Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311551
ทั่วไป:13347606
ทั้งหมด:13659157
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2024 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สามารถชี้ 'แลนด์บริดจ์' ระนอง-ชุมพร เกิดยาก แนะปั้นเป็นฐานการผลิต-กระจายสินค้า
ไทยโพสต์ วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 7:49 น.


ผู้ช่วยรัฐมนตรีคมนาคมโต้ "สามารถ" รู้มั้ย? “แลนด์บริดจ์” ไม่ต้องนอนฝัน แต่เป็นเรื่องจริง โรดโชว์นักลงทุนตอบรับ ให้รอฟังข่าวดี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:30 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21:03 น.


ผู้ช่วยรัฐมนตรีคมนาคมโต้ "สามารถ" รู้มั้ย? “แลนด์บริดจ์” ไม่ต้องนอนฝัน แต่เป็นเรื่องจริง! บอกว่า นอนมากไปหรือเปล่า จนไม่รีบตื่นมาดูความเป็นจริง ออกมาพูดแบบนี้ส่อจะเป็นการยุแยงทำให้ประชาชนและนักลงทุนเข้าใจผิด ชี้อย่ายึดติดขนส่งรูปแบบเดิมๆ โรดโชว์เนื้อหอมจริง ต่างชาติสนใจเพียบ

วันที่ 12 พ.ค. 2567 นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโต้ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ปมโครงการแลนด์บริดจ์ ยันไม่ต้องนอนฝัน แต่เป็นเรื่องจริง!

"ผมเห็นข่าวที่นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า “แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร ฝันที่ยากจะเป็นจริง” อยากจะบอกว่า นอนมากไปหรือเปล่า จนไม่รีบตื่นมาดูความเป็นจริง ออกมาพูดแบบนี้ ส่อจะเป็นการยุแยงที่อาจจะทำให้ประชาชนและนักลงทุนเข้าใจผิดไปกันใหญ่

ผมในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคมคิดว่าปล่อยไว้ไม่ได้ เลยต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงกันสักหน่อย เพราะหลังจากที่ผมได้สัมผัส และเห็นข้อมูลจริง ประกอบกับสอบถามมาจากผู้รู้จริง พบว่าสันนิษฐานที่นายสามารถออกมาเผยแพร่นั้นไม่สะท้อนกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เหมือนตั้งข้อสังเกตกันลอยๆ และจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิด!

ผมอยากอธิบายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ส่งต่อไปยังพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่านว่า โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “โครงการแลนด์บริดจ์” เชื่อมต่อ 2 ท่าเรือ คือ ชุมพร-ระนอง ที่รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทย อยู่ระหว่างการผลักดันโครงการฯ นั้น เพราะมองเห็นว่าหากโครงการนี้ดำเนินการสำเร็จแล้วจะช่วยสร้างประโยชน์ให้พี่น้องประชาชน และประเทศชาติอย่างสูงสุด

“แลนด์บริดจ์” ถือเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อลดระยะเวลาการขนส่งตู้สินค้าทางเรือ และสร้างผลกำไรให้ผู้ประกอบการสายเรือ โดยจากการคำนวณในทุกมิติอย่างครบถ้วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าสามารถช่วยลดต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งสินค้า หลีกเลี่ยงความแออัดของช่องแคบมะละกา ตามที่มีการคาดการณ์ที่เชื่อว่าปริมาณการขนส่งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม
นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม

ที่นายสามารถระบุว่าการขนส่งสินค้าจากเรือฝั่งหนึ่งขึ้นรถบรรทุกหรือรถไฟไปอีกฝั่งหนึ่ง พอไปถึงจะต้องขนจากรถบรรทุกหรือรถไฟลงเรืออีก จะทำให้เสียเวลานานมากนั้น อันนี้ก็เกิดจากกรอบความคิดการขนส่งแบบเดิมๆ ที่จะต้องขน ซึ่งจากการที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี สุริยะได้เดินทางไปดูการขนถ่ายสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นจริงในท่าเรือและรถไฟนั้น สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในปัจจุบัน

คุณสามารถรู้ที่มาที่ไปของ “โครงการแลนด์บริดจ์” หรือเปล่าว่าโครงการนี้เป็นโอกาสครั้งสำคัญในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค ทั้งในเชิงพาณิชย์ และเชิงยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน สามารถช่วยลดระยะเวลาการขนส่งทางทะเล และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เกิดเป็นศูนย์กลางการขนส่ง และการค้าแห่งใหม่ของโลกด้วย



แล้วที่บอกว่าโครงการแลนด์บริดจ์ ”เนื้อหอม“ ก็ต้องยอมรับว่าเนื้อหอมจริงๆ หลังจากที่ท่านนายกฯ ท่านรองนายกฯ สุริยะ ได้เดินหน้าไปโรดโชว์ และประชาสัมพันธ์โครงการให้นานาประเทศได้รู้จักโครงการฯ เพิ่มมากขึ้น พบว่าขณะนี้มีนักลงทุนที่มีศักยภาพจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจโครงการฯ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งอย่างที่ท่านนายกฯ เศรษฐาว่าโครงการขนาดใหญ่ขนาดนี้ นักลงทุนคงไม่ได้ตัดสินใจจะลงทุนในระยะเวลาเดือนสองเดือนครับ

ล่าสุดคือ ตามที่ท่านรองนายกฯ สุริยะ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ และได้โรดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์ด้วยนั้น พบว่าได้รับการตอบรับจากนักลงทุนภาคธุรกิจของจีนเข้าร่วมงานกว่า 30 บริษัทและสนใจมากๆ โดยเฉพาะบริษัท China Harbour Engineering ที่ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด เรียกได้ว่า “ไม่ได้เงียบกริบ” อย่างที่นายสามารถเข้าใจผิดอย่างแน่นอน งานนี้! อาจจะมีคนเงิบ และรอฟังข่าวดีได้เลย



สรุป!
การดำเนินโครงการต่างๆ ของรัฐบาลได้พิจารณาถึงความเหมาะสม และความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้น อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ และผมมั่นใจว่า “โครงการแลนด์บริดจ์” จะมีนักลงทุนต่างชาติมาร่วมลงทุนอย่างแน่นอน เพราะเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลักดันให้ “ประเทศไทย” ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งและการค้าแห่งใหม่ของโลกครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45628
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2024 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
สามารถชี้ 'แลนด์บริดจ์' ระนอง-ชุมพร เกิดยาก แนะปั้นเป็นฐานการผลิต-กระจายสินค้า
ไทยโพสต์ วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 7:49 น.

ผู้ช่วยรัฐมนตรีคมนาคมโต้ "สามารถ" รู้มั้ย? “แลนด์บริดจ์” ไม่ต้องนอนฝัน แต่เป็นเรื่องจริง โรดโชว์นักลงทุนตอบรับ ให้รอฟังข่าวดี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:30 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21:03 น.

ได้ไม่คุ้มเสีย! วงเสวนาชี้'แลนด์บริดจ์'ไม่ช่วยเศรษฐกิจโตอย่างที่หวัง
Source - เว็บไซต์แนวหน้า
Wednesday, May 15, 2024 18:14
ได้ไม่คุ้มเสีย!!! วงเสวนาชี้"แลนด์บริดจ์"ไม่ช่วยเศรษฐกิจโตอย่างที่หวัง หวั่นกระทบท่องเที่ยว-สิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15 พฟษภาคม 2567 ที่ รร.เซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดเวทีนำเสนอความคิดเห็นทางวิชาการ เรื่อง "มองรอบด้านกับโครงการแลนด์บริดจ์" โดย พล.ร.ต.จตุพร ศุขเฉลิม ผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานท่าเรือและขนส่งทางทะเล กล่าวว่า โครงการตัดข้ามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน เพื่อเชื่อมระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงการแลนด์บริดจ์ที่เป็นการสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง แล้วเชื่อมระหว่างกันด้วยถนนและทางรถไฟ หรือแม้แต่โครงการขุดคลองเชื่อมทั้ง 2 ฝั่ง ล้วนตั้งอยู่บนความเข้าใจผิดทั้งสิ้น

กล่าวคือ 1.ที่ผ่านมาผู้คนมักเชื่อกันว่า ท่าเรือของประเทศสิงคโปร์ บริเวณช่องแคบมะละกานั้นแออัด แต่ในความเป็นจริง ช่องแคบมะละกามีเรือแล่นผ่านเฉลี่ย 8 หมื่นลำต่อปี หรือประมาณ 120-200 ลำต่อวัน และแทบไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สถิติเป็นเช่นนี้มาแล้ว 17-18 ปี อัตราการเคิบโตมีเพียงร้อยละ 2 ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นแสนลำอย่างที่เข้าใจกัน อย่างประเทศญี่ปุ่นเคยคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีเรือแล่นผ่าน 1.4 แสนลำ แต่ข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2567 ก็ยังพบว่าแล่นผ่านเพียง 8 หมื่นลำเท่านั้น

หรือการคาดการณ์ของทั้งธนาคารโลก (World Bank) รวถมึงของประเทศมาเลเซีย ก็คาดการณ์กว่าจะมีเรือแล่นผ่านช่องแคบมะละกา 1.2 แสนลำ ผลคือคาดการณ์ผิดกันไปหมด โดยผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้ต้องเข้าใจวัฎจักรการขนส่งทางทะเล เริ่มจากการเช่าเรือ กระแสนี้จะมาในช่วงที่มีปริมาณสินค้ามาก จากนั้นพอผู้เช่าเห็นว่าค่าเช่าแพงขึ้นก็หันไปหาซื้อเรือของตนเอง โดยเฉพาะเรือมือ 2 ซึ่งในบางครั้งจะมีราคาใกล้เคียงเรือต่อใหม่

ต่อมาพอจำนวนเรือมีมากขึ้นกว่าสินค้าที่ต้องการขนส่ง ก็จะเริ่มมีการปลดระวางเรือ เป็นช่วงเวลาของธุรกิจทำลายซากเรือและซื้อ-ขายซากเรือ ซึ่งเรือบางลำเพิ่งสั่งต่อ ยังไม่ทันได้ลงน้ำแล่รจริงก็ถูกสั่งให้ทำลายขายเป็นเศษเหล็กแล้ว ก่อนที่สุดท้ายก็จะวนกลับไปเริ่มที่การเช่าเรืออีกครั้ง โดยนักเศรษฐศาสตร์ด้านการขนส่งทางทะเล คำนวณวัฎจักรนี้ไว้ว่าวงจรรอบหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 12-15 ปี นอกจากนั้น ช่องแคบมะละกายังกว้างมาก เรือบรรทุกเครื่องบิน 5 ลำ แล่นสวนกันยังได้ และที่ผ่านมาก็มีอุบัติเหตุทางเรือเกิดขึ้นน้อยมาก

