View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 30/03/2006 3:55 pm Post subject: ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท(รถไฟกรมพระนรา) โดยเจฟฟ์ |
|
|
ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท(รถไฟกรมพระนรา)
รถไฟกรมพระนรา บางครั้งชาวบ้านก็เรียกว่า รถไฟกรมพระดารา หรือ
ทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท ได้ถือกำเนิดในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ ทรงได้รับสัมปทานกิจการรถไฟ
เส้นทางนี้ในปี พ.ศ. 2445 ในนามของ บริษัทท่าเรือจำกัด (โดยให้บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้
เป็นผู้ถือหุ้นหลัก) วิ่งโดยสารระหว่าง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา กับ อ.พระพุทธบาท
จ.สระบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร
ต่อมาภายหลังโอรสคนที่หนึ่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ คือ
หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ หรือชาวบ้านขนานพระนามท่านว่า เห่าหม้อ ซึ่งท่านก็
พอใจที่ชาวบ้านเรียกพระนามท่านเช่นนั้น เพราะเวลาท่านพูดจาสนุกๆสรวลเสเฮฮา
จบลงแต่ละประโยค ท่านจะต้องพูดลงท้ายว่า เห่าหม้อ ทุกครั้งไป
ถ้าหากว่าใครจะเรียกว่า รถไฟเล็ก ท่านมักจะมีอารมณ์นิดหน่อยแล้วตอบว่า
พ่อมึงแบกไหวเหรอ
ท่านได้ดำเนินกิจการรถไฟเล็กต่อจากพระราชบิดา โดยมีนายโชติ ยุวสูตร
เป็นผู้ดูแลกิจการแทนหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474
จากการสอบถามนายศิริ โพธิ์นิล และนายชิต ศิลารักษ์ ก่อนที่ท่านทั้งสองจะ
เสียชีวิต ทราบว่ารถไฟกรมพระนราใช้รางกว้างขนาด 60 ซม. (แต่ 75 ซม. ตาม
หลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติและซากทางที่โรงน้ำตาลวังกระพี้ซึ่งยกมาจาก
สายพระพุทธยาท) หัวรถจักรไอน้ำใช้ความเร็ว 20 กม.ต่อชั่วโมง หัวรถจักรดีเซล
ใช้ความเร็ว 30 กม.ต่อชั่วโมง
แต่ละขบวนที่มีพนักงาน 4 คน คือ พขร. 1 คน ช่างไฟ 1 คน (มีหน้าที่เติมน้ำ
และฟืน) พนักงานขายตั๋วและตรวจตั๋ว 2 คน (ตั๋วอ่อนแบบฉีก) การซื้อขายตั๋วจะมี
การขายตั๋วเฉพาะสถานีท่าเรือกับสถานีพระพุทธบาทเท่านั้น หากขึ้นลงระหว่าง
กลางทางก็ต้องซื้อตั๋วกันบนขบวนรถ
ส่วนสถานีระหว่างทางนั้น เป็นเพียงแค่จุดรับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น ไม่มี
นายสถานีและพนักงานประจำอยู่ ส่วนอัตราค่าโดยสารคิดเป็นช่วงๆ
ระยะแรกๆเก็บค่าโดยสารสถานีละ 5 สตางค์ เช่น
สถานีท่าเรือ สถานีบางโขมด เก็บ 5 สตางค์ (ซื้อหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ 1 ฉบับ)
สถานีท่าเรือ สถานีบ่อโศก(สร่างโศก) เก็บ 10 สตางค์
สถานีท่าเรือ สถานีหนองคณฑี เก็บ 15 สตางค์
สถานีท่าเรือ สถานีเขาเลี้ยว เก็บ 20 สตางค์
สถานีท่าเรือ สถานีเจ้าพ่อเขาตก เก็บ 25 สตางค์
สถานีท่าเรือ สถานีพระพุทธบาท เก็บ 30 สตางค์
และเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวาระค่าครองชีพ
ต่อมาภายในระยะหลังก่อนที่จะเลิกกิจการใน เดือนกรกฎาคม 2485
เก็บช่วงสถานีละ 25 สตางค์
รถไฟจะเติมน้ำเติมฟืน (เมื่อก่อนเรียกว่า ฟืนหลา เพราะฟืนจะมี
ความยาวประมาณ 1 หลาหรือ 90 ซ.ม.) ที่สถานีท่าเรือ สถานีเขาเลี้ยว สถานี
พระพุทธบาท จะมีที่เติมน้ำเติมฟืนอยู่
เมื่อรถไฟกลับถึงพระพุทธบาท ช่างไฟจะเตรียมฟืนใส่หัวรถจักร และ
รุมไฟให้ครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ราวๆเวลา 03:00 น.
