View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 28/07/2006 3:34 am Post subject: |
|
|
tuie wrote: | เท่าที่ผมทราบ ตั๋วคอมพิวเตอร์นี่ เจ้าหน้าที่ผู้ออกตั๋วสามารถเลือกสั่งพิมพ์ออกมาเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้ครับ โดยใช้ตั๋วคอมฯแบบฟอร์มเดียวกัน บางทีอาจมีชาวต่างชาติมาซื้อตั๋วก่อนคุณแล้วเจ้าหน้าที่ไม่ได้เปลี่ยนคำสั่งใหม่ในการพิมพ์ตั๋วเป็นภาษาไทย ก็เลยออกมาเป็นภาษาอังกฤษอย่างที่คุณนำมาให้ชมน่ะครับ |
รับทราบครับพี่ตุ้ย _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 31/07/2006 4:21 pm Post subject: |
|
|
ExtendeD wrote: | ผมว่านี่มันสัญลักษณ์ที่ผมเคยเห็นอยู่บนหน้าต่างรถไฟนี่นา มีใครพอจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้บ้างมั้ยครับว่าทำไมถึงมีสัญลักษณ์นี้ติดอยู่ที่หน้าต่างของวิหารแห่งนี้ เป็นเพราะการรถไฟถวายที่ดินผืนนี้ให้สร้างเป็นวัดนี้หรือเปล่าครับ |
เป็นความศรัทธาของชาวรถไฟฯ ครับ เพราะวัดท่าถนนตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และโรงงานช่างกลอุตรดิตถ์ มาตั้งแต่แรกแล้ว
หลวงพ่อเพ็ชร์ ตั้งตามนามเจ้าอาวาสผู้ค้นพบครั้งแรกบริเวณวัดร้าง เมืองทุ่งยั้งครับ ในภายหลังถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ซึ่งเจ้าอาวาสท่านเสียใจ เลยหลบจากวัดไปมรณภาพในป่า เมื่อความทราบถึง ร.5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญคืนวัดท่าถนนตามเดิม
วิหารหลวงพ่อเพ็ชร์ สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ครับ
ExtendeD wrote: | เห็นเสาไฟฟ้าริมถนนที่นี่แล้ว นึกถึงที่หนองคาย ที่นั่นจะมีพญานาคพันอยู่รอบ ๆ เสาไฟฟ้า เป็นเอกลักษณ์เลยครับ |
ผมคิดว่า เสาไฟฟ้าเมืองอุตรดิตถ์ เป็นรูปแบบเดียวกันกับเสาไฟฟ้าที่ตั้งบนถนนอักษะ ไปพุทธมณฑล ไม่เหมือนหนองคาย ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนกว่า เพราะมีต้นเหตุจากบั้งไฟพญานาคครับ |
|
Back to top |
|
|
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 31/07/2006 5:16 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | ExtendeD wrote: | ผมว่านี่มันสัญลักษณ์ที่ผมเคยเห็นอยู่บนหน้าต่างรถไฟนี่นา มีใครพอจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้บ้างมั้ยครับว่าทำไมถึงมีสัญลักษณ์นี้ติดอยู่ที่หน้าต่างของวิหารแห่งนี้ เป็นเพราะการรถไฟถวายที่ดินผืนนี้ให้สร้างเป็นวัดนี้หรือเปล่าครับ |
เป็นความศรัทธาของชาวรถไฟฯ ครับ เพราะวัดท่าถนนตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และโรงงานช่างกลอุตรดิตถ์ มาตั้งแต่แรกแล้ว
หลวงพ่อเพ็ชร์ ตั้งตามนามเจ้าอาวาสผู้ค้นพบครั้งแรกบริเวณวัดร้าง เมืองทุ่งยั้งครับ ในภายหลังถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ซึ่งเจ้าอาวาสท่านเสียใจ เลยหลบจากวัดไปมรณภาพในป่า เมื่อความทราบถึง ร.5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญคืนวัดท่าถนนตามเดิม
วิหารหลวงพ่อเพ็ชร์ สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ครับ |
ขอบคุณพี่ตึ๋งที่มาไขข้อข้องใจครับ เอาไว้ถ้ามีเวลาอีกจะแวะไปเที่ยวต่อครับ ยังมีอีกตั้งหลายที่ที่คิดว่าจะไปแล้วไม่ได้ไป ที่อุตรดิตถ์รถไฟขายดีจริง ๆ ครับ ผู้โดยสารเยอะมาก ๆ _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
|
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 31/07/2006 7:09 pm Post subject: |
|
|
แหะๆ ฝากพี่ตึ๋งมาเฉลย นะพี่
เรื่องแรก
เรื่อง อนุสาวรีย์พระยาพิชัย คงขอพี่ตึ๋ง มาต่อยอดเรื่องรูปปั้นพระยาพิชัยด้วยหนะครับ
คือ ในมือที่จับดาบด้ามที่หัก มีใครสังเกตุ ที่รูปปั้นตั้งที่จังหวัด กับที่ รูปปั้นศาลพระยาพิชัย ที่ อ.พิชัย
ทำไมรูปปั้นถึงถือดาบคนละข้าง
แต่เรื่องนี้ น่าแปลกที่ว่า คนอุตรดิตถ์ ไม่ค่อยจะมีข้อโต้แย้ง แบบรุนแรงทางความคิดในเรื่องนี้
แต่ความเคารพและศรัทธาไม่มีน้อยลง
เรื่องที่สองที่สงสัย
ทำไมปริมาณผู้โดยสาร ที่อุตรดิตถ์ ใช้รถไฟดูเหมือนจะมากกว่า เมื่อเทียบกับรถทัวร์
หรือข้อจำกัด ในเที่ยววิ่งของรถทัวร์ ไม่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้โดยสารที่นี่
คนเลยใช้รถไฟเป็นหลัก อะ........... |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 31/07/2006 7:37 pm Post subject: |
|
|
แวะมาตอบก่อนกลับที่พักครับ...