2.มูลค่าที่จะได้รับจากการแล่นผ่านของเรือ จะทำให้ประเทศไทยร่ำรวยในระดับที่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไปจริงหรือ? เพราะหากดูท่าเรือที่มีชื่อเสียอื่นๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ กำไรต่อปีเพียงประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ตู้สินค้าที่จะเกิดรายได้หรือประโยชน์ทางผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศไทย คือตู้สินค้าที่ถูกยกจากเรือลงมาและถูกขนส่งต่อเพื่อนำไปใช้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนแผ่นดินไทย

แต่หากเป็นตู้ที่ถ่ายจากเรือลำหนึ่งไปยังเรืออีกลำหนึ่งแล้วแล่นออกไป แบบนี้แทบไม่ก่อให้เกิดรายได้กับประเทศไทย ยกเว้นกับหน่วยงานที่ให้บริการยกตู้ขึ้น-ลงเท่านั้น และค่ายกตู้ก็ไม่ได้สูงถึง 5,000 บาทต่อตู้อย่างที่พูดกัน แต่อยู่ที่เพียง 860 บาทเท่านั้น หรือต่อให้เพิ่มค่ายกเป็นตู้ละ 1,000 บาท ก็ไมได้ก่อให้เกิดรายได้มากมายนัก หรือมากที่สุด กรณีเรือยังไม่มารับ มีตู้สินค้าถูกวางทิ้งไว้ ตู้นั้นก็จะถูกลากไปเก็บที่ลานด้านนอก จะเสียค่าลากอีกประมาณพันกว่าบาท จึงเป็นไปไม่ได้ที่ไทยจะได้ค่าบริหารจัดการตู้สินค้าถึงตู้ละ 5,000 บาท

3.การค้าขายทางทะเลไม่อาจคิดแบบเดียวกับการตั้งตลาดนัด โดยปกติการพัฒนาท่าเรือไม่ใช่ทำทีเดียวให้เสร็จทุกอย่าง แต่แบ่งการพัฒนาออกเป็นระยะๆ เพื่อให้ตอบโจทย์สินค้าแต่ละประเภท เมื่อสินค้าเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ก็เปลี่ยน เรือที่ใช้ขนส่งเปลี่ยน และท่าเรือก็ต้องเปลี่ยน เช่น ท่าเรือน้ำมัน ท่าเรือเทกองแห้ง ท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ การค้าขายทางทะเลจึงต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องทำคู่ขนานไปกับความต้องการใช้งาน อีกทั้งต้องทำในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่ทำโดดๆ นำไปก่อนยาวๆ

4.แนวโน้มการค้าในยุคหลังๆ เน้นการค้าในภูมิภาคเดียวกัน (Regional Trade) มากขึ้น โดยนักลงทุนจากที่ไกลๆ เช่น ทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกา จะสอนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศในภูมิภาคนั้นมากขึ้น 5.กรณีโครงการแลนด์บริดจ์ ยังมีเรื่องของการยกตู้สินค้าขึ้น-ลงเรือสินค้าของแต่ละฝั่ง และการขนส่งด้วยรถยนต์หรือรถไฟระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง รวมถึงเรือแล่นมาส่งตู้สินค้าแล้วคงไม่ตีเปล่ากลับไป แต่ต้องรอขนตู้สินค้าล็อตใหม่ด้วย แม้จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ก็จะใช้เวลาเฉลี่ย 7 วันต่อฝั่ง หรือมากกว่า 10 วันหากรวมทั้ง 2 ฝั่ง ไม่ได้ประหยัดเวลาลงอย่างที่เข้าใจกัน

และ 6.มีความเชื่อกันมานานว่า โครงการตัดเชื่อมด้ามขวาน 2 ฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นขุดคลองหรือแลนด์บริดจ์ หากทำแล้วไทยจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของประเทศสิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้โครงการทำนองนี้เกิดขึ้น ถึงขั้นมีการกล่าวหาว่าใครที่คัดค้านคือรับงานสิงคโปร์มา แต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการหรือสายเรือ เขาก็ต้องคำนวณก่อนอยู่ดีว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะเปลี่ยนจากท่าเรือสิงคโปร์มาผ่านประเทศไทย โดยในหนึ่งในตัวแปรคือ บริเวณอ่าวไทยมีแท่นขุดเจาะน้ำมันมากถึง 400 แท่น ซึ่งเรือก็ต้องแล่นอ้อมแท่นเหล่านี้ ก็เสียเวลาเพิ่มอีกอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

"สรุปสั้นๆ นะ สมมติฐานโจทย์ที่ตั้งกันมาผิดทุกข้อ ช่องแคบมะละกาไม่ได้แออัด ปริมาณเรือไม่ได้มาก ช่องแคบมะละกาไมได้แคบ ไปทางด้ามขวานเราจะช้ากว่าด้วยเพราะต้องหลีกแท่นขุดเจาะอีก 4-5 ชั่วโมง คอยคิวนำร่องอีก เยอะ! ยืนยันฟันธงเลย เพราะมันมีหลักฐานเชิงประจักษ์ สรุปว่าไปมะละกาไวกว่า" พล.ร.ต.จตุพร กล่าว

นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ วิศวกรอิสระ กล่าวว่า เมื่อดูแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ปี 2566-2570 ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) จะแบ่งออกเป็น 6 ข้อ คือ 1.ยกระดับการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัยและมีมูลค่าสูง 2.อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการผลิตสำหรับสาขาเศรษฐกิจสำคัญของภาค 3.ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

4.ส่งเสริมการใช้งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการแปรรูปสินค้าเกษตรหลักของภาคเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 5.พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายแดนใต้ (SEC) และ 6.เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี แต่โครงการแลนด์บริดจ์จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว เช่น ฝั่ง จ.ระนอง พื้นที่ก่อสร้างจำนวนมากอยู่ในเขตอนุรักษ์ อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง เกาะพยาม พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแหลมสน

ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ ซึ่งในปี 2540 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา รวมไปถึงหมู่เกาะสุรินทร์ ในพื้นที่ จ.พังงา เช่น การตัดถนนผ่านพื้นที่อนุรักษ์ รถบรรทุกจำนวนมากลำเลียงตู้คอนเทนเนอร์แล่นผ่าน มลพิษทางอากาศและทางเสียงจะกระทบต่อสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นมากเพียงใด หรือสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งกระทบกับแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะพยาม น้ำทะเล ปะการังหายหมด ช่วงก่อสร้างน้ำทะเลก็ไม่ใส ก่อสร้าง 3 ปี ธุรกิจแถวนั้นคงจบกันหมด

"อีกอันก็คือหมู่เกาะสุรินทร์ที่อยู่ตอนล่าง ถามว่าเกี่ยวอะไร? เรือใหญ่เขาต้องวิ่งผ่านร่องน้ำลึก เพราะคุณไม่ได้ขุดทะเลเหมือนเลนรถยนต์ เรือมันต้องหาร่องน้ำลึกวิ่ง ฉะนั้นร่องน้ำลึกที่สุดคืออยู่ระหว่างภูเขา หรืออุทยาน 2 แห่ง ผมก็ประมาณการเส้นทางเดินเรือขึ้นมา เรือสินค้าใหญ่ๆ จะวิ่งอย่างไรจากทะเลอันดามัน จะเห็นว่ามันผ่านสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านหมู่เกาะสำคัญ ผ่านอุทยาน สมมติคุณไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติ เราต้องการความสบายตา-สบายใจ แต่เห็นเรือสินค้าวิ่งอยู่เต็มไปหมด เราจะเสียรายได้จากตรงนี้ไหม?" นายอัตถพงษ์ กล่าว

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง นักวิชาการด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า พื้นที่ฝั่งอันดามัน ทั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน หาดท้ายเหมือง ป่าชายเลนพื้นที่สงวนชีวมณฑล พื้นที่เหล่านี้มีศักยภาพในการเตรียมการเพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อย่างใน จ.ระนอง เคยขึ้นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ด้วยซ้ำว่าป่าชายเลนสู่มรดกโลก เรื่องนี้คุยกันมาหลายปีและเป็นความเห็นพ้องของคนในท้องถิ่น มีผลการศึกษาจากทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยความโดดเด่นของพื้นที่

ซึ่งการเป็นมรดกโลกจะมีเกณฑ์หลายข้อ เช่น หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน มีแนวปะการังขนาดใหญ่ที่สวยงาม เป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลก ก็มีคุณค่าด้านการท่องเที่ยวและความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่ จ.ระนอง มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ มีการกระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์ในเขตอินโด-แปซิฟิก กับเขตซุนดรา โดยมีรอยต่ออยู่ตรงลำน้ำกระบุรี หรืออย่างหาดท้ายเหมือง จ.พังงา มีสันทรายโบราณ มีร่องรอยวิวัฒนาการของชายฝั่งทะเล

"ถ้าเราดูพื้นที่ทะเลจำนวนมาก กรมอุทยานฯ ไม่ได้ห้ามเรื่องของประมงพื้นบ้าน กฎหมาย พ.ร.บ. 2562 ฉบับใหม่ ให้ประโยชน์กับประชาชนชุมชนชายฝั่งได้ประโยชน์จากพื้นที่ทะเล ไม่ว่าจะเป็นแหลมสนหรือหมู่เกาะระนอง ก็เป็นพื้นที่ที่มันไม่ใช่พื้นที่อนุรักษ์ห้ามใช้ มันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะชุมชนชายฝั่งบริเวณนี้ได้ประโยชน์จากทะเลหมู่เกาะระนองเป็นจำนวนมาก" นายศักดิ์อนันต์ กล่าว

นายชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่า ในบริเวณชายฝั่งทั้ง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร มีผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ตามที่ลงทะเบียนไว้กับกรมประมง รวมกันไม่ต่ำกว่า 2,000 คน มีมูลค่าการผลิตแต่ละปีประมาณ 1,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมการกระจายรายได้ยังกลุ่มคนฐานรากอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นตนจึงมองว่า การเปลี่ยนจากระบบนิเวศที่ดีไปเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ผลประโยชน์ก็จะเปลี่ยนไปอยู่ในมือกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน อีกทั้งความคุ้มทุนจากการสร้างท่าเรือมีความเป็นไปได้เพียงใด

"ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทั้ง 2 ฝั่งไป ทั้งในเรื่องของป่าชายเลนขนาดใหญ่แล้วก็ชายฝั่ง ซึ่งประโยชน์เชิงนิเวศก็มีนอกเหนือจากการประมง การท่องเที่ยวเราจะใช้ประโยชน์ได้ชั่วระยะยาว แต่ถ้าจะใช้ประโยชน์เรื่องของการเป็นท่าเรือหรือว่าโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ มันมีความไม่แน่นอนในเรื่องของทางเศรษฐกิจ หรือว่าสถานการณ์ต่างๆ อาจจะทำให้โครงการเหล่านี้ใช้ประโยชน์ได้น้อยลง" นายชวลิต กล่าว

นายพิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หากไปดูผลการศึกษาของสภาพัฒน์ จะมีขมวดไว้ในหน้าท้ายๆ ว่าลำพังสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดให้ตามปกติแก่ผู้ลงทุนไม่น่าจะเพียงพอ จะต้องมีบริบทอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตนเป็นห่วงการตีความคำว่า "บริบทอื่นๆ" ระหว่างผู้ทำการศึกษากับรัฐบาล เพราะหากบอกว่าลำพังสิทธิบีโอไอ นำเข้าเครื่องจักรโดยไม่ต้องเสียภาษี หรือยกเว้นภาษี 8 ปี บวกอีก 5 ปี แล้วยังไม่เพียงพอกับนักลงทุนในการตัดสินใจเข้ามาลงทุนก่อสร้างในโครงการ คำถามคือนักลงทุนจะขออะไรเพิ่มเติม และสิ่งที่ขอจะก่อปัญหาหรือไม่

"ถ้าสมมติว่าคนที่จะมาลงทุน ถ้าบอกว่าตลอดแนวฝั่งอันดามัน 100 กิโลเมตร เขาขอสร้าเงป็นคาสิโน เป็นรีสอร์ท โดยให้สิทธิ์เขา 90 ปี แบบนี้ชาวบ้านเขาจะยอมไหม? ถ้ามันเกิดปัญหาความขัดแย้งแบบนี้ แล้วเราปล่อยทีโออาร์ออกไปในลักษณะนี้โดยที่ไม่มีขอบเขตชัดเจนว่ารัฐสามารถที่จะตอบแทนประโยชน์อะไรให้กับผู้ลงทุนได้บ้าง ตรงนี้พอหลังจากออกทีโออาร์แล้วรับข้อเสนอขึ้นมา มันก็จะเกิดความขัดแย้งแล้วก็เป็นความขัดแย้งใหญ่ รวมทั้งความขัดแย้งที่เราจะต้องดึงเอาต่างประเทศมาขัดแย้งกับคนภายในประเทศด้วย" นายพิรียุตม์ กล่าว

นายสมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ภาคใต้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) เคยมีความพยายามผลักดันโครงการในพื้นที่ จ.สงขลา เชื่อมกับ จ.สตูล แต่ถูกคัดค้านอย่างหนักจนต้องเลิกไป กระทั่งมาสมัยรัฐบาลนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงท้ายๆ มีการปัดฝุ่นโครงการแลนด์บริดจ์ขึ้นมาใหม่ และถูกสานต่อในสมัยรัฐบาลปัจจุบันของนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน

ซึ่งเรื่องนี้คาดว่ามีนัยทางการเมือง เพราะมีพรรคการเมืองบางพรรตต้องการใช้โครงการดังกล่าวเจาะฐานเสียงภาคใต้จากพรรคการเมืองที่ครองพื้นที่อยู่เดิม ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจหรือนักลงทุนจำนวนหนึ่งก็ยังรู้สึกค้างคาใจเพราะเชื่อว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับภาคใต้และประทศไทย นอกจากนั้น นายกฯ เศรษฐา ดูจะเอาจริงเอาจังกับโครงการนี้มาก เห็นได้จากการเดินสายไปต่างประเทศ จะมีการนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์กับนักลงทุนต่างชาติอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม หากเทียบโครงการแลนด์บริดจ์เส้นทางสงขลา-สตูล กับแลนด์บริดจ์เส้นทางชุมพร-ระนอง จะพบว่า กรณี จ.สตูล กับ จ.ระนอง เหมือนกันตรงที่เป็นจังหวัดเล็ก ประชากรไม่มาก แต่มีศักยภาพเรื่องการเกษตร ประมงและท่องเที่ยว ดังนั้นพอเห็นการประชาสัมพันธ์โครงการ ในช่วงแรกๆ ประชาชนในพื้นที่ก็ตื่นตาตื่นใจ อย่างใน จ.สตูล ตนจำได้ว่า 2 ปีแรกนับตั้งแต่รัฐบาลนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์ ประชาชนเห็นด้วยกันเกือบ 100% แต่จุดเปลี่ยนอยู่ที่การได้รับข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ว่าคนในพื้นที่ต้องสูญเสียหรือยอมแลกอะไรไปบ้าง ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

"อ่าวปากบาราเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งแรกเลย ถ้ามาแผ่นดินใหญ่คุณต้องมาที่อ่าวปากบารา นั่นหมายความว่าอ่าวนี้อาจจะไปภายใต้โครงการนี้ แล้วก็แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ก็จะกระทบทางทะเล การประมงสูญเสีย พื้นที่ที่จะถูกเวนคืนสร้างแลนด์บริดจ์ สร้างรถไฟ สร้างมอเตอร์เวย์ สร้างนิคมอุตสาหกรรม มันก็จะหายไป ข้อมูลเหล่านี้พอถูกนำเสนอคนในพื้นที่เขาเริ่มคิดหนัก ขนาดผู้ประกอบการเองซึ่งเป็นนักธุรกิจ-นักลงทุนในพื้นที่ ตอนแรกๆ เขาก็เชียร์โครงการนี้นะ แต่พอมาฟังดูแล้วเขารู้สึกว่า โห! มันจะคุ้มไหม? เพราะว่าเรากำลังจะเสียทุกอย่างไป ในจังหวัดที่มันมีศักยภาพ" นายสมบูรณ์ กล่าว


Land Bridge Project Raises Economic and Environmental Concerns

On May 15, 2024, a forum organized by the Office of the National Human Rights Commission (NHRC) at Centara Life Hotel in Bangkok discussed the Land Bridge Project. The project proposes constructing two deep-sea ports in Chumphon and Ranong, connecting them with roads and railways. However, experts at the forum voiced concerns about the project's economic viability and potential negative impact on tourism and the environment.

Economic Concerns

Rear Admiral Chatuporn Sukchalerm, a port management and maritime transport expert, questioned the project's underlying assumptions. He argued that the Strait of Malacca is not as congested as previously believed and that the project might not generate substantial revenue for Thailand. He emphasized that the value derived from passing ships would not significantly boost the Thai economy and that the cost of building and maintaining the infrastructure could outweigh the potential benefits.

Environmental and Tourism Concerns

Atthaphong Chanthanumat, an independent engineer, and Sak-anan Plathong, an expert on marine and coastal resources, raised concerns about the project's environmental impact. They pointed out that the construction would affect conservation areas, national parks, and world biosphere reserves in Ranong and Phang Nga provinces. They also expressed concerns about the project's potential negative impact on tourism, as the construction could disrupt natural beauty and biodiversity in the region.

Social and Political Concerns

Chawalit Witthayanon, an independent biodiversity expert, highlighted the potential impact on local fishing communities. He emphasized that the project could disrupt their livelihoods and shift benefits to a small group of investors. Somboon Khamhaeng, Chairman of the NGO Coordinating Committee, pointed out that the project could have political implications and that there might be conflicts of interest between different stakeholders.

Conclusion

The forum highlighted the complexities surrounding the Land Bridge Project. While the project aims to boost Thailand's economy, experts questioned its economic viability and expressed concerns about its potential negative impact on the environment, tourism, and local communities. The discussion emphasized the importance of considering all aspects of the project and ensuring transparency and inclusivity in the decision-making process.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2024 10:57 am    Post subject: Reply with quote

"สุริยะ" ร่วมงาน "Thai-Italian Business Forum" เจรจาการค้า พร้อมชวนลงทุน "แลนด์บริดจ์"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:34 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08:05 น.




"สุริยะ" เยือนอิตาลี ร่วมกล่าวเปิดงาน "Thai-Italian Business Forum" พร้อมลงนามและเจรจาส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดึงลงทุนในไทย และโปรโมต "แลนด์บริดจ์" ซึ่งนักธุรกิจอิตาลีมีความสนใจลงทุน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้เข้าร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน Thai-Italian Business Forum จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศอิตาลี ณ สภาหอการค้าอิตาลี (Unioncamere) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ร่วมกับประธานสภาหอการค้าอิตาลี พร้อมทั้งได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าอิตาลีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-อิตาลีให้เพิ่มมากขึ้น

ad



นายสุริยะกล่าวว่า ทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาให้นักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ภายใต้นโยบาย gnite Thailand ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล เพื่อมุ่งที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ พร้อมได้เชิญชวนนักธุรกิจชาวอิตาลีที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในธุรกิจสินค้าหรูหรา (Luxury) เข้าร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยคาดหวังให้ไทยกับสหภาพยุโรปเกิดข้อตกลงการค้าเสรี ภายในปี 2568



ขณะที่ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์ในช่วงโอกาสการลงทุนในประเทศไทย ให้สมาชิกสภาหอการค้าอิตาลีได้ทราบถึงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียด โอกาสในการลงทุน รูปแบบการลงทุน รวมถึงสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไทยกับอิตาลี เพื่อเชิญชวนให้ภาคธุรกิจอิตาลีที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนและนักธุรกิจของอิตาลีเป็นอย่างมาก


‘สุริยะ’นำทีมโชว์‘แลนด์บริดจ์’ แย้มนักธุรกิจอิตาลีสนใจลงทุน
หน้าโลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.10 น.


