View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:02 am Post subject: ช่องเขาขาด + สถานีรถไฟหินตก |
|
|
ไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสไปสำรวจในวิชาภูมิรัฐศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี เลยมีโอกาสได้ไปพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด (ช่องเขาขาด พิพิธภันฑ์สถานแห่งความทรงจำ) เชื่อว่าสมาชิกหลายๆท่านคงไม่พลาดที่จะไปที่แห่งนี้ครับ แต่สมาชิกอีกหลายท่านก็คงไม่ได้มีโอกาสไป ผมเลยเอาภาพที่เกี่ยวข้องเล็กน้อยมาลงให้เห็นดูครับ
หมายเหตุ : ภาพไม่ได้ลงลายน้ำเพราะไม่สงวนลิขสิทธิ์ (ภาพไม่สวย) ใครอยากนำไปใช้ในทางใหนได้ตามสบายครับ |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:08 am Post subject: |
|
|
เมื่อเดินออกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็สามารถเดินลงที่ทางรถไฟได้ครับ โดยจะอยู่ลึกลงไปในช่องเขา แล้วจะมีทางแยกไปส่วนบนของช่องเขาด้วย
ถึงทางรถไฟแล้ว จะเห็นได้ว่ามีการนำหินโรยทางมาโรยใหม่ให้เหมือนทางรถไฟเดิมที่สุด แต่ไม่มีการนำตัวรางมาวาง ยกเว้นแต่วางไว้เป็นอนุสรณ์ |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:28 am Post subject: |
|
|
พอเดินออกจากช่องเขาขาดมาสักพัก มีป้ายบอกให้ผู้ที่มากับคณะทัวร์เดินกลับไปยังพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากระยะทางมาไกลมากแล้ว |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:34 am Post subject: |
|
|
ทางเดินในช่วงนี้จะเป็นทางลาดชัดเนื่องจากมีจุดที่เป็นสะพานหลายแห่ง (แต่ปัจจุบันไม่มีสะพานแล้ว) ท่านที่ต้องการไปต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ทางรถไฟจะขนานไปกับแนวเขาครับ ฝั่งหนึ่งจะเป็นหน้าผา
มาถึงช่องตัดเขาอีกแห่ง รู้สึกว่าแห่งนี้จะไม่มีชื่อครับ |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:39 am Post subject: |
|
|
เศษไม้หมอนที่ไหม้ไฟและชิ้นส่วนสะพาน ชะแลง ตอม่อสะพาน สามารถพบเห็นได้ตลอดทาง (ขอความกรุณาอย่าแตะต้องหรือเคลื่อนย้าย)
เรามาถึงสะพานสามชั้นกันแล้ว สะพานสามชั้นเป็นสะพานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแล้วนะครับในการสำรวจครั้งนี้ ทางขึ้นลงเล่นเอาเหนื่อย |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:45 am Post subject: |
|
|
เลยจากสะพานสามชั้นไปก็จะเป็นช่องหินตก
ออกจากช่องหินตกแล้วก็เป็นทางเดินดินธรรมดาๆครับ ตัดเป็นร่องไปตามระดับ ข้างทางยังมีร่องรอยของหลุมระเบิดที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำมาทิ้ง |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 4:56 am Post subject: |
|
|
สักพักหนึ่งก็ถึงถนนหินตก ถ้าทางรถไฟสายนี้ยังใช้การอยู่ก็คงเป็นทางผ่านเสมอระดับ ที่นี่จะมีห้องน้ำเอาไว้ให้บริการด้วยครับ แต่ต้องขอกุญแจมาจากพิพิธภัณฑ์
พอข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่ง หินโรยทางหายไปหมดเลย เหลือแต่แนวทางดินเอาไว้ |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 5:01 am Post subject: |
|
|
สักพักหินโรยทางเริ่มกลับมาครับ
ไม่นานเราก็มาถึงอดีตสถานีรถไฟหินตก ในภาพจะเป็นประแจฝั่งใต้ครับ โดยมีการโรยหินไว้ตามตำแหน่งที่รางอยู่เดิม ส่วนทางแยกสำหรับหลบขบวนรถไฟในป่า จะแยกออกไปทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมีศาลาพร้อมป้ายรายละเอียดสถานี |
|
Back to top |
|
|
icolor
3rd Class Pass
Joined: 14/05/2007 Posts: 66
Location: บางเขน
|
Posted: 21/10/2007 5:13 am Post subject: |
|
|
ป้ายคำอธิบายสถานที่ของสถานีรถไฟหินตกได้เขียนไว้ดังนี้ครับ
สถานีรถไฟหินตก
แนวเศษหินสองแนวที่ปรากฏอยู่เป็นเครื่องแสดงคำแหน่งของสถานีรถไฟหินตก
เป็นที่ที่รถไฟวิ่งสวนทางกันได้ และเป้นที่ที่หัวรถจักรใช้เติมเชื่อเพลิงและน้ำ
มีทางแยกเข้าป่าเพื่อซ่อนขบวนรถไฟ เมื่อเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าโจมตีทางอากาศ
อีกทั้งเป็นที่พักหรือที่รวมพลสำหรับคนซ่อมสร้างทางรถไฟ หรือทหารญี่ปุ่นที่เดินทางไป-กลับประเทศพม่า
เมื่อสะพานถูกทำลายจากการทิ้งระเบิด รถไฟสามารถทำงานได้ช่วงสั้นๆ
กรรมกรและเชลยศึกถูกบังคับให้ยกสัมภาระจากรถไฟขบวนหนึ่งไปอีกขบวนหนึ่งในช่วงต่อมา
เมื่อเกิดการโจมตีทางอากาศ กาสรขนย้ายสัมภาระจึงต้องทำในเวลากลางคืน และบ่อยครั้งที่ถูกขัดจังหวะการขนย้าย
จึงต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าสัมภาระจากประเทศไทยไปถึงพม่า
สถานีรถไฟหินตกแสดงให้เห็นว่ารถไฟไม่ได้ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้นแต่ยังใช้ถ่านด้วย
ตามเส้นทางรถไฟจะเห็นกองเถ้าถ่านจากรถจักรไอน้ำ เมื่อก่อนเป็นที่เข้าใจว่ามีแต่ไม้เท่านั้นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
หลักฐานที่ได้จากกองถ่านยืนยันว่ามีการใช้ถ่านหินร่วมด้วย |
|
Back to top |
|
|
|