View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 15/07/2006 9:48 am Post subject: ข่าวรถไฟเวียตนาม |
|
|
เปิดแผนรถไฟด่วนโฮจิมินห์-ฮานอยวิ่ง 10 ชั่วโมง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 กรกฎาคม 2549 11:53 น.
รถไฟรางคู่ กว้าง 1 เมตร ในเส้นทางจากกรุงฮานอย ไปยังปลายทางที่เมืองฮาลอง
กรุงเทพฯ- บริษัทรถไฟเวียดนามได้เปิดเผยแผนการละเอียดโครงการก่อสร้างทางรถไฟด่วนขนานเส้นทางรถไฟปัจจุบันเพื่อเชื่อมระหว่างนครโฮจิมินห์ในภาคใต้กับกรุงฮานอยในภาคเหนือ ซึ่งเป็นแผนพัฒนาการขนส่งระบบรางอีกโครงการหนึ่ง นอกเหนือจากแผนการขยายรางรถไฟหลักในปัจจุบันให้เป็นเกจมาตรฐานเพื่อให้รถสามารถแล่นด้วยความเร็วได้อย่างปลอดภัย
รถไฟความเร็วสูงในแผนการฉบับใหม่นี้จะสามารถร่นระยะเวลาการบริการระหว่างปลายเหนือ-ใต้ความยาว 1,650 กิโลเมตรให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น จากปัจจุบันที่รถไฟต้องใช้เวลาวิ่งตั้งแต่ 28-30 ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ตที่อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสบริษัทรถไฟแห่งชาติ
นายเหวียนหืวบ่าง (Nguyen Huu Bang) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทรถไฟเวียดนามได้รายงานเสนอกระทรวงขนส่งเมื่อเร็วๆ นี้ โดยระบุว่าเวียดนามควรจะมีรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ภายในปี 2558 เป็นรถไฟขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร นอกเหนือจากรถไฟธรรมดาสายโฮจิมินห์-ฮานอย ที่ใช้อยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะต้องใช้เงินลงทุนถึง 285 ล้านล้านด่ง หรือ 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 6.6 แสนล้านบาท) ซึ่งจะต้องระดมเงินทุนจากทุกภาคส่วนที่สามารถเป็นไปได้ ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งเงินจากการช่วยเหลืออย่างเป็นการเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance) จากประเทศต่างๆ ด้วย
ที่สำคัญมากก็คือ ทางรถไฟด่วนสายนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย ที่มีจุดเริ่มจากสิงคโปร์ด้วย นายบ่างกล่าว
เมื่อ 5 ปีที่แล้วผู้บริหารของบริษัทรถไฟเวียดนามได้เคยเสนอความคิดเกี่ยวกับการจัดสร้างรถไฟด่วนเหนือ-ใต้มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ปัญหาสำคัญก็คือ จะหาเงินทุนจากแหล่งใดไปดำเนินการ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเน็ต
จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาและการก่อสร้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทรถไฟเวียดนาม การสร้างรางกว้างขนาด 1.435 เมตรนั้น จะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างราว 15-20 ล้านดอลลาร์ต่อกิโลเมตร ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้เงินงบประมาณ ทั้งสิ้นราว 20 พันล้านดอลลาร์
บริษัทที่ปรึกษาฯ ยังเสนอให้บริษัทรถไฟเวียดนามก่อสร้างทางรถไฟด่วนสายอื่นๆ อีกด้วย อันได้แก่สาตะวันออกระหว่างกรุงฮานอย-เมืองท่าหายฟ่อง (Hai Phong) ญาจาง (Nha Trang)-โฮจิมินห์ และโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) ทั้งหมดนี้ควรจะเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปี 2558
แม้จะยังต้องหาแหล่งเงินทุนต่อไปก็ตาม แต่กระทรวงขนส่งเวียดนามได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการเอาไว้เรียบร้อย คือ การศึกษาความคุ้มทางเศรษฐกิจให้แล้วเสร็จในปี 2553 และเริ่มการก่อสร้างในปี 2554
ตามแผนแม่บทนั้นในช่วงหลังปี 2559 กระทรวงขนส่งจึงจะเริ่มพัฒนาทางรถไฟด่วนในช่วงอื่นๆ คือ ช่วงล่องใต้ระหว่างเมืองวิง (Vinh)-ญาจาง สายเหนือกรุงฮานอย-หล่างเซิน (Lang Son) และสายใต้นครโฮจิมินห์-เมืองเกิ่นเทอ (Can Tho) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบก่อสร้างอีกราว 318.75 ล้านล้านด่ง หรือราว 20 พันล้านดอลลาร์
ทางรถไฟที่ทันสมัยนี้จะทำให้รถไฟด่วนสามารถแล่นได้ด้วยความเร็ว 160-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกเหนือจากการสร้างถนนหนทางสายหลักต่างๆ แล้ว ปัจจุบันเวียดนามกำลังเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในระดับตัวเมือง นครและในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ โครงการขนส่งมวลชนระบบรางและระบบล้อกำลังผุดขึ้นในนครใหญ่ต่างๆ ของประเทศ
ตมรายงานของสื่อทางการเวียดนามนั้น กรุงฮานอยเลือกระบบรถรางขนส่งมวลชน (Tramway System) ส่วนในนครโฮจิมินห์เลือกระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail System) กับรถไฟฟ้าใต้ดิน ผสมผสานกับรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน (Bus Rapid Transit System)
การก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวในเฟสแรกจะเริ่มในต้นปีหน้า ขณะที่กำลังมีการศึกษาความคุ้มทางเศรษฐกิจสำหรับอีก 2 ระบบ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี.
