View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
nutbeam
3rd Class Pass
Joined: 02/04/2007 Posts: 226
Location: บ้านฉิมพลี
|
Posted: 04/09/2007 1:16 pm Post subject: เรื่องของหัวลำโพง |
|
|
เจอในหนังสือ เห็นเกี่ยวกับรถไฟ เลยเอามาลง เผื่อจะประโยชน์บ้างไม่มาก็น้อยนะครับ
" นักศึกษาทราบหรือไม่ว่า คำว่า หัวลำโพง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำภาษาเยอรมนีว่า
( Hauptbahnhof อ่านว่า เฮ้าพท์ บาห์นโฮฟ ) ซึ่งแปลว่า สถานีรถไฟ นี่เป็นเพราะว่าสถานีรถไฟแห่งของประเทศไทยถูกสร้างขึ้นโดยวิศวกรเยอรมัน เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วนั่นอง
เมื่อปี พ. ศ. 2431 ในสมัยของรัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีรับสั่งให้เซอร็แอนดรูว์ คลาร์คของ
บริษัทแห่งชาติอังกฤษ เข้ามาทำการศึกษาเพื่อก่อสร้างทางรถไฟในประเทศ สามปีต่อมาบริษัทดังกล่าวก็เสนอโครงการจัดสร้างรางรถไฟที่มีความกว้างของราง 3 ขนาดคือ 600 1000 1435
มิลลิเมตรตามลำดับ ในปีเดียวกันนั้น เอง วิศวกรชาวเยอนมันจากบริษัท Krupp ที่มีความเชี่ยวชายในการสร้งทางรถไฟ ชื่อว่า นาย คารล์ เบทเก ก็เดินทางมายังสยามประเทศ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตรวจสอบโครงการนี้ หลังจากทำการตรวจสอบแล้ว นายคารล์พบว่า ทางรถไฟจากบางกอกจนถึงเมืองโคราชซึ่งเป็นระยะทาง 265 ก.ม สามารถสร้างด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าได้
ทางสำนักพระราชวังจึงแต่งตั้ง นายคารล์ เบทเก ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานก่อสร้างทางรถไฟแห่งสยามประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างทางรถไฟในที่สุดกลับกลายเป็นบริษัท Murray Campbell ของอังกฤษไป เนื่องจากเสนอราคาถูกกว่าบริษัทอื่นๆ
การที่ นาย คารล์ เบทเก ได้เป็นหัวหน้าก่อสร้างทางรถไฟของสยาม นับเป็นยุทวิธีอันชาญฉลาดของสยาม เพื่อจะรักษาเอกราชของชาติไว้ เนื่องจากในขณะนั้น อังกฤษได้เข้ายึด
ครองพม่าทางตะวันตก และเข้ายึดครองคาบสมุทรมลายูทางตอนใต้แล้ว ส่วนดินแดนทางแถมอินโดจีนก็ตกอยู่ภานใต้ของฝรั่งเศล ทั้ง สองประเทศพยายามแผ่ขยายามอิทธิพลเข้ามาในสยามประเทศอยู่ตลอดเวลา ตรงข้ามกับเยอรมันโดยสิ้นเชิงที่ไม่ได้ต้องการล่าอาณานิคมในดินแดนนี้
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ หากว่าขณะนั้นวิศวกรและผู้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างเป็นชาวอังกฤษแล้ว ก็จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสยามประเทศแน่นอน
พอถึงปี พ. ศ . 2435 นายคารล์ ก็ได้ว่าจ้างวิศวกรชาวเยอรมันอีกสองคนคือ
แฮร์มันน์ แกทส์ และหลุยส์ ไวเลอร์ (สำเนียงเอยณืมันว่าไวแลร์) ซึ่งต่อมาทั้งสองได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทยอย่างมาก นายแฮร์มันน์เข้ามาทำงานเป็นผู้ช่ายของนายคารล์
ส่วนนายหลุยส์ รับตำแหน่งเป็นวิศวกรประจำทางรถไฟที่สร้างผ่านป่งดงดิบไปยังโคราช
