View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 09/12/2007 10:30 pm Post subject: |
|
|
ผมดูสารคดีUBC เรื่อง ก่อสร้างทางรถไฟจีนไปยังทิเบต จีนยังอุตสาหะเอาชนะอุปสรรคอากาศหนาวเย็น เจาะภูเขา สร้างสะพาน อื่นๆๆอีกมากมาย มองของไทยแล้วยังไม่สามัคคีช่วยกันทำเลย ต่างอ้างเรื่องเงินลงทุนเดิมๆ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 10/12/2007 12:39 pm Post subject: |
|
|
งานนี้ต้องยืมเงินเท่าไหร่หว่า จึงจะ ทำได่สำเร็จสมใจ แถมยังต้องหางบมาซื้อรถจักรใหม่ด้วย เพราะ ปัญหารถจักรและ รถดีเซลรางขาดแคลนยังมีให้เห็นเต็มตา |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 12/12/2007 12:00 pm Post subject: |
|
|
ขนส่งระบบรางช่วยลดโลกร้อน
เดลินิวส์ - 12 - 13 ธันวาคม 2550
โดย ไฟเหลือง failuang@dailynews.co.th
คุณสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ ส่งบทความ การขนส่งระบบรางช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนมาให้พิจารณาครับ
มีรายงานจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 22 ใน 30 ประเทศของโลกที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด และอยู่อันดับ 7 เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในเอเชีย โดยปล่อยในอัตราร้อยละ 12.8 ต่อปี คิดเป็นรายหัวของประชากรที่ 4.2 ตันต่อคนต่อปี ซึ่งมากกว่าต่อรายหัวของประชากรจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย
สำหรับประเทศไทย นอกเหนือจากโรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าแล้ว รถยนต์ จักรยานยนต์ และยานยนต์ต่าง ๆ ก็เป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก การใช้พลังงานทางเลือก การลดใช้ยานยนต์บนถนนและเครื่องบินเปลี่ยนมาใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้า และรถไฟฟ้าในการขนส่งมวลชนจะเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพลดการเผาน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรปฏิบัติในการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน
การขนส่งระบบราง หมายถึง ระบบการขนส่งทั้งคนและสินค้าทางราง อาจเป็นรางเหล็กล้อเหล็กใช้หัวรถจักรลากทั้งขบวน หรือแต่ละตู้มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเอง เช่นดีเซลรางของการรถไฟฯ หรือรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ เช่นบีทีเอสที่วิ่งยกระดับและรถไฟใต้ดิน ปีหน้าจะมีรถไฟฟ้าชานเมืองของการรถไฟฯวิ่งยกระดับจากพญาไทไปสนามบินสุวรรณภูมิ
อาจหมายรวมไปถึงระบบอื่นที่วิ่งไปตามทางวิ่งที่ถาวร ไม่ว่าจะมีรางหรือไม่ก็ตาม รวมไปถึงรถไฟฟ้าล้อยางของกรุงปารีส รถล้อยางระบบเล็กที่วิ่งตามอาคารในสนามบิน รถไฟที่ยกและเคลื่อนตัววิ่งด้วยกำลังแม่เหล็กไฟฟ้า แม็กเลพ ซึ่งวิ่งระหว่างเมืองเซี่ยงไฮ้กับสนามบินผู่ดอง ซึ่งเรียกรวมกันทั้งหมดว่ารถไฟฟ้า