‘สุริยะ’บินเยือนอิตาลี เปิดงาน “Thai - Italian Business Forum” พร้อมเจรจาส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เตรียมจัดทัพนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์ หลังนักธุรกิจอิตาลีมีความสนใจลงทุนสูง

22 พฤษภาคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้เข้าร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน Thai – Italian Business Forum ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างประเทศอิตาลี ณ สภาหอการค้าอิตาลี (Unioncamere) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ร่วมกับประธานสภาหอการค้าอิตาลี พร้อมทั้งได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าอิตาลีและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอิตาลีให้เพิ่มมากขึ้น



ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาให้กับนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ภายใต้นโยบาย nite Thailand ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล เพื่อมุ่งที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ขณะเดียวกันยังได้เชิญชวนนักธุรกิจชาวอิตาลีที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในธุรกิจสินค้าหรูหรา (Luxury) เข้าร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยคาดหวังให้ไทยกับสหภาพยุโรปเกิดข้อตกลงการค้าเสรี ภายในปี 2568

ด้านนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์ในช่วงโอกาสการลงทุนในประเทศไทย ให้สมาชิกสภาหอการค้าอิตาลีได้ทราบถึงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียด โอกาสในการลงทุน รูปแบบการลงทุน รวมถึงสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไทยและอิตาลี เพื่อเชิญชวนให้ภาคธุรกิจอิตาลีที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนและนักธุรกิจของอิตาลีเป็นอย่างมาก

https://www.youtube.com/watch?v=4X8n-xTmSak
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2024 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กเอกชนรุมจีบ "สนข." เปิดรับฟังความเห็น ดึงร่วมทุน "แลนด์บริดจ์"
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:35 น.

"สนข." เปิดรับฟังความเห็น "แลนด์บริดจ์" 1 ล้านล้านบาท เผยบิ๊กเอกชนไทย-ต่างชาติ รุมจีบ กว่า 100 คน เร่งชงครม.ไฟเขียวร่างพ.ร.บ.SEC ดันกฎหมายอุ้มสิทธินักลงทุน ภายในก.ย.นี้ ลุยปักหมุดเปิดประมูลปลายปี 68

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ว่า หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้แล้ว เบื้องต้น สนข. และที่ปรึกษาโครงการฯ จะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ นำไปปรับปรุงให้ผลการศึกษามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รูปแบบปัจจัยความเป็นไปได้ เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการลงทุน สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นรูปธรรม โดยภาครัฐได้ผลประโยชน์ที่เหมาะสมคุ้มค่ามากที่สุด


นางมนพร กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาจากการโรดโชว์ในต่างประเทศได้การตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี โดยมีการดึงภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ,สหภาพยุโรป,สาธารณรัฐประชาชนจีน, ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฝั่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง เบื้องต้นกระทรวงจะเร่งรัดออกกฎหมายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ ปัจจุบันสนข.ได้เสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมาที่กระทรวงแล้ว หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนก.ย.นี้ ก่อนเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป



"หากกระบวนการเสนอต่อสภาฯพิจารณาร่างพ.ร.บ.SEC มีความล่าช้า จะดำเนินการอย่างไรนั้น ในปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับที่อยู่ในการพิจารณาของสภาฯ เบื้องต้นจะมีการจัดลำดับความสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าไปอยู่ในนั้นด้วย เนื่องจากเป็นร่างพ.ร.บ.SEC ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ"



นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ทั้งนี้ในร่างพ.ร.บ.SEC จะมีสิทธิประโยชน์คล้ายกับพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ร.บ.) อีอีซี เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี,สัดส่วนการลงทุน โดยให้นักลงทุนต่างชาติสามารถครองสัดส่วนการลงทุนได้กว่า 51% ฯลฯ


ขณะที่ความคืบหน้าการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ที่ผ่านมาติดปัญหาเรื่องการเข้าพื้นที่ เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขอใบอนุญาตเข้าพื้นที่ ปัจจุบันได้มีการลงพื้นที่สำรวจแล้ว คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 67



นายปัญญา กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 68 สนข.เตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดโครงการฯ เพื่อประกวดราคาในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดว่าจะดำเนินการเปิดประมูลได้ภายในปลายปี 68



อย่างไรก็ดีการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านทีอียู เปิดให้บริการภายในปี 73 ระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านตู้ทีอียู เปิดให้บริการปี 82 และระยะที่ 3 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 8 ล้านตู้ทีอียู โดยการเปิดให้บริการระยะนี้จะต้องรอดูการเริ่มดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 ระยะก่อน ส่งผลให้ทั้งโครงการฯสามารถรองรับปริมาณได้ทั้งหมดฝั่งละ 20 ล้านตู้ทีอียู


สำหรับการเปิดรับฟังความเห็นในครั้งนี้พบว่ามีนักลงทุนกลุ่มสายการเดินเรือ,กลุ่มบริหารท่าเรือ ,กลุ่มการก่อสร้าง ฯลฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจกว่า 100 คน เช่น บริษัทดับลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ,สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)



บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด ,บริษัทเอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย ) จำกัด,บริษัทสยามพิวรรธน์จำกัด ,บมจ.ธนาคารกรุงไทย ,China energy international group ,Nippon Koei Co,Ltd.(Japan) ,Mitsubishi Company (Thailand),Bank of China,Embassy of India,Jica Thailand Office ฯลฯ


ส่วนรายละเอียดรูปแบบการลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ จะให้สิทธิผู้สนใจลงทุนมีสิทธิประมูลโครงการเป็น Single Package ในระยะเวลา 50 ปี ได้แก่ ท่าเรือ 2 แห่ง (ท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนอง) โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมทั้งพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม แต่สามารถร่วมกันลงทุนได้ในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือการร่วมกันในลักษณะกลุ่มบริษัท (Consortium)

บิ๊กเอกชนรุมจีบ \"สนข.\" เปิดรับฟังความเห็น ดึงร่วมทุน \"แลนด์บริดจ์\"

ด้านรูปแบบการลงทุนจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้สิทธิประโยชน์ แก่ภาคเอกชน พร้อมทั้งจัดหาพื้นที่และการเวนคืนให้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ เส้นทางเชื่อมโยงต่าง ๆ โดยภาคเอกชนผู้ลงทุนต้องเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด และดำเนินการบริหารจัดการ



ทั้งนี้พบว่าจากการประเมินมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนต้องใช้ในการพัฒนาโครงการ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง ประมาณ 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร ประมาณ 305,666 ล้านบาท



นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์มีโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมประมาณ 358,517 ล้านบาท (เป็นราคาประเมิน ณ ปี พ.ศ. 2566 โดยไม่ได้รวมเงินเฟ้อ) ซึ่งจากการประเมินอัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากโครงการในเบื้องต้น เท่ากับ 8.62% (กรณียังไม่มีการกู้ยืม) โดยมีระยะเวลาคืนทุนปีที่ 24 แสดงให้เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45628
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/05/2024 9:46 am    Post subject: Reply with quote

แลนด์บริดจ์ อย่าซ้ำรอย ‘อีอีซี’
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Friday, May 31, 2024 07:09

เป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปี ที่ประเทศไทยสูญเปล่าไปกับการเตรียมความพร้อมเริ่มก่อสร้าง ดังนั้น โครงการแลนด์บริดจ์ที่นายเศรษฐา ทวีสิน ทุ่มสุดตัวเพื่อพัฒนาท่าเรือ มอเตอร์เวย์ และรถไฟทางคู่ ขอให้อย่าซ้ำรอยรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) เพื่อให้เป็นจุดขายใหม่ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นโครงการที่เชื่อมการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยจะมีท่าเรือ 2 ฝั่ง ที่ระนองและชุมพร รวมทั้งเชื่อมทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ด้วยมอเตอร์เวย์และรถไฟ ด้วยมูลค่าการลงทุน 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้จะมีพื้นที่รองรับการลงทุน มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการลงทุนครั้งใหญ่

แนวทางการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ใช้แนวทางเดียวกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.เอสอีซี ซึ่งมีต้นแบบมาจาก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 ที่ประกอบด้วยกลไกการพัฒนาและสิทธิประโยชน์การลงทุน โดยในเขตพัฒนาพิเศษจะให้อำนาจเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการมีความคล่องตัวมากขึ้น

ข้อกังวลสำคัญในขณะนี้ของภาคเอกชนอยู่ที่ความกังวลการส่งมอบพื้นที่ การเวนคืนที่ดิน และผลกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน โดยที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมประสานกระทรวงมหาดไทยแก้ปัญหากรณีที่มีประชาชนบางกลุ่มไม่มีเอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน ซึ่งจะมีผลต่อชดเชยประชาชนที่ต้องออกจากพื้นที่ รวมทั้งมีประชาชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการแลนด์บริดจ์ จึงจำเป็นที่กระทรวงคมนาคมจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการจัดเตรียมพื้นที่

โครงการแลนด์บริดจ์จำเป็นต้องดูบทเรียนของการพัฒนาอีอีซี โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ยังไม่สามารถออกเอกสารเริ่มงานได้และตอกเสาเข็มได้ ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 2562 ในขณะที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย.2563

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นกระดูกสันหลังของอีอีซีไม่คืบหน้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนอีอีซี และมีคำถามจากนักธุรกิจว่า ทั้ง 2 โครงการจะเริ่มก่อสร้างได้เมื่อใด เป็นระยะเวลาเกือบ 5 ปี ที่ประเทศไทยสูญเปล่าไปกับการเตรียมความพร้อมเริ่มก่อสร้าง ดังนั้น โครงการแลนด์บริดจ์ที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ทุ่มสุดตัวเพื่อพัฒนาท่าเรือ มอเตอร์เวย์และรถไฟทางคู่ ขอให้อย่าซ้ำรอยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา


Land Bridge: Avoid Repeating the 'EEC' Mistake
Source: Krungthep Turakij Online
Friday, May 31, 2024, 07:09

For nearly five years, Thailand has wasted time on preparation without starting construction. Therefore, Prime Minister Srettha Thavisin’s Land Bridge project, aimed at developing ports, motorways, and dual-track railways, must avoid repeating the pitfalls of the high-speed rail connecting three airports and the U-Tapao Airport development project.

The government is accelerating the Southern Economic Corridor project to link transportation between the Gulf of Thailand and the Andaman Sea (the Land Bridge), positioning it as Thailand's new selling point. This project will connect the Gulf of Thailand and the Andaman Sea with ports on both sides in Ranong and Chumphon, linked by motorways and railways, with an investment value of 1 trillion baht. Additionally, it will create investment zones and establish industrial estates, supporting significant investments.

The Land Bridge development approach mirrors the Eastern Economic Corridor (EEC). The Ministry of Transport is drafting the Southern Economic Corridor Special Development Zone Act (SEC Act), modeled after the Eastern Economic Corridor Special Development Zone Act of 2018, which includes development mechanisms and investment incentives. The special development zone will be granted authority to facilitate smoother project development.

