View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
puggi
3rd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 119
|
Posted: 07/07/2008 4:20 pm Post subject: หรือว่าเค้าจะมีโครงการเชื่อมหัวลำโพง กับ สถานีวงเวียนใหญ่ |
|
|
Quote: | ต้นทุนพุ่งเฉียด2หมื่นล้าน 4สะพานข้ามเจ้าพระยา
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ 4 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร มูลค่า 11,000 ล้านบาท ที่ประกอบด้วย 1. สะพานบริเวณเกียกกาย 2. สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าน้ำราชวงศ์-ท่าดินแดง 3. สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนลาดหญ้า -ถนนมหาพฤฒาราม และ 4. สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนจันทร์ -ถนนเจริญนคร ซึ่ง กทม. มีแผนก่อสร้าง เพื่อทะลวงปัญหาจราจร ในเมืองให้เชื่อมทะลุถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
ความคืบหน้าล่าสุด !! อยู่ระหว่างจัดทำร่างทีโออาร์ หรือ เงื่อนไขคุณสมบัติเบื้องต้นที่จะสรรหา บริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเป็นไปได้ ว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่ หากมีการลงทุน และแนวสายทางที่เหมาะสมควรจะเป็นตำแหน่งไหน โดยใช้งบประมาณศึกษา โครงการละ 40 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดขายซองในเร็วๆนี้
คาดว่า บริษัทที่ปรึกษาสนใจ ไม่ต่ำกว่า 10-20 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับหลายโครงการที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคม 2551 นี้จะคัดเลือก ว่า แต่ละรายมีคุณสมบัติ ตามที่โออาร์กำหนดหรือ ไม่เช่น เคยศึกษาโครงการขนาดใหญ่ ประเภทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน หรือ โครงการขนาดใกล้เคียงกันในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ต่อจากนั้น จะคัดให้เหลือเพียง 1รายต่อ 1โครงการ ส่วนจะมีการล็อกสเปกเอื้อต่อบริษัทรายใหญ่หรือไม่ต้องคอยติดตามกัน !! แต่ที่แน่ๆกทม.ยืนยันว่า ไม่มีแน่นอน และราวเดือนตุลาคม จะได้บริษัทที่ปรึกษา โดยใช้เวลาศึกษา 1 ปี ซึ่งจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2552 ต่อจากนั้นจึงจะเสนอของบประมาณก่อสร้างต่อผู้บริหารกทม.ซึ่งจะเป็นงบประมาณปี 2553 (ตุลาคม 2552-กันยายน 2553)
อย่างไรก็ดี มองดูแล้ว มรสุมของ 4 สะพานยักษ์ นี้ มีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติน้ำมัน เหล็ก เงินเฟ้อพุ่ง แน่นอนว่า ค่าก่อสร้างจะสูงปรี๊ดเกือบ 20,000 ล้านบาททีเดียว เพราะ ปัจจุบันต้นทุนเพิ่มเฉลี่ย 15-20 % แต่กว่าจะถึงคิวก่อสร้างหากน้ำมันวัสดุทะยานไม่หยุด งบบานปลายแน่ เพราะ ต้องปรับราคาต้นทุนกันใหม่ และเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน ตรงนี้แหละคือด่านใหญ่ เพราะที่ดินริมน้ำกลางกรุงราคาไม่ธรรมดา !!
