View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 4150
|
Posted: 21/08/2006 3:30 pm Post subject: ระดมสมองสมาชิก.RFT.เพื่อหามาตรการลดอุบัติเหตุให้กับการรถไฟ |
|
|
กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อระดมสมองจากสมาชิกที่รักรถไฟทุกท่าน เพื่อหามาตรการลดอุบัติเหตุให้กับรถไฟ โดยใช้หลักการวิเคราะห์จากมุมมอง..ว่าถ้าเราเป็นพนักงานของ รฟท. เราจะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุให้กับการรถไฟได้อย่างไร ไม่จำกัดรูปแบบ Model ที่ใช้วิเคราะห์
หมายเหตุ 1. ห้ามวิเคราะห์โดยกล่าวหาว่าผู้อื่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2. หากวิธีการดูเข้าท่า อาจส่งต่อให้ผู้เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ลองส่งข้อมูลกันเข้านะครับ เพื่อร่วมกันระดมสมองในทางสร้างสรรค์ |
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 21/08/2006 6:04 pm Post subject: |
|
|
ผมขอกล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก่อนครับ เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขครับ บางสาเหตุ เราอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้
รถไฟ VS รถยนต์
สาเหตุอย่างแรกคือ สภาพทัศนวิสัยของการมองเห็นของทั้ง 2 ฝ่ายครับ ปกติต้นไม้ข้างทางไม่ควรสูงอย่างปัจจุบัน สูงจนแทบติดหน้าต่างรถ บางครั้งยังห่างหน่อยนึง แต่ก็ยังบังไม่ให้ทั้งรถไฟ และรถยนต์มองเห็นและกันครับ เพราะการที่มีต้นไม้บังขนาดนี้ รถยนต์จำเป็นต้องขับยื่นเข้ามา เพื่อที่จะได้มองเห็นรถไฟ ดวงไม่ดีก็ถูกหวย ส่วนรถไฟ ถึงแม้จะมีป้าย ว กำหนดไว้ พขร.และชค.ต่างก็ชักหวีดอยู่แล้ว แต่ด้วยสภาพทัศนวิสัยที่มองไม่เห็นทั้ง 2 ข้างเนื่องจากต้นไม้บัง ก็ต้องชะลอความเร็ว ถ้าบ่อยๆรถก็อาจจะช้า ผู้โดยสารบ่น ถ้าไม่ชะลอเลย ถ้าเจออุบัติเหตุ ก็อาจจะร้ายแรง และส่วนนึงที่ผมเห็น ตัวที่กั้นเองอาจจะเป็นจุดค่อนข้างอับ พอมีต้นไม้ขึ้นสูง ประกอบกับทางข้ามอยู่ในทางโค้ง อย่างช่วงกม.ที่ 96+73 ระหว่างสถานีบ้านกล้วย-ราชบุรี ถ้าเครื่องกั้นชำรุดขึ้นมา โดยไม่มีเครื่องหมาย X ติดไว้ กว่าพขร.จะเบรคเพราะมองไม่เห็นว่าไฟวาบไม่ขึ้น ก็เลยไฟวาบมาแล้ว อาจจะเลยไปถึงถนนก็ได้ ซึงจุดนี้ ถ้าชำรุด จำเป็นต้องจัดหาคนมาคอยกั้น จุดนี้รถยนต์ผ่านค่อนข้างเยอะด้วยครับ (จุดนี้เปิดใช้ปกติเมื่อช่วงเย็นวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมาครับ
ต่อมาคือความประมาทของผู้ใช้รถใช้ถนนเอง ถ้ามีที่กั้นแล้วฝ่าสัญญาณออกมา โดยเฉพาะที่นครปฐม ที่กั้นแรกระหว่างนครปฐม-โพรงมะเดื่อ กั้นแล้วก็ฝ่ากันประจำ ต้องชะลอจนแทบจะเบรค
ตัวผู้ขับรถยนต์ที่อยู่ต่างถิ่น ไม่คุ้นกับทาง และไม่รู้ว่ามีทางรถไฟผ่าน ซึ่งหลายๆที่ มักจะมีป้ายบอกไว้ หรืออาจจะถูกต้นไม้บังป้ายก็มี
