Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311551
ทั่วไป:13349023
ทั้งหมด:13660574
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 143, 144, 145 ... 556, 557, 558  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2013 10:26 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงโครงการนี้เพื่อที่ปรึกษาฯ
โพสต์ทูเดย์ 05 เมษายน 2556 เวลา 09:38 น.
โดย...จตุพล สันตะกิจ

ร่างพ.ร.บ.กู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระแรกแล้ว และกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและขุนคลัง ได้รับอาณัติให้นั่ง “หัวโต๊ะ” เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.....

ทั้งนี้ มีการประเมินว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ช่วงเดือน พ.ค.มิ.ย.นี้ และเสนอวุฒิสภา ซึ่งคาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ และเริ่มกู้เงินได้ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

แม้ สส.ฝ่ายค้าน นักวิชาการบางกลุ่ม มองว่า ร่างกฎหมายพิเศษกู้เงินฉบับนี้ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” อนุมัติให้อำนาจ “ฝ่ายบริหาร” คือรัฐบาลกู้เงินจำนวนมหาศาลลงทุนสารพัดโครงการ เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟสายใหม่ ถนน 4 เลน สถานีขนส่ง กระทั่งด่านศุลกากรตามแนวชายแดน

เสมือนเป็นการ “ตีเช็คเปล่า” ให้อำนาจเต็มกับรัฐบาลใช้เงินกู้จำนวนมหาศาลที่ทิ้งภาระหนี้ให้คนทั้งประเทศนานครึ่งศตวรรษ แต่เลี่ยงปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งมีหลักปฏิบัติและวิธีการตรวจสอบที่เข้มข้น

ขณะที่โครงการลงทุนส่วนใหญ่ภายใต้กฎหมายกู้เงิน “ไม่มี” รายละเอียดโครงการที่ชัดเจน

ประจักษ์พยาน คือ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฯ กำหนดให้กันวงเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่าว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาออกแบบรายละเอียด บริหารโครงการ และควบคุมการก่อสร้างทุกโครงการในสัดส่วน 1.75% ของวงเงินลงทุนแต่ละโครงการ หรือคิดเป็นเงินว่าจ้างที่ปรึกษาสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท จากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

การกลั่นกรองโครงการในชั้นกรรมาธิการฯ ก็ไม่ต่างจาก “พิธีกรรม” ที่ทำให้ครบขั้นตอนเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโฟกัสไปที่การเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง วงเงิน 783,229 ล้านบาท คือ 1.สายกรุงเทพฯเชียงใหม่ 387,821 ล้านบาท 2.สายกรุงเทพฯหนองคาย 170,450 ล้านบาท 3.สายกรุงเทพฯปาดังเบซาร์ 124,327.9 ล้านบาท และ 4.สายสนามบินสุวรรณภูมิชลบุรีพัทยาระยอง 100,631 ล้านบาท

ในทางปฏิบัติพบว่ารัฐบาลเตรียมเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 7.8 แสนล้านบาท แต่เงินที่มีอยู่ก่อสร้างจริงเพียงครึ่งทาง คือ กรุงเทพฯพิษณุโลก กรุงเทพฯนครราชสีมา กรุงเทพฯพัทยา และกรุงเทพฯหัวหิน ส่วนการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 เส้นทางพิษณุโลกเชียงใหม่ นครราชสีมาหนองคาย หัวหินปาดังเบซาร์ และเส้นทางพัทยาระยอง

โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐในภายหลัง หากการก่อสร้างเฟสแรกแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา 5-7 ปีข้างหน้า

“เราต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เป็นตัวหัวเชื้อไว้ก่อน และจะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายเชื่อมไปยังเพื่อนบ้าน” ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ระบุ พร้อมหยิบยกเหตุผลว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจีนลาว ที่มาจ่อชายแดนไทยที่ จ.หนองคาย มีทีท่าว่าจะลากยาวอีกหลายปีกว่าจะก่อสร้างได้ ดังนั้น การสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึง จ.หนองคาย ยังรอได้

นั่นหมายความว่าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงวันนี้ที่มีลักษณะเป็น “ดาวกระจาย” แทนที่จะลากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯเชียงใหม่ และ จ.หนองคายกรุงเทพฯปาดังเบซาร์ เป็นต้น

