View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 07/05/2008 6:13 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | rodfaithai wrote: | ถ้าเดินย้อนกลับไปทางป้ายหยุดรถคลองแห
จะพบสะพานนี้อยู่กลางทาง
เพิ่งทาสีใหม่ก่อนถ่ายรูปไม่นาน
(กล้องหันไปทางคลองเปล) |
งั้นคงเป็นสะพานนี้ครับ
 |
ใช่ครับ |
|
Back to top |
|
 |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 07/05/2008 6:42 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | เคยมีแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมด้วยครับ |
นอกจากนี้ยังมี แผนแม่บท โลจิสติกส์ ของประเทศ ที่ระบุว่าเราต้องเพิ่มอัตราส่วนการขนส่งทางรางให้เป็น กี่ % ในปีนั้นปีนี้ (ผมจำตัวเลขไม่ได้)
แผนแม่บทพลังงานมีไหมครับ ผมคิดว่าน่าจะมีแต่ยังไม่เคยเห็น
ได้ยินว่า สนข กำลัง จะทำแผนแม่บทด้านการจราจร และขนส่ง เมืองในภูมิภาค อำเภอหาดใหญ่ (ครั้งที่ 3)
[ ครั้งที่ 1 ปี 2538 ครั้งที่ 2 ปี 2545 ]
ผมยังไม่รู้ว่า สนข จะจ้างใครเป็น consult ถ้ารู้ เราจะได้ช่วยกัน lobby ให้ใส่รถไฟลงไปด้วย
ไม่รู้ว่าบ้านเรายังมีสำนักงานนโยบายและแผนอะไรอีก
การผลักดันรถไฟของเราให้เกิด เราต้องทำเป็นเครือข่ายครับ เช่น ไปร่วมมือกับ NGO ในวงการสิ่งแวดล้อม NGO พวกสิทธิผู้บริโภค สิทธิผู้โดยสารรถสาธารณะ ฯลฯ |
|
Back to top |
|
 |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 07/05/2008 8:10 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | เคยมีแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมด้วยครับ
แต่ก็แค่แผนครับ ขนาดจำนวนปีที่ปล่อยให้รางรถไฟร้างยังผิดเลยครับ จาก 27 ปี กลายเป็น 37 ปี  |
มันคือ การ Planนิ่ง ครับ คนไทยถนัดนักแล
มีเรื่องตลกที่ขำไม่ออกคือ
สจร ทำแผนแม่บทการขนส่งและจราจรให้หาดใหญ่ ปี 2538
สนข ทำแผนแม่บทการขนส่งและจราจรให้หาดใหญ่ ปี 2545
ทำเสร็จแล้วก็เก็บไว้บนหิ้ง เที่ยวแจกใครต่อใครทั่วไปหมด
แต่ไม่แจกให้หน่วยงานในพื้นที่เลยแม้แต่หน่วยงานเดียว
ทางหลวง (แขวงการทาง สำนักทางหลวง หมวดการทาง)
สำนักงานขนส่งจังหวัด
สำนักงานทางหลวงชนบท
รถไฟ
จังหวัด (ศาลากลาง)
อำเภอ
เทศบาล
อบจ.