The private sector’s primary concern is land acquisition, expropriation, and the impact on local residents. The Ministry of Transport has been coordinating with the Ministry of Interior to address issues where some residents lack land ownership documents, affecting compensation for those displaced. Additionally, some residents oppose the Land Bridge project, necessitating the Ministry of Transport to foster understanding to prevent preparation issues.

The Land Bridge project must learn from the EEC's development lessons, especially regarding large-scale infrastructure projects that have yet to issue commencement documents and start construction. The high-speed rail linking three airports (Don Mueang, Suvarnabhumi, U-Tapao) signed a public-private partnership contract on October 24, 2019, while the U-Tapao Airport and Eastern Aviation City development project signed a contract on June 19, 2020.

The stalled progress of major EEC infrastructure projects undermines confidence in the EEC's advancement and raises questions among businesspeople about when these projects will begin. For nearly five years, Thailand has wasted time on preparation without starting construction. Therefore, Prime Minister Srettha Thavisin’s Land Bridge project, aimed at developing ports, motorways, and dual-track railways, must avoid repeating the pitfalls of the high-speed rail connecting three airports and the U-Tapao Airport development project.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2024 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดฟังเสียงนักลงทุน "แลนด์บริดจ์" ดันประมูลปี 68 เร่ง EHIA-คลอด พ.ร.บ.SEC ขับเคลื่อน PPP 50 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 15:47 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:04 น.

สนข.เปิดเวที Market Sounding "แลนด์บริดจ์" ฟังเสียงนักลงทุน บิ๊กเนม จีน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ร่วมคึกคัก "มนพร" เร่งดัน พ.ร.บ. SEC เข้าสภาฯ และชง EHIA คาดเปิดประมูลเฟสแรกปลายปี 2568 แพกเกจเดียวพัฒนาท่าเรือ รถไฟ มอเตอร์เวย์

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาจัดการทดสอบความสนใจจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (Landbridge) ซึ่งการรับฟังความเห็นครั้งนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายที่กำลังร่างอยู่ คือ ร่างพ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

ทั้งนี้ นอกจากการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์แล้ว ในอีกด้านหนึ่งจะต้องผลักดันร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) คู่ขนานกันไปด้วย ซึ่งตามไทม์ไลน์กระทรวงคมนาคมจะประชุมเพื่อสรุปร่างทั้งหมดเพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ก.ย. 2567 นี้ จากนั้นจะวางกรอบเวลาในการเสนอไปที่สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พิจารณาทั้ง 3 วาระ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีในการจัดตั้ง SEC ซึ่งจะทันกับการประมูลโครงการแลนด์บริดจ์เฟสแรกในช่วงปลายปี 2568



ด้านนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ในงบประมาณปี 2568 สนข.เตรียมขอจัดสรรงบประมาณในการจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำร่าง TOR โครงการแลนด์บริดจ์ในระยะที่ 2 ซึ่งกระแสตอบรับจากประเทศต่างๆ หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำโครงการไปโรดโชว์นั้น เบื้องต้นแต่ละประเทศที่ไปยังไม่ได้ให้ข้อสังเกตเท่าไหร่ เพราะรูปแบบลงทุนของโครงการแต่ละประเทศก็เพิ่งส่งตัวแทนเข้ามาร่วม Market Sounding ในครั้งนี้

สำหรับ Business Model เบื้องต้น สนข.จะเปิดให้มีการประมูลแบบเอกชนร่วมลงทุน (PPP) โดยให้ทางเอกชนรวมกลุ่มกันมาเป็นกิจการค้าร่วม (Consortium) กลุ่มเดียวเข้ามาบริหารจัดการโครงการ โดยองค์ประกอบของเอกชนที่จะมาร่วมอาจจะมีทั้งผู้ที่ชำนาญการในการบริหารท่าเรือ ผู้ชำนาญด้านการเดินเรือ และธุรกิจต่างๆ ร่วมกัน ร่วมกันบริหารท่าเรือทั้ง 2 ท่า ทางรถไฟ และมอเตอร์เวย์ที่จะเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ ให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี และจะเปิดประกาศประกวดราคาแบบนานาชาติ (International Bidding) ด้วย



“รูปแบบการลงทุนเราชัดเจนอยู่แล้ว แต่การจัด Market Sounding ก็เพื่อต้องการเพิ่มเติมความต้องการของนักลงทุนไทยและเทศว่าเขามีอะไรที่จะให้กระทรวงสนับสนุนไหม สิทธิพิเศษต่างๆ เพราะบางทีต่างประเทศอาจจะมีความไม่สบายใจที่จะมาทำงานในประเทศอื่น ซึ่งเราต้องฟังเขา” นายปัญญากล่าว

ส่วนระยะเวลาของการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ที่ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 กำหนดไว้ 4 ระยะนั้น ผู้อำนวยการ สนข.ระบุว่า สิ่งที่กำหนดไว้เดิมเป็นผลการศึกษาของ สนข.ที่มีมาแต่เดิม แต่บางทีนักลงทุนอาจจะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่จะนำเสนอได้ บางคนมีตู้สินค้าในมือมาก อาจจะทำเยอะกว่าผลการศึกษาก็ได้ ซึ่งการ Market Sounding ครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เอกชนที่มาออกความเห็นทั้งหมดอย่างเสรี



ส่วนความคืบหน้าการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (Environmental and Health Impact Assessment : EHIA) นายปัญญาระบุว่า อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ของที่ปรึกษาเพื่อสำรวจเชิงลึก ซึ่งปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องสิทธิของประชาชนในพื้นที่ โดยกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างสำรวจเพื่อตรวจสอบสิทธิ จัดทำบัตรประชาชนให้ประชาชนในพื้นที่ทั้งหมด และการเสียที่ดินทำกิน ซึ่งก็อยู่ระหว่างสำรวจเช่นกัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพร้อมฟังความเห็นที่ต่างไปของประชาชน

ส่วนการวางแนวท่อขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางท่อในพื้นที่ของโครงการ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ในโครงการได้เตรียมพื้นที่ไว้ เพราะเมื่อโรงงาน ท่าเรือ ก็ต้องเติมน้ำมันให้เรือก็เท่านั้น



@คาด EHIA ผ่านปลายปี 68

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเสริมว่า ในการจัดทำรายงาน EHIA ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อขอบเขตการศึกษา (PP1) ดำเนินการเสร็จแล้ว ขณะนี้กำลังจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ (PP2) อยู่ ซึ่งจะลงรายละเอียดกลุ่มย่อยลงไปอีก หลังจากนั้นจะนำมาจัดทำเป็นมาตรการในรายงาน EHIA ที่ผู้ลงทุนจะต้องทำตาม และจะจัดทำการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 (PP3) ซึ่งจะเป็นการสรุปมาตรการ ความเห็นทั้งหมด ก่อนจะเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ช่วงปลายปี 2567 น่าจะทำรายงาน EHIA เสร็จ จะเสนอไปที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 โดยคาดว่าจะเสร็จพร้อมๆ กับการจัดตั้ง SEC ช่วงปลายปี 2568

@ฟุ้ง ทุนจีน-ญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ สนใจเพียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการจัดสัมมนาครั้งนี้มีเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมมากมาย เช่น ผู้ประกอบการสายการเดินเรือ เช่น บจ.โอโอซีแอล โลจิสติคส์ (ประเทศไทย), บจ.เอสไอทีซี คอนเทนเนอร์ ไลนส์ (ประเทศไทย), บจ.เค ไลน์ (ประเทศไทย), บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (รัฐวิสาหกิจด้านการลงทุนและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจีน), บจ.เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินอล (ประเทศไทย), Maritime & Transport Business Solutions BV จากประเทศเนเธอร์แลนด์, Hebei Port Group Co Ltd จากประเทศจีน, Royal HaskoningDHV จากประเทศเนเธอร์แลนด์

ขณะที่ผู้ประกอบการด้านอื่นๆ เช่น บจ.สยามพิวรรธน์, บมจ.เคดับบลิวไอ, โตคิว คอร์ป (บริษัทรถไฟเอกชน, ผู้พัฒนาที่ดิน และผู้ให้บริการโรงแรมและร้านค้าในเขตกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น), บมจ.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น, Bank of China, The Hokuriku Bank เป็นต้น



@เอกชนถามการพัฒนาให้ทำได้เต็มที่หรือไม่

ด้านความเห็นของเอกชนที่มาร่วมรับฟังโครงการ ตัวแทนจาก บจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง แสดงความเห็นในที่ประชุมว่า ถ้าเอกชนผู้ลงทุนไม่มีแนวคิดที่จะให้เชื่อมฝั่งตะวันออก-ตะวันตกของภูมิภาค จะมีการทบทวนใหม่ โดยจะพัฒนาเฉพาะท่าเรือระนอง จะสามารถทำได้หรือไม่ เพราะในขณะที่เอกชนอื่นลงทุนแบบเดิม แล้วจะพิจารณาอย่างไรว่าแบบใดมีประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด เพราะที่แสดงความเห็นนี้ก็ในฐานะที่เป็นผู้ลงทุนจริง จึงอยากฝากการบ้านไว้ให้คิดล่วงหน้า

ขณะที่ตัวแทนจาก บมจ.ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ ให้ความเห็นว่า เบื้องต้นยังไม่ขอคอมเมนต์อะไรเกี่ยวกับโครงการนี้มาก จะขอให้ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จก่อน ซึ่งอยากให้ผลการศึกษาชัดเจนว่า กรณีที่ให้เอกชนไปรวมกลุ่มมาในลักษณะกิจการร่วมค้านั้น จะมั่นใจได้ไหมว่าจะให้อำนาจเอกชนเต็มที่ในการพัฒนาแต่ละภาคส่วน และการให้อำนาจนั้นจะต้องไม่ทำให้การทำงานร่วมกันของเอกชนที่รวมกลุ่มกันมาขัดขากันเอง เช่น บริษัท A ถนัดด้านโลจิสติกส์ จะทำได้เต็มศักยภาพไหม จะต้องแชร์งานกับบริษัท B C หรือ D หรือเปล่า หรือจะมีข้อกำหนด กฎหมาย กฎระเบียบใดมาควบคุมอีกที เพราะโครงการใช้เงินลงทุนสูง เอกชนก็ย่อมต้องการพัฒนาให้เต็มศักยภาพเช่นกัน



สำหรับรายละเอียดรูปแบบการลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ จะให้สิทธิผู้สนใจลงทุนมีสิทธิประมูลโครงการเป็น Single Package ในระยะเวลา 50 ปี ได้แก่ ท่าเรือ 2 แห่ง (ท่าเรือชุมพร และท่าเรือระนอง) โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมทั้งพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม แต่สามารถร่วมกันลงทุนได้ในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือการร่วมกันในลักษณะกลุ่มบริษัท (Consortium)

รูปแบบการลงทุนจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้สิทธิประโยชน์แก่ภาคเอกชน พร้อมทั้งจัดหาพื้นที่และการเวนคืนให้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ เส้นทางเชื่อมโยงต่างๆ โดยภาคเอกชนผู้ลงทุนต้องเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเองทั้งหมด และดำเนินการบริหารจัดการ ซึ่งจากการประเมินมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนต้องใช้ในการพัฒนาโครงการ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง ประมาณ 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร ประมาณ 305,666 ล้านบาท และโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมประมาณ 358,517 ล้านบาท (เป็นราคาประเมิน ณ ปี พ.ศ. 2566 โดยไม่ได้รวมเงินเฟ้อ) ซึ่งจากการประเมินอัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากโครงการในเบื้องต้น เท่ากับ 8.62% (กรณียังไม่มีการกู้ยืม) โดยมีระยะเวลาคืนทุนปีที่ 24 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2024 2:23 pm    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ' มั่นใจผลโรดโชว์ 'โครงการแลนด์บริดจ์' เกิดแน่ปลายปี 2568
วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 13:25 น.