การลงทุนตามแผนดังกล่าวจึง “ขัดแย้ง” กับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นเป้านิ่งให้ถูก “ถล่มหนัก” ไม่นับรวมหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยที่จะพุ่งขึ้นเป็น 56 ล้านล้านบาท ในช่วงเวลา 50 ปี

กระนั้น ทีมนักคิดฟากฝั่งรัฐบาล ให้เหตุผลว่า การลงทุนสร้างรถไฟฟ้าแบบดาวกระจายเชื่อมกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ เป็นการลงทุนที่คุ้มทุนแน่นอน เพราะรถไฟความเร็วสูงสามารถการขนส่งผู้โดยสารจำนวนมหาศาลในระยะเวลาสั้น อาทิ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่ ที่ผู้คนจะเดินทางกลับบ้านด้วยต้นทุนที่ต่ำเทียบทางรถยนต์และเครื่องบิน

เช่น หลังรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพโคราชแล้วเสร็จ โคราชจะเปรียบเสมือนสถานีขนส่งหมอชิตแห่งที่ 3 หรือเป็นชุมทางรถโดยสารที่กระจายคนอีสานกลับสู่บ้านเกิดช่วงหน้าเทศกาล เพียงแต่โจทย์ที่รัฐบาลต้อง “ตีให้แตก” คือ อัตราค่าโดยสารต้องจูงใจให้คนมีรายได้ปานกลางมาใช้บริการได้

“ผลวิจัยระบุว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุนเมื่อเป็นเส้นทางที่มีระยะทางระหว่าง 200-900 กิโลเมตร และเป็นเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางระหว่าง 2-3 ชั่วโมง เช่น รถไฟชินคันเซ็นที่มี 2 ชั้น ขนผู้โดยสารได้ 1,634 คนต่อเที่ยว หรือขนคนได้เท่ากับเครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน 2 ลำ ไม่ต้องรอเช็กอินที่สนามบินและรอกระเป๋า 2 ชั่วโมง” แหล่งข่าว ระบุ

ทว่าปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนบางสิ่งได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือลงทุนรถไฟความเร็วสูงยังไม่ “ตกผลึก” และไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางใดแน่

แต่รัฐบาลเพื่อไทยมีอำนาจกู้เงินภายใต้โครงการหวยล็อก และมีสิทธิเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและงบประมาณโครงการตามที่ “ต้องการ” และทำได้ตามชอบธรรมที่กฎหมายให้ไว้ เพียงอาศัยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ระบุชัดว่า “หากโครงการใดทำไม่ได้ ต้องตัดโครงการและตัดเงินกู้ออก”

กระทั่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ร่างกฎหมายกู้เงินฯ ล็อกตัวให้เป็นแม่งานวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงินฯ ก็ไม่ต่างกับ “ตรายาง” ประทับความชอบธรรมการลงทุนโครงการภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงินฯ

เพราะเมื่อกฎหมายล็อกโครงการเอาไว้แล้ว ผลการวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของโครงการไม่อาจเป็น “อิสระ” จากความต้องการฝ่ายการเมืองอย่างแท้จริง เพราะหากท้ายที่สุด สศช.คัดค้านโครงการที่รัฐบาลเสนอมาว่าไม่คุ้มค่า ฝ่ายการเมืองก็จะหยิบยกฉันทานุมัติจากสภาและประชาชนเร่งทำคลอดโครงการให้เกิดขึ้นจนได้ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพโคราช หากผลการวิเคราะห์โครงการระบุว่าไม่คุ้มค่าทางการเงินและเสี่ยงขาดทุนสูง ก็จำต้องนำผลการวิเคราะห์แง่อื่นๆมาสร้างความชอบธรรมให้โครงการนี้เกิดขึ้น อาทิ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงิน เป็นต้น

นอกจากนี้ การลงทุนไม่ใช่งานที่ง่ายเลย เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสุขภาพและชุมชน การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน “เงินกู้” ที่รัฐบาลตุนไว้ในกระเป๋าอาจจ่ายไม่ออกก็เป็นได้ เช่น เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงินลงทุนน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่เบิกจ่ายเพียง 5,000 ล้านบาท

