View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 25/06/2025 12:45 pm Post subject:
สถานีสะพานพุทธฯ เริ่มงานขุดอุโมงค์ mrt purple line (มิ.ย.68)
ัvnp story
Jun 25, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=SYQTkhpBe-M
สถานีสะพานพุทธฯ เริ่มงานขุดอุโมงค์ mrt purple line (มิ.ย.68)
ความคืบหน้าการก่อสร้าง สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ซึ่งเป็นสถานีที่ก่อสร้างใต้ถนนประชาธิปก ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ล่าสุด อยู่ระหว่างก่อสร้างงานทำพื้นระเบียงสถานี และงานขุดเจาะอุโมงค์ โดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในสัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า สะพานพุทธ
สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า ตำแหน่งสถานีอยู่ใต้ถนนประชาธิปก ระหว่าง จุดตัดถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับแยกบ้านแขก มีทางขึ้นลงทั้งหมด 4 จุด กำหนดแผนเปิดให้บริการประมาณปี 2571-2572
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 01/07/2025 12:49 pm Post subject:
สถานีดาวคะนอง สร้างทางวิ่งใต้ดินไต่ระดับเป็นลอยฟ้า mrt purple line (ก.ค.68)
ัvnp story
Jul 1, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=Z6bcv-1-Yr0
สถานีดาวคะนอง สร้างทางวิ่งใต้ดินไต่ระดับเป็นลอยฟ้า mrt purple line (ก.ค.68)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ล่าสุด เร่งก่อสร้างทางวิ่งอุโมงค์ใต้ดินไต่ระดับเป็นทางวิ่งลอยฟ้าเข้าใกล้สถานีดาวคะนอง
ที่กำลังติดตั้งวางคานโครงสร้างชั้นจำหน่ายตั๋วและชั้นชานชาลา
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างในสัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน
แจ้งว่ามีความจำเป็นต้องปิดการจราจรชั่วคราว ฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก 2ช่องจราจร บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน44 ถึงบริษัทตากสินเทรดดิ้ง ระยะทาง 250
ฝั่งขาเข้าเวลา 22:00 - 00:00น.
ฝั่งขาออกเวลา 00:00 - 04:00น.
เพื่องานติดตั้งคานคอนกรีต สถานีดาวคะนอง
สถานีดาวคะนอง เป็นสถานียกระดับสถานีแรกของโครงการ ส่วนต่อขยายสายสีม่วง ตรงนี้เป็นตำแหน่งจุดเปลี่ยนเส้นทางจากใต้ดินเป็นลอยฟ้า
บริเวณหน้าตลาดดาวคะนอง มีจุดขึ้น-ลง สถานี 2จุด
ภาพรวมความก้าวหน้า เดือนพฤษภาคม 2568 งานโยธา 55.97%
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45098
Location: NECTEC
Posted: 02/07/2025 1:12 pm Post subject:
งานโยธาคืบหน้าแล้วกว่า 17.99% กับการก่อสร้างสถานีพระประแดง (PP32) ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ตอนใต้) ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวม 24 กม. (ใต้ดิน 14 กม. ยกระดับ 10 กม.) มีทั้งหมด 17 สถานี (ใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 7 สถานี) โดยจะมี 6 สถานีเป็นเอกลักษณ์สวยงาม ซึ่งจะเปิดบริการปี 2572 (ขอขอบคุณภาพจาก รฟม.)
