RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311540
ทั่วไป:13337924
ทั้งหมด:13649464
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 144, 145, 146 ... 555, 556, 557  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2013 3:33 pm    Post subject: Reply with quote

แฉ!“ไฮสปีด”เพิ่งถึงสภาพัฒน์ แม้วยุส่ง! เงินต่อเงิน หนี้พุ่งรายได้พุ่งด้วย

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
7 เมษายน 2556 20:04 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (7 เม.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" ถึง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมว่า "อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง
ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือ การลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้น ทั้งทางตรงทางอ้อม
ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กำลังพิจารณาในกรรมาธิการฯ ว่า มีความไม่แน่นอนในทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น หากร่างนี้มีผลบังคับใช้ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายจะทำอย่างไร เช่น รถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลได้ส่งเรื่องกลับไปให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาถึงความคุ้มค่าการลงทุนทั้ง 4 เส้นทาง ทั้งที่ในการพิจารณาวาระแรก รัฐบาลพยายามบอกว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่เมื่อกฎหมายผ่านวาระแรกไปแล้ว รัฐบาลกลับเพิ่งจะส่งเรื่องให้สภาพัฒน์ฯ พิจารณา เท่ากับว่าก่อนที่จะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในสภาวาระแรก รัฐบาลไม่มีความรอบคอบในการใช้เงินกู้นี้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เป็นการทำงานแบบหละหลวม รวบรัด เร่งรีบ จึงต้องถามว่า ทำเพื่ออะไร
กรณีที่ให้สภาพัฒน์ฯ เข้ามาดูแลในเรื่องรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ตามที่เอกสารระบุว่า กทม. -เชียงใหม่ , กทม.-หัวหิน, กทม.-นครราชสีมา และ กทม.-พัทยา ทั้งนี้งบประมาณที่กำหนดสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง คิดเป็นเงินประมาณ 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลจึงควรเลือกทำเส้นทางที่มีความคุ้มทุนอย่างชัดเจน แทนที่จะนำเงินทั้งหมดทำหลายเส้นทางพร้อมกัน ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ ก็ควรเลือกทำเส้นทางที่คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อลดภาระหนี้และดอกเบี้ย รวมทั้งลดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม พรรคจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป ว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลอีกหรือไม่ เพราะทราบว่า รัฐบาลเพิ่งจะดำริตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อกำกับดูแลเรื่องราคาที่จะดำเนินการ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ กลับไม่มีการทำมาก่อน จึงมีความจำเป็นที่พรรคจะต้องติดตามเรื่องการกู้เงินมาทำโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ ยืนยันว่าพรรคไม่ได้คัดค้านการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์แต่รัฐบาลต้องดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใส เนื่องจากเงิน 2 ล้านล้านบาท มีผลผูกพันให้มีหนี้ร่วมกันถึง 50 ปี มีดอกเบี้ย 3 ล้านล้านบาท เท่ากับต้องใช้รัฐบาล 12 รัฐบาล เข้ามารับผิดชอบดูแลเงินกู้ก้อนนี้
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หลังเทศกาลสงกรานต์ จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านบาท ของกระทรวงการคลัง ว่า อาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 นั้น พรรคเพื่อไทย ไม่รู้สึกหนักใจ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดตามกฎหมาย สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เคยออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท แต่ศาลก็ชี้ว่าไม่ขัดกฎหมาย สามารถทำได้ ซึ่งการไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการการตีรวน ขัดขวางไม่ให้รัฐบาลทำนโยบายโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชน ทั้งที่โครงการของพรรคเพื่อไทยใจกว้าง สร้างท่ารือน้ำลึกที่ จ.ชุมพร ด้วย
"พรรคประชาธิปัตย์ จะมีอายุครบ 67 ปี ถือว่าเลยวัยเกษียณมาแล้ว อยากให้ทำการเมืองและค้านอย่างสร้างสรรค์ จะได้เป็นประโยชน์กับประชาชน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว และว่า ทางพรรคพร้อมที่จะหารือถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2.2 ล้านบาทด้วย.