Last edited by Wisarut on 23/01/2009 10:44 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 15/07/2006 11:30 am Post subject: |
|
|
ลักษณะภูมิประเทศอันยาวเหยียดของเวียตนาม ก็ชวนให้สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรอกครับ ผมคิดว่า เขาคงทำแน่ๆ แต่รอเวลาอีกสักนิดหนึ่ง
บ้านเรา...น่าจะเป็นสายนครราชสีมา - กรุงเทพ - หาดใหญ่ แต่คงใช้เวลาฝันนานกว่าเวียตนามหลายเท่า
อ่ะ.. รถจักรคงเป็นของอดีตการรถไฟเวียตนามใต้ ตู้โดยสารใช้แคร่เพนซิลเวเนียด้วยแฮะ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 15/07/2006 10:28 pm Post subject: |
|
|
พี่ตึ๋ง, ตอนนี้เวียตนามกำลังทางหลวง 4 เลน -เรียกว่าทางหลวงโฮจิมินห์ เพื่อแบ่งเบาภาระทางหลวงหมายเลข 1 (ฮานอย - ไซ่ง่อน) ที่ขยายไม่ได้เพราะติดชุมชน ....
เอาเป็นว่าทำทางรถไฟคู่ 2000 กิโลเมตรให้ได้ก่อนแล้วถึงจะเชื่อว่า ทำรถไฟความเร็วสูง ระหว่างฮานอยไปไซ่ง่อน ได้จริงๆ เพราะผมไม่แน่ใจว่าเขตทางจะพอทำได้หรือเปล่า ถ้าทำได้ก็ดีไป |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 26/07/2006 6:51 pm Post subject: |
|
|
งานนี้ดูท่าบริษัทรถไฟเวียตนามจำกัดท่าจะเอาจริงแฮะกะการทำรางคู่ กรุงฮานอย - เมืองท่าวินห์ (300 กม.) กะ นครไซ่ง่อน - เมืองท่าญาตรัง (396 กม.) รวมระยะทาง เกือบ700 กิโลเมตร
เวียดนามเร็วจี๋ศึกษารถไฟความเร็วสูง 700 ก.ม.แรก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 กรกฎาคม 2549 13:32 น.
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9490000095448
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=549000011141402
บริการรถไฟในเวียดนามไม่ถึงกับล้าหลัง แต่ไม่ทันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายทรานส์เอเชียจากสิงคโปร์ถึงเมืองคุนหมิง ในมณฑลหยุนหนันของจีน
ผู้จัดการรายวัน- ทางการเวียดนามกับหน่วยงานความช่วยเหลือระหว่างประเทศของรัฐบาลเกาหลีใต้ กำลังร่วมกันจัดทำแผนศึกษาความคุ้มทางด้านเศรษฐกิจของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงรางคู่ (Dual Rail) สองสายทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ เป็นระบบรางมาตรฐานตลอดเส้นทาง เพื่อให้มีระบบรถไฟที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วได้ 2-3 เท่าตัว จากในปัจจุบันที่เป็นแบบรางแคบ
สำหรับเส้นทางช่วงนครโฮจิมินห์-เมืองญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa) ความยาว 369 กิโลเมตร ฝ่ายเกาหลีได้ประเมินมูลค่าก่อสร้างเอาไว้ราว 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเส้นทางฮานอย-วิง (Vinh) ใน จ.เหงะอาน (Nhge An) ความยาวราว 300 กิโลเมตร กำลังจะมีการประเมินมูลค่าการก่อสร้าง แต่เชื่อว่าทั้งสองเส้นทางจะมีมูลค่ารวมกันกว่า 10 พันล้านดอลลาร์
ตามรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม รัฐบาลเกาหลีได้ตกลงให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามเป็นเงิน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการสำรวจเส้นทางภาคเหนือฮานอย-เหงะอาน กับอีก 900,000 ดอลลาร์ในการศึกษาเส้นทางโฮจิมินห์-ญาจาง
การศึกษารถไฟฟ้ารางคู่ทั้งสองเส้นทางกำลังดำเนินไปภายใต้แผนพัฒนาระบบรถไฟแห่งชาติ ซึ่งจะมีการจัดสร้างรถไฟความเร็วสูงรางคู่ตั้งแต่กรุงฮานอย ลงไปจนถึงนครโฮจิมินห์ในภาคใต้ โดยเปลี่ยนระบบรางใหม่เป็นเกจมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร จากปัจจุบันที่มีขนาดความกว้างของรางเพียง 1 เมตร ซึ่งจำกัดความเร็วของรถไฟให้วิ่งได้แค่ 60-70 ก.ม.ต่อชั่วโมงเท่านั้น
