Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311429
ทั่วไป:13311652
ทั้งหมด:13623081
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 550, 551, 552  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2013 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้คุณมน ได้ไปหาบทความเรื่องรถไฟความไวสูง ที่เวบประชาไทย ได้ความดั่งนี้ครับ

mone wrote:
เศรษฐกิจไทยจะโงหัวไม่ขึ้น ถ้าไม่เริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงวันนี้

ประเทศไทยจะขาดศักยภาพในการแข่งขัน และคงจะสายเกินไปหากจะต้องรออีก 10 ปี ถึงจะเริ่มต้นยกระดับระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เพราะราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ ย่อมส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยเผชิญภาวะความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

ผู้ประกอบการไทยคงไม่สามารถพึ่งพิงการขนส่งทางถนนเป็นหลักได้อีกต่อไป หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึง 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2020 และอาจไต่ระดับขึ้นเป็น 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลภายหลังปี 2030

โครงการรถไฟความเร็วสูงและการพัฒนาระบบรางคู่เป็นไปเพื่อปลดปล่อยภาคธุรกิจ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่จากปัญหาต้นทุนโลจิสติกส์ โดยโครงการดังกล่าวไม่ได้เพียงแค่สร้างผลประโยชน์ต่อผู้รับเหมา โรงปูนและโรงเหล็กเพียงเท่านั้น แต่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และเกษตรกรอีกด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ดำเนินการวางยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าน้ำหนักเบาและมีมูลค่าต่อหน่วยสูงทางรถไฟความเร็วสูง โดยตัวอย่างของสินค้าประเภทดังกล่าว ได้แก่ สินค้าต่างๆที่สามารถจัดส่งแบบพัสดุไปรษณีย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ยารักษาโรค และสินค้าเกษตรเกรด AAA เป็นต้น

การลงทุนพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงไม่ได้เพียงแค่กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนในช่วงระยะเวลาการก่อสร้างเพียงเท่านั้น แต่ยังจะเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานซึ่งสามารถก่อให้เกิดการกระจายโอกาสในการสร้างรายได้ และการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคต่างๆ ปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการวางแนวนโยบายการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เศษเหล็กราคาแพงที่วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม./ชม. สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ที่คุ้มค่าแก่ประเทศ

อนาคตความมั่งคั่ง จะเกิดจากความเชื่อมโยงภาคพื้นทวีปผ่านทางราง

ระบบรถไฟไทยเป็นระบบรางขนาด 1 เมตรที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยการล่าอาณานิคม เช่นเดียวกับในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ ลาว มาเลเซีย เวียดนาม อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาได้เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ มาเลเซียตัดสินใจลงทุนสร้างระบบรางแบบสแตนดาร์ดเกจหรือระบบรางขนาด 1.4 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศสิงค์โปร์3 รวมถึงเวียดนามที่ได้เจรจากับประเทศญี่ปุ่นถึงการลงทุนสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้4 นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นอีกหนึ่งประเทศ

ที่พึ่งทำการตกลงใช้เทคโนโลยีชินคันเซ็นในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศ เพื่อใช้วิ่งบนรางขนาด1.4 เมตรเช่นกัน5

สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางการขนส่งใหม่ต้นทุนต่ำระหว่างประเทศ จะพบว่า ตั้งแต่ปี 2011 โรงงาน Hewlett-Packard (HPQ) ในเมืองฉงชิง (Chongqing) ได้ทำการจัดส่งคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คกว่า 4 ล้านเครื่อง ผ่านเส้นทางรถไฟที่มีระยะทางยาวมากกว่า 10,000 กม. สู่ยุโรป ในทางกลับกัน โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากค่าย BMW ได้ทำการจัดส่งอะไหล่ดังกล่าวทางรถไฟ สัปดาห์ละ 3 ถึง 7 ขบวน จากไลพ์ซิก (Leipzig) ประเทศเยอรมนี สู่โรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองเสิ่นหยาง (Shenyang) ประเทศจีน6

ความเป็นไปได้ในการสร้างความเชื่อมโยงภาคพื้นทวีปผ่านทางราง ทำให้ข้อถกเถียงเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยจะไปถึงจังหวัดหนองคายหรือไม่คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะรัฐบาลมีนโยบายแน่ชัดในการเชื่อมต่อกับระบบรางสู่ยุโรป แต่ประเด็นที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญคือการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค

เมื่อกล่าวถึงผลประโยชน์จากความเชื่อมโยงทางด้านการคมนาคมขนส่ง จะต้องมองภาพใหญ่ถึงการเชื่อมโยงระบบรางขนาด 1.4 เมตรระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปซึ่งกำลังเกิดขึ้นจริง8 การเชื่อมโยงดังกล่าวถือเป็นการปฏิวัติรูปแบบการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะรองรับแพลตฟอร์มการค้าปลีกออนไลน์โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคซึ่งขยายตัวสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 1.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ9 การพัฒนาบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟความเร็วสูงจึงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ ที่จะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดผ่านการค้าปลีกระยะไกล (Long-Distance Retail Trade) ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าทางรถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่ความคิดแปลกประหลาดพิศดารหากพิจารณาถึงความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ได้แก่

1. Flet GV บริษัทไปรษณีย์ฝรั่งเศสเริ่มส่งพัสดุไปรษณีย์มาแล้วกว่า 28 ปี ทางรถไฟ TGV ปัจจุบันขนส่งเอกสารและพัสดุกว่า 56,000 ตันต่อปี10

2. Euro Carex ซึ่งเป็นโครงการขนส่งสินค้าด้วยรถไฟความเร็วสูงในทวีปยุโรป ได้เริ่มทดสอบวิ่งครั้งแรกในเส้นทางฝรั่งเศส-อังกฤษเมื่อปีที่แล้ว โครงการดังกล่าวจะเปิดให้บริการจริงในอีกสองปีข้างหน้า โดยจะเชื่อมโยงโครงข่ายขนส่งสินค้าในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ และในอนาคตจะขยายโครงข่ายสู่ประเทศอิตาลีและสเปน11

3. รถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่นสาย Hokkaido Shinkansen จะเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในปี 2016


เจ๊งไม่เจ๊ง....... อยู่ที่ศักยภาพในการบริหารสินทรัพย์

เป็นเรื่องจริงที่ว่า “รถไฟ กำไรยาก” แต่นั่นหมายถึงเฉพาะในกรณีที่รายได้ของกิจการรถไฟมาจากการขายตั๋วอย่างเดียว

รูปแบบธุรกิจ (Business Model) ของกิจการรถไฟที่ทำแล้วมีกำไร จะต้องเป็นแบบ “ลูกผสม” คือ มีรายได้ทางตรงจากการขนส่งผู้โดยสาร/สินค้า และรายได้เสริมที่เกิดจากการบริหารสินทรัพย์ของกิจการรถไฟเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Cargo & Passengers + Affiliated businesses from existing assets)