https://www.facebook.com/ThailandUpdateFanPage/posts/706257118949975
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/07/2025 2:47 pm Post subject:
สถานีแยกประชาอุทิศ ติดตั้งวางคานขวางโครงสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (4 ก.ค.68)
ัvnp story
Jul 4, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=EM3LrKVebcU
สถานีแยกประชาอุทิศ ติดตั้งวางคานขวางโครงสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (4 ก.ค.68)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ล่าสุดอยู่ระหว่าง เตรียมติดตั้งคาน พื้นคอนกรีต
ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร
ในสัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง ครุใน แจ้งปิดเบี่ยงจราจรชั่วคราว ฝั่งขาเข้าและขาออก 3 ช่องจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ บริเวณซอย สุขสวัสดิ์ 46 ถึง คลองราษฎร์บูรณะ ระยะทางประมาณ 250 เมตร เพื่องานติดตั้งคานและพื้นคอนกรีต ระหว่างวันที่ 2 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2568
เฉพาะเวลา 22.00 04.00 น. โดยจะสลับถนนฝั่งขาเข้า และขาออก เป็นวันคู่ และวันคี่) ดังนี้
ในวันคู่ตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 30 ปิดเบี่ยง3 ช่องในฝั่งขาเข้า รถสัญจรได้ 2 ช่อง และเบี่ยงไปใช้ฝั่งขาออกทดแทนได้อีก 1 ช่อง ในวันคี่ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 ปิดเบี่ยง 3ช่องในฝั่งขาออก รถสัญจรได้ 2 ช่อง และเบี่ยงไปใช้ฝั่งขาเข้าทดแทนได้อีก 1 ช่อง
สถานีแยกประชาอุทิศ ตำแหน่งสถานีอยู่บริเวณซอยวัดสารอด (สุขสวัสดิ์ 44) มีทางขึ้น ลง 4จุด
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ภาพรวมความก้าวหน้า เดือนพฤษภาคม 2568 งานโยธาทำได้ 55.97%
ข้อมูล..เพจโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/07/2025 3:42 pm Post subject:
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
🚧🚆🟣#อัปเดตความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เดือนมิถุนายน 2568
🟣🏗ความก้าวหน้างานโยธา 57.36%
🌳มีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568 ไปแล้วกว่า 290,730.46 ตัน หรือ 51.92%
🌳เทียบเท่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด 15,117.984 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
🌳เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ ได้ 1,591,366 ต้น
🚇โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.63 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร 7 สถานี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)** ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568
---
**ความก้าวหน้างานโยธาโดยรวม**: 57.36%
#### ความก้าวหน้าตามสัญญา:
1. **ช่วงเตาปูน - ท่าพระสมุทรเจดีย์**: 72.90%
2. **ช่วงท่าพระสมุทรเจดีย์ - ผ่านฟ้า**: 63.18%
3. **ช่วงผ่านฟ้า - สะพานพุทธ**: 53.15%
4. **ช่วงสะพานพุทธ - ดาวคะนอง**: 57.62%
5. **ช่วงดาวคะนอง - ครุใน** (อาคารจอดรถไฟฟ้าและศูนย์ซ่อมบำรุง): 34.64%
6. **งานออกแบบและก่อสร้างระบบตลอดแนวเส้นทางโครงการ**: 40.98%
---
### 🌱 การใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก:
* ลดการปล่อย CO₂ ได้เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ **1,591,366 ต้น**
* ลด CO₂ ได้ประมาณ **15,117.984 ตัน**
* คิดเป็น **51.92%** ของเป้าหมายการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกที่ตั้งไว้ (เป้าหมาย 560,000 ตัน)
---
### 🇬🇧 **English Summary**
**Overall civil work progress**: 57.36% (as of June 2025)
#### Progress by contract section:
1. **Tao Poon Tha Samut Chedi**: 72.90%
2. **Tha Samut Chedi Phan Fa**: 63.18%
3. **Phan Fa Saphan Phut**: 53.15%
4. **Saphan Phut Dao Khanong**: 57.62%
5. **Dao Khanong Khru Nai** (Depot and Park & Ride building): 34.64%
6. **System design and construction along the entire route**: 40.98%
---
### 🌱 Use of Hydraulic Cement:
* Equivalent CO₂ reduction = planting **1,591,366 trees**
* CO₂ emissions reduced by approx. **15,117.984 tons**
* Achieved **51.92%** of the total hydraulic cement usage target (Target = 560,000 tons)
https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth/posts/708879765261870
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 14/07/2025 4:01 pm Post subject:
สถานีพระประแดง ติดตั้งคานรับโครงสร้าง | ชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ก.ค.68)
ัvnp story
Jul 14, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=D-QzR6SaRP8
สถานีพระประแดง ติดตั้งคานรับโครงสร้าง | ชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ก.ค.68)
งานก่อสร้าง สถานีพระประแดง ซึ่งอยู่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานก่อสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ
อาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร ในสัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง ครุใน
ล่าสุด ติดตั้งคานรองรับโครงสร้างสถานีพระประแดง และติดตั้งชิ้นส่วนทางวิ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีการติดตั้งทางวิ่งพร้อมติดตั้งฝนังด้านข้าง
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
ภาพรวมความก้าวหน้า เดือนเดือนมิถุนายน 2568 งานโยธา 57.36%
ข้อมูล..เพจโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง
สถานีพระประแดงตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนนครเขื่อนขันธุ์ อยู่ห่างจากสถานีราษฎร์บูรณะ ประมาณ 1.6กม.