ระบบรางมาตรฐานจะทำให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 300 ก.ม.ต่อชั่วโมง วีเอ็นเออ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่บริษัทรถไฟเวียดนาม
เนื่องจากรางทั่วประเทศเป็นเกจมาตรฐานกว้างเพียง 1 เมตร หัวรถจักรไม่สามารถทำความเร็วเกิน 70 ก.ม./ช.ม. ได้ (บ้านนเราทำได้ 100-120 กม/ชม. สำหรับทางใหม่ และ 90 กม/ชม สำหรับทางเก่า) รถไฟตกรางครั้งใหญ่ที่สุดในภาคกลางเวียดนามเมื่อปีที่แล้ว เกิดจากการแล่นด้วยความเร็วเกินพิกัดเมื่อเข้าโค้ง
ตามแผนการที่ได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีนั้น การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟรางคู่จะให้แล้วเสร็จในเดือน เม.ย.2550 เพื่อเริ่มการประกวดราคาและเตรียมการก่อสร้าง โดยเส้นทางโฮจิมินห์-ญาจาง และฮานอย-วิง จะเริ่มให้บริการพร้อมกันในปี 2558
ตามแผนการนั้นบริษัทรถไฟเวียดนามจะพัฒนาระบบรางอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 เพื่อใช้เกจมาตรฐานทั้งหมด ไปตามแนวทางรถไฟในปัจจุบัน
การพัฒนาระบบรถไฟได้เป็นวาระแห่งชาติของเวียดนามและเป็นหนึ่งในบรรดาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศให้ทันสมัย ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและในอัตราที่สูงที่สุด
รถไฟรางคู่ทั้ง 2 ช่วงความยาวเกือบ 700 ก.ม.นี้ เป็นหนึ่งในแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ความยาว 1,650 ก.ม. เหนือจรดใต้ ซึ่งบริษัทรถไฟเวียดนามเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า อาจจะต้องใช้เงินก่อสร้างทั้งหมดราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือราว 6.6 แสนล้านบาท) ซึ่งจะต้องระดมเงินทุนจากทุกภาคส่วนที่สามารถเป็นไปได้ ทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งเงินจากการช่วยเหลืออย่างเป็นการเพื่อการพัฒนา (Official Development Assistance) จากประเทศต่างๆ ด้วย
ทางรถไฟในเวียดนามนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย ที่มีจุดเริ่มจากสิงคโปร์ ภายใต้การสนับของธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ เอดีบี
นอกจากเส้นทางหลักเหล่านี้แล้ว บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ยังเสนอให้บริษัทรถไฟเวียดนามก่อสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ อีกด้วย อันได้แก่สายตะวันออกระหว่างกรุงฮานอย-เมืองท่าหายฟ่อง (Hai Phong) (จริงๆ คือ รางคู่ ฮานอย - เมืองท่าไฮฟอง) และตอนใต้สุดคือโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) (อันนี้แหละที่ใหม่จริงๆ ไซ่ง่อน - เมืองท่าวุงเตา) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟไปถึง |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 27/07/2006 11:34 pm Post subject: |
|
|
น่าอิจฉาเขาเหมือนกันนะ แล้วผมก็คิดว่ามันก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงด้วยเพราะว่ามันเป็นโครงการที่รัฐบาลเขาสนับสนุน แล้วความมีวินัยกับความเป็นชาตินิยมก้จะทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ประกอบกับสถานะทางเศรษฐกิจที่กำลังเป็นดาวรุ่งก็จะทำให้มีหลายประเทศเข้ามาจีบเพื่อช่วยสานฝันให้เป็นจริงได้เร็วขึ้นด้วย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 12/08/2006 2:44 am Post subject: |
|
|
รถไฟด่วนเวียดนามลงตัว 4 สาย $30,086 ล้าน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 สิงหาคม 2549 23:37 น.
บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังออกแบบและจัดทำรายงานการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สายแรก รวมความยาวเกือบ 900 กิโลเมตร เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาล การก่อสร้างจะเริ่มในปี 2553 โดยจะใช้เวลา 5 ปี ด้วยเงินลงทุนถึง 30,086 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.2 ล้านล้านบาท
รถไฟความเร็วสูงช่วงที่ 1 ระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง (เมืองท่าวินห์ - Vinh) จังหวัดเหงะอาน (Nghe An) รวมความยาว 280 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 ระหว่างเมืองญาจาง (เมืองท่าญาตรัง - Nha Trang) กับนครโฮจิมินห์ (นครไซ่ง่อน) ความยาว 400 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวที่สุด
ช่วงที่ 3 ความยาว 100 กิโลเมตรระหว่างนครโฮจิมินห์-เมืองหวุงเต่า (เมืองท่าวุงเต่า - Vung Tao) ในภาคใต้ และ
อีกสายหนึ่ง 100 กิโลเมตรระหว่างกรุงฮานอยกับนครหายฟ่อง (เมืองท่าฮายฟอง - Hai Phong)
ในปี 2559 บริษัทรถไฟเวียดนามจะเริ่มศึกษาวิจัยรถไฟความเร็วสูงเส้นทางอื่นๆ คือ
ช่วงเมืองวิง-เมืองญาจาง (เชื่อมเหนือใต้ เพื่อทำขบวนรถด่วนรวมชาติเวอร์ชันใหม่)
นครโฮจิมินห์ถึงนครเกิ่นเธอ (เมืองคันโธชานนครไซ่ง่อน Can Tho) และ
สายเหนือกรุงฮานอย-เมืองลางเซิน (เมืองชายแดนลานเซง Lang Son)
เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเหล่านี้จะใช้รางกว้างเกจมาตรฐาน 1.435 เมตร เพื่อให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็ว 160-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะต้องเป็นรถไฟรุ่นใหม่และใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ทันสมัย
ในปัจจุบันระบบรถไฟในเวียดนามใช้รางขนาดเป็นเกจมาตรฐาน 1 เมตร ขบวนรถไม่สามารถทำความเร็วได้ การเดินทางระหว่างกรุงฮานอย-นครโฮจิมินห์ระยะทาง 1,650 กิโลเมตรต้องใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง ระบบรถไฟความเร็วสูงนี้เมื่อพัฒนาแล้วเสร็จจะร่นเวลาการเดินทางลงเหลือเพียง 8-10 ชั่วโมง. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 20/08/2006 10:25 am Post subject: |
|
|
เวียดนามสร้างอุโมงค์รถไฟ $200 ล้านลอดภูเขา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2549 16:21 น.
รถไฟขบวนเหนือ-ใต้ จอดที่สถานีลางเกอ (Lang Co) เตรียมไต่ไปตามเส้นทางขึ้นเขาตรงช่องเขาไฮวัน ระยะทางเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง เวียดนามเพิ่งเปิดใช้อุโมงค์ไฮวันสำหรับรถยนต์เมื่อปีที่แล้ว
วีเอ็นเอ - การรถไฟเวียดนามเตรียมแผนโครงการสร้างอุโมงค์ทางรถไฟ ผ่านช่องแคบฮายวัน (Hai Van) ด้วยมูลค่าการลงทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการคมนาคมและความปลอดภัยของระบบทางรถไฟเส้นทางข้ามประเทศ
อุโมงค์รถไฟดังกล่าว เป็นโครงการก่อสร้างความยาว 10 กม. และมีขนาดกว้างของอุโมงค์พอสำหรับวางรางรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งจะช่วยลดระยะทางและเวลาที่ใช้ในการเดินทางอ้อมภูเขา ได้ถึง 2 ชม.
เนื่องจากเส้นทางรถไฟและรถยนต์ ใน จ.กว๋างนาม (Quang Nam) นับว่าเป็นช่วงระยะการเดินทางที่ยากลำบาก ที่เชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ของประเทศ ซึ่งต้องเดินทางอ้อมผ่านภูเขาฮายวันทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่าง 2 เมืองมรดกโลกในภาคกลาง คือ เมืองเว้ (Hue) จ.เถือะเทียนเหว (Thua Thie Hue) กับเมืองเก่าโฮยอาน (Hoi An) ใน จ.กว๋างนาม
ในปี 2548 ที่ผ่านมา เวียดนามได้เปิดใช้อุโมงค์ฮายวัน สำหรับการคมนาคมทางบก ซึ่งตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1A ห่างจากฮานอยและโฮจิมินห์เกือบ 1,800 กม. โดยการก่อสร้างใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการเปิดใช้อุโมงค์ดังกล่าว ทำให้การเดินทางบนทางหลวงสายเหนือ-ใต้ ช่วงจากนครด่าหนัง ไปยังเมืองหลวงเก่าเหว จากที่เคยใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง เหลือเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 20/10/2006 4:36 pm Post subject: |
|
|
เวียดนามทำรถไฟความเร็วสูง 400 ก.ม.5 แสนล้าน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2549 12:02 น.
สถานีรถไฟเมืองญาจางจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่ใหญ่โตในภาคกลางตอนล่าง เมื่อรถไฟความเร็วสูงสายแรกจากนครโฮจิมินห์ไปถึง เมืองญาจาง (ญาตรัง)
กรุงเทพฯ- บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมกำลังจัดทำร่างแผนการก่อสร้างรถไฟรางคู่กว่า 400 กิโลเมตร ระหว่างนครโฮจิมินห์ไปยังเมืองญาจาง (Nha Trang - ญาตรัง) จ.แค๊งฮว่า (Khanh Hoa - คันห์หัว) เมืองท่องเที่ยวชายทะเลในภาคกลางของประเทศ โดยจะเป็นช่วงแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ที่รัฐบาลเวียดนามมีกำหนดจะดำเนินการตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า
เมื่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา รถไฟรางคู่ความเร็วสูงสายแรกนี้จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างราว 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 490,000 ล้านบาทเศษ โดยจะไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟที่พัฒนาใหม่จากกรุงฮานอยลงสู่ภาคใต้
บริษัท Southern Transport Design Consulting Corporation ที่ได้รับมอบหมายให้ออกแบบก่อสร้างระบบ กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงช่วงแรกจะสามารถความเร็วได้ถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะใช้งบก่อสร้างทั้งระบบราว 6,400 ล้านดอลลาร์ ร่นระยะเวลาเดินทางลงเหลือ 2 ชั่วโมง จากกว่า 6 ชั่วโมงในปัจจุบัน
หลังจากนั้นในเฟสต่อไปจะใช้งบประมาณอีก 6,900 ล้านดอลลาร์ในการก่อสร้างรางคู่ขนาน ซึ่งจะทำให้ระบบรถไฟความเร็วสูงวิ่งสวนทางกันได้ และทำความความเร็วได้ถึง 350 ก.ม.ต่อชั่วโมง ร่นระยะเวลาในการเดินทางลงเหลือเพียง 75 นาทีเท่านั้น
จากการศึกษาความเป็นไปได้ที่ผ่านมา ระบบรางใหม่ซึ่งจะมีขนาดความกว้างเป็นเกจมาตรฐาน 1.435 เมตร จะก่อสร้างขนานไปกับทางรถไฟสายโฮจิมินห์-ฮานอย ในปัจจุบันซึ่งมีรางกว้าง 1 เมตร นอกจากนั้นจะมีการปรับปรุง-ขยายสถานีเมืองญาจาง ส่วนที่ต้นทางก็จะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่ขึ้นในเขตทูเทียม (Thu Thiem) ในเขตอำเภอที่ 2 ของนครโฮจิมินห์
ในปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทรถไฟเวียดนามกับบริษัทก่อสร้างทางรถไฟปักกิ่ง (Beijing Railway Construction Co) ได้ร่วมกันลงนามในความตกลงด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และการก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction) ซึ่งเป็นขั้นแรกในการปฏิบัติโครงการขยายและยกระดับทางรถไฟในเวียดนามในขอบเขตทั่วประเทศ
โครงการตามความตกลง EPC ระหว่างเวียดนามกับจีนที่มีมูลค่า 60.5 ล้านดอลลาร์นี้ จะดำเนินไปตลอด 29 เดือนข้างหน้าครอบคลุมเส้นทางรวมความยาวกว่า 1,100 กิโลเมตรตามแผนพัฒนาระบบรถไฟของเวียดนาม ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวทางการเวียดนาม วีเอ็นเอ
[img]http://pics.manager.co.th/Images/549000015121202.JPEG [/img]
ตู้นำขบวนสีสดใสของรถไฟสายท้องถิ่นในภาคกลาง อีกไม่นานก็จะ "ตกงาน" เนื่องจากระบบใหม่จะเป็นรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด
(คงไม่หรอก อาจขนไปขายกรมระแทเพลิงในกรุงกัมพูชาธิบดีก็ได้)
แผนการก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใยแก้วนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 67.5 ล้านดอลลาร์ ในนั้นจะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 60.97 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลจีน เพื่อใช้ในการก่อสร้างและติดตั้งระบบขนานตลอดแนวเส้นทางรถไฟรวมความยาว 1,150 ก.ม.จากสถานีเมืองวิง (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) ในภาคกลางตอนเหนือไปจนถึงเมืองญาจาง
ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟจากเมืองวิง-สถานีไซง่อน รวมความยาวทั้งสิ้น 1,577 ก.ม. วีเอ็นเอกล่าว
โครงการในเฟสที่ 1 นี้ อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟไปจนถึงปี 2563 โดยได้รับอนุมัติจากอดีตนายกรัฐมนตรี นายฟานวันข่าย การก่อสร้างข่ายเคเบิ้ลใยแก้วจะเริ่มในเดือน พ.ย.ศกนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทรถไฟเวียดนามสามารถติดตั้งระบบสัญญาณควบคุมการเดินรถใหม่ทั่วประเทศได้
ในต้นเดือน ก.ย. รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วยเหลือเวียดนามในการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณการเดินรถ
สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่า บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังพิจารณาโครงการจัดสร้างรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบรางกว้างเกจมาตรฐาน 1.435 เมตรทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องใช้เงินทุนจากแหล่งต่างๆ กว่า 30,000 ล้านดอลลาร์
การก่อสร้างระบบรางใหม่จะเริ่มได้ในปี 2553 โดยจะใช้เวลาทั้งหมด 5 ปี ขณะนี้บริษัทรถไฟเวียดนามกำลังศึกษาการก่อสร้างทางรถไฟความยาวสูงใน 4 ช่วงแรก รวมความยาวเกือบ 900 ก.ม. เพื่อยื่นเสนอต่อรัฐบาล
ช่วงที่ 1 ระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง ความยาว 280 ก.ม. ช่วงที่ 2 ญาจาง-นครโฮจิมินห์ 400 ก.ม. ซึ่งเป็นช่วงยาวที่สุด ช่วงที่ 3 นครโฮจิมินห์-หวุงเต่า (Vung Tao) ในภาคใต้ ความยาว 100 ก.ม.และอีกสายหนึ่งระยะทาง 100 ก.ม.ระหว่างกรุงฮานอยกับนครหายฟ่อง (Hai Phong). |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 21/11/2006 2:30 pm Post subject: |
|
|
'อาเบะ' จุดพลุลงทุนเวียดนาม-ตาวาวรถไฟ 18000 ล้านดอลลาร์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2549 21:42 น.