//-----------------------------

"หมวดเจี๊ยบ"ซัด! ปชป.ฟังไม่รู้เรื่อง โจมตีรถไฟความเร็วสูงซ้ำซาก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 เมษายน 2556 14:42 น.


ร.ท.(หญิง) สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีพรรคประชาธิปัตย์โจมตีรัฐบาล ไม่มีความพร้อมในการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ตามร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทว่า ไม่ทราบว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ยินคำชี้แจงของรัฐบาลหรืออย่างไร ถึงโจมตีวนเวียนอยู่กับประเด็นเก่าๆ ซ้ำซาก ทั้งๆ ที่รัฐบาลยืนยันมาหลายครั้งแล้วว่า จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคายแน่นอน ไม่ใช่หยุดแค่โคราช เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีน
รัฐบาลยืนยันไปหลายครั้งแล้ว คนไทยทั้งประเทศก็ได้ยิน จะมีก็แต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ฟังไม่รู้เรื่อง แกล้งไม่ได้ยิน อย่างนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่าไทยจะสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคายแน่นอน แล้วจะไปสิ้นสุดแค่โคราชอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามยัดเยียดได้อย่างไร
การใช้เงินของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้ ไม่ได้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเหมือนรัฐบาลประชาธิปัตย์ อย่างโครงการแจกเช็ค 2,000 บาท ที่เอาเงินภาษีของประชาชนไปแจกเฉยๆ ไม่ได้ประโยชน์เป็นรูปธรรม ไม่เกิดประโยชน์กับคนยากคนจน แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ มีวิธีคิดบริหารจัดการเงินภาษีของพี่น้องประชาชนที่แตกต่างกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2013 2:08 am    Post subject: Reply with quote

ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน
โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
คอลัมน์ คนเดินตรอก
8 เมษายน 2556 เวลา 13:01:59 น.

งานนี้ด็อกเตอร์โกร่งแกยกตัวอย่างการกู้เงินธนาคารโลก 66 ล้านดอลลาร์สร้างเขื่อนภูมิพล ที่ได้ประโยชน์มหาศาลเลย เอามาเปรียบเทียบกะการกู้เงินในประเทศสร้างรถไฟความไวสูงแน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45546
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/04/2013 9:56 pm    Post subject: Reply with quote

สภาพัฒน์รับรถไฟความเร็วสูงรายได้ไม่คุ้ม
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 9 เมษายน 2556 17:56

สภาพัฒน์ยอมรับโครงการรถไฟความเร็วสูง มีรายได้จากค่าโดยสารแค่ 30-40% แต่มีรายได้อื่นเสริม อ้างลดเหลื่อมล้ำ-ลดต้นทุนโลจิสติกส์ 2%

วันนี้ (9 เม.ย.) คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ประชุมโดยให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวชี้แจงความจำเป็นในการลงทุนตามพ.ร.บ.เงินกู้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงแรกเป็นการตั้งคำถามสศช. เช่น ความจำเป็นในการใช้เงินพัฒนาประเทศถึง 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียวนั้น คำนึงถึงการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านการเกษตรที่ประสบปัญหาน้ำแล้ง หรือด้านอื่นๆหรือไม่ และสามารถตอบสนองความต้องการของประเทศจริงหรือไม่ รวมทั้งมีการคำนวณความคุ้มค่าการลงทุนของโครงการหรือไม่

ขณะเดียวกัน ยังมีการสอบถามถึงสัดส่วนการลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูงทั้งๆที่รถไฟความเร็วสูงเน้นขนส่งผู้โดยสาร ไม่ใช่สินค้า ทำให้การใช้เงินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและค่าตั๋วรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่เท่าใด หากราคาสูงประชาชนก็ไม่สามารถใช้บริการได้ นอกจากนั้น ยังถามถึงระยะเวลาในการพิจารณาแผนที่ใช้เวลาเร็วมากเพียง 1 เดือน ขณะที่แผนมีรายละเอียดมาก