ในทางกลับกัน 4 สะพานนี้ มีความจำเป็น เพราะ การจราจรติดขัดยุ่งเหยิง หากมีการก่อสร้าง จะช่วยให้การเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑล สะดวกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเกิดศักยภาพ ของการลงทุนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ที่จะใช้เป็นจุดขายโครงการ ส่วนราคาที่ดิน จะขยับตัวขึ้นแน่นอนไม่ต่ำกว่า 2-3เท่าตัว ยกตัวอย่างบริเวณจรัญสนิทวงศ์ และ ตลิ่งชัน เฉลี่ยราคาที่ดินในซอย 20,000-30,000 บาท/ตารางวา จะขยับขึ้นเป็น 60,000-70,000บาทต่อตารางวา และราคา 10,000-20,000 บาท/ตารางวา จะขยับเป็น 40,000-50,000 บาท/ตารางวา เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดคร่าวๆ ของ 4 สะพาน แยกเป็น โครงการ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย ขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 4,400 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 2,400 ล้านบาท โดยจุดเริ่มต้นโครงการจะอยู่บริเวณ ทางแยกเกียกกายตามแนวถนนทหาร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปลงบริเวณฝั่งธนบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ข้างโรงพยาบาลยันฮี จากนั้นแนวสายทางจะเลียบไปทาง ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ ซึ่งจะใกล้กับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ผ่าน เขตตลิ่งชัน และ ไปบรรจบถนนสิรินธร โดยผู้ที่ถูกกระทบจากการเวนคืนสูงสุด น่าจะอยู่บริเวณย่านจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไป ซึ่งโครงการนี้จะ เชื่อมโครงการ จราจร หลายเส้นทาง อาทิ เชื่อมต่อกับถนนทหาร ถนนเลียบทางรถไฟสายใต้ โครงการทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก และระบบทางด่วนขั้นที่ 2 หรือทางพิเศษศรีรัช รถไฟสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นต้น
โครงการ สะพานบริเวณท่าน้ำราชวงศ์-ท่าดินแดง ขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 450 เมตร มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 100 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 900 ล้านบาท โดยมีจุด เริ่มต้นโครงการที่ถนนราชวงศ์บริเวณบรรจบกับถนนทรงวาด จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามแนวถนนท่าดินแดง ซึ่งโครงการนี้จะช่วยแบ่งเบาการจราจรบริเวณสะพานพุทธ สะพานพระปกเกล้า ฯลฯ ให้เกิดความคล่องตัวขึ้น โครงการสะพานบริเวณถนนจันทร์ -ถนนเจริญนคร ขนาด 4ช่องจราจร ยาว 450 เมตร มูลค่าโครงการ 3,260 ล้านบาท ค่าเวนคืน 1,500 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1,760 ล้านบาท
