View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
taweep
2nd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 569
|
Posted: 16/11/2007 10:37 pm Post subject: |
|
|
พี่ไม่สะดวกถ่าย 67 หรือครับ |
|
Back to top |
|
|
HID4506
3rd Class Pass (Air)
Joined: 28/06/2007 Posts: 320
Location: ศรีสะเกษ,พระจอมเกล้าธนบุรี
|
Posted: 16/11/2007 10:51 pm Post subject: |
|
|
สถานีไปมันเกือบทุกวันแต่ก็ไม่ได้ถ่ายรูปมาฝากสักที ไม่ทันไรโดนตัดหน้าละ ฮ่าๆๆ
สวยครับ เป็นผมคงถ่ายได้ไม่สวยขนาดนี้ |
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 6:00 am Post subject: |
|
|
taweep wrote: | พี่ไม่สะดวกถ่าย 67 หรือครับ |
ครับ ตอนที่หลีกขบวนที่ 67 อยู่ที่สถานีกันทรารมย์ ผู้โดยสารหนาแน่น นอกจากน้อง ๆ เด็กนักเรียนแล้ว มีแม่ค้าขนพวกผัก ( หนึ่งในนั้นมีเม็ดบัวด้วย ) ใส่กระจาดขึ้นมาบนขบวนรถด้วยครับ ตอนที่ขบวนที่ 67 มาถึง กลุ่มของแม่ค้ายังยกกระจาดขึ้นมาบนรถกันไม่เสร็จเลย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่ " สถานีเมืองที " อาคารสถานีและชานชาลาอยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถครับ วันนั้นผมได้ถ่ายแต่รูปทางฝั่งรางหลีกมา เอาเป็นว่าถ้าอยากเห็นบริเวณชานชาลาของสถานีนี้ก็คงต้องไปดูรูปที่ถ่ายเอาไว้ตอนเกาะท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ครับ
สถานีเมืองที ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 4 อักษรย่อ อท. รหัสสถานี 2252
ตั้งอยู่ในตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 437.16 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
สะพานคอนกรีตที่เห็นอยู่นี้อยู่ระหว่างเสาโทรเลขที่ 436/1 - 2 ไม่ไกลจาก " สถานีเมืองที " เท่าไหร่ครับ
พอขบวนที่ 428 มาถึง " สถานีบุฤาษี " ก็เลี้ยวเข้าไปในรางหลีกอีกครั้ง น่าเสียดายที่ตัวอาคาร และชานชาลาของสถานีแห่งนี้อยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถ ผมเลยไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดูครับ ผู้โดยสารบนขบวนรถหนาแน่นมาตั้งแต่ออกจาก " สถานีศีขรภูมิ " แล้วครับ จากการคาดเดาส่วนใหญ่น่าจะมีจุดหมายที่ " สถานีสุรินทร์ "...
พอรถจักรดีเซลไฟฟ้า Hitachi หมายเลข 4519 ทำ ขบวนรถเร็วที่ 143 ต้นทางสถานีกรุงเทพ - ปลายทางสถานีอุบลราชธานี ผ่านไป ขบวนที่ 428 ก็ออกเดินทางต่อครับ
ตอนอยู่ที่ " สถานีกันทรารมย์ " ไม่ได้ถ่ายรูปขบวนที่ 67 เอาไว้ไม่เสียดายเท่าไหร่ แต่ไม่ได้ถ่ายรูปขบวนที่ 143 เอาไว้นี่เสียดายมากกว่าหลายเท่าเลยครับ ได้ Hitachi ทำขบวนด้วย
ถ้ายังจำกันได้ที่ " สถานีบุฤาษี " นี้มีทางแยกเข้าสู่โรงเลื่อยด้วย น้องปาล์มเคยไปสำรวจมาให้ดูกันแล้ว ในกระทู้ ทางแยกร้างโรงเลื่อย...บุฤๅษี
ภาพของ " สถานีบุฤาษี " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีบุฤาษี ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 4 อักษรย่อ บุ. รหัสสถานี 2250
ตั้งอยู่ในตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 428.60 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ก่อนจะไปถึง " สถานีสุรินทร์ " ก็จะผ่านโค้งขวาที่นี่ก่อนครับ
ชานชาลาและอาคารสถานีของ " สถานีสุรินทร์ " อยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถ ในวันนั้นผมก็เลยไม่ได้ถ่ายรูปที่สถานีนี้เอาไว้ แต่ภาพมุมต่าง ๆ ของ " สถานีสุรินทร์ " มีให้ดูในกระทู้ เดินเล่นยามเย็นที่สถานีรถไฟสุรินทร์ แล้วครับ