ฯลฯ ที่อยู่ในพื้นที่
ไม่มีใครได้รับ Final Report เลยสักราย
ครั้นพอทำหนังสือไปขอ กลับส่งมาให้แค่ รายงานสรุปผู้บริหาร มีความหนาแค่ไม่กี่หน้า
แล้วมันจะไปทำอะไรได้
ไม่มีรายละเอียดที่ผู้ปฏิบัติจะนำไปใช้เลย
 |
|
Back to top |
|
 |
HID_4513
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/07/2006 Posts: 418
Location: S a L a Y a
|
Posted: 07/05/2008 8:20 pm Post subject: |
|
|
rodfaithai wrote: | ไม่แน่นะครับ ถ้าคิดให้ รอบคอบครบทุกมิติ
- น้ำมันแพง สูญเสียเงินตรา : รถไฟประหยัดพลังงานกว่าพาหนะอื่นๆ
- อากาศเสีย : รถไฟปล่อยอากาศเสียน้อยกว่าพาหนะอื่นๆ ที่ขนผู้โดยสรจำนวนเท่ากัน
- อุบัติเหตุ : รถไฟปลอดภัยกว่า รถอื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ต่อวัน ต่อเดือน ต่อปี นั่งรถไฟประหยัดกว่าเห็นๆ
- Cost ของรถไฟจะน้อยกว่า เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องเวนคืน
- ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ปกติรถตู้หาดใหญ่ - สงขลา นั่งกันคันละ 19 - 20 คน
รถเมล์ก็อัดกันเป็นปลากระป๋อง รถไฟสบายกว่าแน่นอน
- ประหยัดเวลา ปกติรถเมล์วิ่ง หาดใหญ่ - สงขลา ประมาณ 1 ชั่วโมง รถไฟใช้เวลาน้อยกว่านี้แน่
- คุณภาพชีวิตของประชาชน ที่ดีขึ้น
- ฯลฯ |
ที่พูดมาก็จริงนะครับ ดีกว่าทางถนนมากมายจริงๆ
แต่เกรงว่าผู้ใหญ่จะไม่สนใจน่ะสิ ก็เลยดูว่าจะมีโอกาสเกิดยาก
แต่หากสร้างได้จริงก็คงจะเป็นเรื่องดีนะครับ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่ามีแต่ถนนแน่นอน
rodfaithai wrote: | Mongwin wrote: | เคยมีแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมด้วยครับ
แต่ก็แค่แผนครับ ขนาดจำนวนปีที่ปล่อยให้รางรถไฟร้างยังผิดเลยครับ จาก 27 ปี กลายเป็น 37 ปี  |
มันคือ การ Planนิ่ง ครับ คนไทยถนัดนักแล
|
อืม... เป็นยังงั้นจริงๆด้วยแฮะ
เก่งกันแต่วางแผน วางแผนไว้ซะสวยหรู แต่พอทำเข้าจริงๆ ที่สำเร็จก็มีไม่กี่อย่าง
นอกนั้นก็ล้มระเนระนาดบ้าง ไม่ก็หายไปราวกับสายลม  |
|
Back to top |
|
 |
black_express
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/05/2008 9:16 pm Post subject: |
|
|
น่าเศร้าจริงๆ ครับ ที่มีแต่ แพลนนิ่ง โดยไม่มีหน่วยงานใดหยิบไปใช้ประโยชน์ต่อยอดให้บรรลุผลได้เลย
คราวหน้า หากส่วนราชการใดคิดทำแผนอะไรมิต่ออะไรแบบนี้อีก ให้ขอ final report ให้กับหน่วยงานในภูมิภาคที่ร่วมบูรณาการแผน อย่างน้อย หน่วยงานละ 1 ชุดครับ เผื่อทวงถามบรรดานักการเมืองที่มาสัญญาหาคะแนนเสียงเข้าสู่สภาว่า ประชาชนในท้องที่ต้องการอะไรบ้าง
เท่าที่เห็นทุกวันนี้ final report ไปนอนกองอยู่ก้นตู้เอกสารหน่วยงานส่วนกลาง หรือห้องสมุดไว้ให้ค้นคว้าเท่านั้น เพราะผู้นำรัฐบาล และเจ้ากระทรวงมักจะมองเฉพาะโครงการ mega project ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม ส่วนโครงการที่เหลือนั้น อย่างดีทำได้แค่เพียงศึกษาทบทวนความเหมาะสมไม่รู้ที่สิ้นสุด ซื้อเวลาให้พ้นสมัยรัฐบาลตัวเองต่อไป |
|
Back to top |
|
 |
Tob96
3rd Class Pass (Air)


Joined: 04/04/2006 Posts: 472
Location: ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา , ถนนเชื้อเพลิง ช่องนนทรี กทม.
