Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311551
ทั่วไป:13348932
ทั้งหมด:13660483
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เล่าถึงเหล่าเพื่อนผองของตั๋วแข็ง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เล่าถึงเหล่าเพื่อนผองของตั๋วแข็ง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 30/08/2006 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

เท่าที่ผมนึกออกก็มีสามกรณีข้างต้นที่เจ้าหน้าที่จำหน่ายเป็นตั๋วบางทั่วไป ชนิดตั๋วบางเที่ยวเดียวให้ผู้โดยสาร โดยไม่ออกตั๋วแข็งให้ ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะมีเพิ่มเติมได้ในอีกกรณีหนึ่งก็คือ กรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์จำหน่ายตั๋วของสถานีรถไฟขัดข้อง ตั๋วแข็งก็ไม่มีจำหน่ายทดแทนให้ เจ้าหน้าที่ก็อาจจะจำหน่ายเป็นตั๋วบางให้ หรือถ้าไม่ทันจริงๆเจ้าหน้าที่สถานีก็อาจประสานงานให้ผู้โดยสารไปซื้อตั๋วบางเอาบนขบวนรถก็ได้ครับ

ย้อนกลับไปดูรายละเอียดของตั๋วบางเที่ยวเดียวตามภาพสักนิดนะครับ ตั๋วบางแบบนี้พิมพ์เป็นเล่ม ภายในเล่มแบ่งออกเป็นชุด ชุดละสามใบ แต่ละใบมีแบบฟอร์มเหมือนกัน สองใบแรกเป็นกระดาษบางๆสีขาว ส่วนใบที่สามเป็นกระดาษสีน้ำตาลตามภาพข้างต้น เวลาเจ้าหน้าที่เขียนตั๋วจะต้องเอากระดาษคาร์บอนสอดในเล่มระหว่างใบแรกกับใบที่สอง และระหว่างใบที่สองกับใบที่สาม แล้วเขียนกรอกข้อความตามแบบฟอร์ม ลายเส้นในแบบฟอร์มตั๋วตามภาพข้างต้นจึงเป็นสีของกระดาษคาร์บอน ไม่ใช่สีหมึกของปากกาที่ใช้เขียนโดยตรง ตามแบบฟอร์มระบุรายละเอียดที่จำเป็นในการเดินทางไว้ ได้แก่ หมายเลขขบวนรถ วันเดินทาง จากสถานีใดถึงสถานีใด ราคาค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆ หากสังเกตด้านบนขวาของตั๋วจะเห็นได้ว่า ตั๋วบางเที่ยวเดียวนี้สามารถใช้ได้หลายกรณี ได้แก่ ตั๋วผู้ใหญ่เต็มราคา ตั๋วผู้ใหญ่ลดราคา ตั๋วเด็ก ตั๋วผู้ใหญ่/เด็กเลื่อนชั้น ตามแต่จะวงข้อความและรหัสที่ใช้เอาไว้

ถ้าท่านสังเกตบริเวณตอนกลางด้านบนของตั๋วให้ดีๆ จะเห็นรอยตราประทับนูนรูปครุฑ หากเห็นไม่ชัดลองชมจากภาพขยายทั้งด้านหน้าและด้านหลังตั๋วนี้ก็ได้ครับ

Click on the image for full size

พลิกไปดูด้านหลังกันครับ

Click on the image for full size

นอกจากตราครุฑแล้ว ยังมีข้อความล้อมรอบวงกลมของรอยตราประทับว่า “การรถไฟแห่งประเทศไทย” “ฝ่ายการบัญชี” อีกด้วย การที่มีตราครุฑเป็นรอยตราประทับอยู่บนตั๋วนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ เพราะตามปกติเครื่องหมายครุฑจะใช้ในเอกสารของส่วนราชการ(กระทรวง ทบวง กรมหรือเทียบเท่า) แทบจะไม่มีรัฐวิสาหกิจ หรือองค์การภาครัฐในรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใดใช้เครื่องหมายครุฑในเอกสารขององค์การนั้นๆเลย โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีเครื่องหมายเฉพาะขององค์การอยู่แล้ว ก็จะใช้เครื่องหมายนั้นๆในเอกสารของหน่วยงานตนโดยไม่ได้ใช้ตราครุฑ แม้ว่ารัฐวิสาหกิจนั้นๆอย่างเช่นกิจการไปรษณีย์ ไฟฟ้า ประปา จะเป็นกิจการเก่าแก่มีรากเหง้าจากการเป็นส่วนราชการมาก่อนเหมือนๆกับการรถไฟฯ ที่เคยเป็นส่วนราชการระดับกรม ชื่อว่า “กรมรถไฟหลวง” มาก่อนก็ตาม ส่วนองค์การภาคเอกชน เช่น ธนาคาร(ที่ไม่ได้มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ) บริษัท ห้างร้านต่างๆ หากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษแล้ว จะประดับเครื่องหมายครุฑหน้าที่ทำการ หรือใช้เครื่องหมายครุฑในกิจการมิได้

