือน สิงหาคม 2568 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ค่าโดยสาร 20 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" และภายใน 1 ตุลาคม 2568 จะเริ่มดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สูงสุด 20 บาทตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล และภายหลังจากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ครม.เคาะรถไฟฟ้า 20 บาทใช้ได้ 8 สายแต่ไม่ได้ทุกคน เริ่ม 1 ต.ค.68 บัตร MRT Plus หมดสิทธิ์-ตั้งงบชดเชย 5 พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 16:45 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 08:27 น.

ครม.ไฟเขียวขยาย"รถไฟฟ้า 20 บาท" ใช้ได้ 8 สาย เปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์ ส.ค.เริ่มใช้ 1 ต.ค.68"สุริยะ"มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ยันเงื่อนไขต้องจ่ายด้วยบัตร EMV หรือ Rabbit Card เท่านั้น ตั้งงบชดเชยส่วนต่างรายได้ รวม 5,512 ล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ก.ค.2568 มีมติเห็นชอบ มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2568 ครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 8 สาย ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว,สีทอง,สีเหลือง,สีชมพู,สีน้ำเงิน,สายสีม่วง,สายสีแดง และ สายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) โดยมาตรการดังกล่าวมีกรอบระยะเวลาการดำเนินมาตรการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2568 ถึง 30 กันยายน 2569 หรือตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการขยายมาตรการจากปัจจุบันที่ใช้ได้กับรถไฟฟ้า 2 สาย คือสายสีแดงและสีม่วง

ทั้งนี้ เนื่องด้วยผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีรูปแบบสัญญาสัมปทานและสัญญาจ้างเดินรถที่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางธุรกิจแตกต่างกัน จึงได้กำหนดให้ประชาชนต้องลงทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดบนแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เพื่อรองรับการใช้งานตามโนบาย โดยเงื่อนไขนั้นการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวบุคคลที่มีสัญชาติไทย โดยระบุเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก บัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัตรโดยสาร (Rabbit Card ที่ลงทะเบียน) ที่จะใช้งานกับระบบรถไฟฟ้า ผ่านแอปฯ “ทางรัฐ”

ทั้งนี้ บัตรที่ได้รับการยืนยันการลงทะเบียนจะได้สิทธิโดยอัตโนมัติ เมื่อใช้งานหลังจากเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 68 ครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้ง 8 สายที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน



@ ราคา 20 บาท ไม่ทุกคนเฉพาะจ่ายด้วยบัตร EMV หรือ Rabbit Card เท่านั้น

สำหรับการใช้บริการค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนั้น ต้องชำระค่าโดยสารด้วย บัตร EMV Contactless (Visa/Mastercard) ซึ่งจะใช้ได้กับรถไฟฟ้า 6 สาย คือ สายสีแดง, สีน้ำเงิน, สีม่วง, สีชมพู, สีเหลือง, ARL (ไม่รวมสีทองและสีเขียว) ส่วนการชำระด้วยบัตร Rabbit Card ใช้ได้กับสายสีเขียว, สีทอง, สีเหลือง, สีชมพู ซึ่งเป็นโครงข่ายที่มีกลุ่ม BTS เป็นผู้ให้บริการ และคาดว่าในอนาคตจะมีการเปิดระบบสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน

นายสุริยะ กล่าวว่า ภายในเดือน สิงหาคม 2568 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ค่าโดยสาร 20 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" และภายใน 1 ตุลาคม 2568 จะเริ่มดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า สูงสุด 20 บาทตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล และภายหลังจากนั้นจะมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้โครงสร้างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จะเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการสาธารณะ ลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชน ช่วยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะของรัฐเพื่อเดินทางถึงปลายทางด้วยระบบรถไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัย สะดวก ตรงเวลา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในราคาค่าโดยสารที่เข้าถึงได้ตามนโยบายของรัฐบาล เกิดการใช้ความจุของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเกิดความคุ้มค่าจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ และเพิ่มมูลค่าความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นส่วนสนับสนุนการลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดการใช้พลังงานน้ำมันลดปริมาณมลพิษจากการจราจร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมให้คุณภาพอากาศในพื้นที่ตามแนวสายทางและข้างเคียงให้ดีขึ้น" นายสุริยะ กล่าว



โดยมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย มีเป้าหมายที่จะให้ใช้ครอบคลุมโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่จะมีทั้งสิ้น จำนวน 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 279.84 กิโลเมตร 194 สถานี โดยปัจจุบัน เปิดให้บริการแล้ว 10 เส้นทาง อีก 3 เส้นทางที่เหลือคือสายสีส้ม อยู่ระหว่างก่อสร้าง สายสีเทาและสีน้ำตาลอยู่ระหว่างขั้นตอนศึกษาและนำเสนอขออนุมัติโครงการ