และมีการออกแบบ ทางขึ้น-ลง ทั้งหมด 4จุด
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45098
Location: NECTEC
Posted: 16/07/2025 5:24 am Post subject:
ส่องตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ พร้อมอัปเดต % สถานะการก่อสร้างล่าสุด! [กรกฎาคม 2568]
โดย LivingPop Team
10 กรกฎาคม 2568
หลังจากที่เซ็นสัญญาเริ่มก่อสร้างไปตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2565 ตอนนี้ก็ผ่านมาแล้ว 3 ปีกว่า ผมเลยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวโครงการ ตำแหน่งสถานีและพื้นที่รอบข้าง รวมถึงสถานะความคืบหน้าการก่อสร้างล่าสุดมาไว้ในบทความนี้ โดยจะพยายามมาอัปเดตข้อมูลทุกเดือน ตามประกาศความคืบหน้าที่โครงการแจ้งไว้ในสื่อครับ
รู้จักกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
ใครที่อยู่แถบนนทบุรีคงจะคุ้นเคยกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงกันอยู่แล้ว เพราะสายนี้แบ่งส่วนการก่อสร้างเป็น 2 ส่วน (คล้ายกับสายสีส้ม) และส่วนเหนือที่ก่อสร้างไปแล้ว อยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีแทบจะตลอดทั้งสายเลย สำหรับสายสีม่วงส่วนเหนือนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการประมูลสัมปทานเดินรถไฟฟ้า เพราะจะใช้รูปแบบการจ้างเอกชนรับเหมาก่อสร้าง เสร็จแล้วก็จ้างบริษัท BEM มาให้บริการเดินรถไฟอีกที (เงินเข้า รฟม. โดยตรง ส่วน BEM แค่มารับจ้างวิ่งรถให้) ซึ่งส่วนของสายสีม่วงส่วนใต้ ก็น่าจะใช้รูปแบบเดียวกันครับ (แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการสรุปเรื่องนี้เลย)
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใต้ จะเริ่มจากสถานีเตาปูนปัจจุบัน (ชั้นบนสุด) ต่อขยายออกมาทางทิศใต้ โดยเมื่อออกจากสถานีแล้วจะวิ่งผ่านเขตทหารของกรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวขวาเข้าถนนทหาร โดยจะค่อยๆ ลดระดับลงเป็นอุโมงค์ใต้ดิน แล้วเลี้ยวซ้ายที่แยกเกียกกาย เข้าสู่ถนนสามเสน แล้ววิ่งตรงไปตามถนนสามเสนจนถึงแยกป้อมพระสุเมรุ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระสุเมรุ ผ่านป้อมมหากาฬ ตรงต่อไปตามถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า ผ่านวงเวียนใหญ่เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อผ่านแยกมไหสวรรย์แล้วจะค่อยๆ ไต่ขึ้นมาเป็นทางยกระดับ (ลอยฟ้า) ที่หน้าบิ๊กซีดาวคะนอง จากนั้นวิ่งไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ไปจนสุดสายที่ ต.ครุใน แถวๆ ซอยสุขสวัสดิ์ 70 ครับ
โครงการมีระยะเวลาก่อสร้าง 2,005 วัน โดยถ้าไม่มีการขยายเวลา ก็จะไปสิ้นสุดวันที่ 20 ตุลาคม 2570 หรืออีกประมาณ 3 ปีนับจากนี้ แต่นี่คือแค่งานก่อสร้างในส่วนของงานโยธาเท่านั้นครับ เพราะจะต้องมีอีกส่วนนึงคือ งานระบบเดินรถ ที่จะต้องรอทาง รฟม. สรุปว่าจะเป็นการแก้ไขสัญญาเดิมกับทาง BEM ที่ให้บริการสายสีม่วงส่วนเหนืออยู่ ให้ขยายมาถึงม่วงใต้ด้วย หรือ จะต้องมีการเปิดประมูลใหม่เพื่อหาเอกชนที่เหมาะสมจะมารับงานในส่วนของม่วงใต้ ซึ่งทาง BEM ก็ยังสามารถมายื่นข้อเสนอรับงานได้อยู่
โดย รฟม. บอกว่าจะคัดเลือกเอกชนผู้รับจ้างเดินรถแล้วเสร็จและทยอยเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มงานติดตั้งระบบในส่วนที่ก่อสร้างเสร็จก่อนได้ในปี 2569 (ปีหน้า) โดยจะใช้เวลา 3 ปีครับ ดังนั้นกำหนดการเปิดบริการ จากเดิมคาดว่าจะเปิดในปี 2571 เปลี่ยนเป็นปี 2572 แทน โดยขึ้นอยู่กับว่าทาง รฟม. จะสรุปเรื่องผู้รับจ้างเดินรถได้ตามแผนหรือเปล่าครับ
