RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13574134
ทั้งหมด:13886037
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟเวียตนาม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟเวียตนาม
Goto page 1, 2, 3 ... 65, 66, 67  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2006 9:48 am    Post subject: ข่าวรถไฟเวียตนาม Reply with quote

เปิดแผนรถไฟด่วนโฮจิมินห์-ฮานอยวิ่ง 10 ชั่วโมง

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2549 11:53 น.




Click on the image for full size


รถไฟรางคู่ กว้าง 1 เมตร ในเส้นทางจากกรุงฮานอย ไปยังปลายทางที่เมืองฮาลอง





กรุงเทพฯ- บริษัทรถไฟเวียดนามได้เปิดเผยแผนการละเอียดโครงการก่อสร้างทางรถไฟด่วนขนานเส้นทางรถไฟปัจจุบันเพื่อเชื่อมระหว่างนครโฮจิมินห์ในภาคใต้กับกรุงฮานอยในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแผนพัฒนาการขนส่งระบบรางอีกโครงการหนึ่ง นอกเหนือจากแผนการขยายรางรถไฟหลักในปัจจุบันให้เป็นเกจมาตรฐานเพื่อให้รถสามารถแล่นด้วยความเร็วได้อย่างปลอดภัย

รถไฟความเร็วสูงในแผนการฉบับใหม่นี้จะสามารถร่นระยะเวลาการบริการระหว่างปลายเหนือ-ใต้ความยาว 1,650 กิโลเมตรให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น จากปัจจุบันที่รถไฟต้องใช้เวลาวิ่งตั้งแต่ 28-30 ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ตที่อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสบริษัทรถไฟแห่งชาติ

นายเหวียนหืวบ่าง (Nguyen Huu Bang) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟเวียดนามได้รายงานเสนอกระทรวงขนส่งเมื่อเร็วๆ นี้ โดยระบุว่าเวียดนามควรจะมีรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ภายในปี 2558 เป็นรถไฟขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร นอกเหนือจากรถไฟธรรมดาสายโฮจิมินห์-ฮานอย ที่ใช้อยู่ในขณะนี้

อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะต้องใช้เงินลงทุนถึง 285 ล้านล้านด่ง หรือ 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 6.6 แสนล้านบาท) ซึ่งจะต้องระดมเงินทุนจากทุกภาคส่วนที่สามารถเป็นไปได้ ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งเงินจากการช่วยเหลืออย่างเป็นการเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance) จากประเทศต่างๆ ด้วย

ที่สำคัญมากก็คือ ทางรถไฟด่วนสายนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย ที่มีจุดเริ่มจากสิงคโปร์ด้วย นายบ่างกล่าว

เมื่อ 5 ปีที่แล้วผู้บริหารของบริษัทรถไฟเวียดนามได้เคยเสนอความคิดเกี่ยวกับการจัดสร้างรถไฟด่วนเหนือ-ใต้มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ปัญหาสำคัญก็คือ จะหาเงินทุนจากแหล่งใดไปดำเนินการ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ต

จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาและการก่อสร้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทรถไฟเวียดนาม การสร้างรางกว้างขนาด 1.435 เมตรนั้น จะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างราว 15-20 ล้านดอลลาร์ต่อกิโลเมตร ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้เงินงบประมาณ ทั้งสิ้นราว 20 พันล้านดอลลาร์

บริษัทที่ปรึกษาฯ ยังเสนอให้บริษัทรถไฟเวียดนามก่อสร้างทางรถไฟด่วนสายอื่นๆ อีกด้วย อันได้แก่สาตะวันออกระหว่างกรุงฮานอย-เมืองท่าหายฟ่อง (Hai Phong) ญาจาง (Nha Trang)-โฮจิมินห์ และโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) ทั้งหมดนี้ควรจะเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปี 2558

แม้จะยังต้องหาแหล่งเงินทุนต่อไปก็ตาม แต่กระทรวงขนส่งเวียดนามได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการเอาไว้เรียบร้อย คือ การศึกษาความคุ้มทางเศรษฐกิจให้แล้วเสร็จในปี 2553 และเริ่มการก่อสร้างในปี 2554

ตามแผนแม่บทนั้นในช่วงหลังปี 2559 กระทรวงขนส่งจึงจะเริ่มพัฒนาทางรถไฟด่วนในช่วงอื่นๆ คือ ช่วงล่องใต้ระหว่างเมืองวิง (Vinh)-ญาจาง สายเหนือกรุงฮานอย-หล่างเซิน (Lang Son) และสายใต้นครโฮจิมินห์-เมืองเกิ่นเทอ (Can Tho) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบก่อสร้างอีกราว 318.75 ล้านล้านด่ง หรือราว 20 พันล้านดอลลาร์

ทางรถไฟที่ทันสมัยนี้จะทำให้รถไฟด่วนสามารถแล่นได้ด้วยความเร็ว 160-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นอกเหนือจากการสร้างถนนหนทางสายหลักต่างๆ แล้ว ปัจจุบันเวียดนามกำลังเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในระดับตัวเมือง นครและในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ โครงการขนส่งมวลชนระบบรางและระบบล้อกำลังผุดขึ้นในนครใหญ่ต่างๆ ของประเทศ

