View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Dahlia
1st Class Pass (Air)
Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
|
Posted: 15/02/2008 12:22 am Post subject: |
|
|
black_express wrote: | ท่านนายกสมัครน่ะ พูดง่าย แต่ทำยากชะมัดเลย เพราะลืมนึกถึงสะพานทั้งหมดบนเส้นทางด้วย |
พี่ตึ๋งครับ
ผมอ่านกระทู้ในพันทิป เรื่องเปลี่ยนรางนี่.. อ่านแล้ว ด้วยความเคารพครับ
พูดง่ายแต่ทำยากมาก ถ้าจะเปลี่ยนจริงๆ เหมือนเริ่มต้นทุกอย่างใหม่หมดเลย
เพราะไม่ใช่เปลี่ยนแค่ราง แคร่ล้อ รถจักร
ที่สำคัญ เปลี่ยนแล้วความเร็วจะเพิ่มขึ้นจริงเหรอ?
ปรับปรุง บางทีก็ดีกว่า เปลี่ยนแปลง นะครับ
อยากรอดู ว่าจะเป็นรูปธรรมได้ในกี่ปี |
|
Back to top |
|
|
therock
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/09/2007 Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย
|
Posted: 15/02/2008 12:47 am Post subject: |
|
|
^
ท่านขุนกัดได้ดีมากเลย
++คนดูจะล้านแล้วครับ ช่วยกันกด F5 หน่อย
^
^กดให้ตาย ก็ไม่ขึ้น เพราะไม่ใช่ Pageview
เกิดจะมีจิตสำนึกกันอะไรตอนนี่ก็ไม่อาจทราบได้ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 06/03/2008 5:59 pm Post subject: |
|
|
จี้รัฐเร่งพัฒนาข้าวหอมมะลิส่งออก ชูร้อยเอ็ดศูนย์กลางแปรรูปส่งออก
โดย ผู้จัดการรายวัน 6 มีนาคม 2551 16:58 น.
สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด
ศูนย์ข่าวขอนแก่น-ประธานหอการค้าร้อยเอ็ด วอนรัฐบาล สมัคร หนุนยุทธศาสตร์ผลิต/แปรรูปข้าวหอมมะลิคุณภาพเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ หลังราคาข้าวเปลือกหอมมะลิพุ่งถึงตันละ 13,000 บาท ชูแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก ขอรัฐทุ่มงบสร้างทางรถไฟบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร หวังเป็นเส้นทางลัดส่งออกตลาดโลกที่เวียดนาม มั่นใจเกิดกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดอีสานตอนกลางให้รุดหน้า
นายสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผย ผู้จัดการรายวัน ถึงสถานการณ์การค้าข้าวหอมมะลิปี 2551 ว่า การค้าข้าวหอมมะลิในจังหวัดร้อยเอ็ดปีนี้ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ล่าสุดราคาข้าวเปลือกหอมมะลิปรับขึ้นถึงตันละ 13,000 บาท ถือเป็นราคาสูงที่สุดของการค้าข้าวหอมมะลิ
ถือเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดร้อยเอ็ดและหลายจังหวัด ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ เนื่องจาก เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มีสัดส่วนการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิมากกว่า 80%
ปี 50 ที่ผ่านมา สถานการณ์การค้าของไทยในตลาดโลกดีมาก ตลาดโลกต้องการสูง ทำให้ไทยสามารถส่งออกข้าวเปลือกทุกชนิดรวมกันมากกว่า 9.55 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออกข้าวสูงถึง 134,000 ล้านบาท จากเดิมที่เคยส่งออกมากที่สุดไม่เกิน 8 ล้านตัน ส่งผลดีต่อกลไกราคารับซื้อข้าวหอมมะลิล่าสุดปรับขึ้นไปถึง 13,000 บาท/ตัน สูงกว่าราคาประกันข้าวเปลือกของรัฐที่ตั้งไว้ 9,300 บาท/ตัน
อย่างไรก็ตาม ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ไม่ได้รับประโยชน์จากการเพาะปลูกมากนัก เนื่องจาก มีข้อจำกัดด้านการจัดเก็บข้าว ทำให้ต้องเร่งขายผลผลิตให้แก่พ่อค้าคนกลาง มากกว่า 50% ข้าวเปลือกหอมมะลิขายให้แก่พ่อค้า นำไปแปรรูปในพื้นที่เขตภาคกลาง สต๊อกรอการส่งออก หรือบรรจุภัณฑ์เป็นข้าวถุง ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับพ่อค้าคนกลาง