รถไฟ VS สัตว์ข้างทาง
เริ่มตั้งแต่สัตว์ตัวเล็กๆอย่างสุนัข ดูเหมือนอาจจะไม่รุนแรงเท่าไร แต่อาจจะสร้างความเสียหายแก่ท่อลมเบรคตรงส่วนที่เป็นหัวต่อ หรือที่เรียกว่า หัวDummy ( ทำจากเหล็กหล่อ แข็งแต่เปราะ ) ถ้าเกิดไปชนแล้ว หัวต่อท่อลมเกิดหลุดจากโซ่ยึด ตกลงมากระแทกพื้น อาจทำให้หะว Dummy นี้ แตกหรือหักได้ ทำให้ไม่สามารถนำมาพ่วงขบวนได้ เป็นได้แค่คันนำหรือคันท้าย แต่ถ้าหนักหน่อย ชิ้นส่วนใหญ่ๆ หรือ กะโหลกสามารถสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ส่วนล่างที่สำคัญ เช่น ก๊อกถังลมประธาน หรือ เครื่องยนต์ขับเคลื่อน บางทีทำให้ท่อน้ำมันขาดได้
ถ้าเจอวัวแบบเฉี่ยวอาจจะยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าชนเต็มๆแล้วมุดเข้าใต้ท้องรถด้วยแล้ว ความเสียหายของรถค่อนข้างหนักครับ เช่นน้ำมันรั่ว อย่าง 2513 ที่เคยโดน หรืออาจจะตกรางได้ครับ
ถ้ามีวัวหรือควายอยู่ทั้ง 2 ข้างทาง พขร.กับชค.จะรู้ครับ ไม่ควรชักหวีด เพราะถ้าเกิดชักหวีด อาจจะทำให้วัวหรอควายตกใจ วิ่งข้ามทางรถไฟเพื่อกลับเข้าฝูง แต่ก็มาชนกับม้าเหล็กซะก่อน อันตรายครับ
รถไฟเอง
กรณีนี้ต้องมีการสืบสวนหาผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุครับ ทั้งพนักงานขับรถ ช่างเครื่องและนายสถานี ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร บรรทุกน้ำหนักเกิน หรือหยุดรถที่ป้ายหยุดรถขอบดำหรือไม่ การปล่อยรถของนายสถานี รวมทั้งสัญญาณไฟ บางจุดยอมรับว่ามองแทบไม่เห็นเลย เพราะไฟสีค่อนข้างมืด ทั้งเขียวและแดง หรือมีการบดบังจากสิ่งต่างๆเช่น ต้นไม้ และไฟเข้าประแจติดบางดวง ยากลำบากต่อการมอง ทำให้สับสน อาจจะทำให้รถเข้าประแจเร็วเกิน ตกรางได้ครับ
อีกส่วนคือสภาพทางที่มีน้ำขัง หรือไม่ได้มีการล้างหิน เนื่องจากหินที่โรยทางไป เมื่อมีรถผ่านไประยะเวลานานๆ หินก็จะป่นเป็นผงๆ เวลาฝนตกน้ำจึงขังที่หิน ไม่สามารถระบายออกได้ น้ำที่ขังไว้ก็เหมือนกับเป็นตัวช่วยที่ทำให้ดินตรงนั้นนับวันยิ่งอ่อนตัวไปเรื่อยๆ เพราะรถที่ผ่านน้ำหนักน้อยซะที่ไหน สังเกตได้จากทางในเขตกรุงเทพก็ได้ครับ จะมีเหมือนคราบโคลน และเมื่อรถผ่านไป แม้ความเร็วไม่สูงมาก ก็มีการโยกหรือเด้งของตัวรถครับ
สภาพที่พบเห็นก็มีบางซื่อ, มักกะสัน-คลองตัน, กลางดง-มวกเหล็ก, นครปฐม
สภาพของตัวรถไฟ หรือรถพ่วง ระยะห่างของแท่งเบรค ซึ่งจะมีผลต่อการเบรคของรถและการเบรคฉุกเฉินด้วยครับ
รถไฟ VS รถตรวจทาง
ชนขึ้นมาก็เป็นเรื่อง ในอดีตก็เคยมีมาแล้ว ทำให้ขบวน 43 ตกราง สาเหตุเกิดจากชนรถบำรุงทางที่ขนไม้หมอน จนเป็นเหตุให้รถไฟหน้าทิ่มลงข้างทาง คันท้ายเอียงอยู่บนสะพาน เนื่องจากจุดที่ชนเป็นทางโค้ง ประกอบกับพุ่มไม้ข้างทางที่สูงชิดตัวรถ ทำให้มองไม่เห็นรถบำรุงทางที่อยู่ข้างหน้าครับ