ตมรายงานของสื่อทางการเวียดนามนั้น กรุงฮานอยเลือกระบบรถรางขนส่งมวลชน (Tramway System) ส่วนในนครโฮจิมินห์เลือกระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail System) กับรถไฟฟ้าใต้ดิน ผสมผสานกับรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน (Bus Rapid Transit System)

การก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในเฟสแรกจะเริ่มในต้นปีหน้า ขณะที่กำลังมีการศึกษาความคุ้มทางเศรษฐกิจสำหรับอีก 2 ระบบ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี.


Last edited by Wisarut on 23/01/2009 10:44 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 15/07/2006 11:30 am    Post subject: Reply with quote

ลักษณะภูมิประเทศอันยาวเหยียดของเวียตนาม ก็ชวนให้สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรอกครับ ผมคิดว่า เขาคงทำแน่ๆ แต่รอเวลาอีกสักนิดหนึ่ง

บ้านเรา...น่าจะเป็นสายนครราชสีมา - กรุงเทพ - หาดใหญ่ Laughing แต่คงใช้เวลาฝันนานกว่าเวียตนามหลายเท่า

อ่ะ.. รถจักรคงเป็นของอดีตการรถไฟเวียตนามใต้ ตู้โดยสารใช้แคร่เพนซิลเวเนียด้วยแฮะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2006 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

พี่ตึ๋ง, ตอนนี้เวียตนามกำลังทางหลวง 4 เลน -เรียกว่าทางหลวงโฮจิมินห์ เพื่อแบ่งเบาภาระทางหลวงหมายเลข 1 (ฮานอย - ไซ่ง่อน) ที่ขยายไม่ได้เพราะติดชุมชน ....

เอาเป็นว่าทำทางรถไฟคู่ 2000 กิโลเมตรให้ได้ก่อนแล้วถึงจะเชื่อว่า ทำรถไฟความเร็วสูง ระหว่างฮานอยไปไซ่ง่อน ได้จริงๆ เพราะผมไม่แน่ใจว่าเขตทางจะพอทำได้หรือเปล่า ถ้าทำได้ก็ดีไป Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2006 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

งานนี้ดูท่าบริษัทรถไฟเวียตนามจำกัดท่าจะเอาจริงแฮะกะการทำรางคู่ กรุงฮานอย - เมืองท่าวินห์ (300 กม.) กะ นครไซ่ง่อน - เมืองท่าญาตรัง (396 กม.) รวมระยะทาง เกือบ700 กิโลเมตร Embarassed Rolling Eyes

เวียดนามเร็วจี๋ศึกษารถไฟความเร็วสูง 700 ก.ม.แรก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2549 13:32 น.
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9490000095448


http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=549000011141402


บริการรถไฟในเวียดนามไม่ถึงกับล้าหลัง แต่ไม่ทันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายทรานส์เอเชียจากสิงคโปร์ถึงเมืองคุนหมิง ในมณฑลหยุนหนันของจีน
ผู้จัดการรายวัน- ทางการเวียดนามกับหน่วยงานความช่วยเหลือระหว่างประเทศของรัฐบาลเกาหลีใต้ กำลังร่วมกันจัดทำแผนศึกษาความคุ้มทางด้านเศรษฐกิจของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงรางคู่ (Dual Rail) สองสายทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ เป็นระบบรางมาตรฐานตลอดเส้นทาง เพื่อให้มีระบบรถไฟที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วได้ 2-3 เท่าตัว จากในปัจจุบันที่เป็นแบบรางแคบ

สำหรับเส้นทางช่วงนครโฮจิมินห์-เมืองญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa) ความยาว 369 กิโลเมตร ฝ่ายเกาหลีได้ประเมินมูลค่าก่อสร้างเอาไว้ราว 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเส้นทางฮานอย-วิง (Vinh) ใน จ.เหงะอาน (Nhge An) ความยาวราว 300 กิโลเมตร กำลังจะมีการประเมินมูลค่าการก่อสร้าง แต่เชื่อว่าทั้งสองเส้นทางจะมีมูลค่ารวมกันกว่า 10 พันล้านดอลลาร์

ตามรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม รัฐบาลเกาหลีได้ตกลงให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามเป็นเงิน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการสำรวจเส้นทางภาคเหนือฮานอย-เหงะอาน กับอีก 900,000 ดอลลาร์ในการศึกษาเส้นทางโฮจิมินห์-ญาจาง

การศึกษารถไฟฟ้ารางคู่ทั้งสองเส้นทางกำลังดำเนินไปภายใต้แผนพัฒนาระบบรถไฟแห่งชาติ ซึ่งจะมีการจัดสร้างรถไฟความเร็วสูงรางคู่ตั้งแต่กรุงฮานอย ลงไปจนถึงนครโฮจิมินห์ในภาคใต้ โดยเปลี่ยนระบบรางใหม่เป็นเกจมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร จากปัจจุบันที่มีขนาดความกว้างของรางเพียง 1 เมตร ซึ่งจำกัดความเร็วของรถไฟให้วิ่งได้แค่ 60-70 ก.ม.ต่อชั่วโมงเท่านั้น