แม้แต่โครงการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด หรือแลนด์บริดจ์ ที่ล้วนเอาโครงการเป็นตัวตั้งทั้งนั้น เมื่อศึกษาแล้วไม่คุ้มค่าหรือถูกต่อต้านโครงการก็ล้มไปโดยปริยาย ปัดฝุ่นกินค่าที่ปรึกษามาแล้วไม่รู้กี่รอบ ซึ่งเป็นไปได้ที่โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะซ้ำรอยโครงการเหล่านี้ก็เป็นได้

ขณะเดียวกัน หากพิจารณาแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ก็จะพบว่าเป็นเส้นทางส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่แนวรางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

นั่นทำให้ประเทศไทยจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงขนาด 1.435 เมตร ยกระดับรางขึ้นจากพื้นดิน 45 เมตร และวิ่งตีคู่ขนานไปกับรถไฟทางเดี่ยวและรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ซึ่งตามแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลมีแผนลงทุนสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มจากไม่กี่ร้อยกิโลเมตรเป็นกว่า 3 พันกิโลเมตรในช่วง 7 ปี

เป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ หรือเพียงเพื่อให้ประเทศไทยมีรถไฟความเร็วสูง “เทียมหน้าเทียมตากับประเทศอื่นๆ ที่มีปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมที่ต่างกัน

นอกจากนี้ เงินกู้เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง 2 ล้านล้านบาท ไม่ต่างจากการจัดสรร “โควตา” เงินลงทุนของประเทศในช่วง 7 ปีข้างหน้า โดยให้รัฐบาลเพียงชุดเดียวในการตัดสินใจอนุมัติโครงการลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จ

เท่ากับว่า หากในอนาคตมีโครงการที่เร่งด่วนจำเป็นมากกว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือยามที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่วัฏจักรตกต่ำถี่ขึ้นๆ รัฐบาลนี้หรือรัฐบาลในอนาคตจะมีความยุ่งยากในการจัดสรรปันส่วนเงินไปลงทุนในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนกว่า

“หากประเทศเรามีโครงการลงทุนที่จำเป็นเร่งด่วนมากกว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงหรือถนนบางเส้น เราจะไม่สามารถจัดสรรเงินประเทศไปลงทุนโครงการเหล่านั้นได้เลย เพราะรัฐบาลนี้ได้กำหนดโควตาเงินลงทุนเอาไว้แล้ว” พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ

การตัดสินใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ที่รัฐบาลเร่งเครื่องผลักดันกฎหมายอยู่ในขณะนี้ เหมือนเอาเงินเป็นตัวตั้ง ส่วนแผนลงทุนและโครงการลงทุนเป็นปัจจัยรองๆ

แต่ที่แน่ๆ เงินค่านายหน้าค่าจ้างที่ปรึกษาฯ หากหักหัวคิว 30% ก็เป็นเงินชิล ชิล หลายหมื่นล้าน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2013 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ” ชะลอไฮสปีดเทรน ชงสภาพัฒน์ศึกษาลงทุนใหม่
ISN Hot News 05/04/2013 , 11:49

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมเปิดรับฟังทุกความเห็นเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) แต่เบื้องต้นไม่อยากให้พุ่งเป้าไปที่ประเด็นของจุดคุ้มทุนและค่าโดยสารที่มีราคาสูง เพราะอยากให้มองในเชิงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ที่จะเกิดขึ้นอย่างมากหลังมีโครงการรถไฟความเร็วสูง

“โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ภายในร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท จึงจะให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาถึงความคุ้มค่าการลงทุนทั้ง 4 เส้นทาง และพร้อมจะปรับเปลี่ยนเส้นทางหาก สศช.เห็นว่าไม่คุ้มทุน”

นายชัชชาติ กล่าวว่า กระทรวงได้ตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อกำกับและดูแลเรื่องราคาการดำเนินการต่างๆ เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ หลังจากได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ค่าจ้างที่ปรึกษามีราคาสูงเกินไป โดยคณะกรรมการจะหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถึงการดำเนินโครงการนี้ด้วย และยืนยันว่าโครงการนี้โปร่งใสในทุกขั้นตอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/04/2013 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานแย่ ขอไฮสปีดถึงหนองคาย 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง
มติชน วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:15:15 น.

ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานแย่ ขอไฮสปีดถึงหนองคาย 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง

วันนี้ (5 เม.ย. 56) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "ชาวอีสาน กับโครงการรถไฟความเร็วสูง” โดยผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานส่วนใหญ่บ่นการให้บริการรถไฟในปัจจุบัน และต้องการให้มีรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคาย โดยประมาณ 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูงแทนพาหนะอื่นๆ ในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2556 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ

จากผลสำรวจเมื่อถามความเห็นถึงระบบรถไฟสายอีสานในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 30.2 ตอบว่า แย่ และร้อยละ19.2 ตอบว่า แย่มาก โดยมีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่เห็นว่าระบบรถไฟสายอีสานดีอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ตอบไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนจะประเมินให้คะแนนน้อยกว่าเนื่องจากมีความคาดหวังสูงจากการใช้บริการ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 29.9 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 23.9 ตอบว่าแย่มาก มีเพียงร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ตอบว่าดี

อีสานโพล ได้สอบถามต่อว่า หากจังหวัดของท่านมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วอยู่ที่ 250 – 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่าน ค่าโดยสาร 2.5 บาท/กิโลเมตร เช่น ค่าโดยสาร หนองคายไป กทม. ขาเดียวประมาณ 1,540 บาท/เที่ยว และ ค่าโดยสาร ขอนแก่นไป กทม. ประมาณ 1,050 บาท/เที่ยว ท่านคิดว่าส่วนใหญ่ท่านจะเดินอย่างไร กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เลือกที่จะเดินทางด้วยรถทัวร์ถึงร้อยละ 41.0 รองลงมาจึงเป็นรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 37.0 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 12.9 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 5.0 มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่เลือกเดินทางด้วยเครื่องบิน แตกต่างจากกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกเปลี่ยนมาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 31.8 รองลงมาเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์ ร้อยละ 29.2 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 23.2 และเครื่องบิน ร้อยละ 23.2 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 1.7

นอกจากนี้เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่า การสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสานเส้นทางใด จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่มีงบประมาณอย่างจำกัดมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 36.7 เห็นว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่สุด (โดยร้อยละ 43.2 ของกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน เห็นว่าเส้นทางนี้มีความเหมาะสมในการลงทุนมากที่สุด) รองลงมาร้อยละ 18.5 เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี มีความเหมาะสม ตามมาด้วยร้อยละ 17.6 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีความเหมาะสม และร้อยละ 17.1 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี มีความเหมาะสม โดยมีเพียงร้อยละ 10.0 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความเหมาะสม

"จากผลสำรวจจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ารถไฟสายอีสานในปัจจุบันให้บริการในระดับ แย่ถึงแย่มาก ทั้งนี้หากค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 2.5 บาทต่อกิโลเมตร กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์เป็นหลักในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามมาด้วยรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเดินทางของผู้มีรายได้สูง จะเน้นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถทัวร์ รถส่วนตัว และเครื่องบิน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระยะทางจากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด" ดร.สุทิน กล่าวตอนท้าย

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99.99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 5.7% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 49.5 เพศชาย ร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 33.6 รองลงมาอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.8, 46-55 ปี ร้อยละ 26.8, อายุ 18- 25 ปี ร้อยละ 6.9 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.0โดยอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 45.4 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 54.6

ส่วนระดับการศึกษาของผู้ตอบส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.0, ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 20.0, มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 17.6, อนุปริญญา /ปวส. ร้อยละ 13.8, ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 5.7

ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.3 รองลงมาอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.5 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.8 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.3 อาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.7 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 อื่นๆ 0.8

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่รายได้อยู่ที่ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.4 รองลงมารายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 25.3 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 17.6 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 15.8 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.5 และมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 5.4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 05/04/2013 10:17 pm    Post subject: ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานบริการห่วย ขอ “ไฮสปีด” ถึงหนองคาย Reply with quote

ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานบริการห่วย ขอ “ไฮสปีด” ถึงหนองคาย
โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 5 เมษายน 2556 16:12 น.