นอกจากการประทับรอยตรานูนรูปครุฑในตั๋วบางดังกล่าวแล้ว ยังมีการประทับรอยตราครุฑอีกแบบหนึ่งเป็นหมึกสีน้ำเงินตามภาพนี้ครับ หากเทียบรอยตราครุฑทั้งสองแบบแล้ว ผมชอบแบบรอยนูนมากกว่าเพราะดูย้อนยุคดี ไม่ค่อยจะเห็นองค์การสมัยใหม่ใช้การประทับรอยตรานูนแบบนี้แล้ว แม้แต่ส่วนราชการก็ตาม

Click on the image for full size

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
narita_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1170
Location: PSU. Original Campus

PostPosted: 31/08/2006 8:28 am    Post subject: Reply with quote

แอบมาอ่านแต่ไม่เคยโพสต์อะไรเลยนะครับ อ่านแล้วเพลินมากๆ ได้รับความรู้อะไรต่อมิอะไรเยอะแยะเลยครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับเรื่องราวดีๆที่ย้อนรอยมาฝากกันครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 31/08/2006 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

มีประเด็นครับ คุณ tuie

คือในตั๋วเขียนที่เป็นสามแผ่น ตามความเข้าใจของผมคือ
1.แผ่นที่ 1 เป็นต้นขั้วเพื่อส่งคืนฝ่ายบัญชี เมื่อจำหน่ายตั๋วหมดและเบิกเล่มใหม่
2.แผ่นที่ 2 ประกอบรายงานการจำหน่ายตั๋วของ พรร เพื่อสรุปรายได้ในแต่ละเที่ยว
3.แผ่นที่ 3 ให้กับผู้โดยสาร

ส่วน รอยปั๊มนูน หรือรอยตรายาง ไม่แน่ใจว่าปั๊มทุกแผ่นหรือ เฉพาะแผ่นที่ 3
ต้องรบกวนให้น้องเจฟ ลองถามๆ พี่ๆที่อยู่ในฝ่ายเดินรถ เพื่อมาขยายความในเรื่องนี้ ครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 31/08/2006 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณ คุณnarita_express ที่กรุณาให้ความสนใจติดตามชมครับ Very Happy ถ้าผมเล่าช้าไปบ้าง บ่นมากไปในบางครั้งก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

สำหรับที่พี่ณัฐตั้งข้อสังเกตว่า

Quote:
ส่วน รอยปั๊มนูน หรือรอยตรายาง ไม่แน่ใจว่าปั๊มทุกแผ่นหรือ เฉพาะแผ่นที่ 3


ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะมีรอยตราครุฑที่ตั๋วบางแผ่นที่ ๑และ๒ หรือไม่ เนื่องจากตอนนั้นไม่เคยขอเจ้าหน้าที่มาดูใกล้ๆสักที คงต้องรบกวนท่านผู้รู้ให้ข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติม หรือรบกวนน้องเจฟช่วยสอบถามอย่างที่พี่ณัฐว่ามาละครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 01/09/2006 9:36 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

