Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13574286
ทั้งหมด:13886189
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : รถไฟในสมรภูมิ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : รถไฟในสมรภูมิ
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 21/08/2007 4:34 pm    Post subject: เรื่องน่ารู้ : รถไฟในสมรภูมิ Reply with quote

..................เดือนตุลาคม เป็นเดือนครบรอบของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงหนึ่งครับ ซึ่งคนรุ่นหลังๆ แทบไม่ทราบกันว่า ในช่วงต้นๆ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ยังมีข้อขัดแย้งด้านความคิดของผู้คนกลุ่มต่างๆ ว่า รวดเร็วเกินไปไหม ? ที่นำประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองสมัยใหม่ โดยประชาชนยังไม่มีความพร้อม และที่สำคัญ คือ อำนาจซึ่งตกอยู่ในกำมือกลุ่มบุคคลใหม่ ซึ่งแตกต่างด้านความคิด วิธีการ บางสิ่งเพื่อพวกพ้อง ทำให้กลุ่มเก่าไม่พอใจ ถึงขั้นยกกำลังและอาวุธเข้าตัดสินปัญหา สร้างความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชิวิตผู้คนไปจำนวนไม่น้อย นั่นเป็นที่มาของประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า " กบฎบวรเดช "

..................สำหรับข้อความและภาพประกอบ ขออนุญาตนำมาเล่าเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจค้นคว้าต่อไป จากวารสาร " รถไฟสัมพันธ์ " ฉบับ ประจำเดือน กันยายน 2527 โดยคุณ " พรพุทธ ทิพารัตน์ " ในหัวเรื่อง " รถไฟในสมรภูมิ " ซึ่งผมขอขอบคุณท่านผู้เรียบเรียง และการรถไฟแห่งประเทศไทยมา ณ โอกาสนี้

.............................................

Click on the image for full size
รถจักรสวิส 450 แรงม้า หมายเลข 504 ขณะสวมเกราะกันกระสุน
รถไฟในสมรภูมิ
โดย : พรพุทธ ทิพารัตน์

.............................................

....................ภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดย " คณะราษฎร์ " ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีคณะนายทหารฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นความรีบร้อนช่วงชิงอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ทรงดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในกาลเวลาอันเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่ทรงต้องการให้ราษฎรมีความเข้าใจในวิถีทางรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้เสียก่อนเท่านั้น

Click on the image for full size

......................11 ตุลาคม 2476 ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน เปิดฉากรบราฆ่าฟันกันขึ้น ซึ่งเป็นทหารฝ่ายรัฐบาลกับทหารปฏิวัติ โดยการนำของพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเคยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมมาแต่ก่อน ยกกำลังจากหัวเมือง คือ จากกองทัพนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา นครสวรรค์ ราชบุรี ปราจีนบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี พร้อมกับมุ่งหน้าสู่พระนคร เพื่อบังคับให้รัฐบาลกราบถวายบังคมลาออก

......................เมื่อฝ่ายรัฐบาล อันมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี รู้ข่าวแต่ต้น จึงได้ส่งกำลังตำรวจในความควบคุมของนายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษมุ่งหน้าไปยังนครราชสีมา

......................ขบวนรถไฟของกองกำลังทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ปะทะกับฝ่ายตำรวจสันติบาลของรัฐบาลที่ปากช่อง ฝ่ายปฏิวัติระดมยิงฝ่ายตำรวจทันที กระสุนปลิดชีวิตนายร้อยตำรวจโทขุนประดิษฐสกลการ กับนายดาบตำรวจทองแก่น อบเชย และพลตำรวจอีก 2 ราย นอกจากนั้น ได้รับบาดเจ็บอีกหลายนาย การยิงต่อสู้กันดำเนินไปไม่นาน ตำรวจทั้งหมดก็ต้องยกธงขาว ตกอยู่ในความควบคุมของทหารฝ่ายปฏิวัติ

......................นายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร ถูกควบคุมตัวมากับขบวนของทหารฝ่ายปฏิวัติจนกระทั่งถึงดอนเมือง ทหารฝ่ายปฏิวัติเข้ายึดดอนเมืองไว้ได้เมื่อ 12 ตุลาคม 2476 แต่พระกล้ากลางสมรได้เล็ดลอดหนีจากการควบคุมของฝ่ายปฏิวัติออกมาได้ในความมืด แล้วมุ่งกลับพระนครทันที

