RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312054
ทั่วไป:13646351
ทั้งหมด:13958405
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - นิราศรับพัชนิ์ : มองสถานีรถไฟผ่านวรรณกรรม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

นิราศรับพัชนิ์ : มองสถานีรถไฟผ่านวรรณกรรม
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47276
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2008 10:27 am    Post subject: นิราศรับพัชนิ์ : มองสถานีรถไฟผ่านวรรณกรรม Reply with quote

นิราศรับพัชนิ์ ของ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู)
วัดจะทิ้งพระ เรียบเรียงสมัยรัชกาลที่ 6
ประมาณปี พุทธศักราช 2464 บอกสภาพบ้านเมือง
สมัยก่อนจากการเดินทางที่สถานีรถไฟสงขลา ถึง
สถานีรถไฟบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/prakruchu.pdf

ถ้าท่านสมาชิกมีเวลา ลองเข้าไปอ่านดูกันสิครับว่าสถานีสมัยนั้น มีกี่สถานีครับ

ที่มาของข้อมูลครับ อยู่ในบรรณานุกรมหน้าหลังๆ ครับ
http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/vnr.pdf


Last edited by Mongwin on 11/04/2008 4:55 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2008 10:48 pm    Post subject: Reply with quote

นิราศนี้คู่กับกาพย์รถไฟหลวง ของพระครูอุบาลีฯ ได้ นิพนธ์ไว้ ซึ่งคุณเอนก นาวิกมูลได้ถอดความ ไว้ น่าอ่านมาก .... ดังนั้น คงต้อง ให้ คุณเอนก นาวิกมูล ถอดความนิราศรับพัชนิ์ ของ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) เสียแล้วหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47276
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2008 9:39 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับคุณวิศรุตสำหรับคอมเมนต์

ผมชอบท่อนที่บรรยายถึงราคาตั๋วรถไฟสงขลา-บางกอกน้อย สมัย พ.ศ. 2464
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดีเลยครับ ว่าค่าตั๋ว 3 คนรวมกัน (พระ 2 รูป ฆราวาส 1 คน) 70 บาท Shocked

นอกจากนี้ยังพูดถึงสถานีรถไฟน้ำกระจาย ควนหิน น้ำน้อย และชุมทางอู่ตะเภา เป็น 4 แยก ไปทุ่งสง ปัตตานี ไทรบุรี และสงขลาด้วย

สถานีควนหิน เป็นที่ขนส่งสินค้า (หมูเป็น) ทางรถไฟด้วยนะครับ สมัยนั้น

ตอนนี้ใครหาซากสถานีควนหินเจอบ้างครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2008 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ขอบคุณครับคุณวิศรุตสำหรับคอมเมนต์

ผมชอบท่อนที่บรรยายถึงราคาตั๋วรถไฟสงขลา-บางกอกน้อย สมัย พ.ศ. 2464
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดีเลยครับ ว่าค่าตั๋ว 3 คนรวมกัน (พระ 2 รูป ฆราวาส 1 คน) 70 บาท Shocked

นอกจากนี้ยังพูดถึงสถานีรถไฟน้ำกระจาย ควนหิน น้ำน้อย และชุมทางอู่ตะเภา เป็น 4 แยก ไปทุ่งสง ปัตตานี ไทรบุรี และสงขลาด้วย

สถานีควนหิน เป็นที่ขนส่งสินค้า (หมูเป็น) ทางรถไฟด้วยนะครับ สมัยนั้น

ตอนนี้ใครหาซากสถานีควนหินเจอบ้างครับ


70 บาทหนะ เท่ากับเงินเดือนเสมียน 3 เดือนครึ่งเทียวนะ (เสมียนเงินเดือน 20 บาท) ... เกือบเท่าเงินเดือนนายร้อยจบใหม่ (เดือนละ 80 บาท) ก็ด้วย

ค่าบ้านพักรถไฟ ที่ชุมพร และ ที่ ทุ่งสง คิด คืนละ 4 บาท (เงืนเดือนครูประชาบาล และ พลทหาร) เอง

ส่วนโผบัญชีสถานีจากบางกอกน้อยไปสงขลา และ สายใต้ทั้งมวล ปี 2464 จะนำเสนอให้ในภายหลัง ...