ภาพของ " สถานีสุรินทร์ " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีสุรินทร์ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 1 อักษรย่อ สร. รหัสสถานี 2248
ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 419.75 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ประแจสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเตือน เสาเข้าเขตใน และเสาออก ก.3 *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
บริเวณนี้คือช่วงกิโลเมตรที่ 418 ครับ ผ่าน " สถานีสุรินทร์ " มาไม่นานแต่ก็ยังรู้สึกว่ายังไม่พ้นเขตเมืองครับ
_________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
Last edited by ExtendeD on 17/11/2007 3:45 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 6:40 am Post subject: |
|
|
บริเวณเสาโทรเลขที่ 415/3 เป็นที่ตั้งของ " สะพานข้ามห้วยเสนง " ( สะ - เหนง ) ครับ
พอมาถึงที่สะพานแห่งนี้ ผมนึกถึง " อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง " ที่เคยมาเที่ยวทันทีเลยล่ะครับ
ที่ " สถานีลำชี " มี ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421 ต้นทางสถานีนครราชสีมา - ปลายทางสถานีอุบลราชธานี จอดรอหลีกอยู่ครับ
ชานชาลา และอาคารสถานีของ " สถานีลำชี " อยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถครับ ถ้าอยากจะเห็นแบบเต็ม ๆ ก็คงต้องกลับไปดูรูปเก่า ที่ผมถ่ายเอาไว้ตอนที่อยู่บนขบวนที่ 136 ( อีกแล้ว )
สถานีลำชี ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 3 อักษรย่อ ลช. รหัสสถานี 2246
ตั้งอยู่ในตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 412.00 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ประแจกลเดี่ยว ( ประแจมือ ) พร้อมสัญญาณหางปลา ข. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ออกจาก " สถานีลำชี " มา ก็จะผ่าน " สะพานข้ามแม่น้ำชี " ที่บริเวณเสาโทรเลขที่ 409/10 ครับ
ผมเคยคิดเอาไว้ว่าจะเดินมาดูสะพานข้ามห้วยเสนง กับสะพานข้ามแม่น้ำชีอยู่เหมือนกัน ถ้าได้ไปจริง ๆ ก็คงต้องเผื่อเวลาเอาไว้ทั้งวันเลย เพราะทั้ง 2 สะพานก็ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ กับ " สถานีลำชี " เสียด้วย เดินกันขาขวิดล่ะครับ นอกจากเหตุผลเรื่องเวลาแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมผ่าน " สถานีลำชี " ไป ยังไม่ลงไปสำรวจในวันนั้นก็เหมือนกับ " สะพานข้ามห้วยทับทัน " นั่นล่ะครับ ผมคาดว่า " สะพานข้ามแม่น้ำชี " นั้นน่าจะเป็นผลงานของ Dayde' อีกเช่นกัน
มาถึงสถานีต่อไปครับ " สถานีหนองเต็ง "
ชานชาลาที่สถานีแห่งนี้กว้างขวางดีครับ
ภาพของ " สถานีหนองเต็ง " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีหนองเต็ง ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 4 อักษรย่อ เต. รหัสสถานี 2244
ตั้งอยู่ในตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 405.50 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 7:15 am Post subject: |
|
|
โค้งขวาที่เห็นนี้ อยู่ระหว่างทางไปที่ " สถานีกระสัง " ครับ อยู่ใกล้ ๆ กับเสาโทรเลขที่ 402/15
ขบวนที่ 428 มาหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารที่ " สถานีกระสัง " เป็นสถานีต่อมาครับ ผู้โดยสารยืนรอกันอยู่ที่ชานชาลาหลายคนเลย
อาคารสถานีครับ ผู้โดยสารที่ยังคงนั่งรออยู่ที่นี่ น่าจะเป็นผู้โดยสารที่รอการโดยสารไปกับ ขบวนรถเร็วที่ 136 ต้นทางสถานีอุบลราชธานี - ปลายทางสถานีกรุงเทพ ที่กำลังวิ่งตามหลังมาครับ