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - “อีสานโพล” เผยผลสำรวจเรื่อง “ชาวอีสาน กับโครงการรถไฟความเร็วสูง” พบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่พอใจการให้บริการรถไฟไทย ต้องการรถไฟความเร็วสูงถึงหนองคาย โดย 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูงแทนพาหนะอื่นเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

วันนี้ (5 เม.ย.) ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม จากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย ใน 20 จังหวัดภาคอีสาน

ผลสำรวจถึงระบบรถไฟสายอีสานในปัจจุบัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 30.2 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 19.2 ตอบว่าแย่มาก โดยมีเพียงร้อยละ 10.4 ที่เห็นว่าระบบรถไฟสายอีสานดีอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนตอบไปในทิศทางเดียวกัน

กลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนจะให้คะแนนน้อยกว่า เนื่องจากมีความคาดหวังสูงกับการใช้บริการ กล่าวคือ ร้อยละ 38.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 29.9 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 23.9 ตอบว่าแย่มาก มีเพียงร้อยละ 8 ที่ตอบว่าดี

อีสานโพลถามต่อว่า หากจังหวัดของท่านมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วอยู่ที่ 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่าน ค่าโดยสาร 2.5 บาทต่อกิโลเมตร เช่น หนองคาย-กรุงเทพฯ ประมาณ 1,540 บาท และขอนแก่น-กรุงเทพ ประมาณ 1,050 บาท พบว่ากลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เลือกที่จะเดินทางด้วยรถทัวร์ร้อยละ 41.0 รองลงมาเป็นรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 37.0 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 12.9 รถไฟธรรมดาร้อยละ 5.0 มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่เลือกเดินทางด้วยเครื่องบิน

กลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่เลือกเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 31.8 รองลงมารถทัวร์ ร้อยละ 29.2 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 23.2 และเครื่องบิน ร้อยละ 23.2 รถไฟธรรมดา ร้อยละ 1.7

ประเด็นการสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน เส้นทางใดจึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่มีงบประมาณจำกัดมากที่สุด ร้อยละ 36.7 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่สุด (โดยร้อยละ 43.2 ของกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน เห็นว่าเส้นทางนี้มีความเหมาะสมในการลงทุนมากที่สุด) รองลงมาร้อยละ 18.5 เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ส่วนร้อยละ 17.6 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีความเหมาะสม และร้อยละ 17.1 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี มีความเหมาะสม มีเพียงร้อยละ 10.0 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความเหมาะสม

ดร.สุทินกล่าวว่า จากผลสำรวจจะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ารถไฟสายอีสานในปัจจุบันให้บริการในระดับ “แย่ ถึงแย่มาก” ทั้งนี้หากค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 2.5 บาทต่อกิโลเมตร กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์เป็นหลัก ตามมาด้วยรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ส่วนรูปแบบการเดินทางของผู้มีรายได้สูง จะเน้นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถทัวร์ รถส่วนตัว และเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระยะทางจากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด

ที่มาครับ : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365149205&grpid&catid=01&subcatid=0100

คราวหน้า อย่าลืมใส่ที่มา หรือทำลิงค์ของที่มาของข่าวด้วยครับ
Dark Mod
22:20 น.
05/04/56


Last edited by JackSkyline on 06/04/2013 2:44 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 05/04/2013 10:22 pm    Post subject: Reply with quote

^ จากลิงค์ข่าวข้างบน รูปคุ้นๆจัง
Click on the image for full size

กับรูปนี้
Click on the image for full size
จากกระทู้ ภาพรถไฟมือไหม่ Hafisfaros F.
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 06/04/2013 2:47 am    Post subject: Reply with quote

ตกลงงานวิจัยนี้ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยดัง อาจารย์ท่านนี้คงจะมีอคติกับรถไฟเดิม

และคนอีสาน ปกติจะมีอคติกับรถไฟมากอยู่แล้ว
พอสำรวจก็เลยเล่นซะ คิดแบบไม่รุ้จริงๆ แบบตาสีตาสาว่า รถไฟควาเร็วสูง คงจะเป็นรถไฟที่วิ่งเร็ซกว่าเก่า