นายอาเบะ ได้ไปวางหรีดที่อนุสรณ์สถานอดีตประธานโฮจิมินห์
กรุงเทพฯ- นักลงทุนญี่ปุ่นได้ฤกษ์ประกาศขยายการลงทุนในเวียดนามอีกระลอกปีหน้านี้ รวมเป็นมูลค่า 85,000 ล้านเยน หรือประมาณ 721.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์กับอุตสาหกรรมซีเมนต์ อีกทั้งแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟของเวียดนามด้วย
นายฟูจิโอะ มิตะระอิ (Fujio Mitarai) ประธานสหพันธ์ธุรกิจแห่งญี่ปุ่น (Japan Business Federation) หรือ ไคดันเร็น (Keidanren) เป็นผู้ประกาศเรื่องนี้ในวันอาทิตย์ (19 พ.ย.) ที่ผ่านมาในกรุงฮานอย ก่อนหน้าที่ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเริ่มเยือนประเทศนี้อย่างเป็นทางการ
นายมิตะระอิ นำคณะนักธุรกิจ-นักลงทุนญี่ปุ่นจำนวน 130 บริษัท ติดตามคณะของนายอาเบะไปร่วมการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ในเวียดนามที่สิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ และ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) เริ่มเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในวันจันทร์
นักธุรกิจญี่ปุ่นที่ร่วมคณะไปกับไคดันเร็น ได้แสดงความตั้งใจที่จะให้การสนับสนุนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในเวียดนาม รวมทั้งโครงการสวนอุตสาหกรรมไฮเท็คฮว่าลั๊ก (Hoa Lac) ใน จ.ห่าไต (Ha Tay) ใกล้กับกรุงฮานอย และ โครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ความยาวเกือบ 1,650 กิโลเมตร
โครงการดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนราว 17,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 660,000 ล้านบาท
เวียดนามกำลังจะยกระดับทางรถไฟทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนขนาดความกว้างของรางจาก 1 เมตรให้เป็น 1.435 เมตรภายในปี 2558 เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ ซึ่งจะร่นระยะเวลาเดินทางระหว่างกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์ให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมง จากปัจจุบันที่ใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง
นายมิตะระอิ กล่าวว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาแผนการลงทุนในทั้งสองโครงการใหญ่นี้แล้ว และเห็นว่าไม่เพียงจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามเท่านั้น หากแต่ยังเป็นประโยชน์ต่อญี่ปุ่นเองด้วย
อย่างไรก็ตามนักลงทุนญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้รัฐบาลเวียดนามพิจารณาลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมืออิเลกทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ รวมทั้งปรับปรุงการคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาด้วย
ในวันเดียวกันนายมิตะระอิ ซึ่งเป็นประธานของบริษัท Canon Inc ผู้ผลิตพรินเตอร์รายใหญ่ของโลก ได้นำคณะไปเยี่ยมชมสวนอุตสาหกรรมฮว่าลักอีกด้วย ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม
ส่วนอีกทางหนึ่ง ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.) นี้ นายอาเบะได้ลั่นวาจาที่จะให้การสนับสนุนเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและต่อสู้กับความยากจน และจะขยายความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศต่อไป
"ผมจะขอให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและความพยายามหลุดผ่อนความยากจนของเวียดนาม.. ผมหวังที่จะให้สองประเทศนี้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างการต่อไป" สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่นักธุรกิจจากญี่ปุ่นคณะใหญ่ที่สุดออกเดินทางเยือนต่างแดนพร้อมกับนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง สำหรับนายอาเบะเพิ่งจะเข้ารับตำแหน่งในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา
"เราจะจัดการเจรจราเกี่ยวกับการทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับเวียดนามให้เร็วที่สุด โดยร่วมกับภาคเอกชนสองประเทศอย่างใกล้ชิด" นายอาเบะกล่าว
นายอาเบะได้เคยพบหารือกับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ที่ไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในกลางเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา สองผู้นำได้เห็นพ้องที่จะเริ่มการเจรจาทำสัญญาการค้าเสรีสองฝ่าย ในปีหน้า และ หวังที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าขายขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2553
นายชินโซ อาเบะ (กลาง) พร้อมด้วยภริยาและคณะนักธุรกิจ นักลงทุนจากญี่ปุ่นไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัทแคนน่อน ที่สวนอุตสาหกรรมทางลอง (Thang Long) ในกรุงฮานอย เมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.)