ภาพของ " สถานีกระสัง " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีกระสัง ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 2 อักษรย่อ ะส. รหัสสถานี 2243
ตั้งอยู่ในตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 398.65 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเตือน เสาเข้าเขตใน และเสาออก ก.3 *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ตอนนี้เมฆลอยเต็มท้องฟ้าอีกแล้วครับ ไม่เห็นท้องฟ้าสีฟ้าสวย ๆ เหมือนกับที่เห็นที่ " สถานีบ้านกะลัน " เลย ที่นี่คือช่วงกิโลเมตรที่ 397 ครับ
_________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 7:45 am Post subject: |
|
|
สถานีถัดไปคือ " สถานีห้วยราช " ครับ
หลังคาบังแดดที่อยู่ด้านหน้าห้องน้ำทาสีใหม่เอี่ยม แต่ป้ายบอกสถานีถัดไปนี่สีลอกหมดแล้ว แตกต่างกันจริง ๆ
ภาพของ " สถานีห้วยราช " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีห้วยราช ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 3 อักษรย่อ หร. รหัสสถานี 2239
ตั้งอยู่ในตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 385.51 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ประแจกลเดี่ยว ( ประแจมือ ) พร้อมสัญญาณหางปลา ข. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลห้วยราช อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ขบวนที่ 428 หยุดรับ - ส่งผู้โดยสารที่ " ที่หยุดรถบ้านตะโก " และ " สถานีบุรีรัมย์ " เป็นสถานีต่อ ๆ มาครับ แต่ว่าทั้ง 2 แห่งนั้นมีชานชาลา และอาคารสถานีอยู่ทางด้านซ้ายของขบวนรถในวันนั้นผมก็เลยไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้ ก็คงต้องเอารูปเก่ามาหากินอีกครั้ง >>> ภาพของ " สถานีบุรีรัมย์ " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
บรรยากาศช่วงเช้า ๆ ที่ " สถานีบุรีรัมย์ " อยู่ในกระทู้นี้แล้วครับ พาชมบรรยากาศยามเช้าที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์
พี่ ๆ น้อง ๆ คงจะยังจำทางแยกเขากระโดงที่น้องปาล์มเคยพาไปสำรวจในกระทู้ " ทางแยกลานเก็บกองหินเขากระโดง บุรีรัมย์ " ได้ใช่หรือเปล่าครับ จุดเริ่มต้นของทางแยกนี้ก็อยู่ไม่ไกลจาก " สถานีบุรีรัมย์ " แห่งนี้ครับ
สถานีบุรีรัมย์ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 1 อักษรย่อ รย. รหัสสถานี 2236
ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 376.02 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลาชนิดมีเสาเข้าเขตใน เสาออก ไม่มีสัญญาณเตือน ก.4 *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ตอนที่ขบวนที่ 428 มาหยุดรับ - ส่งผู้โดยสารที่ " สถานีบ้านหนองตาด " ผมก็ไม่ได้ถ่ายรูปอีกเหมือนกันครับ เพราะว่าชานชาลา และอาคารสถานีอยู่ทางฝั่งซ้ายของขบวนรถ คงต้องดู ภาพของ " สถานีบ้านหนองตาด " เมื่อ 1 ปีที่แล้ว กันอีกครั้งครับ
สถานีบ้านหนองตาด ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 4 อักษรย่อ ตา. รหัสสถานี 2234
ตั้งอยู่ในตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 366.50 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลหนองตาด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ที่เห็นอยู่นี้เป็นชุมชนที่อยู่บริเวณเสาโทรเลขที่ 365/16 อยู่ใกล้ ๆ กับ " สถานีบ้านหนองตาด " ครับ
ออกจากเขตชุมชนมา ข้างทางก็กลับเข้าสู่ธรรมชาติเหมือนเดิม ทุ่งนากว้าง ๆ โล่ง ๆ เขียวสบายตา...