ไม่ใช่ระบบรางที่มีการตลาดอีกแบบหนึ่ง

ผลสำรวจก็ยังเห็นว่า ชนชั้นกลาง จะดิ้นๆๆๆ อยากได้มากที่สุด โดยอยากให้รถไฟธรรมดาถูกทอดทิ้ง
คนอีสาน ชอบความหรูหรา ไม่ชอบความประหยัดซักเท่าไหร่ คนอีสานจะเน้นรถทัวรืเป็นหลัก และมักมีอคติกับรถไฟ

ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยยังเข้าใจผิดกันอีกมาก และอาจารยืผู้ทำวิจัยก็เห็นชอบคล้อยตามความเข้าใจผิดของชาวบ้านด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nop2
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 06/03/2008
Posts: 985
Location: เพชรบุรี

PostPosted: 06/04/2013 7:47 am    Post subject: Reply with quote

มันอคติกันเยอะ ...เคยไปเทียบแล้วไม่ต่าง พวกดีก็ด่าเรื่องสกปรกครับ
_________________
"You are star I am darkness Our love brighter than the sun .."
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2013 10:44 am    Post subject: Reply with quote

"กรณ์" ยันรถไฟด่วนจี๋ของรบ.ทำได้ไม่ต้องเป็นหนี้50ปี หากใช้วิธีร่วมทุนกับจีน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 เมษายน 2556 01:32 น.


"กรณ์" ตามจวก"ชัชชาติ" โกหกกลางสภาฯ หลอกปชช.รถไฟความเร็วสูงวิ่งถึงหนองคาย ปาดังเบซาร์ แท้จริงถึงแค่โคราช หัวหิน เหตุเทงบทำทางไปเชียงใหม่เอาใจ'นายใหญ่-นายหญิง' ก่อนแก้เอกสารกลัวคะแนนเสียงหด จนถูกจับได้ ชี้กฎหมายกู้ 2 ล้านล้านพบพิรุธอื้อ ยันปชป.ทำได้ไม่ต้องแบกหนี้ 50 ปี แค่ใช้วิธีร่วมทุนกับจีนแทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่6เม.ย. นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ภายใต้หัวข้อ "เรื่องของรถไฟความเร็วสูง - แล้วถ้าเป็นประชาธิปัตย์เราจะทำอย่างไร?" ดังนี้

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ถูกแฉกลางสภาฯว่า 'โกหก' ที่ระบุในเอกสารประกอบการพิจารณาว่ารถไฟฟ้าจะวิ่งไปถึงหนองคาย และทางใต้ไปถึงปาดังเบซาร์

ก็อาจจะว่ากันแรงไปหน่อย แต่ท่านพยายามแก้ตัวในสภาฯ แต่ก็ไปไม่รอด สุดท้ายทางกระทรวงจึงออกมายอมรับว่ามีงบเงินกู้จัดไว้ให้ไปแค่โคราชและหัวหิน ลึกๆคุณชัชชาติพลาดเพราะไปยอมทุ่มเงินกับเส้นทางไปเชียงใหม่ตามความต้องการของ 'นายใหญ่-นายหญิง' ทั้งๆที่คุณชัชชาติก็คงจะรู้ว่าไม่ได้เป็นเส้นทางที่คุ้มค่าที่สุด จากนั้นพอสส.อีสานกลัวเสียคะแนนก็เลยยอมมาแก้เอกสาร จนถูกจับได้

ถ้าใครอยู่ในวงการหุ้น จะรู้นะครับว่าบริษัทใหนทำเอกสารประกอบการขอเงินเพิ่มทุนอย่างนี้ ถึงกับผิดอาญาเลยทีเดียว โทษสูงสุดติดคุกสองปี และนั่นเขาขอเงินกันเพียงหลักร้อยล้านพันล้าน

แต่นี่จะเอาเงิน ๒ ล้านล้าน แต่เอกสารที่อ้างว่าครบถ้วนเรียบร้อยนั้น จริงแล้วยังขาดความน่าเชื่อถือในอีกหลายจุดสำคัญ และเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่ยอมยืนยันให้เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย

วันก่อนผมนั่งคุยกับคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ท่านเล่าให้ผมฟังว่าตอนที่ท่านไปคุยกับจีนเรื่องนี้ ผู้ที่จีนให้มาคุยด้วยก็คือผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน ขณะนั้นทั้งสองท่านยังเป็นรองนายกฯอยู่ และท่านทั้งสองได้วาดแผนว่าจะต้องมีการเชื่อมโยงจีนเข้ามากับอาเซี่ยนด้วยเส้นทาง คุนหมิง-สิงคโปร์ ที่ผ่านเมืองไทยจากหนองคายไปสู่ปาดังเบซาร์ และที่สำคัญข้อตกลงเบื้องต้นกับจีนคือการร่วมลงทุนที่จะทำให้ภาระการลงทุนของไทยเราลดลงอย่างมาก

แนวคิดเราคือ
๑. เริ่มลงทุนด้วยเส้นแรกสาย 'เอเซียใต้' คุนหมิง-ลาว-ไทย-มาเลย์ฯ-สิงคโปร์
๒. เราใช้พื้นที่ทางรางเป็นส่วนทุนของเรา
๓. จีนลงเงินค่าวางราง ซึ่งใช้ส่วนนี้เป็นทุนของเขา
๔. ทั้งหมดจดทะเบียนเป็นบริษัทร่วมทุน ไทยถืออย่างน้อย ๕๑% มีสัมปทานบริหารเส้นทางรางประมาณ ๕๐ปี
๕. บริษัทนี้กู้เงินเองเพื่อมาลงทุนในตัวรถไฟและการบริหารจัดการ เท่ากับประชาชนคนไทยผู้เสียภาษีต้องใส่เงินน้อยมาก
๖. ใครคนอื่นอยากวิ่งรถไฟบนรางนี้ก็ได้ แต่ต้องเสียค่าเช่ารางให้บริษัทร่วมทุนในช่วงสัมปทาน
๗. ส่วนเงินที่ไทยต้องใช้ จะมาจากงบประมาณ
๘. ทุกขั้นตอนผ่านรัฐสภาฯ และได้พิจารณาตามมาตรา ๑๙๐ แล้วด้วย

นี่คือการ 'แปลงสินทรัพย์เป็นทุน' ที่รัฐมนตรีชัชชาติตอบในสภาฯว่า 'ยากเกินไป' และทั้ง'ผู้คิดแทนพรรค'และสส.พรรคเพื่อไทยทุกคนก็กลับลำคำสัญญาว่า หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็จะ 'ไม่กู้'

แถมดันไปกู้นอกระบบงบประมาณอีกต่างหาก และไม่ยอมยืนยันว่าจะใช้ระเบียบการพัสดุในการจัดซื้อจัดจ้าง

เรื่องเดียวกัน แต่วิธีคิด วิธีทำต่างกันชัดเจน ผลต่อประเทศ ต่อประชาชนก็ต่างกันด้วยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45638
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/04/2013 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

ปชป.อัดรัฐเพิ่งให้สภาพัฒน์ศึกษาลงทุนรถไฟ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 เมษายน 2556 16:30

ปชป.อัดรัฐบาลเพิ่งให้สภาพัฒน์ฯศึกษาความคุ้มค่าลงทุนรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง สะท้อนความไม่รอบคอบ-เร่งรีบเกินเหตุ

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลเพิ่งให้ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาความคุ้มค่าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่รอบคอบและเร่งรัดเร่งรีบ

อีกทั้งรัฐบาลเพิ่งตั้งคณะกรรมการกลาง ขึ้นมาดูแลเพราะถูกทักท้วงจากนักวิชาการและฝ่ายค้าน ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะติดตามความไม่ชอบมาพากลในการออกกฎหมายดังกล่าวต่อไป และขอให้รัฐบาลดำเนินโครงการต่างๆด้วยความโปร่งใสต่อไป พร้อมยังเสนอว่า รัฐบาลควรเลือกทำโครงการที่มีความคุ้มทุน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 07/04/2013 11:16 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานแย่ ขอไฮสปีดถึงหนองคาย 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง
มติชน วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:15:15 น.