รูปแบบเส้นทางและสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
มีทั้งช่วงยกระดับและช่วงใต้ดิน ที่ระดับความลึกต่างกันไป
ทีนี้ก่อนจะไปดูความคืบหน้าการก่อสร้างเป็นรายสถานี ขอแวะมาให้ทุกคนได้เข้าใจรูปแบบแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใต้นี้ก่อนครับ
แนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีเตาปูนปัจจุบันที่เป็นสถานียกระดับ แล้วลดระดับลงเป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน มุดดินมาเรื่อยๆ ผ่านเขตเมืองเก่าเกาะรัตนโกสินทร์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ลอดวงเวียนใหญ่ แล้วมาโผล่ขึ้นเป็นทางยกระดับอีกครั้งที่หน้าห้างบิ๊กซีดาวคะนอง จากนั้นจะเป็นทางยกระดับตลอดจนสุดสายครับ
ตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
พร้อม % ความคืบหน้าล่าสุดของงานก่อสร้างแต่ละสถานี ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2568
สถานีใต้ดินจะมีอยู่ 3 รูปแบบหลักๆ คือ แบบชานชาลากลาง ชานชาลาข้าง และชานชาลาซ้อนกัน
🚩 สถานีแบบชานชาลากลาง
จะเป็นรูปแบบทั่วไปที่เราเห็นได้จากรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินปัจจุบันครับ คือชานชาลาที่คนรอรถไฟจะอยู่ตรงกลางสถานี ขนาบด้วยรางรถไฟซ้ายขวา
🚩 สถานีแบบชานชาลาข้าง
จะเป็นรูปแบบคล้ายสถานียกระดับ คือมีรางรถไฟฟ้าวางคู่กันตรงกลาง แล้วมีชานชาลารอรถไฟ 2 ก้อนอยู่ด้านข้าง ใครจะไปขาไหนต้องลงไปรอให้ถูกฝั่ง
🚩 สถานีแบบชานชาลาซ้อนกัน
จะเป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดต่างๆ เช่น ขนาดถนน แนวท่อ ทำให้สร้างสถานีกว้างแบบปกติไม่ได้ ก็เลยต้องเอารางรถไฟมาซ้อนกัน รูปแบบนี้ใช้ในสถานีเช่นสีลม สามย่าน
ส่วนสถานียกระดับของสายสีม่วงใต้ตั้งแต่สถานีดาวคะนองจนถึงครุใน จะเป็นสถานีแบบชานชาลาข้างทั้งหมดเลยครับ
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ แยกสัญญาจ้างก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา และ ความคืบหน้าการก่อสร้าง แบ่งตามสัญญา % ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)** ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2568
---
**ความก้าวหน้างานโยธาโดยรวม**: 57.36%
🚩 สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.8 กิโลเมตร (กม.)
ผู้รับจ้าง CKST-PL JOINT VENTURE (ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่าง และ บมจ. ซิโน-ไทย)
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 72.90%
PP17 🟣 สถานีรัฐสภา 58.56% - สถานีใต้ดินแบบชานชาลากลาง ตั้งอยู่หน้ารัฐสภา และค่ายทหารรถถัง ม.พัน4 รอ. ซึ่งพอบอกว่าสถานีอยู่หน้ารัฐสภา หลายคนอาจจะเบะปากแล้วคิดในใจว่า จะสร้างสถานีหน้าสภาไปทำไม คุณๆ ท่านๆ เขามีรถประจำตำแหน่งกันทั้งนั้น ไม่มีใครขึ้นรถไฟฟ้าหรอก
อันนี้ต้องขอบอกเลยครับว่าคิดผิดมากกกก 😭 เพราะนอกจากรัฐสภาจะเป็นสถานที่ประชุมของ สส.-สว. 700 คนแล้ว ที่นี่ยังเป็นออฟฟิศขนาดยักษ์ของหน่วยงานสนับสนุนการทำงานต่างๆ ที่มีพนักงานระดับธรรมดาอย่างเราๆ รวมถึงประชาชนที่ไปติดต่องาน ไปร้องเรียนร้องทุกข์หรือประชุมกับคณะกรรมาธิการต่างๆ เดินทางเข้าออกเพื่อมาทำงานเป็นพันๆ หมื่นๆ คน ซึ่งที่จอดรถใต้อาคารที่มีหลายพันคันนั้นบอกเลยว่าไม่เพียงพออย่างมากครับ (เพราะเกือบครึ่งถูก reserve ไว้ให้ตำแหน่งต่างๆ)