ระบบรางมาตรฐานจะทำให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 300 ก.ม.ต่อชั่วโมง วีเอ็นเออ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่บริษัทรถไฟเวียดนาม


Click on the image for full size

เนื่องจากรางทั่วประเทศเป็นเกจมาตรฐานกว้างเพียง 1 เมตร หัวรถจักรไม่สามารถทำความเร็วเกิน 70 ก.ม./ช.ม. ได้ (บ้านนเราทำได้ 100-120 กม/ชม. สำหรับทางใหม่ และ 90 กม/ชม สำหรับทางเก่า) รถไฟตกรางครั้งใหญ่ที่สุดในภาคกลางเวียดนามเมื่อปีที่แล้ว เกิดจากการแล่นด้วยความเร็วเกินพิกัดเมื่อเข้าโค้ง


ตามแผนการที่ได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีนั้น การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟรางคู่จะให้แล้วเสร็จในเดือน เม.ย.2550 เพื่อเริ่มการประกวดราคาและเตรียมการก่อสร้าง โดยเส้นทางโฮจิมินห์-ญาจาง และฮานอย-วิง จะเริ่มให้บริการพร้อมกันในปี 2558

ตามแผนการนั้นบริษัทรถไฟเวียดนามจะพัฒนาระบบรางอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 เพื่อใช้เกจมาตรฐานทั้งหมด ไปตามแนวทางรถไฟในปัจจุบัน

การพัฒนาระบบรถไฟได้เป็นวาระแห่งชาติของเวียดนามและเป็นหนึ่งในบรรดาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศให้ทันสมัย ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและในอัตราที่สูงที่สุด

รถไฟรางคู่ทั้ง 2 ช่วงความยาวเกือบ 700 ก.ม.นี้ เป็นหนึ่งในแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ความยาว 1,650 ก.ม. เหนือจรดใต้ ซึ่งบริษัทรถไฟเวียดนามเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า อาจจะต้องใช้เงินก่อสร้างทั้งหมดราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือราว 6.6 แสนล้านบาท) ซึ่งจะต้องระดมเงินทุนจากทุกภาคส่วนที่สามารถเป็นไปได้ ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งเงินจากการช่วยเหลืออย่างเป็นการเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance) จากประเทศต่างๆ ด้วย
ทางรถไฟในเวียดนามนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย ที่มีจุดเริ่มจากสิงคโปร์ ภายใต้การสนับของธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ เอดีบี

นอกจากเส้นทางหลักเหล่านี้แล้ว บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ยังเสนอให้บริษัทรถไฟเวียดนามก่อสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ อีกด้วย อันได้แก่สายตะวันออกระหว่างกรุงฮานอย-เมืองท่าหายฟ่อง (Hai Phong) (จริงๆ คือ รางคู่ ฮานอย - เมืองท่าไฮฟอง) และตอนใต้สุดคือโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) (อันนี้แหละที่ใหม่จริงๆ ไซ่ง่อน - เมืองท่าวุงเตา) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟไปถึง
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 27/07/2006 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

น่าอิจฉาเขาเหมือนกันนะ แล้วผมก็คิดว่ามันก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงด้วยเพราะว่ามันเป็นโครงการที่รัฐบาลเขาสนับสนุน แล้วความมีวินัยกับความเป็นชาตินิยมก้จะทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ประกอบกับสถานะทางเศรษฐกิจที่กำลังเป็นดาวรุ่งก็จะทำให้มีหลายประเทศเข้ามาจีบเพื่อช่วยสานฝันให้เป็นจริงได้เร็วขึ้นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2006 2:44 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟด่วนเวียดนามลงตัว 4 สาย $30,086 ล้าน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 สิงหาคม 2549 23:37 น.

บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังออกแบบและจัดทำรายงานการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายแรก รวมความยาวเกือบ 900 กิโลเมตร เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาล การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2553 โดยจะใช้เวลา 5 ปี ด้วยเงินลงทุนถึง 30,086 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.2 ล้านล้านบาท

รถไฟความเร็วสูงช่วงที่ 1 ระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง (เมืองท่าวินห์ - Vinh) จังหวัดเหงะอาน (Nghe An) รวมความยาว 280 กิโลเมตร

ช่วงที่ 2 ระหว่างเมืองญาจาง (เมืองท่าญาตรัง - Nha Trang) กับนครโฮจิมินห์ (นครไซ่ง่อน) ความยาว 400 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวที่สุด

ช่วงที่ 3 ความยาว 100 กิโลเมตรระหว่างนครโฮจิมินห์-เมืองหวุงเต่า (เมืองท่าวุงเต่า - Vung Tao) ในภาคใต้ และ