รถไฟ VS รถถ่อ
เจอบ่อยกับทางสายใต้ช่วงบางซ่อน-พระรามที่ 6 ชาวบ้านแถวนั้นใช้รถถ่อประจำ ความเสียหายก็มีไม่มากจนอาจจะถึงรถตกรางได้ครับ
รถไฟ VS ผู้ไม่หวังดี
การถอดน็อตหรือตะปูราง การถอดตะปูรางมาวางไว้ตรงรอยต่อ เพื่อให้รถเหยียบซึ่งอาจทำให้รถตกราง รวมทั้งการวางระเบิดทำให้ทางเสียหายครับ
รถไฟ VS ชาวบ้านที่เผาหญ้าข้างทาง
โดยเฉพาะจุดที่ใกล้สะพาน โดยส่วนใหญ่ของประเทศ สะพานยังใช้หมอนไม้อยู่ ยังไม่ได้ปรับปรุงเป็นหมอนเหล็ก ถ้าเกิดชาวบ้านเผาหญ้าข้างทางแล้วลามไปติดสะพาน หมอนไม้ก็ไหม้ ก็จะไม่มีอะไรมายึดราง ทำให้รถตกรางได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดกับ ข. 280 แถวกบินทร์บุรีเมื่อ 2-3 ปีก่อนมาแล้ว..
เพิ่มเติมอีกนิดนึง บางคนคิดว่าแค่รถกระบะคันเดียว ความเสียหายของรถคงไม่เท่าไร สามารถเดินต่อได้ แต่จริงๆแล้ว อาจจะถึงกับต้องตัดชุดรถ หรืองดเดินไปก็มีครับ ขบวน 42 ที่ตกรางเพราะชนกระบะคันเดียว กระบะแทบไม่เหลือซาก ส่วนรถไฟ ตกราง ความเสียหายที่เกิดนอกจากตัวขบวน 42 เอง ยังลามไปถึงขบวนอื่นๆหลายขบวน เกิดวิกฤติรถช้าตั้งแต่ต้นทางไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงทุกขบวน เพราะไม่มีรถหมุนเวียน ชั้น 3 ขาดแคลนอย่างหนักครับ บางทีเรื่องเล็กๆน้อย ก็ต้องนำมาคิดถึงปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นด้วยครับ |
|
Back to top |
|
|
Serberk
3rd Class Pass (Air)
Joined: 17/07/2006 Posts: 380
Location: Burirum United
|
Posted: 21/08/2006 8:46 pm Post subject: |
|
|
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 28/08/2006 10:52 pm Post subject: |
|
|
การป้องกันอุบัติเหตุ
เราสามารถใช้มาตรการที่เรียกว่า Road "Safety Audit"
ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุก ได้ครับ
ส่วนมาตรการเชิงรับได้แก่
Black Spot Correction
แต่ดูเหมือน (ผู้เกี่ยวข้อง) ไม่ค่อยมีใครสนใจรถไฟเท่าที่ควร
ไปเน้นแต่ทางถนนเป็นหลัก
Accident Investigation Unit
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=7233#7233
ถ้าใครพอจะมีเวลา
ผมขอรบกวนช่วยรวบรวมอุบัติเหตุรถไฟ (ในเวปนี้ก่อนก็ได้ครับ หรือถ้ามีจากนอกเว็บด้วยก็ดีครับ)
พอดีผมยุ่งๆ
lis มาเป็น
วันที่เกิดเหตุ...............................
เวลา..........................................
คู่กรณี ขบวน..............กับ รถ..(10 ล้อ เก๋ง กระบะ).................หรืออะไร.................
สถานที่เกิดเหตุ...........................
ความเสียหาย... (เสียชีวิตกี่ราย บาดเจ็บกี่ราย รถตกรางไหม เสียเวลาเท่าไหร่ กี่ขบวน รถจักรพังไหม)
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง..........................