Last edited by Wisarut on 08/01/2008 12:11 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 07/01/2008 10:40 am    Post subject: Reply with quote

ดีจริงๆ ครับ ศึกษาประวัติสตร์การรถไฟผ่านวรรณกรรมนิราศ น่าสนดีครับ
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2008 9:13 am    Post subject: โผบัญชีทางสายใต้ บางกอกน้อย - ปาดังเบซาร์ 2464 Reply with quote

ชื่อสถานี ระยะทางจากบางกอกน้อย (กม.) ความสำคัญ หมายเหตุ
บางกอกน้อย 0.000 ต้นทางรถไฟสายใต้ เปลี่ยนเป็นธนบุรี 1 มกราคม 2486ยุบ เมื่อ 4 ตุลาคม 2546 แล้ว ย้ายไปที่เหนือขึ้นไป 870 เมตร
ตลิ่งชัน 4.300 สถานีชานเมือง ปัจจุบันคือที่หยุดรถบางระมาด
บ้านฉิมพลี 8.640 สถานีชานเมือง ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
ศาลาทำศพ 14.050 สถานีชานเมือง ปัจจุบันคือสถานีศาลาธรรมสพน์
ศาลายา 19.050 สถานีชานเมืองรอยต่อแดนระหว่างธนบุรีกับนครปฐม ปัจจุบันเป็นสถานีชั้น 2 เพราะรถจาก หัวลำโพงและบางกอกน้อยต้องจอด
วัดสุวรรณาราม 23.450 สถานีชานเมือง ปัจจุบันคือสถานีวัดสุวรรณ
คลองมหาสวัสดิ์ 27.050 สถานีชานเมืองติดคลองมหาสวัสดิ์ ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
วัดงิ้วราย 30.470 สถานีชานเมืองติดวัดงิ้วรายและวัดไร่ขิง
บ้านเขมร 35.130 จุดลงเรือ ไป สุพรรณบุรี ปัจจุบันคือสถานีนครชัยศรี
บ้านท่าแฉลบ 40.020 ปัจจุบันคือสถานีท่าแฉลบ
ต้นสำโรง 44.300 ใกล้กรมทหารบกราบ 14 ปัจจุบันกรมการสัตว์ทหารบกเข้ามาประจำการแทน
นครปฐม 48.120 สถานีสำคัญในตัวเมืองนครปฐม
สนามจันทร์ 49.890 สถานีสำหรับในหลวง ยุบไปตั้งแต่ปี 2479 เปิดใหม่เป็นที่หยุดรถ
โพรงมะเดื่อ 55.360
คลองบางตาล 58.970 จุดรับน้ำ รอยต่อแดนระหว่างนครปฐมกับ ราชบุรี
หนองปลาดุก 64.020 เป็นชุมทางเพราะทางรถไฟสายมรณะ
บ้านโป่ง 68.230 จุดลงรถไปเมืองกาญจนบุรี
นครชุมน์ 73.490
คลองตาคด 77.300
โพธาราม 81.800
บ้านเจ็ดเสมียน 88.890 ปัจจุบันคือสถานีเจ็ดเสมียน
บ้านกล้วย 94.640
ราชบุรี 101.250 สถานีสำคัญจุดรับน้ำและฟืน มีท่าเรือและวงเวียนกลับรถจักร มีถนนไปท่าน้ำเชิงสะพานราชบุรีไปกาญจนบุรี และ สมุทรสงคราม
บ้านคูบัว 105.450
บ่อตะคร้อ 112.200
บ้านปากธ่อ 118.610 ปัจจุบันคือสถานีปากท่อ
เขาเหลา 121.000
คลองประดู่ 127.160 ปัจจุบันคือสถานีบางเค็ม
บ้านน้อย 133.900 รอยต่อแดนระหว่างราชบุรีกับเพชรบุรี ปัจจุบันคือสถานีเขาย้อย
หนองปลาไหล 139.220
บางจาก 143.900
เพ็ชรบูรี 150.490 สถานีสำคัญจุดรับน้ำฟืนและวงเวียนกลับรถจักร ปัจจุบันสะกดว่าสถานีเพชรบุรี
ห้วยเสือ 158.180
เขาทะโมน 160.310
หนองไม้เหลือง 164.210
หนองจอก 169.900
หนองศาลา 175.400
หนองตาพด 182.550
บ้านชะอำ 187.060 จุดลงรถไปหาดชะอำที่กรมหมื่นนราธิปฯได้พัฒนาขึ้น
