Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311914
ทั่วไป:13579935
ทั้งหมด:13891849
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องของหัวลำโพง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องของหัวลำโพง
Goto page 1, 2, 3 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nutbeam
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 02/04/2007
Posts: 226
Location: บ้านฉิมพลี

PostPosted: 04/09/2007 1:16 pm    Post subject: เรื่องของหัวลำโพง Reply with quote

เจอในหนังสือ เห็นเกี่ยวกับรถไฟ เลยเอามาลง เผื่อจะประโยชน์บ้างไม่มาก็น้อยนะครับ

" นักศึกษาทราบหรือไม่ว่า คำว่า หัวลำโพง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำภาษาเยอรมนีว่า
( Hauptbahnhof อ่านว่า เฮ้าพท์ บาห์นโฮฟ ) ซึ่งแปลว่า สถานีรถไฟ นี่เป็นเพราะว่าสถานีรถไฟแห่งของประเทศไทยถูกสร้างขึ้นโดยวิศวกรเยอรมัน เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วนั่นอง

เมื่อปี พ. ศ. 2431 ในสมัยของรัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีรับสั่งให้เซอร็แอนดรูว์ คลาร์คของ
บริษัทแห่งชาติอังกฤษ เข้ามาทำการศึกษาเพื่อก่อสร้างทางรถไฟในประเทศ สามปีต่อมาบริษัทดังกล่าวก็เสนอโครงการจัดสร้างรางรถไฟที่มีความกว้างของราง 3 ขนาดคือ 600 1000 1435
มิลลิเมตรตามลำดับ ในปีเดียวกันนั้น เอง วิศวกรชาวเยอนมันจากบริษัท Krupp ที่มีความเชี่ยวชายในการสร้งทางรถไฟ ชื่อว่า นาย คารล์ เบทเก ก็เดินทางมายังสยามประเทศ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตรวจสอบโครงการนี้ หลังจากทำการตรวจสอบแล้ว นายคารล์พบว่า ทางรถไฟจากบางกอกจนถึงเมืองโคราชซึ่งเป็นระยะทาง 265 ก.ม สามารถสร้างด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าได้

ทางสำนักพระราชวังจึงแต่งตั้ง นายคารล์ เบทเก ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานก่อสร้างทางรถไฟแห่งสยามประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างทางรถไฟในที่สุดกลับกลายเป็นบริษัท Murray Campbell ของอังกฤษไป เนื่องจากเสนอราคาถูกกว่าบริษัทอื่นๆ

การที่ นาย คารล์ เบทเก ได้เป็นหัวหน้าก่อสร้างทางรถไฟของสยาม นับเป็นยุทวิธีอันชาญฉลาดของสยาม เพื่อจะรักษาเอกราชของชาติไว้ เนื่องจากในขณะนั้น อังกฤษได้เข้ายึด
ครองพม่าทางตะวันตก และเข้ายึดครองคาบสมุทรมลายูทางตอนใต้แล้ว ส่วนดินแดนทางแถมอินโดจีนก็ตกอยู่ภานใต้ของฝรั่งเศล ทั้ง สองประเทศพยายามแผ่ขยายามอิทธิพลเข้ามาในสยามประเทศอยู่ตลอดเวลา ตรงข้ามกับเยอรมันโดยสิ้นเชิงที่ไม่ได้ต้องการล่าอาณานิคมในดินแดนนี้
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ หากว่าขณะนั้นวิศวกรและผู้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างเป็นชาวอังกฤษแล้ว ก็จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อสยามประเทศแน่นอน

พอถึงปี พ. ศ . 2435 นายคารล์ ก็ได้ว่าจ้างวิศวกรชาวเยอรมันอีกสองคนคือ
แฮร์มันน์ แกทส์ และหลุยส์ ไวเลอร์ (สำเนียงเอยณืมันว่าไวแลร์) ซึ่งต่อมาทั้งสองได้กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทยอย่างมาก นายแฮร์มันน์เข้ามาทำงานเป็นผู้ช่ายของนายคารล์