การขนส่งระบบราง เป็นทางเลือกของการขนส่งสินค้าและการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนรวมของชาติในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดปริมาณมลพิษ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน กำหนดเวลาได้ เพิ่มคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ ปลอดภัยสูงเมื่อเปรียบกับการขนส่งและการเดินทางโดยรถยนต์และเครื่องบิน เป็นโครงสร้างที่ถาวรอาจอยู่ได้เป็นปีเป็นทรัพย์สินของชาติ
เพิ่มความเจริญและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์รอบปริมณฑล ช่วยแก้ปัญหาจราจร สร้างงานสร้างทรัพยากรบุคคล ลงทุนสูง ต้องการเวลาในการก่อสร้าง และต้องมีการขนส่งระบบย่อยมารองรับเพื่อให้ครบวงจร
ยังมีต่อพรุ่งนี้อีกครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 13/12/2007 11:12 am Post subject: |
|
|
ไทยสุดล้าหลังขนส่งระบบราง
Dailynews - 12 December 2007
โดย ไฟเหลือง failung@dailynews.co.th
มาต่อบทความ การขนส่งระบบรางช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน โดยคุณสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ
เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านมาเล เซีย มีคณะกรรมการพิจารณาปรับโครงสร้างพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการการขนส่งทุกประเภท เน้นระบบราง ขยายทุกเส้นทาง ทั้งสายอำปาง ปัจจุบันขนคน 1.5 แสนคนต่อวัน ยาว 28 กิโลเมตร และสายเกลานาชะยา 30 กิโลเมตรขนคน 1.7 แสนคนต่อวัน มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนอาณัติสัญญาณเพื่อให้วิ่งเร็วและถี่ขึ้น มีโครงการสร้างระบบรางอีก 2 สาย 42 กิโลเมตรให้แล้วเสร็จในปี 2013 โดยมีเป้าหมายจะยกประเทศให้อยู่ในระดับของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2020
เวียดนาม มีแผนระยะสั้นปี 2007-2010 จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าระบบราง ให้ถึงร้อยละ 8 และขนส่งมวลชนถึงร้อยละ 12 ของประเทศ มีโครงการสร้างรางเพิ่มจำนวนมาก ระหว่างท่าเรือ และชุมชนมากกว่า 2,000 กิโลเมตร งบประมาณเบื้องต้น 912 ล้านเหรียญสหรัฐ
สิงคโปร์ ขยายเส้นทางของระบบราง 2 สายในเขตชุมชนเมืองต่อเนื่องตลอดมา นอกเหนือไปจากงานก่อสร้างสายวงกลมรอบเมืองชั้นใน 34 กิโลเมตร ซึ่งควรจะเสร็จแล้ว แต่เสียเวลาเนื่องจากอุบัติเหตุของการก่อสร้างที่ทำให้ถนนนิโคลยุบเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ทำให้ต้องล่าช้าและเพิ่มค่าก่อสร้างอีกร้อยละ 10
ลาวและเขมรได้เริ่มงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมกับไทยและประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง จีน อินเดีย ต่างก็ขยายเส้นทางและปรับปรุงการขนส่งระบบรางอย่างเร่งรีบ เพราะตระหนักถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง หลายประเทศ เช่น เกาหลี และล่าสุดไต้หวันได้เจริญรุดหน้าไปมากขนาดมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งแข่งกับเครื่องบินแล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทรถไฟความเร็วสูงไต้หวัน ได้เปิดวิ่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงระหว่างกรุงไทเปและเมืองเชายิงซึ่งอยู่ทางใต้ ระยะทาง 345 กิโลเมตร ใช้เวลาวิ่ง 90 นาที ด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ไต้หวันอยู่ในระดับของกลุ่มประเทศพัฒนารถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีหลายประเทศในยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น และเกาหลี