แม้กระทั่งบริษัท JR East ที่สามารถสร้างรายได้เฉพาะจากการขายตั๋วแก่ผู้โดยสาร (16.7 ล้านคนต่อวัน!!) อย่างเดียวก็รวยเละแล้ว ยังทำการสรรหารายได้เสริมจากการลงทุนปรับปรุงสถานีรถไฟโตเกียว ส่วนเงินที่ JR East เอาไปลงทุนในสถานีโตเกียว ก็ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐหรือไปกู้หนี้ยืมสินมาจากไหน แต่ใช้ “สิทธิในการขึ้นอาคารสูง” ที่บริษัทได้รับมาเมื่อครั้งแปรรูป ไปขายให้กับอาคารสูงอื่นๆ ที่ต้องการสร้างให้สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด เอาชัดๆ ก็คือ กฎหมายผังเมืองของญี่ปุ่นกำหนดให้ตึกบริเวณสถานีโตเกียวมีความสูงได้เพียง 180 เมตร บริษัทฯจึงปรับปรุงสถานีรถไฟโตเกียวให้มีความสูงเพียง 4 ชั้น ทั้งๆที่สามารถสร้างได้สูงถึง 10 ชั้น และได้ขายสิทธิในการสร้างอาคารสูงในส่วนที่ไม่ได้สร้างอีก 6 ชั้นนี้ ให้กับอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้อาคารสามารถขึ้นสูงได้ถึง 200 เมตร การใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดนี้ทำให้บริษัทฯ มีเงินไปลงทุนในสถานีโตเกียวถึง 5 หมื่นล้านเยน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะปัจจุบัน สถานีโตเกียวกลายเป็นพื้นที่การค้าที่มีราคาต่อตารางเมตรแพงที่สุดในกรุงโตเกียว

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กรณีของบริษัท JR Kyushu ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการเดินรถไฟในพื้นที่เกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีรายได้กว่า 3.3 แสนล้านเยนต่อปี แต่ธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้กับบริษัท JR Kyushu ไม่ใช่ธุรกิจที่มาจากการเดินรถไฟโดยตรง กลับกลายเป็นธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจบริหารสถานี ธุรกิจร้านค้าย่อย ร้านอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม รีสอร์ท และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สร้างรายได้กว่าร้อยละ 57.5 ให้กับบริษัท

เห็นตัวอย่างแบบนี้แล้ว ก็หันมาคิดถึงกรณีของประเทศไทย เมื่อรัฐบาลจะยอมลงทุนเพื่อ "ยกเครื่อง"ระบบรางของประเทศทั้งที คงไม่ได้คิดแค่จะเก็บแต่ค่าตั๋วเป็นรายได้แต่เพียงอย่างเดียว ทำไมเราจะปั่น cash flow แบบญี่ปุ่นไม่ได้ อยากเห็นสถานี "ชุมทางบางซื่อ" เป็น "บางซื่อแกรนด์ สเตชั่น" แบบโตเกียวสเตชั่นคงไม่น่าจะเป็นได้เพียงแค่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม

ต่อประเด็นคำถามที่คุณกานดา นาคน้อย แสดงความห่วงใยต่อปัญหาร่าง พรบ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท คณะทำงานประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ขอชี้แจงในแต่ละประเด็น ดังต่อไปนี้

ในประเด็นข้อ 1 ที่คุณกานดาเขียนไว้ว่า รมว. คมนาคมเสนอว่าประเทศอื่นเขาก็กู้กันแบบนี้ แต่คุณกานดายกตัวอย่างให้เห็นว่าหลายประเทศไม่ได้กู้แต่ใช้วิธีการให้เอกชนร่วมทุนกับรัฐ อย่างเช่นในกรณีของประเทศไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณกานดาศึกษา model นี้อย่างละเอียดจะเห็นว่า ในที่สุดแล้ว model นี้ของทั้ง 2 ประเทศนั้นล้มเหลว15 ทุกโครงการมีปัญหา ทำให้รัฐต้องเข้าไป takeover ในที่สุด จะเห็นว่าการให้เอกชนลงทุนเองก่อนนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ฉะนั้นในกรณีของการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทย รัฐบาลควรเป็นผู้ริเริ่มลงทุนเอง

ที่คุณกานดาอ้างว่าเกาหลีใต้ตั้งบริษัทร่วมทุนกับรัฐและเอกชนนั้น เป็นข้อกล่าวอ้างที่ผิด เพราะอันที่จริงแล้วรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ริเริ่มลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเอง ผ่านการกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ16 เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นเมื่อครั้งแรกที่มีการลงทุนทำโครงการรถไฟฟ้ารางคู่และรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น รัฐบาลก็เป็นผู้ลงทุน โดยใช้วิธีการ finance โครงการผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลแบบระยะยาว ซึ่งที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็ไม่มีปัญหาทางการคลังแม้จะมีหนี้สาธารณะสูง ซึ่งประเทศไทยเองก็มีแนวคิดที่จะใช้วิธีการออกพันธบัตรเช่นกัน เพราะนอกจากที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการลงทุนเพื่ออนาคต (Infrastructure project for the future) แล้ว ยังได้ประโยชน์จากผลตอบแทนของการถือครองพันธบัตรด้วย17

ส่วนในกรณีที่คุณกานดาอ้างว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเดินรถขาดทุนจนโดนแปรรูปนั้น อยากจะเรียนให้ทราบว่าที่ญี่ปุ่นเจ๊ง เพราะเน้นการทำธุรกิจแบบขายตั๋วอย่างเดียว ไม่มีการหารายได้จากสินทรัพย์อื่นนอกเหนือจากการเดินรถ (Non rail affiliated businesses)

รูปแบบธุรกิจที่ว่า “รถไฟ as a stand-alone business makes money” เป็น business model ที่ผิด รายได้ที่มาจากการขายตั๋วอย่างเดียวเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง

รูปแบบธุรกิจ (Business Model) ของกิจการรถไฟที่ทำแล้วมีกำไร จะต้องเป็นแบบ “ลูกผสม” คือมีรายได้ทางตรงจากการขนส่งผู้โดยสาร/สินค้า และรายได้ที่เกิดจากการบริหารสินทรัพย์ของกิจการรถไฟเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Cargo & Passengers + Affiliated businesses from existing assets) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ กรณีของบริษัท JR Kyushu และบริษัท JR East ซึ่งได้ชี้แจงแล้วข้างต้น

กล่าวโดยสรุป เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเกิดขึ้นจริงและไม่ล้มเหลว ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าภาพลงทุนก่อน ส่วนการกู้หรือไม่กู้ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่รูปแบบธุรกิจ (Business Model)

ต่อคำถามในข้อ 2 ที่ว่า รมว. คมนาคมปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลจีนซึ่งเสนอให้ร่วมทุนด้วยกันเพราะต้องการให้ประเทศไทยมีตัวเลือกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงมากกว่า 2-3 ตัวเลือก เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ประเทศจะได้รับ