ชมตั๋วบางเที่ยวเดียวทั้งด้านหน้าและด้านหลังตั๋วมาแล้ว แม้ว่าเนื้อที่ที่สามารถใช้แสดงข้อมูลในตั๋วจะมีมากกว่าตั๋วแข็ง และมีการลงข้อมูลในเรื่องต่างๆไว้ค่อนข้างจะละเอียดถึงขั้นลงรหัสสถานีต้นทาง รหัสสถานีปลายทาง รหัสช่องขายตั๋วหรือขบวนรถ แต่ก็มีลักษณะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มากกว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้โดยสาร เนื่องจากยังไม่มีการระบุเวลารถออกจากสถานีต้นทาง รถคันที่ เลขที่นั่ง/นอน และเงื่อนไขในการเดินทางไว้ในแบบฟอร์มตั๋วบาง ทั้งๆที่ด้านหลังก็มีเนื้อที่เหลืออยู่มาก เลยต้องมีการทำตรายางประทับเพื่อให้เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วกรอกข้อมูลหมายเลขรถคันที่ เลขที่นั่ง/นอนไว้ด้านหลังตั๋วตามภาพ สำหรับข้อมูลเวลารถออกนั้นโดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วล่วงหน้าจะเขียนไว้ที่ซองตั๋ว แต่ถ้าเป็นการจำหน่ายตั๋วในวันเดินทางประเภทซื้อตั๋วแล้วรอขึ้นรถเลย ผมมักจะไม่ค่อยเห็นเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วเขียนข้อมูลหน้าซองตั๋วให้ผู้โดยสารเลยครับ อาจเป็นเพราะใกล้เวลารถออกอยู่แล้วผู้โดยสารน่าจะทราบ หรือสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากตารางเดินรถที่ประกาศไว้ในสถานีก็เป็นได้

กรณีที่ผู้โดยสารเป็นชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วก็จะเขียนข้อมูลการเดินทางลงบนซองตั๋วเป็นภาษาอังกฤษ และประทับตรายางรถคันที่ เลขที่นั่ง/นอนแบบที่มีภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้านหลังตั๋วดังภาพข้างต้น แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วเขียนกรอกแบบฟอร์มตั๋วบางเป็นภาษาอังกฤษแล้วจำหน่ายตั๋วให้แก่ชาวต่างชาติเลยครับ ต่อมาพอถึงยุคตั๋วคอมพิวเตอร์ จุดอ่อนในเรื่องดังกล่าวของตั๋วบางซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับตั๋วแข็ง ก็ได้รับการแก้ไขเรียบร้อย เนื่องจากหน้าตั๋วคอมพิวเตอร์มีข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทางไม่ว่าจะเป็นเวลารถออก รถคันที่ เลขที่นั่ง/นอน ซึ่งไม่มีในแบบฟอร์มของตั๋วบางพิมพ์ไว้ครบถ้วนทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ยิ่งถ้าเป็นช่องจำหน่ายตั๋วให้แก่ชาวต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างในสถานีกรุงเทพแล้ว ผมเคยเห็นเจ้าหน้าที่สั่งพิมพ์ตั๋วคอมพิวเตอร์ออกจากเครื่องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษล้วนๆเลยครับ นับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารชาวต่างประเทศยิ่งนัก

ชมภาพตั๋วบางเที่ยวเดียวมาพอสมควรแล้ว มาชมภาพตั๋วบางทั่วไปอีกประเภทหนึ่ง คือ ตั๋วบางไปกลับกันครับ

Click on the image for full size

ตั๋วบางไปกลับในยุคก่อนจะแยกออกเป็นแบบฟอร์มเฉพาะ และมีสีสันต่างจากตั๋วบางเที่ยวเดียว ตั๋วบางไปกลับนี้เท่าที่ผมเห็นมีอยู่สามสี คือ สีแสด สีแดงและสีชมพู ซึ่งตามภาพข้างต้นนั้นเป็นภาพตั๋วบางไปกลับสีแสด แบบฟอร์มที่พิมพ์ไว้หน้าตั๋วยังคล้ายๆกับแบบฟอร์มของตั๋วบางเที่ยวเดียวดังที่เคยนำเสนอไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหมายเลขขบวนรถ วันที่เดินทาง ชั้นที่โดยสาร ชื่อสถานีต้นทางและสถานีปลายทางพร้อมช่องกรอกรหัสสถานี ค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมต่างๆ รหัสสถานีที่จำหน่ายฯลฯ นอกจากสีสันที่ต่างจากตั๋วบางเที่ยวเดียวแล้ว ยังมีข้อแตกต่างที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับตั๋วบางเที่ยวเดียวก็คือ ข้อความที่ระบุไว้ว่าเป็นตั๋วบางไปกลับ และข้อความที่ระบุว่า “ใช้เที่ยวกลับได้ภายใน....วัน นับจากวันถัดวันตั้งต้นเดินทางเที่ยวไป” แหม!รู้สึกว่าภาษาจะย้อนยุคไปหน่อยนะครับ สมัยนี้ใครพูดถึง “วันเดินทาง” โดยใช้คำแบบในตั๋วว่า “วันตั้งต้นเดินทาง” คงดูแปลกๆ ทั้งนี้ยังมีข้อความภาษาอังกฤษในเรื่องกำหนดการใช้ตั๋วเที่ยวกลับกำกับไว้ด้วย

