Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311901
ทั่วไป:13571925
ทั้งหมด:13883826
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างอุโมงค์ขุนตาน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างอุโมงค์ขุนตาน
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 31/07/2006 10:40 am    Post subject: การสร้างอุโมงค์ขุนตาน Reply with quote

เรื่องนี้ผมนำมาจากหนังสืองานฉลองรถไฟหลวงครบ 50 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2490 ครับ อยากจะนำเสนอประวัติและการสร้างอุโมงค์ขุนตานนั้น สมัยก่อนเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัย แล้วเค้าสามารถขุดเจาะอุโมงค์ได้อย่างไร เรามาดูกันครับ Very Happy (ในหนังสือเขียนว่า "ขุนตาล" และอาจจะมีศัพท์ในสมัยเก่าๆด้วยนะครับ)

การสร้างอุโมงค์ขุนตาล


Click on the image for full size

อุโมงค์รถไฟคอนกรีต ที่มีความยาวที่สุดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ถ้ำขุนตาล" อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๖๘๑.๕๗๘.๗๕ กับกิโลเมตรที่ ๖๘๒.๙๔๐.๘๐ ทางสายเหนือ

ความสำเร็จแห่งงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานแสดงกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้างอันเป็นชิ้นสำคัญส่วนหนึ่งของกรมรถไฟที่ได้อนุวรรตน์และจัดให้บริการมาแล้ว

ในอดีตสมัยวิศวกรรถไฟไทยผู้หนึ่ง (พระยาสฤษดิการบรรจง อดีตผู้บัญชาการรถไฟ) อยู่ใกล้ชิดกับการก่อสร้างอุโมงค์นี้มาแต่เดิม ยังทรงจำเหตุการณ์นั้นได้เล่าว่า เนื่องจากการสร้างทางรถไฟหลวงสายเหนือ มีจุดหมายปลายทางมุ่งตรงไปยังนครเชียงใหม่อันเป็นถิ่นที่อุดมดีไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ ในการนี้วิศวกรผู้ทำการสำรวจและวางแนวทางได้พยายามทุกวิถีทาง ที่จะวางแนวเลาะลัดหลีกเลี่ยงให้พ้นเทือกเขาขุนตาลอันเป็นสันปันน้ำระหว่างเขตต์จังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน ไปให้บรรลุถึงจุดที่มุ่งหมายได้โดยสะดวก

แม้ได้พิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่เห็นวิธีอื่นใดที่จะเหมาะสม จึงจำเป็นต้องวางแนวทางผ่าเข้าไปในระหว่างเทือกเขาขุนตาล ด้วยการสร้างอุโมงค์ให้ขบวนรถลอดผ่านไป ณ ภายใต้ เพื่อเป็นการบำรุงผลประโยชน์ของอาณาประชาราษฏรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เจริญยิ่งในสรรพการหาผลประโยชน์เลี้ยงชีพทั้งปวง อาทิเช่น การพาณิช การเกษตรกรรม เป็นต้น และเป็นการเชื่อมขอบขัณฑสีมาในราชอาณาจักรทางภาคเหนือสุด ให้มีการติดต่อถึงกันกัลจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางโดยใกล้ชิด เป็นช่องทางที่จะนำทรัพย์ในดินสินในน้ำซึ่งเกิดขึ้นในท้องถิ่นภูมิภาคนั้น มาทำการแลกเปลี่ยนกันได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

การสำรวจแนวทางตลอดจนธรณีบริเวณที่จะทำการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟที่เขาขุนตาลนี้ ได้เริ่มกระทำในปีพุทธศักราช ๒๔๔๘
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 31/07/2006 10:59 am    Post subject: Reply with quote

เจฟฟ์ เดี๋ยวผมจะเอาภาพการสร้างอุโมงค์ขุนตานที่ลุงหนวด (เทพชู ทับทอง) เอามาลงในหนังสือของท่านมาลงแถมพกให้ด้วยนะ เพราะภาพเหล่านี้มาแต่ หจช. แต่ตีพิมพ์แล้ว คงจะไม่มีปัญหาน่อ Very Happy Smile Laughing Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 31/07/2006 11:01 am    Post subject: Reply with quote

