View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 23/09/2008 11:00 pm Post subject: สามเหลี่ยมกลับรถจักร |
|
|
อยากจะตั้งกระทู้เพื่อรวบรวมสามเหลี่ยมกลับรถจักรในประเทศไทย
ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน หรือที่พอจะมีร่องรอยอยู่บ้าง และที่หาร่องรอยไม่พบแล้ว
สามเหลี่ยมกลับรถจักร หรือที่เรียก "Triangle" ในสหราชอาณาจักร และ "Wye" ในสหรัฐอเมริกา
(A triangle or wye
Triangle (UK): A track layout that facilitates the turning of engines or complete trains.
Wye (US): Three railroad tracks in a triangular form with switches at all three
corners. With sufficient lengths of track leading away in all three directions,
a wye can turn a train of any length.
: From Wikipedia, the free encyclopedia)
สามเหลี่ยมกลับรถจักรในภาพนี้ ลองทายกันดูครับว่าที่ไหน
เป็นภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี คศ.1973 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/09/2008 11:17 pm Post subject: |
|
|
BanPong1 wrote: | สามเหลี่ยมกลับรถจักรในภาพนี้ ลองทายกันดูครับว่าที่ไหน
เป็นภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี คศ.1973 |
ขอตอบครับ
ที่นี่ครับ เป็นภาพถ่ายดาวเทียม QuickBird เมื่อวันที่ 18 มี.ค.2006 ครับ
33 ปีผ่านไป ย่านสถานีหดเล็กลง ถนนขยายใหญ่ขึ้น
ขบวนรถไฟยาวเหยียดหายไป เหลือตู้จอดทิ้งไว้ไม่กี่ตู้
โรงรถจักรหายไปแล้ว
ทุ่งนา ต้นตาลโตนดหน้าสถานี กลายเป็นป่ารกร้าง
ตึกรามบ้านช่องเพิ่มขึ้น
สุสานยังเหมือนเดิมมั้ง
นี่แหละความ"เจริญ" ครับอาจารย์
สองภาพนี้นำไปใช้สอนนิสิตวิชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เป็นชั่วโมงเลยครับ
ป.ล. ผมว่าภาพของอาจารย์บ้านโป่ง กับ ภาพของผม ใช้เทคโนโลยีต่างยุคกัน
แต่ลงทุนมหาศาลพอๆ กันเลยครับ ทั้งเครื่องบินทั้งดาวเทียม
--------------------------------
ฝากข้อมูลพื้นฐานไว้ครับ
สามเหลี่ยมกลับรถจักรที่พูดถึงกันใน RFT มีทั้งหมดดังนี้ครับ
สายเหนือ มีที่ (1) ชุมทางบ้านภาชี (2) นครสวรรค์ (3) เด่นชัย
มีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศครบทั้ง 3 แห่งครับ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ (1) ชุมทางแก่งคอย (2) ลำนารายณ์ (3) ปากช่อง (4) ขอนแก่น (5) นาทา
มีหลักฐานภาพถ่ายดาวเทียม 4 แห่งครับ ขาดปากช่อง
สายตะวันออก มีที่ (1) คลองลึก (2) ปอยเปต (3) พระตะบอง
มีหลักฐานภาพถ่ายดาวเทียมครบทั้ง 3 แห่งครับ
สายใต้ มีที่ (1) ลูกแก (สมัย WWII) (2) กาญจนบุรี (3) วังก์พง (4) ประจวบคีรีขันธ์ (5) ชุมพร (6) บ้านนา (7) ชุมทางหาดใหญ่
ขาดหลักฐานภาพถ่ายของ ลูกแก วังก์พง ประจวบคีรีขันธ์ และชุมทางหาดใหญ่ครับ
นอกจากนี้ ที่อุดรธานี เคยมีหรือไม่ ต้องขอคำยืนยันครับ
Last edited by Mongwin on 15/10/2008 2:39 pm; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
Rakpong
President
Joined: 29/03/2006 Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
|
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 24/09/2008 4:34 pm Post subject: |
|
|
ทั้งอาจารย์ Mongwin และ คุณหมอ Rakpong เฉลยภาพนี้ได้อย่างแม่นยำภายในครั้งเดียว
แถมเป็นการตอบแบบไม่ต้องตอบตรงๆซะด้วย นับถือๆจริงๆครับทั้ง 2 ท่าน
อาจารย์ Mongwin ที่ลูกแก มีด้วยหรือ ข้อมูลจากที่ไหนครับ
คุณหมอ Rakpong ผมเข้าไปอ่านใน http://www.yimsiam.com/club/ แล้วครับ
คุณหมออธิบายได้ชัดเจนและเห็นภาพเชื่อมโยงขึ้นเยอะเลยครับ
ขออนุญาตคัดลอกไว้ที่บอร์ดนี้เลยนะครับมา....