นายหลุยส์ ไวเลอร์ ทำงานจนถึงปี พ.ศ. 2440 จึงได้เดินทางกลับเยอรมัน
วันที่ 1 ก. ย. 2439 หน่วยงานทางก่อสร้างทางรถไฟสยามได้เลิกว่าจ้างบริษัทอังกฤษ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้ได้ พร้อมกับได้รับงานที่คั่งค้างอยู่มาทำเอง ทำให้ชาววิศวกรชาวเยอรมันต้องทำงานหนักขึ้นอีก อย่างไรก็ดีในเดือนเดียวกันนั้น การเชื่อมต่อรางรถไฟจากโคราชถึงกรุงเทพฯก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี รวมระยะทางทั้งสิ้น 135 ก.ม. (เลยทับกวางไปหน่อย) การเดินทางยิ่งสะดวกยิ่งขึ้น จากเดิมที่เคยเดินทางถึง 5 วัน แต่เมื่อไปทางรถไฟก็ช่วยร่นระยะเวลาลงเหลืองเพียง 6 ชั่วโมง
เท่านั้น
ราวต้นปี พ.ศ. 2447 ก็มีคำสั่งแต่ตั้ง นายหลุยส์ ไวเลอร์ ให้กลับไปทำงานเป็นผู้ว่าทางรถไฟ เนื่องจากนายแกทส์ผู้ช่วยของนายเบทเกกำลังจะเกษียณอายุในปีนั้น และเบทกก็ได้ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรค เมื่อสี่ปีก่อน (พ.ศ. 2443)
ตอนที่ไวเลอร์เข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น ทางรถไฟสายโคราชสร้างเสร็จแล้ว ส่วนมางรถไฟสายใต้ก็ได้ดำเนินการสร้างไปถึงจังหวัดเพชรบุรีแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดีผู้คนในสยามยังนิยมใช้เส้นทางน้ำเพื่อขนส่งสินค้าอยู่ดี ไวเลอร์จึงออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้าทางรถไฟครั้งแรก เขาก็ได้สั่งหัวรถจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมัน โดยมีบนิษัมสำคัญๆ ที่ส่งหัวรถจักรเข้ามา คือบริษัท Henschel & Sohn และบริษัท Krupp (คงจะสั่งรางจาก Kruupp ซึ่งเจ้าของบริษัทเป็นพระสหายในพระปิยะมหาราช)
ไม่เพียงแต่เท่านั้น ไวเลอร์ยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสร้างทางรถไฟไปยังทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการก่อสร้างไปอย่างขลุกขลัก เนื่องจากปัญหาในการหาและว่าจ้างแรงงาน ในสมัยก่อนการหาแรงานในไทยเป็นสิ่งที่ยากมาก คนไทยมีนิสัยไม่ชอบประกอบอาชีพรับจ้าง แต่ชอบทำไร่ทำนามากกว่า ไวเลอร์จึงหาแรงงานชาวจีนมาเพราะ มีความขยันอดทนมากกว่าชาติอื่น
หน้าที่สำคัญอีกประการหรึ่งของไวเลอร์คือการตามเสด็จพรเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงโดยสารรถไฟ โดยที่ไวเลอร์มีโอกาสเสด็จฯเป็นครั้งแรก วันที่ 7 สิงหาคม พ. ศ. 2451 อนึ่งเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - อยุธยา เป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศที่เปดใช้อย่างเป็นทางการมาตั่งแต่ปลายปี พ.ศ. 2439 แล้ว
ในขณะที่ไวเลอร์ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งสยามประเทศนั้น โครงการขยายเส้นทางรถไฟสายใต้และสายตะวันออก ก็กลับเต็มไปด้วยความยุ่งยากทางการเมือง เพราะการ