Click on the image for full size

......................เมื่อฝ่ายปฏิวัติยึดดอนเมืองไว้แล้ว ได้ส่งตัวแทนไปติดต่อกับรัฐบาลพร้อมกับยื่นหนังสือเป็นคำขาดให้รัฐบาลลาออกภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ทางฝ่ายปฏิวัติจะยกกำลังเข้าบังคับ

......................ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ( ผู้ว่าการรถไฟในสมัยต่อมา ) เป็นตัวแทนไปเจรจากับฝ่ายปฏิวัติให้เลิกทัพกลับไปแต่โดยดี เพื่อมิให้เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน โดยจะกราบบังคมทูลขอนิรโทษกรรมให้

......................เมื่อฝ่ายปฏิวัติไม่ได้รับผลจากการยื่นคำขาดเช่นนั้น จึงให้กักตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้ พร้อมกับยื่นข้อเสนอใหม่ รวม 6 ข้อต่อรัฐบาล คือ.-

................1. ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
................2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
................3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
................4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
................5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริงๆ
................6. การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง

................สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษกรรมแก่คณะปฏิวัติ ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม

................คณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื่นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน

Click on the image for full size

................บ่ายวันนั้น 12 ตุลาคม 2476 เสียงปืนใหญ่ระเบิดกึกก้องไปทั่วท้องทุ่งบางเขน ฝ่ายปฏิวัติรอกำลังทหารจากจังหวัดหัวเมืองต่างๆ ที่จะตามมาสมทบ


Last edited by black_express on 27/08/2007 11:47 pm; edited 7 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 21/08/2007 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ทหารฝ่ายรัฐบาลได้ยกพลมาถึงสถานีโคราชแล้ว วีนที่ 25 ตุลาคม 2476

..................ฝ่ายรัฐบาลนั้น นายพันโท พระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการปราบปรามแนวหน้า นำคณะทหารเข้าต่อสู้โดยลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ( ปตอ. ) ขึ้นรถ ขต. และใช้รถจักรไอน้ำดุนวิ่งไปตามราง เข้ากระหน่ำยิงอย่างไม่ลดละ

..................ฝ่ายปฏิวัติเสียเปรียบในด้านกำลังอาวุธ พระยาศรีสิทธิสงคราม แม่ทัพหน้าของฝ่ายปฏิวัติ สั่งให้พวกของตนถอยทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่สถานีหลักสี่

Click on the image for full size
ทหารฝ่ายรัฐบาลตั้งกองบก. ข้างโรงปูนซีเมนต์ไทยบางซื่อ

..................ส่วนกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป ส่วนพระยาเสนาสงครามแม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง

..................กองทหารเพชรบุรีก็เช่นกัน ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

..................ส่วนทหารจากปราจีนบุรีนั้นเล่า ไม่มั่นใจว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีชัยชนะต่อรัฐบาลได้ จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

Click on the image for full size
การส่งกำลังบำรุงฝ่ายรัฐบาลที่ย่านสถานีบางซื่อ

..................การรบขับเคี่ยวกันอยู่ถึง 2 วัน 2 คืน กระทั่งวันที่ 14 ตุลาคม ฝ่ายปฏิวัติยังคงปักหลักอย่างเหนียวแน่นที่สถานีหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบอย่างทรหด แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

Click on the image for full size
รถจักรฮาโนแมก 277 ชนรถ บทน. 4 ผล ทหารรัฐบาลตาย 9-10 คน รวมถึงนายร้อยโทที่โดนรถ ปตอ. 76 ทับขาตายคาที่

..................รุ่งขึ้น วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่างๆ จำเป็นต้องถอยกลับ

..................ระหว่างที่ยกกำลังถอยร่นนั้น ได้ปล่อยรถจักรเปล่าซึ่งเปิดฝีจักรเต็มที่พุ่งเข้าชนขบวนรถเกราะ ปืนกลของฝ่ายรัฐบาลตกรางพินาศยับเยิน ทหารของฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตไปจำนวนไม่น้อย ทำให้ชะงักการรุกไล่ของทหารฝ่ายรัฐบาลไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

Click on the image for full size

..................เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่า ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่าเพราะ โดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจาก ลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่จะก่อกบฏ พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล


Last edited by black_express on 14/02/2012 8:25 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 21/08/2007 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
การขนทหารฝ่ายรัฐบาลที่บางซื่อคราวกบฏบวรเดช (ต้นฉบับ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

