RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311552
ทั่วไป:13350166
ทั้งหมด:13661718
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - [แก้หัวข้อ] ข่าวเกี่ยวกับรถไฟไปทิเบต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

[แก้หัวข้อ] ข่าวเกี่ยวกับรถไฟไปทิเบต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 15, 16, 17  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2008 9:02 am    Post subject: ต่อรถไฟจากธิเบตมาเนปาล Reply with quote

Nepal to get China rail link
By Sudha Ramachandran
Asia Times May 15, 2008

BANGALORE - China has begun building a railway connecting the Tibetan capital of Lhasa with the market town of Khasa on the Sino-Nepal border. The rail link, the latest Chinese initiative to improve its transport infrastructure in the Himalayan region, is expected to enhance Nepal's economic engagement with China and reduce its dependence on India.

The 770-kilometer Lhasa-Khasa railway line is an extension of the world's highest railway, which runs from Golmud in China's Qinghai province to Lhasa. Inaugurated in August 2006, the Golmud-Lhasa rail integrated Tibet into China's national rail network. With its extension up to the Nepal border, Nepal will be plugged into China's rail network.

Landlocked Nepal has hitherto largely been dependent on India for imports. With trains from China soon reaching its border, Nepal will find importing from its northern neighbor easier. Sino-Nepal trade will expand exponentially, at India's expense.

Road and rail building has been a key component of the Chinese grand strategy in the Himalayan region for decades. Building motorable roads into Tibet began as early as 1950, in line with Mao Zedong's orders to the People's Liberation Army as it prepared to annex the territory: "Advance while building roads."

The construction of roads linking Tibet with Qinghai, Sichuan, Xinjiang and Yunnan was achieved against all odds and at great human cost. But it enabled Beijing to pour troops into Tibet to quell unrest, provide supplies to soldiers deployed there, consolidate its control over Tibet and integrate the area economically with China.

Now the focus is on improving Tibet's connectivity with South Asia, flattening, as it were, the Himalayan barrier to overland trade.

Besides the Lhasa-Khasa railway, China is said to be considering an extension of the Golmu-Lhasa line up to Xigaze, south of Lhasa and from there to Yatung, a trading center, barely a few kilometers from Nathu La, a mountain pass that connects Tibet with the Indian state of Sikkim. There is a proposal too to extend the line to Nyingchi, an important trading town north of the Indian state of Arunachal Pradesh, at the tri-junction with Myanmar.

These rail lines will bring Chinese trains up to Sikkim and Arunachal Pradesh - two Indian states that figure prominently on the radar of Sino-Indian disputes. China claims 90,000 square kilometers of territory in the eastern Himalayas, roughly approximating to Arunachal Pradesh, and Chinese incursions are reported here frequently. As for Sikkim, it is only since 2004 that China has implicitly recognized its integration into India. Not only does Sikkim share borders with Nepal, Tibet and Bhutan but also it is situated above the "Chicken's Neck" - the sliver of land that links India with its northeastern states.

The extension of the railway to the Sino-Indian border at Sikkim and Arunachal could pose a threat to India's security and economy if New Delhi fails to build its own network here to match the Chinese, Indian analysts say.

In July 2006, Sino-Indian border trade was resumed at Nathu La in Sikkim after a gap of 44 years. Officials in the Sikkim government told Asia Times Online that compared with China's elaborate network of roads and planned railway to Nathu La, "on this side of the border the state of infrastructure is laughable".

One said: "When trade takes off in a big way in a few years, goods by the train-load will arrive at Nathu La from China. India will be in a position then to send back mere truck-loads."

Sikkim has only one road - a 56-kilometer single-lane link - linking its capital Gangtok to Nathu La, and one landslide-prone road, just five meters wide, joining the area with the rest of India. Sikkim's road density is 28.45 kilometers per 100 square kilometer against the national average of 84 kilometers. Arunachal Pradesh is even worse off, with a road density of just 18.65 kilometers per 100 square kilometer.

India's rail network is the world's most extensive but it does not penetrate the border-states of Sikkim, Tripura, Meghalaya, Mizoram and Arunachal Pradesh. The situation in the other northeastern states is only marginally better.