ช่างไฟก็จะเริ่มใส่ฟืนเร่งโหมไฟ และเต็มน้ำให้เต็มเพื่อเตรียมขบวน
รถไฟให้พร้อมที่จะออกเดินทางจากสถานีพระพุทธบาทในเวลา 06:00 น.และ
ถึงสถานีท่าเรือในเวลา 07:00 น.
ส่วนขากลับช่วงเย็นจะออกจากสถานีท่าเรือเวลา 15:00 น. ไปค้างคืน
ที่สถานีพระพุทธบาท
ส่วนใหญ่จะวิ่งรับ-ส่งพ่อค้าแม่ค้าพืชไร่เช่น หน่อไม้ น้อยหน่า ขนุน เป็นต้น
หากว่าเป็นช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทกลางเดือน 3
และกลางเดือน 4 รถไฟจะวิ่งวันละ 3 4 ขบวนโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
เมื่อผู้โดยสารเต็มก็จะออกจากสถานี
รถไฟพระนราหรือรถไฟเล็ก มีสถานีทั้งหมด 7 สถานีคือ
1.สถานีท่าเรือ (อยู่ตรงข้ามกับธนาคารออมสินสาขาท่าเรือหลังเก่า ปัจจุบันเป็นบ้านพักของคุณชุมนุม)
2.สถานีบางโขมด
3.สถานีบ่อโศก(สร่างโศก)(ปัจจุบันยังมีร่องรอยของตัวสถานีให้เห็นอยู่)
4.สถานีหนองคณฑี
5.สถานีเขาเลี้ยว
6. สถานีเจ้าพ่อเขาตก และ
7. สถานีพระพุทธบาท (ปัจจุบันคือโรงเจฮกเอี๊ยง)
ซึ่งแต่ละสถานีจะมีทางแยกไว้รอหลีกทุกสถานี
ส่วนกลางทางจะมีทางแยกรอหลีก 1 แห่ง (ห่างจากสถานีท่าเรือประมาณ 2.5 กม.
ก่อนถึงสถานีบางโขมด)
ในแต่ละทางแยกรอหลีกนั้นไม่มีสัญญาณแจ้งว่าขบวนใดจะเข้าก่อนหลัง
พขร.จะใช้ประสบการณ์และความชำนาญของตัวเองเมื่อมองเห็นกันจะชลอความเร็ว
ขบวนใดใกล้กว่าก็จะเปิดโอกาสเข้ารอหลีกก่อน
ส่วนโบกี้เป็นโบกี้โดยสารธรรมดา หากผู้โดยสารเป็นบุคคลสำคัญจะใช้
โบกี้พิเศษ หน้าต่างกว้างชนิดเกือบจะเป็นข้างโล่งติดม่านสวยหรู ชายคาจะติด
ชายครุยและลูกตุ้มโดยรอบ เก้าอี้ผ้าผิวมันลายสวยงาม ทางเดินปูพรม
ส่วนหัวรถจักรและพนักงานขับรถ(พขร.) ในยุคหลังก่อนที่จะเลิกกิจการนั้น
โดยการสอบถามคุณลุงชิต ศิลารักษ์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ได้เล่าให้ฟังว่า
รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็ก จะใช้หัวรถจักรลากจูง 5 หัว คือ
1.นายชิต ศิลารักษ์ เป็นพขร.คนสุดท้าย เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติเยอรมันนี
(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2.นายจันทร์ เรืองศาสตร์ เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติฝรั่งเศส (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
3.นายจ้อน (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติอังกฤษ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
4.นายยา หรือผู้ใหญ่ยา แสงทองล้วน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
เป็นพนักงานขับรถจักรชื่อว่า นกเล็ก ซึ่งเป็นหัวรถจักร ที่ไม่ทราบ
สัญชาติที่แน่นอน เนื่องจากหัวรถจักรเล็กกว่าหัวรถจักรคันอื่นๆ เลยได้รับฉายาว่า นกเล็ก
5.หัวรถจักรดีเซล ไม่มีพนักงานขับประจำที่แน่นอน ที่เรียกว่า หัวรถจักรดีเซล
ก็เพราะว่าใช้รถไถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล ยกขึ้นขบวนรถแล้วใช้โซ่ลากโบกี้โดยสาร
พอถึงฤดูทำนา หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ท่านทรงสั่งให้ยกลงไปไถนา
และแล้วกิจการรถไฟกรมพระนรา หรือรถไฟเล็ก ก็ได้เลิกกิจการทั้งหมด
ในปี พ.ศ.2490 (จริงๆ ได้ทำเรื่องขอเลิกการเดินรถโดยอนุมัติ โดยกระทรวงคมนาคม