บางควาย 197.860 ปัจจุบันคือสถานีห้วยทรายเหนือแต่ปี 2465
ห้วยทราย 201.640 ไปพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ปัจจุบันคือสถานีห้วยทรายใต้แต่ปี 2465
บ่อฝ้าย 207.060 เริ่มเขตเทศบาลหัวหิน
หัวหิน 212.950 จุดลงรถไปหาดหัวหินที่กรมรถไฟได้พัฒนาขึ้น สถานีชั้น 1
หนองแก 216.960
เขาเต่า 225.400 สุดเขตเทศบาลหัวหิน
วังก์พง 232.920 มีโรงรถจักร และวงเวียนกลับรถจักร จุดเติมน้ำและฟืน จุดลงรถไปศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์
ปราณ 235.850 สถานีในเขตเทศบาลปราณบุรี ปัจจุบันคือสถานีปราณบุรี
ห้วยขวาง 241.920
หนองคาง 246.940
สามร้อยยอด 254.990
สัมปะทาย 261.330 ปัจจุบันคือสถานีสังกะทาย
กุย 271.330 ปัจจุบันคือสถานีกุยบุรี
บ่อนอก 278.850
ทุ่งมะเม่า 289.020
คั่นกระได 294.760 จุดเติมน้ำตั้งแต่ปี 2469 เพราะ ประจวบคีรีขันธ์น้ำเริ่มกร่อยเกินนำมาใช้เติมรถจักรได้
ประจวบคีรีขันธ์ 302.340 จุดเติมน้ำถึงปี2469 แต่ก่อนเรียกว่าสถานีเกาะหลัก
หนองหิน 310.370
วังก์ด้วน 318.400 จุดแคบสุดสยามอยู่แถวสถานีนี้ ปัจจุบันสะกดว่าสถานีวังด้วน
ห้วยยาง 329.080
ทุ่งประดู่ 338.610
ทับสะแก 342.170
บ้านดอนทราย 347.000 ปัจจุบันคือสถานีดอนทราย
โคกตาหอม 353.010
บ้านกรุด 360.540 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีบ้านกรูด
นาผักขวง 371.040
บางสะพานใหญ่ 376.530
บ้านชะมวง 385.960 ปัจจุบันคือสถานีชะม่วง
บางสะพานน้อย 392.670
ห้วยสัก 399.910 รอยต่อแดนประจวบคีรีขันธ์กับชุมพร
มาปริด 420.600 จุดที่รถสายใต้ติดขัดที่สุด ปัจจุบันคือสถานีมาบอำมฤต แต่ปี 2465
บางสน 439.340 ปัจจุบันคือสถานีปะทิว
สะพลี 463.200
นาชะอัง 463.200
ชุมพร 468.530 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำ ฟื้น และ น้ำมัน มีโรงรถจักรและวงเวียนกลับรถจักร เคยมีโรงแรมสำหรับผู้เดินทางรถรวม เพราะ รถธรรมดาไม่เดินตอนกลางคืน
บ้านแสงแดด 472.550 ปัจจุบันคือสถานีแสงแดด
ทุ่งคา 480.910
วิไสย 489.970 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีวิสัย
สวี 500.770
เขาปีบ 511.320
ตะโก 516.810 ปัจจุบันคือสถานีปากตะโก
ควนหินมุ้ย 526.100
หลังสวน 533.300 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำ และ ฟืน
บ้านคลองขนาน 541.030 ปัจจุบันคือสถานีคลองขนาน
ละแม 553.000
คันธุลี 566.390 มีน้ำแร่ แต่ก่อน เคยคิดตั้งโรงซ่อมรถจักรที่นี่เมื่อปี 2459 แต่ต้องเลิกเพราะผลจากการรวมรถไฟสายเหนือสายใต้ปี 2460 รอยต่อแดนชุมพรกับสุราษฏร์ธานี
ดอนธูป 570.060 แต่ก่อนเรียกว่าสถานีควนธูป
หนองหวาย 577.790 ปัจจุบันคือสถานีท่าชนะ
เขาพนมแบก 588.400
ไชยา 597.710
ท่าฉาง 610.550 เปลี่ยนเป็นสถานีเขาถ่านปี 2465 แล้วกลับเป็นสถานีท่าฉาง ตั้งแต่ 2484
บ้านคลองขุด 614.000 ปัจจุบันคือสถานีคลองขุด