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่บริเวณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ถนนเจริญกรุง จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปลงบริเวณถนนเจริญนคร และไปบรรจบที่บริเวณถนนราษฎร์บูรณะ โครงการสะพานบริเวณถนนลาดหญ้า -ถนนมหาพฤฒาราม ขนาด 6 ช่องจราจร ซึ่งจะ เป็นทางสำหรับรถยนต์และรถไฟ ระยะทาง 210 เมตร มูลค่าโครงการ 2,400 ล้านบาท โดยมีค่าเวนคืน 800 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 1,600 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาความคับคั่งของปริมาณจราจรบริเวณถนนพระราม 4 เชื่อมหัว ลำโพงได้เป็นอย่างดี
ลุ้นกันต่อว่า4 โปรเจ็กต์ยักษ์ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของกทม. จะ ฝ่าวิกฤติน้ำมัน เหล็ก การเมือง และชาวบ้านเจ้าของที่ดินไปได้หรือไม่ ประมาณปลายปี 2552 หรือ ไม่แน่... เร็วๆนี้ อาจจะได้คำตอบ !!! |
ข่าวจากฐานเศรษฐกิจครับ
http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3523371&issue=2337
โดยสรุป โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ของ กทม แต่ หนึ่งในโครงการนั้น บอกว่าจะสร้างทางรถไฟ ด้วยครับ ไม่แน่ใจว่าจะเป็น รถไฟฟ้า หรือว่า รถไฟไทย เพราะว่าเท่าที่ตามข่าวรถไฟฟ้า เค้าจะลอดอุโมงค์ นี่ครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/07/2008 5:03 pm Post subject: |
|
|
ได้ยิน สนข.พูดมานาน 4-5 ปีแล้วครับ เรื่องจะเชื่อมต่อทางรถไฟจากหัวลำโพงไปปากท่อ ทำให้ได้ทางรถไฟสายใหม่ เรียกว่า "ทางรถไฟสายใต้ใหม่" ร่นระยะทางได้ 40 กว่ากิโล
แต่ก็เงียบๆ ไปครับ
ไม่ได้มีอคตินะครับ และไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรมใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผมว่าเส้นทางแถวนั้นน้ำท่วมบ่อย เป็นที่ลุ่ม ดินอ่อน
ถ้าจะสร้างหรือปรับปรุงทางจริงๆ คงใช้งบประมาณด้านโยธามากทีเดียวครับ
อยากให้ร่นระยะทาง เชื่อมต่อสุพรรณบุรี-ลพบุรีก่อนดีกว่าครับ ไหนๆ จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำกันแล้ว สายนั้นก็ต้องสร้างข้ามแม่น้ำเหมือนกันครับ
สายมหาชัย แม่กลอง อาจจะไม่ต้องเชื่อม ไม่ต้องสร้างสะพาน
แต่ขอให้อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและบูรณะ บำรุงรักษาเส้นทางอย่างสมำเสมอ ป้องกันอุบัติเหตุบริเวณทางตัด
และจัดการเชื่อมเรือต่อรถ รถต่อเรือให้ดี รถไฟทำความเร็ว รักษาเวลาได้
รับรองคนใช้เยอะแยะครับ น้ำมันแพงอย่างนี้
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ให้อ่านกันครับ |
|
Back to top |
|
|
RORONOA
2nd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 07/07/2008 8:48 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับที่นำเอามาให้อ่าน ในส่วนตัวของผมนั้นคิดว่าไม่ควรสร้างเส้นทางที่ว่าเป็นอย่างยิ่งเพราะดูไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเลย เป็นอย่างที่คุณMongwin กล่าวล่ะครับ ถึงเส้นทางจะย่นระยะลงแต่ด้วยความเป็นชุมชนและที่ลุ่มน้ำท่วมถึงเต็มไปหมดอย่างไรก็ทำความเร็วไม่ได้อยู่ดี สู้เอาไปสร้างเส้นทางที่ดูมีผลกำไรอย่างไปพังงา ภูเก็ตไม่ดีกว่าหรือสร้างทางคู่จะดีกว่ามั้ยครับ อีกอย่างเส้นทางเดิมก็มีผู้โดยสารจำนวนมาก ทั้งบางซื่อ ศาลายา นครปฐม บ้านโป่ง ราชบุรี จะให้เลี่ยงเส้นทางเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อนผมที่กลับบ้านทางใต้เค้ามาขึ้นรถไฟก็เพราะ ขึ้นรถที่บางซื่อง่ายไปกว่าสายใต้นี่ล่ะครับ ควรปรับปรุงทางอย่างที่คุณ Mongwin ว่าดีกว่า เพราะเคยไปเปิดอ่านรายงานประจำปีแม้เส้นทางนี้จะมีแต่รถระยะสั้น แต่ผลประกอบการอยู่ในขั้น มีกำไรนะครับ ถ้าปรับปรุงทางให้ดีซะหน่อย กับบริหารจัดการอะไรเล็กๆน้อย ผมว่าเส้นทางสายนี้คงดึงดูดลูกค้าได้อีกนานครับ |
|
Back to top |
|
|
TomThumb
3rd Class Pass
Joined: 14/01/2007 Posts: 29
|
Posted: 08/07/2008 9:55 am Post subject: |
|
|
อยากให้รถไฟสายใต้ (รวมถึงรถไฟความเร็วสูงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต) ใช้เส้นทางที่ผ่านนครปฐมและราชบุรีเหมือนเดิมครับ
ระบบรางที่เชื่อมระหว่างสถานีหัวลำโพงกับสถานีวงเวียนใหญ่อยากให้เป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียวครับ ซึ่งตามแผนก็อยู่ในเส้นทางสายสีแดงอยู่แล้ว ถ้าเป็นไปได้อยากให้เป็นเส้นทางใต้ดิน (subway) ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาครับ |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 08/07/2008 1:43 pm Post subject: |
|
|
ถ้าจำไม่ผิด เหมือนจะเคยมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนแถวนั้น เมือสัก 50 ปีที่แล้ว
Last edited by rodfaithai on 08/07/2008 3:01 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
OutRun
1st Class Pass (Air)
Joined: 26/05/2006 Posts: 1187
|
Posted: 08/07/2008 2:30 pm Post subject: |
|
|
ใจจริงผมก็อยากให้มีการเชื่อมทางรถไฟสายหลัก ระหว่างหัวลำโพง กับทางสายมหาชัยเหมือนกันนะ แต่ขอให้แค่ทางเชื่อมติดต่อกันได้
แค่นี้พอนะ ไม่ต้องเลยเถิดสร้างทางเชื่อมระหว่างแม่กลอง ถึงปากท่อ แบบ สงสารรถไฟที่ถูกยกจากทางสายหลัก ไปวิ่งทางสายย่อย
อย่างมหาชัย กับแม่กลองหน่ะ รถพวกนี้แทบไม่มีโอกาสกลับมาซ่อมบำรุงหนักที่โรงงานมักกะสันอีกแล้ว ใช้ไปมีแต่จะทรุดโทรมลง
อย่างรวดเร็ว คงเป็นเรื่องยากที่รถไฟที่นำไปวิ่งในสายมหาชัย , แม่กลองนี้ จะมีโชคดีอย่างเจ้า TOKYU สแตนเลสรุ่นแรก
ที่ได้มีโอกาสกลับมาวิ่งบนทางสายหลักอีก _________________ นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 08/07/2008 9:06 pm Post subject: |
|
|
ตามข่าวที่เจ้าของกระทู้นำมาลงไว้ เข้าใจว่าอาจเป็นการเตรียมสะพานไว้
สำหรับเส้นทาง รังสิต-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย
หรือสายสีแดง แนวเหนือ-ใต้ ลองดูในแผนของ สนข.อาจจะเห็นแนวสายทางครับ
ลุ้นให้การเมืองนิ่งๆ อาจจะมีความเป็นไปได้ครับ แต่คงเป็นรถไฟฟ้าแบบผ่านเมืองมากกว่า
OutRun wrote: | ใจจริงผมก็อยากให้มีการเชื่อมทางรถไฟสายหลัก ระหว่างหัวลำโพง กับทางสายมหาชัยเหมือนกันนะ แต่ขอให้แค่ทางเชื่อมติดต่อกันได้
แค่นี้พอนะ ไม่ต้องเลยเถิดสร้างทางเชื่อมระหว่างแม่กลอง ถึงปากท่อ แบบ สงสารรถไฟที่ถูกยกจากทางสายหลัก ไปวิ่งทางสายย่อย