Economists and security experts have been warning that Delhi is napping while China is set to chug up to the Sino-Indian border. Government officials, for their part, point to innumerable proposed road and rail projects. "The feasibility of some road and rail links is being studied, some projects have been sanctioned and others are being executed," a senior government official in Delhi told Asia Times Online.

India does plan to expand its rail links with Nepal, proposing to extend across the Nepal border to Kathmandu the rail line at present connecting Raxaul in Bihar state with Birganj. Trucks carrying Indian goods from Birganj to Kathmandu have to travel 220 kilometers. A train from Birganj to Kathmandu that cuts through mountains will be a mere 80 kilometers, cutting travel time and costs.

The technical and financial feasibility of five other routes - Nautanwa in India to Bhairahwa in Nepal, Nepalgunj Road to Nepalgunj, Jogbani to Biratnagar, New Jalpaiguri to Kakrabitta and Jayanagar to Bardibas - is being studied.

India also plans to run rail links to Bhutan, which like Nepal is landlocked and sandwiched between India and China. There are plans to connect Hasimara in India with Phuentsholing in Bhutan, Banarhat to Samtse, Rangia to Samdrup Jongkhar, Kokrajhar to Gelephu and Pathsala to Nanglam.

In Sikkim, the Gangtok-Nathu La road is being widened and the government has sanctioned another linking Sikkim with the rest of India to be built.

In Arunachal Pradesh, airports will be built in the state capital Itanagar and another at Tawang, a district which is seen as holding the key to the Sino-Indian border dispute. India is also constructing a 1,840 kilometer trans-Arunachal highway touching India's borders with China, Bhutan and Myanmar and a rail network.

This array of road and rail-building projects looks positive on paper but completion targets may prove fickle, if the experience of the strife-torn states of Jammu and Kashmir and Manipur is any guide. Trains were supposed to be running in the Kashmir Valley by last August, but that now looks unlikely to happen for another five years at least.

In comparison, road and rail projects in China are completed quickly and often ahead of time. The Golmud-Lhasa line was ready a year ahead of schedule. "China begins implementation of projects quickly," a Sikkim government official said. A month after the inauguration of the Golmud-Lhasa railway, China promised the Nepal government that it would extend this line up to the Sino-Nepal border. "Less than two years after that promise was made, work has begun," the official said. "And it will be completed in five years."

Indian railway construction officials blame difficult, mountainous terrain for the delay in projects. About 120 kilometer of the 292 kilometer Kashmir railway line consists of tunnels; delaying matters further, several are reported to have collapsed during construction. Yet the much longer Golmud-Lhasa rail runs through far more treacherous terrain and climatic conditions and was completed on time.

India's road and rail projects in the Himalayan region often run through insurgency-wracked regions, with security concerns adding to delays. The Kashmir rail line has come under repeated attacks and at least two Indian railway employees have been in efforts to halt the project.

Economists have said the Indian government has been shortsighted in assessing the benefits and feasibility of projects. The Bhutan rail link may attract too little passenger and goods traffic to justify the cost and the Sikkim link may also serve merely border trade at Nathu La.

Compare that with the benefits to China of a Nathu La link, which will open access to the Indian port of Kolkata and to markets in the Indian plains, Myanmar and Southeast Asia.

Parts of the Indian establishment also fear that building an extensive road/rail network along the country's northern borders will help Chinese good to flood Indian markets - overlooking the opportunities for India in the opposite direction.

Sudha Ramachandran is an independent journalist/researcher based in Bangalore.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2008 10:29 am    Post subject: Reply with quote

แผ่นดินไหวถิ่นละมั่งทิเบต ชี้ทางรถไฟชิงไห่-ทิเบตปลอดภัยดี

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2551 20:05 น.