...................ฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

...................การยุทธครั้งนั้น ทรัพย์สินของชาติโดยเฉพาะกิจการรถไฟได้รับความเสียหายมาก เป็นภาระของกรมรถไฟหลวงต้องดำเนินการซ่อมบำรุงทั้งล้อเลื่อนและทางรถไฟให้เรียบร้อยใช้การได้ ในเวลาต่อมาจะเห็นได้ว่า รถไฟ มีภารกิจต่อประเทศชาติในภาวะปกติ โดยการรับใช้ประชาชนด้วยบริการโดยสารและการขนส่งสินค้าในฐานะรถไฟเป็นกิจการสาธารณูปโภค อีกทั้งในภาวะสงคราม " รถไฟ " ก็พร้อมที่จะเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับกองทัพแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการป้องกันประเทศเช่นเดียวกัน ภารกิจดังกล่าว คนรถไฟทุกคนตระหนักในความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงนี้ด้วยความภาคภูมิใจ นับแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน และแม้ในอนาคตข้างหน้าต่อไป.


Last edited by black_express on 14/02/2012 8:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
sittipon
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 16/08/2007
Posts: 32

PostPosted: 18/10/2007 9:24 am    Post subject: Reply with quote

รูปภาพคลาสสิคมากครับ
เนื้อเรื่องก็อ่านแล้วได้บรรยากาศเก่าๆ ดี เหมือนหนังไทยย้อนยุคดีครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2007 10:15 am    Post subject: Reply with quote

พี่ตึ๋ง ภาพเหล่านี้มีใน Collection ภาพถ่ายของ หอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วยครับ บางรูปก็ได้รับการตีพิมพ์ ในหนังสือ เกี่ยวกับการปราบกบฎบวรเดชซึ่งคุณเอนก นาวิกมูลได้นำเสนอมาแล้วนะครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
pitsanume
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/07/2006
Posts: 95
Location: แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

PostPosted: 18/10/2007 10:21 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟของเรานี้ อยู่คู่กับประเทศไทยในทุกเหตุการณืเลยนะครับ
เป็นความรู้ที่ดีครับ ขอขอบคุณในความรู่ที่ได้เพิ่มเติมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
TomThumb
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 14/01/2007
Posts: 29

PostPosted: 18/10/2007 11:17 am    Post subject: Reply with quote

ขอสดุดีและไว้อาลัยแด่วีรชนผู้สละชีวิตพิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย
เมื่อใดที่ผมเดินทางผ่านอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ณ วงเวียนหลักสี่ ที่บางเขน
ผมจะรู้สึกชื่นชมในวีรกรรมของทหารผู้กล้าในเหตุการณ์ครั้งนั้นเสมอ
Back to top
View user's profile Send private message
Guitar
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 11/10/2007
Posts: 1057
Location: บุรีรัมย์ - นครราชสีมา

PostPosted: 18/10/2007 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับ สนุกดี Arrow
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2007 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ยังไม่รวมกรณี รถไฟไทยต้องทำขบวนเข้ามลายูโดยไม่เปลี่ยนหัวที่ปาดังเบซาร์
รถไฟไทย เข้าไปทำงานตามคำสั่งกองทัพญี่ปุ่นตอนศึกยึดสิงคโปร์

รถไฟไทย ต้องคุมการเดินรถขนทหารญี่ปุ่นจากกรุงเทพ - ปาดังเบซาร์ วันละ 3 เที่ยวไป 3 เที่ยวกลับ แถมล่าช้ากว่ากำหนด 41 ชั่วโมง ไปตั้ง 10 ชั่วโมง จนโดนด่ากันกลางที่ประชุมร่วมพันธมิตรไทย - ญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ยังมีกรณีคนรถไฟโดนญี่ปุ่นซ้อมปางตาย เพราะทำงานงุ่มง่ามๆ สื่อกันไม่รู้เรื่อง แถมญี่ปุ่นชอบปีนระเบียบการบรรทุกและเดินรถ

อา ... ยังไม่รวมกรณี ถล่มสถานีชุมพร ถล่มมักกะสัน และ สะพานท้ง 3 ( ปรมินทร์ พระราม 6 และ สะพานท่าข้าม ที่บ้านดอน - สุราษฎร์ธานี )
Back to top
View user's profile Send private message
Paniti23
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 28/09/2007
Posts: 445
Location: พญาไท-ประสานมิตร-องครักษ์

PostPosted: 18/10/2007 10:26 pm    Post subject: อืม น่าสนใจ Reply with quote

พี่ๆ มีคนคนเข้ากล่าวกันว่า รถไฟไทย รัชกาลที่ 5 ของเรา สร้างรางรถไฟขึ้นมาเอาไว้ปราบ
กบฎ เป็นเรื่องจริงหรือไม่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©