นอกจากนี้ ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจที่จะเกิดจากโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน อย่างที่คุณกานดากล่าวอ้าง เพราะความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้ โดยที่ประเทศไม่จำเป็นจะต้องผลิต หรือพัฒนาเทคโนโลยีเอง กรณีของรถไฟอังกฤษ โดยเฉพาะเส้น Southeastern ที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ไปดูงานที่ St Pancras International มานั้น ถือเป็นตัวอย่างที่ดี คุณกานดาคิดว่าการที่อังกฤษ ประเทศผู้ปฏิวัติระบบรางในศตวรรษที่ 19 ได้กลายเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ เพราะปัจจุบันรถไฟที่วิ่งไปมาบนเกาะอังกฤษกลับผลิตโดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เพียงแต่รถไฟอังกฤษใช้กระบวนการ“maximizing the existing tracks” หรือการสร้างอรรถประโยชน์จากระบบรางเก่า การเลือกใช้เทคโนโลยี Hitachi ซึ่งสามารถใช้ระบบส่งไฟแบบเก่าและระบบส่งไฟแบบใหม่ของยุโรปได้พร้อมกัน ถือเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่สินทรัพย์เก่าของประเทศ

นอกจากนี้ ในกรณีประวัติศาตร์ที่เกิดการร่วมทุน จะมีข้อจำกัดและเงื่อนไขตามมาอยู่เสมอ รบกวน คุณกานดาไปศึกษา option ที่ทางประเทศจีนเสนอให้กับลาว ตามรายงานข่าวเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาตามเชิงอรรถนี้ ว่า model การลงทุนดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่18 (อย่างไรก็ตาม ทางคณะทำงานฯ เชื่อว่า อาจจะมี model ใหม่ที่ทางประเทศจีนเสนอให้กับประเทศลาวและไทย ซึ่งจะต้องดูกันต่อไป)

สำหรับประเด็นคำถามข้อ 3 เรื่องตกผลึกว่าใครจะเป็นคนเดินรถ ทางคณะทำงานฯ จะขอชี้แจงในเบื้องต้นว่า ทางรัฐบาลมีแนวคิดที่จะแยกการบริหารรางและการบริหารจัดการสินทรัพย์ออกจากการเดินรถ โดยจะมีการตั้งองค์กรบริหารจัดการ และสร้างมูลค่าจากระบบราง อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการบริหารธุรกิจรถไฟจะมีลักษณะคล้ายการบริหารจัดการของบริษัท JR ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในรายละเอียดต่างๆ ขอให้คุณกานดารอคำชี้แจงจากกระทรวงคมนาคม

ในส่วนของคำถามที่ว่าทำไมรัฐบาลจะต้องลงทุนพร้อมกันทุกสาย คณะทำงานฯ จะขอชี้แจงในเบื้องต้นว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานลักษณะนี้ ไม่ได้สร้างเสร็จภายในเวลาอันสั้น ถ้าจะรอสร้างทีละสาย กว่าจะครบทุกเส้นก็อีก 30 กว่าปี ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ (Opportunity lost) นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงเงื่อนไขของเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน จะพบว่า ประเทศไทยไม่เคยพร้อมจะลงทุนขนาดใหญ่ไปมากกว่านี้แล้ว จากข้อมูลกระทรวงการคลัง (ณ กันยายน 2555) ธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินสูงถึงกว่า 2 ล้านล้านบาท การลงทุนพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง จะเป็นการสร้าง future assets ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจไทยในอนาคตไปอีก 80-100 ปี

สำหรับประเด็นคำถามข้อที่ 4 ในส่วนของวิธีการคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจ ขอให้คุณกานดารอคำชี้แจงจากกระทรวงคมนาคม ทางคณะทำงานฯ ขอแสดงความคิดเห็นในเบื้องต้นว่า เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงใช้พลังงานจากไฟฟ้าเป็นหลัก ซึ่งถูกกว่าน้ำมัน และปัจจุบันทางรัฐบาลมีแผนที่จะจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว โดยได้ทำการตกลงซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากลาว รวมถึงการวางแผนซื้อไฟฟ้าจากประเทศจีนด้วย19 ซึ่งการทำสัญญาระหว่างรัฐต่อรัฐดังกล่าว จะทำให้ไทยมีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอ ทั้งต่อการบริโภคและจ่ายให้ระบบรถไฟความเร็วสูงในราคาที่คงที่เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน

ท้ายที่สุดนี้ หวังว่าคุณกานดาคงจะช่วยเราศึกษาเรื่องนี้ต่อไป หากท่านมีโอกาส ขอให้ท่านกลับมาดู งานนิทรรศการความสุขจากรางสู่เมือง ที่แสดงอยู่ที่ Thailand Creative and Design center (TCDC) ซึ่งเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการสินทรัพย์ของบริษัท JR Kyushu ทั้งที่การขายตั๋วไม่ได้ทำกำไรแต่มีการใช้asset ที่ได้มาจากการแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและมีกำไร

เครดิต : เวบไซต์ประชาไท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2013 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

JackSkyline wrote:
ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นแนวเส้นทางที่จะก่อสร้างจะมีสถานีหลายแห่งที่ต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมออกจากพื้นที่เก่า เช่น สถานีที่นครราชสีมา เพชรบุรี ซึ่งต้องขยับสถานีออกไปจากเดิม 4-5 กิโลเมตร เพื่อให้ในอนาคตไม่เกิดปัญหาจราจรในการเข้า-ออก รวมทั้งดูแลให้การขยายสถานีในอนาคตซึ่งจะมีเอกชนเข้ามาร่วมด้วยเกิดความคล่องตัว นอกจากนี้ สถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูง เมื่อเข้าเขตเมืองก็ต้องทำเป็นสถานี 2 ชั้น และโครงสร้างยกระดับ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับผู้โดยสาร

สถานีนครราชสีมา และเพชรบุรี ที่จะย้าย

คือหัวรถไฟโคราช สถานีรถไฟธรรมดา และสถานีรถไฟธรรมดาเพชบุรีใชหรือไม่ครับ

หรือว่า ย้ายแนวเขตที่วางแผนจะสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงครับที่เคยตั้งไว้แต่เดิมครับ

จะย้ายสถานีนครราชสีมาที่สถานีใหญ่มากๆ ไปจุดอื่นใช่ไหมครับ


คำตอบมันชัดเจนใมนตัวของมันเองอยู่แล้วไม่เห็นเหตุที่จะต้องตั้งขอสงสัยอะไรเลยนี่ครับหรือว่าจะตั้งคำถามเพื่อคาดการณ์ว่าจะเล็งซื้อที่ตรงไหนตีั้งสถานีใหม่กันหละครับ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 11/04/2013 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมจัดผังเมืองใหม่รับไฮสปีดเทรน
โพสต์ทูเดย์
11 เมษายน 2556 เวลา 16:01 น.