อย่างมหาชัย กับแม่กลองหน่ะ รถพวกนี้แทบไม่มีโอกาสกลับมาซ่อมบำรุงหนักที่โรงงานมักกะสันอีกแล้ว ใช้ไปมีแต่จะทรุดโทรมลง
อย่างรวดเร็ว คงเป็นเรื่องยากที่รถไฟที่นำไปวิ่งในสายมหาชัย , แม่กลองนี้ จะมีโชคดีอย่างเจ้า TOKYU สแตนเลสรุ่นแรก
ที่ได้มีโอกาสกลับมาวิ่งบนทางสายหลักอีก |
เห็นด้วยครับ ถ้าไม่ใช่ สายสีแดง รังสิต-มหาชัย
นี่คือเส้นทางในฝันอีกเส้นทางหนึ่งในความคิดของผม
ถึงแม้ในทางกายภาพแล้วอาจจะลำบากที่จะทำ
เอาเป็นแค่รถรางแบบในเมืองใหญ่ในยุโรปก็พอ
ถ้าประชาชนหรือบ้านเมืองเรายินดีเสียสละให้รถไฟวิ่งบนถนนได้ |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 08/07/2008 9:45 pm Post subject: |
|
|
ตัวอย่างสะพานที่มีการเตรียมไว้อย่างยาวนาน สะพานพระปกเกล้า มีสะพานตรงกลางเตรียมไว้โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินสมัยนั้น ทุกวันนี้ยังเป็นอนุสรณืไว้เลย |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3294
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 08/07/2008 10:04 pm Post subject: |
|
|
สำหรับแนวคิดหรือว่าโครงการที่จะต่อเชื่อมทางรถไฟสายมหาชัย (ว่ากันเฉพาะช่วงวงเวียนใหญ่-มหาชัยนะครับ) เข้ากับการสายหลัก อย่างน้อยก็มีการลงมือสำรวจเป็นเรื่องเป็นราวมาตั้งแต่ปี 2510 โน่นแล้ว ซึ่งตอนนั้นนอกจากจะมีโครงการเชื่อมทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพถึงสถานีวงเวียนใหญ่แล้ว ยังมีแนวคิดที่จะสร้างทางเชื่อมจากสถานีตลิ่งชันมาเชื่อมกับสถานีบางบอนด้วย แล้วก็เงียบหายไป
โอกาสที่จะเชื่อมหัวลำโพงกับวงเวียนใหญ่กลับมาอีกครั้งก็ตอนที่มีโครงการโฮปเวลล์เกิดขึ้นมา เสร็จแล้วเหตุการณ์ก็เป็นอย่างที่ทราบกันอยู่
ช่วงหลังก็มีการพูดถึงการเชื่อมหัวลำโพงกับวงเวียนใหญ่เป็นระยะผ่านสารพัดโครงการ ก็คงต้อง wait and see ไปเรื่อยๆน่ะครับ คงยังคาดหวังอะไรไม่ได้มากนัก
heerchai wrote: | ตัวอย่างสะพานที่มีการเตรียมไว้อย่างยาวนาน สะพานพระปกเกล้า มีสะพานตรงกลางเตรียมไว้โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินสมัยนั้น ทุกวันนี้ยังเป็นอนุสรณืไว้เลย |
ตรงสะพานพระปกเกล้าคงไม่ได้ใช้แล้วมั้งครับ เพราะรถที่จะผ่านตรงนั้นคงจะป็นรถใต้ดินไปแล้ว
เสียดายตรงที่ถ้าตอนนั้นมาสร้างตรงสะพานตากสินแทน ก็คงได้ใช้ประโยชน์แล้ว ตรงสะพานตากสินที่จริงก็เผื่อเอาไว้แล้วเหมือนกัน แต่ทำไว้แค่ฐานรากเอาไว้ ก็ยังดีที่ไม่ต้องนับหนึ่งตั้งแต่ลงเสาเข็ม ทำให้งานเร็วขึ้นหน่อย |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 08/07/2008 10:08 pm Post subject: |
|
|
heerchai wrote: | ตัวอย่างสะพานที่มีการเตรียมไว้อย่างยาวนาน สะพานพระปกเกล้า มีสะพานตรงกลางเตรียมไว้โครงการรถไฟฟ้าลาวาลินสมัยนั้น ทุกวันนี้ยังเป็นอนุสรณืไว้เลย |
เฮียใช้ พูดถึง "รถไฟฟ้าลาวาลิน" ทำให้นึกถึงอดีตเราเคยมีโครงการนี้จริงๆ
แนวสายทางเป็นยังไงพอจำได้มั้ยครับ |
|
Back to top |
|
|
|