ส่งมาที่เมล์ผมก็ได้นะครับ จะได้เอาลงประกอบไปในตัวด้วย Very Happy

ranger0827@gmail.com 8)
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 31/07/2006 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ภายหลังการสำรวจได้ผ่านพ้นมาแล้วเป็นเวลา ๒ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ก็เริ่มการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟด้วยวิธีทำขั้นต่างๆ คือ

ในขั้นแรกได้จัดตั้งหมุดหลักฐานของระดับที่แน่นอนไว้บนหลังเขาในแนวเดียวกันกับอุโมงค์ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ เพื่อประโยชน์ในการเจาะเขาให้ใหญ่ได้ตามประสงค์

การเจาะขุนตาลแต่เดิม ได้กระทำโดยใช้เครื่องอัดอากาศสำหรับเจาะ เมื่อเครื่องอัดอากาศเสียหรือใช้ไม่ได้ ก็ใช้เหล็กสะกัดขนาดยาวและฆ้อนขนาดใหญ่ตอกลงบนหินบริเวณที่ต้องการให้เป็นรูเพื่อฝังดินระเบิด ตอนใดเป็นหินร่วนก็ใช้ขวานจิกทะลายหินออกมา การเจาะๆ ห่างจากแนวที่ต้องการเข้ามาประมาณ ๕๐ ซ.ม. โดยรอบบริเวณที่ประสงค์จะเจาะ ให้ปลายรูชอนเข้าหากันทุกรู เว้นระยะห่างกันประมาณรูละ ๑ เมตร แล้วฝังดินระเบิดและวางชะนวนแยงเม้มให้ติดแน่นกับแก๊ปและยัดเข้าไปในรูหิน แล้วจุดชะนวนๆ ตอนใดจะจุดก่อนก็จะฝังไว้ให้ยาว ตอนใดจะจุดที่หลังก็ฝังไว้ให้สั้น โดยประสงค์ให้เกิดการระเบิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว จะได้ได้หินมากเพื่อสะดวกและป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น

จากการนี้ได้จัดคนงานไว้เป็นเวรคอยดูเวรละ ๘ ชั่วโมง ที่ใดไม่ระเบิดเพราะด้านก็เว้นไว้ไม่เจาะใหม่ใกล้ที่นั้น

การเจาะนี้ได้ลงมือกระทำพร้อมกันทั้งด้านเหนือและด้านใต้ โดยต่างฝ่ายต่างเจาะให้เข้ามาบรรจบกันในใจกลางของอุโมงค์ แต่ละด้านเจาะเป็น ๒ ช่อง คือ ช่องบนและช่องล่าง เริ่มต้นเจาะช่องบนก่อน เมื่อช่วงบนถูกเจาะลึกเข้าไปได้ประมาณ ๑๕ เมตรแล้ว จึงลงมือเจาะช่องล่างตามเข้าไปโดยวิธีเดียวกัน ส่วนหินตอนกลางเว้นไว้ให้เหลือหนาประมาณ ๑.๐๐ - ๑.๕๐ เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฎิบัติงาน
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2006 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

เจฟฟื ผมส่งของดีที่ขุนตานไปให้ แต่ ฮอทเมล์ของเจฟฟ์มันเด้งกลับมาหาผม หงะ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
khainooi
Warning 1
Warning 1


Joined: 03/07/2006
Posts: 154

PostPosted: 04/08/2006 7:20 am    Post subject: Reply with quote

เก่งจริงๆ ที่ทีมงานสามารถจะทะลุภูเขาได้ สุดยอดครับ แต่ ผมไม่มีโอกาสได้นั่งรถไปดูเลย อยากดูภาพครับ
Back to top
View user's profile Send private message
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 04/08/2006 8:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เจฟฟื ผมส่งของดีที่ขุนตาน ไปให้ แต่ ฮอทเมลืของเจฟฟ์มันเด้งกลับมาหาผม หงะ Sad