"บริเวณหลังสถานีกาญจนบุรี หลังบ้านพักนายสถานี ที่เดิมเคยเอารถจักรการัตต์มาไว้เมื่อก่อน เป็นป่ารกมีน้ำท่วมเฉอะแฉะ เมื่อผมเด็กๆ มีคนขู่ว่ามีเสือด้วย เลยไม่กล้าเข้าไปเล่นกันนัก จริง ๆ แล้วก็มีเสืออยู่จริง ๆ แต่มันคือเสือปลา หรือแมวตัวใหญ่ ๆ แค่นั้นเอง
บริเวณย่านสถานีด้านทิศเหนือ มีอาคารสำนักงานเล็ก ๆ ตั้งอยู่ แล้วมีรางรถไฟแยกออกจากย่านสถานีไปทางทิศตะวันออก 1 ราง ขณะเดียวกันตรงสุดย่านสถานีด้านทิศเหนือ ก็มีรางอีกรางนึง สร้างไปในทิศทางเดียวกันออกไปทางทิศตะวันออก ไปเจอกับรางแรก ในลักษณะ 3 เหลี่ยม หรือกระโจม ( คล้ายสามเหลี่ยมจิตรลดายังไงครับ )
บริเวณนี้เมื่อก่อนเป็นทุ่งนา หน้าน้ำจะมีน้ำท่วมประจำ เดี๋ยวนี้เขาสร้างถนนอ้อมสถานีรถไฟ เป็นถนนเลียบทางรถไฟไงครับ
นี่คือถนนที่ว่า รางรถไฟที่เล่าให้ฟังก็กลายเป็นโบราณวัตถุ แทรกอยู่แถวนั้น โดนถนนกลบเสียหมด"......
......"บางคนคงจะพอนึกออกเลา ๆ แล้วใช่ไหมครับ
มันคือ "ที่กลับรถจักร" นั่นเอง
บางคนยังไม่ค่อยคุ้นเคยกลับที่กลับรถจักร เพราะเดี๋ยวนี้เราไม่มีรถจักรไอน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอแล้ว หรือบางคนอาจจะเคยเห็นตามสถานีใหญ่ ๆ ที่เป็นวงกลม ๆ ที่ให้รถจักรเข้ามาจอดแล้วหมุน ตอนนี้ที่ยังเห็นได้เช่นที่ ชุมทางบางซื่อ หรือชุมทางทุ่งสง
แต่ในอดีต เส้นทางสายกาญจนบุรี-น้ำตก ยังใช้รถจักรไอน้ำเดินรถจนถึงประมาณปี 2513 แน่นอนว่าที่กลับรถจักรต้องเป็นสิ่งจำเป็นพอควร
หลักการ คือ มีการสร้างทางรถไฟเป็นรูป 3 เหลี่ยม มีทางบรรจบกันตรงปลายยอด มีประแจอยู่ตรงปลาย ลองนึกถึงสามเหลี่ยมจิตรลดาก็ได้ สมมติรถจักรไอน้ำวิ่งเข้ามาหันหัวไปทางหัวลำโพง พอจะทำขบวนใหม่ มันต้องหันหน้ารถออกใช่ไหมครับ ก็จะถอยไปทางมักกะสัน ที่มักกะสันก็สลับทางวิ่ง หันหัววิ่งไปทางสามเสน พอถึงทางหลัก ก็ถอยหลังทำขบวนถอยเข้าหัวลำโพง เอาหน้าไปตามทางปกติ ใช้หลักการเหมือนเรากลับรถในซอยนั่นแหละครับ
ภาพที่เห็น เป็นส่วนที่ทั้งสองรางจะมาบรรจบกัน รกอยู่เหมือนกันนะครับ ตรงปลายก็จะมีแป้นปะทะรถอยู่ ลงไปลุยถ่ายมาให้ดูไม่ได้ครับ หน้าฝนอย่างนี้ งูเงี้ยวเขี้ยวขอเยอะ ตามสไตล์ของที่รถไฟครับ
เอามาฝากกันเป็นโบราณวัตถุของการรถไฟอย่างหนึ่งครับ อีกไม่นานอาจต้องรื้อมาขายเป็นเศษเหล็กก็ได้"........ |
|
Back to top |
|
|