|
Posted: 07/05/2008 11:02 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | น่าเศร้าจริงๆ ครับ ที่มีแต่ แพลนนิ่ง โดยไม่มีหน่วยงานใดหยิบไปใช้ประโยชน์ต่อยอดให้บรรลุผลได้เลย |
อ่ะ.....ก็เขาแพลน...(วางแผน)...แล้วก็นิ่ง....จริงๆเลยนะครับ.....พี่ตึ๋ง...หุๆๆ....  _________________ เราเหล่าม้าเหล็ก...ยามวิ่งเร็วดั่งพายุ...ยามหยุดนิ่มนวลดุจสายน้ำไหล..... |
|
Back to top |
|
 |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48200
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/05/2008 9:12 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณพี่มิ้งและคุณ CVT บ้านโป่งครับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้า"สุสานอยู่หลังสถานีรถไฟน้ำน้อย"
ก็แสดงว่าสถานีน้ำน้อยอยู่ตรงข้ามสุสานสิครับ
เอ...หรือว่าผมวัดระยะทางคลาดเคลื่อนไปถึง 300 เมตร
ไม่น่านะครับ
งานนี้ ต้องลงพื้นที่สำรวจอย่างเดียวเลยครับ
ขอบันทึกช่วยจำไว้ตรงนี้นะครับ
Quote: | ชุมชนน้ำน้อย เป็นชุมชนเก่าชุมชนหนึ่ง มีราษฎรเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เดิมชาวบ้านเรียกว่า บ้านน้ำย้อย เพราะตรงหลักกิโลเมตรที่ 19 มีภูเขา และต้นไม้ใหญ่มากมาย ภายในภูเขาแห่งนี้มีธารน้ำไหลตลอดทั้งปี ต่อมาทางราชการได้ชื่อใหม่ว่า บ้านน้ำน้อย ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นตำบล ๆ หนึ่งในจำนวน 12 ตำบลของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมก่อนที่จะมีการแบ่งเขต การปกครอง ตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2457 ถ้ากล่าวถึงชุมชน น้ำน้อยในอดีตนั้นก็จะหมายรวมถึงพื้นที่ซึ่งติดเขตตำบลข้างเคียงกับตำบลน้ำน้อยในปัจจุบันด้วย เช่น หมู่ที่ 1 บ้านหัวนอนถนน หมู่ที่ 2 บ้านหลักสิบเก้า และบ้านทุ่งใหญ่ บางส่วนในตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ พื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่เตย ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ และ หมู่ที่ 3 บ้านควนหิน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
วิถีชีวิต ของชาวชุมชนน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงสร้างทางรถไฟสายหาดใหญ่ สงขลา (พ.ศ. 2325 2456)
ชุมชนน้ำน้อย นั้นอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากในอดีต ชาวบ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยปู่ยาตายาย พ่อแม่ ลูก หลาน ผู้สูงอายุมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลานจึงมักร่วมกลุ่มกันให้ปู่ยาตายายเล่านิทานให้ฟังเสมอ และนิทานซึ่งเล่าสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนในชุมชนน้ำน้อยเรื่องหนึ่ง ก็คือ ตำนานเรื่อง นางผมหอม แห่งเขาบันไดนาง สาระของนิทานกล่าวถึงประวัติการตั้งถิ่นฐานะของชุมชน บอกให้ทราบว่าชุมชนน้ำน้อย ได้มีการตั้งถิ่นฐานเกิดขึ้นท่ามกลางชุมชมที่อยู่รอบ ๆ หลายชุมชนมานานแล้ว กระจายอยู่ตามพื้นที่ราบรอบ ๆ ภูเขา การเดินทางใช้ทางเรือมากกว่าบก มีทางรถไฟ เมื่อ พ.ศ. 2456 มีการศึกษาเฉพาะผู้ชาย ประชาชนนับถือตลาดพุทธทั้งหมด มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติสูงมีคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทำแร่เหล็ก และแร่ดีบุก