ท่าเคย 618.870 ปัจจุบันคือสถานีคลองไทร
บ้านหัวเตย 625.930
สุราษฏร์ธานี 635.100 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำและ ฟืน มีรถเมล์ไปตัวเมืองสุราษฏร์ธานีที่บ้านดอน แต่ก่อนเรียกว่าสถานีท่าข้าม
เขาหัวควาย 641.150
เขาพลู 652.460
บ้านนา 662.340
บ้านนาสาน 673.690 ปัจจุบันคือสถานีนาสาร
คลองปราบ 679.900 ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
บ้านส้อง 692.730 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำและ ฟืน ที่ขนยิบซั่ม ไปขายโรงปูนที่มลายู รอยต่อแดนระหว่างสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช
กะเบียด 709.870 ปัจจุบันคือสถานีกระเบียด
บ้านทานพอ 722.410 ปัจจุบันคือสถานีทานพอ
ฉวาง 722.410
คลองจันดี 728.010 จุดลงรถไปลานสะกา และ นครศรีธรรมราชถ้าไม่ได้ขึ้นรถขบวนไปนครศรีธรรมราช
คลองกุย 738.900
คลองจัง 747.030
ชุมทางทุ่งสง 757.110 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำ ฟืน น้ำมัน มีโรงรถจักรและวงเวียนกลับรถจักร เคยมีโรงแรมสำหรับผู้เดินทางรถรวม เพราะ รถธรรมดาไม่เดินตอนกลางคืน
ช่องเขา 767.720
ร่อนพิบูลย์ 776.330
เขาชุมทอง 781.010 จุดลงรถเพื่อเข้าทางแยกไปนครศรีธรรมราช เคยมีที่เติมน้ำ
บ้านตูน 794.940 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีบ้านตูล
ท่าเสม็ด 806.070 จุดลงเรือไปปากพนัง ตามลำแม่น้ำปากพนัง ปัจจุบันคือสถานีชะอวด
บ้านนางหลง 813.470
บ้านแหลมตะโหนด 824.060 รอยต่อแดนระหว่างนครศรีธรรมราช พัทลุง ปัจจุบันคือสถานีแหลมโตนด
ปากคลอง 833.110 จุดลงรถไปควนขนุนและวัดเขาอ้อ
บ้านมะกอกใต้ 837.060 ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
พัทลุง 846.000 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำ ฟืน มีโรงสินค้า มีถนนเพชรเกษมที่ไปเมืองตรังผ่านเขาพับผ้าได้
บ้านควนยาง 857.690 เลิกไปแล้ว เพราะมีสถานีบ้านต้นโดนที่กม. 856.280 มาแทน
เขาไชยสน 864.530 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีเขาชัยสน
บางแก้ว 870.170
หารเทา 888.680 จุดลงรถไปปากพะยูน
หนองจีน 896.240 ปัจจุบันคือสถานีโคกทราย
ควนเนียง 902.970 จุดลงรถไฟสตูล รอยต่อแดนระหว่างพัทลุง สงขลา
บางกล่ำ 917.020
บ้านดินลาน 922.050
อู่ตะเภา 925.800 แต่ก่อนเคยเป็นชุมทางสำคัญ เลิกไปเมื่อ 1 กันยายน 2529
ชุมทางหาดใหญ่ 928.580 ชุมทางสำคัญที่มาแทนที่อู่ตะเภามีโรงรถจักร และ วงเวียนกลับรถจักร จุดเติมน้ำฟืน น้ำมัน
บ้านพรุ 934.680
ศาลาทุ่งลุ่ง 945.150
คลองแงะ 952.490 สถานีที่เหลือรอดหลังการยกเลิกรถรวมข้ามแดน
คลองรำ 961.140
ปาดังเบซาร์ 973.840 สถานีสำคัญมีโรงรถจักร และ วงเวียนกลับรถจักร จุดเติมน้ำฟืน น้ำมัน สถานีชายแดนอยู่ฝั่งมลายู ห่างจากเขตแดนไปทางใต้ 300 เมตร