คมนาคมเปิดทางต่างชาติร่วมวงไฮสปีดเทรน ก.ย.-ต.ค.นี้ แจ้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดจัดผังเมืองรับ

นายปรีชา รณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันผังเมืองขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโยธาธิการจังหวัด ล่าสุดกระทรวงได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด และโยธาธิการแต่ละพื้นที่ ให้ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองในความรับผิดชอบของตัวเอง รองรับการตั้งสถานีขนส่งระบบรางของรถไฟความเร็วสูงเข้าไปในพื้นที่ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ การแก้ไขเบื้องต้นจะเป็นไปในลักษณะเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เปลี่ยนแปลงผังสีโดยรอบสถานีในรัศมี 500 เมตร – 2 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ให้สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่อนุญาตให้แก้ไขพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) และพื้นที่สีเขียวลาย (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) โดยให้ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น กระทรวงคมนาคมอาจต้องพิจารณาเรื่องที่ตั้งสถานีอีกครั้ง หากต้องการหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าว

การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงผังเมืองยังต้องเป็นไปตามกระบวนการ คือ 1.การศึกษาวิเคราะห์เชิงวิชาการ และ 2.การดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทุกขั้นตอน เช่น การประชุมผังเมืองจังหวัด การเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

สำหรับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้ในเดือน พ.ค.นี้ ได้มีการปรับปรุงผังสีกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงแล้ว โดยเน้นในย่านพหลโยธินเป็นหลัก พร้อมกับปรับผังบริเวณที่จะเป็นศูนย์กลางย่อย (Subcenter) ตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ จะเปิดให้ต่างชาติเข้ามาเสนอระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) โดยกระทรวงจะกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นไว้ เน้นด้านเทคนิค และอาจกำหนดราคาที่ต้องการไว้ในใจ เช่น ใช้ต้นทุนค่าบริหารจัดการประมาณ 10 สลึงต่อกิโลเมตร โดยคำนวณราคาระยะยาว 30-50 ปี จากนั้นจะจัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาคัดเลือก

สนข.ประเมินว่าจะมีประเทศต่างๆ เข้าแข่งขันเสนอระบบไฮสปีดเทรนให้ไทยจำนวนมาก ที่ผ่านมามีหลายประเทศแสดงท่าทีสนใจบ้างแล้ว เช่น ฝรั่งเศส สเปน ญี่ปุ่น ขณะที่ผู้ดำเนินการไฮสปีดเทรนแต่ละเส้นทางนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นรายเดียวกัน แต่ควรใช้ระบบเดียวกัน

นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องย้ายสถานีรถไฟเดิมบางสถานี เช่น สถานีหัวหิน นครราชสีมา ซึ่งจะรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.นี้ และทยอยเปิดประมูลก่อสร้างงานระบบและงานโยธาได้

ทั้งนี้ เมื่อไทยมีรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดเข้าด้วยกันแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งต้องปรับผังเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หลังมีการคมนาคมขนส่งระบบรางเข้าถึงด้วย

นอกจากนี้ สนข.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,325 ไร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคม พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมตั้งแต่บริเวณบางซื่อ เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ หมอชิต สวนจตุจักร และกิโลเมตรที่ 11 โดยจะย้ายกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้ามาอยู่ในบริเวณดังกล่าว และมีสถานีไฮสปีดเทรนเชื่อมเข้ามาถึงด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
JackSkyline
Warning 3 (Final)
Warning 3 (Final)


Joined: 11/02/2013
Posts: 118

PostPosted: 12/04/2013 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

แล้ว ประเทศลาว กับเวียดนามเริ่มวางรางรถไฟความเร็วสูงบ้างไหมครับ

Last edited by JackSkyline on 12/04/2013 8:13 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 12/04/2013 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

กระทู้นี้ รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เหรอครับ ไม่ใช่รถไฟเพื่อนบ้านนี่นา Evil or Very Mad
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2013 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งทำ"อีไอเอ"ไฮสปีดเทรนสายเหนือ เปิดค่าโดยสารถูกกว่าบินโลว์คอสต์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 13:40:58 น.

สถานีกลางบางซื่อ - เชียงใหม่ระยะทาง 745 กิโลเมตร เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที เงินลงทุน 387821 ล้านบาท ผู้โดยสาร 34800 คนต่อวัน ค่าโดยสาร 1862 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - นครราชสีมาระยะทาง 256 กิโลเมตร เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 35 นาที 24 วินาทีเงินลงทุน 140855 ล้านบาท ผู้โดยสาร 24300 คนต่อวัน ค่าโดยสาร 640 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - หัวหินระยะทาง 225 กิโลเมตร เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 9 นาที เงินลงทุน 123798 ล้านบาท ผู้โดยสาร 13800 คนต่อวัน ค่าโดยสาร 562.50 บาท
สถานีกลางบางซื่อ - พัทยา - ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาทีเงินลงทุน 100631 ล้านบาท ผู้โดยสาร 13200 คนต่อวัน ค่าโดยสาร 552.50 บาท

คิดที่ราคาฐาน 2.50 บาทต่อกิโลเมตร

สนข.เปิดค่านั่งไฮสปีดเทรน 4 สาย ยันถูกกว่าสายการบินโลว์คอสต์ เผยคิดต้นทุนค่าเฉลี่ยจากของจีนและญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.50 บาท/กม. คาด มิ.ย.-ก.ค.นี้ นำสาย "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" เสนอกรรมการสิ่งแวดล้อมพิจารณาอีไอเอ ประกาศเชิญชวนคัดเลือกระบบได้ประมาณไตรมาส 3-4 นี้ ด้านเลขาฯ สผ.รับลูก ลั่นพิจารณาจบใน 105 วันเทียบเท่าโครงการเอกชน

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง ประกอบด้วย สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง จะใช้เงินลงทุนใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วงเงินลงทุน 783,229 ล้านบาท ทั้งการจ้างที่ปรึกษา เวนคืนที่ดิน ก่อสร้างและค่าจัดหาระบบรถไฟฟ้าเฟสแรกเราจะสร้าง 4 เส้นทางก่อน คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง ตามแผนจะเปิดให้บริการใน 5 ปีนี้ ส่วนที่เหลือจะทยอยดำเนินการต่อไปตามกรอบเวลาการใช้เงินใน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563"

สถานะล่าสุด สนข.กำลังอยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและรายละเอียดโครงการ ทั้งการคัดเลือกแนวเส้นทาง ระยะทาง เงินลงทุน ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน พร้อมทั้งประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่มีแนวรถไฟความเร็วสูงพาดผ่านทั้ง 21 จังหวัด

ทั้งนี้ จาก 4 สายทางมี 3 สายทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สนข. คือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน ขณะที่สายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ไปพัทยาและระยองเป็นความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ล่าสุดก็ได้เริ่มการศึกษาแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

"ตอนนี้แนวเส้นทาง จุดที่ตั้งสถานี และระยะทางยังไม่นิ่ง แผนระบุไว้ในเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทยังอยู่บนพื้นฐานประมาณการ ซึ่งมาจากการคำนวณบนพื้นฐานผลศึกษาเปรียบเทียบจากประเทศจีนและญี่ปุ่นศึกษาเบื้องต้นให้ โดยต้นทุนค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่กิโลเมตรละ 500 ล้านบาท ในต้นทุนค่าก่อสร้างจะคำนวณจากต้นทุนทั้งหมดที่อยู่บนรางและเส้นทางรถไฟ เช่น การเวนคืนที่ดิน ระยะทาง รูปแบบก่อสร้าง ยกระดับ ระดับพื้น อุโมงค์ และการซื้อรถไฟฟ้า" นายจุฬากล่าว

นายจุฬากล่าวต่อไปว่า ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการทั้ง 3 สายทาง จะได้ข้อสรุปทั้งแนวเส้นทาง ระยะทาง ตำแหน่งสถานีและเงินลงทุน รวมถึงต้นทุนค่าโดยสาร จากนั้นประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ จะเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณา

โดยจะนำสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เฟสแรกของสายเหนือให้พิจารณาก่อน เนื่องจากผลศึกษา EIA ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว และจะประสานไปยัง สผ.ให้ประชุมพิจารณาอนุมัติถี่มากขึ้น เพื่อให้กรอบเวลาสั้นลงจากเดิมประมาณ 6-7 เดือน "ในปี 2556 แผนที่กำหนดไว้ว่าในช่วงไตรมาส 3-4 จะเริ่มกระบวนการจัดหาระบบการเดินรถ เพื่อเลือกเทคโนโลยีว่าจะใช้ของประเทศไหน จะออกประกาศเชิญชวนให้ยื่นข้อเสนอเข้ามาโดยทำหนังสือเชิญไปยังสถานทูตประเทศต่าง ๆ มีหลายประเทศที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เช่น จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เกาหลีใต้ สเปน ไต้หวัน" นายจุฬากล่าว

ส่วนสาเหตุที่ต้องดำเนินการเลือกเทคโนโลยีของระบบก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากจะได้รู้ว่าทั้ง 4 สายทางจะใช้ระบบไหน เช่น ชินคันเซนจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อจะได้ง่ายในการออกแบบรายละเอียดก่อสร้างให้รองรับกับระบบที่จะนำมาให้บริการ

สำหรับประเด็นร้อนเรื่องค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงนั้น นายจุฬากล่าวว่า "ยังไม่นิ่ง" แต่กรอบกำหนดเบื้องต้นเป็นการคำนวณต้นทุนจากที่เคยศึกษาไว้ในแผนแม่บทเมื่อปี 2553 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.50 บาท/กิโลเมตร (ตารางประกอบ) ซึ่งยังถูกกว่าราคาประเทศญี่ปุ่นที่ศึกษาไว้อยู่ที่ 3.20 บาท/กิโลเมตร และประเทศจีน 2.30 บาท/กิโลเมตร

"ต้นทุนค่าโดยสารต้องดูค่าบริหารจัดการทั้งหมด เช่น ค่าจ้างเดินรถ คน ค่าทำความสะอาด ค่าไฟฟ้า ค่าบริหารสถานี เป็นต้น แล้วนำมาคิดกับระยะทางและค่าก่อสร้าง ทั้ง 4 สายนี้จะคิดต้นทุนเท่ากัน ส่วนสายไหนจะถูกจะแพงอยู่ที่ระยะทางและต้นทุนค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง แตกต่างจากต้นทุนค่าโดยสารรถ บขส.ที่คิดจากต้นทุนก่อสร้างถนน" นายจุฬากล่าวและว่า

นอกจากนี้ ค่าโดยสารจะไม่เท่ากัน อยู่ที่รูปแบบการบริการ เบื้องต้นจะมีการบริการสำหรับผู้โดยสารใน 3 รูปแบบ คือ ชั้นพิเศษ หรือ V.I.P. ค่าโดยสารจะแพงกว่าต้นทุนอยู่ที่ 4 บาท/กิโลเมตร ชั้นที่ 1 อยู่ที่ 3 บาท/กิโลเมตร และชั้นสแตนดาร์ด 2.50 บาท/กิโลเมตร ส่วนราคารวมอยู่ที่เท่าไรขึ้นอยู่กับระยะทางที่ใช้บริการ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า บริการรถไฟความเร็วสูงค่าโดยสารจะถูกกว่าเครื่องบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) แน่นอน แถมยังได้นั่งชมวิวระหว่างทางอีกต่างหาก ขณะที่เครื่องบินจะมองไม่เห็นอะไรระหว่างเดินทาง อารมณ์และความรู้สึกต่างกัน นอกจากนี้ การสร้างรถไฟความเร็วสูงยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดิน และเปิดการพัฒนาใหม่ ๆ นอกเหนือจากทำให้คนเดินทางไปยังหัวเมืองใหญ่ได้รวดเร็วขึ้น

ขณะที่นายสันติ บุญประคับ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สผ.จะนำโครงการลงทุนใน 2 ล้านล้านบาทที่ยังไม่ได้ทำ EIA เสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาตามกรอบเวลาโครงการของเอกชน ใช้เวลาพิจารณา 2 รอบ ประมาณ 105 วัน ทั้งนี้ การพิจารณาจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับบริษัทที่ปรึกษาทำ

รายละเอียดโครงการมาครบตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หากไม่มีการท้วงติงเพิ่มเติมการพิจารณาจะเร็วขึ้น แต่ส่วนใหญ่ที่ช้าหายไปเป็นปีเพราะนำไปปรับปรุงแก้ไขนาน

"รถไฟฟ้าในแผน 2 ล้านล้านบาทมีหลายสายที่ผ่าน EIA ไปแล้ว ส่วนรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง หากที่ปรึกษาทำข้อมูลมาดีก็ใช้เวลาไม่นาน เรามีการประชุมทุกอาทิตย์อยู่แล้ว เพราะอำนาจการอนุมัติโครงการขั้นสุดท้ายอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ส่วนคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพียงแค่ตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นว่า เข้าเกณฑ์ต้องทำ EIA หรือไม่" เลขาฯ สผ.กล่าว


Last edited by Wisarut on 15/04/2013 9:11 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
alderwood
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/04/2006
Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา

PostPosted: 15/04/2013 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

เดี๋ยวมีคนเอาตั๋ว Low Cost ตอนออกโปรมาเทียบ ไม่ได้เอาตั๋วปกติวันเดินทางมาเทียบ Twisted Evil
_________________
รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2013 2:38 pm    Post subject: Reply with quote

"ไฮสปีดเทรน" สไตล์ "พันศักดิ์" "มีไว้ขนผักแล้วผิดตรงไหน"
สัมภาษณ์พิเศษ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 23:16:18 น.


เมื่อวาระพิจารณาร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ถูกกดปุ่มเดินหน้าเข้าสู่สนามรบกลางสภา

แผนเมกะโปรเจ็กต์ที่เคยอ้างถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศทั้งระบบจะปรากฏรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านรถไฟรางคู่ถนนทางหลวง 4 เลนทั่วประเทศ

คำชี้แจงถูกฝ่ายค้าน-พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) สับละเอียดให้เหลือเพียงการกู้เงินเพื่อซื้อรถไฟขนผัก

เหตุที่มาจากคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่กล่าวว่า "รถไฟความเร็วสูงจะทำให้เศรษฐกิจแนวชายแดนเติบโต ลดต้นทุนการขนส่งของเกษตรกร ขนผัก ผักไม่เน่า อาหารมีคุณภาพ ประชาชนจะได้บริโภคอาหารสด"

เสียงติติง-นินทาจึงลอยหลุดจากสภา ไกลถึงกลุ่มสังคมออนไลน์ ตั้งคำถาม "ทำไมคนไทยต้องยอมให้รัฐบาลกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อซื้อรถไฟมาขนผัก ?"

เป็นคำถามที่ถูกขยายผลหาตัวผู้ก่อการในฐานะ "ต้นตำรับ" ก่อนถูกปั่นออกมาเป็นสคริปต์ในมือ "ยิ่งลักษณ์"

บรรทัดต่อจากนี้ คือคำยืนยันจากปากที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี "พันศักดิ์ วิญญรัตน์" หนึ่งในผู้คนคิดแผนสร้างมูลค่าเพิ่มจากแผนเมกะโปรเจ็กต์ ตอบคำถามทำไมรถไฟความเร็วสูงจึงมีไว้ขนผัก ?