ก่อสร้างได้ไปขัดข้อตกลงปี พ.ศ . 2439 ที่สยามเคยทำไว้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เนื่องจากทางใต้และตะวันตกเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ และทางตะวันออกนั้น มีฝรั่งเศสดูแลอยู่ แม้ว่า
สยามจะอดทนรอจนถึงปลายปี พ.ศ. 2453 แต่ก็ยังไม่สามารถขยายเส้นทางสายใต้ต่อไปได้
เนื่องจากอังกฤษไม่ยินยอม นอกเสียจากว่า สยามจะยอมตกลงให้อังกฤษเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างทางรถไฟเสียเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สยามไม่ต้องการเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างทางรถไฟสมัยนั้น เน้นสร้างในภาคเหนือเป็นหลัก โดยเริ่มจากสายกรุงเทพฯ- เชียงใหม่ เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ใต้เขตอิทธิพลของอังกฤษและฝรั่งเศส
ล่วงเข้าปี พ.ศ. 2451 จึงมีการเปิดเส้นทางรถไฟสายตะวันออกไปยังฉะเชิงเทรา และสายเหนือไปยังพิษณุโลก ขณะนี้ ทางรถไฟที่สร้างแล้วเสร็จและใช้งานได้มีระยะทางทั้งสิ้น 844 ก.มและราชสำนักสยามมีชาวยุโรปถวายงานรับใช้ทั้งสิ้น 228 คน เป็นชาวเยอรมัน 45 คน (ซึ่ง 35 คนในจำนวนนั้น ทำงานให้กับการรถไฟ) และจากสถิติในปีพ.ศ. 2452 สยามมีหัวรถจักรทั้งสิ้น 49 หัวรถจักรไว้ในครอบครอง ซึ่งทั้งหมดสั่งตรงมาจากเยอรมัน ส่วนตู้รถไฟนั้น สั่งซื้อมาจากหลายประเทศ อันได้แก่ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์
กิจการรถไฟได้รัรบความสนใจอย่างต่อเนื่องไปจนถึง รัชกาลที่ 6 และได้เริ่มมีการขยายเส้นทางรถไฟต่อไปอีก สำหรับเส้นทางสายใต้นี้มีเล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ขณะที่ไวเลอร์เดินทางสำรวจเส้นทางในแถบนี้ ก็ได้พบชายหาดหัวหินเข้า และนึกชอบใจในบรรยากาศ อันงดงามตรงหน้า จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ของการรถไฟสร้างกระท่อมไม้สองหลังขึ้นตรงหาด กระท่อมสองหลังของไวเลอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดโรงแรมรถไฟ ในปี พ.ศ. 2466 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมโซฟิเทล) กลายเป็นว่าบุคลคนแรกที่พบหัวหินไม่ใช่คนไทย แต่เป็นชาวเยอรมัน (ในตอนนั้นนายกิตตินส์ก็ไปด้วย ในฐานะนายช่างใหญ่ควบคุมการสร้างทางรถไฟสายใต้)
จากนั้นในปี พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงมีรับสั่งให้ขยายทางรถไฟสายเหนือ จากลำปางถึงเชียงใหม่ ในการนี้วิศวกรต้องสร้างทางผ่านถ้ำขนาดใหญ่มีคาวมยาวถึง 1.6 ก.ม. (อุโมงค์ขุตาน) วิศวกรสำคัญชาวเยอรมัน ได้แก่ ไอเซนโฮเฟอร์ และเกิทเท ต่อมาภายหลังเมื่อไอเซนโฮเฟอร์ถึงแก่อนิจกรรมในปีพ.ศ. 2505 ก็ได้นำอัฐิของเขาไปฝังไว้ตรงทิศเหนือของอุโมงค์ขุนตาลและสุสานที่ว่ายังมีให้เห็นจนทุกวันนี้
เป็นที่น่าเสียดาย ในระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 ซึ่งเป็นสงครามโลกครั้งที่1 นั้น