ประเทศไทยเราคงจะยังอยู่ในระดับของประเทศที่กำลังพัฒนาเคียงคู่กับพม่าต่อไปอีกนาน หากอุตสาหกรรมการขนส่งระบบรางยังไม่เปลี่ยนปรับตัวให้ทันเวลา
ยังมีต่อพรุ่งนี้อีกครับ. |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 13/12/2007 11:43 am Post subject: |
|
|
ก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงยังเปรียบเทียบไทยกับพม่า เพราะยังไงต่อให้พม่ามีทางคู่ แต่คุณภาพของเส้นทางมันก็ไม่ได้ดีขึ้น ถ้าจะเปรียบเทียบตอนนี้ เปรียบกับมาเลเซียดีกว่า (แม้ว่าเราจะตามหลังเขาไปหลายขุมแล้วก็ตาม)
ประการหนึ่ง ผมคิดว่า สิงคโปร์ไม่ควรจะมาอยู่ในกลุ่มที่เปรียบเทียบกัน เพราะระบบรางในสิงคโปร์มันไม่ใช่รถไฟปกติ แต่มันเป็นการขนส่งมวลชนในเขตเมือง ยังไงซะ รถไฟระบบปกติ ในสิงคโปร์มันก็เป็นของ KTMB ซึ่งเป็นของมาเลเซียอยู่ดี |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 16/12/2007 9:12 am Post subject: |
|
|
ภาระของรัฐที่ต้องลงทุนสร้างระบบราง
โดย ไฟเหลือง failuang@dailynews.co.th
เดลินิวส์ 13 ธันวาคม 2550
มาต่อบทความ การขนส่งระบบรางช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน โดยคุณสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ
การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือรฟท. ซึ่งเป็นองค์กรหลักของการขนส่งระบบรางทั้งประเทศมีรางมากกว่า 4,400 กิโลเมตร มีปัญหาทั้งภายในและภายนอก มีหนี้สินจำนวนมาก 5 ปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุ 537 ครั้ง ทั้งตกรางและชนกับยานยนต์อื่น เสียหายทั้งชีวิต เวลา และทรัพย์สิน ทำให้สาธารณะขาดความมั่นใจ คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการขนส่งมวลชนระบบรางอื่น เช่น บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งตามธรรมชาติของการขนส่งมวลชนระบบรางทั่วโลกจะเริ่มจากการใช้พื้นที่ของรถไฟ ใช้ความรู้และทักษะของคนรถไฟทั้งนั้น
สภาวะของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าของทั้ง 2 บริษัทที่วิ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ยังมีผู้ใช้บริการต่ำมากเพียง 6 แสนคนต่อวัน เมื่อเทียบกับประชากรของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้เพราะเส้นทางรวม 40 กิโลเมตรยังวนเวียนอยู่ในย่านธุรกิจ มิได้ขยายออกไปถึงย่านที่อยู่อาศัยตามชานเมืองรอบนอก ทั้งยังขาดระบบส่งต่อผู้โดยสาร
รถไฟฟ้าในมุมกว้าง ประเภทแรก คือ รถไฟฟ้าในเมือง แยกเป็นรถไฟฟ้ารางหนักและรางเบา วิ่งใกล้ ๆ ในชุมชนที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจ รถไฟฟ้ารางหนักจะแยกจากการจราจรบนถนน อาจอยู่ใต้ดินยกระดับ หรือบนดิน ส่วนรางเบาวิ่งบนถนนปนกับยานยนต์คล้ายรถรางซึ่งเคยมีวิ่งในกรุงเทพฯ และลพบุรีเมื่อ 60 ปีก่อน