การนำข้าวเปลือกหอมมะลิจากแหล่งผลิตทุ่งกุลาร้องไห้ ไปแปรรูปพื้นที่อื่น ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องตามมา เปิดโอกาสให้เกิดการปลอมปนข้าวหอมชนิดอื่น ที่ราคาต่ำกว่าข้าวหอมมะลิจากแหล่งผลิตทุ่งกุลาร้องไห้ เช่น ข้าวหอมปทุมธานี เพื่อหวังผลกำไรส่วนต่างด้านราคา จนกระทบต่อภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในตลาดโลกเสียหาย
ปัญหาดังกล่าวรัฐบาล ควรให้ความสำคัญเข้ามาแก้ปัญหาและพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างจริงจัง จังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งตั้งอยู่จุดกลางของภาคอีสาน ควรพัฒนาให้เป็นแหล่งผลิตและส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพในตลาดโลกโดยตรง ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ย่อมเกิดกับคนในพื้นที่เต็มที่และสร้างเศรษฐกิจจังหวัดร้อยเอ็ดทัดเทียมจังหวัดอื่นๆนายสถาพรกล่าวและว่า
ปีนี้เกษตรกรชาวนาหน้าชื่น เพราะราคาข้าวเปลือกหอมมะลิพุ่งสูงถึงตันละ 13,000 บาท
แนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะต้องเกิดการลงทุนแปรรูปข้าวหอมมะลิ ณ แหล่งผลิต ซึ่งรัฐควรมีมาตรการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ควรจะมีการลงทุนสร้างไซโลเก็บข้าวขนาดใหญ่ และโรงสีที่ทันสมัยแปรรูป ตั้งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเก็บผลผลิตข้าวเปลือกและแปรรูปข้าว ณ แหล่งผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง
ขณะเดียวกันควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ลงทุนพัฒนาด้านลอจิสติกส์เชื่อมเส้นทางรถไฟสายใหม่จากอ.บัวใหญ่ นครราชสีมา-มาที่จ.มหาสารคาม-จ.ร้อยเอ็ด-และจ.มุกดาหาร ระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร
สำหรับประโยชน์จากเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว นอกจากการคมนาคมขนส่งของประชาชนในแถบอีสานตอนกลางแล้ว เส้นทางรถไฟดังกล่าว จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสูงมาก ในการขนส่งสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิจากแหล่งผลิตทุ่งกุลาร้องไห้ไปสู่ตลาดโลก จากจังหวัดร้อยเอ็ดไปสู่ท่าเรือด่าหนัง ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกขนถ่ายสินค้าสู่ตลาดโลกที่สำคัญอีกแห่ง
แม้ว่าระยะทางการขนส่งผลผลิตเกษตรไปสู่ท่าเรือด่าหนัง ประเทศเวียดนาม จะมีระยะทางไม่ต่างจากท่าเรือแหลมฉบังของไทยนัก แต่จุดขนถ่ายสินค้า ณ ท่าเรือด่าหนัง ไปสู่กลุ่มประเทศเป้าหมายที่นำเข้าข้าวหอมมะลิ ทั้งสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีระยะทางขนส่งทางเรือที่ใกล้กว่าฝั่งอ่าวไทยมาก
นอกจากนี้ ภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่ออำนวยความสะดวก ในด้านเอกสารส่งออกสินค้าเกษตร อนุมัติได้โดยตรงที่จังหวัดร้อยเอ็ด เสริมศักยภาพในด้านการส่งออก
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นแหล่งผลิต และส่งออกข้าวหอมมะลิคุณภาพสู่ตลาดโลก จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในแง่นโยบาย การจัดสรรงบประมาณเข้ามาพัฒนา กลไกขับเคลื่อนของหน่วยงานในพื้นที่ ฯลฯ ต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้นำประเทศและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนอย่างจริงจัง จึงจะเกิดผลเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ถือเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ในเขตจังหวัดอีสานตอนกลางมาก หากภาครัฐมีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าว เชื่อมั่นว่าจะเป็นกุญแจสำคัญ ในการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดร้อยเอ็ดและหลายจังหวัดอีสานตอนกลางดีขึ้น
สำหรับจังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มากที่สุดถึงร้อยละ 46 หรือประมาณ 9 แสนไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดของทุ่งกุลาร้องไห้ 2.1 ล้านไร่ เป็นจังหวัดหลักที่ปลูกข้าวหอมมะลิส่งออกตลาดต่างประเทศ แต่ละปีมีผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิโดยเฉลี่ยประมาณ 6 แสนตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับระดับราคาผลผลิตในปีนั้น