ส่วนนายหลุยส์ รับตำแหน่งเป็นวิศวกรประจำทางรถไฟที่สร้างผ่านป่งดงดิบไปยังโคราช

นายหลุยส์ ไวเลอร์ ทำงานจนถึงปี พ.ศ. 2440 จึงได้เดินทางกลับเยอรมัน

วันที่ 1 ก. ย. 2439 หน่วยงานทางก่อสร้างทางรถไฟสยามได้เลิกว่าจ้างบริษัทอังกฤษ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้ได้ พร้อมกับได้รับงานที่คั่งค้างอยู่มาทำเอง ทำให้ชาววิศวกรชาวเยอรมันต้องทำงานหนักขึ้นอีก อย่างไรก็ดีในเดือนเดียวกันนั้น การเชื่อมต่อรางรถไฟจากโคราชถึงกรุงเทพฯก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี รวมระยะทางทั้งสิ้น 135 ก.ม. (เลยทับกวางไปหน่อย) การเดินทางยิ่งสะดวกยิ่งขึ้น จากเดิมที่เคยเดินทางถึง 5 วัน แต่เมื่อไปทางรถไฟก็ช่วยร่นระยะเวลาลงเหลืองเพียง 6 ชั่วโมง
เท่านั้น

ราวต้นปี พ.ศ. 2447 ก็มีคำสั่งแต่ตั้ง นายหลุยส์ ไวเลอร์ ให้กลับไปทำงานเป็นผู้ว่าทางรถไฟ เนื่องจากนายแกทส์ผู้ช่วยของนายเบทเกกำลังจะเกษียณอายุในปีนั้น และเบทกก็ได้ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรค เมื่อสี่ปีก่อน (พ.ศ. 2443)

ตอนที่ไวเลอร์เข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น ทางรถไฟสายโคราชสร้างเสร็จแล้ว ส่วนมางรถไฟสายใต้ก็ได้ดำเนินการสร้างไปถึงจังหวัดเพชรบุรีแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดีผู้คนในสยามยังนิยมใช้เส้นทางน้ำเพื่อขนส่งสินค้าอยู่ดี ไวเลอร์จึงออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการขนส่งสินค้าทางรถไฟครั้งแรก เขาก็ได้สั่งหัวรถจักรเข้ามาจากประเทศเยอรมัน โดยมีบนิษัมสำคัญๆ ที่ส่งหัวรถจักรเข้ามา คือบริษัท Henschel & Sohn และบริษัท Krupp (คงจะสั่งรางจาก Kruupp ซึ่งเจ้าของบริษัทเป็นพระสหายในพระปิยะมหาราช)

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ไวเลอร์ยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสร้างทางรถไฟไปยังทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการก่อสร้างไปอย่างขลุกขลัก เนื่องจากปัญหาในการหาและว่าจ้างแรงงาน ในสมัยก่อนการหาแรงานในไทยเป็นสิ่งที่ยากมาก คนไทยมีนิสัยไม่ชอบประกอบอาชีพรับจ้าง แต่ชอบทำไร่ทำนามากกว่า ไวเลอร์จึงหาแรงงานชาวจีนมาเพราะ มีความขยันอดทนมากกว่าชาติอื่น

หน้าที่สำคัญอีกประการหรึ่งของไวเลอร์คือการตามเสด็จพรเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงโดยสารรถไฟ โดยที่ไวเลอร์มีโอกาสเสด็จฯเป็นครั้งแรก วันที่ 7 สิงหาคม พ. ศ. 2451 อนึ่งเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - อยุธยา เป็นเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศที่เปดใช้อย่างเป็นทางการมาตั่งแต่ปลายปี พ.ศ. 2439 แล้ว