นายอนุชา บูรพชัยศรี กล่าวว่า ตามแผนใช้เงินกู้ประมาณ 40% ของวงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 8 แสนล้านบาท ใช้สร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเห็นว่าหากลงทุนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เช่น รถไฟสายเหนือสร้างทางคู่ถึงเชียงใหม่จากเดิมถึงแค่คณะกรรมาธิการฯ ตั้งคำถามโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าลงทุนเด่นชัย จะทำให้การเดินทางด้วยระบบรางใช้เงินลงทุนไม่มาก

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ กรรมาธิการ กล่าวว่า กังวลว่าการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงจะไม่คุ้มค่า สร้างไปแล้วไม่มีคนใช้ ขณะที่รัฐบาลจะต้องใช้เงินอุดหนุนเนื่องจากโครงการขาดทุนอีกประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท สังเกตจากผลศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่พบว่าผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ -0.71%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า การวางแผนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะเน้นเส้นทางสายหลัก เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ 2% โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงจะช่วยประหยัดพลังงานและสร้างโอกาสการเติบโตของเมือง ส่วนค่าโดยสารที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงและลดความเหลื่อมล้ำได้นั้น จากผลศึกษารายได้จากค่าโดยสารจะอยู่ที่ประมาณ 30-40% ที่เหลือเป็นรายได้ที่ไม่ใช่ค่าโดยสาร ดังนั้นค่าโดยสารจะไม่ได้เก็บเพื่อให้คุ้มการลงทุน แต่จะมีรายได้ส่วนอื่นมาเสริม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 10/04/2013 10:28 am    Post subject: Reply with quote

เห็นตามเว็บบอร์ดหลายๆ บอร์ด ยังมีคนพูดแบบนี้อีกนะครับ
ทั้งๆ ประเทศอื่นๆ เขาใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นทางเือกหนึ่ง และมีรถไฟธรรมดาออกหลายๆ เที่ยว และคนยังนิยมใช้บริการอยู่ ยังมาพูดกันว่า

เปลี่ยนใหม่ได้แล้ว ประเทศอื่นเขามีความเร็วสูงกันหมดแล้ว เหลือแต่พี่ไทยเรานี่แระ อนุรักษ์ ของเก่าจริงๆ 3G ก็ยังไม่ได้ใช้ ประเทศอื่นเขาใช้ 5G กันหมด (แล้ว) เวร (กรรม)

ขนาดรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญชี้แจงออกสื่อ ว่ามันมีสองระบบ รถไฟประเทศไหนๆ เขาก็มีสองระบบควบคุ่กัน
แต่หลายๆ คน
ยังพากันพูดว่า เขาเลิกใช้รถไฟธรรมหา เปลี่ยนไปใช้รถไฟความเร็วสูงหมดแล้ว

ไปเจอบอร์ดสนทนาที่ไหนก็มีแต่เข้าใจว่า รถไฟความเร็วสูงมาแทนที่รถไฟเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่มีคนชี้แจงแล้วยังดื้อแพ่ง มาว่า เลกเลิกใช้รถไฟพื้นฐานไปใช้รถไฟความเร็วสูงกันหมดแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2013 11:43 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็รัฐบาลเล่นหาเสียงและโฆษณากันแบบที่ว่าจะทำรถไฟความไวสูงเพื่อจะได้ไม่ต้องดูแลรถไฟที่มีอยู่แล้วแถมพกด้วยการแก้ขนาดรางอีกต่างหาก --- คราวนี้เจอสภาพลิ้นพันคอตัวเอง เพราะ ดันไปพูดหาเสียงเพื่อได้เป็นรัฐบาลพอมาเจอความจริงเอาเข้าให้ ก็เลยกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2013 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ระบุอีก 2 เดือนศึกษาแนวรถไฟความเร็วสูงและสถานีสายเหนือแล้วเสร็จ
MCOT วันที่ 10 เมษายน 2556

