View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
tuie
1st Class Pass (Air)
Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 24/04/2008 8:48 pm Post subject: เล่าเรื่องจากกำหนดเวลาเดินรถในอดีต ภาค ๒ |
|
|
ท่านที่เพิ่งจะเปิดเจอกระทู้เรื่องนี้ หากต้องการทราบความเป็นมาของ เล่าเรื่องจากกำหนดเวลาเดินรถในอดีต ภาค ๑ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกำหนดเวลาเดินรถในอดีตนับแต่ปี ๒๕๒๙ ย้อนลงไปปี ๒๕๒๘,๒๕๒๓...(ไม่ถึงกับเก่ามากนัก) เชิญคลิกไปชมได้ตามลิงค์นี้ครับ
เล่าเรื่องจากกำหนดเวลาเดินรถในอดีต ภาค ๑
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับกระทู้นี้จะเริ่มเล่าเรื่องจากกำหนดเวลาเดินรถในอดีตตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นไป เล่าเรื่อยๆตามประสาคนเริ่มชราเวลาไม่ค่อยจะมี โดยจะพยายามลงอย่างต่อเนื่องนะครับ เริ่มจากกำหนดเวลาเดินรถสายเหนือ ปี ๒๕๓๐ ก็แล้วกัน ผมมีเก็บสะสมไว้สองฉบับ ฉบับแรกเริ่มใช้ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๐ ครับ
ภาพปกยังคงเป็นรถจักรกรุ๊ปป์ทำขบวนรถโดยสารยาวนับสิบโบกี้ข้ามสะพานทาชมภู เหมือนภาพปกกำหนดเวลาเดินรถสายเหนือฉบับปี ๒๕๒๙ แต่มีการเปลี่ยนโทนสีหน้าปกจากสีน้ำเงินเป็นสีฟ้า การจัดวางตารางค่าโดยสารอัตราพิเศษฯ อัตราปกติ ค่าธรรมเนียม ตลอดจนข้อมูลอัตราค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม ยังคงเป็นราคาเดิมครับ |
|
Back to top |
|
|
tuie
1st Class Pass (Air)
Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 24/04/2008 9:44 pm Post subject: |
|
|
พลิกเข้าไปชมตารางรถไฟสายเหนือ ปี ๒๕๓๐ กันต่อเลยนะครับ
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือ การเปิดเดินรถด่วนสายเหนือขบวนใหม่ คือ ขบวนรถด่วนที่ ๕/๖ กรุงเทพ-เชียงใหม่ จุดเด่นจุดขาย จุดโฆษณาของรถด่วนขบวนนี้ ได้แก่ การเป็นรถด่วนที่พ่วงรถนอนชั้น ๒ (บนท. ๓๖ ที่)ทั้งขบวน รถนอนรุ่นนี้เพิ่งจะนำเข้าจากญี่ปุ่นมาเมื่อต้นปี ๒๕๓๐ นี่เองยังใหม่ ดูโอ่โถงน่านั่ง น่านอนมากเลยครับ จุดเด่นอีกประการหนึ่งก็คือ ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพ-เชียงใหม่ เพียง ๑๓ ชั่วโมง ถ้าเทียบกับยุคปัจจุบันอาจจะดูไม่เร็วเท่าไร แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่ายุคนั้น สปรินเตอร์ยังไม่มี ดีเซลรางแดวูยังไม่เกิด แค่เทียบเวลาเดินทางกับขบวนรถด่วนที่ ๗/๘ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เจ้าเก่าแล้วขบวนรถด่วนที่ ๕/๖ กินขาดเพราะเร็วกว่า ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าประมาณ ๓๕-๔๐ นาทีครับ