ในขณะที่ไวเลอร์ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งสยามประเทศนั้น โครงการขยายเส้นทางรถไฟสายใต้และสายตะวันออก ก็กลับเต็มไปด้วยความยุ่งยากทางการเมือง เพราะการ
ก่อสร้างได้ไปขัดข้อตกลงปี พ.ศ . 2439 ที่สยามเคยทำไว้กับอังกฤษและฝรั่งเศส เนื่องจากทางใต้และตะวันตกเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ และทางตะวันออกนั้น มีฝรั่งเศสดูแลอยู่ แม้ว่า
สยามจะอดทนรอจนถึงปลายปี พ.ศ. 2453 แต่ก็ยังไม่สามารถขยายเส้นทางสายใต้ต่อไปได้
เนื่องจากอังกฤษไม่ยินยอม นอกเสียจากว่า สยามจะยอมตกลงให้อังกฤษเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างทางรถไฟเสียเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สยามไม่ต้องการเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว ทำให้การก่อสร้างทางรถไฟสมัยนั้น เน้นสร้างในภาคเหนือเป็นหลัก โดยเริ่มจากสายกรุงเทพฯ- เชียงใหม่ เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ใต้เขตอิทธิพลของอังกฤษและฝรั่งเศส

ล่วงเข้าปี พ.ศ. 2451 จึงมีการเปิดเส้นทางรถไฟสายตะวันออกไปยังฉะเชิงเทรา และสายเหนือไปยังพิษณุโลก ขณะนี้ ทางรถไฟที่สร้างแล้วเสร็จและใช้งานได้มีระยะทางทั้งสิ้น 844 ก.มและราชสำนักสยามมีชาวยุโรปถวายงานรับใช้ทั้งสิ้น 228 คน เป็นชาวเยอรมัน 45 คน (ซึ่ง 35 คนในจำนวนนั้น ทำงานให้กับการรถไฟ) และจากสถิติในปีพ.ศ. 2452 สยามมีหัวรถจักรทั้งสิ้น 49 หัวรถจักรไว้ในครอบครอง ซึ่งทั้งหมดสั่งตรงมาจากเยอรมัน ส่วนตู้รถไฟนั้น สั่งซื้อมาจากหลายประเทศ อันได้แก่ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์

กิจการรถไฟได้รัรบความสนใจอย่างต่อเนื่องไปจนถึง รัชกาลที่ 6 และได้เริ่มมีการขยายเส้นทางรถไฟต่อไปอีก สำหรับเส้นทางสายใต้นี้มีเล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ขณะที่ไวเลอร์เดินทางสำรวจเส้นทางในแถบนี้ ก็ได้พบชายหาดหัวหินเข้า และนึกชอบใจในบรรยากาศ อันงดงามตรงหน้า จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ของการรถไฟสร้างกระท่อมไม้สองหลังขึ้นตรงหาด กระท่อมสองหลังของไวเลอร์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดโรงแรมรถไฟ ในปี พ.ศ. 2466 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมโซฟิเทล) กลายเป็นว่าบุคลคนแรกที่พบหัวหินไม่ใช่คนไทย แต่เป็นชาวเยอรมัน (ในตอนนั้นนายกิตตินส์ก็ไปด้วย ในฐานะนายช่างใหญ่ควบคุมการสร้างทางรถไฟสายใต้)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงมีรับสั่งให้ขยายทางรถไฟสายเหนือ จากลำปางถึงเชียงใหม่ ในการนี้วิศวกรต้องสร้างทางผ่านถ้ำขนาดใหญ่มีคาวมยาวถึง 1.6 ก.ม. (อุโมงค์ขุตาน) วิศวกรสำคัญชาวเยอรมัน ได้แก่ ไอเซนโฮเฟอร์ และเกิทเท ต่อมาภายหลังเมื่อไอเซนโฮเฟอร์ถึงแก่อนิจกรรมในปีพ.ศ. 2505 ก็ได้นำอัฐิของเขาไปฝังไว้ตรงทิศเหนือของอุโมงค์ขุนตาลและสุสานที่ว่ายังมีให้เห็นจนทุกวันนี้