Rakpong
President
Joined: 29/03/2006 Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
|
Posted: 24/09/2008 5:05 pm Post subject: |
|
|
Quote: | เอามาฝากกันเป็นโบราณวัตถุของการรถไฟอย่างหนึ่งครับ อีกไม่นานอาจต้องรื้อมาขายเป็นเศษเหล็กก็ได้"..... |
ภาพนั้น ถ่ายเมื่อ 4-5 ปีก่อน ก่อนที่จะมีเวบไซต์รถไฟไทยดอทคอมเสียอีก
ไม่นานรางแขวนชุดนั้นก็หายไปครับ ยังคงมีปลายรางเหลืออยู่นิดหน่อย แต่รกมาก ดูเหมือนคันนาที่มีต้นไม้รกๆ เสียมากกว่า
ภาพของอาจารย์บ้านโป่งก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/09/2008 5:17 pm Post subject: |
|
|
BanPong1 wrote: | อาจารย์ Mongwin ที่ลูกแก มีด้วยหรือ ข้อมูลจากที่ไหนครับ |
ภาพ track map แสดงเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า เมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2487
จากหนังสือ ทางรถไฟสายไทย-พม่า ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เขียนโดย โยชิกาวา โทชิฮารุ แปลโดย อาทร ฟ้งธรรมสารและคณะ
ISBN 974-8363-50-3
ส่วนจะเคยมีอยู่จริงหรือไม่ หมดหนทางพิสูจน์จริงๆ ยอมแพ้ครับ
ผมขอแทงบัญชีสาบสูญไปแล้วครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 24/09/2008 10:59 pm Post subject: |
|
|
Rakpong wrote: | Quote: | เอามาฝากกันเป็นโบราณวัตถุของการรถไฟอย่างหนึ่งครับ อีกไม่นานอาจต้องรื้อมาขายเป็นเศษเหล็กก็ได้"..... |
ภาพนั้น ถ่ายเมื่อ 4-5 ปีก่อน ก่อนที่จะมีเวบไซต์รถไฟไทยดอทคอมเสียอีก
ไม่นานรางแขวนชุดนั้นก็หายไปครับ ยังคงมีปลายรางเหลืออยู่นิดหน่อย แต่รกมาก ดูเหมือนคันนาที่มีต้นไม้รกๆ เสียมากกว่า
ภาพของอาจารย์บ้านโป่งก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วครับ |
เสียดายนะครับ สิ่งที่ดีๆหลายๆอย่าง เราไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้เลย
จริงๆย่านสถานีกาญจนบุรีนี้ อาจจะมีเรื่องราวในสมัย WW II มากมายเกิดขึ้นที่นี่
ถ้าได้ทำเป็นย่านประวัติศาสตร์ เก็บรักษาเรื่องราวไว้ผมว่าน่าจะมีประโยชน์มากๆเลย
แต่ตอนนี้คงยากแล้วกระมังครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 24/09/2008 11:20 pm Post subject: |
|
|
ในภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี 1973 (พ.ศ.2516) นั้น จากที่เห็นย่านสถานีใหญ่โตมาก
กิจการรถไฟที่กาญจนบุรียังมีความคึกคักอย่างมากอยู่เลย ผมยังนึกถึงเวลานั้นพอได้
สังเกตุในภาพที่มีทั้งขบวนรถไฟ โบกี้ ตู้รถไฟต่างๆมากมาย ทั้ง ตญ. ขส. บขส. ฯลฯ
เพราะสมัยก่อนถนนที่ไปยังไทรโยค ทองผาภูมิและสังขละบุรี ยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน
เพื่อในนรุ่นที่เรียน รร.ประถม ที่บ้านโป่ง เวลากลับบ้านที่สังขละบุรี ต้องนั่งเรือจากเมืองกาญจน์ ไปเป็นวันๆเลยครับ
พวกนี้ต้องเป็นนักเรียนประจำ ปิดเทอมถึงได้กลับบ้านครั้งหนึ่ง เสาร์อาทิตย์ก็ต้องอยู่โรงเรียน
ในช่วงเวลานั้น ขบวนรถที่ขึ้นไปน้ำตกมีวันละ 3 ขบวน เป็นรถรวม 2 ขบวน ดีเซลราง 1 ขบวน
353 ออกจาก กาญจนบุรี เช้ามืด ถึง น้ำตกสายๆ แล้วออก น้ำตก เป็น 350 ไป ธนบุรี
349 ออกจาก ธนบุรี เช้ามืด ถึง กาญจนบุรี เกือบเที่ยง ถึง น้ำตก บ่าย แล้วเป็น 354 วิ่งกลับมานอน กาญจนบุรี
171 ออกจาก ธนบุรี 8 โมง ถึง วังโพ เท่านั้น ประมาณเที่ยงกว่า บ่ายเป็น 172 วิ่งกลับธนบุรี ใช้รถดีเซลราง RHN
การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคยังต้องใช้เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นหลัก โดยใช้รถรวม 349/350 และ 353/354
สินค้าจากยี่ปั๊วซาปั๊ว ทั้งจาก นครปฐม บ้านโป่ง ท่าเรือ กาญจนบุรี มีส่งขึ้นไปทุกวัน เต็มพิกัดลากจูงของรถรวม
มีทั้งแบบเหมาคัน และแบบเป็นชิ้นๆ แบบหลังนี้การรถไฟเขามีตู้ ตญ. ที่เรียกว่า "ตู้ภาระ"
เช่น ตู้ภาระวังโพ ตู้ภาระน้ำตก ซึ่งสินค้าที่มีปลายทางทั้ง 2 ที่ก็จะใส่ไปในตู้นั้นๆ
ยังมีตู้ทั่วไป ตู้ ขส.ไว้ใส่พวกไม้รวก และ ตู้แซม ตญ.ซ. หัวท้าย เพราะรถจักร C56 ใช้ขอพ่วง ABC
ผมจำได้ว่าในรถรวมนี้มีรถโดยสาร 3 โบกี้ ประกอบด้วย 1 บสพ. 1 บชส. และ
ที่สำคัญ มี 1 บสข. (ไม่แน่ใจว่าเขียนชื่อย่อถูกรึเปล่า) รถสเบียง ครับ มีรถเสบียงพ่วงในขบวนด้วย
รถเสบียงนี่แหละเป็นสิ่งที่ผมประทับใจอีกสิ่งหนึ่ง เคยซื้อโอเลี้ยงจากรถเสบียงเป็นประจำ
เดี๋ยวนี้ไม่มีให้ดูแล้ว แต่ก่อนรถรวมหลายขบวนจะมีรถเสบียงพ่วงอยู่ด้วย
ภาพข้างบนระบุว่าถ่ายเวลา 12.15 น. อาจจะมีขบวน 349 จอดอยู่ก็เป็นได้
สังเกตุรูปขบวน รถจักรจะอยู่ด้านซ้ายบน แสดงว่ากำลังขึ้นเหนือ
โดยเรียงลำดับ 1ตญ.ซ.- 2ตญ.- 1ขส.- 3ตญ.- 3โบกี้โดยสาร- 1ตญ.ซ.