ถ้าได้พรุ่งนี้ (29 สิงหา) ช่วงบ่ายๆ ก็จะดีครับ
เย็นๆ ผมอาจจะเอาไปทำ Power Point หรือ พิมพ์ลงกระดาษ
เอาไปให้ผู้เกี่ยวข้องกับ Project นี้
เพื่อให้เค้ารวม อุบัติเหตุของรถไฟเข้าไปด้วย (ให้เป็นงานหนึ่งของหน่วยนี้) |
|
Back to top |
|
|
Derail
3rd Class Pass
Joined: 03/07/2006 Posts: 69
|
Posted: 29/08/2006 1:25 pm Post subject: |
|
|
Quote: | รถไฟ VS รถตรวจทาง
ชนขึ้นมาก็เป็นเรื่อง ในอดีตก็เคยมีมาแล้ว ทำให้ขบวน 43 ตกราง สาเหตุเกิดจากชนรถบำรุงทางที่ขนไม้หมอน จนเป็นเหตุให้รถไฟหน้าทิ่มลงข้างทาง คันท้ายเอียงอยู่บนสะพาน เนื่องจากจุดที่ชนเป็นทางโค้ง ประกอบกับพุ่มไม้ข้างทางที่สูงชิดตัวรถ ทำให้มองไม่เห็นรถบำรุงทางที่อยู่ข้างหน้าครับ |
ปัญหานี้นอกจากต้องปรับปรุงเรื่องการสื่อสารแล้ว เราน่าจะลองใช้อุปกรณ์ช่วยความจำเช่น กุญแจ หรือป้ายแขวนที่โต๊ะควบคุมโดยมีวิธีใช้แบบนี้ครับ
การกักทางบนเครื่องกลประแจ/อาณัติสัญญาณสายลวด
1. จ.น.ท บำรุงทางที่จะนำรถตรวทางออกทำการ เขียนเวลาออกรถ ช่วงเสาโทรเลขที่ทำงานลงบันทึกของสถานีต้นทาง
2. นายสถานีต้นทางของรถตรวจทางแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ไปยังนายสถานีปลายทางให้ลงบันทึกเช่นกัน
3. นายสถานีทั้งสองฝั่งใช้แม่กุญแจคล้องที่คันบังคับสัญญาณ/ประแจ/เหล็กตกรางที่เข้าสู่รางที่รถบำรุงทางจะใช้ให้อยู่ในท่าห้ามแล้วจึงปล่อยรถบำรุงทาง
4. เมื่อรถบำรุงทางกลับมาถึงสถานีต้นทางหรือปลายทางแล้วจ.น.ทบำรุงทางต้องมาแจ้งให้นายสถานีทราบด้วยตนเองว่างานเสร็จแล้วจึงปล่อยทางเข้าสู่การเดินรถตามปกติ
5. ห้ามมิให้นายสถานีทั้ง 2 ฝั่งปล่อยทางก่อนได้รับอนุญาตจาก จ.น.ท.บำรุงทางหรือนายสถานีอีกด้านของเขตบำรุงทางอย่างเด็ดขาด
การกักทางบนเครื่องกลประแจ/อาณัติสัญญาณไฟฟ้า
1. ให้ปฏิบัตตามข้อ 1-2 ของวิธีการกักทางบนเครื่องกลประแจ/อาณัติสัญญาณสายลวด
2. จัดสวิชท์ควบคุมประแจ/สัญญาณไฟสี/เหล็กตกรางที่เข้าสู่รางที่รถบำรุงทางจะใช้ให้อยู่ในท่าห้ามแล้วจึงปล่อยรถบำรุงทางแล้วใช้ฝาครอบที่มีข้อความ "กำลังบำรุงทาง-ห้ามสับ" แล้วใช้กุญแจคล้องยึดฝาครอบติดกับตู้ แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับการกักทางบนเครื่องกลประแจ/อาณัติสัญญาณสายลวด(ต้องดัดแปลงตู้ควบคุมเล็กน้อยโดยเชื่อมแท่งเหล็กเข้ากับแผงควบคุม ผมว่าช่างอาณัติสัญญาณท่าจะทำได้นะครับ)
ในเขตควบคุมของศูนย์ควบคุมการเดินรถส่วนกลาง ให้ใช้คำสั่ง "Track&Time"หรือเทียบเท่า ใน software ควบคุมการเดินรถแทน แต่ต้องแจ้งนายสถานีตามปกติ
ในกรณีที่ทำการบำรุงทางในเขตทางคู่/ทางสาม ให้ขบวนรถที่ผ่านเขตบำรุงทางทำขวบผ่านอย่างระมัดระวังและชักหวีดก่อนเข้าเขตบำรุงทางถ้ามีรถจักรมีกระดิ่งให้สั่นกระดิ่งขณะทำขบวนผ่านด้วย |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 19/02/2009 7:41 am Post subject: |
|
|
สำหรับติดที่ถนนไม่มีทางข้าม
อันนี้เอาไปออกทีวีถ้าให้ดี ขอรถใหม่ๆสักคันเลย จะได้สยองๆ
ส่วนพวกเดินบนทางรถไฟ กับเอาสัตว์มาเลี้ยงผมยังคิดไม่ออกว่าจะทำยังไงดี
เพราะเอามาโชว์สด จะสยองไป ถ้าให้ดี ก็คงต้องตัดต้นไม้+หญ้า ไม่มีให้มีให้วัวกิน กับจัดทางเดินริมทางรถไฟให้ (เค้าจะใช้เดินรึเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)
http://www.youtube.com/watch?v=ekpD06P7kiI
ชนโชว์แบบนี้เลยครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/02/2009 11:15 am Post subject: |
|
|
ไอเดียคุณนพ2 เยี่ยมครับ (แต่เสียดายดาเวนพอร์ต...)