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยท่านถนัดซ้ายครับ ดาบคู่ตามปกติผู้ใช้จะใช้มือด้านที่ถนัดเป็นดาบฟัน ดาบคู่ขวาเป็นดาบรับ ดังนั้น เวลาเข้าต่อสู้กับข้าศึก ต้องใช้ดาบรับปะทะแรงไว้ก่อน แต่...ดาบข้างนั้น เข้ากรำศึกตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เนื้อเหล็กคงล้า และเปราะใน เมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม ดาบข้างที่รับจึงหัก และกรมศิลปากรได้เอาสมมุติฐานข้อนี้มาสร้างรูปหล่อที่ดาบในมือหักด้านขวา
สำหรับชาวบ้านคิดในแบบคนถนัดขวา ดังนั้นดาบจึงหักด้านตรงข้ามกับกับที่ในตัวจังหวัด แต่สมมุติฐานข้อนี้ ไม่มีใครกล้าฟันธงจริงๆ ก็ยกประโยชน์ให้ในฐานะวีรบุรุษชาวไทยเหมือนกัน ( ผมเหมาเอาเองหรือเปล่าเนี่ย ? ทักท้วงมาได้นะ)
และก็ทำไม ? รูปหล่อพระพิชัยในศาล ท่านั่ง เวลาถือดาบต้องหงายมือล่ะ ใครตอบได้บ้าง ?
สำหรับเรื่องรถทัวร์ กับรถไฟในความนิยมของคนอุตรดิตถ์ เข้าใจว่าสมัยก่อน มีเส้นทางรถยนต์เข้าออกสายเดียว จาก อ.ศรีสัชนาลัย รถทัวร์วิ่งอ้อมไปออก จ.กำแพงเพชร ถึงจะเข้ากรุงเทพฯ ในขณะที่รถไฟ วิ่งตรงเข้ากรุงเทพฯ เลย นั่งสบายกว่า แถมจอดตามสถานีในอำเภอรายทางอีก
คงเป็นเหตุผลทางใจที่คนอุตรดิตถ์ชอบนั่งรถไฟมากกว่า บขส. ถึงแม้จะมีเส้นทางสายตรงผ่าน จ.พิษณุโลก - นครสวรรค์ ที่รวดเร็วกว่ารถไฟก็ตาม
กล้อมแกล้มแบบนี้ หรือป๋าว่าไงครับ ? |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 07/06/2024 8:16 pm Post subject: |
|
|
ประชุมโครงการพัฒนา สถานีรถไฟประวัติศาสตร์ PUBLIC COMMUNITY SPACE . อาคารรถไฟแห่งแรก อุตรดิตถ์
เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุมของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผวจ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานประชุมโครงการพัฒนาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ให้เป็น PubIic CoMMunity Space แห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วย นายศศิน ดิศวนนท์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์และนางกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.อุตรดิตถ์/นายวิรัตน์ สมีแจ่ม หัวหน้ากองจัดการเดินรถ เขต 3 /นายสุรชัย วาณิชย์ปกรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ ในครั้งนี้
นางกัญญาวีร์ ศิริกาญจนารักษ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ให้เป็น PubIic CoMMunity Space แห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรม อันทรงคุณค่า เปรียบเสมือน ห้องรับแขก ของเมือง หลักที่เป็นพื้นฐานที่ดีแล้ววางแผน..บริการท่องเที่ยวแบบแหล่งเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่น ย่านเมืองเก่า นามอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นเมืองเก่า มีความเป็นมาของการรถไฟแห่งประเทศไทย เรามีสถานีรถไฟแบบสถาปัตย์ ตั้งแต่สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้มีการปรับปรุงรุ่นสู่รุ่น ในการใช้งานเพื่อที่จะทำให้เกิดประโยชน์ กลางเมืองอุตรดิตถ์ ที่จะเป็นแลนด์มาร์คและมีความดั้งเดิมของประวัติศาสตร์ ด้วยบารมีล้นเกล้าของรัฐกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ท่านเล็งเห็นว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น 4 แยกโบราณ เพราะฉะนั้นการเดินทางโดยการรถไฟเป็นหัวใจสำคัญของอุตรดิตถ์ การปรับปรุงสถานีรถไฟเก่า ซึ่งเป็นความตั้งใจของภาคเอกชน ผ่านหน่วยงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานจังหวัดฯคอยเป็นพี่เลี้ยงและหน่วยงานอื่นๆ มาร่วมกัน ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือ ทาง อบจ.อุตรดิตถ์ เดิมสถานีรถไฟเก่าเรามีลักษณะที่ความสวยงาม เหมือนกับสถานีหัวลำโพงและพระราชวังจันทน์ บ้านปึง เราคือหนึ่งแลนด์มาร์คที่สำคัญ ที่เป็นหัวใจของรถไฟในระบบรางและต่อจากนนี้ก็จะเป็นหัวใจยิ่งกว่าหัวใจ
http://www.news24-thailand.com/2024/06/public-community-space.html |
|
Back to top |
|
|
|