เล่าถึงตรงนี้อยากจะตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ามองในแง่มุมของการใช้ข้อความตามตั๋วสื่อสารกับผู้โดยสารชาวต่างชาติแล้ว ก็ดูจะพิกลๆอยู่นะครับ ในเมื่อผู้โดยสารชาวต่างยังไม่สามารถอ่านข้อความตามตั๋วซึ่งพิมพ์/เขียนเป็นภาษาไทยได้เลยว่าใช้เดินทางด้วยขบวนรถขบวนใด เดินทางวันใด จากสถานีไหนถึงสถานีไหนฯลฯ แต่กลับพิมพ์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษให้เขาทราบเพียงว่าต้องใช้ตั๋วนี้เดินทางเที่ยวกลับภายใน....วัน ส่วนการกำหนดวันเดินทางเที่ยวกลับนั้น เป็นไปตามที่การรถไฟฯกำหนดไว้เป็นสัดส่วนตามระยะทาง กล่าวคือ ระยะทาง ๑-๑๐๐ กม. ให้กลับภายในวันเดียวกัน ๑๐๑-๒๐๐ กม. ให้กลับภายใน ๓ วัน ๒๐๑-๕๐๐ กม. ให้กลับภายใน ๗ วัน ๕๐๑ กม. ขึ้นไป ให้กลับภายใน ๒๐ วัน ตั๋วตามภาพเป็นตั๋วจากกรุงเทพ-ศรีสะเกษ ระยะทาง ๕๑๕ ก.ม. จึงต้องใช้เที่ยวกลับภายใน ๒๐ วัน

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 02/09/2006 12:28 pm    Post subject: แว๊บ ๆ อีกแล้ว Reply with quote

นั่งอ่านไปอ่านมา ปรากฎว่าเหลือบไปเห็นวัน เดือน ปี ที่ปรากฎบนหน้าตั๋วในกระทู้ข้างบน ใช่เลยครับมันเป็นช่วงเวลาที่ผมกำลังโลดแล่นอยู่บนรางในฐานะโชเฟอร์ อารมณ์ และความรู้สึกในช่วงนั้นมันสุดที่พรรณาเป็นตัวอักษรได้จริง ๆ เลยครับ คุณตุ้ยทำให้ผมต้องเสียเวลาทำงานนั่งระลึกถึงความหลังอีกแล้ว ฮ่ะ ๆ ๆ Laughing Laughing
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Mahachai
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2006
Posts: 407
Location: ชั.

PostPosted: 02/09/2006 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

สวัสดีครับ พี่ตุ้ย ผมหายไปนานเลย กลับมาแว้ว เดี๋ยวจะขออ่านบทความของพี่ตุ้ยย้อนหลังครับผม แหะๆ ช่วงนี้งานเยอะไปหน่อย Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 02/09/2006 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

Cummins wrote:
นั่งอ่านไปอ่านมา ปรากฎว่าเหลือบไปเห็นวัน เดือน ปี ที่ปรากฎบนหน้าตั๋วในกระทู้ข้างบน ใช่เลยครับมันเป็นช่วงเวลาที่ผมกำลังโลดแล่นอยู่บนรางในฐานะโชเฟอร์ อารมณ์ และความรู้สึกในช่วงนั้นมันสุดที่พรรณาเป็นตัวอักษรได้จริง ๆ เลยครับ


อย่างไร ก็ขอความกรุณาอาจารย์เล่าประสบการณ์ในช่วงนั้น ให้พี่ๆน้องๆฟังต่อไปนะครับ แม้ตอนล่าสุดจะสยองขวัญอยู่บ้าง ผมก็ชอบมากเลยครับ

