View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 04/08/2006 3:25 pm Post subject: |
|
|
box_car wrote: | อ่ะอะอะ...เรื่องเครื่องกั้นนี่ เหล่าสหายสายธนบุรี สังเกตุเครื่องกั้นฝั่งศิริราชหรือเปล่าเอ่ย (แค่นี้พอครับ เกริ่นมากกว่านี้เดี๋ยวกระทู้นี้จะโดนลดชั้นซะเปล่าๆ) |
พี่กวงครับ
เครื่องกั้นที่หน้าโรงรถจักรธนบุรี เท่าที่พอนึกออก รู้สึกจะมาหลังจากการรื้อรางออก และสร้างถนนแทน ไม่ได้มีมาตั้งแต่แรก
แต่ที่สงสัยคือ เวลารถจักรถอยเข้าถอยออกซึ่งต้องผ่านทางตัดนี้ เครื่องกั้นบางทีก็ร้อง บางทีก็ไม่ร้อง เลยไม่รู้ว่าเขาจะเอาไงกันแน่ และเครื่องกั้นนี้ น่าจะควบคุมมากจากหอประแจธนบุรี ไม่ใช่เครื่องกั้นอัตโนมัติ |
|
Back to top |
|
|
puggi
3rd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 119
|
Posted: 04/08/2006 5:47 pm Post subject: |
|
|
ผมว่าขึ้นกับ งบประมาณ มากกว่าครับ
เผอิญ ต้นปี ต้องไปเก็บค่าเช่าที่ ห้วยยาง ตรงประจวบ เห็นเค้าทำไม้กั้นทางรถไฟมาแล้ว
กำนันบอกว่า เห็นเจ้าหน้าที่รถไฟบอกว่าได้ งบประมาณปีล่าสุดมาแล้วน่ะครับ เมื่อก่อน ยังเป็นป้ายบอก ระวังรถไฟอยู่ กับ ลูกระนาด แค่นันเอง ขณะที่ทางไปหาดแสงอรุณ ห่างกันไม่ถึง 3 กิโล ยังไม่มีเลยทั้งที่เป็นชุมชนทั้งคู่ เดาเอาครับ แต่ว่ายังไง มีไม้กัน ให้หมดก็ดีครับ ปลอดภัยกว่า ป้ายเตือน เพราะเท่าที่สังเกต ไม่เห็น ชาวบ้านจะ เบารถ เวลาข้ามทางรถไฟกันเลย อุบัติเหตุ ถึงเกิดบ่อย |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 05/08/2006 1:30 am Post subject: |
|
|
หลังจากเมื่อวานมาเปิดประเด็นไว้แล้ว วันนี้เลยไปนั่งค้นหนังสือเก่าๆ ที่รับความเอื้อเฟื้อมาจากพี่ๆ ชาว รฟท. ที่ให้มาหลายๆ เล่ม ก็บังเอิญไปพบข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องของระบบอาณัติสัญญาณ และเรื่องเกี่ยวกับเครื่องกั้นถนน พอดิบพอดีเลยครับ เลยขออนุญาต คัดลอกเอาข้อมูลบางส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์ มาเผยแพร่ให้ทุกๆ ท่านได้ลองพิจารณากันดู และเท่าที่อ่านดูส่วนใหญ่ ก็จะคล้ายๆ กับความคิดเห็นที่หลายๆ ท่านได้โพสต์เอาไว้ก่อนหน้านี้เลยทีเดียว
อนึ่งข้อมูลจากหนังสือที่ว่า ค่อนข้างจะเก่าแก่สักนิด (แก่กว่าอายุผมอีก) แต่คิดว่าน่าจะยังเป็นบรรทัดฐาน ในการปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่อาจจะมีบางส่วนที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัยนะครับ ..... เรามาว่ากันเลยดีกว่า
การป้องกันเหตุอันตราย ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ
อุบัติเหตุรถไฟชนกับรถยนต์ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟแต่ละครั้ง ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต สูญเสียทั้งทรัพย์สิน และยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ของผู้ที่เสียชีวิตอีกด้วย ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย ก็มิได้นิ่งนอนใจ โดยได้พยายามหาหนทางป้องกันอุบัติเหตุ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟอยู่เสมอมา แต่การที่จะทำให้การป้องกันได้ผลสมบูรณ์แล้ว จำเป็นจะต้องอาศัยสิ่งประกอบดังต่อไปนี้ :-
1. วินัยของผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนน
2. วินัยของผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟ
3. ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล กรมทางหลวง เป็นต้น
วินัยของผู้ใช้ยวดยานทั้งข้อ 1 และ 2 หมายถึงผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟจะต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ ของการรถไฟฯ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนน ก็จะต้องปฏิบัติตามกฏ ข้อบังคับ ของเจ้าพนักงานจราจร ทั้งสองฝ่ายจะต้องเคารพต่อสัญญาณต่างๆ เช่น ป้ายเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟสีฯ โดยเคร่งครัด
ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้อที่ 3 หมายถึงว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล กรมทางหลวง สุขาภิบาล เป็นต้น คอยสอดส่อง และพิจารณาว่า ทางผ่านใด สมควรติดตั้งเครื่องป้องกันเหตุอันตราย จัดสรรงบประมาณประจำปี เตรียมไว้เพื่อการนี้ ส่วนในการพิจารณาว่า จะใช้เครื่องกั้นแบบใด ชนิดใด กับถนนสายต่างๆ ทางการรถไฟฯ ถือหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้ :-
พิจารณาจากลักษณะของทางผ่านเสมอระดับ
1. ระยะที่ผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนน และทางรถไฟจะมองเห็นกันได้
2. สภาพของถนนและทางรถไฟ ก่อนถึงจุดตัด ของทางผ่านฯ มีลักษณะอย่างไร เช่น ทางขึ้น ทางลง ทางโค้ง
3. สภาพของทางผ่าน มีลักษณะอย่างไร เช่น เสมอระดับถนน หรือสูงกว่ามากน้อยเพียงไร เป็นทางผ่านชนิดไม้ หรือคอนกรีต เป็นต้น
4. พิกัดความเร็วของยวดยานทั้งสองด้าน ก่อนถึงจุดตัดของทางผ่านฯ
5. ความหนาแน่นของยวดยานทั้งสองด้าน
6. สถิติอุบัติเหตุในรอบปีที่ผ่านมา
ทั้ง 6 ข้อดังกล่าวนี้ เป็นหลักใหญ่ในการพิจารณา ว่าะใช้เครื่องป้องกันอุบัติเหตุชนิดใด ใน 4 ประเภทที่มีใช้งานอยู่ในการรถไฟฯ คือ
1. ปักแต่เครื่องหมายจราจรประเภทให้ระวังอันตราย
2. เครื่องสัญญาณไฟวาบและระฆังอัตโนมัติ
3. เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งถนน แบบทำงานอัตโนมัติ
4. เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่ง หรือเต็มถนน ทำงานโดยใช้พนักงานควบคุมการปิดเปิด
ในการพิจารณาขั้นแรก ว่าจะใช้เครื่องป้องกันชนิดใด จึงจะเหมาะสมกับทางผ่านหนึ่งๆ จะยึดถือความหนาแน่นของยวดยาน ทั้ง 2 ด้าน คือ รถไฟและรถยนต์ เป็นหลักในการพิจารณาดังต่อไปนี้ :-
สูตรการคำนวณ
Quote: | M = Traffic Moment = A x R |
โดย
A = จำนวนยวดยานทางท้องถนนในรอบ 24 ชั่วโมง
R = จำนวนยวดยานทางรถไฟในรอบ 24 ชั่วโมง
กรณีที่ 1
ถ้า M มีค่าต่ำกว่า 10,000 และมีภูมิประเทศดี สามารถมองเห็นกันในระยะพอสมควร อยู่ในที่ราบ จะใช้การปักแต่ป้ายเครื่องหมายจราจรประเภทให้ระวังอันตราย
กรณีที่ 2
ถ้า M มีค่าระหว่าง 10,000 - 40,000 และบริเวณนั้น มีไฟฟ้าใช้งาน ควรจะติดตั้งสัญญาณไฟวาบ พร้อมระฆังอัตโนมัติ
กรณีที่ 3
ถ้า M มีค่าระหว่าง 40,000 - 100,000 และบริเวณนั้น มีไฟฟ้าใช้งาน ควรจะติดตั้งเครื่องกั้นถนน ชนิดปิดครึ่งถนน ทำงานอัตโนมัติ และติดตั้งสัญญาณไฟวาบ พร้อมระฆังอัตโนมัติควบคู่ไปด้วย
กรณีที่ 4
ถ้า M มีค่าสูงกว่า 100,000 ควรจะใช้เครื่องกั้นถนนปิดครึ่ง หรือเต็มถนน ทำงานโดยใช้พนักงานปิดเปิด และถ้าติดตั้งสัญญาณไฟวาบ พร้อมระฆังอัตโนมัติด้วย จะได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อพิจารณาความหนาแน่น ของยวดยานทั้งสองด้านแล้ว ก็ควรจะพิจารณาต่อไปถึงลักษณะ ทางกายภาพ ของทางผ่านนั้นๆ ว่าควรจะเพิ่มหรือลดมาตรการอย่างไร โดยถือหลักความปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย เท่าที่จะทำได้