// ---------------------------------------------------------------
งานนี้เปิดศึกแย่งชิงเส้นทาง ไป ออกปากทางนครพนมระหว่า ขอนแก่น - กาฬสินธุ์ - มุกดาหาร - นครพนม กะ บัวใหญ่ - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 12/03/2008 10:32 am Post subject: |
|
|
ศึกแย่งชิงเส้นทางภาคอีสานไม่มีทีท่าว่าจะยุติ โดยดูข่าวจากนี้เปนพยาน
// ----------------------------------------------------------------------------------------
อสังหาฯขอนแก่น-โคราชส่อแววบูม + จี้รัฐดันเมกะโปรเจ็กต์หนุนเผยตลาดกลุ่มชาวต่างชาติกำลังมาแรง
ฐานเศรษฐกิจ 9-12 มีนาคม 2551
ธอส.-ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์โคราช-ขอนแก่นฟันธง ปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมร้องรัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ ชี้ควรปัดฝุ่นโครงการไฮสปีดเทรนทำให้เป็นรูปธรรมเสียที เผยตลาดกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติแนวโน้มสดใส
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด คือ นครราชสีมาและขอนแก่นมีแนวโน้มสดใส เนื่องจากนครราชสีมาและขอนแก่นเป็นจังหวัดทางผ่านของภาคอีสานที่จะเชื่อมต่อไปยังแนวทางตะวันออก-ตะวันตก ที่จะเข้าไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ เพียงแต่ว่าจะต้องมีสาธารณูปโภครองรับมากกว่านี้ เช่น ถนนไฮเวย์ หรือไฮสปีดเทรน โครงการรถไฟความเร็วสูงที่คิดว่าน่าจะนำขึ้นมาปัดฝุ่นทำให้เป็นรูปธรรม หากมีการขนส่งเกิดขึ้น ก็จะทำให้เศรษฐกิจดี หากทำโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่เป็นเรื่องการขนส่งจะช่วยได้มาก แต่หากไม่เกิดก็จะเป็นไปแบบช้าๆ ไปได้เรื่อย ๆ
ตลอดปี 2551 คาดว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะดีกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อยอย่างมากไม่เกิน 5% เนื่องจากเมื่อดูตัวเลขการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมและโรงแรม พบว่า มีการขอใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก จึงคาดการณ์ว่าน่าจะมีแรงงานเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการสามารถรองรับได้ เพียงแต่แรงงานส่วนนี้ไม่ได้เข้ามาซื้อบ้าน แต่จะเข้ามาเช่า ดังนั้นตลาดเช่ายังดีอยู่ แต่ตลาดซื้อขาย อาจจะช้าบ้าง สำหรับปัจจัยลบที่จะส่งผลต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือ ราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยบวก คือ ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง รวมถึงต่างชาติให้ความสนใจมาซื้อบ้านในแถบอีสานมากขึ้น
ด้านนายกฤช หิรัญกิจ ประธานชมรมธุรกิจบ้านจัดสรรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมาว่า ขณะนี้ต้องดูที่ความมั่นคงและทิศทางของรัฐบาลชุดใหม่ โดยรวมคาดว่า น่าจะดีขึ้น และคิดว่ารัฐบาลน่าจะส่งเสริมภาคเอกชน ฟังจากนโยบายรัฐบาลที่จะมีโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ทั้งรถไฟรางคู่ ที่จะเข้ามา น่าจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ กระเตื้องขึ้นมาได้
สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายบ้านของผู้ประกอบการชะลอตัวลงมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเมือง ไม่นิ่งไม่มีเสถียรภาพ ยังไม่มีรัฐบาลและเพิ่งจะเริ่มมีรัฐบาลใหม่ กว่ารัฐบาลจะทำงานเข้าที่ ต้องให้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นในปีนี้คาดว่า ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา ในช่วงไตรมาส 3 น่าจะดีขึ้นมาบ้าง โครงการที่ขายได้ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นกลุ่มใหม่ที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ
"ชาวต่างชาติที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่จะมาแต่งงานกับคนไทย หรือสาวชาวโคราช และมาซื้อบ้านอยู่ที่โคราช เขาอยากจะมาอยู่ที่เมืองไทย เนื่องจากค่าครองชีพต่ำ ทางชมรม มีนโยบายที่จะทำตลาดเชิงรุกเข้าไปยังกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า โครงการบ้านจัดสรรที่ขายได้กว่า 10% เป็นลูกค้าชาวต่างชาติและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ " นายกฤช กล่าวและว่า
ธุรกิจบ้านจัดสรรในโคราชปีนี้ ยังเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่ขยายโครงการเพิ่มไป ส่วนผู้ประกอบการรายเล็กที่เข้ามาลงทุนใหม่ อาจจะมีเป็นส่วนน้อย เพราะตอนนี้โครงการสร้างเสร็จและรอขายยังมีเหลืออยู่อีกมาก ขณะนี้มีโครงการทั้งที่จัดสรรและไม่จัดสรร มากกว่า 80 โครงการ จำนวนกว่า 2,000 ยูนิต ด้านการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา ยังมีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างใหม่ขึ้นมาก
"อยากเสนอแนะให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์เข้ามาในโคราชให้มาก เพื่อช่วยเหลือเอกชน"
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานชมรมธุรกิจบ้านจัดสรรจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่เป็นหอพักและบ้านจัดสรร ในปีนี้มีแนวโน้มสดใส หลายโครงการปิดการขายไปแล้วและทยอยเปิด โครงการใหม่ขึ้นมาเพิ่มอีกหลายยูนิต หากการเมืองนิ่งและมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนคาดว่าจะส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ดีขึ้นด้วย
"สิ่งที่อยากฝากรัฐบาล คือ ต้องแก้ไปทีละเปราะ เริ่มจากการทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ มีความน่าเชื่อถือจากประชาชนในประเทศและต่างประเทศ จากนั้นจึงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมออกมา จากนั้นค่อยซอยย่อยเป็นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ถ้าเศรษฐกิจดี ธุรกิจที่เหลือก็จะดีตามกันไปเอง" นายชาญณรงค์ กล่าว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2008 8:10 pm Post subject: |
|
|
หออีสานชงเมกะโปรเจ็กต์บูมศก. + จี้ทบทวนโครงการผันน้ำโขงแก้อีสานแล้ง-ขอรถไฟรางคู่ถึงหนองคาย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2307 23 มี.ค. - 26 มี.ค. 2551
หอการค้าภาคอีสานชงเมกะโปรเจ็กต์บูมศก.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสนอให้ทบทวนโครงการผันน้ำโขงแก้อีสานแล้ง ยกเครื่องระบบโลจิสติกส์ ทำรถไฟรางคู่ถึงหนองคาย แถมด้วยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช พัฒนาถนนเลียบแม่น้ำโขงเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และทำถนน 4 เลนเส้นทางสำคัญๆ
นายสมชัย ไกรครุฑรี ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์และเป็นการแก้ปัญหาให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปัญหาด้านระบบโลจิสติกส์ ซึ่งในที่ประชุมเห็นว่า จะต้องมีการผลักดันการขนส่งระบบรางให้เกิดขึ้นในภาคตะวันออกฉียงเหนือให้ได้ โดยเฉพาะระบบรางคู่จากกรุงเทพฯมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีต้นทุนการขนส่งต่ำและการขนส่งได้ครั้งละมากๆ เช่น โครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อจากนครราชสีมา ผ่านอีสานตอนกลาง ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ไปสิ้นสุดที่จังหวัดมุกดาหาร โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