ผมเห็นตั๋วปี ๒๕๒๙ แล้วก็มีอาการรำลึกถึงความหลังเช่นเดียวกับอาจารย์เลยครับ ผมนึกถึงความสุขสมัยเด็กๆในปี พ.ศ.ดังกล่าว ที่ตอนนั้นผมกำลังเรียนอยู่ชั้น ม.๓ ที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน(ติดกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและจุฬาฯด้านถนนอังรีดูนังต์น่ะครับ)พอผมเลิกเรียน ๑๕.๒๐ น. แล้ว แทบทุกวันก่อนกลับบ้านจะต้องรีบนั่งรถเมล์ไปสถานีกรุงเทพเดินดูขบวนรถต่างๆ โดยเฉพาะขบวนรถด่วนที่ ๑๑/๑๕ กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ/สุไหงโกลก ที่ยุคนั้นมีเดินสลับวันกัน ออกเวลา ๑๖.๑๐ น. ได้ขึ้นไปเดินเล่นบนโบกี้รุ่นโปรด เช่นรถ บนท.ป. รุ่นเก่า ๓๒ ที่ รถบนอ. บนอ.ป. รุ่นเก่าที่กลายเป็นอดีตไปแล้วในปัจจุบัน แล้วนั่งรถธรรมดา กรุงเทพ-ลพบุรี ออกเวลา ๑๖.๐๕ น. มาลงสามเสน ดักรอดูขบวน ๑๑/๑๕ แล่นเข้าสถานีสามเสนอีกครั้ง ฟังเสียงรถจักร เสียงล้อกระทบราง เสียงเครื่องยนต์เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารถ บนท.ป. เสียงห้ามล้อฯลฯ จนกระทั่งขบวนรถออกจากสามเสนลับตาไปจึงกลับบ้านด้วยความเบิกบาน สุขใจ อารมณ์ดี กินข้าวอร่อยและนอนหลับฝันดี Very Happy ถ้าวันไหนไม่ได้กลับบ้านด้วยวิธีดังกล่าวซึ่งความจริงแล้วอ้อมและใช้เวลามากกว่าเส้นทางถนน เพราะเหตุขัดข้องประการต่างๆ จำได้ว่ารู้สึกอารมณ์ไม่ค่อยแจ่มใสเลยครับ

พอโตแล้วมีเวลาว่างน้อยลง ไม่ค่อยจะมีโอกาสไปนั่งรถไฟผมก็ยังมีความสุขทุกครั้งที่เวลาขับรถแล้วเห็นรถไฟวิ่งผ่านทางตัด แต่เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าจะนั่งดูรถไฟนานๆตามสถานีไม่ค่อยสะดวกเสียแล้ว อย่างเมื่อกลางเดือน สิงหาคม ผมไปชุมพรกลับขบวน ๘๖ ผมก็ไปนั่งเล่นที่สถานีตั้งแต่ ๑๘ น. เพราะจะคอยดูขบวน ๑๗๔,๑๖๘ ฯลฯ เข้าเทียบสถานีและออกไป รปภ.และตำรวจนอกเครื่องแบบเขาคงแปลกใจว่าผมมานั่งตบยุงอยู่หลายชั่วโมงแล้วทำไมไม่ไปสักขบวนหนึ่ง แรกๆเขาก็มองผมบ่อยๆ(คงดูว่าตาคนนี้มันจะมาวางระเบิดหรือไม่)จนผมรู้สึกอึดอัด ในที่สุดเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอดไม่ได้ก็เข้ามาถามผมว่าจะไปไหน ขบวนไหน คันที่เท่าไร พอตอบเขาว่ากลับขบวน ๘๖ คันที่ ๑๙ (รถ บนท.ป.คันนี้ตัดไว้ที่ชุมพร) ด้วยความหวังดีเขาก็แนะนำให้ไปขึ้นรถคันดังกล่าวที่จอดรออยู่ที่รางสาม จะได้ไม่ต้องนั่งตบยุงตรงเก้าอี้นั่งบนชานชาลาอีกต่อไป

แหม! ผมจะบอกความจริงว่าผมจะนั่งรอดูขบวน ๘๖ เข้าเทียบสถานี แบบเห็นตั้งแต่ไฟหน้ารถจักรค่อยๆสว่างรำไรจากด้านสถานีแสงแดดแล้วสว่างจ้าขึ้นเรื่อยๆ จนขบวนรถเข้ามาจอดอยู่ตรงหน้า ดูเจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนรถคันที่ ๑๙ มาต่อท้ายขบวน ดูสัญญาณไฟแดงดวงคู่ท้ายขบวนจนพอใจแล้วค่อยขึ้นรถ ก็กลัวเจ้าหน้าที่พวกนี้จะว่าผมเพี้ยน(เกือบจะ)แก่แล้วยังชอบดูรถไฟแบบเด็กๆอีก เลยตอบเลี่ยงๆไปว่าผมจะนั่งเล่นรับลมชมวิวก่อนยังขี้เกียจขึ้นรถ ผมว่าตั้งแต่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว รู้สึกว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานีนี่เข้มงวดกว่าเดิมมาก สมัยก่อนผมเคยนั่งที่สถานีชุมพร หรือสถานีอื่นๆทางภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ ชุมทางทุ่งสง ชุมทางหาดใหญ่นานกว่านี้ ยังไม่เห็นมีเจ้าหน้าที่คนใดสนใจคอยสังเกตการณ์ และถามไถ่อย่างนี้เลยครับ 8)