อีกสายหนึ่ง 100 กิโลเมตรระหว่างกรุงฮานอยกับนครหายฟ่อง (เมืองท่าฮายฟอง - Hai Phong)

ในปี 2559 บริษัทรถไฟเวียดนามจะเริ่มศึกษาวิจัยรถไฟความเร็วสูงเส้นทางอื่นๆ คือ

ช่วงเมืองวิง-เมืองญาจาง (เชื่อมเหนือใต้ เพื่อทำขบวนรถด่วนรวมชาติเวอร์ชันใหม่)

นครโฮจิมินห์ถึงนครเกิ่นเธอ (เมืองคันโธชานนครไซ่ง่อน Can Tho) และ

สายเหนือกรุงฮานอย-เมืองลางเซิน (เมืองชายแดนลานเซง Lang Son)

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเหล่านี้จะใช้รางกว้างเกจมาตรฐาน 1.435 เมตร เพื่อให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็ว 160-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะต้องเป็นรถไฟรุ่นใหม่และใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ทันสมัย

ในปัจจุบันระบบรถไฟในเวียดนามใช้รางขนาดเป็นเกจมาตรฐาน 1 เมตร ขบวนรถไม่สามารถทำความเร็วได้ การเดินทางระหว่างกรุงฮานอย-นครโฮจิมินห์ระยะทาง 1,650 กิโลเมตรต้องใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง ระบบรถไฟความเร็วสูงนี้เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะร่นเวลาการเดินทางลงเหลือเพียง 8-10 ชั่วโมง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2006 10:25 am    Post subject: Reply with quote

เวียดนามสร้างอุโมงค์รถไฟ $200 ล้านลอดภูเขา

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2549 16:21 น.




Click on the image for full size


รถไฟขบวนเหนือ-ใต้ จอดที่สถานีลางเกอ (Lang Co) เตรียมไต่ไปตามเส้นทางขึ้นเขาตรงช่องเขาไฮวัน ระยะทางเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง เวียดนามเพิ่งเปิดใช้อุโมงค์ไฮวันสำหรับรถยนต์เมื่อปีที่แล้ว





วีเอ็นเอ - การรถไฟเวียดนามเตรียมแผนโครงการสร้างอุโมงค์ทางรถไฟ ผ่านช่องแคบฮายวัน (Hai Van) ด้วยมูลค่าการลงทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการคมนาคมและความปลอดภัยของระบบทางรถไฟเส้นทางข้ามประเทศ

อุโมงค์รถไฟดังกล่าว เป็นโครงการก่อสร้างความยาว 10 กม. และมีขนาดกว้างของอุโมงค์พอสำหรับวางรางรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งจะช่วยลดระยะทางและเวลาที่ใช้ในการเดินทางอ้อมภูเขา ได้ถึง 2 ชม.

เนื่องจากเส้นทางรถไฟและรถยนต์ ใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam) นับว่าเป็นช่วงระยะการเดินทางที่ยากลำบาก ที่เชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ของประเทศ ซึ่งต้องเดินทางอ้อมผ่านภูเขาฮายวันทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่าง 2 เมืองมรดกโลกในภาคกลาง คือ เมืองเว้ (Hue) จ.เถือะเทียนเหว (Thua Thie Hue) กับเมืองเก่าโฮยอาน (Hoi An) ใน จ.กว๋างนาม

ในปี 2548 ที่ผ่านมา เวียดนามได้เปิดใช้อุโมงค์ฮายวัน สำหรับการคมนาคมทางบก ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1A ห่างจากฮานอยและโฮจิมินห์เกือบ 1,800 กม. โดยการก่อสร้างใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการเปิดใช้อุโมงค์ดังกล่าว ทำให้การเดินทางบนทางหลวงสายเหนือ-ใต้ ช่วงจากนครด่าหนัง ไปยังเมืองหลวงเก่าเหว จากที่เคยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง เหลือเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2006 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

เวียดนามทำรถไฟความเร็วสูง 400 ก.ม.5 แสนล้าน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2549 12:02 น.


Click on the image for full sizeสถานีรถไฟเมืองญาจางจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่ใหญ่โตในภาคกลางตอนล่าง เมื่อรถไฟความเร็วสูงสายแรกจากนครโฮจิมินห์ไปถึง เมืองญาจาง (ญาตรัง)



กรุงเทพฯ- บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมกำลังจัดทำร่างแผนการก่อสร้างรถไฟรางคู่กว่า 400 กิโลเมตร ระหว่างนครโฮจิมินห์ไปยังเมืองญาจาง (Nha Trang - ญาตรัง) จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa - คันห์หัว) เมืองท่องเที่ยวชายทะเลในภาคกลางของประเทศ โดยจะเป็นช่วงแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ที่รัฐบาลเวียดนามมีกำหนดจะดำเนินการตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า