@คาดใช้งบชดเชยส่วนต่างรายได้ รวม 5,512 ล้านบาท

โดยใช้งบประมาณในการชดเชยรายได้ค่าโดยสาร รวมทั้งสิ้น 5,512 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชดเชยรวม 666 ล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟชานเมืองสายสีแดง ชดเชย 189 ล้านบาท และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ ชดเชย 477 ล้านบาท แหล่งที่มาของบมาจากงบประมาณแผ่นดิน

2.โครงข่ายรถไฟฟ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ชดเชยรวม 2,321 ล้านบาท แบ่งเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 1,192 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีม่วง 480 ล้านบาท,รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 249 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีชมพู 400 ล้านบาท แหล่งที่มาของงบมาจากกองทุนส่งเสริมระบบตั็วร่วมหรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม

3. โครงข่ายรถไฟฟ้าของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชดเชยรวม 2,525 ล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2,503 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีทอง 22 ล้านบาท

ทั้งนี้ ได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ จะประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถ 7,360.43 ล้านบาท 2. ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และ การลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ 2,612.02 ล้านบาท และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 77.28 ล้านบาท รวมทั้ง 3 ด้านประเมินเป็นประโยชน์ในงบประมาณ 2569 รวม 10,049.73 ล้านบาท

ทั้งนี้ยังได้ประมาณการผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วง 1 ปี ในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับผลประโยชน์ จะประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ ประเมินจากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถ 7,360.43 ล้านบาท 2. ด้านสังคม ประเมินจากค่าความสุข และ การลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ 2,612.02 ล้านบาท และ 3. ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 77.28 ล้านบาท รวม ทั้ง 3 ด้านประเมินเป็นประโยชน์ในงบประมาณ 2569 รวม 10,049.73 ล้านบาท



@ไม่ลงทะเบียนแอปฯทางรัฐ- MRT Plus- บัตรเติมเงิน สีแดง แอร์พอร์ตลิงก์ ไม่มีสิทธิ์

ทั้งนี้ มาตรการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะไม่ครอบคลุมกรณีใช้บัตรโดยสารแบบเติมเงิน ทั้ง MRT Plus ของสายสีน้ำเงิน-ม่วง หรือบัตรเติมเงิน (Stored Value Card) ของรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยจะต้องจ่ายค่าโดยสารในอัตราปกติ เพราะผู้จะได้รับสิทธิ์ 20 บาทตลอดสาย นอกจากต้องลงทะเบียนด้วยเลข 13 หลักบัตรประชาชนผ่านแอปฯ”ทางรัฐ”แล้ว บัตรที่ใช้จ่ายค่าโดยสาร ยังกำหนดเพียง 2 ประเภท คือ บัตร EMV (บัตรเครดิตได้ทุกธนาคาร แต่กรณีเป็นบัตรเดบิต จะให้ใช้ได้เฉพาะธนาคารกรุงไทยเท่านั้น ของธนาคารอื่นใช้ไม่ได้ ก็จะไม่ได้สิทธิ์ใช่หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ยังไม่รับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวและเข้าใจว่าจะได้รับสิทธิ์ 20 บาทตลอดสายเหมือนกันหมด ซึ่งคาดว่า จะมีผู้ได้รับประโยชน์จากรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายไม่เท่าเทียมกันทุกคน

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว ทางหน่วยงานภาครัฐมองว่า ผู้ถือบัตรเติมเงิน MRT และสายสีแดงมีจำนวนไม่มากนัก และในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบให้ชำระค่าโดยสารด้วยการสแกน QR Code ในมือถือแทนการใช้บัตรโดยสาร ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าถึงราคา 20 บาทตลอดสายได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งขณะนี้จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ ว่า จะได้รับสิทธิ์ ค่าโดยสาร 20 บาท อย่างไร
https://mgronline.com/business/detail/9680000064372

1 ต.ค.รถไฟฟ้า20บาทให้บริการได้แค่5สายไม่ครบ8
*แดง-ม่วง-น้ำเงิน-ชมพู-เหลือง/เขียว-ทอง-ARLอด
*ถ้ากฎหมายที่เกี่ยงข้อง3ฉบับไม่ผ่านวาระ2-3สภา
*ใช้งบประมาณชดเชยรัฐได้แต่ชดเชยเอกชนไม่ได้

รอลุ้นปลาย ก.ค.นี้ หากกฎหมาย 3 ฉบับไม่ผ่าน ได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บาท แค่ 5 สาย ใช้เงินงบประมาณ-เงิน รฟม. ชดเชย “แดง-ม่วง-น้ำเงิน-เหลือง-ชมพู” เริ่ม 1 ต.ค.68 เปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์ ส.ค.นี้…
https://www.dailynews.co.th/news/4898155/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/1272468054330426
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 45053
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2025 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568🔛 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.36%
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
🏗 ความก้าวหน้างานโยธา 11.87%
🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 5.61% ความก้าวหน้าโดยรวม 11.15%
หมายเหตุ : ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 12.67%
—————————————
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/1067828608868698
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 45053
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2025 1:35 am    Post subject: Reply with quote

อลม่าน “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” กทม. แจ้งของบชดเชยรายได้หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17:01 น.

“รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” เจอตอใหญ่ งบประมาณชดเชยส่วนต่างรายได้ไม่พอ หลังกทม. แจ้งต้องชดเชยส่วนต่าง 1.1 หมื่นล้าน แต่เอกสารชงครม. แจ้งแค่ 2.5 พันล้าน ขอรัฐบาลชดเชยให้ครบ
จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” หรือมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสาย ในราคาไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568-30 กันยายน 2569 เบื้องต้นกำหนดว่า จะใช้วงเงินในการดำเนินมาตรการจำนวน 5,668 ล้านบาท

โดยวงเงินก้อนนี้ แบ่งเป็น ส่วนแรกคือการชดเชยรายได้ค่าโดยสาร วงเงิน 5,512 ล้านบาท อีกส่วนคือ การพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ซึ่งจะใช้เงินจากงบกลาง วงเงิน 156 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าการพัฒนาระบบ ค่าเช่าบริการคลาวด์ และค่าบริหารจัดการ



อย่างไรก็ตามในการดำเนินมาตรการ “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” ครั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดการชดเชยรายได้ค่าโดยสารเอาไว้ในปีงบประมาณ 2569 เอาไว้แยกเป็นระบบรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) : รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน และแอร์พอร์ตลิงก์ กำหนดวงเงินชดเชยในปีงบ 2569 วงเงิน 666 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) : รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเหลือ สายสีชมพู กำหนดวงเงินชดเชยในปีงบ 2569 วงเงิน 2,321 ล้านบาท จากกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม หรือแหล่งเงินอื่นที่เหมาะสม
กรุงเทพมหานคร (กทม.) : รถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท สายสีลม และสายสีทอง กำหนดวงเงินชดเชยในปีงบ 2569 วงเงิน 2,525 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้ระบุ เนื่องจากกระทรวงคมนาคม ขอให้มอบหมาย กทม. รับไปพิจารณา
ล่าสุดฐานเศรษฐกิจตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีการท้วงติงเกี่ยวกับประเด็นการประมาณการค่าใช้จ่ายและมีแหล่งที่มาของงบฯ โดย กทม. เห็นว่า การประมาณการการชดเชยส่วนต่างรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าของ กทม. ในปีงบประมาณ 2569 น่าจะต้องใช้งบประมาณ จำนวน 11,059.64 ล้านบาท (กระทรวงคมนาคม ประมาณการไว้ที่ 2,525 ล้านบาท) และยังไม่รวมงบประมาณจากการปรับเปลี่ยนระบบจัดเก็บค่าโดยสาร

ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันประมาณการดังกล่าวตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอได้ และขอให้รัฐบาลชดเชยส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการโครงการที่แท้จริง รวมถึงขอให้จัดสรรงบประมาณในการปรับเปลี่ยนระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ทั้งนี้ฐานเศรษฐกิจตรวจสอบพบว่ามีการแจ้งข้อมูลจากกทม. ระบุว่า การชดเชยดังกล่าวรัฐบาลต้องเป็นผู้ชดเชยค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุมทั้งหมด


ขณะที่ กระทรวงการคลัง เห็นว่า สำหรับรถไฟฟ้าภายใต้กำกับของ รฟม. และของ กทม. เห็นควรให้ กระทรวงคมนาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแหล่งเงินให้ชัดเจน รวมถึงให้ กระทรวงคมนาคม รฟท. รฟม. และ กทม. ร่วมพิจารณาแนวทางการชดเชยรายได้ส่วนต่างที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและพิจารณาชดเชยรายได้ส่วนต่างให้แก่เอกชนคู่สัญญามีความเหมาะสมและเป็นธรรม
https://www.thansettakij.com/economy/632406?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 45053
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2025 2:11 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย “ฝันดีปีเดียว?”
วันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เวลา 18:46 น.