ยังไม่เต็มหน่วยลากจูง เพราะนับแล้วได้ 17 คัน C56 จะลากได้ 25 คัน
แต่ช่วง ลุ่มสุ่ม-น้ำตก อาจจะได้น้อยกว่านี้
อีกขบวนที่เห็นอยู่ด้านเหนือ อาจจะเป็นรถหินรอการลากจูงอยู่ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/09/2008 8:07 am Post subject: |
|
|
ผมเคยได้ยินว่า ขบวนรถรวม 353 กาญจนบุรี - น้ำตก เที่ยวเช้า เป็นตลาดสดเคลื่อนที่ด้วย โดยพี่น้องชาวบ้านตามสถานีต่างๆ จะมารอซื้อข้าวของจากแม่ค้าที่ขนสินค้าไปกับขบวนรถนี้ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 25/09/2008 9:26 am Post subject: |
|
|
BanPong1 wrote: | ภาพข้างบนระบุว่าถ่ายเวลา 12.15 น. อาจจะมีขบวน 349 จอดอยู่ก็เป็นได้ |
balck_express wrote: | ผมเคยได้ยินว่า ขบวนรถรวม 353 กาญจนบุรี - น้ำตก เที่ยวเช้า เป็นตลาดสดเคลื่อนที่ด้วย |
น่าสนใจมากครับอาจารย์ BanPong1 พี่ตึ๋ง
ผมเพิ่งได้เห็นภาพนี้เมื่อเช้านี้เอง เนื่องจากเมื่อคืนอินเทอร์เน็ตที่วิทยาเขตกำแพงแสนใช้ไม่ได้ครับ
รบกวนช่วยดูภาพของอาจารย์ BanPong1 ที่ผมเอามาวงสีเหลืองไว้นะครับ
อาจารย์ช่วยดูเงาดำที่ทาบไปบนรางนะครับ เงาไม่สั้นไม่ยาวมาก ทอดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำมุมประมาณ 45 องศากับทิศเหนือครับ
นั่นคือ ดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ถ่ายภาพ ส่องมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งทำให้เข้าใจว่า นักบินน่าจะถ่ายภาพนี้ในช่วงที่ดวงอาทิตย์เฉียง อ้อมใต้
ซึ่งก็คือในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาถึงกุมภา ครับ
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ปกตินักบินจะไม่ออกไปบินถ่ายภาพทางอากาศในช่วงเที่ยง เนื่องจากแสงแดดอาจกระทบผิวน้ำบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น ทุ่งนา หนองบึง แล้วส่องตรงเข้ากล้อง
ทำให้ได้ภาพที่มีดวงสว่างตรงกลาง ใช้งานไม่ได้ครับ
อาจารย์บอกว่า ภาพถ่ายระบุว่าถ่ายเวลา 12.15 น. ก็เลยสงสัย เพราะนักบินน่าจะหิวข้าวแล้ว เอ๊ย ด้วยเหตุผลข้างต้นครับ
อ้อ พอดีนึกขึ้นได้ครับ ในภาพเป็นรถจักรไอน้ำแน่ๆ ครับ ดูจากรูปร่าง
นอกจากนี้ คุณนพ pak_nampho เคยวิเคราะห์รถรวม ทุ่งสง-กันตัง ที่ออกจากทุ่งสง ได้เวลาตรงกับ ปดร.สมัยนั้นเลยครับ น่าทึ่งมาก
ตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่น (โอซาก้า โกเบ) ตอนตีห้ากว่า วันที่ 17 ม.ค. 2538 ปรากฏว่านาฬิกาแขวนที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่ง เสียทันทีเลยครับ นาฬิกาตายเวลาเดียวกันกับที่เกิดแผ่นดินไหว เขาเลยเก็บนาฬิกาเรือนนี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์เป็นอนุสรณ์ครับ |
|
Back to top |
|
|
|