ช่วงที่ผมไปร่วมประชุมที่สภาครั้งแรกๆ ผมเคยขับรถไปแล้วไม่มีที่จอด ต้องออกไปจอดข้างนอก เดินไกลมากๆ จนคราวต่อมาต้องนั่งรถไฟฟ้าต่อแท็กซี่ตลอด ถ้ามีรถไฟฟ้ามาจอดตรงนี้ก็จะช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้นเยอะเลยครับ
PP18 🟣 สถานีศรีย่าน 62.94% - สถานีใต้ดินที่มีชานชาลาซ้อนกัน คล้ายสถานีสามย่าน โดยระดับความลึกของสันรางรถไฟจากพื้นดินจะอยู่ที่ 32 เมตรครับ สถานีตั้งอยู่บนถนนสามเสน หน้ากรมชลประทาน (สถานีนี้เคยเกือบชื่อสถานีกรมชลประทาน แต่มีการเปลี่ยนชื่อทีหลังเพื่อไม่ให้ซ้ำกับสายสีชมพู) สถานที่สำคัญรอบๆ ก็เช่นการไฟฟ้านครหลวง วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ตลาดศรีย่าน
PP19 🟣 สถานีวชิรพยาบาล 64.03% สถานีใต้ดินชานชาลาแบบซ้อน ตั้งอยู่หน้าโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยจะมีความลึกจากพื้นดินสันราง 33 เมตร สถานีนี้จะมีทางขึ้นลงที่งอกออกไปค่อนข้างยาวครับ โดยทางออกที่ 1 จะอยู่ตรงข้าม รพ.วชิระ ส่วนทางออก 2 จะลอดใต้ถนนราชวิถีมาโผล่ที่หัวมุมฝั่ง ม.สวนสุนันทา สามารถเดินไป ม.สวนดุสิตได้ ส่วนทางออก 3 จะอยู่ด้านข้างห้าง Market Place
ถ้าจะไปรร.เซนต์คาเบรียล/เซนต์ฟรังฯ ต้องใช้ทางออกที่ 2 หรือ 3 แล้วข้ามทางม้าลาย 1 ทีครับ
🚩 สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า
ผู้รับจ้าง CKST-PL JOINT VENTURE (ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่าง และ บมจ. ซิโน-ไทย)
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 63.18%
PP20 🟣 สถานีหอสมุดแห่งชาติ 56.53% - สถานีใต้ดินแบบชานชาลาข้าง - สถานีนี้จะเป็ความลึก 23 เมตร คล้ายๆ สถานีคลองเตยหรือบางซื่อครับ ก็ตามชื่อเลยครับ สถานีตั้งอยู่หน้าหอสมุดแห่งชาติ โดยมีทางขึ้นลงที่ 4 ที่สามารถเข้าหอสมุดได้สะดวก ส่วนทางขึ้นลงที่ 1 ก็สามารถเดินไป รร.สาธิตสวนสุนันทาได้ (ใกล้กว่าลงสถานีก่อนหน้านี้เยอะเลย) ส่วนทางออก 2 ก็สามารถเข้าซอยไป รร.ราชวินิตได้ และทางออกที่ 3 ก็อยู่หน้า ม.ราชมงคลพระนครเลย เรียกได้ว่าเป็นสถานีแห่งวิชาความรู้จริงๆ 😂
PP21 🟣 สถานีบางขุนพรหม 56.60% - สถานีใต้ดินแบบชานชาลาซ้อนกันครับ สถานีนี้จะตั้งอยู่ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) แต่จะไม่ได้ตั้งอยู่ตรงหน้าเลยนะครับ สถานีจะข้ามมาอยู่อีกฝั่งนึงของสี่แยกบางขุนพรหม หน้าวัดเอี่ยมวรนุช และวัดสามพระยา
PP22 🟣 สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 57.97% - สถานีใต้ดินแบบชานชาลาซ้อนกันครับ สถานีตั้งอยู่บนถนนพระสุเมรุ บริเวณใกล้กับสะพานผ่านฟ้าลีลาศ วัดราชนัดดา และป้อมมหากาฬ โดยสถานีนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ผ่านทางเชื่อมใต้ดิน ตัวสถานีของสายสีม่วงจะมีทางขึ้นลง 4 ทาง แต่ถ้าเดินเชื่อมผ่านสถานีสายสีส้ม ก็จะข้ามถนนราชดำเนินไปออกฝั่งวัดราชนัดดาได้ครับ
เร็วๆ นี้สายสีส้มน่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้ว ถนนราชดำเนินกลางจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป 😂
🚩 สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ
ผู้รับจ้าง ITD-NWR MRT JOINT VENTURE (ประกอบด้วย บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และ บมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ)
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 53.15%