เมื่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา รถไฟรางคู่ความเร็วสูงสายแรกนี้จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างราว 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 490,000 ล้านบาทเศษ โดยจะไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟที่พัฒนาใหม่จากกรุงฮานอยลงสู่ภาคใต้

บริษัท Southern Transport Design Consulting Corporation ที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบก่อสร้างระบบ กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงช่วงแรกจะสามารถความเร็วได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะใช้งบก่อสร้างทั้งระบบราว 6,400 ล้านดอลลาร์ ร่นระยะเวลาเดินทางลงเหลือ 2 ชั่วโมง จากกว่า 6 ชั่วโมงในปัจจุบัน

หลังจากนั้นในเฟสต่อไปจะใช้งบประมาณอีก 6,900 ล้านดอลลาร์ในการก่อสร้างรางคู่ขนาน ซึ่งจะทำให้ระบบรถไฟความเร็วสูงวิ่งสวนทางกันได้ และทำความความเร็วได้ถึง 350 ก.ม.ต่อชั่วโมง ร่นระยะเวลาในการเดินทางลงเหลือเพียง 75 นาทีเท่านั้น

จากการศึกษาความเป็นไปได้ที่ผ่านมา ระบบรางใหม่ซึ่งจะมีขนาดความกว้างเป็นเกจมาตรฐาน 1.435 เมตร จะก่อสร้างขนานไปกับทางรถไฟสายโฮจิมินห์-ฮานอย ในปัจจุบันซึ่งมีรางกว้าง 1 เมตร นอกจากนั้นจะมีการปรับปรุง-ขยายสถานีเมืองญาจาง ส่วนที่ต้นทางก็จะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่ขึ้นในเขตทูเทียม (Thu Thiem) ในเขตอำเภอที่ 2 ของนครโฮจิมินห์

ในปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทรถไฟเวียดนามกับบริษัทก่อสร้างทางรถไฟปักกิ่ง (Beijing Railway Construction Co) ได้ร่วมกันลงนามในความตกลงด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และการก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction) ซึ่งเป็นขั้นแรกในการปฏิบัติโครงการขยายและยกระดับทางรถไฟในเวียดนามในขอบเขตทั่วประเทศ

โครงการตามความตกลง EPC ระหว่างเวียดนามกับจีนที่มีมูลค่า 60.5 ล้านดอลลาร์นี้ จะดำเนินไปตลอด 29 เดือนข้างหน้าครอบคลุมเส้นทางรวมความยาวกว่า 1,100 กิโลเมตรตามแผนพัฒนาระบบรถไฟของเวียดนาม ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวทางการเวียดนาม วีเอ็นเอ


[img]http://pics.manager.co.th/Images/549000015121202.JPEG [/img]
ตู้นำขบวนสีสดใสของรถไฟสายท้องถิ่นในภาคกลาง อีกไม่นานก็จะ "ตกงาน" เนื่องจากระบบใหม่จะเป็นรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด
(คงไม่หรอก อาจขนไปขายกรมระแทเพลิงในกรุงกัมพูชาธิบดีก็ได้)


แผนการก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใยแก้วนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 67.5 ล้านดอลลาร์ ในนั้นจะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 60.97 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลจีน เพื่อใช้ในการก่อสร้างและติดตั้งระบบขนานตลอดแนวเส้นทางรถไฟรวมความยาว 1,150 ก.ม.จากสถานีเมืองวิง (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) ในภาคกลางตอนเหนือไปจนถึงเมืองญาจาง

ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟจากเมืองวิง-สถานีไซง่อน รวมความยาวทั้งสิ้น 1,577 ก.ม. วีเอ็นเอกล่าว

โครงการในเฟสที่ 1 นี้ อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟไปจนถึงปี 2563 โดยได้รับอนุมัติจากอดีตนายกรัฐมนตรี นายฟานวันข่าย การก่อสร้างข่ายเคเบิ้ลใยแก้วจะเริ่มในเดือน พ.ย.ศกนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทรถไฟเวียดนามสามารถติดตั้งระบบสัญญาณควบคุมการเดินรถใหม่ทั่วประเทศได้

ในต้นเดือน ก.ย. รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วยเหลือเวียดนามในการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณการเดินรถ

สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังพิจารณาโครงการจัดสร้างรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบรางกว้างเกจมาตรฐาน 1.435 เมตรทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องใช้เงินทุนจากแหล่งต่างๆ กว่า 30,000 ล้านดอลลาร์

การก่อสร้างระบบรางใหม่จะเริ่มได้ในปี 2553 โดยจะใช้เวลาทั้งหมด 5 ปี ขณะนี้บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังศึกษาการก่อสร้างทางรถไฟความยาวสูงใน 4 ช่วงแรก รวมความยาวเกือบ 900 ก.ม. เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาล

ช่วงที่ 1 ระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง ความยาว 280 ก.ม. ช่วงที่ 2 ญาจาง-นครโฮจิมินห์ 400 ก.ม. ซึ่งเป็นช่วงยาวที่สุด ช่วงที่ 3 นครโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) ในภาคใต้ ความยาว 100 ก.ม.และอีกสายหนึ่งระยะทาง 100 ก.ม.ระหว่างกรุงฮานอยกับนครหายฟ่อง (Hai Phong).
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2006 2:30 pm    Post subject: Reply with quote

'อาเบะ' จุดพลุลงทุนเวียดนาม-ตาวาวรถไฟ 18000 ล้านดอลลาร์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2549 21:42 น.