เป็นที่น่าเสียดาย ในระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 ซึ่งเป็นสงครามโลกครั้งที่1 นั้น
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสยามต้องหยุดชะงักลง (แม้แตสะพานหอสูงก็ค้างเติ่งไปด้วย) วิศวกรชาวเยอรมัน จำนวนมากต้องเดินทางออกนอกประเทศ เนื่องจากสยามตรงอยู่ระหว่างเขตอิทธิพลของอังฤษและฝรั่งเศส จึงไมอาจรักษาความเป็นกลางไว้ได้ ในระหว่างนี้ ทางราชสำนักจึงแต่ตั้งผู้แทนฝ่ายไทยทานหนึ่ง ให้ดำราตำแหน่งผู้ว่าการทางรถไฟ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษ ซึ่งส่งวิศวกรคือนาย กิตตินส์ให้มาดำรงตำแหน่งผู้ปรึกษาใหญ่ ในขณะที่นายไวเลอร์ต้องเปลี่ยนมารับตำแหน่งหัวหน้าวิศวกรแทน

พอถึงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 สยามจำต้องประการสงครามกับเยอรมันอย่างเป็นทางการ ไวเลอร์ต้องถูกกักตัวไว้เช่นเดียวกับชาวเยอรมันท่านอื่นๆ ที่ยังพำนักอยู่ในประเทศ สงครามโลกทำให้เขากลายเป็นเชลยศึกที่น่าสมเพชคนหนึ่ง แม้ว่าตัวเขา เองเพิ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกเมื่อไม่นานนี้ การถูกกักขังทำให้ไวเลอร์รู้สึกเหนื่อล้าทั้งกายใจ ไม่นานเขาก็ล้มป่วยลง เขาจึงถูกปล่อยตัว และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เดินทางออกนอกประเทส แต่แล้วในที่สุดเขาก็ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเศร้าและเดียวดายบนเรือดโดยสารของเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2461 นับว่าไวเลอร์ได้อุทิศชีวิตของเขาให้กับการกรถไฟของสยามจนกระทั่งวาระสุดท้าย โดยไม่มีโอกาสได้เห็นแผ่นดินบ้านเกิดของเขาอีกแม้แต่คร้งเดียว
ย้อนกลับมาที่สถานีหัวลำโพง สำหรับตัวอาคราสถานี ได้มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ทั้งนี้ เพราะได้รับความช่วยเหลือจากจากเยอรมันเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร หัวรถจักร และตัวโครงเหล็กกล้าทั้งหมดที่ส่งมาจากเยอรมัน ส่วนการก่อสร้างตัวอาคารนั้นอยู่ใต้กำกับดูแลของบริษัทจากอิตาลี และ สถาปนิกอิตาเลียเช่นนายตามาญโญ

ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราหันมาดูการคมนาคมขนส่งของไทยในปัจจุบัน ก็จะเห็นว่าชาติที่เข้ามีบทบาทในการพัฒนาการขนส่งคมนาคมในประเทศไทยในปัจจุบัน ก็ยังเป็นเยอรมันอยู่นั่นเอง และบริษัทซี่เมนส์จากเยอรมันได้เข้ามาลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นเงินนับแสนล้านบาท การที่เยอรมันเข้ามาพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าการขนส่งมวลชนในประเทศ นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง หวังว่าเราคนไทยจะมอง
เห็นคุณค่าและความสำคัญของความร่วมมือทางเทคโนโลยี และยังหวังว่าในการขึ้นรถไฟครั้งต่อไป (ไม่ว่าใต้ดินหรือบนดิน) ของเรา จะหวนระลึกถึงมิตรภาพที่ย้อนอดีตกลับไปนานนับศตวรรษ
รวมทั้งความปรารถนาดีที่ชาวเยอรมันหยิบยื่นให้กับประเทศของเราเสมอมาเช่นกัน