ซินหัวยัน แผ่นดินไหวไม่สะเทือนเส้นทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต


เอเจนซี-เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 5.4 ริกเตอร์ เมื่อเที่ยงวันวันนี้ ที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ในวันนี้ (18 มิ.ย.) โดยไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ซินหัวยันรางรถไฟแดนหลังคาโลกสายชิงไห่-ทิเบต ปลอดภัยดี

ละมั่งทิเบตสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหวชิงไห่ครั้งนี้ โชคดีธรณีพิโรธแค่ 5.4 ริกเตอร์ มิฉะนั้น คงได้โหมกระพือกระแสเมาท์เรื่องภัยพิบัติกับสัญลักษณ์โอลิมปิก ซึ่งมีละมั่งทิเบตเป็นหนึ่งในนั้น


เครือข่ายสำนักงานแผ่นดินไหวแห่งชาติ รายงานจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ อยู่ในอี้ว์ซู่ ซึ่งเป็นแคว้นปกครองตัวเองของชนชาติทิเบตในมณฑลชิงไห่ ซึ่งเป็นย่านที่มีประชากรอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตาม เขตนี้ ก็เป็นเขตป่าสงวน ที่เป็นบ้านของจามรี และละมั่งทิเบตสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

ด้านกระบอกเสียงใหญ่ของรัฐจีน ซินหัวรายงานยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต และไม่สะเทือนเส้นทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตแต่อย่างใด

ทั้งนี้ จีนเพิ่งประสบโศกนาฎกรรมธรณีพิโรธครั้งใหญ่ 8.0 ริกเตอร์ในซื่อชวน (เสฉวน) เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ตัวเลขผู้เสียชีวิตและสูญหายขณะนี้ อยู่ที่เกือบ 87,000 คน.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45642
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2008 3:06 pm    Post subject: จีนจะสร้างทางรถไฟอีก 6 สาย เข้าไปในทิเบต Reply with quote

จีนจะสร้างทางรถไฟอีก 6 สาย เข้าไปในทิเบต

ปักกิ่ง 18 ส.ค.51- จีนกำลังวางแผนจะสร้างทางรถไฟอีก 6 สาย ทั้งในและนอกทิเบต หวังกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างชาติ กลับมองว่า การสร้างทางรถไฟในทิเบต จะยิ่งทำให้วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทิเบตถูกคุกคามมากขึ้น

กระทรวงกิจการรถไฟในจีน แถลงในเว็บไซต์ ระบุถึงแผนการสร้างทางรถไฟอีก 6 สาย โดย 2 สาย จะวิ่งจากกรุงลาซา ไปยังพื้นที่ส่วนอื่นของทิเบต ส่วนอีก 4 สายที่เหลือ จะสร้างในหลายมณฑลข้างเคียง ที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบต เส้นทางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่นี้ จะเปิดใช้งานในอีก 12 ปีข้างหน้า เพื่อให้ที่ราบสูงทิเบต มีการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมกับจีนมากขึ้น

เมื่อ 2 ปีก่อน จีนเคยเปิดเส้นทางรถไฟเชื่อมกรุงปักกิ่งเข้ากับนครลาซา ของทิเบต เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ เพราะต้องสร้างทางรถไฟบนที่ราบสูง และต้องใช้หลักวิศวกรรมคำนวณออกมาเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่า รางรถไฟจะยังใช้การได้ดีบนผืนดินที่เย็นเป็นน้ำแข็ง

ทางรถไฟสายดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า เป็นทางรถไฟสายที่สูงที่สุดในโลก หลังเปิดใช้งาน ก็ทำให้ภาคการท่องเที่ยวในทิเบตคึกคักขึ้นมาก ทางการจีนยังใช้ทางรถไฟสายนี้ นำพาชาวฮั่นเข้าไปเที่ยว หรือตั้งรกรากในทิเบตมากขึ้นด้วย -สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-08-18 14:26:40
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2009 10:40 am    Post subject: Reply with quote

อย่างน้อยที่สุด ก็จะมีทางรถไฟสาย จาก เมืองต้าหลี่ ใน มณฑลยุนนาน ไป ต่อกับทางรถไฟเข้านครลาซา และ ทางรถไฟ จาก เมืองต้าหลี่ ใน มณฑลยุนนาน ไปพม่าที่ด่าน Muse-Ruili ดังภาพต่อไปนี้

http://www.qj-country.de/df4/df4c/bureaus/kunming.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45642
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/03/2009 5:05 pm    Post subject: จีนเลือนเปิดให้บริการรถไฟหรูสู่ทิเบต Reply with quote