ประเภทที่ 2 วิ่งรับคนจากนอกเมืองเข้ามาในเมือง เรียกว่า รถไฟฟ้าชานเมือง เช่น สายใหม่ของรฟท. ที่จะแล้วเสร็จในอีก 1 ปี วิ่งจากพญาไทไปลาดกระบัง สนามบินสุวรรณภูมิ หรืออาจเป็นรถไฟที่ลากโดยหัวจักร หรือขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ดีเซล ประเภทที่ 3 เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งทางไกล สำหรับประเทศไทยยังไม่มีที่ใช้ไฟฟ้ายังถูกลากโดยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลอยู่
การก่อสร้างการขนส่งสินค้าระบบราง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต้องใช้ทุนมาก และเวลาก่อสร้างนาน ต้องวางแผนให้รอบคอบ เพราะสร้างแล้วรื้อยาก เป็นการลงทุนระยะยาวที่ถือเป็นทรัพยากรของชาติ ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เป็นมวลรวมต่อประเทศมากกว่าที่จะคุ้มค่าการลงทุนเป็นตัวเงิน จึงจำเป็นที่จะต้องเป็นภาระของภาครัฐมากกว่าเอกชน
โดยเฉพาะในสภาวะน้ำมันแพงและโลกร้อน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลวลงทุกวัน การขนส่งมวลชนระบบรางช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงควรที่รัฐจะต้องพิจารณาจัดให้เกิดเร็ว ให้ได้คุณภาพดีที่สุด
เพื่อก้าวตามประเทศเพื่อนบ้านและชาวโลก |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 16/12/2007 12:53 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | ภาระของรัฐที่ต้องลงทุนสร้างระบบราง
โดย ไฟเหลือง failuang@dailynews.co.th
เดลินิวส์ 13 ธันวาคม 2550
มาต่อบทความ การขนส่งระบบรางช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน โดยคุณสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ
"การก่อสร้างการขนส่งสินค้าระบบราง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต้องใช้ทุนมาก และเวลาก่อสร้างนาน ต้องวางแผนให้รอบคอบ เพราะสร้างแล้วรื้อยาก เป็นการลงทุนระยะยาวที่ถือเป็นทรัพยากรของชาติ ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เป็นมวลรวมต่อประเทศมากกว่าที่จะคุ้มค่าการลงทุนเป็นตัวเงิน จึงจำเป็นที่จะต้องเป็นภาระของภาครัฐมากกว่าเอกชน
โดยเฉพาะในสภาวะน้ำมันแพงและโลกร้อน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลวลงทุกวัน การขนส่งมวลชนระบบรางช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงควรที่รัฐจะต้องพิจารณาจัดให้เกิดเร็ว ให้ได้คุณภาพดีที่สุด" |
คำถามนี้ ต้องเอาไว้ถาม ท่านปลัดกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวงพลังงาน
และคนที่จะมาเป็นนายก คนต่อไป
ให้แสดงวิสัยทัศน์ว่า พลังงานน้ำมันที่เผาทิ้งในเมืองกรุงเทพ นั้น กับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ในภาพรวม กับประโยคคำถามสั้นๆ ง่ายๆ ว่า
"เมื่อไหร่จะลงมือทำ ?"..... |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2007 12:00 pm Post subject: มาดูนโยบายหาเสียงกันดีกว่า |
|
|
พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียงเรื่องรถไฟดังนี้:
เติ้งเสี่ยวหาร wrote: | นโยบายพรรคชาติไทย