กรุงเทพฯ 10 เม.ย. - นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทางและจุดกำหนดสถานี ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าสำหรับเส้นทางสายเหนือ ซึ่งในเฟส 1 จะถึงพิษณุโลก การศึกษาจะเสร็จภายใน 2-3 เดือน

หลังจากนั้นการศึกษาแนวเส้นทางสายอีสาน ซึ่งเฟส 1 จะถึงนครราชสีมา และสายใต้ถึงหัวหิน การศึกษาทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จในอีก 2-3 เดือน ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นแนวเส้นทางที่จะก่อสร้างจะมีสถานีหลายแห่งที่ต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมออกจากพื้นที่เก่า เช่น สถานีที่นครราชสีมา เพชรบุรี ซึ่งต้องขยับสถานีออกไปจากเดิม 4-5 กิโลเมตร เพื่อให้ในอนาคตไม่เกิดปัญหาจราจรในการเข้า-ออก รวมทั้งดูแลให้การขยายสถานีในอนาคตซึ่งจะมีเอกชนเข้ามาร่วมด้วยเกิดความคล่องตัว นอกจากนี้ สถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูง เมื่อเข้าเขตเมืองก็ต้องทำเป็นสถานี 2 ชั้น และโครงสร้างยกระดับ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับผู้โดยสาร

สำหรับการจัดหาตัวรถในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ กระทรวงคมนาคมก็จะเปิดให้บริษัทเอกชนข้ามชาติซึ่งเป็นผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงและระบบเดินรถเข้ามายื่นข้อเสนอว่าระบบของผู้ผลิตแต่ละรายมีจุดเด่นอะไร ซึ่งในเบื้องต้น สนข.ได้ศึกษาและเห็นว่าการจัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูงควรจัดซื้อจากเอกชนรายเดียว เพื่อให้ต้นทุนการดูแลรักษาและการบริหารการเดินรถเกิดความชัดเจน ที่สำคัญเมื่อเลือกผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงได้ ก็จะทราบต้นทุนในการจัดหารถทั้งหมด และจะกำหนดค่าโดยสารได้ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง เบื้องต้นอยู่ที่กิโลเมตรละ 2.50 บาท ซึ่งรัฐบาลจะไม่นำต้นทุนในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมาคำนวณเป็นค่าโดยสาร แต่รัฐบาลจะแบกรับไป และการคำนวณค่าโดยสารจะใช้เฉพาะต้นทุนการบริหารจัดการและค่าบำรุงรักษามาคำนวณเพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้

“ขอยืนยันว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นระบบขนส่งทางเลือกทางหนึ่งเท่านั้น ซึ่งประชาชนยังเลือกการคมนาคมอื่น ๆ ได้ ทั้ง บขส. สายการบิน และรถไฟปกติ” นายจุฬา กล่าว. –สำนักข่าวไทย


สนข.คาดรถไฟความเร็วสูงสายเหนือศึกษาเสร็จภายใน 3 เดือน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10
10 เมษายน 2556 13:53 น.




นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำอายการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทาง และจุดที่ตั้งสถานีเบื้องต้น เชื่อว่าเส้นทางสายเหนือ ระยะที่ 1-พิษณุโลก จะศึกษาแล้วเสร็จใน 2-3 เดือนนี้ จากนั้นจะศึกษาเส้นทางสาย อีสานระยะที่ 1-นครราชศรีมา และสายใต้ถึง-หัวหิน โดยอาจจะมีสถานี หลายแห่งที่จะต้องย้ายจากสถานีรถไฟเดิมอย่างเช่น สถานีที่นครราชสีมาและเพชรบุรี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจราจร และเกิดความคร่องตัวในการขยายสถานีในอนาคต นอกจากนี้สถานีรถไฟความเร็วสูง ที่อยู่ในเขตเมืองก็ต้องทำเป็นสถานี 2 ชั้น และโครงสร้างยกระดับ สำหรับการจัดหาตัวรถนั้นจะเปิดให้บริษัทข้ามชาติ ยื่นข้อเสนอใน เดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ ในเบื้องต้น สนข.เห็นว่าควรจัดซื้อจากเอกชนรายเดียว เพื่อให้ต้นทุนการดูแลรักษา และการบริหารจัดการเดินรถ เกิดความชัดเจน และสามารถกำหนดค่าโดยสารๆ ได้
อย่างไรก็ตาม อัตราค่าโดยสารเบื้องต้น กิโลเมตรละ 2.50 สตางค์นั้นรัฐบาลจะไม่นำต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานมาคำนวน แต่ว่าจะใช้เฉพาะต้นทุนค่าบริหารจัดการและบำรุงรักษาเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้