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสยามต้องหยุดชะงักลง (แม้แตสะพานหอสูงก็ค้างเติ่งไปด้วย) วิศวกรชาวเยอรมัน จำนวนมากต้องเดินทางออกนอกประเทศ เนื่องจากสยามตรงอยู่ระหว่างเขตอิทธิพลของอังฤษและฝรั่งเศส จึงไมอาจรักษาความเป็นกลางไว้ได้ ในระหว่างนี้ ทางราชสำนักจึงแต่ตั้งผู้แทนฝ่ายไทยทานหนึ่ง ให้ดำราตำแหน่งผู้ว่าการทางรถไฟ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษ ซึ่งส่งวิศวกรคือนาย กิตตินส์ให้มาดำรงตำแหน่งผู้ปรึกษาใหญ่ ในขณะที่นายไวเลอร์ต้องเปลี่ยนมารับตำแหน่งหัวหน้าวิศวกรแทน
พอถึงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 สยามจำต้องประการสงครามกับเยอรมันอย่างเป็นทางการ ไวเลอร์ต้องถูกกักตัวไว้เช่นเดียวกับชาวเยอรมันท่านอื่นๆ ที่ยังพำนักอยู่ในประเทศ สงครามโลกทำให้เขากลายเป็นเชลยศึกที่น่าสมเพชคนหนึ่ง แม้ว่าตัวเขา เองเพิ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกเมื่อไม่นานนี้ การถูกกักขังทำให้ไวเลอร์รู้สึกเหนื่อล้าทั้งกายใจ ไม่นานเขาก็ล้มป่วยลง เขาจึงถูกปล่อยตัว และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เดินทางออกนอกประเทส แต่แล้วในที่สุดเขาก็ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเศร้าและเดียวดายบนเรือดโดยสารของเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2461 นับว่าไวเลอร์ได้อุทิศชีวิตของเขาให้กับการกรถไฟของสยามจนกระทั่งวาระสุดท้าย โดยไม่มีโอกาสได้เห็นแผ่นดินบ้านเกิดของเขาอีกแม้แต่คร้งเดียว
ย้อนกลับมาที่สถานีหัวลำโพง สำหรับตัวอาคราสถานี ได้มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ทั้งนี้ เพราะได้รับความช่วยเหลือจากจากเยอรมันเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร หัวรถจักร และตัวโครงเหล็กกล้าทั้งหมดที่ส่งมาจากเยอรมัน ส่วนการก่อสร้างตัวอาคารนั้นอยู่ใต้กำกับดูแลของบริษัทจากอิตาลี และ สถาปนิกอิตาเลียเช่นนายตามาญโญ
ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราหันมาดูการคมนาคมขนส่งของไทยในปัจจุบัน ก็จะเห็นว่าชาติที่เข้ามีบทบาทในการพัฒนาการขนส่งคมนาคมในประเทศไทยในปัจจุบัน ก็ยังเป็นเยอรมันอยู่นั่นเอง และบริษัทซี่เมนส์จากเยอรมันได้เข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเงินนับแสนล้านบาท การที่เยอรมันเข้ามาพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าการขนส่งมวลชนในประเทศ นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง หวังว่าเราคนไทยจะมอง
เห็นคุณค่าและความสำคัญของความร่วมมือทางเทคโนโลยี และยังหวังว่าในการขึ้นรถไฟครั้งต่อไป (ไม่ว่าใต้ดินหรือบนดิน) ของเรา จะหวนระลึกถึงมิตรภาพที่ย้อนอดีตกลับไปนานนับศตวรรษ
รวมทั้งความปรารถนาดีที่ชาวเยอรมันหยิบยื่นให้กับประเทศของเราเสมอมาเช่นกัน
ที่มาจาก ข่าวรามคำแหง ปีที่ 37 ฉบับที่ 20 วันที่ 3 - 9 กันยายน 2550
// -------------------------------------------------------------------------------------------------
เท่าที่ดูน่าจะคัดบทความจาก Banhof Bangkokซึ่งเขียนโดยลูกหลานเจ้ากรม หลุยส์ ไวแลร์ มาแน่แท้เลยเทียว เพราะ ชมเอยร์มทันจ๋าเลยเทียว |