Click on the image for full size
นายอาเบะ ได้ไปวางหรีดที่อนุสรณ์สถานอดีตประธานโฮจิมินห์

กรุงเทพฯ- นักลงทุนญี่ปุ่นได้ฤกษ์ประกาศขยายการลงทุนในเวียดนามอีกระลอกปีหน้านี้ รวมเป็นมูลค่า 85,000 ล้านเยน หรือประมาณ 721.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์กับอุตสาหกรรมซีเมนต์ อีกทั้งแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟของเวียดนามด้วย

นายฟูจิโอะ มิตะระอิ (Fujio Mitarai) ประธานสหพันธ์ธุรกิจแห่งญี่ปุ่น (Japan Business Federation) หรือ ไคดันเร็น (Keidanren) เป็นผู้ประกาศเรื่องนี้ในวันอาทิตย์ (19 พ.ย.) ที่ผ่านมาในกรุงฮานอย ก่อนหน้าที่ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเริ่มเยือนประเทศนี้อย่างเป็นทางการ

นายมิตะระอิ นำคณะนักธุรกิจ-นักลงทุนญี่ปุ่นจำนวน 130 บริษัท ติดตามคณะของนายอาเบะไปร่วมการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ในเวียดนามที่สิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ และ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) เริ่มเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในวันจันทร์

นักธุรกิจญี่ปุ่นที่ร่วมคณะไปกับไคดันเร็น ได้แสดงความตั้งใจที่จะให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในเวียดนาม รวมทั้งโครงการสวนอุตสาหกรรมไฮเท็คฮว่าลั๊ก (Hoa Lac) ใน จ.ห่าไต (Ha Tay) ใกล้กับกรุงฮานอย และ โครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ความยาวเกือบ 1,650 กิโลเมตร

โครงการดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนราว 17,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 660,000 ล้านบาท

เวียดนามกำลังจะยกระดับทางรถไฟทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนขนาดความกว้างของรางจาก 1 เมตรให้เป็น 1.435 เมตรภายในปี 2558 เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ ซึ่งจะร่นระยะเวลาเดินทางระหว่างกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์ให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมง จากปัจจุบันที่ใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง

นายมิตะระอิ กล่าวว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาแผนการลงทุนในทั้งสองโครงการใหญ่นี้แล้ว และเห็นว่าไม่เพียงจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามเท่านั้น หากแต่ยังเป็นประโยชน์ต่อญี่ปุ่นเองด้วย
อย่างไรก็ตามนักลงทุนญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้รัฐบาลเวียดนามพิจารณาลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมืออิเลกทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ รวมทั้งปรับปรุงการคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาด้วย

ในวันเดียวกันนายมิตะระอิ ซึ่งเป็นประธานของบริษัท Canon Inc ผู้ผลิตพรินเตอร์รายใหญ่ของโลก ได้นำคณะไปเยี่ยมชมสวนอุตสาหกรรมฮว่าลักอีกด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม





ส่วนอีกทางหนึ่ง ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.) นี้ นายอาเบะได้ลั่นวาจาที่จะให้การสนับสนุนเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและต่อสู้กับความยากจน และจะขยายความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศต่อไป

"ผมจะขอให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและความพยายามหลุดผ่อนความยากจนของเวียดนาม.. ผมหวังที่จะให้สองประเทศนี้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างการต่อไป" สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่นักธุรกิจจากญี่ปุ่นคณะใหญ่ที่สุดออกเดินทางเยือนต่างแดนพร้อมกับนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง สำหรับนายอาเบะเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่งในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา

"เราจะจัดการเจรจราเกี่ยวกับการทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับเวียดนามให้เร็วที่สุด โดยร่วมกับภาคเอกชนสองประเทศอย่างใกล้ชิด" นายอาเบะกล่าว

นายอาเบะได้เคยพบหารือกับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ที่ไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในกลางเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา สองผู้นำได้เห็นพ้องที่จะเริ่มการเจรจาทำสัญญาการค้าเสรีสองฝ่าย ในปีหน้า และ หวังที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าขายขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2553



นายชินโซ อาเบะ (กลาง) พร้อมด้วยภริยาและคณะนักธุรกิจ นักลงทุนจากญี่ปุ่นไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัทแคนน่อน ที่สวนอุตสาหกรรมทางลอง (Thang Long) ในกรุงฮานอย เมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.)