หลังจากนั่งอยู่เฉย ๆ มานาน ที่ " สถานีบ้านแสลงพัน " เจ้าตี๋ก็คว้ากล้องผมไปถ่ายอะไรบางอย่างที่วางอยู่ข้าง ๆ รางหลีก... น่าจะเป็นตะแกรงหน้ารถของ Daewoo คันใดคันหนึ่งล่ะครับ
ภาพของ " สถานีบ้านแสลงพัน " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 4 อักษรย่อ งพ. รหัสสถานี 2233
ตั้งอยู่ในตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 363.30 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 7:59 am Post subject: |
|
|
เอาล่ะครับ หลังจากนี้ไปจนถึง " สถานีนครราชสีมา " ชานชาลารวมไปถึงอาคารสถานี ของทุก ๆ สถานีที่อยู่ตามรายทาง จะอยู่ทางด้านขวาของขบวนรถแล้ว ผมจะได้ถ่ายรูปสถานีต่าง ๆ เก็บเอาไว้อีกครั้ง หลังจากที่ได้แต่จดบันทึกอยู่อย่างเดียวมานาน...
ก่อนที่ขบวนที่ 428 จะไปถึง " สถานีทะเมนชัย " ฝนก็เริ่มโปรยปรายลงมาครับ ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบครับ ฝนตกท่ามกลางทุ่งนา...
พอมาถึง " สถานีทะเมนชัย " ฝนก็เริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้โดยสารที่ลงจากขบวนรถที่นี่ ถ้าไม่หยุดรอให้ฝนหยุดตกก่อน ก็ต้องวิ่งฝ่าฝนออกไปล่ะครับ มีเปียกแน่ ๆ ครับงานนี้
ภาพของ " สถานีทะเมนชัย " จากท้ายขบวนรถเร็วที่ 136 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สถานีทะเมนชัย ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 3 อักษรย่อ มช. รหัสสถานี 2231
ตั้งอยู่ในตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 354.85 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com
ขบวนที่ 428 ก็ยังคงวิ่งฝ่าฝนไปเรื่อย ๆ มาจนถึงบริเวณเสาโทรเลขที่ 352/13 ขณะที่ผู้โดยสารคนอื่นบ้างก็หลับ บ้างก็นั่งดูวิวนอกหน้าต่าง แต่ผมกลับต้องมานั่งคิด ตัดสินใจอะไรบ้างอย่าง ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ตอนบ่ายกลับจากพาน้องพีไปประชุมผู้ปกครองแล้ว จะกลับมาบอกครับ พิมพ์เสร็จทันเวลาออกจากบ้านพอดี
_________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
palm_gea
1st Class Pass (Air)
Joined: 03/07/2006 Posts: 1321
Location: ธ.ก.ส.
|
Posted: 17/11/2007 12:21 pm Post subject: |
|
|
ที่หยุดรถบ้านแต้ไม่เหงาหรอกครับ เพราะถึงแม้จะถูกลดชั้นไป แต่ชั้นบนของอดีตอาคารสถานีตอนนี้ก็ทำหน้าที่เป็นที่พักของจนท.สถานีบ้านเนียมครับ
น่าเสียดายอดีต 2 สถานีฝาแฝดที่ไม่มีรางหลีกอย่าง บ้านแต้ และ หนองแคน นะครับ แต่ถึงยังไงรถก็ยังจอดเหมือนเดิม รฟท.ก็ประหยัดค่าใช้จ่ายไปด้วย
ปล.สายอีสานเหนือมีสถานีที่ไม่มีรางหลีกอยู่แห่งหนึ่ง รบกวนถามผู้รู้หน่อยครับว่าเป็นสถานีอะไร _________________
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 17/11/2007 4:33 pm Post subject: |
|
|
สถานี " หนองเต็ง " คงกร่อนมาจากชื่อเดิม " บ้านหนองเต็ง " แน่ๆ เลย ดูร่องรอยตัวอักษรที่ป้ายชื่อสถานี