รัฐบาลบอกว่าเพื่อประชาชน แต่นี่อาจเป็นแค่ “ยาแก้ปวดชั่วคราว” ก่อนเลือกตั้ง ใครเห็นข่าวแล้วเฮ…ฟังทางนี้ก่อน พร้อมกับช่วยกันค้นหาคำตอบต่อคำถามสำคัญ “มันจะไปได้นานแค่ไหน?” หรือ “แค่ฝันดีปีเดียวแล้วตื่นมาจ่ายแพงเหมือนเดิม?”
ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อเร็วๆ นี้ ให้เริ่มดำเนินนโยบาย “รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2568 – 30 กันยายน 2569 ครอบคลุมรถไฟฟ้าทุกสาย ทุกสี
นโยบายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน และสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบขนส่งมวลชน
อย่างไรก็ตาม แม้นโยบายจะดูเป็น "ของขวัญเพื่อประชาชน" แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด กลับมีข้อกังวลหลายประการที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน เช่น
1. งบประมาณที่จัดสรรยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ในปีแรกของการดำเนินนโยบาย รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 5,668 ล้านบาท (ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยบอกว่าจะต้องใช้เงินชดเชยประมาณ 8,000 ล้านบาท/ปี) โดยแบ่งเป็นค่าชดเชยค่าโดยสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รฟท., รฟม., กทม. รวม 5,512 ล้านบาท และค่าพัฒนาระบบบริหารจัดการรายได้กลาง 156 ล้านบาท
แต่ข้อมูลจาก กทม.ระบุว่า เฉพาะในส่วนของ กทม.เพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องใช้เงินชดเชยถึง 11,059 ล้านบาท เท่ากับว่างบที่ได้รับจริง (2,525 ล้านบาท) นั้น ไม่ถึงหนึ่งในสี่ของความต้องการ
2. เจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานยังไม่ชัดเจน
รถไฟฟ้าหลายสายดำเนินการภายใต้สัมปทานให้เอกชน ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสว่า ภาครัฐได้ตกลงค่าชดเชยรายได้กับเอกชนได้ผลเป็นที่ยุติหรือไม่ แต่ผมรู้มาว่า ยังไม่ได้ข้อยุติ
3. ความยั่งยืนในระยะยาวยังไม่แน่นอน
นโยบายนี้ครอบคลุมเพียง 1 ปีเท่านั้น โดยไม่มีแผนรองรับหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2569 หากไม่มีการจัดทำแผนการเงินที่ยั่งยืน นโยบายนี้จะกลายเป็นเพียง "มาตรการชั่วคราว" ที่อาจยุติลงทันทีเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ
ยิ่งไปกว่านั้น หากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะ "ซื้อสัมปทานคืน" ทั้งหมดจากเอกชน ตัวเลขการลงทุนอาจสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งต้องการการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ
4. ประชาชนทุกกลุ่มอาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "ทุกคน" สามารถรับสิทธิ์ใช้รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้ แต่เงื่อนไขการใช้งานจริงระบุว่า ผู้ใช้ต้องมีการลงทะเบียนผ่านระบบแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" หรือใช้บัตร EMV (Europay, Mastercard และ Visa) หรือ Rabbit Card เท่านั้น
กลุ่มประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้น้อย อาจไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์นี้ได้โดยสะดวก
5. แหล่งรายได้ชดเชยระยะยาวยังไม่ชัดเจน
มีการเสนอแนวคิด "ค่าธรรมเนียมรถติด" หรือ Congestion Charge เพื่อเป็นรายได้เพิ่มเติมสำหรับชดเชยค่าโดยสารในอนาคต แต่แนวคิดนี้ยังคงอยู่ในระดับ "การศึกษา" และยังไม่มีความคืบหน้าในเชิงนโยบายหรือข้อกฎหมาย
6. ผู้ให้บริการเตรียมหารถไฟฟ้าเพิ่มไว้หรือยัง?
เมื่อค่าโดยสารถูกลง จะมีผู้โดยสารรถไฟฟ้ามากขึ้นแน่นอน แต่คำถามคือ...ผู้ให้บริการเตรียมรถไฟฟ้าเพิ่มไว้หรือยัง? ถ้าไม่ทันรับมือ แบบนี้คนได้ประโยชน์จะเป็นใครกันแน่?
สรุป
นโยบาย "รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" มีเจตนาที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีคำถามสำคัญหลายข้อ ทั้งในเรื่องความโปร่งใส การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ การบริหารจัดการสัมปทานกับเอกชน และความยั่งยืนของนโยบายในระยะยาว
หากรัฐบาลต้องการให้นโยบายนี้ “อยู่ยาว” และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะ ก็ต้องเริ่มวางแผนอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ โดยเฉพาะแผนทางการเงินที่ชัดเจน และการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่รอให้คนขึ้นแน่นก่อนแล้วค่อยคิด
"นโยบายที่ดี ไม่ควรเป็นแค่ของขวัญปีเดียว...หากต้องการให้เป็นรากฐานของความเสมอภาคในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศ"
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/1307414407417992
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 289, 290, 291
Page 291 of 291

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©