จีนเลือนเปิดให้บริการรถไฟหรูสู่ทิเบต

เซี่ยงไฮ้ 16 มี.ค. 52–ผู้ประกอบการตังกูลา ลักชัวรี่ เทรนส์ เผยว่าจะเลื่อนการเปิดให้บริการขบวนรถไฟหรูเที่ยวแรกจากกรุงปักกิ่งของจีนสู่เขตปกครองตนเองทิเบตจากกำหนดเดิมเดือน เม.ย.นี้ ไปเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน

Click on the image for full size

เจ้าหน้าที่จองตั๋วคนหนึ่งของตังกูลา ลักชัวรี่ เทรนส์ ยืนยันรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ ของฮ่องกงเรื่องการเลื่อนเปิดให้บริการ แต่ไม่ยอมแสดงความเห็นเพิ่มเติม โดยรายงานระบุว่า บริษัทเลื่อนเปิดให้บริการจากเดือน เม.ย. นี้ ไปเป็นฤดูใบไม้ผลิปีหน้า เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนจากยอดจองตั๋วล่วงหน้าราว 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 72 ล้านบาท) โดยบริษัทใช้เงินลงทุนในโครงการนี้แล้ว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,600 ล้านบาท)

การเลื่อนเปิดให้บริการครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ก่อนหน้านี้บริษัทเคยเลื่อนกำหนดเปิดจากเดือนก.ย. ปี 2551 มาเป็นเดือนเม.ย. 2552 โฆษกตังกูลา ลักชัวรี่ เทรนส์ ระบุว่า การเลื่อนเปิดให้บริการเป็นการติดสินใจทางธุรกิจไม่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามของทางการจีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไม่สงบขึ้นในทิเบตในปีที่ครบรอบเหตุการณ์ชาวทิเบตลุกฮือขึ้นก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของจีน

โครงการตังกูลา ลักชัวรี่ เทรนส์ เป็นบริการรถไฟโดยสารที่ลงทุนโดยต่างชาติขบวนแรกในจีนโดยเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างบริษัทตังกูลา กรุ๊ป กับบริษัทชิงไห่-ทิเบต เรลเวย์ คอปอเรชั่น และมีบริษัทวิง ออน ทราเวล ของฮ่องกงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ วิ่งให้บริการจากกรุงปักกิ่งสู่เขตปกครองตนเองทิเบต และมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ คิดค่าบริการคนละ 3,300-5,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 118,800-180,000 บาท) ขึ้นอยู่กับระยะทาง -สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2009 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

สำนักข่าวซินหัวแจ้งว่า ทางรถไฟสายธิเบตจัยังคงใช้การได้อีก 40 ปี เมื่อนำอัตราการเกิดโลกร้อน เช่นทุกวันนี้ มาร่วมพิจารณา พ้นจากนั้น โลกที่ร้อนจะทำให้ดินที่เป็น Permafrost ละลาย ทำให้ทางรถไฟทรุดลงมา ต้องซ้่อมสร้างกันขนานใหญ่ ก็คราวนี้เอง Shocked
http://en.cop15.dk/news/view+news?newsid=1244
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2009 12:10 am    Post subject: รถไฟไปธิเบตสาย 2 เสฉวน - ธิเบต Reply with quote

รถไฟเสฉวน-ทิเบตเริ่มสร้างกันยานี้ ย่นเวลาเดินทางจาก45เหลือ8ช.ม.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2552 13:12 น.

Click on the image for full size
แผนผังเส้นทางรถไฟสายเสฉวน-ทิเบต พร้อมสถานีตามเส้นทาง
ไชน่าเดลี่ - เว็บไซต์ scol.com.cn ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวมีฐานอยู่ในมณฑลเสฉวนรายงานว่า จีนมีกำหนดการสร้างทางรถไฟสาย เสฉวน-ทิเบตในเดือนกันยายนนี้หลังจากพับโครงการมานาน

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ทางสำนักงานการทางรถไฟหมายเลข 2 แห่งประเทศจีนในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนได้ออกมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับทางรถไฟสาย นี้ว่า ทาง รถไฟสายเสฉวน-ทิเบตมีความยาว 1,629 กิโลเมตร รถไฟถูกออกแบบให้วิ่งด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางจากเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวนถึงลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตราว 8 ชั่วโมง

ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการเดินทางจากเฉิงตูไปลาซา 2 ทาง ได้แก่ การขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 318 ซึ่งใช้เวลา 3 วัน และการนั่งรถไฟสาย เฉิงตู-ส่านซี-ชิงไห่-ลาซา ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 45 ชั่วโมง

การก่อสร้างทางรถไฟเส้นนี้นั้นจะต้องเอาชนะอุปสรรคจากสภาพภูมิประเทศ ที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินเยือกแข็ง, ดินถล่ม, หินถล่ม, อากาศหนาวเย็น และปัญหาออกซิเจนเบาบาง อันเนื่องมาจากการเดินทางขึ้นสู่พื้นที่ราบสูง โดยทางรถไฟสายนี้เคยถูกเลื่อนแผนก่อสร้างมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากความยากลำบากในการก่อสร้างและขาดแคลนเงินลงทุน

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวที่รับผิดชอบในโครงการดังกล่าวเปิดเผยว่า ปัจจัยข้างต้นไม่ใช่อุปสรรคในขณะนี้อีกต่อไป “ตอนนี้เราไม่มีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีในการก่อสร้างและเงินลงทุนแล้ว”

ทั้งนี้ ปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต ซึ่งยาว 1,956 กิโลเมตร เริ่มต้นจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตในซีหนิง เมืองเอกของมณฑลชิงไห่ไปถึงลาซา เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2009 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟ จากเฉิงตูไปนครลาซา

แม้จะมีทางรถไฟจากซีหนิงไปนครลาซา แต่ การเดินทางจากเฉิงตูไปลาซาก็นับว่ายังไม่สะดวกเท่าไหร่ เพราะ ใช้เวลาเดินทาง 45 ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าการนั่งรถจาก เฉิงตูไปลาซาตามทางหลวง 318 ซึ่งใช้เวลาเดนทาง 3 วันเต็มๆ ไม่เท่าไหร่

ดังนั้น รัฐบาลจีนแดงจึงดำริ เมื่อ 1 กันยายน 2009 ให้เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟสาย เฉิงตูไปนครลาซา ความยาว 1629 กิโลเมตร (!) ให้ความเร็วสูงสุด 200 kph ซึ่งต้องขึ้นที่สูงอากาศมีน้อยและสุดหนาวเย็น อีกทั้งยังมีดินถล่มมาเป็นประจำ

ทางรถไฟสายนี้จะผ่านเมืองต่อไปนี้ในมณฑลเสฉวน คือ Pujiang (浦江), Ya'an (雅安), Kangding (康定) และ Litang (理塘) ก่อนเข้าธิเบต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2010 1:56 am    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายชิงไห่-ธิเบตไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ
โดย ทีมออนไลน์
ฐานเศรษฐกิจ วันเสาร์ที่ 17 เมษายน 2010 เวลา 22:15 น.

นายหวัง ซื่อกัว รัฐมนตรีช่วยกระทรวงรถไฟ กล่าวเมื่อวันเสาร์ (17 เม.ย ) ว่าเส้นทางรถไฟเชื่อมชิงไห่และธิเบตไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในวันพุธ ( 14 เม.ย.) ที่ผ่านมา แนวทางรถไฟที่อยู่ใกล้ที่สุดกับหยู่ซื่อ อันเป็นจุดศูนย์กลางที่เกิดแผ่นดินไหว ก็อยู่ห่างออกไปถึง 369 กิโลเมตร

การขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปช่วยเหลือจุดเกิดแผ่นดินไหวขณะนี้ ส่วนใหญ่ให้ขนส่งด้วยทางรถไฟผ่านสายลานโจว-ชิงไห่ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองลานโจวซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลการซู กับซีหนิง เมืองหลวงของมณฑลชิงไห่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43049
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2010 2:27 am    Post subject: Reply with quote