ตัวอย่างเช่น - ทางผ่านแห่งหนึ่ง ทำการตรวจสอบและคำนวณได้ว่า ความหนาแน่นของยวดยานทั้งสอง มีค่า M เท่ากับ 80,000 บริเวณนั้นมีไฟฟ้าใช้งาน ดังนั้น สามารถใช้เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งถนน และทำงานโดยอัตโนมัติ ประกอบด้วยสัญญาณไฟวาบ เพื่อประหยัดค่าจ้างพนักงานปิดเปิด แต่เมื่อได้พิจารณาลักษณะของทางผ่านฯ แล้วพบว่า ถนนด้านหนึ่ง ก่อนที่จะมาถึงจุดตัดของทางผ่าน เป็นทางลาดลงมาจากสะพาน และยังมีอาคารบ้านเรือนปลูกบดบังทัศนวิสัย ระหว่างผู้ใช้ยวดยานทั้ง 2 ด้าน ทำให้มองเห็นกันได้ลำบากและระยะไม่พอที่จะให้รถไฟลงห้ามล้อได้ทันท่วงที ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ก็ควรจะต้องใช้เครื่องกั้นถนน ชนิดที่มีพนักงานคอยควบคุมการปิดเปิด เป็นต้น |
|
Back to top |
|
|
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 05/08/2006 1:34 am Post subject: |
|
|
เครื่องหมายจราจร ที่เกี่ยวข้องกับทางตัดเสมอระดับทางรถไฟ
เครื่องหมาย "ทางข้ามทางรถไฟไม่มีเครื่องกั้นทาง" หมายความว่า ทางข้างหน้า มีทางรถไฟตัดผ่าน และไม่มีเครื่องกั้นทาง ก่อนที่จะผ่านเครื่องหมายนี้ ให้ผู้ขับขี่ยวดยาน ลดความเร็วและขับให้ช้าลงให้มาก และสังเกตดูรถไฟทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ถ้าเห็นว่ากำลังจะมีขบวนรถไฟผ่านมา ให้หยุดให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วคอยจนกว่าขบวนรถไฟนั้นผ่านพ้นไปแล้ว และปลอดภัย จึงเคลื่อนรถต่อไปได้ โดยห้ามมิให้ขับรถตัดหน้าขบวนรถไฟ ในระยะที่จะก่อให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด
เครื่องหมาย "ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง" หมายความว่า ทางข้างหน้า มีทางรถไฟตัดผ่าน และมีรั้วหรือเครื่องกีดขวางกั้นทาง ก่อนที่จะขับรถผ่านเครื่องหมายนี้ ให้ขับรถให้ช้าลง และพร้อมที่จะหยุดรถได้ เมื่อมีเสียงสัญญาณจากเจ้าหน้าที่ควบคุมดังขึ้น หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมได้กั้นทาง หรือมีเครื่องกั้นทางของการรถไฟฯ ปิดกั้น
ในกรณีที่หยุดรถโดยมีการกั้นทางดังกล่าวแล้ว เมื่อขบวนรถไฟผ่านพ้น และเจ้าหน้าที่ควบคุมเปิดทางให้แล้ว จึงขับรถผ่านทางรถไฟไปได้
เพิ่มเติม
ทางปฏิบัติเกี่ยวกับป้ายสัญญาณให้รถหยุด โดยการทำป้ายสัญญาณนี้ ถ้าที่ใดทางรถไฟทำไปตัดทางหลวง ให้การรถไฟฯ ออกค่าใช้จ่ายและเป็นผู้จัดทำ และถ้าที่ใด ทางรถไฟมีอยู่ก่อน ต่อมาทางหลวงทำไปตัดทางรถไฟก็เป็นหน้าที่ของหน่วยราชการที่ควบคุมทางหลวงนั้นๆ ออกค่าใช้จ่ายและจัดทำ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ กรมโยธาเทศบาล หรือ กรมทางหลวง หรือ เทศบาล ก็แล้วแต่กรณี
บทสรุปในตอนท้าย
ความปลอดภัย การป้องกันการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ถนน และรถไฟอันเกิดอุบัติเหตุ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อ
1. ผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนนมีวินัยดี
2. ผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟมีวินัยดี
3. ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
|
Back to top |
|
|
southrailway
3rd Class Pass
Joined: 27/03/2006 Posts: 26
Location: ดอนเมือง กทม.