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่
- เริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายในกรุงเทพและปริมณฑลาภยใน 3 เดือน
- สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกรุงเทพ ลพบุรี อยุธยา หัวหิน
- สร้างรถไฟฟึความเร็วสูงจากกรุงเทพไปเชียงใหม่และหาดใหญ่ |
ถ้าเร่งทางคู่ติดระบบรถไฟฟ้า จากกรุงเทพ ไปเชียงใหม่ และ กรุงเทพ ไปหาดใหญ่ แบบเดี่ยวกะที่ เป๊าะเลาะห์ กะ พลพรรค UMNO ทำจาก อิโปห์ ไป บัตเตอร์เวิร์ธ และ ปาดังเบซาร์ ก็เรี่ยมไปเลย แม้ไม่ติดรถไฟฟ้าถึงขนาดนั้น ก็พอถูไถ ถ้าซื้อรถดีเซลรางแดวูมาประจำการให้มากกว่านี้ แถมรถจักรยีอีเออีกสัก 100 หัว หละเหมาะ แน่
ว่าแต่ว่าจะไม่เร่งโครงการท่าเรือปากบาราพร้อมกะ ทางรถไฟคาร์โก้เลี่ยงเมื่องจากสุพรรณบุรีไป บ้านภาชีด้วยหรอกหรือ
เชษฐา wrote: | นโยบายพรรคเพื่อแผ่นดิน
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่
- สร้างรถไฟฟ้ารางคู่และรถไฟฟ้าด่วนทั่วประเทศ
- ขยายและเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพให้เพียงพอ
- พัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางน้ำ |
ก็ว่ากันไปนะท่านนายพล เอาทางคู่ไปโคราชบ้านท่านนายพล ก็ถือว่ายอดแล้ว
ประชัย wrote: | นโยบายพรรคมัชฉิมาธิปไตย
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่
- ออกพันธบัตร 6 แสนล้าน อายุ 40 ปี ขายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อนำเงินมาสร้างโครงการรถไฟฟ้าและโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่
- สร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ภายใน 4 ปี เก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายเป็นเวลา 10 ปี
- ขุดลอกแม่น้ำลำคลอง ขยายเขื่อนกั้นน้ำ ให้เรือบรรทุกขนาดบรรทุก 2,000 ตัน ขนถ่ายสินค้าระหว่างเกาะสีขัง สระบุรี และนครสวรรค์
- ศึกษาขั้นสุดท้ายโครงการขุดคลองคอดกระ |
เอาตัวเองให้รอดก่อนดีกว่านะเถ้าแก่
สมัครและพรรคพวก wrote: | นโยบายพรรคพลังประชาชน
ด้านสังคม สาธารณสุข และการศึกษา
- ตั้งงบประมาณ 105 ล้านล้านบาท สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทาน ที่อยู่อาศัย และระบบขนส่งมวลชน
- สร้างรถไฟฟ้า 10 สายครอบคลุมกรุงเทพและปริมณฑล ความยาว 361 กม เสร็จสมบูรณ์ภายใน 6 ปี ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย
- ขยายรางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1.435 เมตรเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
- สร้างถนนรอบกรุงเทพเพิ่มอีก 5 สาย เป็นเครือข่ายใยแมงมุม
- ลดค่าโดยสารรถประจำทาง และลดค่าทางด่วน |
ก็ว่ากันไป เพราะ ถ้า มาเลย์ ท่านไม่เล่นด้วย ก็ เกมโอเวอร์หละครับ
อีกอย่าง อย่างเล่นไม่ซื่อแบบกรณี ปลาต้องการน้ำแค่ครึ่งถังก็จะรอดตาย แต่ ดันไปบอกว่าให้รอเขาเจรจากกะ เจ้าเมืองชักน้ำจากแม่น้ำให้ปลา ซึ่งกว่าจะได้ ปลาที่ดิ้นอยู่คงกลายเปนปลาแห้งเสียก่อน ซึ่งไม่ดีเลย
REF: http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000149542 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43719