นอกจากนี้ก็ยังให้มีการทบทวนโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง 5 เส้นทาง โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเลย ไปยังจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน และอีกโครงการหนึ่ง คือ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางการท่องเที่ยวที่จังหวัดชัยภูมิ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของภาคอีสาน ต่อไปนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกสามารถหาข้อมูลการท่องเที่ยวของภาคอีสานได้ทางเว็บไซต์
โครงการที่หอการค้าจังหวัดต่างๆนำเสนอต่อที่ประชุมของ คณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางคณะกรรมการ ได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการผลักดันไปยังรัฐบาลผ่านทางหอการค้าไทย คือ โครงการแรก คือ ปัญหาของทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู เสนอให้มีการทบทวนโครงการผันน้ำจากแม่น้ำโขง เริ่มที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มาลงที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผลการศึกษาของกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน และมูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต ที่ได้ทำการศึกษารายละเอียดต่างๆของโครงการเอาไว้ โดยเมื่อผันน้ำจากจังหวัดเลยมาลงที่เขื่อนอุบลรัตน์ ที่จังหวัดขอนแก่นแล้วนั้น ก็จะให้กระจายส่งไปตามคลองส่งน้ำต่าง 5 เส้นทาง ระยะทาง 1,540 กิโลเมตร จะสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของภาคอีสานได้ไม่น้อยกว่า 45 ล้านไร่
อีกโครงการหนึ่งที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมาก คือ โครงการระบบโล
จิสติกส์ ทางคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโครงการที่จะพยายามผลักดันให้มีการสร้างระบบการขนส่งระบบราง เพราะการขนส่งระบบรางนั้น มีต้นทุนถูกและต่ำและการขนส่งแต่ละครั้งนั้นสามารถทำได้ครั้งละมากๆ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนั้นทางคณะกรรมการ อยากให้มีการขนส่งระบบรางจากกรุงเทพฯไปจนถึงจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะระบบรางคู่ ซึ่งก็เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะจัดให้มีการส่งเสริมการก่อสร้างรถไฟรางคู่
นอกจากนี้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ยังมีความเห็นต่อไปอีกว่า น่าจะมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่เชื่อมโยงจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน คือ จากจังหวัดนครราชสีมา ผ่านภาคอีสานตอนกลาง ไปยังจังหวัดมหาสารคาม- ร้อยเอ็ด และไปสิ้นสุดที่มุกดาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการขนส่ง การเดินทางในระบบรางมากขึ้น และยังที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คือ ทางภาคกลางสปป.ลาวที่จังหวัดหนองคาย ภาคใต้ที่จังหวัดมุกดาหาร แล้วเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนาม
ทางจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้เสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งหากโครงการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ จะได้ประโยชน์หลายทาง คือ การเดินทาง การท่องเที่ยวของภาคอีสาน และเชื่อมโยงไปยังจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์
ทางด้านจังหวัดหนองคายเอง ก็ได้นำเสนอโครงการการก่อสร้างปรับปรุงเส้นทางเรียบแม่น้ำโขงจากจังหวัดหนองคาย ผ่านอำเภอท่าบ่อ สังคม เชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สามารถปรับเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวได้ เพราะมีสภาพภูมิทัศน์ที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของภาคอีสานตอนบน นอกจากนี้ก็จะเสนอให้รัฐบาลได้เข้ามาทำการปรับปรุงขยายเส้นทางที่สำคัญๆ คือ ทำเส้นทาง 4 เลน จากจังหวัดชัยภูมิ- หนองบัวลำภู-หนองคาย และในอีกหลายเส้นทางที่เชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งที่จังหวัดหนองคาย มุกดาหาร และ ในอนาคตที่จังหวัดนครพนม ไปยังแขวงคำม่วน ไปยังเมืองวิงห์และเมืองแงห์อาน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 23/03/2008 8:13 pm Post subject: |