PP23 🟣 สถานีสามยอด 38.73% ตัวสถานีของสายสีม่วงจะเป็นแบบชานชาลากลาง - โดยระดับชานชาลาจะอยู่ตรงกลางระหว่างชั้นชานชาลาของสายสีน้ำเงินที่เป็นสถานีแบบชานชาลาซ้อนกันครับ สถานีนี้เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการแล้วครับ โดยสถานีของสายสีม่วงจะอยู่หน้าสวนรมณีนาถ สามารถเชื่อมไปสายสีน้ำเงินได้ผ่านทางเชื่อมใต้ดิน และจะมีทางขึ้นลงที่ 2 ที่ข้ามถนนไปฝั่งคลองโอ่งอ่างได้ด้วย ใครที่ใช้สายสีน้ำเงินแล้วต้องข้ามถนนตรงสี่แยก อีกหน่อยก็สามารถใช้ทางออกใหม่ตรงนี้ข้ามถนนแทนได้ครับ
ที่สถานีสามยอดของสายสีม่วง จะมีการสร้างอาคารจอดรถใต้ดินด้วย แต่จะไม่ได้เป็นอาคารจอดแล้วจรสำหรับคนที่มาใช้บริการรถไฟฟ้านะครับ จะออกแนวเป็นที่จอดรถสำหรับคนที่มาใช้บริการสวนรมณีนาถมากกว่า
PP24 🟣 สถานีสะพานพุทธฯ 45.90% - ตัวสถานีของสายสีม่วงจะเป็นแบบชานชาลากลาง - เมื่อออกจากสถานีสามยอดแล้ว แนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะวิ่งไปตามถนนจักรเพชร แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานกระปกเกล้า ที่ระดับความลึกประมาณ 40 เมตร จากนั้นจะเข้าสู่ฝั่งธนบุรี วิ่งไปตามถนนประชาธิปก เข้าสู่สถานีสะพานพุทธใกล้กับสี่แยกบ้านแขก โดยสถานีใต้ดินตั้งแต่สะพานพุทธเป็นต้นไป จะเป็นสถานีแบบชานชาลากลางทั้งหมดเลยครับ
ชื่อสถานีบอกว่าสะพานพุทธ แต่ตำแหน่งที่ตั้งค่อนข้างไกลจากตัวสะพานอยู่พอสมควรเลยครับ โดยสถานีจะตั้งอยู่ระหว่างแยกวงเวียนเล็กกับแยกบ้านแขก โดยจะมีสถานที่ใกล้เคียงคือโรงเรียนศึกษานารี ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จ และ ม.ราชภัฏธนบุรี (ผมเคยเสนอทาง รฟม. ไปว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น แยกบ้านแขก หรือไม่ก็ ประชาธิปก มากกว่า แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ
ในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีทองมีแผนจะต่อขยายเส้นทางมาที่สถานีประชาธิปก แต่ตำแหน่งสถานีจะมาไม่ถึงถนนประชาธิปกครับ อาจจะเพราะติดวัดขนาบสองฝั่งก็เลยกุดอยู่แค่นั้น ต้องเดินต่อนิดนึงถึงจะเปลี่ยนสายกันได้
🚩 สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง
ผู้รับจ้าง บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 57.62%
PP25 🟣 สถานีวงเวียนใหญ่ 42.80% - ตัวสถานีของสายสีม่วงจะเป็นแบบชานชาลากลาง - ศูนย์กลางการเดินทางย่านนึงของฝั่งธนบุรี โดยเส้นทางรถไฟฟ้าจะลอดใต้พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินที่กลางวงเวียนใหญ่ แล้วเข้าสู่สถานีวงเวียนใหญ่ ซึ่งจะตั้งอยู่ติดกับตัววงเวียนเลย
สถานีนี้เป็นสถานีที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าได้อีกสองสาย คือรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งมีแผนจะสร้างในอนาคต ตัวสถานียังไม่มีรายละเอียดว่าจะมีลักษณะ ขนาด ความลึก เป็นอย่างไร เดิมทีแนวเส้นทางจะวิ่งมาตามถนนลาดหญ้าและเบี่ยงมาเข้าแนวทางรถไฟเดิม แต่จากแผน M-MAP2 สายสีแดงจะถูกย้ายไปอยู่บนแนวถนนอินทรพิทักษ์แทน ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ น่าจะอีกนานแสนนาน
ส่วนอีกสายที่เชื่อมต่อได้ก็คือรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม โดยจะต้องเดินบนทางเท้าประมาณ 270 เมตร แล้วขึ้นสกายวอล์กไปที่สถานีวงเวียนใหญ่ของ BTS อีก 230 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 500 เมตร (หรือจะเดินทางเท้าไปตลอดทางแล้วค่อยไปขึ้นบันไดเลื่อนตรงสถานี BTS เลยก็ได้) - เดินทุกวันก็น่าจะน่องปูดครับ