ที่มาจาก ข่าวรามคำแหง ปีที่ 37 ฉบับที่ 20 วันที่ 3 - 9 กันยายน 2550

// -------------------------------------------------------------------------------------------------

เท่าที่ดูน่าจะคัดบทความจาก Banhof Bangkokซึ่งเขียนโดยลูกหลานเจ้ากรม หลุยส์ ไวแลร์ มาแน่แท้เลยเทียว เพราะ ชมเอยร์มทันจ๋าเลยเทียว
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 04/09/2007 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

ที่มาของชื่อ "หัวลำโพง" ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ยิ่งมีข้อมูลเพิ่มมาอีก ซึ่งบริเวณนั้น ก็เคยมีชื่อว่า ทุ่งวัวลำพอง ก็อาจจะเพี้ยนเสียงมาก็เป็นไปได้ อีกทั้งยังเคยมีต้นไม้ที่มีชื่อที่ออกเสียงคล้ายๆกันอยู่จำนวนมาก (แต่จำไม่ได้ว่าต้นอะไร) ก็อาจจะเป็นที่มาของคำว่า "หัวลำโพง" ได้เช่นกัน งานนี้ต้องขอความช่วยเหลือเฮียวิซซี่ช่วยขุดล่ะครับ
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 04/09/2007 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

กระแสหนึ่งที่ได้ยินมา คือ ย่านนั้น ชื่อว่า หัวลำโพง มาตั้งแต่แรก แต่ฝรั่งนั้นอาจออกเสียงไม่ชัดหรืออย่างไร จึงเรียกว่า วัวลำพอง

ที่น่าสงสัยคือ วัดหัวลำโพง แต่ที่ตั้งกลับไม่ได้อยู่ใกล้สถานีหัวลำโพงเลย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
palm_gea
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 1321
Location: ธ.ก.ส.

PostPosted: 04/09/2007 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

alderwood wrote:
อีกทั้งยังเคยมีต้นไม้ที่มีชื่อที่ออกเสียงคล้ายๆกันอยู่จำนวนมาก (แต่จำไม่ได้ว่าต้นอะไร) ก็อาจจะเป็นที่มาของคำว่า "หัวลำโพง" ได้เช่นกัน งานนี้ต้องขอความช่วยเหลือเฮียวิซซี่ช่วยขุดล่ะครับ

พี่ธีหมายถึงต้นลำโพงใช่รึเปล่าครับ ที่เค้าเอาดอกมันมาผสมในไข่เจียวทอดกิน แต่ถ้ากินมากเกินไปจะเมา คล้ายๆกับเมากัญชา Cool
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
taweep
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 04/07/2006
Posts: 569

PostPosted: 04/09/2007 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

ที่มา

http://www.info.ru.ac.th/RU_NEWS/Vol37/20_37.pdf

ข่าวรามคำแหง ปีที่ 37 ฉบับที่ 20 วันที่ 3 - 9 กันยายน 2550 หน้า 6 , 10
ศิษย์เก่ารามตอบเองครับ


รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

เรียนจบก่อน 4 ปี ไม่มีรีไทร์ ทรานสริป์ไม่มี F ค่าหน่วยกิต 25 บาท


Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 28/09/2007 6:36 pm    Post subject: หัวลำโพง Reply with quote

ใครมีภาพ หัวลำโพง บ้างครับ อยากได้ง่ะครับ จะเอาไปทำ project คระบ ถ้ามีลิงค์ภาพหัวลำโพงให้ก้อจะดีมากเรย ครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 28/09/2007 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อมูลนี้น่าสนใจครับ
ต้องลองสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่แถวๆ นั้นดูครับ
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2007 7:58 pm    Post subject: Re: หัวลำโพง Reply with quote

Paniti23 wrote:
ใครมีภาพ หัวลำโพง บ้างครับ อยากได้ง่ะครับ จะเอาไปทำ project คระบ ถ้ามีลิงค์ภาพหัวลำโพงให้ก้อจะดีมากเรย ครับ Rolling Eyes