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 04/09/2007 1:33 pm Post subject: |
|
|
ที่มาของชื่อ "หัวลำโพง" ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ยิ่งมีข้อมูลเพิ่มมาอีก ซึ่งบริเวณนั้น ก็เคยมีชื่อว่า ทุ่งวัวลำพอง ก็อาจจะเพี้ยนเสียงมาก็เป็นไปได้ อีกทั้งยังเคยมีต้นไม้ที่มีชื่อที่ออกเสียงคล้ายๆกันอยู่จำนวนมาก (แต่จำไม่ได้ว่าต้นอะไร) ก็อาจจะเป็นที่มาของคำว่า "หัวลำโพง" ได้เช่นกัน งานนี้ต้องขอความช่วยเหลือเฮียวิซซี่ช่วยขุดล่ะครับ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 04/09/2007 3:26 pm Post subject: |
|
|
กระแสหนึ่งที่ได้ยินมา คือ ย่านนั้น ชื่อว่า หัวลำโพง มาตั้งแต่แรก แต่ฝรั่งนั้นอาจออกเสียงไม่ชัดหรืออย่างไร จึงเรียกว่า วัวลำพอง
ที่น่าสงสัยคือ วัดหัวลำโพง แต่ที่ตั้งกลับไม่ได้อยู่ใกล้สถานีหัวลำโพงเลย |
|
Back to top |
|
|
palm_gea
1st Class Pass (Air)
Joined: 03/07/2006 Posts: 1321
Location: ธ.ก.ส.
|
Posted: 04/09/2007 4:36 pm Post subject: |
|
|
alderwood wrote: | อีกทั้งยังเคยมีต้นไม้ที่มีชื่อที่ออกเสียงคล้ายๆกันอยู่จำนวนมาก (แต่จำไม่ได้ว่าต้นอะไร) ก็อาจจะเป็นที่มาของคำว่า "หัวลำโพง" ได้เช่นกัน งานนี้ต้องขอความช่วยเหลือเฮียวิซซี่ช่วยขุดล่ะครับ |
พี่ธีหมายถึงต้นลำโพงใช่รึเปล่าครับ ที่เค้าเอาดอกมันมาผสมในไข่เจียวทอดกิน แต่ถ้ากินมากเกินไปจะเมา คล้ายๆกับเมากัญชา _________________
|
|
Back to top |
|
|
taweep
2nd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 569
|
Posted: 04/09/2007 6:01 pm Post subject: |
|
|
ที่มา
http://www.info.ru.ac.th/RU_NEWS/Vol37/20_37.pdf
ข่าวรามคำแหง ปีที่ 37 ฉบับที่ 20 วันที่ 3 - 9 กันยายน 2550 หน้า 6 , 10
ศิษย์เก่ารามตอบเองครับ
รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
เรียนจบก่อน 4 ปี ไม่มีรีไทร์ ทรานสริป์ไม่มี F ค่าหน่วยกิต 25 บาท
|
|
Back to top |
|
|
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
Joined: 28/09/2007 Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์
|
Posted: 28/09/2007 6:36 pm Post subject: หัวลำโพง |
|
|
ใครมีภาพ หัวลำโพง บ้างครับ อยากได้ง่ะครับ จะเอาไปทำ project คระบ ถ้ามีลิงค์ภาพหัวลำโพงให้ก้อจะดีมากเรย ครับ |
|
Back to top |
|
|
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
Joined: 15/05/2007 Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593
|
Posted: 28/09/2007 6:55 pm Post subject: |
|
|
ข้อมูลนี้น่าสนใจครับ
ต้องลองสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่แถวๆ นั้นดูครับ _________________
"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 28/09/2007 7:58 pm Post subject: Re: หัวลำโพง |
|
|