มาแต่ 16 กรกฎาคม 2485 แต่กว่า บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นเจ้าของ
โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ และ โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีจะชำระเงินค่ารางและหัวรถจักร
ก็ต่อเมือสิ้นสงครามไปแล้ว) โดยหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ได้ขายหัวรถจักรทั้งหมด
ให้โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ จ.อุตรดิตถ์ และโรงงานน้ำตาลที่อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และ
ขายเส้นทางให้กับกรมทางหลวงในราคา 5 แสนบาท
รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็กสายท่าเรือ พระพุทธบาท
จึงเหลือไว้เพียงแต่ความทรงจำของคนรุ่นเก่าๆเท่านั้น ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว
ก็คือถนนของกรมทางหลวงหมายเลข 3022 สายอ.ท่าเรือ อ.พระพุทธบาทนั้นเอง |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 30/03/2006 3:57 pm Post subject: |
|
|
นาย Railwaythai พูด:
คำพูด:
Quote: | พี่วิศรุตอยากรู้ทำไมรถสายที่กล่าวมาเขายกเลิกจากสาเหตุใด
ช่วยลองเล่าอธิบายหน่อยนะเฮยผมอ่าน ส.พลายน้อยไม่มีประวัติการยกเลิกของมัน |
รถไฟเล็กสายพระพุทธบาทนี้ตอนแรกได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ เมือ่ปี 2445
และได้รับการจัดชั้นเป็น รถราง โดยเปิดให้บริการปี 2449
อย่างไรก็ตามแม้พยายามปรับปรุงสักเพียงใดแต่บริการยังไม่น่าพอใจเพราะ
มีการพลิกคว่ำ หรอืไม่ก็รถขัดข้องกลางทางบ่อยๆ แม้แต่การเดินทางเที่ยวแรกปี 2449
ที่ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดเส้นทางก็เกิดการหยุดกลางทาง 2-3 ครั้ง ที่สุด
ก็ต้องหยุดให้บริการชั่วคราวปี 2472 และมาทำสัญญาใหม่กะกรมรถไฟหลวงปี 2474
อันที่จริง รถไฟสายนี้เคยถูกยกเลิกการเดินรถไปครั้งหนึ่งเมื่อราวๆ
ปี 2471 - 2472 ฐานเดินรถไม่ได้มาตรฐาน แถมยังเกิดการขาดทุนอยู่หลายปี ติดๆ กัน
จน สมเด็จในกรมต้องแก้ปัญหาโดยการให้ หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ โอรสใน
กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ทำ สัญญาสัมปทานใหม่ กับกรมรถไฟหลวง เมือ่ปี 2474
อย่างไรก็ตาม ดูเมหือนว่ากิจการยังทรงๆ พอ ถนนพหลโยธินไปถึงเมื่องลพบุรี
โดยผ่าน อำเภอพระพุทธูบาท เมื่อปี 2483 ก็ยิ่งขาดทุนหนัก จนอยู่ไม่ได้ ต้องขายกิจการ
ให้บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย (โรงงงานน้ำตาลวังกะพี้ โรงงานน้ำตาล เกาะ คา โรงงานน้ำตาล กุมภวาปี) เมื่อ 16 กรกฎาคม 2485 แต่มาจ่ายเงิน 5แสนบาทกันเมื่อปี 2490 เพราะตอนนั้น ทางรถไฟดังกล่าวโดนนำไปใช้ในการสร้างพุทธบุรีมณฑลตามคำสั่งของท่านผู้นำ
ข้อมูลเหล่านี้ก็ได้จากทั้งนายเจฟฟ์ และ ข้อมูลในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ทั้งนั้น |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 30/03/2006 4:02 pm Post subject: |
|
|
คุณ kpsansc ,
ขอยืนยันว่ารถไฟสายพระพุทธบาทใช้ราง 75 ซม. จริงๆ จากข้อมูลของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ แต่ ครฟ. ดูท่าจะสันหลังยาสว เลยเหมาว่ารางอะไรก็ตามที่แคบกว่า 1 เมตร ให้ถือว่าเป็นราง
60 ซม. ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเป็นราง 75 ซม.