|
|
ระนองศูนย์กลางขนส่งอันดามัน + บิ๊กสอท.ชี้ทำเลที่ตั้งเหมาะสมแต่ต้องผลักดันอย่างเป็นระบบ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2307 23 มี.ค. - 26 มี.ค. 2551
สอท.ชำแหละยุทธศาสตร์การก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามันของ จ.ระนอง จี้ต้องเร่งเชื่อมโยงเครือข่ายเส้นทางการขนส่ง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก่อนเชื่อมสู่เครือข่ายท่าเรือในภูมิภาค ยันมีศักยภาพจากทำเลที่ตั้งที่เป็นประตูสู่อันดามันและมหาสมุทรอินเดีย
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการ สายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ระหว่างการเดินทางมาร่วมงานดินเนอร์ทอล์กครบรอบ 10 ปี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนองว่า ระนองมีทำเลที่ตั้งเป็นประตูสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างทะเลตะวันตก(อันดามัน)กับทะเลฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) เพราะมีระยะถึงกันสั้นที่สุด จึงเหมาะแก่การขนถ่ายสินค้าระหว่างสองฝั่ง และขนถ่ายไปยังประเทศริมฝั่งทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นระนองจึงมีความเป็นไปได้ในการเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน
จากการที่สายการเดินเรือของโลกจะผ่านประเทศไทยทางด้านทะเลอันดามัน เป็นเหตุให้ประเทศในภูมิภาคนี้ก่อสร้างท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อรองรับเส้นทางเศรษฐกิจทางทะเล ท่าเรือสิงคโปร์กลายเป็นท่าเรือสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ท่าเรือปีนังและท่าเรือคลัง (Klang Port) ของประเทศมาเลเซีย ก่อสร้างในปี ค.ศ.1996-1997 และขยายตัวอย่างรวดเร็วในโครงการ Malaysia 2010 ( Super Highway Corridor Project) แม้แต่ท่าเรืออินโดนีเซียในช่องแคบมะละกาก็ยังพัฒนาเพื่อกลายเป็นท่าเรือระดับโลกในอนาคตอันใกล้ ในขณะที่ท่าเรือสำคัญของไทยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านอ่าวไทยทั้งสิ้น ประกอบด้วยท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือสงขลา
นายธนิต กล่าวต่อว่า ประเทศไทยจึงเริ่มหาแนวพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกหลักในฝั่งทะเลอันดามัน (Main Western Sea Port) เพื่อเป็นประตูการค้า การลงทุน-อุตสาหกรรมด้านตะวันตก ได้แก่ ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงการรองรับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด( Southern Sea Board) ในอนาคต รับโครงการแลนด์บริดจ์(Land Bridge) และระบบการขนส่งต่อเนื่อง (Intermodal Shift) จึงได้มีการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือในเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกขึ้น 4 ท่าเรือในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1.ท่าเรือภูเก็ต (เปิดทำการปี 1899) เป็นท่าเรือประมงเดิม แต่มุ่งเน้นทางด้านเรือท่องเที่ยวมากกว่า มีการขนส่งสินค้าเทกองเป็นหลัก
2. ท่าเรือระนอง (เปิดทำการปี 2003) เป็นท่าเรือประมงเดิมและเริ่มปรับปรุงเป็นท่าเรือสินค้า และกำลังขยายพื้นที่พัฒนาเป็นลานตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งก่อสร้างระบบขนส่งต่อเนื่อง ทางรถไฟเข้าในเขตท่าเรือ โดยประกาศเป็นท่าเรือนานาชาติในระบบท่าเรือโลกในปี 2005
3. ท่าเรือสตูล (เปิดทำการเดือน พ.ค. 51) หน้าท่ากว้าง 300 ม.
4. ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา เป็นท่าเรือเฟอร์รี่เพื่อการท่องเที่ยว
สำหรับในส่วนของท่าเรือระนองตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งใช่ว่าจะไม่มีความเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่การดำเนินงานผลักดันท่าเรือระนองต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญต้องยอมรับถึงจุดอ่อนของท่าเรือระนอง คือ เป็นท่าเรือที่ไม่มีท่าเรือหลังท่า(บริเวณที่พักสินค้า) และฐานอุตสาหกรรมรองรับ รวมถึงปัญหาที่พบในตอนนี้ คือ การจัดทำแผนการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศที่ตนเป็นคณะกรรมการอยู่นั้นไม่มีท่าเรือระนองอยู่ในเส้นทางดังกล่าว
ดังนั้นสิ่งเร่งด่วนที่ท่าเรือระนองต้องเร่งดำเนินการคือการหาจุดเชื่อมโยงเข้าสู่เส้นทางการค้า การขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ได้ หากไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพังก็อาจจะหาท่าเรือใกล้เคียงเพื่อเป็นคู่บัดดี้ อย่างเช่นที่หลายๆ ท่าเรือดำเนินการในตอนนี้ เพื่ออย่างน้อยให้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเดินเรือก่อน อาทิการจับคู่กันระหว่าง
1. ท่าเรือบางสะพาน- ท่าเรือปกเปี้ยน ,
2. ท่าเรือบ้านน้ำพุร้อน - ท่าเรือทวาย ,
3. ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือสงขลา - ปากบารา(สตูล),
4. ท่าเรือสิชล-ท่าเรือท้ายเหมือง(พังงา)
5. ซึ่งท่าเรือของระนองสามารถจับคู่ได้เช่นท่าเรือดอนสัก(สุราษฎร์ธานี) หรือ ท่าเรือสิชล
การเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด (Southern Sea Bord ) ซึ่งจุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะต้องช่วยกันผลักดัน รวมถึงการมีฐานอุตสาหกรรม เพราะท่าเรือทั่วโลกที่จะประสบความสำเร็จพิสูจน์แล้วว่า หากปราศจากฐานอุตสาหกรรมรองรับยากที่จะมีท่าเรือใดประสบความสำเร็จ
ในส่วนของเส้นทางสาย 3 R ก็เป็นอีกเส้นทางที่น่าสนใจ เพราะเป็นเส้นทางสั้นที่สุดที่จะใช้เป็นเส้นทางในการขยายฐานตลาดเข้าสู่ประเทศจีน ผ่านคุนหมิง ดังนั้น ระนองจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจุดเชื่อมโยงเส้นทางการค้าเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งในอนาคตก็จะสามารถพัฒนาเป็นจุดเชื่อมโยงกับเครือข่ายท่าเรือในภูมิภาค (Global Link) โดยเฉพาะเครือข่ายระเบียง North-South East - West Economic Corridor โดยโอกาสที่ท่าเรือระนองจะสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายการขนส่งประกอบด้วย
1. การเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนเส้นทาง R3E (เชียงของ-คุนหมิง) ขณะที่จีนมีทางเลือกในการขนส่งไปสู่ท่าเรือซิตเว่ห์ในประเทศพม่า
2. การเชื่อมโยงกับประเทศเวียดนาม ซึ่งทั้งประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียเข้าไปลงทุนทำท่าเรือในประเทศเวียดนาม
3. การเชื่อมโยงกับภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งมีสินค้าปีละ 3,000 ตู้ ขนส่ง เข้าไปในท่าเรือปีนัง 4. เชื่อมโยงกับท่าเรือปีนัง ที่มีแผนการขยายท่าเรือ NBCT ทำให้เพิ่มขีดความสามารถเป็น 2.4 ล้าน TEU ต่อปี |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46884
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/03/2008 10:44 am Post subject: |
|
|
เมื่อคืนวันที่ 17 มี.ค. 51 เวลาประมาณ 22.00 น.เห็น Thai PBS ก็มีข่าวเกี่ยวกับโครงการทางรถไฟเชื่อมภูมิภาคอินโดจีนนะครับ ถ่ายรูปจากหน้าจอทีวีมาได้นิดหน่อยครับ