Last edited by Wisarut on 10/04/2013 5:12 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 10/04/2013 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นแนวเส้นทางที่จะก่อสร้างจะมีสถานีหลายแห่งที่ต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมออกจากพื้นที่เก่า เช่น สถานีที่นครราชสีมา เพชรบุรี ซึ่งต้องขยับสถานีออกไปจากเดิม 4-5 กิโลเมตร เพื่อให้ในอนาคตไม่เกิดปัญหาจราจรในการเข้า-ออก รวมทั้งดูแลให้การขยายสถานีในอนาคตซึ่งจะมีเอกชนเข้ามาร่วมด้วยเกิดความคล่องตัว นอกจากนี้ สถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูง เมื่อเข้าเขตเมืองก็ต้องทำเป็นสถานี 2 ชั้น และโครงสร้างยกระดับ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับผู้โดยสาร

สถานีนครราชสีมา และเพชรบุรี ที่จะย้าย

คือหัวรถไฟโคราช สถานีรถไฟธรรมดา และสถานีรถไฟธรรมดาเพชบุรีใชหรือไม่ครับ

หรือว่า ย้ายแนวเขตที่วางแผนจะสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงครับที่เคยตั้งไว้แต่เดิมครับ

จะย้ายสถานีนครราชสีมาที่สถานีใหญ่มากๆ ไปจุดอื่นใช่ไหมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2013 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
อาจารย์สามารถ ท่านชี่้แจงว่าเฉพาะสายโคราชเท่านั้นที่ทำเงิน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=240497479428496&set=a.232032303608347.1073741828.232025966942314&type=1&ref=nf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2013 12:10 am    Post subject: Reply with quote

ดันบ.รถไฟฟ้าฯบริหารหัวจรวด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 05 เมษายน 2013 เวลา 13:32 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,833 วันที่ 7 - 10 เมษายน พ.ศ. 2556

"ประภัสร์" ผุดไอเดียดันบริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท. บริหารจัดการรถไฟฟ้า-ไฮสปีดเทรน แทนตั้งบริษัทใหม่ซึ่งต้องใช้เวลา เตรียมชงบอร์ดเห็นชอบ ชี้มีความพร้อมมากกว่า สามารถต่อยอดแผนการขับเคลื่อนองค์กรได้ทันที

ประภัสร์ จงสงวน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าเตรียมนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นชอบให้บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด ที่ปัจจุบันบริหารโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตลิงค์ ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนโดยไม่ต้องนำเสนอให้มีการก่อตั้งบริษัทรายใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าวเพราะจะเสียเวลาอีกนานกว่าจะแล้วเสร็จ

โดยมองว่าหากให้บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.ฯ เข้าไปดำเนินการแทนตั้งบริษัทใหม่นั้น จะสามารถรองรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในอนาคตได้ โดยเฉพาะงานในส่วนของการรถไฟฯ ที่จะทยอยปรับปรุงรถจากระบบดีเซลมาเป็นระบบรถไฟฟ้ามากขึ้น ประกอบกับยังสามารถให้ทำหน้าที่บริหารจัดการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าไฮสปีดเทรนที่รัฐบาลมีแผนเร่งดำเนินการอยู่ในขณะนี้ได้อีกด้วย