ออกจะบ่นไปไกลจากเรื่องตั๋วบางมากไปหน่อยนะครับ ถือเสียว่าเป็นเครื่องเคียง ผมว่ารีบกลับไปเตรียมต้นฉบับตอนต่อไปดีกว่า ขอบคุณ อาจารย์กิตติ น้อง Mahachai และทุกท่านที่ติดตามชมตลอดจนร่วมรำลึกความหลังกันครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 04/09/2006 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อเลยนะครับ

เห็นหมายเลขขบวนรถตามตั๋วบางไปกลับสีแสดข้างต้นเป็นขบวน ๑ แล้ว ไม่ต้องแปลกใจนะครับ เพราะเมื่อปี ๒๕๒๙ รถด่วนกรุงเทพ-อุบลราชธานี คือขบวน ๑ ซึ่งก็คือขบวน ๖๗ ในปัจจุบัน ส่วนขบวน ๑ ในปัจจุบัน(รถด่วนพิเศษนครพิงค์)ตอนนั้นยังไม่เกิดครับ เพราะเพิ่งเริ่มเปิดเดินรถในปี ๒๕๓๐ ตอนที่การรถไฟนำเข้ารถ บนท. ๓๖ ที่ (บนท.ป. ๓๖ ที่ ในปัจจุบัน)เข้ามาใหม่ๆ ซึ่งในช่วงแรกๆก็เป็นรถด่วนขบวน ๕/๖ ก่อน ต่อมาถึงปรับขึ้นเป็นรถด่วนพิเศษโดยตั้งชื่อเสร็จสรรพว่า “นครพิงค์” ถ้าท่านสังเกตมุมขวาล่างของภาพให้ดีๆ จะเห็นรอยตราประทับด้วยหมึกสีน้ำเงินใกล้ๆช่องรหัสช่องขายตั๋วหรือขบวนรถ เป็นตราของบริษัทแอร์บุ๊คกิ้งเซนเตอร์ฯ ตั๋วแทนจำหน่ายตั๋วรายหนึ่งของการรถไฟฯ แสดงว่าตั๋วใบนี้จำหน่ายโดยตัวแทนจำหน่ายตั๋วรายดังกล่าว ส่วนราคาค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมต่างๆในตั๋วนั้น เป็นราคารวมเบ็ดเสร็จทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมจากที่ผมเห็นการจำหน่ายตั๋วประเภทนี้ว่า การออกตั๋วบางไปกลับนั้น เจ้าหน้าที่จะออกให้สำหรับการโดยสารชั้นเดียวกันทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ เช่น ไปชั้นสองก็ต้องกลับชั้นสองถึงจะออกตั๋วบางไปกลับให้ได้

หากเดินทางเที่ยวไปกับเที่ยวกลับต่างชั้นกัน เช่น ไปชั้นหนึ่งกลับชั้นสอง เจ้าหน้าที่จะออกตั๋วเป็นตั๋วบางเที่ยวเดียวให้สองใบสำหรับเที่ยวไปหนึ่งใบ เที่ยวกลับอีกหนึ่งใบ อย่างไรก็ดี การเดินทางชั้นเดียวกันทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับนั้นไม่ถึงขั้นที่ว่า ราคาค่าโดยสารรวมค่าธรรมเนียมเที่ยวไป กับราคาค่าโดยสารเที่ยวกลับรวมค่าธรรมเนียมจะต้องเท่ากันทุกประการ(ทำนองเดียวกับเรื่องแกนสมมาตรในทางคณิตศาสตร์)ถึงจะออกตั๋วบางไปกลับให้ได้ กล่าวคือ แม้จะมีข้อแตกต่างกันบ้างในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมระหว่างเที่ยวไปกับเที่ยวกลับ เช่น เที่ยวไปโดยสารรถ บนท.ป. เตียงบน เที่ยวกลับโดยสารรถ บนท.ป. เตียงล่าง ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมรถนอนในราคาที่ต่างกัน แต่เมื่อยังเป็นการโดยสารรถชั้นสองเหมือนกันในระยะทางเดียวกันทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ก็สามารถออกตั๋วบางไปกลับให้ได้ตามภาพตั๋วบางไปกลับข้างต้น ซึ่งเที่ยวไปเป็นการโดยสารรถ บนท.ป. เตียงบน ส่วนเที่ยวกลับเป็นรถ บนท.ป. เตียงล่าง