PP26 🟣 สถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 44.63% - ตัวสถานีของสายสีม่วงจะเป็นแบบชานชาลากลาง - สถานีตั้งอยู่ตรงสะพานข้ามคลองสำเหร่ โดยจะมีทางขึ้นลงที่ 1 อยู่ใกล้ตลาดสำเหร่ และทางขึ้นลงที่ 3 อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า เดิมสถานีนี้ชื่อว่า สถานีสำเหร่ แต่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อโรงพยาบาล เนื่องจากมีการทำ MOU กันเพื่อขอใช้พื้นที่โรงพยาบาลเป็นที่ก่อสร้างทางขึ้นลงของสถานีครับ
PP27 🟣 สถานีดาวคะนอง 20.45% - สถานีชานชลาข้าง - ออกจากสถานีสำเหร่แล้ว แนวเส้นทางจะผ่านแยกมไหสวรรย์ไปเลย (เดิมจะมีสถานี แต่ติดว่ามีอุโมงค์ทางลอดขวางอยู่ และด้วยระยะความลึกของทางวิ่งที่จะต้องเตรียมโผล่พ้นดิน ก็เลยตัดสถานีมไหสวรรย์ทิ้งไป) พอผ่านปากอุโมงค์ทางลอดของรถยนต์ไปแล้ว เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงก็จะเริ่มยกระดับขึ้นมาตรงเกาะกลางถนน บริเวณหน้าบิ๊กซีดาวคะนอง และเข้าสู่สถานีดาวคะนองครับ
สถานีนี้เป็นสถานีแรกที่ยกระดับมาอยู่เหนือถนน ซึ่งโดยปกติพอเรานึกถึงสถานีรถไฟฟ้าทั่วไป ก็จะมีอยู่ 3 ชั้น คือจากชั้นพื้นดิน ขึ้นไปชั้นนึงเป็นพื้นที่ขายตั๋วและโพงทางเดินกว้างๆ และขึ้นไปอีกชั้นถึงจะเป็นชานชาลารอรถไฟใช่ไหมครับ แต่สถานีดาวคะนองจะเป็นสถานีแบบพิเศษ เพราะว่าแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่งจะโผล่ขึ้นมาได้นิดเดียว ระดับความสูงยังไม่มากพอที่จะทำสถานีแบบปกติ สถานีนี้ก็เลยจะเอาส่วนของพื้นที่ขายตั๋วไปไว้เป็นอาคารริมถนนแทน ส่วนที่อยู่ใต้ชานชาลาก็จะมีแค่จุดขึ้นลงบันได บันไดเลื่อน และลิฟต์เท่านั้นครั้บ (เพราะพวกห้องเจ้าหน้าที่กับงานระบบไปอยู่เป็นตึกข้างทางหมดแล้ว)
สำหรับใครที่จะใช้ตัวสถานีเพื่อเดินข้ามถนนเหมือนสถานีอื่นๆ ก็จะไม่สามารถใช้สถานีดาวคะนองแบบนั้นได้ครับ ก็อาจจะมีการสร้างสะพานลอยแยกต่างหาก เหมือนที่สถานีสัมมากรของสายสีส้มที่มีสะพานลอยแยกจากตัวสถานีให้ใช้ข้ามถนน
🚩 สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride)
ผู้รับจ้าง บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 34.64%
PP28 🟣 สถานีบางปะแก้ว 15.72% - สถานีชานชลาข้าง ตั้งอยู่แถวๆ ซอยสุขสวัสดิ์ 14 เลยโค้งดาวคะนองมานิดนึงครับ
PP29 🟣 สถานีบางปะกอก 14.22% - สถานีชานชลาข้าง ออกจากสถานีบางปะแก้ว แนวเส้นทางจะผ่านแยกพระราม 2 ไปโดยไม่มีสถานีครับ โดยจะมีสถานีอีกทีก็คือสถานีบางปะกอก โดยสถานีนี้มาพร้อมกับอาคารจอดแล้วจร ที่จอดรถยนต์ได้ 1,657 คัน ที่มีทางออกสำหรับกลับรถมาให้ด้วย ใครที่อยู่ย่านพระราม 2 สามารถมาจอดรถที่สถานีนี้แล้วขึ้นรถไฟฟ้าได้ครับ ขากลับก็ข้ามสะพานกลับได้เลย สะดวกดี
อาคารจอดแล้วจร บางปะกอก 1 0.23%
อาคารจอดแล้วจร บางปะกอก 2 0.01%
PP30 🟣 สถานีแยกประชาอุทิศ 18.37% - สถานีชานชลาข้างตั้งอยู่หน้าซอยวัดสารอด (สุขสวัสดิ์ 44) ใกล้กับสามแยกประชาอุทิศและจุดตัดทางด่วนขั้นที่ 1 หรือที่หลายคนจะคุ้นเคยกับชื่อ กิโลเก้า นั่นเอง คนไม่คุ้นย่านฝั่งธนอาจจะคิดว่าทำไมสถานีคล้ายชื่อถนนแถวๆ ห้วยขวางเลย จริงๆ แล้วถนนประชาอุทิศก็มีตรงนี้เหมือนกันครับ
PP31 🟣 สถานีราษฎร์บูรณะ 14.33% สถานีชานชลาข้าง สถานีนี้จะอยู่ถัดจากทางด่วนมานิดนึงครับ โดยสถานีจะคร่อมอยู่บนคลองแจงร้อน ใกล้กับจุดยูเทิร์นวัดสน สถานีนี้ก็จะมีอาคารจอดรถมาให้ด้วยเช่นกันครับ โดยจะมี 2 อาคารอยู่ทั้งสองฝั่งถนน และมีสะพานเชื่อมเข้าหากัน ใช้เป็นจุดกลับรถได้ด้วย ทั้งสองอาคารจอดรถยนต์ได้รวมๆ ประมาณ 1,378 คัน