Last edited by Wisarut on 08/01/2008 12:10 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2008 9:13 am    Post subject: Reply with quote

สายสงขลา – หาดใหญ่ – อู่ตะเภา - สงขลา
ชื่อสถานี ระยะทางจากบางกอกน้อย (กม.) ความสำคัญ หมายเหตุ
ชุมทางหาดใหญ่ 928.580 ชุมทางสำคัญที่มาแทนที่อู่ตะเภามีโรงรถจักร และ วงเวียนกลับรถจักร จุดเติมน้ำฟืน น้ำมัน
อู่ตะเภา 925.800 แต่ก่อนเคยเป็นชุมทางสำคัญ เลิกไปเมื่อ 1 กันยายน 2529
น้ำน้อย 939.830 มีสะพานข้ามใคลองน้ำน้อย เลิกไป เมื่อ 1 กรกฎาคม 2521
ควนหิน 944.450 จุดรับขนส่งหมูขึ้นรถไฟ เลิกไป เมื่อ 1 กรกฎาคม 2521
น้ำกระจาย 948.530 เลิกไป เมื่อ 1 กรกฎาคม 2521
สงขลา 958.040 ปลายราง มีแยกไปท่าเรือรับสินค้าที่ทะเลสาบสงขลา เคยมีโรงแรมใกล้ตำหนักเขาน้อย เลิกไป เมื่อ 1 กรกฎาคม 2521
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2008 9:14 am    Post subject: Reply with quote

สายกันตัง ชุมทางทุ่งสง - กันตัง
ชื่อสถานี ระยะทางจากบางกอกน้อย (กม.) ความสำคัญ หมายเหตุ
ชุมทางทุ่งสง 757.110 สถานีสำคัญ จุดเติมน้ำ ฟืน น้ำมัน มีโรงรถจักรและวงเวียนกลับรถจักร เคยมีโรงแรมสำหรับผู้เดินทางรถรวม เพราะ รถธรรมดาไม่เดินตอนกลางคืน
ที่วัง 766.490
กะปาง 776.320 รอยต่อแดนนครศรีธรรมราช – ตรัง ที่อำเภอรัษฎา ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
คลองมวน 789.520
ยางยวน 796.070
ห้วยยอด 800.820 จุดเติมน้ำ
ลำภูรา 814.520
คลองเต็ง 819.870
ตรัง 829.280 สถานีประจำจังหวัด แต่ก่อนเรียกว่าสถานีทับเที่ยง
นาป้อ 832.670
พรุใหญ่ 837.770
ป่าเตียว 846.110
กันตัง 850.090 ปลายราง ราง มีแยกไปท่าเรือรับคนและสินค้า ที่ปากน้ำกันตัง จุดเติมน้ำ ฟืน เคยมีโรงรถจักรและ มี วงเวียนกลับรถจักร แต่ก่อนเรียกว่าสถานีตรัง