โฆษณาทางทีวีเคยเห็นอยู่พักนึงเมื่อหลายปีก่อน
แล้วก็เงียบหายไปครับ
น่าจะเอามาฉายกันใหม่ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 11/03/2009 7:41 pm Post subject: |
|
|
ใช้ 18 ล้านศึกษาจุดตัดรถไฟ รับโลจิสติกส์
Thairath [11 มี.ค. 52 - 05:29]
http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=127239
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า
สถิติการเกิดอุบัติเหตุระหว่างยานพาหนะกับขบวนรถไฟ บริเวณจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2545-2551 มีจำนวน 1,201 ราย มีผู้บาดเจ็บ 926 ราย เสียชีวิต 390 ราย
เฉพาะปี 2551 เกิดอุบัติเหตุ 144 ราย ผู้บาดเจ็บ 148 ราย ผู้เสียชีวิต 73 ราย ปี 2552
สนข.ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 18 ล้านบาท เพื่อจ้างที่ปรึกษาศึกษาแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศมีประมาณ 2,000 แห่ง เนื่องจากระยะทางรถไฟทั่วประเทศมี 4,000 กม. จึงต้องแบ่งพื้นที่ศึกษาโดยเฟสแรก จะศึกษาในเส้นทางที่อยู่ในรัศมีใกล้กับกรุงเทพฯ เช่น กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ นอกจากนี้ จะทำเป็นโครงการต้นแบบนำร่อง เส้นทางจากสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง ไปท่าเรือแหลมฉบัง ให้รถไฟวิ่งได้ตลอด โดยใช้ความเร็วมากขึ้นเพื่อรองรับโครงการโลจิสติกส์ ภายใน 1 เดือน น่าจะได้บริษัทที่ปรึกษา ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน
นายจำรูญกล่าวว่า ที่ผ่านมาผลการศึกษาแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟหลายแห่ง เสนอวิธีแก้ ที่ดีที่สุดก็คือ การก่อสร้างสะพานหรืออุโมงค์ทางลอด เนื่องจากจุดตัดมีมาก จะรอให้การรถไฟฯ ทำคงเป็นเรื่องยากเพราะไม่มีงบ จึงมีแนวคิดว่าหากจุดตัดรถไฟตัดผ่านกับถนนของหน่วยงานใด จะขอให้หน่วยงานนั้นๆ ดำเนินการช่วยแก้ปัญหา เพราะเรื่องจุดตัดถือว่าสำคัญมาก ซึ่งตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบโครงข่ายรถไฟ จะมีการเปลี่ยนหัวรถจักร เพิ่มราง แต่ถ้ายังมีจุดตัดรถก็ทำความเร็วไม่ได้ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ทั้งนี้ ระยะทางรถไฟทั่วประเทศ 4,363 กม. แยกเป็นทางรถไฟสายหลัก 4,035 กม. แบ่งเป็นรางเดี่ยว 3,755 กม. รางคู่ 173 กม. และสามราง 107 กม. สำหรับจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศมีจำนวน 2,450 แห่ง แต่ละแห่งจะแตกต่างกัน เช่นจุดตัดที่มีเครื่องกั้นระหว่างถนนกับทางรถไฟ 637 แห่ง ติดตั้งป้ายจราจร 1,019 แห่ง เป็นทางลอดผ่าน 535 แห่ง สะพานข้าม 141 แห่ง อุโมงค์ 111 แห่ง นอกจากนี้ เอกชนทำเครื่องกั้นเอง 5 แห่ง และติดไฟกะพริบ 1 แห่ง. |
|
Back to top |
|
|
GEA_4525
3rd Class Pass