'สุริยะ' ลั่นแลนด์บริดจ์เกิดแน่ ยํ้าต่างชาติพร้อมลงทุน เผยปลายปี 2568 เปิดประมูลผู้รับเหมา เร่งสร้างทันที จ่อชงกม.เข้าสภาสมัยประชุมหน้า

06 มิ.ย.2567 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ว่า ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้พูดคุยกับประธานบริษัทดูไบ พอร์ต เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลก มีเรือเดินสมุทรกว่า 1,700 ลำ บริหารท่าเรืออยู่ในหลาย 10 ประเทศ เขาสนใจ และจะมาประเทศไทยเร็วๆ นี้ ซึ่งคาดว่าจะมาในเดือนมิถุนายนนี้

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องแลนด์บริดจ์ เราศึกษาค่อนข้างชัดเจน เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและประเทศไทย ซึ่งบริษัทที่เราชักชวน เขาสนใจมาก และคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าโครงการนี้จะเดินหน้าหรือไม่นั้น คือภาคเอกชนต่างประเทศที่จะมาลงทุน ทั้งการไปเมืองดูไบ และเมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัทใหญ่ๆ เขาสนใจโครงการนี้ ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้เกิดแน่

นายสุริยะ กล่าวว่า ส่วนการโรดโชว์คิดว่าจบแล้ว เพราะเท่าที่ไปมา ทุกคนสนใจหมด ขั้นตอนต่อไปคือการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา เพราะการไปโรดโชว์ของเรา คือการไปชักชวนและรับฟังข้อคิดเห็น เพื่อใส่ไปในร่างกฎหมาย ซึ่งถือว่าตอนนี้ครบถ้วนแล้ว โดยคาดว่าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ จะเข้าสภาในสมัยประชุมหน้า ส่วนไทม์ไลน์หลังจากนี้ ในปลายปี 2568 จะเกิดการประมูลโครงการหาผู้รับเหมา และการก่อสร้าง จะเร่งสร้างหลังได้ผู้ชนะประมูลไม่นาน

"แลนด์บริดจ์" ในฝัน เมกะโปรเจกต์ ดันภาคใต้เป็นศูนย์กลางการค้า
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:54 น.

ที่ปรึกษา กมธ.แลนด์บริดจ์ย้ำปีหน้าเริ่มแน่ ไม่แย่งตลาดช่องแคบมะละกา แต่มองไกลเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก วางเป้าหมายดันภาคใต้เป็นศูนย์กลางการค้า ศูนย์กลางการเงิน
หลังจากที่รัฐบาลได้จัดประชุมทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม (สนข.) และที่ปรึกษาโครงการฯ ไปเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567

ต่อมานายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (6 มิ.ย. 2567) ได้เปิดเผยว่าจากการเดินสายโรดโชว์เพื่อชักชวนนักลงทุนที่เป็นบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศให้ความมั่นใจว่าจะมาลงทุน เช่น อิตาลี จีน และขั้นตอนต่อไป คือ การเสนอร่างกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เข้าสภาภายในสมัยประชุมสามัญที่จะเปิดในเดือนกรกฎาคมนี้

รายการ “เข้าเรื่อง” เผยแพร่ทางยูทูป ฐานเศรษฐกิจ ได้สนทนากับ รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษากรรมาธิการโครงการแลนด์บริดจ์ ถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของความสำเร็จโครงการ ภายใต้ข้อห่วงใยเรื่องความคุ้มค่าของการใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์เพื่อขนส่งสินค้าทางเรือ ซึ่งอาจมีต้นทุนสูงจากการยกขนพัสดุซ้ำสอง (Double Handling)

\"แลนด์บริดจ์\" ในฝัน เมกะโปรเจกต์ ดันภาคใต้เป็นศูนย์กลางการค้า



รศ.ดร.กิตติ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า มีความเห็นใจและเข้าใจว่าหากธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ ไม่ได้กำไรก็จะไม่มาใช้แลนด์บริดจ์ แต่การดำเนินโครงการนี้ขึ้นมาอย่างไรก็ต้องมีผู้ใช้งาน กรณีที่จะไม่มีใครมาใช้แลนด์บริดจ์ของไทยเลยนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งประเทศไทยก็ต้องหามาตรการ ที่จะเป็นแต้มต่อในการขนส่งสินค้าทางเรือด้านอื่นๆ

ในขณะที่ภาคเอกชน ซึ่งจะมาลงทุนก็ต้องมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมาด้วย การลงทุนท่าเรือไม่ได้หมายความว่าจากทำท่าเรืออย่างเดียวแต่อาจจะมีโรงงานการผลิตด้วย ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์คงไม่ได้ไปแย่งตลาดจากช่องแคบมะละกา แต่จะเป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิก เป็นความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆกัน

จากการทำการทดสอบทางคณิตศาสตร์(simulation) พบว่าต้นทุนพอไปได้ โดยผลทดสอบคำนวณผลตอบแทน ในเวลาหลาย10ปี ที่ discount rates 5% จะมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (benefit cost ratio ) ในมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 1.32 หรือ 30% ซึ่ง

ในส่วนของความเสี่ยงนอกจากเรื่อง Double Handling แล้ว ก็จะมีเรื่องที่นักลงทุนอยากทราบว่ารัฐบาลจะลงทุนเท่าไหร่ สามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยรัฐบาลให้มากขึ้นได้หรือไม่เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งในส่วนการลงทุนของรัฐบาล จะมีด้านการเวนคืนที่ดิน การสร้างถนน การสร้างทางรถไฟ ซึ่งการพัฒนาท่าเรือจะต้องเป็นการลงทุนโดยภาคเอกชน

\"แลนด์บริดจ์\" ในฝัน เมกะโปรเจกต์ ดันภาคใต้เป็นศูนย์กลางการค้า


โครงการแลนด์บริดจ์เป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) งบลงทุนภาครัฐประมาณ 85,000 ล้าน ใน10กว่าปีข้างหน้า หากรวมกับการลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ ก็จะเป็น Game Changer ทำให้ภาคใต้เป็นศูนย์กลางทางการค้า

เนื่องจากในอนาคตช่องแคบมะละกาจะมีความหนาแน่น ในขณะที่ทะเลตอนใต้ของ แปซิฟิกที่มักจะมีความขัดแย้งกันเสมอจึงทำให้การขนส่งไม่สะดวกนัก ประเทศจีน เช่นทางคุนหมิงจึงอาจมองหาวิธีการขนส่งแบบใหม่ผ่านทางบก ทางราง

นอกจากนี้ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง อาจส่งผลต่อการเดินเรือ เช่น ทางช่องแคบเฮอร์มุส ก็สามารถใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์ในการขนส่งน้ำมัน ซึ่งแตกต่างจากการขนส่งทางสิงคโปร์เพราะเรามีท่อน้ำมันให้

ที่ผ่านมาพบว่าประเทศจีนมีความสนใจในโครงการแลนด์บริดจ์ ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งยูนาน เซี่ยงไฮ้ และเมืองอื่นๆ โดยสนใจทั้งการลงทุนท่าเรือ และการขนส่งสินค้าจากคุนหมิงผ่านทางรถไฟจีนลาวมาลงที่จังหวัดหนองคาย แล้วบันทุกต่อไปยังจ.ชุมพร หรือจ.ระนอง โดยจะมีการทดลองขนส่งเพื่อดูความคุ้มค่า

ส่วนประเทศญี่ปุ่นเองก็มีความสนใจ โดยมีการจ้างบริษัทเคพีเอ็มจีมาประเมินดู ส่วนประเทศอิตาลีก็มีความสนใจในด้านการดำเนินธุรกิจซ่อมเรือ รวมถึงทางตะวันออกกลางด้วย นอกจากนี้ยังมีความสนใจจากประเทศอินเดียในการตั้งโรงงานหลังท่า ซึ่งคาดว่าทางประเทศจีนก็จะมาตั้งโรงงานด้วย

โดยมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมที่รักษาสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอีวี อุตสาหกรรม AI,IOTหรืออุตสาหกรรมเพื่อการผลิตไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้ทั้งจ.ชุมพร จ.ระนอง หรือจ.สุราษฎร์ธานียังอาจกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินโดยทั้งหมดนี้คือคาดการณ์ภาพรวมทั้งหมด


สำหรับปัจจัยที่อาจทำให้ไทม์ไลน์แลนด์บริดจ์ที่มีล่าช้าไปจากที่กำหนด คือเรื่องของการดูแลประชาชนในพื้นที่ เช่นที่อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพรซึ่งมีการทำเกษตรในพื้นที่ และพื้นที่ชุ่มน้ำระนอง ที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและให้เกียรติกันและกัน สิ่งสำคัญคือการจัดการความเรียบร้อยภายในบ้านของเราเองก่อน จากนั้นเงินลงทุนจากต่างชาติจึงจะเข้ามา ซึ่งการพัฒนาภาคใต้โดยโครงการ SEC รวมกับโครงการแลนด์บริดจ์จะทำให้ภาคใต้ได้ประโยชน์ มีเศรษฐกิจหมุนเวียน มีการจ้างงาน และทำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศดีขึ้นไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43048
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2024 8:12 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน"แลนด์บริดจ์"เป็น Game Changer สู่ Hub กระจายสินค้าของโลก
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 12:11 น.