อ้าว...ผมให้ส่งไปที่จีเมล์เน้อ 8)

ranger0827@gmail.com 8)

ปล.ถ้าไม่ผิดพลาดประกาศใด คืนนี้กลับถึงบ้านจะลงต่อนะครับ พอดีมาธุระที่กรุงเทพ 2 วันแล้ว ถ้าคืนนี้ผมยังไม่ได้ลงต่อ ก็คือว่าผมยังไม่ได้กลับมาบ้านนะครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2006 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

ส่งของดีไปทางจีเมล์แล้ว ... Laughing Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43713
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2007 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

อ่า ... วันนี้ไปเจอเวบไซท์พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง - กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังสี จังหวัดราชบุรี - ว่าด้วยการเจาะอุโมงค์ขุนตานและการวางรางไปเชียงใหม่ ดูได้ที่นี่ครับ:

http://www.tahanchang.com/pipitapan/kuntal.htm
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/09/2010 2:01 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์นะครับ เพราะถูกดองเค็มจนลืม... Razz

.....................................

การเจาะเขาได้ดำเนินล้ำลึกเข้าไปภายในมากเพียงใด การปฏิบัติงานภายในก็ยิ่งประสพความลำบากและผจญอุปสรรคต่างๆ มากขึ้น อาทิ เช่น ประสพความมืด ก็ต้องให้แสงสว่างโดยโคมไฟฟ้าตะเกียงหรือตะเกียงกาซ ได้รับความร้อน ก็ต่อท่อน้ำโดยมีก๊อกเปิดปิดตามเข้าไป มีอากาศไม่พอหายใจ ก็ต้องต่อท่อพ่นอากาศเข้าไปให้ และเพื่อให้การขนหินที่ระเบิดแล้วออกมาทิ้งภายนอกเป็นไปโดยสะดวกและประหยัดแรงงาน ก็วางรางสำหรับใช้รถเล็กเดินในช่องล่าง โดยใช้รถยนตร์รางดีเซลขนาดเล็กลากจูงและใช้รถเล็กเทข้างเป็นรถลำเลียงตามเข้าไปทุกระยะที่ทำการสำเร็จ

นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานช่องบนได้รับความสะดวกร่วมด้วย ก็จัดการเจาะเนื้อหินตอนกลางที่เว้นไว้ให้เป็นช่องทะลุถึงกันกับช่องล่างทุกๆ ระยะ ๑๕ เมตรต่อ ๑ ช่อง ช่องหนึ่งๆ โตประมาณ ๑.๕๐ เมตร เมื่อผู้ปฏิบัติงานช่องบนปรารถนาจะเทหินที่ระเบิดไว้แล้ว ถึงช่องใดใกล้ที่สุด ก็เทหินลงในรถซึ่งจัดเตรียมไว้ ณ ช่องล่าง แล้วผู้ปฏิบัติงานช่องล่างจะนำไปเท ณ ปากอุโมงค์แทนให้ ทั้งช่องบนและล่างเมื่อเจาะเข้าไปได้เท่าใดก็ใช้แผ่นกระดานกรุยันกับหินด้านบน และใช้เสาไม้กลมขนาดโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซ.ม. ซึ่งเป็นไม้ทุบเปลือกที่หาได้ในที่นั้นเองค้ำยันไว้เป็นระยะๆ เว้นห่างจากกันพอสมควร เพื่อป้องกันจุดอ่อนไม่ให้เกิดการยุบพังทะลายลงมา

การดำเนินการเจาะตามวิธีดังกล่าวนี้ได้เป็นไปตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ให้ผลัดกันเข้าปฏิบัติงานจนกระทั่งต้นปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ช่องบนทั้งด้านเหนือและใต้จึงทะลุบรรจบกัน ต่อมามิช้ามินานในราวกลางปีเดียวกัน ช่องล่างทั้ง ๒ ด้านก็บรรจบกันอีก


Last edited by black_express on 29/09/2010 2:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©