เจฟฟ์พูด:
Quote: | ทางรถไฟเข้าโรงปูนซีเมนต์ บ้านหมอ-ท่าลาน เลิกใช้มาหลายปีแล้วครับ ตอนนี้มีแต่ต้นไม้ขึ้นเต็มไปหมด เสียดายไม่มีกล้องไม่งั้นถ่ายรูปมาให้ดูด้วยครับ |
คุณ เหยี่ยวดำพูด:
Quote: | ทางรถไฟสายบ้านหมอ-ท่าลาน กับ บ้านหมอ-ท่าหลวงเนี่ยมันเส้นเดียวกันรึเปล่าครับผมงง เพราะตอนผมนั่งรถผ่านครั้งล่าสุดเนี่ย(ปลายปี45)เห็นเขาปรับปรุงทางสายบ้านหมอ-ท่าหลวงใหม่เอี่ยม โรยหินขาวจั๊วะ น่ารับประทาน เอ๊ยไม่ใช่!
น่าถ่ายภาพเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับ  |
ป๋านัฐพูด:
Quote: | สงสัยน่ามีรายการย้อนรอย เส้นทางสายนี้อีกสักเส้นดีไหมหว่า ???
จากท่าเรือ ปัจจุบันเริ่มเส้นทางน่าจะอยู่ตรงหนาย ที่พระบาทปลายรางอยู่ตรงหนาย
อย่างน้อยก้อไปไหว้พระบาทเคาะระฆังเป็นมงคลชีวิต
น่าจะดีเนอะ ก่อนหน้าฝนจะมาจะไปมาลำบากอะ จริงไหมเจฟ ??? |
ป๋านัฐ, คุณเหยี่ยวดำ,
เอาแผนที่ทางไปโรงปูนซีเมนต์ไทยที่ท่าหลวง และ ทางแยกไปท่าลานได้ที่นี่ครับ
(แต่อย่างมีมหกรรมเผาตลาดบ้านหมอ เมื่อ 3 เมษายน 2522 เหมือนที่คุณปู่ 4010
เคยทำไว้หนะ )
 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 06/06/2012 1:47 am Post subject: |
|
|
ในที่สุด ผมก็งมเจอแผนที่ทางรถไฟสาย ท่าเรือ - พระพุทธบาท ปี 2474 จนได้ ดูได้ที่นี่ครับ
 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48287
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/06/2012 5:54 am Post subject: |
|
|
ภาพเล็กไปนิดครับ มีเลข กม.และบัญชีสถานีไหมครับ  |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 06/06/2012 10:27 am Post subject: |
|
|
^^^
งั้น ผมจะส่ง ไฟล์ที่สแกน high resolution ไปให้แทนนะครับ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48287
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/06/2012 3:39 pm Post subject: |
|
|
ได้รับเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมาก ๆ ครับ
เพิ่งทราบว่าทางรถไฟสายพระพุทธบาท มีทางแยกเข้าภูเขาด้วย
แปลกใจว่าพิกัด กม. เหตุใดจึงเลิกเขียนเอากลางคัน ไปแค่ กม. 14
หรือไม่ได้รังวัดก็ไม่ทราบนะครับ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 25/05/2018 12:14 am Post subject: |
|
|
^
กรณีภาพสถานีรถไฟสายพระพุทธบาท จาก facebook ของคุณ Pichet Chamneam ยังมีข้อสงสัยบางประการอยู่ครับ เพราะตัวหนังสือที่พิมพ์อยู่ในภาพระบุว่า "สถานี รถไฟสายพระพุทธบาท" ซึ่งถ้าตีความข้อความนี้แล้วอาจไม่จำเป็นที่จะต้องหมายถึงสถานีพระพุทธบาทก็ได้ เพราะถ้าเป็นสถานีพระพุทธบาทแล้วรูปแบบแนวหลังคาอาคารเมื่อเทียบกับแนวเส้นทางรถไฟดูจะขัดแย้งกับภาพสถานีพระพุทธบาทที่ อ.เอกพบในภาพถ่ายทางอากาศของคุณ Peter Williams-Hunt เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2489 ภาพนี้ครับ
สังเกตว่าสถานีรถไฟพระพุทธบาทที่ อ.เอก วิเคราะห์ได้จากภาพถ่ายของคุณ Peter Williams-Hunt มีแนวสันหลังคาตามยาวเป็นแนวเดียวกับทางรถไฟ ในขณะที่ภาพจากหนังสือ "สยามเก่า เล่าใหม่"โดย ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ นั้น อาคารในภาพมีแนวสันหลังคาขวางตั้งฉากกับทางรถไฟ เลยคิดว่าถ้าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟสายพระพุทธบาทจริง ก็น่าจะเป็นสถานีอื่นที่ไม่ใช่สถานีพระพุทธบาทหรือเปล่า  |
|
Back to top |
|
 |
|