วิธีชีวิตของชาวชุมชนน้ำน้อย หลังจากสร้างทางรถไฟสายสงขลา หาดใหญ่ถึงประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2456 2503)
หลังจากที่มีการสร้างเส้นทางรถไฟ ทำให้การสัญจรระหว่างชุมชน และตัวเมืองสะดวกรวดเร็ว ชาวบ้านในชุมชนจึงมีโอกาสสัมพันธ์ กับคนต่างถิ่นมากขึ้น คนจีนที่เข้ามาสร้างการรถไฟได้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในชุมชนน้ำน้อย ทางรถไฟสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2456 โดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงเสด็จมาตรวจเยี่ยมและทำพิธีเปิดสะพานโค้งรถไฟข้ามคลองน้ำน้อย มีสถานีจอด 2 สถานี คือ สถานีควนหิน และ สถานีน้ำน้อย จนกระทั่ง พ.ศ. 2470 มีการก่อสร้างถนนลาดยางสายกาญจนวนิช ลักษณะของบ้านเรือนที่สร้าง นำวัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่นมาสร้างที่อยู่อาศัย บ้านทำด้วยไม้โดยเสาตั้งบนฐานหิน มีความสูงจากพื้น 2 เมตร หลังคามุงด้วยใบตาล ใบเหรง ใบมะพร้าว ส่วนฝาทำด้วยกระดาษ หรือ จากสำหรับบ้านคนที่มีฐานะเริ่มหันมาสร้างบ้านสองชั้น รูปทรงครึ่งปูนครึ่งไม้ ก่อเสาและผนังด้วยอิฐและปูนซิเมนต์ ฝากและฝาจะปูและกั้นด้วยกระดานไม้อย่างดีหลังคามุงด้วยกระเบื้อง เนื่องจากในชุมชนน้ำน้อยมีโรงอิฐ โรงกระเบื้องหลายโรง อาชีพส่วนใหญ่ทำนาเลี้ยงสัตว์ ปลูกยางพารา อาชีพทำตาลโตนด ทำน้ำตาลเมา และหัตถกรรมตีเหล็ก ช่างตีเหล็กส่วนใหญ่เป็นคน หมู่ที่ 3 , 7 , 8 , 9 ซึ่งเป็นคนจีนเข้ามาทำแร่เหล็กได้ถ่ายทอดวิชาให้ อาชีพทำอิฐและกระเบื้องดินเผา ที่ตั้งของโรงอิฐริมคลองพะวง คลองท่านางหอม ริมทะเลสาบสงขลา สำหรับบริโภค ชาวบ้านบริโภคข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ตามเทศกาลและประเพณี ใช้หนังวัว หนังควาย และเสื่อสานด้วยใบเตย สำหรับนวดข้าวจากเลียงข้าว และตากข้าว จากนั้นจึง นำมาสีด้วยครกสี ส่วนคนที่ไม่มีครกสีก็ตำด้วยครกตำข้าวผัดด้วยกระดังฝัดข้าวสานจากไม้ไผ่ สีสุก เป็นข้าวซ้อมมือไว้บริโภค
วิถีชีวิตของชาวชุมชนน้ำน้อย เปลี่ยนไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันจันทร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ตรงกับวันมีตลาดนัดน้ำน้อย กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สงขลา ทำการยึดรถไฟสายสงขลา หาดใหญ่ เพื่อบรรทุกกำลังพล และได้ปะทะกับทหารไทยที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่สิบเก้า เชิงเขาน้ำน้อย เขาบันไดนางยิงกับประมาณ 1 ชั่วโมงจนกระทั้งทางการประกาศให้ทหารไทยหยุดยิง เพื่อทางการทราบว่าญี่ปุ่นขอใช้เมืองไทยเป็นทางผ่านไปตีประเทศมาเลเชีย ซึ่งทำให้ชาวน้ำน้อยเสียชีวิตหลายคน ทหารญี่ปุ่นได้มาตั้งค่ายในชุมชนน้ำน้อย 3 แห่ง ที่โคกสูง สถานีรถไฟ ที่เขาบันไดนางเป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้ที่ส่วนที่นาของชาวบ้านกลางเป็นที่ซ่อมรถ