นายอาเบะเดินทางถึงกรุงฮานอยเมื่อวันศุกร์ (17 พ.ย.) และ ได้พบหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีเวียดนามอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอาทิตย์ หลังการประชุมสุดยอดกลุ่มเอเปก สองผู้นำได้หารือทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ โดยได้เห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์ในระดับสูง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกปี ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทูต ความมั่นคงปลอดภัยและความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
สองผู้นำยังได้หารือผลการปฏิบัติข้อตกลงความริเริ่มร่วมเวียดนาม-ญี่ปุ่น (Joint Japan-Vietnam Initiatives) เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในเวียดนาม และ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือ (Joint Cooperation Committee) ที่มีรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
การลงทุนจากญี่ปุ่น รวมทั้งแผนการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมฮว่าลัก กับโครงการพัฒนายกระดับทางรถไฟในเวียดนาม ได้เป็นประเด็นที่ผู้นำทั้งสองประเทศหยิบยกขึ้นมาหารือด้วย
นายเติ๋นยวุ๋งกล่าวว่า การเยือนของนายอาเบะนับเป็นหลักหมายสำคัญในความสัมพันธ์ระยะใหม่ระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นระยะที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (stage of strategic partnership) ทั้งนี้เป็นรายงานของสื่อทางการเวียดนาม
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามรายใหญ่ที่สุดในช่วงกลายปีมานี้ ภายใต้แผนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance) หรือ โอดีเอ
นายอาเบะได้ยืนยันต่อผู้นำเวียดนามเกี่ยวกับนโยบายที่คงเส้นคงวาในการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์สองฝ่ายเพื่อช่วยให้เวียดนามประสบความสำเร็จในเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นประเทศอุตสาหกรรม
นายอาเบะได้ไปวางหรีดที่อนุสรณ์สถานอดีตประธานโฮจิมินห์ และเข้าเยี่ยมคำนับประธานาธิบดีเวียดนาม นายเหวียนมิงเจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) กับนายนงดึ๊กแหม่ง (Nong Duc Manh) เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ในเช้าวันจันทร์ และ ไปเยี่ยมชมกิจการของบริษัทแคนน่อน ที่สวนอุตสาหกรรมทางลอง (Thang Long) กรุงฮานอยในตอนบ่ายวันเดียวกัน. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 07/12/2006 9:40 pm Post subject: |
|
|
ญี่ปุ่นช่วยเวียดนามกินรวบไฮสปีดเทรน $33 พันล้าน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 ธันวาคม 2549 10:52 น.
เวียดนามมองไปที่ระบบรถไฟหัวจรวดชินกันเซน ในญี่ปุ่นมากกว่าระบบของค่ายยุโรป และ รัฐบาลของนายชินโซ อาเบะ ยินดีจะให้ความช่วยเหลือผ่าน ODA
ผู้จัดการรายวัน- ผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมีกำหนดจะเดินทางเข้าเวียดนามในต้นปี 2550 เพื่อร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการรถไฟของประเทศนี้ ลงสำรวจพื้นที่ในขั้นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพพื้นที่และแนวของเส้นทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ ที่มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 522 ล้านล้านด่ง (Dong) เงินเวียดนามหรือประมาณ 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งใน 3 โครงการใหญ่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงจะให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามในรูปแบบความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance)
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในนายชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) ได้หารือกับ นายกรัฐมนตรีเวียดนามนายเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ระหว่างการไปร่วมประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ในกรุงฮานอยเมื่อเดือนที่แล้ว สองฝ่ายได้เคยหารือเรื่องนี้ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามไปเยือนญี่ปุ่นอีกด้วย
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรวมทั้งธุรกิจภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจเอเปกได้แถลงเรื่องนี้ โดยแสดงความสนใจอย่างจริงจังในโครงการทางรถไฟความเร็วสูง กับโครงการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงฮว่าลัก (Hoa Lac) ของเวียดนาม
บริษัทรถไฟเวียดนาม (Vietnam Railway Corporation) ได้เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตี ให้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อกำกับดูแลโครงการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงนี้ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงขนส่ง กระทรวงวางแผนและการลงทุน กระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศ
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือน พ.ย. VRC ได้ส่งรายงานทั่วไปเกี่ยวกับข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของประเทศเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งในนั้นมีการจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการ สำหรับทางรถไฟสายหลักระหว่างนครโฮจิมินห์กับกรุงฮานอย ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของนายเหวียนหือว์บ่าง (Nguyen Huu Bang) ผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัทรถไฟแห่งชาติ