มิติใหม่ในการเดินทางด้วยขบวนรถด่วนที่ ๕/๖ อีกประการหนึ่งก็คือ รถด่วนขบวนนี้จอดรับ-ส่งผู้โดยสารตามสถานีรายทางน้อยมากๆ ขบวน ๕ ออกจากกรุงเทพ ๑๙.๔๐ น. สามเสน ออก ๑๙.๕๑ น. บางซื่อ ออก ๑๙.๕๘ น. ดอนเมือง ออก ๒๐.๑๖ น. จากนั้นวิ่งยาว ในตารางมีเครื่องหมาย ขีดคู่ แปลว่าไม่จอดสถานีรายทางติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ ผ่านสถานีสำคัญๆอย่างอยุธยา ลพบุรี บ้านตาคลี นครสวรรค์ เกือบๆ ๓๐๐ ก.ม. ถึงจะจอดอีกทีที่ตะพานหิน ๐.๓๖ น. วิ่งยาวต่อไปอีกผ่าน พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ จอดอีกทีศิลาอาสน์ ๓.๑๕ น. เลยละครับ ยังสงสัยว่าถ้าไม่ต้องเติมน้ำมันที่นี่คงจะไม่จอดศิลาอาสน์เป็นแน่ เพราะขนาดอุตรดิตถ์ยังแล่นผ่านมาเฉยเลย ออกจากศิลาอาสน์ ๓.๒๐ น. ถึงเด่นชัย ๔.๑๘ น. ถึงนครลำปาง ๖.๓๔ น. ออก ๖.๓๖ น. ไม่จอดขุนตาน ลำพูน จอดอีกทีปลายทางเชียงใหม่ ๘.๔๐ น. ครับ
สังเกตว่าขบวน ๕ ใช้เวลาวิ่งช่วงนครลำปาง-เชียงใหม่ ๒ ชั่วโมง ๔ นาที เร็วกว่ารถด่วนพิเศษที่ ๑, ๑๓ หรือแม้กระทั่งด่วนแดวูขบวน ๙,๑๑ เดินในช่วงดังกล่าวตามกำหนดเวลาฯในยุคนี้เสียอีกครับ |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 24/04/2008 10:03 pm Post subject: |
|
|
ขออนุญาตแทรกพี่ตุ้ย เพื่อแสดงข้อสังเกตเกี่ยวกับ ข. 5 นะครับ
น่าสังเกตที่ว่า ข. 5 จัดว่าเป็นรถด่วนที่พิเศษจริงๆเพราะวิ่งผ่านหลายๆสถานีสำคัญๆ โดยไม่หยุดเพื่อการโดยสาร แต่ที่น่าสนใจและน่าแปลกใจ คือ ขบวนนี้ กลับหยุดเพื่อการโดยสารที่สถานีตะพานหิน แต่กลับวิ่งผ่านสถานีจังหวัดอย่างพิจิตร หรือสถานีใหญ่บิ๊กอย่างนครสวรรค์ หรือ พิษณุโลกไปได้
และสมัยนั้น ยังไม่มี "รถด่วนพิเศษ" เลยแฮะ |
|
Back to top |
|
|
tuie
1st Class Pass (Air)
Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 24/04/2008 10:14 pm Post subject: |
|
|
^
พี่เข้าใจว่าในยุคนั้นคงมีแนวคิดว่า รถด่วนขบวนหลักๆเป็นหน้าเป็นตา หรือเป็นเสมือนขบวนรถตัวอย่างของสายเหนือ-สายใต้ นอกจากจะมีจุดเด่นที่ไม่พ่วงชั้น ๓ แล้ว การจอดสถานีรายทางให้น้อยที่สุด ใช้เวลาวิ่งน้อยกว่าขบวนอื่นอย่างชัดเจนก็ต้องเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่งด้วยครับ ถ้ายังจำกำหนดเวลาเดินรถสายใต้ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ได้ จะเห็นได้ว่าตอนแรกๆก็กำหนดให้ขบวนรถด่วนบัตเตอร์เวอร์ธ พอออกจากบางซื่อแล้ว ไม่จอดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี จอดอีกที หัวหิน เลยละครับ รถด่วนขบวน ๕/๖ เกิดขึ้นใหม่ในยุคนี้โดยตั้งใจจะให้เป็นขบวนรถที่เป็นหน้าเป็นตาขบวนใหม่ในเส้นทางสายเหนือเลยต้องจอดน้อยๆสถานีด้วยกระมังครับ