- สรุปแล้วรถไฟความเร็วสูงจะมีไว้ขนผัก

ถูกต้อง เอารถไฟไปขนผักแล้วผิดตรงไหน มันเป็นส่วนหนึ่งในรูปแบบการขนส่งที่เราเรียกมันว่า Light Cargo หรือการขนสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น น้ำตาล ข้าว ขอถามทุกวันนี้ว่าชนชั้นกลางไทยทั่วประเทศกินผักสดที่ส่งตรงจากประเทศออสเตรเลีย ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกาหรือไม่ คำตอบคือกิน กินทั้ง ๆ ที่รู้ว่าของเหล่านี้ขนส่งมาทางเครื่องบิน แต่เชื่อหรือไม่ว่าบางรายการมีราคาถูกกว่าผลไม้ที่ผลิตขึ้นในประเทศเสียอีก ผมยกตัวอย่าง แอปเปิลส่งตรงมาจากวอชิงตัน ทำไมราคาถูกกว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ของไทย มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมกินอาหารที่ขนมาทางเครื่องบินราคาถูกกว่า

คำตอบคือ ระบบโลจิสติกส์ของเขาดีมาก และเมื่อต้นทุนถูกกว่า เขาก็สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า

แน่นอนว่าสินค้าประเภทนี้ ส่วนใหญ่รัฐไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนธุรกิจอีก เพราะประชาชนจะเป็นผู้ผลิตเอง หาตลาดเอง เสี่ยงลงทุนเอง เรามีกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกรด AAA อยู่แล้ว เขาโตและทำกำไรมาอยู่แล้ว

นอกจากสินค้าประเภทอาหาร ผมยังมองไปถึงสินค้าขนส่งที่เขาทำธุรกิจผ่าน E-commerce ที่นับวันตัวเลขในไทยกำลังโตขึ้นอย่างมหาศาล

เพราะนิสัยคนรุ่นใหม่ต้องการความเร็ว แต่ราคาต้องไม่แพง ไอ้ของที่ขนส่งทางเครื่องบินมันแพงเกินไปสำหรับธุรกิจนี้ กระบวนการยุ่งยากเกินไป

เอาแค่วันนี้เดินทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี ผมต้องไปรอล่วงหน้ากี่ชั่วโมง ต้องเสียเวลาไปเท่าไร ยิ่งเมื่อเทียบกับขนส่งโดยรถไฟมันแตกต่างกันเยอะ

- แต่หลายประเทศที่ลงทุนสร้างรถไฟ ตกอยู่ในภาวะขาดทุน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

(สวนทันที) ไม่มีรถไฟที่ไหนในโลกนี้ที่ขายตั๋วอย่างเดียวแล้วมีกำไร เว้นเสียจากจะขายราคาแพงเท่าตั๋วเครื่องบิน (หัวเราะ) แน่นอนว่าขาดทุนแน่ ถ้าบริหารไม่เป็น

ไม่ว่าจะญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป ทำไม่เป็นก็เจ๊ง การเริ่มต้นรถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่จะเริ่มต้นให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก่อน ฉะนั้นปัญหาคือจะจัดการ Business Model อย่างไร จะขายตั๋วอย่างเดียวหรือให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเหมือนกับที่ทำถนนของกรมทางหลวง ที่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเราใช้เงินซ่อมสร้างไปแล้ว 500,000 ล้านบาท และประมาณ 40% หรือ 200,000 ล้านบาทหมดไปกับการซ่อมถนนเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่เราเถียงกันทุกวันนี้ ยังไม่ได้สนใจกันเลยว่า รถไฟจะมีผลที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจอย่างไร ยอมรับกันก่อนว่าโปรเจ็กต์ที่คิดออกไปจากรัฐบาล ไม่มีทางที่จะทำกำไรได้ในตัวของมันเอง เพราะกำไรของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี ซึ่งภาษีมาจากการบริหารเศรษฐกิจให้เติบโต

- รัฐควรบริหารอย่างไรให้มีกำไร

(สวนทันที) พูดว่าทำให้รัฐใช้เงินอุดหนุนน้อยที่สุดจะดีกว่า ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่มาพร้อมกับรถไฟคือสินทรัพย์ที่ติดตัวมาด้วย ที่ดินรอบ ๆ สถานีต้องบริหารจัดการให้ดี ต้องทำให้เป็นสถานที่ให้บริการทั้งผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการขนส่ง นี่คือแหล่งที่จะทำให้เกิดกระแสเงินสดจำนวนมาก

เราได้ศึกษาโมเดลธุรกิจประเภทนี้จากหลายประเทศ พบข้อเสียแตกต่างกันไป บางประเภทแก้ปัญหาได้แล้ว และพบสัจธรรมว่า ขายตั๋วอย่างเดียวมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง จึงวางแผนเอาสินทรัพย์รอบสถานีมาบริหารจัดการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งโมเดลที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุดอยู่ที่เกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

เกาะคิวชูเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก เขาก็ไม่ได้มีคนขึ้นรถไฟวันละ 17 ล้านคนเหมือนเมืองโตเกียว แต่ทำไมถึงอยู่ได้ เพราะเขามีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์ถึง 58% ต่อปี หรือประมาณ 3.3 แสนล้านเยนต่อปี ซึ่งธุรกิจที่ทำรายได้ให้เขา คือ การบริหารสถานี ร้านค้าปลีกย่อย ร้านอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม รีสอร์ต ฯลฯ

ผมถึงอยากให้ทุกคนคิดว่าเมื่อการสร้างสถานีรถไฟจะมาพร้อมกับที่ดิน นั่นย่อมหมายถึงย่านศูนย์การค้าที่บังเอิญมีรางรถไฟมาอยู่ด้วย นั่นคือกระแสเงินสดที่จะกลับมาอุดหนุนระบบรางได้เอง

- ถ้ายึดตามโมเดลนี้ไทยก็มีโอกาส

ทำสำเร็จเหมือนญี่ปุ่น ต้องยอมรับก่อนว่ารถไฟความเร็วสูงสำคัญกว่าระบบเศรษฐกิจ คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีจึงนำเรียนท่านนายกฯว่า เราควรบริหารรถไฟให้มีรายได้ทางตรงจากการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และมีรายได้เสริมที่เกิดจากการบริหารสินทรัพย์ (Cargo & Passengers + Affiliated Businesses from Existing Assets)

นั่นคือที่มาของแผนบริหารสินทรัพย์ให้เกิดกระแสเงินสด คุณเชื่อหรือไม่ ที่สถานีใหญ่ของเกาะคิวชู มีร้านอาหาร ร้านค้าอยู่เยอะมาก นั่นจะเป็นคำตอบให้กับประเทศไทย และเป็นคำตอบให้อีกหลายคำถาม ทั้งเรื่องทำกำไรจากระบบราง ทั้งการพัฒนาสินค้าโอท็อปบ้านเรา