ถ้าจำไม่ผิด คงนานนับสิบปีด้วยซ้ำนะครับ |
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 17/11/2007 5:15 pm Post subject: |
|
|
palm_gea wrote: | ปล.สายอีสานเหนือมีสถานีที่ไม่มีรางหลีกอยู่แห่งหนึ่ง รบกวนถามผู้รู้หน่อยครับว่าเป็นสถานีอะไร |
เอ...ถ้าปาล์มหมายถึงอดีตสถานีที่ยังคงมีอาคารสถานีหลงเหลืออยู่ให้เห็นนี่ ในช่วงสถานีชุมทางบัวใหญ่ - สถานีอุดรธานีไม่น่าจะมีนะ ที่หยุดรถคำกลิ้ง กับ ที่หยุดรถบ้านวังชัย ก็มีแค่ที่พักให้ผู้โดยสารนั่งรอ แบบธรรมดา ๆ ไม่ใช่อาคารหลังใหญ่
แต่ถ้าเป็นอดีตสถานีจะมีอยู่ในเส้นทางระหว่างสถานีอุดรธานี - สถานีหนองคาย ตามที่น้องบอยถ่ายรูปมาให้ดูในกระทู้ Review : หนองคาย-อุดรธานี กับสถานีที่หาย (ไปไหน) นี่ก็มีที่ " อดีตสถานีหนองสองห้อง " " อดีตสถานีบ้านขาว " " อดีตสถานีหนองตูม " เท่านั้นเอง
แต่อาจจะอยู่ในเส้นทางช่วงระหว่างสถานีชุมทางแก่งคอย - สถานีชุมทางบัวใหญ่ก็ได้ เพราะเส้นทางนี้ที่หยุดรถเยอะมากเลย ต้องไปดูในกระทู้ของน้องเต้แล้วล่ะ
อ้อ จัดการแก้ไขตามที่ปาล์ม PM มาบอกแล้ว ขอบใจมากเด้อ...
black_express wrote: | สถานี " หนองเต็ง " คงกร่อนมาจากชื่อเดิม " บ้านหนองเต็ง " แน่ๆ เลย ดูร่องรอยตัวอักษรที่ป้ายชื่อสถานี
ถ้าจำไม่ผิด คงนานนับสิบปีด้วยซ้ำนะครับ |
เปลี่ยนมานานแล้วเหรอครับพี่ตึ๋ง ผมเห็นว่ายังใช้ป้ายประเพณีเดิมอยู่ ก็เลยคิดว่าเพิ่งจะเปลี่ยนชื่อไม่นานมานี้เสียอีก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับโปรแกรมทัวร์ในวันที่ 3 นี้ ผมได้คุยกับเจ้าถิ่นที่จักราชเอาไว้ ว่าจะให้น้องเขาพาไปเดินสำรวจที่ " สถานีจักราช " ตลอดเวลาเดินทางมาจนถึงเช้าวันที่ 3 ผมรอการติดต่อยืนยันกลับจากเจ้าถิ่นมาโดยตลอด แต่แล้วก็เงียบสนิท มันดูเหมือนเลื่อนลอยมากเลยล่ะครับ เช้าวันนั้นผมก็ซื้อตั๋วไปลง " สถานีจักราช " เหมือนกันครับ เผื่อว่าน้องเขาจะโทรติดต่อกลับมาในนาทีสุดท้าย
แต่ผมเองก็เตรียมแผนสำรองเอาไว้ ถ้าไม่ได้รับการติดต่อกลับ ( ซึ่งก็มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นเช่นนั้น ) ก็มีอีกหลายตัวเลือกครับ มีทั้ง
- สะพานข้ามห้วยทับทัน ที่ตัดทิ้งไปเพราะรูปร่างลักษณะคล้าย ๆ กับสะพานข้ามห้วยขยุงที่ได้ไปสำรวจมาในวันแรก
- สะพานข้ามห้วยเสนง + สะพานข้ามแม่น้ำชี ตัดทิ้งด้วยเหตุผลที่เหมือนกับสะพานข้ามห้วยทับทัน และนอกจากนั้น ถ้าจะแวะสำรวจที่นี่ต้องใช้เวลานาน - นานมาก ซึ่งตอนนั้นยังไม่พร้อมครับ
- สะพานข้ามแม่น้ำมูล ที่สถานีท่าช้าง ตัดทิ้งเพราะน้องบอล ( Rapid140 ) ได้ไปสำรวจมาแล้ว
จนกระทั่งขบวนที่ 428 มาถึงที่ " สถานีลำปลายมาศ " นั่นก็หมายความว่าได้เวลาที่จะต้องตัดสินใจจริง ๆ แล้วล่ะครับ