|
Posted: 05/08/2006 12:01 pm Post subject: |
|
|
CivilSpice wrote: |
ผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนนมีวินัยดี
|
สาเหตุหนึ่งก็มาจากผู้ใช้รถนี่แหละครับ จากการที่เคยได้แลกเปลี่ยนความรู้กับคนขับรถหลายๆประเภทเวลาเดินทางไกล มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ยังมีคนขับรถอีกจำนวนหนึ่งที่คิดว่ารถไฟสามารถเบรคได้แบบรถยนต์ ทำให้เกิดการขับรถตัดหน้ารถไฟเพราะคิดว่ายังไงรถไฟก็ต้องหยุดทัน คำพูดที่ผมได้มานี้มาจากปากของคนขับรถบรรทุกที่เคยถูกรถไฟชนมาแล้ว _________________ การเดินทางเพื่อค้นหาชีวิต จุดหมายอาจไม่ได้อยู่ที่ปลายทาง แต่อยู่ระหว่างทางต่างหาก |
|
Back to top |
|
|
nakarin
3rd Class Pass
Joined: 03/07/2006 Posts: 8
|
Posted: 05/08/2006 2:05 pm Post subject: |
|
|
ถ้าเครื่องกั้นถนน ตรงสถานีรถไฟสระบุรี พนักงานประจําซุ้มเครื่องกั้น เค้าผลัดเวรกันกี่ชั่วโมง
เพราะเส้นทางนี้ ก็ถือได้ว่ารถไฟวิ่งถี่เหมือนกัน |
|
Back to top |
|
|
Gunnersaurus
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 1574
Location: เมืองช้าง
|
Posted: 06/08/2006 10:02 am Post subject: |
|
|
วิธีปฏิบัติของผู้มีขับรถในทางตอนที่มีทางรถไฟแล่นผ่าน
1.ถ้าปรากฏว่า
(1) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(2) มีสิ่งปิดกั้นหรือมีเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณแสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน
(3) มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไป
ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่าห้าเมตร
เมื่อรถไฟผ่านไปแล้วและมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านได้ ผู้ขับขี่จึงจะขับรถผ่านไปได้
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
2.ถ้าในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟผ่านไม่ว่าจะมีเครื่องหมายระวังรถไฟหรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นไม่มีสัญญาณระวังรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น
ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถและหยุดรถห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่าห้าเมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงจะขับรถผ่านไปได้
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
แต่พอเอาเข้าจริงๆ แถวนครปฐมขณะที่รถไฟกำลังมา เอาเครื่องกั้นลงแล้วแท้ๆ บรรดาสิงห์มอเตอร์ไซค์กลับยกที่กั้นขึ้นแล้วพากันลอดเป็นฝูงเลยช่างไร้วินัยกันจริงๆ