ชมภาพด้านหน้าของตั๋วบางไปกลับแล้ว ก็ควรจะพลิกดูด้านหลังตามธรรมเนียม(ของผม)สักนิดนะครับ

Click on the image for full size

ตั๋วบางไปกลับนั้น หากเป็นตั๋วสำหรับขบวนรถที่มีการสำรองที่นั่งซึ่งต้องเดินทางด้วยขบวนรถที่สำรองที่นั่งไว้ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับแล้ว ถ้าดูแต่ข้อความตามหน้าตั๋วก็จะไม่ทราบเลยว่าจะต้องเดินทางเที่ยวกลับด้วยขบวนรถขบวนใด รถคันที่ หมายเลขที่นั่ง/นอนที่เท่าใด เนื่องจากตามแบบฟอร์มด้านหน้าตั๋วมีแต่ข้อมูลการเดินทางเที่ยวไปเป็นหลัก นอกจากการระบุที่หน้าตั๋วว่าใช้เที่ยวกลับได้ภายใน ๒๐ วันแล้ว ไม่ปรากฏข้อมูลการเดินทางเที่ยวกลับอีกเลย ด้วยเหตุนี้จึงมีการประทับรอยตราระบุข้อมูลการเดินทางเที่ยวกลับไว้ด้านหลังตั๋วบางไปกลับตามภาพข้างต้น ซึ่งรอยตรายางด้านบนที่ระบุว่า รถคันที่ ๑๗ นั่ง/นอนเลขที่ ๑๑ เป็นข้อมูลหมายเลขรถคันที่และหมายเลขที่นั่ง/นอนเที่ยวไป ส่วนรอยตรายางด้านล่างเป็นข้อมูลวันเดินทาง หมายเลขขบวนรถ รถคันที่และหมายเลขที่นั่ง/นอนเที่ยวกลับ

ผู้โดยสารที่ไม่ใช่ “แฟนรถไฟ” อาจต้องใช้ความสังเกตสักนิดจึงจะทราบว่ารอยตรายางด้านบนเป็นข้อมูลรถคันที่และเลขที่นั่ง/นอนเที่ยวไป เพราะว่าไม่มีข้อความกำกับไว้ว่าเป็นข้อมูลของเที่ยวไป แต่เมื่อดูรอยตรายางด้านล่างที่ระบุชัดว่าเป็นเที่ยวกลับแล้ว รอยตรายางด้านบนก็ต้องเป็นเรื่องของเที่ยวไปแน่ๆ ถือว่าเป็นการทดสอบไหวพริบของผู้โดยสารไปในตัว มีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า ตั๋วบางไปกลับนี้ยังขาดข้อมูลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้โดยสารจะต้องทราบมิฉะนั้นอาจตกรถได้ นั่นก็คือเวลาที่ขบวนรถออกจากสถานีต้นทางตามตั๋วทั้งเที่ยวไปและกลับอยู่เช่นเดิม แต่ในทางปฏิบัติส่วนมากเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วจะระบุข้อมูลดังกล่าวไว้ที่ซองตั๋วครับ

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 06/09/2006 9:36 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

นอกจากตั๋วบางไปกลับสีแสดตามที่นำเสนอไปแล้ว เท่าที่ผมเห็นและมีเก็บสะสมเอาไว้ ก็ยังมีตั๋วบางไปกลับอีกสองแบบ คือ ตั๋วบางไปกลับสีแดงและตั๋วบางไปกลับสีชมพู ตามภาพนี้ครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