- หมายความว่ารถไฟจะทำกำไรก็ต่อเมื่อเชื่อมต่อถึงประเทศเพื่อนบ้าน

สร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก เราใช้เงิน 700,000 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผมยืนยันว่า นโยบายของรัฐบาลจะต้องเชื่อมต่อระบบรางไทย-จีนให้ได้ นั่นคือทางออกของปัญหาทั้งหมด

ดังนั้นเมื่อทำเฟสแรกสำเร็จ ที่เหลือก็ไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากเฟสแรกเสร็จก็ใช้เวลา 2-3 ปี ควรจะต้องสมบูรณ์ทั้งระบบ ในรอบ 10 ปีมานี้เราชอบนินทาคนจีนว่าพวกนี้บ้า เร่งทำรถไฟความเร็วสูงไปทำไม ถ้าจะตอบแบบผิว ๆ ก็บอกว่ามีไว้ขนคนกลับบ้านไปฉลองตรุษจีน แต่อย่าลืมว่ารางขนาด 1.4 เมตร

เขาเรียกว่าสแตนดาร์ดเกจ รางเขาชนกับรัสเซีย ต่อยาวไปถึงยุโรป ซึ่งตั้งแต่ปี 2011 เมืองฉงชิ่ง ขนส่งคอมพิวเตอร์กว่า 4 ล้านเครื่องขึ้นรถไฟไปขาย และขากลับก็ขนเอาชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศผู้ผลิตกลับมาประกอบในประเทศ ทำอย่างนี้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 3-7 ขบวน

บ้านเราในอดีตใช้เรือแจวพายอยู่แถวบ้าน พอโปรตุเกสเข้ามาใช้เส้นทางสายไหม หลายแห่งเกิดเป็นเมืองท่า ต่อมากลายเป็นประเทศมหาอำนาจ กระทั่งเราเปลี่ยนมาใช้เครื่องบิน ใครมีสนามบินก็กลายเป็นมหาอำนาจ แล้วถามว่าเศรษฐกิจไทยที่ข้นอยู่กับกลุ่ม SMEs เกษตรกร จะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร เขาจะมีความสามารถขนสินค้าขึ้นตู้คอนเทนเนอร์ 20-30 ตู้ไหวหรือไม่ เขาจะทนขาดทุนจากการขนส่งผลไม้ อาหาร ที่ใช้เวลาเดินทางนาน สุดท้ายส่วนใหญ่ก็เน่าเสียได้หรือไม่

หากเรายังพึ่งพาการส่งออกผ่านทางทะเลและเครื่องบิน ยังต้องลุ้นว่าค่าน้ำมันจะขึ้นราคามากระทบต้นทุนอีกหรือไม่ ผมว่าทางออกที่ดีที่สุดคือรถไฟความเร็วสูง ที่มีสถานีขายสินค้ารองรับหลายพันสถานี ต่อไปนี้ SMEs เกษตรกรไม่ต้องไปขายของผ่านพ่อค้าคนกลาง ไม่ต้องผ่านนายหน้าอีกแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องฝัน แต่พวกเขาทำกันอยู่แล้ว พวกเรานั่นล่ะที่ดันไม่รู้ (หัวเราะ)

- สุดท้ายแล้วไทยมีความสามารถพอที่จะบริหารจัดการเรื่องนี้ได้

ผมได้ประสานงานกับไปรษณีย์ไทยให้หาทางแยกตัวเป็นบริษัทโลจิสติกส์แล้ว เข้าใจว่าเรื่องอยู่ที่กระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งไปรษณีย์ไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ มีกำไรมาจากการขนส่งพัสดุ ไม่ใช่จากการส่งจดหมาย หมายความว่าเขาเก่งในเรื่องบริหารจัดการมาอยู่แล้ว ขอแค่มีโครงสร้างพื้นฐานไปสนับสนุน เขาจะส่งของเร็วขึ้น ลดต้นทุนได้ กำไรก็สูงขึ้น อนาคตก็มีโอกาสที่จะแข่งขันกับธุรกิจใหญ่อย่าง DHL ได้

ดังนั้นการขนผัก การขนอาหารผ่านรถไฟความเร็วสูง ไม่ใช่เรื่องฝัน ไม่ใช่เรื่องบ้าบอ แต่เขาทำกันอยู่แล้ว มีกำไรกันอยู่แล้ว อยู่ที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้กำไรมันเพิ่มพูนให้มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็นี่ไง เอาโครงกระดูกไปช่วยเขา เอาไปช่วยขนของในสิ่งที่ผมเรียกมันว่า Light Cargo

และผมทราบมาว่า ตอนนี้ลาวกำลังจะมีข่าวดี เขาตกลงเรื่องระบบรางกับจีนแล้ว ท่านนายกฯเองก็เล็งเห็นว่า ควรจะต้องมีการหารือระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศโดยเร็ว ในเมื่อเขาเดินหน้ากันไปแล้ว เราจะยอมหลุดขบวนรถไฟนี้หรือไม่ ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องคุยกัน เช่น ระบบความปลอดภัย ฯลฯ ฉะนั้นผมเชื่อว่า อีกไม่นานรัฐบาลไทยน่าจะรวมกับประเทศอื่นที่จะตั้งองค์กรรวมขึ้นมา อาจเรียกว่า Europe-Asia Railway System Organization เพราะจะต้องตกลงกันหลายเรื่องมาก ทั้งกฎระเบียบ ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ เรื่องศุลกากร สิทธิบนรถไฟ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตอนนี้เราก็ต้องกล้อมแกล้มกันไปก่อน นี่แค่เริ่มก็เอากันแล้วนะ บริษัทต่างชาติก็เล็งหาโอกาสแล้ว แต่บ้านเรามันบ้า ยังทะเลาะกันเรื่องขนผักอยู่เลย (หัวเราะ)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2013 12:11 am    Post subject: Reply with quote

“ปู” มอบ ก.ศึกษาฯ ทำแผนผลิตสายอาชีพรองรับสร้างรถไฟความเร็วสูง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2556 18:06 น.

“ภาวิช” เผย นายกฯ มอบการบ้านศึกษาการผลิตคนรองรับการจ้างงานโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นต้องใช้แรงงาน 5 แสนถึง 1 ล้านคน ระบุหลังจากคุยกับภาคเอกชนพบแรงงานฝีมือระดับอาชีวะเป็นที่ต้องการมากที่สุดประมาณ 7 แสนตำแหน่ง เตรียมสรุปข้อมูลเสนอนายกฯภายในเดือน เม.ย.นี้ก่อนแจกงานให้อุดมศึกษา-อาชีวะไปผลิตคนตอบสนอง

ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ในการประชุมเกี่ยวกับด้านการศึกษาซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้มอบหมายให้ตนทำการศึกษาการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการจ้างงานจากการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเงินกู้ 3.7 แสนล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบจัดการน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ระบบรางในกรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานอย่างน้อย 500,000-1,000,000 ตำแหน่ง โดยเน้นย้ำให้ดูเรื่องของความต้องการกำลังคน และแรงงานที่สอดคล้องกันเป็นหลัก โดยขณะนี้ตนอยู่ระหว่างศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีภายในเดือน เม.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านความเห็นชอบก็กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อแบ่งงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปดำเนินการผลิตกำลังคนป้อนตามที่ตลาดแรงงานต้องการต่อไป