Paniti23 wrote: | ใครมีภาพ หัวลำโพง บ้างครับ อยากได้ง่ะครับ จะเอาไปทำ project คระบ ถ้ามีลิงค์ภาพหัวลำโพงให้ก้อจะดีมากเรย ครับ |
ขอให้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคก่อน จึงจะพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรต่อดี ... |
|
Back to top |
|
|
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
Joined: 28/09/2007 Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์
|
Posted: 28/09/2007 9:01 pm Post subject: เรื่องหัวลำโพง |
|
|
เกี่ยว กับ ตั้งแต่ อดี ต ถึง ปัจจุบัน ของหัวลำโพงครับ ซึงผม ไม่ค่อย มีภาพ ในสมัย อดีต ของหัวลำโพงเรยครับ (ของปัจจุบัน ไปถ่ายใน หัวลำโพง เรียบร้อย ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน พนังงาน ด้วย) รัดับ หัวหน้าแผนกอีกต่างหาก แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อ เพราะเขาขอไว้) แต่ไม่ได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ครับ และลองไปที่ ศูนยย์การบัญชาการรถไฟ ศูนย์บริการข้อมูล ก็มีข้อมูล้วนเลยครับ ผมติดปัญหาเรื่องในสมัยเก่า ที่หาค่อนข้างยาก แลผมอยากได้ภาพตอนที่สมัยหัวลำโพง ยังมีลานสินค้าติดกับคลองด้วยคับ(ก้อหัวหน้าเล่าให้ฟัง แต่ไม่มีรูปมายืนยัน เซงจิต) ผมก็เรยไหว้วานให้ทุกคนมาผ่านมาช่วยหน่อยครับ ส่งต้นเดือนตุลา ด้วย ไม่งั้น ก็ เลข 0 หรือไม่ก้อ ร ลอยให้เห็นอยู่ รำไรคับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 28/09/2007 9:13 pm Post subject: Re: เรื่องหัวลำโพง |
|
|
Paniti23 wrote: | เกี่ยว กับ ตั้งแต่ อดี ต ถึง ปัจจุบัน ของหัวลำโพงครับ ซึงผม ไม่ค่อย มีภาพ ในสมัย อดีต ของหัวลำโพงเรยครับ (ของปัจจุบัน ไปถ่ายใน หัวลำโพง เรียบร้อย ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน พนังงาน ด้วย) รัดับ หัวหน้าแผนกอีกต่างหาก แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อ เพราะเขาขอไว้) แต่ไม่ได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ครับ และลองไปที่ ศูนยย์การบัญชาการรถไฟ ศูนย์บริการข้อมูล ก็มีข้อมูล้วนเลยครับ ผมติดปัญหาเรื่องในสมัยเก่า ที่หาค่อนข้างยาก แลผมอยากได้ภาพตอนที่สมัยหัวลำโพง ยังมีลานสินค้าติดกับคลองด้วยคับ(ก้อหัวหน้าเล่าให้ฟัง แต่ไม่มีรูปมายืนยัน เซงจิต) ผมก็เรยไหว้วานให้ทุกคนมาผ่านมาช่วยหน่อยครับ ส่งต้นเดือนตุลา ด้วย ไม่งั้น ก็ เลข 0 หรือไม่ก้อ ร ลอยให้เห็นอยู่ รำไรคับ |
ไปค้นคว้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเปนดีที่สุด เพราะ เอกสารรฟท. เองก็โดนเผาทำลายไปเยอะ เมื่อสงกรานต์ปี 2495
ถ้าจะไปหจช. จริงๆ กรุณาเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รุป ทำบัตรเข้าใช้บริการ
ห้องรูปถ่ายเปิดเฉพาะ วันจันทร์ - ศุกร์เท่านั้น แต่ห้องชั้นล่างเปิดวันเสาร์ด้วย
ดังนั้น จัดตารางให้ดีๆ อย่ามัวโอ้เอ้เดี๋ยวก็ติด รอ หรือศูนย์จริงๆ หรอก |
|
Back to top |
|
|
|