การจัดวางข้อความตามแบบฟอร์มตั๋วบางไปกลับสีแดงและสีชมพู ยังเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับตั๋วบางไปกลับสีแสดที่นำเสนอไปก่อนหน้านี้ ตั๋วบางไปกลับสีแดงนั้น เป็นตั๋วโดยสารขบวนรถพิเศษรถจักรไอน้ำ กรุงเทพ-อยุธยา ขบวน ๕๐๐๑ เดินทางวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๙ รู้สึกว่าจะเป็นช่วงแรกๆที่มีการนำรถจักรไอน้ำกลับมาให้บริการในโอกาสพิเศษอีกครั้งหลังจากที่ไม่นำมาใช้ทำขบวนรถตามปกติมานับสิบปี หน้าตั๋วดังกล่าวจึงมีการเขียนข้อความเพิ่มเติมว่า “พ.อยุธยา” หมายถึงขบวนรถพิเศษรถจักรไอน้ำฯ และข้อความในช่องหมายเหตุว่า “ไม่รับคืน” ผมจำได้ว่าตอนที่ได้นั่งรถขบวนนี้รู้สึกตื่นเต้นมาก นอกจากไม่เคยโดยสารขบวนรถที่มีรถจักรไอน้ำทำขบวนแล้ว ยังกลัวว่ารถจักรไอน้ำจะมีแรงไม่พอลากจูงขบวนรถพิเศษฯดังกล่าวซึ่งพ่วงรถ บชส. จำนวน ๑๐ โบกี้ เอาเข้าจริงก็ไปได้ตลอดรอดฝั่งรถจักรไอน้ำไม่ตายกลางทาง แม้จะแล่นด้วยความเร็วประมาณ ๕๐ กม./ชม. อีกทั้งตอนนั้นทางสามช่วงรังสิต-ชุมทางบ้านภาชีก็ยังไม่มี ต้องจอดรอให้ขบวนอื่นแซงบ้างก็ไม่เป็นไร

ตั๋วบางทั่วไปไม่ว่าจะเป็นตั๋วบางเที่ยวเดียวหรือตั๋วบางไปกลับนั้น มีคุณประโยชน์ที่เห็นเด่นชัดอยู่หลายประการ หากมองในมุมมองของผู้โดยสารก็คือ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่เดินทางหลายคนเป็นกลุ่มเดียวกัน วันเดินทาง ขบวนรถ ระยะทางและชั้นที่โดยสารเหมือนกัน สามารถถือตั๋วใบเดียวกันได้ ไม่ต้องถือตั๋วแข็งหลายๆใบเสี่ยงต่อการสูญหาย ไม่ต้องคอยติดต่อซื้อตั๋วเที่ยวกลับอีกครั้งหนึ่ง ถ้ามองในแง่มุมของการรถไฟฯก็เป็นการสร้างความแน่นอนในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการจากเที่ยวเดียวเป็นสองเที่ยวทั้งไปและกลับ ยิ่งในยุคก่อนซึ่งมีการลดราคาค่าโดยสารให้แก่ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วไปกลับ คิดเป็นราคาที่ถูกกว่าค่าโดยสารเที่ยวเดียวรวมกันสองเที่ยวแล้ว(ผมจะนำตารางราคาค่าโดยสารไปกลับ ข้อมูลปี ๒๕๒๓ ซึ่งมีการลดราคาให้ถูกกว่าราคาค่าโดยสารเที่ยวเดียวสองเที่ยวมาให้ชมในโอกาสต่อไป ที่ผมว่าจะนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจจากตารางเดินรถแบบสวยๆในอดีตนะครับ) ยิ่งเป็นการจูงใจให้ผู้โดยสารทั่วๆไปผู้ไม่ใช่แฟนรถไฟให้ใช้บริการเที่ยวกลับโดยซื้อตั๋วไปกลับไว้เลยอีกด้วย (หากเป็นแฟนรถไฟถึงอย่างไรก็ไป-กลับรถไฟอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้) เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วก็สะดวกในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องออกตั๋วแข็งหลายใบให้แก่ผู้โดยสารคนเดียวในกรณีที่ต้องใช้ตั๋วแข็งเป็นตั๋วค่าโดยสาร ตั๋วค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือให้แก่ผู้โดยสารหลายคนตามแต่กรณี คงมีผู้โดยสารน้อยคนมากที่ไม่ชอบตั๋วแบบนี้เช่นเดียวกับผม ซึ่งอยากสะสมตั๋วแข็งมากกว่า เวลาเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วยืนยันจะออกตั๋วบางให้แทนตั๋วแข็งเมื่อไร รู้สึกเซ็งเลยครับ เล่นมาดับฝัน(ที่จะได้ตั๋วแข็งหลายๆใบ)ของเราง่ายๆแบบนี้

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12, 13, 14  Next
Page 5 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©