ขอให้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคก่อน จึงจะพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรต่อดี ...
Back to top
View user's profile Send private message
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 28/09/2007 9:01 pm    Post subject: เรื่องหัวลำโพง Reply with quote

เกี่ยว กับ ตั้งแต่ อดี ต ถึง ปัจจุบัน ของหัวลำโพงครับ ซึงผม ไม่ค่อย มีภาพ ในสมัย อดีต ของหัวลำโพงเรยครับ (ของปัจจุบัน ไปถ่ายใน หัวลำโพง เรียบร้อย ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน พนังงาน ด้วย) รัดับ หัวหน้าแผนกอีกต่างหาก แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อ เพราะเขาขอไว้) แต่ไม่ได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ครับ และลองไปที่ ศูนยย์การบัญชาการรถไฟ ศูนย์บริการข้อมูล ก็มีข้อมูล้วนเลยครับ ผมติดปัญหาเรื่องในสมัยเก่า ที่หาค่อนข้างยาก แลผมอยากได้ภาพตอนที่สมัยหัวลำโพง ยังมีลานสินค้าติดกับคลองด้วยคับ(ก้อหัวหน้าเล่าให้ฟัง แต่ไม่มีรูปมายืนยัน เซงจิต) ผมก็เรยไหว้วานให้ทุกคนมาผ่านมาช่วยหน่อยครับ ส่งต้นเดือนตุลา ด้วย ไม่งั้น ก็ เลข 0 หรือไม่ก้อ ร ลอยให้เห็นอยู่ รำไรคับ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2007 9:13 pm    Post subject: Re: เรื่องหัวลำโพง Reply with quote

Paniti23 wrote:
เกี่ยว กับ ตั้งแต่ อดี ต ถึง ปัจจุบัน ของหัวลำโพงครับ ซึงผม ไม่ค่อย มีภาพ ในสมัย อดีต ของหัวลำโพงเรยครับ (ของปัจจุบัน ไปถ่ายใน หัวลำโพง เรียบร้อย ไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน พนังงาน ด้วย) รัดับ หัวหน้าแผนกอีกต่างหาก แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อ เพราะเขาขอไว้) แต่ไม่ได้ข้อมูลมากเท่าไหร่ครับ และลองไปที่ ศูนยย์การบัญชาการรถไฟ ศูนย์บริการข้อมูล ก็มีข้อมูล้วนเลยครับ ผมติดปัญหาเรื่องในสมัยเก่า ที่หาค่อนข้างยาก แลผมอยากได้ภาพตอนที่สมัยหัวลำโพง ยังมีลานสินค้าติดกับคลองด้วยคับ(ก้อหัวหน้าเล่าให้ฟัง แต่ไม่มีรูปมายืนยัน เซงจิต) ผมก็เรยไหว้วานให้ทุกคนมาผ่านมาช่วยหน่อยครับ ส่งต้นเดือนตุลา ด้วย ไม่งั้น ก็ เลข 0 หรือไม่ก้อ ร ลอยให้เห็นอยู่ รำไรคับ Sad


ไปค้นคว้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเปนดีที่สุด เพราะ เอกสารรฟท. เองก็โดนเผาทำลายไปเยอะ เมื่อสงกรานต์ปี 2495

ถ้าจะไปหจช. จริงๆ กรุณาเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รุป ทำบัตรเข้าใช้บริการ

ห้องรูปถ่ายเปิดเฉพาะ วันจันทร์ - ศุกร์เท่านั้น แต่ห้องชั้นล่างเปิดวันเสาร์ด้วย

ดังนั้น จัดตารางให้ดีๆ อย่ามัวโอ้เอ้เดี๋ยวก็ติด รอ หรือศูนย์จริงๆ หรอก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 31, 32, 33  Next
Page 1 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©