สร้างทางรถไฟ ในธิเบตอีก 6 สาย และ สายไปชายแดนเนปาล

หลังจากที่ได้พบปะเจรจาความเมืองกันระหว่างจีนแดงและ เนปาล เมื่อ 25 เมษายน 2008, ก็ตกลงใจว่าจะสร้างทางรถไฟ จาก นครลาซาไป ด่าน จางมู่/ขาซา (Zhangmu/Khasa) แม้วว่า ทางรัฐบาลเนปาลอยากให้ต่อระยะไปอีก ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนแล้งทางรถไฟดังกล่าวจะถึง ด่าน จางมู่/ขาซา (Zhangmu/Khasa) ปลายปี 2013

ต่อมา 17 สิงหาคม 2008 โฆษกกระทรวงรถไฟ ได้ ยืนยันว่าจะสร้างทางรถไฟ ในธิเบตอีก 6 สาย (!) ที่กะจะทำให้เสร็จก่อนสิ้นปี 2020 เป็นอย่างช้าซึ่งได้แก่

1. นครลาซา - ด่าน จางมู่/ขาซา (Lhasa - Zhangmu/Khasa) ชายแดนเนปาล ทำให้ต้องสร้างสถานี ที่ด่านยาตุง (Yatung) ซึ่งติดชายแดน สิกขิมและ ภูฏาน ที่ และ สถานีปลายทางที่ จางมู่/ขาซา ด้วย

2. นครลาซา - นยิงจี (Lhasa - Nyingchi) อยู่ในเขตปกครองตัวเองธิเบต - ทางรถไฟสายนี้กว่าจะสร้างจริงๆ ก็ปี 2013เพราะ อุปสรรคมีมากเหลือเกิน ทำให้ ไม่แน่ใจว่าเส้่นทางไหน จะคุ้มกว่ากัน ระหว่าง

2.1 เส้นทางขึ้นเหนือ นครลาซา ไปตามแม่น้ำลาซา ก่อนไปทางตะวันออกผ่านเมือง กองกา (Gongga) เนดง (Nedong) นาง (Nang) ไหม้หลิง (Mailing) ไปตามแม่น้ำเนียง (Nyang River) ก่อน เข้า จังหวัด Nyingchi ระยะทาง 440 กม. หรือ
2.2 เส่้นทางลงใต้นครลาซา ไป ตามทางหลวงหมายเลขที่ 308 ผ่านจังหวัด Maizhokunggar (ธิเบตเรียกว่า Maldrogungkar), เขา Milar Mountain และ เมือง Gongbo Gyamda (ธิเบตเรียกว่า Kongpo Gyamda) รวมระยะทาง 330 กม.

3. นครลาซา - ซีกาเจ๋อ (Lhasa - Xigaze) อยู่ในเขตปกครองตัวเองธิเบต - แม้ว่ารัฐบาลจีนแดงจะอวดว่า จะทำให้เสร็จในสิ้นปีั 2010 แต่เอาเข้าจริงยังมีอุปสรรค เรื่องการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อ สนับสนุนระบบรถไฟ เช่นไฟฟ้า น้ำประปา รวมมูลค่า 109,760 ล้่านหยวน (!) ให้สมบูรณ์ก่อน จึงจะสร้างทางรถไฟไปได้

4. โกลมุน - เมืองเอกเฉิงตู (Golmud - Chengdu) เชื่อมมณฑลชิงไห่ (Qinghai) เข้ากับมณฑลเสฉวน (Chengdu) โดยผ่านเขตปกครองตัวเองธิเบต

5. ตุ้นหวง - กู่เอ้อร์เลอ (Dunhuang - Kuerle) เชื่อมมณฑลกันซุ เข้ากับ เขตปกครองตัวเองซินเกียงอุยกุร์ โดยผ่าน เขตปกครองตัวเองธิเบต

6. เมืองเอกซีหนิง - จ้างเยอ (Xining - Zhangye in Gansu) เชื่อมมณฑลชิงไห่ เข้ากับ มณฑลกันซุ

ทางรถไฟสาย โกลมุน - ลาซา นั้นกระทรวงรถไฟจีนแดง ได้ ลงทุนไป 3หมื่นล้านหยวน แต่ ขาดทุนปีละ 1200 ล้่านหยวน แต่ ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทำให้ทางรถไฟสายนี้่มีรถเดิน ประจำ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 15, 16, 17  Next
Page 7 of 17

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©