"ปัจจุบันการรถไฟฯ ไม่ได้เข้าไปเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์แต่เป็นบริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.ฯ ทำหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นหากให้เข้ามาทำหน้าที่ดูแลรถไฟฟ้าทั้งระบบของการรถไฟฯ ก็สามารถสานต่อหรือต่อยอดการดำเนินงานได้ทันที ไม่ยุ่งยาก เพราะบุคลากรมีความพร้อมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจัดหาใหม่ ดีกว่าจะปล่อยให้แอร์พอร์ตลิงค์มีขอบเขตการปฏิบัติอยู่เพียงปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ควรจะส่งเสริมให้ทำหน้าที่บริหารจัดการรถไฟฟ้าของร.ฟ.ท.ฯทั้งระบบ" นายประภัสร์กล่าวและว่าจะเร่งชงบอร์ดร.ฟ.ท.นำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการต่อไปโดยเริ่มจากการดูแลรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าความเร็วสูงต่อเนื่องกันไป

นอกจากนี้นายประภัสร์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการไฮสปีดเทรนทั้ง 4 เส้นทางว่าขณะนี้อยู่ระหว่างที่ปรึกษาในแต่ละเส้นทางเร่งออกแบบรายละเอียด โดยกลุ่มบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กลุ่มบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด ออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กลุ่มบริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกลุ่มบริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ออกแบบเส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง-ตราด

ส่วนการประกวดและข้อเสนอแนะนั้นจะทำพร้อมกับเส้นทางอื่นๆ ซึ่งความรวดเร็วหรือล่าช้าของแต่ละเส้นทางจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอนั้นๆ โดยเส้นทางใดพร้อมก่อนก็สามารถดำเนินงานได้ก่อน แต่ภายใน 7 ปีนี้ทต้องแล้วเสร็จทั้งหมด
อย่างไรก็ดีขณะนี้ไม่ได้เป็นห่วงและเป็นที่น่ายินดีที่ประชาชนตอบรับจากการจัดนิทรรศการขึ้นที่ศูนย์ราชการ อีกทั้งส่วนใหญ่ต่างเห็นว่ามีความจำเป็นทั้งหมดซึ่งข้อกังวลตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆร.ฟ.ท.ก็พร้อมนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยกระบวนการก่อสร้างยังคงพิจารณาที่ความพร้อมของความสมบูรณ์ทั้งระบบ มีผู้รับผิดชอบชัดเจนอยู่แล้ว ด้านที่ปรึกษาทั้ง 4 เส้นทางยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

"ร.ฟ.ท.ต้องพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่าเราทำได้ จึงเร่งเตรียมความพร้อมรากฐานให้พร้อมขยายไปสู่การพัฒนาสู่มิติอื่นๆต่อไป โดยเฉพาะประสบการณ์และความชำนาญเรื่องการบริหารจัดการและการเดินรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้แอร์พอร์ตลิงค์ถือว่าได้พิสูจน์ผลงานมาได้ระดับหนึ่งแล้วแม้จะยังมีปัญหาเล็กๆน้อยๆอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็สามารถต่อยอดการทำงานต่อไปได้ทั้งแอร์พอร์ตลิงค์ สายสีแดงและไฮสปีดเทรน"

ส่วนการก่อสร้างและการเวนคืนไม่ได้หนักใจเพราะแต่ละเส้นทางส่วนใหญ่จะยึดแนวเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันมากกว่า มีบางจุดเท่านั้นที่ต้องเวนคืนโดยเฉพาะช่วงโค้งแต่ส่วนใหญ่จะเป็นผืนป่า ท้องไร่ท้องนา ส่วนการก่อสร้างยังมั่นใจว่าทุกบริษัทล้วนมีมาตรฐานการทำงาน หากไม่มีความชำนาญด้านใดก็คงต้องไปหาพันธมิตรมาร่วมทีม

ผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวย้ำว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการแรกของไทย ที่ทุกฝ่ายต้องการเห็นความสำเร็จ ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ไม่ให้กระทบด้านความเชื่อมั่นการลงทุนของประเทศ ต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแสดงความสามารถให้เต็มที่โดยเฉพาะบทบาทที่ปรึกษาเพื่อโอกาสรับงานด้านอื่นๆในอนาคตต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42995
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2013 9:13 am    Post subject: Reply with quote

ปรับตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูง เน้นพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11
11 เมษายน 2556 00:15 น.