นักวิชาการมั่นใจ"โครงการแลนด์บริดจ์” จะเป็น Game Changer สร้างประเทศไทยเป็น Hub เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลของโลกเทียบช่องแคบมะละกา
รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ "กรรมาธิการโครงการแลนด์บริดจ์" สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( SEC) ซึ่งครอบคลุม 4 จังหวัดได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จะช่วยยกระดับการผลิต การเกษตร การพัฒนาพืชสัตว์เศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร

ทั้งนี้การสร้างพื้นที่ SEC จะทำให้ไทยเป็น Hub เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลเช่นเดียวกับช่องแคบมะละกา รวมทั้งเชื่อมโยงแนวทาง BRI หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จากจีนตอนใต้ ผ่านเชียงราย เชียงของไปสู่ภาคใต้ และหากเกิดปัญหาความชัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ พื้นที่ SEC จะได้รับประโยชน์ และจะทำให้ภาคใต้มีศักยภาพการเติบโต


Advertisements

Ads end in 35



X
"โครงการแลนด์บริดจ์" เป็น Game Changer สร้างประเทศไทยเป็น Hub แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไทยมีโอกาสกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของโลกได้ ไทยจะเป็นที่สนใจจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะการลงทุนจะเปลี่ยนโฉมหน้าการค้า การลงทุนในภูมิภาคและโครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นการเสริมท่าเรืออื่น ทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีโครงการใหญ่ โครงการทวายก็ไม่ตอบโจทย์ จึงมองว่าน่าจะมีโครงการใหญ่ตอบรับ หรือเสริมกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่ได้ไปเทียบกับท่าเรือสิงคโปร์ เราไม่ใช่คู่แช่งสิงคโปร์ แต่เพียงดึงผลประโยชน์บางส่วนเข้ามาไทย"

ดัน\"แลนด์บริดจ์\"เป็น Game Changer สู่ Hub กระจายสินค้าของโลก

อย่างไรก็ตามในการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เป็น Game Changer จะต้องตรากฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบที่จะส่งเสริมการดำเนินการในรูปแบบการพัฒนาโครงการเพื่อจูงใจนักลงทุน และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ SEC ที่เป็นรูปธรรม จึงมีการพัฒนาด้านกฎหมาย ประกอบด้วย

1.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
2.จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
3.จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ในการขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองและพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนา SEC โดยใช้โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นเครื่องมือ


นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะเปิดให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาประมูลโครงการแลนด์บริดจ์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท โดยจะให้รายเดียวเป็นผู้บริหารโครงการทั้งท่าเรือ 2 ฝั่ง (ชุมพรและระนอง) มอเตอร์เวย์ และรถไฟ เพื่อให้การทำงานคล่องตัว ซึ่งคาดว่าจะมีการร่วมลงทุนจากทั้งนักลงทุนต่างประเทศและไทย โดยจะให้สิทธิการบริหาร 50 ปี และนักลงทุนต่างชาติสามารถร่วมลงทุนได้มากกว่า 50% อย่างไรก็ตามคาดว่า เอกชนน่าจะต้องการสิทธิบริหารมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

ดัน\"แลนด์บริดจ์\"เป็น Game Changer สู่ Hub กระจายสินค้าของโลก

ทั้งนี้จากการประเมินมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนต้องใช้ในการพัฒนาโครงการ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง ประมาณ 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร ประมาณ 305,666 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านทีอียู เปิดให้บริการภายในปี 73

ระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านตู้ทีอียู เปิดให้บริการปี 82

และระยะที่ 3 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 8 ล้านตู้ทีอียู โดยการเปิดให้บริการระยะนี้จะต้องรอดูการเริ่มดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 ระยะก่อน ส่งผลให้ทั้งโครงการฯสามารถรองรับปริมาณได้ทั้งหมดฝั่งละ 20 ล้านตู้ทีอียู

นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์มีโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมประมาณ 358,517 ล้านบาท (เป็นราคาประเมิน ณ ปี 2566 โดยไม่ได้รวมเงินเฟ้อ) ซึ่งจากการประเมินอัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากโครงการในเบื้องต้น เท่ากับ 8.62% (กรณียังไม่มีการกู้ยืม) โดยมีระยะเวลาคืนทุนปีที่ 24 แสดงให้เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุน

ขั้นตอนหลังจากดำเนินการ Market Sounding เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาแล้ว สนข.จะรวบรวมความเห็นของเอกชน จากนั้นก็จะจัดทำร่างทีโออาร์ ประกวดราคาโครงการ สนข.คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2568 หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.SEC เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้วและดำเนินการจัดตั้งสำนักงานฯสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยในการเวนคืนที่ดินอาจใช้งบประมาณในปี 2569 ประกอบกับการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 นี้
https://www.youtube.com/watch?v=9jG-nnwJwYA
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45628
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2024 8:26 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ดัน"แลนด์บริดจ์"เป็น Game Changer สู่ Hub กระจายสินค้าของโลก
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 12:11 น.

https://www.youtube.com/v/9jG-nnwJwYA

สนข.สร้างเชื่อมั่น "แลนด์บริดจ์" ท่าเรือชุมพรรับตู้สินค้า 20 ล้านทีอียู ลดต้นทุนขนส่ง 15% ร่นเวลา 4 วัน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, June 12, 2024 05:45

"สนข." เปิดผลศึกษา 2 ท่าเรือชุมพร-ระนอง หลังเอกชนห่วงขนาดท่าเรือแลนด์บริดจ์ต่างกัน หวั่นกระทบปริมาณตู้สินค้า มั่นใจตามแผนในอนาคตท่าเรือชุมพรรับตู้สินค้าได้ 20 ล้านทีอียู ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง 15% ประหยัดเวลาเพิ่ม 4 วัน ยันเอกชนมีสิทธิ์พัฒนาโครงการต่อยอดได้ หากสนใจร่วมประมูล เผยร่างพ.ร.บ. SEC เปิดทางให้สิทธิประโยชน์ภาษี ดันกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก

กรณีเอกชนรับฟังความคิดเห็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งมีข้อกังวลถึงประเด็นขนาดของท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนองทั้ง 2 ฝั่งมีความต่างกัน ที่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งตู้สินค้า

ภายหลังรัฐบาลเปิดรับฟังความสนใจจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีเอกชนทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วมกว่า100 รายและในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 กระทรวงคมนาคม ได้รายงานความคืบหน้าโครงการฯ และนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)เพื่อให้ครม.รับทราบแล้ว

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า จากการศึกษาโครงการท่าเรือระนองสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 20 ล้านทีอียู ขณะที่ท่าเรือชุมพรสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 14 ล้านทีอียู

สาเหตุที่การรองรับปริมาณสินค้าต่างกัน เนื่องจากส่วนใหญ่การขนส่งสินค้าจะมาทางด้านตะวันตก โดยเฉพาะสินค้าไทยและสินค้าจากประเทศจีนตอนใต้จะมาทางท่าเรือระนองมากกว่าท่าเรือชุมพร ส่งผลให้ดีมานด์ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ในผลการศึกษาได้มีการออกแบบท่าเรือชุมพรสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 20 ล้านทีอียูในอนาคตด้วย

ส่วนกรณีที่เอกชนยังกังวลความไม่ชัดเจนของโครงการฯ ที่จะช่วยลดต้นทุนและลดระยะเวลาการเดินทางขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกานั้น จากผลการศึกษาจะพบว่าหากเอกชนเดินทางผ่านแลนด์บริดจ์ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 วัน ซึ่งจะลดระยะเวลาเดินทางประมาณ 4 วัน ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าลดลงประมาณ 15% เมื่อเทียบกับการเดินทางผ่านช่องแคบมะละกาใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 วัน โดยส่วนใหญ่การขนส่งสินค้าผ่านแลนด์บริดจ์มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มสินค้าใช้แลนด์บริดจ์เป็นทางผ่าน 2.กลุ่มสินค้านำเข้าและส่งออกของไทย และ 3.กลุ่มสินค้าที่เข้ามาทางประเทศจีนตอนใต้และประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สปป.ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเมียนมา

"ผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของสนข.และกระทรวงคมนาคมเป็นเพียงโมเดลเท่านั้น หากมีการเปิดประมูลแล้วเอกชนสามารถเข้าร่วมประมูลเพื่อพัฒนารูปแบบโมเดลเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามโมเดลที่เราศึกษา ซึ่งเราจะดูความเป็นไปได้ในการดำเนินการและสิ่งที่ภาครัฐจะได้ประโยชน์ด้วย หากเอกชนรายใดสามารถทำได้จะถือเป็นผู้พัฒนาโครงการฯ ทั้งนี้เอกชนที่เป็นไลน์เนอร์สามารถแบ่งสัดส่วนการกระจายขนส่งตู้สินค้าผ่านทั้งแลนด์บริดจ์และช่องแคบมะละกาได้ ตามบิสซิเนสโมเดลของเขา"

ขณะการส่งมอบพื้นที่เอกชนในโครงการแลนด์บริดจ์นั้น ยืนยันว่าสามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มดำเนินการขอออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดพื้นที่เวนคืนที่ดิน (พ.ร.ฎ.เวนคืน) และจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ หากได้รับที่ดินแล้วจะดำเนินการส่งมอบที่ดินแก่เอกชนต่อไป

"ปัจจุบันกรมทางหลวง (ทล.) ได้รับงบประมาณปี 67 อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาออกแบบรังวัดในการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบทางรถไฟ หากทั้ง 2 หน่วยงานศึกษาแล้วเสร็จจะทำให้ทราบว่ามีพื้นที่แนวเวนคืนที่ดินบริเวณไหนประมาณเท่าไรและมีใครบ้างที่รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน"

นอกจากนี้ในร่างกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) จะเหมือนกับพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเป็นการศึกษาจากปัญหาของพ.ร.บ.อีอีซี ในปัจจุบันเพื่อนำมาปรับใช้กับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งสาระสำคัญร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งเน้นที่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมเกษตร เนื่องจากภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีปาล์มน้ำมันและยางพารา โดยมีการต่อยอดอุตสาหกรรมนี้เพิ่มเติมในการสร้างมูลค่า เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง,อุตสาหกรรมฮาลาล, อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมฯลฯ รวมทั้งจะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยพิจารณาจากอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละแห่งด้วย

ทั้งนี้ตามแผนกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดออกกฎหมาย พ.ร.บ sec เพื่อเสนอต่อครม.เห็นชอบภายในเดือนกันยายนนี้ และเสนอต่อสภาพิจารณาต่อไป คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในปลายปี 2568 ซึ่งใช้รูปแบบการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ระยะเวลา 50 ปี โดยประมูลเป็นแพ็กเกจเดียวกัน

สำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน หรือแลนด์บริดจ์ มูลค่า 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลพยายามที่จะผลักดันโครงการดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC) ที่เป็นกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อเชื่อมต่อกับการขนส่งและคมนาคมของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย 1.การสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งอ่าวไทย ที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง โดยมีระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร เชื่อมต่อกันด้วยการสร้างเส้นทางขนส่งทางบก โดยมีทั้งรถไฟรางคู่ และทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์)

2.โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 3.ระบบราง รถไฟทางคู่ ท่อน้ำมัน ซึ่งมีเป้าหมายเป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้าออกสินค้าภายในประเทศ เป็นทางเลือกในการถ่ายลำเลียงขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทร เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า และเป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมันดิบทางเรือ

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 มิ.ย. 2567


OTP Confidently Builds "Land Bridge": Chumphon Port Set to Receive 20 Million TEU Containers, Cutting Costs by 15%, Time by 4 Days

Amid private sector concerns about potential size differences between Chumphon and Ranong ports impacting container transport for the Land Bridge project, the Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) has released study results assuring its viability. Chumphon Port is projected to handle 20 million TEU containers, with the Land Bridge project expected to reduce transportation costs by 15% and shipping time by 4 days compared to the Malacca Strait route.