Location: NECTEC
|
Posted: 27/12/2007 11:04 am Post subject: |
|
|
ตอนนี้ พ่อเมืองตรัง อบจ. ตรัง และ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กำลังเร่งซ่อมและขยายท่าเรือกันตังเปนการใหญ่ เพราะ ตอนนี้ สินค้าออกท่าเรือกันตัง ขยับจาก 10000 ล้านบาท เป็น 11000 ล้านบาท ... งานนี้ ก็เลขขอให้ รฟท . และรัฐบาลกลาง ลงทุนสร้าง ICD กันตัง, ฟื้นฟูทางช่วงทุ่งสง - กันตัง (เอาราง 80 ปอนด์มาเปลี่ยนพร้อมอัดหินถมหินล้างหินใหม่และอัดคาร์บอนไฟเบอร์ให้สะพานเหล็กให้รับโหลด 20 ตัน) และ ทางจากสถานีกันตังไปท่าเรือกันตัง พร้อมฟื้นฟูรถสืนค้าและ รถรวมที่ไปหมดระยะท่าเรือกันตัง (เช่น สุราษฎร์ธานี - กันตัง, หาดใหญ่ - กันตัง, นครศรีธรรมราช - กันตัง) ให้ด้วย ตามข่าวต่อไปนี้
หมายเหตุ: ตอนนี้อย่างดีที่สุดคือ ให้รถขนยางพารา จากตรังไปปาดังเบซาร์ (มาทุก 2 อาทิตย์) ไปหมดระยะที่กันตัง ... กะ เอา ราง 80 ปอนด์ที่ลิจะ สายที่ผ่านการ Rehab ไปเปลี่ยนกับราง 75 ปอนด์ (ช่วงทุ่งสง - ตรัง) และ ราง 70 ปอนด์มาเปลี่ยนกับราง 50 ปอนด์ (ช่วงตรัง - กันตัง)
// ----------------------------------------------------------------------------
ศุลกากรกันตังโตก้าวกระโดด โชว์ตัวเลขเก็บรายได้หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 27 - 29 ธันวาคม 2550
ด่านศุลกากรกันตังโตก้าวกระโดด โชว์ผลงานตัวเลขสถิติการนำ-เข้าส่งออกและการจัดเก็บรายได้ สิ้นปีงบประมาณ 50 ส่งออกทะลุ 11,514 ล้านบาท ชี้หากมีการพัฒนาระบบรางเพิ่ม จะช่วยหนุนการส่งออกเพิ่มขึ้นอีกเพียบ
นายสหชัย งามไพโรจน์พิบูลย์ นายด่านศุลกากรกันตัง จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรกันตังเติบโตแบบก้าวกระโดด ปี 2547 ส่งออก 4,546 ล้านบาท นำเข้า 579 ล้านบาท จัดเก็บรายได้ 22 ล้านบาท ปี 2548 ส่งออก 7,702 ล้านบาท นำเข้า 1,158 ล้านบาท จัดเก็บรายได้ 29 ล้านบาท ปี 2549 ส่งออก 10,542 ล้านบาท นำเข้า 468 ล้านบาท จัดเก็บรายได้ 38 ล้านบาท และสิ้นปีงบประมาณ 2550 ส่งออก 11,514 ล้านบาท นำเข้า 731 ล้านบาท จัดเก็บรายได้ 44 ล้านบาท ทั้งนี้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคใต้ และมูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรกันตังในปี 2550 หากเงินบาทไทยไม่แข็งตัว มูลค่าส่งออกจะมากกว่านี้ แต่อย่างไรปี2550 มูลค่าส่งออก ยังสูงถึง 11,514 ล้าน โตกว่าปี 2549 ถึง 1,000 ล้านบาท
ด่านศุลกากรกันตัง มีสินค้าส่งออกและนำเข้าผ่านทางท่าเรือ สินค้าส่งออกหลักๆ ประกอบด้วย
1.ผลิตภัณฑ์ยางพารา
2.ปูนซิเมนต์
3.ไม้ยาง
4.แร่ยิบซั่ม
5.แร่โซเดียมเฟลด์สปาร์
6.หินปูน
7.แท่งรองยางทำด้วยเหล็ก
8.ลังเหล็กเปล่า
9.กระสอบพลาสติกสาน พี.พี.เคลือบ
สินค้านำเข้า ประกอบด้วย
1.ถ่านหิน
2.เครื่องกระจายความร้อน
3.เครื่องถ่ายเอกสารเก่า
4.เครื่องมือและอุปกรณ์
5.ปากระวาง
6.เครื่องควบคุมไฟฟ้า
7.กระเบื้องปูพื้นเก่า
8.เครื่องประดับใช้ในบ้านเรือน(เก่าใช้แล้ว)
9.ใบเลื่อย