สนข.เร่งศึกษาปรับตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ทั้ง 4 เส้นทาง หลังสำรวจใช้แนวและสถานีรถไฟปัจจุบัน เจอปัญหาบางสถานีคับแคบเกินไปไม่เหมาะพัฒนาเชิงพาณิชย์และจัดการจราจรไม่ได้ คาดสรุปในมิ.ย.นี้ เผยหลักย้ายห่างจากที่เดิมไม่เกิน 4-5 กม.และเน้นใช้ที่ดินหน่วยงานรัฐ ลดผลกระทบเวนคืน ส่วนงานระบบคาดเปิดประมูลก.ย.-ต.ค.นี้

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ว่า ขณะนี้ยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด โดยเฉพาะตำแหน่งสถานีที่เหมาะสมของทั้ง 4 เส้นทาง เนื่องจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะไปตามแนวทางรถไฟปัจจุบัน แต่ตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟในปัจจุบันบางแห่งไม่เหมาะสม เช่น สถานีพิษณุโลก, นครราชสีมา, เพชรบุรี ,หัวหิน บางแห่งมีพื้นที่แคบไม่สามารถนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ หรือบางแห่งมีปัญหาเรื่องการจัดการจราจรที่ให้มีความสะดวกมากที่สุด ซึ่งเบื้องต้นจะปรับย้ายตำแหน่งสถานีให้เหมาะสมซึ่งจะขยับไปแต่อยู่ในรัศมี 4-5 กิโลเมตรจากสถานีเดิม พร้อมทั้งให้เอกชนในพื้นที่เข้ามาร่วมพัฒนาด้วย

“การปรับตำแหน่งสถานีต้องพิจารณาความเหมาะสมหลายเรื่อง เช่น จุดใหม่ต้องเวนคืนมากน้อยเพียงใด ซึ่ง หลักการจะพยายามใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือของหน่วยงานรัฐให้มากที่สุด เช่น ที่ดินของกรมธนารักษ์ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน และประหยัดค่าก่อสร้าง ซึ่งหากสถานีใดมีตำแหน่งเหมาะสมอยู่แล้ว จะต้องใช้ร่วมกันทั้งรถไฟปัจจุบันและรถไฟความเร็วสูง จะมีออกแบบเป็นชานชาลาเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกสำหรับรถไฟธรรมดา ส่วนชั้นบนสำหรับรถไฟเร็วสูง โดยหลังจากสงกรานต์ไปแล้ว เราจะเริ่มจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ คาดว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ ตำแหน่งสถานีจะมีความชัดเจน”นายจุฬากล่าว

นายจุฬากล่าวว่า ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ กระทรวงคมนาคมจะประกาศเชิญชวนให้ผู้ผลิตระบบรถไฟความเร็วสูงจากทั่วลกมายื่นข้อเสนอแข่งขัน โดย สนข.จะเป็นผู้จัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) แล้วพิจารณาว่าผู้ผลิตรายใดยื่นข้อเสนอได้เหมาะสมสุด เช่น เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับราคา โดยผู้ลิตต้องคำนวณราคาการวางระบบและค่าบำรุงรักษาตลอด 30 ปี ซึ่งในการประกวดราคาจะทำแบบนานาชาติ (International Bidding) และใช้ผู้ผลิตเพียงรายเดียว เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทางใช้ระบบเดียว กันทั้งหมด

ส่วนการก่อสร้างงานโยธา คาดว่าจะประกวดราคาได้ประมาณต้นปี 2557 โดยแต่ละสายทางจะประกวดราคาไม่พร้อมกัน ขึ้นกับขั้นตอนการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เส้นทางไหนเสร็จก่อนจะได้ประกวดราคาก่อน โดยคาดว่า เส้นทางแรกคือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา เพราะมีความพร้อมมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 144, 145, 146 ... 555, 556, 557  Next
Page 145 of 557

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©