“เมื่อได้รับมอบหมายผมก็ได้ประชุมกับ สกอ.และ สอศ.ทันที รวมทั้งประชุมร่วมกับภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบราง และการก่อสร้างโครงการขนานใหญ่ของประเทศไทย เบื้องต้นพบว่า การสร้างระบบรางระยะทาง 1 กิโลเมตร เราต้องใช้กำลังคนที่ประกอบด้วย ช่างเชื่อม ช่างปูน ช่างไฟ และช่างอื่นๆ อีกจำนวนกี่คน ซึ่งก็จะได้คำนวณการผลิตกำลังคนทั้งระบบออกมารองรับได้ นอกจาก แรงงานด้านช่างแล้ว ยังต้องเตรียมการผลิตกำลังคนด้านอื่นๆ อีก เช่น การค้าปลีก การบริการ การท่องเที่ยว ระบบโลจีสติกส์ หรือ ระบบการจัดการขนส่งสินค้า เป็นต้น เพราะไม่ว่าระบบรางไปถึงที่ใด ก็ย่อมต้องมีความเจริญ การค้าเข้าไปถึงแหล่งชุมชน” ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว

ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในภาพรวมเห็นชัดว่า สอศ.ต้องรับภาระในการผลิตกำลังฝีมือระดับกลาง หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. ซึ่งแม้ยังไม่มีโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ตลาดแรงงานก็ต้องการแรงงานระดับ ปวช.มากถึง 7 แสนตำแหน่ง ซึ่งภาคอุตสาหกรรมระบุว่า หากมีคนจบ ม.6 และ ปวช.มาสมัครงาน จะเลือกคนที่จบ ปวช.ขณะเดียวกันมีข้อมูลว่า ปัจจุบันเรามีนักเรียน ม.6 ในระบบการศึกษาจำนวน 8 แสนคน แต่ปรากฏว่าจบระดับปริญญาตรีแค่ 3 แสนคน ในจำนวนนี้แสดงให้เห็นว่า มีเด็กไม่เรียนต่อปริญญาตรีถึง 5 แสนคน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42848
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2013 12:14 am    Post subject: War of Words Reply with quote

“วราเทพ” อ้างจีนไม่ลงทุน หากรถไฟความเร็วสูงขาดทุน ปัด “แม้ว” กู้โปะหนี้ IMF

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 เมษายน 2556 17:26 น.

รมต.สำนักนายกฯ โต้ “กรณ์” ยัน รบ.ไม่หวังแค่ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง อ้าง จีนมองขาดทุนคงไม่ลงทุนด้วย แจงสร้างถึงเชียงใหม่เพราะเมืองสำคัญ ไม่เกี่ยวบ้านเกิดนายกฯ ป้อง “นช.แม้ว” กู้เงินใช้หนี้ไอเอ็มเอฟไม่จริง ตอกสองแกนนำ ปชป.มั่ว ชี้คืนหนี้ก่อนกำหนด เพราะกองทุนสำรองชาติเก็บรายได้มากขึ้น

วันนี้ (16 เม.ย.) นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่ารัฐบาลมีโอกาสขาดทุนสูงจากการจัดเก็บรายได้จากค่าโดยสารในการลงทุนรถไฟความเร็วสูงว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมมองอย่างนั้น รัฐบาลไม่ได้หวังรายได้จากการเก็บค่าโดยสาร แต่หวังจากรายได้ที่เกิดจากการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ในระยะยาว ไม่ได้สร้างแล้วใช้ไปเพียง 7 ปี แต่จะใช้เป็น 100 ปี จะขาดทุนไม่ใช่มองเรื่องของค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าขาดทุนจริงประเทศจีนคงไม่มาร่วมลงทุนด้วย และเมื่อมีการลงแล้วเริ่มแรกรัฐก็ต้องยอมที่จะขาดทุนก่อน คงไม่มีใครทำโครงการไปแล้วจะทำให้เกิดความเสียหาย ส่วนเรื่องเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไป จ.เชียงใหม่ เป็นเรื่องของความเหมาะสม เพราะ จ.เชียงใหม่ถือเป็นเมืองที่สำคัญในภูมิภาค ไม่ได้ทำเพราะเป็นบ้านเกิดผู้นำรัฐบาลอย่างที่ฝ่ายค้านโจมตี

นายวราเทพกล่าวว่า ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านระบุว่าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหมุนหนี้ โดยการกู้เงินใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) นั้นไม่เป็นความจริง ไม่น่าเชื่อว่าคนอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรณ์ ที่เป็นถึงอดีต รมว.คลังจะไม่เข้าใจ หรือบริหารจัดการไม่เป็น ถึงไม่รู้ว่าเงินกู้ไอเอ็มเอฟเป็นเรื่องที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณคืนได้ก่อนกำหนด เพราะกองทุนสำรองของประเทศมีมากขึ้นจากการจัดเก็บรายได้ที่สูงขึ้น ไม่ได้ไปกู้เงินเสียดอกเบี้ยสูงๆ เอามาชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ ถ้าไม่รู้จริงก็น่าจะไปถามคนในกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะเรื่องของเงินกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ก็เป็นคนละบัญชีกับหนี้ไอเอ็มเอฟ เพราะเอดีบีเป็นการให้กู้กับประเทศที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลไม่สามารถที่นำเงินส่วนนี้ไปใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ ส่วนการชำระหนี้เอดีบีเป็นเรื่องของการบริหารจัดการหนี้ เมื่อมีแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยถูกกว่า เราก็ต้องไปกู้เพื่อนำมาชำระหนี้คืนก่อน เท่ากับว่าเราประหยัดดอกเบี้ย

//----------------------------

นี่คือรายการโจมตีที่วราเทพต้องออกมาแก้ต่าง โดยคุณกรณ์ และทีมงาน
Click on the image for full size\

Team-Korn Chatikavanij Page wrote:
แผนหยาบๆ ของรัฐบาลในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง

ที่ชัดเจนแล้วว่า ในวงเงิน 2 ล้านล้านบาท
ทำได้แค่ กทม. ถึง เชียงใหม่ - โคราช - หัวหิน - พัทยา

ทั้งๆ ที่แผนเก่าของรัฐบาลที่แล้วที่ถูกตีตกไปนั้น ไม่ได้จำเป็นต้องกู้ 2 ล้านล้าน
แถมยังสร้างเชื่อมต่อได้จาก หนองคายเชื่อมจีน และ ปาดังฯ เชื่อมสิงคโปร์

ที่น่ากลัวที่สุดคือการที่ ผู้ว่าการรถไฟฯ คนปัจจุบันกล้าออกมาพูดว่า
"ขอให้โอกาส ร.ฟ.ท.รับผิดชอบโครงการไฮสปีด เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน"
นี่คือคำพูดที่ดูหิวกระหาย อย่างน่าจับตามองครับ

ปล.ก่อนจะคิดทำเรื่องใหญ่ๆ บริหาร Airport Link ให้กำไรก่อนน่าจะดีครับ

(ขอบคุณแผนภาพจากกรุงเทพธุรกิจ โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร)

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=439916976101908&set=a.131324006961208.28077.130953743664901&type=1&ref=nf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 550, 551, 552  Next
Page 146 of 552

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©