นายอาเบะเดินทางถึงกรุงฮานอยเมื่อวันศุกร์ (17 พ.ย.) และ ได้พบหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีเวียดนามอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอาทิตย์ หลังการประชุมสุดยอดกลุ่มเอเปก สองผู้นำได้หารือทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ โดยได้เห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์ในระดับสูง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกปี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทูต ความมั่นคงปลอดภัยและความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ

สองผู้นำยังได้หารือผลการปฏิบัติข้อตกลงความริเริ่มร่วมเวียดนาม-ญี่ปุ่น (Joint Japan-Vietnam Initiatives) เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในเวียดนาม และ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือ (Joint Cooperation Committee) ที่มีรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม

การลงทุนจากญี่ปุ่น รวมทั้งแผนการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมฮว่าลัก กับโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟในเวียดนาม ได้เป็นประเด็นที่ผู้นำทั้งสองประเทศหยิบยกขึ้นมาหารือด้วย

นายเติ๋นยวุ๋งกล่าวว่า การเยือนของนายอาเบะนับเป็นหลักหมายสำคัญในความสัมพันธ์ระยะใหม่ระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นระยะที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (stage of strategic partnership) ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อทางการเวียดนาม

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามรายใหญ่ที่สุดในช่วงกลายปีมานี้ ภายใต้แผนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance) หรือ โอดีเอ

นายอาเบะได้ยืนยันต่อผู้นำเวียดนามเกี่ยวกับนโยบายที่คงเส้นคงวาในการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์สองฝ่ายเพื่อช่วยให้เวียดนามประสบความสำเร็จในเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นประเทศอุตสาหกรรม

นายอาเบะได้ไปวางหรีดที่อนุสรณ์สถานอดีตประธานโฮจิมินห์ และเข้าเยี่ยมคำนับประธานาธิบดีเวียดนาม นายเหวียนมิงเจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) กับนายนงดึ๊กแหม่ง (Nong Duc Manh) เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ในเช้าวันจันทร์ และ ไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัทแคนน่อน ที่สวนอุตสาหกรรมทางลอง (Thang Long) กรุงฮานอยในตอนบ่ายวันเดียวกัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2006 9:40 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นช่วยเวียดนามกินรวบไฮสปีดเทรน $33 พันล้าน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 ธันวาคม 2549 10:52 น.


Click on the image for full size
เวียดนามมองไปที่ระบบรถไฟหัวจรวดชินกันเซน ในญี่ปุ่นมากกว่าระบบของค่ายยุโรป และ รัฐบาลของนายชินโซ อาเบะ ยินดีจะให้ความช่วยเหลือผ่าน ODA



ผู้จัดการรายวัน- ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมีกำหนดจะเดินทางเข้าเวียดนามในต้นปี 2550 เพื่อร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการรถไฟของประเทศนี้ ลงสำรวจพื้นที่ในขั้นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพพื้นที่และแนวของเส้นทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ ที่มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 522 ล้านล้านด่ง (Dong) เงินเวียดนามหรือประมาณ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งใน 3 โครงการใหญ่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงจะให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามในรูปแบบความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance)

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในนายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) ได้หารือกับ นายกรัฐมนตรีเวียดนามนายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ระหว่างการไปร่วมประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ในกรุงฮานอยเมื่อเดือนที่แล้ว สองฝ่ายได้เคยหารือเรื่องนี้ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามไปเยือนญี่ปุ่นอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรวมทั้งธุรกิจภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจเอเปกได้แถลงเรื่องนี้ โดยแสดงความสนใจอย่างจริงจังในโครงการทางรถไฟความเร็วสูง กับโครงการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงฮว่าลัก (Hoa Lac) ของเวียดนาม

บริษัทรถไฟเวียดนาม (Vietnam Railway Corporation) ได้เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตี ให้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อกำกับดูแลโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงนี้ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงขนส่ง กระทรวงวางแผนและการลงทุน กระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน พ.ย. VRC ได้ส่งรายงานทั่วไปเกี่ยวกับข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของประเทศเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งในนั้นมีการจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการ สำหรับทางรถไฟสายหลักระหว่างนครโฮจิมินห์กับกรุงฮานอย ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของนายเหวียนหือว์บ่าง (Nguyen Huu Bang) ผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทรถไฟแห่งชาติ

นายบ่างกล่าวว่า ได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณา 3 แนวทางในการพัฒนาระบบรถไฟของประเทศ

แนวทางแรกคือ พัฒนายกระดับรถไฟสายเหนือใต้ (Thong Nhat) ที่ได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้อีกตั้งแต่ปี 2519 หรือ 1 ปี หลังสงครามสิ้นสุดและมีการรวมประเทศเข้าด้วยกัน ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ไม่สามารถสนองความต้องการด้านการคมนาคมขนส่งภายในประเทศได้

แนวทางนี้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด แต่ก็จะไม่สามารถทำได้ถึงมาตรฐานที่จะทำให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นสำนักข่าวภาษาเวียดนามของทางการ