หากเกิดเหตุโดนชนขึ้นมาถ้าตายไปเลยก็ดีไม่ต้องเป็นภาระใครมาก แต่ถ้าพิการขึ้นมานี่สิเป็นภาระที่ลำบากของญาติพี่น้องลูกเมียต้องคอยหยอดข้าวหยอดน้ำ
สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุบ่อยๆ ก็คือวินัยจราจรนี่แหละครับคุณบอมบ์เพราะตามกฎหมายเขาก็กำหนดวิธีปฏิบัติเอาไว้ให้ปลอดภัยแล้วแต่ก็ไม่พากันทำตาม
คนพวกนี้ไม่ต้องไปโทษใครหรอกครับนอกจากโทษตัวเอง ผมคิดเองเล่นๆ นะครับว่าถ้าหลวงเอาจริงคอยตามจับแค่ที่นครปฐมนี่ก็คงได้ค่าปรับวันละหลายเงินอยู่ครับ
|
|
Back to top |
|
|
Thawatchai
3rd Class Pass
Joined: 30/10/2006 Posts: 83
Location: บ้าน
|
Posted: 11/11/2006 11:00 pm Post subject: |
|
|
nakarin wrote: | ถ้าเครื่องกั้นถนน ตรงสถานีรถไฟสระบุรี พนักงานประจําซุ้มเครื่องกั้น เค้าผลัดเวรกันกี่ชั่วโมง
เพราะเส้นทางนี้ ก็ถือได้ว่ารถไฟวิ่งถี่เหมือนกัน |
เวรละ 12 ชั่วโมงเหมือนที่อื่นๆ ครับ
เครื่องกั้นอัตโนมัติแถวบ้านผมตอนนี้ผมยังไม่เข้าใจว่าเขาใช้หลักอะไรในการวัดว่าตรงไหนควรติด เพราะบางที่รถเยอะเหลือเกินอยู่ในเขตเทศบาลและเคยเกิดอุบัติเหตุมาหลายครั้งกลับตกสำรวจ และตรงจุดที่ 71 ชนปิคอัพครั้งล่าสุด(บ้านย่าผมเอง)ก็ยังไม่มีเครื่องกั้น พูดง่ายๆ นะครับถนนสายไหนที่ราดยางหรือคอนกรีตจำนวนรถที่วิ่งก็เยอะกว่าถนนดินลูกรังเป็นธรรมดาไม่งั้นเทศบาล,อบต.คงไม่เอางบไปราดยางราดคอนกรีตหรอก ไอ้ถนนลูกรังเนี่ยส่วนใหญ่ก็อยู่นอกเขตเทศบาลอยู่แล้ว(ไม่ค่อยมีรถผ่านเพราะอยู่นอกเมือง)และ อบต.ก็คงไม่เอางบไปราดยางในถนนสายที่ไม่ค่อยมีคนสัญจรผ่านหรอกครับ แต่แถวบ้านผมแปลกทางตัดผ่านที่เป็นลูกรังบางจุดที่ไม่น่ามีกลับมีเครื่องกั้นอัตโนมัติ แต่ทางตัดผ่านราดยางที่ชนแล้วชนเล่ากลับไม่มีเครื่องกั้น ผมรู้สึกว่ามันแปลกๆ ดีอ่ะ _________________ วิศวกรรมรถไฟ ตั้งใจศึกษา พัฒนาหน่วยงาน
บริการสังคม สั่งสมคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต
ผูกมิตรไมตรี รู้รักสามัคคี ทำดีเพื่อแผ่นดิน |
|
Back to top |
|
|
saraburi
1st Class Pass (Air)
Joined: 03/07/2006 Posts: 3321
Location: ถิ่นเนื้อนุ่ม นมดี กะหรี่(ปํ๊บ)ดัง สระบุรี
|
Posted: 12/11/2006 9:22 am Post subject: |
|
|
nakarin wrote: | ถ้าเครื่องกั้นถนน ตรงสถานีรถไฟสระบุรี พนักงานประจําซุ้มเครื่องกั้น เค้าผลัดเวรกันกี่ชั่วโมง
เพราะเส้นทางนี้ ก็ถือได้ว่ารถไฟวิ่งถี่เหมือนกัน |
รู้สึกว่าจะ 12 ชม ครับ คือ 6 โมงเช้าเปลี่ยนเวร และเปลี่ยนอีกครั้ง ก็ 6 โมงเย็นครับ
คือเวรกลางวันกับเวรกลางคืนนั้นเองครับ |
|
Back to top |
|
|
|