ชาวอีสานบ่นรถไฟสายอีสานแย่ ขอไฮสปีดถึงหนองคาย 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง

วันนี้ (5 เม.ย. 56) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "ชาวอีสาน กับโครงการรถไฟความเร็วสูง” โดยผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานส่วนใหญ่บ่นการให้บริการรถไฟในปัจจุบัน และต้องการให้มีรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคาย โดยประมาณ 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูงแทนพาหนะอื่นๆ ในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2556 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ

จากผลสำรวจเมื่อถามความเห็นถึงระบบรถไฟสายอีสานในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 30.2 ตอบว่า แย่ และร้อยละ19.2 ตอบว่า แย่มาก โดยมีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่เห็นว่าระบบรถไฟสายอีสานดีอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ตอบไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนจะประเมินให้คะแนนน้อยกว่าเนื่องจากมีความคาดหวังสูงจากการใช้บริการ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 29.9 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 23.9 ตอบว่าแย่มาก มีเพียงร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ตอบว่าดี

อีสานโพล ได้สอบถามต่อว่า หากจังหวัดของท่านมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วอยู่ที่ 250 – 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่าน ค่าโดยสาร 2.5 บาท/กิโลเมตร เช่น ค่าโดยสาร หนองคายไป กทม. ขาเดียวประมาณ 1,540 บาท/เที่ยว และ ค่าโดยสาร ขอนแก่นไป กทม. ประมาณ 1,050 บาท/เที่ยว ท่านคิดว่าส่วนใหญ่ท่านจะเดินอย่างไร กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เลือกที่จะเดินทางด้วยรถทัวร์ถึงร้อยละ 41.0 รองลงมาจึงเป็นรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 37.0 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 12.9 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 5.0 มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่เลือกเดินทางด้วยเครื่องบิน แตกต่างจากกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกเปลี่ยนมาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 31.8 รองลงมาเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์ ร้อยละ 29.2 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 23.2 และเครื่องบิน ร้อยละ 23.2 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 1.7

นอกจากนี้เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่า การสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสานเส้นทางใด จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่มีงบประมาณอย่างจำกัดมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 36.7 เห็นว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่สุด (โดยร้อยละ 43.2 ของกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน เห็นว่าเส้นทางนี้มีความเหมาะสมในการลงทุนมากที่สุด) รองลงมาร้อยละ 18.5 เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี มีความเหมาะสม ตามมาด้วยร้อยละ 17.6 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีความเหมาะสม และร้อยละ 17.1 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี มีความเหมาะสม โดยมีเพียงร้อยละ 10.0 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความเหมาะสม

"จากผลสำรวจจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ารถไฟสายอีสานในปัจจุบันให้บริการในระดับ แย่ถึงแย่มาก ทั้งนี้หากค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 2.5 บาทต่อกิโลเมตร กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์เป็นหลักในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามมาด้วยรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเดินทางของผู้มีรายได้สูง จะเน้นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถทัวร์ รถส่วนตัว และเครื่องบิน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะระยะทางจากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด" ดร.สุทิน กล่าวตอนท้าย

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99.99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 5.7% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 49.5 เพศชาย ร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 33.6 รองลงมาอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.8, 46-55 ปี ร้อยละ 26.8, อายุ 18- 25 ปี ร้อยละ 6.9 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.0โดยอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 45.4 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 54.6

ส่วนระดับการศึกษาของผู้ตอบส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.0, ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 20.0, มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 17.6, อนุปริญญา /ปวส. ร้อยละ 13.8, ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 5.7

ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.3 รองลงมาอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.5 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.8 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.3 อาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.7 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 อื่นๆ 0.8

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่รายได้อยู่ที่ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.4 รองลงมารายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 25.3 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 17.6 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 15.8 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.5 และมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 5.4



สำหรับข่าวที่ให้ความเห็นว่าเส้นไหนเหมาะสมเท่านั้นเท่านี้ก็เป็นแค่ความเห็น เอามาอ้างตามหลักวิชาการไม่ได้ มข. ก็น่าจะรู้ ไม่น่าปล่อยข่าวออกมาแบบไก่กา[/b]
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 143, 144, 145 ... 556, 557, 558  Next
Page 144 of 558

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©