แนวทางที่ 2 VRC เสนอให้มีการพัฒนาทางรถไฟสายเดิมนี้ และ ทำการก่อสร้างสายใหม่ให้เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงไปพร้อมๆ กัน แต่แนวทางนี้ก็จะพบกับอุปสรรคและปัญหาในหลายด้าน

Click on the image for full size

เมื่อเลือกใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่น หน้าตารถไฟความเร็วสูงของเวียดนามก็อาจจะออกมาเป็นแบบนี้


แนวทางที่ 3 ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ก่อสร้างระบบรถไปสายโฮจิมินห์-ฮานอย ใหม่ทั้งหมด โดยแยกอย่างเด็ดขาดออกจากทางรถไฟถ่งเญิต เมื่อทางรถไฟสายใหม่เปิดใช้การ ทางรถไฟเหนือ-ใต้ ในปัจจุบันก็จะใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าระหว่างเมืองและภูมิภาค มีนักลงทุนจากเกาหลี ญี่ปุ่นและไต้หวัน ให้ความสนใจในแนวทางที่ 3 นี้

ทางรถไฟสายใหม่จะมีความยาวทั้งสิ้น 1,630 กิโลเมตร สั้นกว่าทางรถไฟสายเดิม 100 กม. และ ประมาณว่าจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดราว 33,000 ดอลลาร์สหรัฐ นายบ่างกล่าว

ตามแผนการที่นำเสนอต่อรัฐบาลนั้น จะมีการก่อสร้างทางรถไฟ 2 ช่วงแรกระหว่างนครโฮจิมินห์กับเมืองญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค้งฮว่า (Khanh Hoa) ในภาคใต้ กับช่วงกรุงฮานอย-เมืองวิง (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) ในภาคเหนือ จากนั้นจึงมีการก่อสร้างช่วงกลางของระบบ ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวที่สุด

ระบบรถไฟความเร็วสูงของเวียดนามจะทำให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 300-350 กม. ต่อชั่วโมง

ในปัจจุบันการเดินทางโดยรถไฟถ่งเญิต จากนครโฮจิมินห์ไปยังกรุงฮานอย จะใช้เวลา 30-40 ชั่วโมง แต่รถไฟความเร็วสูงจะช่วยร่นเวลาเดินทางให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่นั้น

ตามรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม ในช่วงปี 2548-2553 บริษัทรถไฟฯ กำลังดำเนินแผนงานพัฒนาด้วยตัวเอง เพื่อยกระดับการให้บริการซึ่งรวมทั้งการจัดสร้างตู้โดยสารใหม่ จัดตั้งโรงซ่อมหัวรถจักรเพิ่มเติม ขยายตลาด และขยายการให้บริการ รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนของรถไฟที่ได้มาตรฐานโลก

บริษัทรถไฟเวียดนามยังมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2553 จะสามารถส่งออกชิ้นส่วนต่างๆ ของรถไฟ ตลอดจนตู้รถไฟไปจำหน่ายให้แก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้

หนึ่งในโครงการเร่งด่วนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ได้แก่ การพัฒนายกระดับทางรถไฟสายฮานอย-หล่าวกาย (Hanoi- Lao Cai) ให้ได้มาตรฐาน เพื่อเชื่อมกับระบบรถไฟของจีนในอนาคต การพัฒนายกระดับนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านทุนและอุปกรณ์จากรัฐบาลจีน

บริษัทรถไฟฯ ยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบสัญญาณรถไฟระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง นครโฮจิมินห์-ญาจาง ฮานอย-หายฟ่อง (Hanoi- Haiphong) และ ฮานอย-หล่าวกาย ให้เป็นระบบสัญญาณสองทิศทาง

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือการพัฒนาระบบสัญญาณรถไฟของเวียดนาม ขณะที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ ได้สัญญาจะช่วยเหลือในด้านวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อนำเข้าใช้ในระบบสัญญาณใหม่ ตลอดระยะทาง 2,400 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่เวียดนามกล่าวก่อนหน้านี้ว่า เวียดนามสนใจเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนามาช้านาน จนได้รับการยอมรับในเรื่องความปลอดภัย และความรวดเร็วในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นระบบที่มีมูลค่าการก่อสร้างต่ำกว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของค่ายยุโรป

ความสนใจจากฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาหลังจากการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายเติ่นยวุ๋ง และ ผู้นำญี่ปุ่นได้ประกาศความสนใจในการลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม ในช่วงที่นายอาเบไปเยือน.


// ----------------------------------------------------------------------------

งานนี้สหายแกวคงได้รถไฟด่วนสำหรับ รถไฟด่วนรวมชาติ (ฮานอย - ไซ่ง่อน) เพื่อเอาใจบรรดา ประชาชนชาวญวน ตั้ง 80 ล้าน คน และ ด่วนมิตรภาพ (ปักกิ่ง - ฮานอย) ก็คราวนี้เอง แต่ กว่าจะขยายเขตทางรถไฟเพื่อรองรับกะ รถไฟความเร็วสูงพรรค์นี้ ก็สนุกหละครับ ....
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 65, 66, 67  Next
Page 1 of 67

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©