สายนครศรีธรรมราช – เขาชุมทอง - นครศรีธรรมราช
ชื่อสถานี ระยะทางจากบางกอกน้อย (กม.) ความสำคัญ หมายเหตุ
เขาชุมทอง 781.010 จุดลงรถเพื่อเข้าทางแยกไปนครศรีธรรมราช เคยมีที่เติมน้ำ
บ้านทุ่งหล่อ 790.070
โคกคราม 794.670
บ้านท่าช้าง 803.930 ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
วังวัว 806.350 ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
มะม่วงสองต้น 810.880 ปัจจุบันโดนยุบเป็นที่หยุดรถ
นครศรีธรรมราช 815.950 ปลายทาง มีจุดเติมน้ำ และ ฟืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43980
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2008 9:15 am    Post subject: โผบัญชีเสนทางสายปัตตานี (หาดใหญ่ - สุไหงโกลก) Reply with quote

สาย ปัตตานี – หาดใหญ่ – สุไหงโกลก
ชื่อสถานี ระยะทางจากบางกอกน้อย (กม.) ความสำคัญ หมายเหตุ
ชุมทางหาดใหญ่ 928.580 ชุมทางสำคัญที่มาแทนที่อู่ตะเภามีโรงรถจักร และ วงเวียนกลับรถจักร จุดเติมน้ำฟืน น้ำมัน
คลองเรียน 931.050
นาม่วง 940.260 ทางลงรถไฟอำเภอนาหม่อม
วัดควนมีด 953.710
จะโหนง 964.500 ปัจจุบันคือสถานีจะนะ
เกาะสะบ้า 980.790
เทพา 991.990 จุดเติมน้ำ รอยต่อแดนสงขลา – ปัตตานี
โคกโพธิ์ 1009.210 จุดลงรถไปตัวเมืองปัตตานี
นาประดู่ 1016.730
คลองทราย 1026.070 รอยต่อแดนปัตตานี – ยะลา
ยะลา 1038.690 จุดเติมน้ำและฟืน
ไม้แก่น 1048.700
กาบู 1056.900 ปัจจุบันคือสถานีรามัน
บาลอ 1061.680 รอยต่อแดนยะลา – นราธิวาส
รือเซาะ 1071.190 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีรือเสาะ
ลาโล๊ะ 1081.770 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีลาโละ
มะรือโบ 1089.460 จุดเติมน้ำ
ตันหยงมัส 1099.530 จุดลงรถไป อำเภอระแงะ (นราธิวาสเดิม) และ บางนรา (นราธิวาสใหม่)
บูกิ๊ต 1115.810 ปัจจุบันสะกดว่าสถานีบูกิต
โต๊ะเด็ง 1125.600
สุไหงปาดี 1130.100
สุไหงโกโล๊ค 1143.990 จุดเติมน้ำและฟืน สถานีชายแดนห่างจากเขตแดนทางเหนือ 1.3 กม. ปัจจุบันสะกดว่าสถานีสุไหงโกลก


Last edited by Wisarut on 08/01/2008 12:15 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47276
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2008 9:30 am    Post subject: Reply with quote

Shocked

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์

อย่างนี้แสดงว่า ชื่อสถานีที่ไม่ปรากฏในนิราศรับพัชนิ์ (2464) เป็นสถานีที่ตั้งขึ้นในสมัยหลังนะครับ

นอกจากนี้ในโผของคุณ Wisarut ไม่มีสถานีท่าแมงลัก กับสถานีป่าไร่ ก็แสดงว่าตั้งขึ้นทีหลัง ถูกหรือเปล่าครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©