นายบ่างกล่าวว่า ได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณา 3 แนวทางในการพัฒนาระบบรถไฟของประเทศ
แนวทางแรกคือ พัฒนายกระดับรถไฟสายเหนือใต้ (Thong Nhat) ที่ได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้อีกตั้งแต่ปี 2519 หรือ 1 ปี หลังสงครามสิ้นสุดและมีการรวมประเทศเข้าด้วยกัน ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ไม่สามารถสนองความต้องการด้านการคมนาคมขนส่งภายในประเทศได้
แนวทางนี้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด แต่ก็จะไม่สามารถทำได้ถึงมาตรฐานที่จะทำให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นสำนักข่าวภาษาเวียดนามของทางการ
แนวทางที่ 2 VRC เสนอให้มีการพัฒนาทางรถไฟสายเดิมนี้ และ ทำการก่อสร้างสายใหม่ให้เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงไปพร้อมๆ กัน แต่แนวทางนี้ก็จะพบกับอุปสรรคและปัญหาในหลายด้าน
เมื่อเลือกใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่น หน้าตารถไฟความเร็วสูงของเวียดนามก็อาจจะออกมาเป็นแบบนี้
แนวทางที่ 3 ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ก่อสร้างระบบรถไปสายโฮจิมินห์-ฮานอย ใหม่ทั้งหมด โดยแยกอย่างเด็ดขาดออกจากทางรถไฟถ่งเญิต เมื่อทางรถไฟสายใหม่เปิดใช้การ ทางรถไฟเหนือ-ใต้ ในปัจจุบันก็จะใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าระหว่างเมืองและภูมิภาค มีนักลงทุนจากเกาหลี ญี่ปุ่นและไต้หวัน ให้ความสนใจในแนวทางที่ 3 นี้
ทางรถไฟสายใหม่จะมีความยาวทั้งสิ้น 1,630 กิโลเมตร สั้นกว่าทางรถไฟสายเดิม 100 กม. และ ประมาณว่าจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดราว 33,000 ดอลลาร์สหรัฐ นายบ่างกล่าว
ตามแผนการที่นำเสนอต่อรัฐบาลนั้น จะมีการก่อสร้างทางรถไฟ 2 ช่วงแรกระหว่างนครโฮจิมินห์กับเมืองญาจาง (Nha Trang) ใน จ.แค้งฮว่า (Khanh Hoa) ในภาคใต้ กับช่วงกรุงฮานอย-เมืองวิง (Vinh) จ.เหงะอาน (Nghe An) ในภาคเหนือ จากนั้นจึงมีการก่อสร้างช่วงกลางของระบบ ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวที่สุด
ระบบรถไฟความเร็วสูงของเวียดนามจะทำให้รถไฟสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 300-350 กม. ต่อชั่วโมง
ในปัจจุบันการเดินทางโดยรถไฟถ่งเญิต จากนครโฮจิมินห์ไปยังกรุงฮานอย จะใช้เวลา 30-40 ชั่วโมง แต่รถไฟความเร็วสูงจะช่วยร่นเวลาเดินทางให้เหลือเพียง 10 ชั่วโมงเท่นั้น
ตามรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม ในช่วงปี 2548-2553 บริษัทรถไฟฯ กำลังดำเนินแผนงานพัฒนาด้วยตัวเอง เพื่อยกระดับการให้บริการซึ่งรวมทั้งการจัดสร้างตู้โดยสารใหม่ จัดตั้งโรงซ่อมหัวรถจักรเพิ่มเติม ขยายตลาด และขยายการให้บริการ รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนของรถไฟที่ได้มาตรฐานโลก
บริษัทรถไฟเวียดนามยังมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2553 จะสามารถส่งออกชิ้นส่วนต่างๆ ของรถไฟ ตลอดจนตู้รถไฟไปจำหน่ายให้แก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ได้
หนึ่งในโครงการเร่งด่วนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ได้แก่ การพัฒนายกระดับทางรถไฟสายฮานอย-หล่าวกาย (Hanoi- Lao Cai) ให้ได้มาตรฐาน เพื่อเชื่อมกับระบบรถไฟของจีนในอนาคต การพัฒนายกระดับนี้ได้รับความช่วยเหลือด้านทุนและอุปกรณ์จากรัฐบาลจีน
บริษัทรถไฟฯ ยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบสัญญาณรถไฟระหว่างกรุงฮานอย-เมืองวิง นครโฮจิมินห์-ญาจาง ฮานอย-หายฟ่อง (Hanoi- Haiphong) และ ฮานอย-หล่าวกาย ให้เป็นระบบสัญญาณสองทิศทาง
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือการพัฒนาระบบสัญญาณรถไฟของเวียดนาม ขณะที่รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ ได้สัญญาจะช่วยเหลือในด้านวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อนำเข้าใช้ในระบบสัญญาณใหม่ ตลอดระยะทาง 2,400 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่เวียดนามกล่าวก่อนหน้านี้ว่า เวียดนามสนใจเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนามาช้านาน จนได้รับการยอมรับในเรื่องความปลอดภัย และความรวดเร็วในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นระบบที่มีมูลค่าการก่อสร้างต่ำกว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของค่ายยุโรป
ความสนใจจากฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาหลังจากการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายเติ่นยวุ๋ง และ ผู้นำญี่ปุ่นได้ประกาศความสนใจในการลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงของเวียดนาม ในช่วงที่นายอาเบไปเยือน.
// ----------------------------------------------------------------------------
งานนี้สหายแกวคงได้รถไฟด่วนสำหรับ รถไฟด่วนรวมชาติ (ฮานอย - ไซ่ง่อน) เพื่อเอาใจบรรดา ประชาชนชาวญวน ตั้ง 80 ล้าน คน และ ด่วนมิตรภาพ (ปักกิ่ง - ฮานอย) ก็คราวนี้เอง แต่ กว่าจะขยายเขตทางรถไฟเพื่อรองรับกะ รถไฟความเร็วสูงพรรค์นี้ ก็สนุกหละครับ .... |
|
Back to top |
|
|
|