ส่วนการกำเนิดขึ้นของ ด่วนพิเศษ นั้น เข้าใจว่าเหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการถูกห้ามขึ้นค่าโดยสาร แต่ไม่ห้ามที่จะขึ้นค่าธรรมเนียม หรือกำหนดค่าธรรมเนียมประเภทใหม่ๆน่ะครับ
Last edited by tuie on 24/04/2008 10:18 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 24/04/2008 10:14 pm Post subject: |
|
|
สถานีอุตรดิตถ์ ก็ไม่จอด แต่ไปจอดเติมน้ำมันที่สถานีศิลาอาสน์
ช่วงนั้น ข.7/8 ตกต่ำมาก ถึงกับพ่วง บชส.ในริ้วขบวนด้วย |
|
Back to top |
|
|
ukito
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/03/2008 Posts: 1103
Location: ลาดกระบัง,บางน้ำเปรี้ยว
|
Posted: 24/04/2008 11:52 pm Post subject: |
|
|
เห็นตารางเดินรถสายเหนือเก่า ๆ แล้วใจหายครับ อดระลึกถึงความหลังไม่ได้ สมัยปี 27-32
ผมจะใช้บริการขบวน 93 กรุงเทพ-พิษณุโลก บ่อยมาก โดยจะนั่งไปลงพิษณุโลก ถึงประมาณตี 4 กว่า ๆ จากนั้นจะนั่งกินน้ำเต้าหู้ที่ผู้ชายมือด้วนข้างขวา ขายอยู่แถวชานชลา
จากนั้นก็จะต่อขบวนพิษณุโลก-เชียงใหม่ ไปลงบ้านดาราก็นั่งกินข้าวแกงที่สถานี แล้วก็ต่อรถขบวน 315 บ้านดารา-สวรรคโลก เข้าไป ส่วนขากลับก็จะนั่งจากสวรรคโลก-บ้านดารา
ถ้าจำไม่ผิดขบวน 318 มาลงที่บ้านดาราแล้วนั่งรอสักครู่ขบวน 90 ศิลาอาสน์-กรุงเทพก็จะมา ขบวนนี้มีต่อตู้เพิ่มที่พิษณุโลกด้วย 3 คัน ส่วนเจ้าขบวน 35 ไม่ค่อยได้ใช้บริการบ่อยนัก
เนื่องจากไม่ค่อยมีเงินเพราะว่ายังเรียนอยู่ แต่จำได้ว่าจะพ่วง บชท. ป 1คัน แล้ว บนท. 1 คัน นอกนั้นจะเป็นชั้น 3 ทั้งหมด สมัยนั้นโบกี้ชั้น 3 จะแยกกันชัดเจนมาก รถเร็ว รถด่วน
โบกี้สะอาดมาก ที่นั้งจะเป็นเบาะนุ่ม ๆ มีที่ท้าวแขน มีพัดลม ไฟนีออน ห้องน้ำด้านหน้าจะมี
2 ห้อง ส่วนด้านท้ายจะเป็นที่ล้างหน้าอย่างเดียว ส่วนรถธรรมดาไม่ต้องพูดถึง บางโบกี้จะเป็นเก้าอี้ไม้ ถ้าเป็นเบาะก็จะแข็ง ๆ เก้าอี้ด้านซ้ายจะนั่งได้คู่ละ 6 คน ส่วนด้านขวาจะนั่งได้ คู่ละ 4 คนแบบอึดอัด ไฟก็เป็นหลอดกลมสีเหลือง ห้องน้ำด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ห้องหน้าห้องน้ำจะมีที่กดน้ำสำหรับใช้บริโภคด้วย (แต่ไม่เคยเพราะตะกอนเพียบ)
เคยใช้บริการขบวน 7 อยู่ครั้งหนึ่ง ขบวนนี้มีชั้น 3 แค่โบกี้เดียว ที่พิเศษก็คือจะมีรถบริการไปรษณีย์ด้วย 1 คัน มีช่องส่งจดหมายด้านข้างด้วย