Joined: 09/07/2007 Posts: 226
Location: ชพ.ะท. หจ.โอ๊ยหาเองแล้วกัน
|
Posted: 11/03/2009 8:15 pm Post subject: |
|
|
alderwood wrote: | ผมขอกล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุก่อนครับ เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขครับ บางสาเหตุ เราอาจจะนึกไม่ถึงก็ได้
รถไฟ VS ผู้ไม่หวังดี
การถอดน็อตหรือตะปูราง การถอดตะปูรางมาวางไว้ตรงรอยต่อ เพื่อให้รถเหยียบซึ่งอาจทำให้รถตกราง รวมทั้งการวางระเบิดทำให้ทางเสียหายครับ
|
ยังมีอีกครับ หินรองราง หินข้างทาง ไม้ ต้นไม้ หรือรางเก่า ก็ทำไห้รถตกรางได้เช่นกัน ดังเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสายเหนือเมื่อหลายปีก่อน
เรื่องปีหินนี่ ผมมีประสพการณ์ กับ254ครับ พ่วง9 หลุดไป7 ติดรจ.ไป2 ปีนหินครับ ยาวเกือบร้อยเมตรได้มั้ง ดีที่ไม่มีเหตุตกราง
_________________
|
|
Back to top |
|
|
mayudin
3rd Class Pass
Joined: 05/02/2009 Posts: 2
Location: กรุงเทพ
|
Posted: 11/04/2009 11:11 pm Post subject: เจาะจงเฉพาะสามจังหวัดชายแดนใต้ |
|
|
ผมพิ่งเดินทางจากสถานีตันหยงมัสกลับกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมาเห็นจุดบกพร่องเส้นทางรถไฟในสามจังหวัดดังนี้
หนึ่ง อยากให้ปรับภูมิทัศน์สองข้างทางใหม่ เช่นมีเนินเขาที่สูงกว่าตู้รถไฟ อยากให้ขุดและปรับให้เท่ากับรางรถไฟ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เห็นสิ่งผิดปกติได้ในระยะไกล และให้ตัดกิ่งต้นไม้ที่อยู่ในระยะทางรถไฟไม่น้อนกว่าสองร้อยเมตร(คงไม่ทำให้โลกร้อนมากขึ้น)เพื่อความปลอดภัยของขบวนรถ
สอง อยากให้รื้อรางหลีกที่ไม่ใช้งานแล้วหรือไม่มีความจำเป็นในแต่ละสถานี เพื่อป้องกันวัตถุแปลกปลอมหรือวัตถุระเบิดที่เกิดจากผู้ไม่หวังดีแอบเอามาวางได้
เมื่อรื้อแล้วปรับพื้นที่ให้โล่งและไม่มีกองหินทางหรือหมอนรางรถไฟทิ้งไว้
สาม อยากให้ยุบหรือยกเลิกสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารน้อยหรือมีผู้โดยสารขึ้น-ลงน้อยมาเป็นป้ายหยุดรถแทน เพราะมีสถานีในสามจังหวัดชายแดนใต้มากพอสมควรที่ไม่ใช่สถานีหลักและบางสถานีไม่ได้อยู่ในชุมชนใหญ่ เสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ของการรถไฟและทรัพย์สินของการรถไฟต่อการถูกกระทำของผู้ไม่หวังดี สร้างสถานการณ์และสร้างความเสียหาย
สี่ ในระหว่างสถานีที่มีขบวนรถไฟสับหลีก ถ้าเป็นไปได้อยากให้รางสับหลีกเป็นระบบอัตโนมัติแทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานีไปยื่นเฝ้า เห็นแล้วเสี่ยง ถึงแม้จะมีทหารยืนคุมก็ตาม เหมือนกับในกรุงเทพที่ไม่ต้องใช้คนทำแล้ว
ความคิดเห็นนี้ น่าจะมีประโยชน์บ้างเพื่อป้องกันวินาศกรรมในพื้นที่ได้
เพราะเรารักรถไฟครับ |
|
Back to top |
|
|
|