ดูรูปข้างบนนี้แล้ว ผมฝันเห็นขบวนรถตู้คอนเทนเนอร์จากทวาย วิ่งผ่านสถานีรถไฟสะแกย่างหมู มุ่งหน้าชุมทางบ้านภาชีไปมาบตาพุด เสียงดังกึง กึง กึง เลยครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 17/01/2011 9:29 pm Post subject: |
|
|
วันนี้เจอ กระทู้จาก สส. ภูมิพัฒน์ (สส. ภูมิใจไทย) ตั้งกระทู้ถามท่านนายกฯ ว่าจะสร้างทางรถไฟไปนครพนมหรือไม่
คุณมาร์กตอบว่า:
1. รัฐบาลมีนโยบาย ทำทางรถไฟไปนคตรพนม โดยให้ รฟท. ทำแผน ขึ้นเปรียบเทียบ เช่น พร้อมกับ เปรียบเทียบกับเส้นทางอื่นๆ ได้แก่
๑. เส้นทางสายบัวใหญ่ - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หลังจากที่ค้างเรื่องมาแต่ปี ๒๕๑๔
๒. สายขอนแก่น - เชียงยืน - ยางตลาด - โพนทอง - มุกดาหาร - นครพนม ตามที่ สส. เพื่อไทยจากกาฬสินธุ์-ขอนแก่น ขอมา
๓. สายอุดรธานี - สกลนคร - นครพนม ตามที่ สส. เพื่อไทยจาก อุดรธานี - สกลนคร ขอมาและ
๔. สายจัตุรัส - ชัยภูมิ - บ้านไผ่ - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ตามที่ สส. เพื่อไทยจากลพบุรีขอมา
จากการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ได้ผลออกมาว่า
1. ให้ กระทรวงคมนาคมได้เลือกศึกษา เส้นทางบัวใหญ่- มุกดาหาร - นครพนม ระยะทาง ๓๙๘ กิโลเมตร และได้คำนวณมูลค่า ๒๘๙๐๔ ล้านบาท และ
2. ให้ กระทรวงการคลังพิจารณา ความเหมาะสมของแหล่งเงินทุน โดยอาจระดมทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งเงินทุน จากต่างประเทศและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในการเชื่อมโยงระบบรถไฟ กับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ทั้งเนื่องจาก ครม. ได้เล็งเห็นว่า เส้นทาง สายบัวใหญ่ - มุกดาหาร - นครพนม เป็นเส้นทางที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ในระยะเวลา ๕ ปี ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบรถไฟ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายให้เชื่อมโยงกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นอกจากนี้ ครม. ได้เล็งเห็นความสำคัญ ทางรถไฟสาย เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เพื่อเชื่อมประเทศจีนตอนใต้ เป็นการเชื่อมโยงต่อระบบรถไฟกับภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ และจะได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรร่วมกับการรถไฟ
แห่งประเทศไทย เร่งศึกษาและออกแบบเส้นทางดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างครบถ้วนให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม โดยเร็ว
Last edited by Wisarut on 21/01/2011 11:32 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
Posted: 18/01/2011 7:54 pm Post subject: |
|
|
ความเห็นของผมคงเหมือนๆกับหลายๆคนนั้นแหล่ะครับ นั้นก็คือเรื่องการพัฒนาสิ่งต่างๆบนระบบรางกว้าง1เมตร(ก็เรื่องราง1เมตร เราเดินมาไกลมากแล้ว เกินกว่าที่จะเปลี่ยนเป็นราง1.435เมตรทั้งประเทศ)
แต่ไม่ว่ายังไง สายทุ่งสง-กันตัง ได้ราง80กับหมอนดูโอบล็อกมือสอง ผมก็ดีใจแล้วครับ _________________ ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43722
Location: NECTEC
|
Posted: 18/01/2011 8:20 pm Post subject: |
|
|
^^^
ภายในปีนี้ก็คงจะได้ rehab ทางสายกันตัง กันจริงๆ ซะแล้วหละ เพราะ ตอนนี้ ทางสายกันตังถึง จุดคราก รางแบะ เร็วเหลือ 30 kph แล้ว |
|
Back to top |
|
|
|