ขออภัยที่ขัดจังหวะ เผอิญระลึกถึงครั้งหนุ่ม ๆ (ฮา) ขอบคุณครับ _________________ ทรายเม็ดเล็ก ๆ ถ้ามากพอก็สามารถจมเรือใหญ่ได้ Ukito Yoji
|
|
Back to top |
|
|
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/06/2007 Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต
|
Posted: 25/04/2008 8:10 am Post subject: |
|
|
รูปแบบตารางเดินรถปี 2530 ที่อาจารย์ตุ้ยนำเสนอมีเครื่องหมาย Facility ของแต่ละขบวนรถเช่น ช้อนส้อม พ่วงรถเสบียง เตียง พ่วงรถนอน
รถปรับอากาศ หมายถึง ป. สะดวกแก่ผู้เดินทางดีครับ _________________ +++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ................... |
|
Back to top |
|
|
nutt8
1st Class Pass (Air)
Joined: 03/03/2008 Posts: 1965
Location: บางใหญ่
|
Posted: 25/04/2008 10:30 am Post subject: |
|
|
ตารางเดินรถสมัย ปี 2530 ขบวนรถดีเซลรางวิ่งเยอะกว่าขบวนรถจักรหรอครับ |
|
Back to top |
|
|
Ariya_4543
2nd Class Pass
Joined: 02/04/2008 Posts: 643
Location: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง // สถานีรถไฟหัวลำโพง
|
Posted: 25/04/2008 11:28 am Post subject: |
|
|
เห็น ข.5 แล้ววิ่งแปลกดีจริงๆ
- กรุงเทพ
- สามเสน
- บางซื่อ
- ดอนเมือง
- ตะพานหิน
- ศิลาอาสน์
- เด่นชัย
- นครลำปาง
- เชียงใหม่
น้องเองไม่รู้เหมือนกันว่า ที่จอดที่สถานีรถไฟตะพานหิน เป็นเพราะเปลี่ยนเวรพนักงานขับรถจักรด้วยหรือเปล่านี่สิ
เพราะตั้งแต่ออกจากดอนเมืองมา ไม่จอดไหนเลยจนถึงตะพานหิน
พนักงานขับรถในสมัยนั้นทำงานหนักหน่วงมากๆ น้องเข้าใจแบบนี้นะครับ
เวร 1 ทำงานแต่ บางซื่อ - ตะพานหิน
เวร 2 ทำงานแต่ ตะพานหิน - เด่นชัย
เวร 1 ทำงานแต่ เด่นชัย - เชียงใหม่
เลยคิดว่า สถานีที่หยุดรับส่งผู้โดยสารจริงๆ คงไม่นับ ตะพานหิน และ เด่นชัย ด้วยกระมังครับ
หรือว่าน้องคิดไปเอง ???
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อีกอย่างแผ่นประกาศเดินรถนี้เกิดก่อนน้องหลายเดือนอยู่นะ |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 25/04/2008 11:52 am Post subject: |
|
|
^
^
^ แต่ใน ช่อง หยุด มีเวลาบอกหนะสิโอ๋ ซึ่งเมื่อขึ้นเวลาถึงหรือออกในช่อง หยุด ก็เท่ากับว่ายังไงก็สามารถหยุดเพื่อการโดยสารได้ด้วย เพราะตามปกติ หากเป็นการหยุดเพื่อกิจอย่างอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการโดยสาร ก็ไม่น่าจะใส่เวลาไว้ |
|
Back to top |
|
|
|