สินค้ามีแบบบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์ และ สินค้าแบบเทกอง
สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการส่งออกและนำเข้าสินค้า คือ
1. ท่าเทียบเรือที่บริหารโดยเทศบาลเมืองกันตัง สะพานท่าเทียบเรือชำรุดหนักทั้ง 2 สะพาน ท่าเทียบเรือสะพานที่ 1 ต้องหยุดใช้ เพราะชำรุดมากแล้ว ต้องของบประมาณใหม่เพื่อก่อสร้าง ส่วนสะพานที่ 2 ที่ใช้ในปัจจุบันพื้นสะพานชำรุด เพราะมีการใช้งานมาก สะพานที่ 1 และ 2 ต้องทำการซ่อมและปรับปรุงใหม่ทั้งหมด
2. ขณะนี้กำลังสร้างสะพานตัวที่ 3 ซึ่งเป็นสะพานท่าเทียบเรือที่ได้มาตรฐาน เพราะมีการออกแบบมาใช้งานท่าเทียบเรือโดยเฉพาะ หากสะพานที่ 3 เปิดใช้ ก็จะสามารถรองรับเรือได้อีกมาก
นอกเหนือจากท่าเทียบของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีที่ให้เทศบาลกันตังบริหารจัดการแล้ว ยังมีท่าเทียบเรือของเอกชน เช่น ท่าเทียบเรือขนส่งปูนซิเมนต์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ท่าเทียบเรือบริษัทยูซุปอินเตอร์เนชั่นแนล ท่าเทียบเรือบริษัททุ่งใหญ่ไมนิ่ง
นายสหชัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี ร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ตรังจะดำเนินการก่อสร้างท่าเรือ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ลานวางตู้คอนเทเนอคอนกรีต สะพานลำเลียง เครน งบประมาณการก่อสร้าง 700 ล้านบาท นอกจากนั้นกรมทางหลวงชนบทได้ให้งบประมาณ 96 ล้านบาท ปรับปรุงถนนแอ๊สฟันติกเป็น 12 เมตรพิเศษ ไหล่ข้างละ 1.5 เมตร บ้านนาเกลือ-บางสัก สิ่งที่จะผลักดันให้เกิดรองรับท่าเรือทั้งของรัฐและเอกชน คือ
1. นิคมอุตสาหกรรม บ้านทุ่งค่าย
2. ศูนย์ไอซีดี เป็นศูนย์รวมตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อกระจายสินค้าไปยังท่าเรือและสถานีรถไฟ
3.เส้นทางรถไฟ สิ่งที่เรามีอยู่แล้ว คือ รถไฟที่วิ่งมาชนสะพานท่าเทียบเรือกันตัง
หากผู้ว่าราชการจังหวัด ส.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ช่วยผลักดันให้การรถไฟฯเปลี่ยนรางรถไฟใหม่ รวมทั้งการเพิ่มขบวนรถที่ลากจูงตู้สินค้าให้มีการบริการที่มากขึ้น จะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทางด้านการส่งออกและนำเข้า |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 27/12/2007 5:00 pm Post subject: |
|
|
เฮียวิซซี่แบร์ฮะ ถ้ารัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลร่วมหลายพรรคที่มีพรรค ปชป. เป็นแกนนำ
ก็น่าจะให้ท่านผลักดันเป็นโครงการเร่งด่วน ปรับปรุงเส้นทางช่วง ทุ่งสง-กันตัง พร้อมสร้างลาน ICD ที่กันตัง
ให้ขบวน 167-168 เดินแค่ตรัง ซัก 3 เดือน เพื่อปรับปรุงเส้นทางช่วง ตรัง-กันตัง โดยทำคันทางใหม่ เทหินใหม่ เปลี่ยนสะพาน ให้รับน้ำหนักเพลา 15 ตัว ก็พอ ให้รถโดยสารแล่นได้ 90 กม./ชม. รถสินค้าแล่นได้สูงสุด 70 กม./ชม. เพื่อให้ใช้เวลาจากตรัง-กันตัง ประมาณ 15 นาที
แล้วก็มาปรับปรุงทางช่วงทุ่งสง - ตรัง ให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน
แล้ว ปดร. ของขบวน 83-84 และ 167-168 คงต้องมีการแก้ไขอีกแน่นอน |
|
Back to top |
|
|
|