ช่วงเส้นทางจาก " สถานีลำปลายมาศ " ไปจนถึง " สถานีจักราช " ก็เหลือสะพานโครงเหล็กขนาดใหญ่ที่น่าสนใจอยู่แค่ 2 ที่เท่านั้นเองครับ ถ้าไม่ลงที่นี่ ก็ต้องไปลงที่ " สถานีจักราช " ตามปลายทางที่ระบุตามตั๋ว ภาพของ " สะพานข้ามลำปลายมาศ " กับ " สะพานข้ามห้วยจักราช " ขึ้นมาอยู่ในหัวตั้งแต่ออกจาก " สถานีทะเมนชัย " มาแล้ว สุดท้ายผมก็ตัดสินใจลงจากขบวนที่ 428 ที่นี่ครับ
ส่วนน้องเจ้าถิ่นคนนั้นที่ผมพูดถึง... จนป่านนี้ยังเงียบอยู่เลยนะ เจ้าถิ่นทางอีสานเขามารายงานตัวกันหมดแล้ว... กลับมาเถอะ ทางบ้านให้อภัยแล้ว พี่ไม่ได้โกรธเลย ( จริง ๆ นะ ) ถ้าพี่เป็นคนคิดมากแบบนั้นป่านนี้คิด ๆๆๆ จนหัวระเบิดตายไปแล้ว หรือว่ากำลังซุ่มผลิตผลงานแนะนำตัวอย่างที่เคยคุยกันไว้หรือเปล่า ยังไงก็รอดูอยู่ แต่อย่าเอาของเก่ามาขายนะ
พอหลังจากเสร็จสิ้นการสำรวจที่นี่ ผมยังคุยกับเจ้าตี๋อยู่เลยว่า คิดไม่ผิดเลยที่แวะลงมาสำรวจที่ " สถานีลำปลายมาศ " แห่งนี้ ส่วนผมกับเจ้าตี๋จะพบเจออะไรระหว่างการสำรวจบ้างนั้น ติดตามไปเรื่อย ๆ ก็จะรู้ครับ เป็นการสำรวจย่านสถานี และสะพานอีก 1 วันที่น่าจดจำมากเลยทีเดียว
สถานีลำปลายมาศ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ( ปลายทางสถานีอุบลราชธานี )
เป็นสถานีระดับที่ 2 อักษรย่อ ลำ. รหัสสถานี 2229
ตั้งอยู่ในตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ 345.70 กิโลเมตร
ระบบสัญญาณที่ใช้ : ใช้ป้ายเขตสถานี ง. *
ExtendeD's Note wrote: | จากการสำรวจพบว่า ที่สถานีนี้ใช้ระบบสัญญาณแบบประแจกลเดี่ยว ( ประแจมือ ) พร้อมสัญญาณหางปลา ข. ครับ |
* อ้างอิงจาก file station_northeast.pdf ที่ download มาจาก http://portal.rotfaithai.com
รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaitambon.com และ http://www.amphoe.com
มาดูแผนที่จาก Pointasia ก่อนครับ เมืองลำปลายมาศเป็นชุมชนขนาดใหญ่ครับ มีสถานีรถไฟอยู่ตรงกลางตัวเมือง ตัวเมืองฝั่งทางทิศใต้ดูเหมือนว่าจะมีบ้านเรือนปลูกมากกว่าทางด้านทิศเหนือ ห่างจาก " สถานีลำปลายมาศ " ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1.995 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ " สะพานข้ามลำปลายมาศ " จุดหมายหลักในการสำรวจครับ
ระยะทางที่ต้องเดินจาก " สถานีลำปลายมาศ " ไปที่ " สะพานข้ามลำปลายมาศ " นั้น ผมพอจะรู้ตั้งแต่อยู่ที่บ้านแล้วล่ะครับ แต่เจ้าตี๋นี่สิ ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย พอสำรวจสถานีเสร็จยังมองไม่เห็นว่ามีสะพานอยู่แถว ๆ นี้ก็เลยถามหา พอผมชี้นิ้วไป พร้อมกับบอกว่า " อยู่โน่นนนนนนนนนนนนนนน... " ถึงกับอึ้งพูดไม่ออกเลยล่ะครับ แต่คงจะบ่นอยู่ในใจ แล้วมาคุยว่าตอนเข้าค่ายเดินทางไกล 7 กิโลเมตร ขี้ฮก เบ่เบ๊ ซะแล้ว จับไต๋ได้หรอกน่า... _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
Last edited by ExtendeD on 17/11/2007 7:18 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
|