อาคารจอดแล้วจร ราษฎร์บูรณะ 1 0.00%
อาคารจอดแล้วจร ราษฎร์บูรณะ 2 0.00%
PP32 🟣 สถานีพระประแดง 17.99% สถานีชานชลาข้าง ออกจากสถานีราษฎร์บูรณะ วิ่งตามถนนสุขสวัสดิ์มาสักพัก ก็จะถึง สถานีพระประแดง ครับ สถานีจะอยู่ติดกับสามแยกพระประแดงเลย แต่จะห่างจากบิ๊กซีพระประแดงอยู่ประมาณ 200 เมตรครับ
PP33 🟣 สถานีครุใน 16.90% สถานีชานชลาข้าง สถานีสุดท้ายของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ สถานีครุใน สถานีนี้จะอยู่หน้าโตโยต้าพระประแดง ใกล้กับซอยสุขสวัสดิ์ 70 ครับ หลายคนสงสัยว่าทำไมไม่สร้างสถานีตรงหน้าแหล่งชุมชนซอยวัดครุใน อันนี้เท่าที่ติดตามคือไม่มีใครยอมให้เวนคืนตึกแถวทำทางขึ้นลงสถานีครับ ก็เลยต้องไปตั้งสถานีตรงย่านโรงงานปากซอยสุขสวัสดิ์ 70 แทน
อาคารจอดรถไฟฟ้าและศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย 6.36%
🟣 และสุดท้ายถัดจากสถานีครุในไปก็คือ อาคารจอดรถไฟฟ้า นั่นเองครับ ถัดจากครุในมาไม่มีสถานีแล้วนะครับ
ที่เรียกว่า อาคารจอดรถไฟฟ้า ไม่เรียกว่า ศูนย์ซ่อมบำรุง เหมือนสายอื่นๆ เพราะรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีศูนย์ซ่อมหลักอยู่แล้วที่สถานีคลองบางไผ่ ตรงนี้ก็เลยจะเอาไว้จอดรถไฟฟ้าเป็นหลัก จะมีโรงซ่อมบำรุงเล็กๆ เอาไว้ซ่อมก๊อกๆ แก๊กๆ ครับ โดยจะตั้งอยู่ติดกับด่านเก็บเงินบางครุ ของทางด่วนกาญจนาภิเษก น่าเสียดายที่ไม่ได้มีสถานีแถวนี้ด้วย ดูเป็นชุมชนใหญ่กว่าตรงสถานีครุในอีกฮะ มีโรงเรียน โรงพยาบาลใหญ่ๆ เยอะเลย
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลที่น่าสนใจของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงครับ ก็หวังว่าจะสร้างเสร็จและเปิดให้ใช้บริการได้ไวๆ จะได้เพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้กับคนฝั่งธนได้บ้าง 😀
🚩 สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ
ผู้รับจ้าง บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
ความก้าวหน้าตามสัญญา: 40.98%
https://www.livingpop.com/purplelinesouth-info-and-update/
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48747
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/07/2025 5:43 pm Post subject:
สถานีราษฎร์บูรณะ เร่งติดตั้งคานรองรับโครงสร้างสถานียกระดับ สร้างอาคารจอดแล้วจร (ก.ค.68)
ัvnp story
Jul 16, 2025
https://www.youtube.com/watch?v=vMnfzE3NXbU
สถานีราษฎร์บูรณะ เร่งติดตั้งคานรองรับโครงสร้างสถานียกระดับ สร้างอาคารจอดแล้วจร (ก.ค.68)
คลิปจะพาดูการก่อสร้าง สถานีราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ตำแหน่งของสถานีจะอยู่ถัดจากทางด่วน ตรงถ.สุขสวัสดิ์ จุดตัดกับ คลองแจงร้อน
มีอาคารจอดแล้วจร ริมถนนสุขสวัสดิ์ 2อาคาร ซึ่งตั้งอยุ่ในฝั่งขาออก 1อาคาร และฝั่งขาเข้า 1อาคาร รองรับรถยนต์ได้ 1384 คัน ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ผู้รับจ้างก่อสร้างในสัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน
ล่าสุดอยู่ระหว่างดำเนินงาน....ติดตั้งคานรองรับโครงสร้างสถานียกระดับ และนำเครื่องจักร์ เข้าพื้นที่ก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร สถานีราษฎร์บูรณะ ภาพรวมความก้าวหน้าการก่อสร้าง เดือนพฤษภาคม 2568 งานโยธา 55.97%
สถานีราษฎร์บูรณะ รูปแบบสถานีเป็นแบบยกระดับ มีทางขึ้น-ลง 2 จุด เชื่อมอาคารจอดรถ ในฝั่งขาเข้าและขาออกของถนนสุขสวัสดิ์ มีแผนกำหนดเปิดให้บริการในปี 2572
Back to top