วิถีชีวิตชาวชุนชมน้ำน้อย หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ. 2504 2549)
เริ่มปรากฏชัดว่าวัฒนธรรมต่างถิ่นและสมัยใหม่กำลังเข้าสู่ชุมชนน้ำน้อยมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคม การสื่อสาร โทรคมนาคมเจริญมากขึ้น การตั้งถิ่นฐานของครอบครัวที่เกิดใหม่จึงนิยมสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางคมนาคมทางบกมากขึ้น และได้มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในชุมชนน้ำน้อย ส่งผลให้เกิดการตั้งถิ่นฐานขึ้นมากบริเวณใกล้โรงงาน แนวเส้นทางเข้าสู่โรงงานและเข้าสู่ตัวเมืองทั้งในรูปของธุรกิจบ้านเช่า บันจัดสรร ก่อให้เกิดมลพิษ
ลักษณะที่อยู่อาศัย ได้ก่อสร้างเน้นความสายงาม ลักษณะความเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ บ้านนิยมสร้างด้วยอิฐและปูนซีเมนต์ โครงหลังคา ทำด้วยเหลักกระเบื้องซีแพ็ค กระเบื้องลอน รูปทรงเป็นแบบสากล ด้านอาชีพทำนาและสวนยางพาราทำกระเบื้องดินเผา มีการตัดถนนสายสำคัญผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น ถนนสายน้ำน้อย - ท่านางหอม ถนนหลายวัดเนินไศล - ท่าจีน ถนนลพบุรีราเมศวร์ ประชาชนยังคงนับถือศาสนาพุทธ
ที่มา : เทศบาลตำบลน้ำน้อย http://www.namnoi.go.th/content/data1.php |
Last edited by Mongwin on 08/05/2008 10:58 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
 |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 08/05/2008 9:56 am Post subject: |
|
|
พี่ CVT บ้านโป่ง เป็นผู้หนึ่งที่สนใจประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ ปัตตานี และ สงขลาครับ
Quote: | ตำนานเรื่อง “นางผมหอม” แห่งเขาบันไดนาง |
คงมีความเกี่ยวข้องกับ ท่านางหอม |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48200
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/05/2008 3:09 pm Post subject: |
|
|
อืมม มีอะไรให้น่าสนใจ ศึกษา ค้นคว้ามากๆ เลยครับ
พวกที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆ ยิ่งค้นยิ่งเจอครับ
---------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ ที่เว็บ http://www.phukhao.com มีแผนที่ Tourist Map ของตัวเมืองสงขลา และ หาดใหญ่ แบบ high resolution ให้ดาวน์โหลดครับ
แผนที่ไม่ได้จัดทำตาม scale แต่ผมชอบตรงที่แผนที่สงขลามีเส้นทางรถไฟเก่าไปท่าเรือแสดงไว้ด้วย (ระยะหลังไม่ค่อยมีใครใส่ไว้แล้ว) และแผนที่ตัวเมืองหาดใหญ่อัพเดท Jan 2008 ครับ ท่านที่สนใจ คลิกลิงค์ข้างล่างนี้ก็ได้ครับ
แผนที่เมืองสงขลา Songkhla city map 583 KB
แผนที่เมืองหาดใหญ่ Hatyai city map 0.98 MB |
|
Back to top |
|
 |
|