Following a market sounding session on May 30, 2024, attended by over 100 Thai and foreign private sector entities, and a subsequent cabinet meeting where the Ministry of Transport presented the project's progress and a draft Southern Special Economic Development Zone (SEC) Act, the OTP addressed concerns regarding port capacity. While Ranong Port is currently designed for 20 million TEU and Chumphon for 14 million TEU, Chumphon's capacity can be expanded to match Ranong's in the future. The initial capacity difference is attributed to higher anticipated demand from the western side, particularly for Thai and southern Chinese products.

The study results also highlight the Land Bridge's potential to significantly reduce shipping time and costs, taking approximately 5 days compared to 9 days via the Malacca Strait. Three primary cargo groups are expected to utilize the Land Bridge: transit goods, Thai imports and exports, and products destined for southern China and neighboring countries.

The OTP emphasizes that the current Land Bridge model is adaptable, and private sector bidders can propose alternative designs during the auction. The project will be awarded based on operational feasibility and benefits to the government. Private liners will have the flexibility to allocate container transport between the Land Bridge and Malacca Strait based on their business models.

Land acquisition for the project is confirmed to proceed once the Southern Special Economic Office (SEC) is established, followed by royal decree issuance for expropriation and compensation. The Department of Highways has secured a 2024 budget for motorway design surveys, and the State Railway of Thailand is conducting railway design studies. These studies will determine the extent of land expropriation and affected parties.

The draft SEC Act draws inspiration from the Eastern Special Development Zone (EEC) Act, focusing on target industries like agriculture, cosmeceuticals, halal products, and environmentally friendly industries. The Ministry of Transport aims to submit the act for cabinet approval by September, with bidding expected to commence by the end of 2025, using a 50-year public-private partnership model.

The Land Bridge project, valued at 1.1 trillion baht, is a key initiative for sustainable development in the Southern Economic Corridor. It includes the construction of deep-sea ports in Chumphon and Ranong, connected by a motorway and double-track railway. The project aims to serve as a trade gateway, boosting domestic import/export, attracting investors, and providing an alternative route for crude oil transport.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45628
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/06/2024 7:21 am    Post subject: Reply with quote

'ดูไบเวิลด์' จ่อพบนายกฯ 1 ก.ค.นี้ ส่งสัญญาณลงทุน 'แลนด์บริดจ์'
กรุงเทพธุรกิจ 19 มิ.ย. 2024 เวลา 6:55 น.

“ประธานดูไบเวิลด์” จ่อพบนายกฯ 1 ก.ค.นี้ ส่งสัญญาณพร้อมร่วมทุนโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ 1 ล้านล้านบาท “สุริยะ” มั่นใจโครงการเกิดแน่ในรัฐบาลนี้ เร่งเสนอร่าง พ.ร.บ.SEC เข้า ครม.ภายใน ก.ย.นี้ ก่อนออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนภายในไตรมาส 4 ปี 2568

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย - อันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ โดยระบุว่า หลังจากที่ก่อนหน้านี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับผู้บริหารบริษัท Dubai Port World (DP World) เพื่อเชิญชวนให้มาลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ ล่าสุดสุลต่าน อะห์เหม็ด บิน สุลาเย็ม ประธานกลุ่มบริษัท และผู้บริหารของ DP World ประสานจะเดินทางมาหารือกับนายกฯ ในวันที่ 1 ก.ค.นี้

โดยกระทรวงฯ เตรียมความพร้อมนำคณะผู้บริหารของ DP World ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจศักยภาพของการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งการประสานงานของทาง DP World ในครั้งนี้ ตอกย้ำได้ว่าโครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการที่ต่างชาติแสดงความสนใจร่วมทุน และจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจริง 100% ภายในรัฐบาลนี้ โดยหากมีการลงทุนโครงการแลนด์บริดจ์ จะช่วยกระตุ้นเม็ดเงินลงทุนลงระบบเศรษฐกิจมากถึง 1 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ดี DP World ถือเป็นบริษัทชั้นนำของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) ซึ่งเชี่ยวชาญโลจิสติกส์ การขนส่งสินค้า การดำเนินงานท่าเรือ การขนส่งสินค้าทางทะเลและเขตการค้าเสรี ก่อตั้งปี 2548 ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 70 ล้านตู้ โดยมีเรือนำเข้า 70,000 ลำต่อปี คิดเป็น 10% ของปริมาณการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลก และมีพื้นที่ให้บริการในท่าเรือ 82 แห่งใน 40 ประเทศ

ขณะที่ DP World เคยมีความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 20 พ.ค.2551 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอร่างบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย

ทั้งนี้ มีการลงนามระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ DP World เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2551 ซึ่งอยู่ช่วงนายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่ต่อมาถูกยุบพรรค และกลายมาเป็นพรรคเพื่อไทย โดยการลงนามครั้งนั้น สุลต่าน อะห์เหม็ด บิน สุลาเย็ม ประธานกรรมการบริหารกลุ่ม DP World มาลงนามด้วยตัวเอง

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท จะแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร 305,666 ล้านบาท และโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ 358,517 ล้านบาท โดย สนข.ศึกษาพบว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน มีผลตอบแทนการลงทุนโครงการวัดจาก Internal Rate of Return (IRR) สูงกว่า 10% ต่อปี อีกทั้งเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้จาก 2% เป็น 10% ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี

ขณะที่สถานะปัจจุบันโครงการผ่านการศึกษาและเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน รวมทั้งกระทรวงคมนาคมได้จัดโรดโชว์นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเร่งผลักดัน พ.ร.บ.เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ และเป็นปัจจัยบวกสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งด้านกฎหมาย สิทธิประโยชน์ ตลอดจนการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้

ทั้งนี้ สนข.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว เตรียมเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบภายในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 หลังจากนั้นมีเป้าหมายออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนภายในไตรมาส 4 ปี 2568 พร้อมเปิดประมูลได้ภายในไตรมาส 2 ปี 2569 ก่อนจะเริ่มเวนคืนที่ดินในไตรมาส 4 ปี 2569 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2569 เพื่อเปิดให้บริการในปี 2573


Dubai World to Meet with Thai Prime Minister on July 1st, Signaling Investment in Land Bridge Project

Krungthep Turakij , June 19, 2024, 6:55 AM

The Chairman of Dubai World is set to meet with the Thai Prime Minister on July 1st, signaling their readiness to invest in the 1 trillion baht Land Bridge project. Deputy Prime Minister and Minister of Transport, Suriya Juangroongruangkit, is confident that the project will materialize under this government and is expediting the submission of the SEC bill to the Cabinet by September.

Mr. Suriya revealed the progress of the Land Bridge project, which aims to connect the Gulf of Thailand and the Andaman Sea. Following a previous discussion between Prime Minister Srettha Thavisin and Dubai Port World (DP World) executives, Sultan Ahmed bin Sulayem, the Chairman of DP World, has confirmed a meeting with the Prime Minister on July 1st.

The Ministry of Transport is preparing to take DP World executives on a site visit to assess the potential of the Land Bridge project. DP World's coordination reaffirms the project's attractiveness to foreign investors and its certainty to be realized within this government's term. The investment in the Land Bridge project is expected to stimulate the economy with an estimated 1 trillion baht.

DP World is a leading company in the United Arab Emirates, specializing in logistics, cargo transportation, port operations, maritime transport, and free trade zones. Founded in 2005, it handles 70 million container shipments annually with 70,000 vessel calls, accounting for 10% of global container traffic. The company operates in 82 ports across 40 countries.

DP World has previously collaborated with the Ministry of Transport on the Southern Economic Corridor project. In 2008, the Cabinet approved a memorandum of understanding for a grant to study the feasibility of developing ports on the Andaman Sea coast and an economic bridge connecting them to the Gulf of Thailand.

The Land Bridge project is estimated to cost around 1.001 trillion baht, comprising 330.81 billion baht for the Ranong port, 305.66 billion baht for the Chumphon port, and 358.51 billion baht for connecting infrastructure like expressways and railways. The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) study found the project to be financially viable, with an Internal Rate of Return (IRR) exceeding 10% per year. Upon completion, the project is expected to increase the GDP of the southern region from 2% to 10% for at least 10 years.

Currently, the project has undergone studies and public consultations with the private sector. The Ministry of Transport has also conducted roadshows for both domestic and international investors. The focus is now on expediting the Southern Economic Corridor Development Bill (SEC Bill) to facilitate the Land Bridge project and instill confidence in investors regarding legal aspects, benefits, and tax rates.

The OTP has submitted the SEC Bill to the Ministry of Transport, and it is expected to be presented to the Cabinet for approval in September before being forwarded to the House of Representatives. The bill is expected to be finalized by 2028, with the goal of issuing an invitation for investors in the fourth quarter of 2028 and opening bidding in the second quarter of 2029. Land expropriation is expected to begin in the fourth quarter of 2029, and construction is scheduled to commence in 2029, with the project expected to be operational by 2033.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21
Page 21 of 21

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©