View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:07 pm Post subject: ร.ส.พ.
อีกหนึ่งเมล็ดพันธุ์จากกิจการรถไฟไทย |
|
|
เมื่อกล่าวถึงองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)หลายคนคงรู้จักหน่วยงานแห่งนี้ในฐานะขององค์กรที่ให้บริการรับส่งสินค้าทั่วประเทศด้วยรถยนต์ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานแห่งนี้ แม้ว่า ร.ส.พ. จะมีธุรกิจอื่นให้บริการด้วยเช่น บริการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ บริการแพขนานยนต์ เป็นต้น และด้วยภารกิจหลักในการบริการขนส่งสินค้านี่เอง คงไม่แปลกอะไรที่หน่วยงานแห่งนี้จะถูกมองว่าเป็นคู่แข่งหนึ่งของกิจการรถไฟไทย แต่หลายคนคงจะยังไม่รู้ว่าเมื่อแรกก่อตั้ง ร.ส.พ. นั้น มีเลือดเนื้อเชื้อไขบางส่วนของกิจการรถไฟเข้าเป็นองค์ประกอบด้วยส่วนหนึ่ง และภารกิจในระยะแรกของ ร.ส.พ. ส่วนหนึ่งก็ยังเป็นการเข้ามาช่วยเติมเต็มการให้บริการของรถไฟอีกด้วยเช่นกัน
ถ้าเราย้อนเวลากลับไปในตอนที่เริ่มมีกิจการรถไฟใหม่ๆ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน จะพบว่า กิจการรถไฟเป็นที่นิยมในการขนส่งสินค้าอย่างมาก ทั้งนี้เพราะรถไฟช่วยให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และมีเครือข่ายการให้บริการที่กว้างขวาง แต่การขนส่งสินค้าทางรถไฟในระยะแรกนั้น กรมรถไฟทำหน้าที่เพียงแต่ให้บริการรถสินค้าและลากจูงรับส่งตามสถานีต่างๆ เท่านั้น การขนถ่ายและลำเลียงสินค้าขึ้นลงรถเป็นหน้าที่ของเจ้าของสินค้าที่จะต้องดำเนินการเอง ซึ่งทำให้ไม่ได้รับความสะดวก เป็นเหตุให้เกิดมีกลุ่มคนมาคอยรับจ้างขนถ่ายสินค้าตามสถานีรถไฟและย่านขนถ่ายสินค้า โดยมีการรวมกลุ่มกันเป็นพวกๆ บางกลุ่มก็มีผู้มีอิทธิพลหนุนหลัง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้บางครั้งก็ก่อความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการรถไฟ โดยการขูดรีดค่าใช้บริการ มีการกลั่นแกล้งผู้ที่ไม่ยินยอมให้เกิดความเสียหาย บางครั้งก็ยกพวกตีกันเพื่อแก่งแย่งผลประโยชน์
ในปี พ.ศ.2480 กรมรถไฟได้ตั้งแผนกขนส่ง และวางระเบียบให้คนไทยเข้ามารับเหมาดำเนินการจัดหากรรมกรและควบคุมดูแลการขนถ่ายสินค้า โดยกรมรถไฟได้กำหนดอัตราค่าบริการเอาไว้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 กรมรถไฟได้เลิกวิธีมีผู้รับเหมา แล้วให้แผนกขนส่งเข้าควบคุมกรรมกรและดำเนินการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงรถบรรทุกเอง |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:12 pm Post subject: |
|
|
กำเนิด ร.ส.พ.
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ปรากฏว่าการขนส่งสินค้าในที่ต่างๆทำได้ไม่สะดวก ทั้งนี้เนื่องจากยานพาหนะต่างๆถูกทำลายไปจำนวนมาก ทำให้รถสินค้ามีไม่เพียงพอต่อความต้องการของบรรดาพ่อค้าเกิดการแก่งแย่งรถบรรทุกสินค้าขึ้น รัฐบาลในขณะนั้นจึงมีแนวความคิดที่จะนำเครื่องมือขนส่งทุกชนิดที่มีอยู่มาใช้เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา และมีมติให้จัดตั้งบริการขนส่งขึ้นเป็นองค์การของรัฐในนาม "องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์" อักษรย่อ "ร.ส.พ." สังกัดขึ้นกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2490
แม้ว่า ร.ส.พ. จะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหมาย ที่จะแบ่งเบาการขนส่งสินค้าทางรถไฟ แต่ด้วยเหตุที่ในเวลานั้น รถไฟยังเป็นระบบขนส่งหลักที่สำคัญ เพราะมีเครือข่ายที่ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่าระบบอื่น อีกทั้งยังมีถนนสายย่อยที่เชื่อมโยงระหว่างสถานีรถไฟกับแหล่งผลิตและตลาดสินค้า ดังนั้นรัฐบาลจึงเห็นสมควรให้ ร.ส.พ. รับโอนแผนกขนส่งของกรมรถไฟ ตลอดจนพนักงานและกรรมกรตามสถานีต่างๆ เข้าเป็นพนักงานของ ร.ส.พ. ด้วย
 |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:19 pm Post subject: |
|
|
การดำเนินงานของ ร.ส.พ. ในส่วนที่สนับสนุนการขนส่งสินค้าทางรถไฟประกอบด้วย
การเปิดการขนส่งในเขตสถานี
คือการให้บริการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงรถบรรทุกสินค้า ซึ่งเป็นงานที่รับโอนมาจากแผนกขนส่งของกรมรถไฟนั่นเอง โดยมีสถานีที่แผนกขนส่งเคยให้บริการและมีการโอนกิจการให้ ร.ส.พ. ทั้งสิ้น 63 สถานี ต่อมา ร.ส.พ. มีการทยอยเปิดให้บริการเพิ่มอีก 42 สถานี รวมเป็นสถานีที่ ร.ส.พ. ให้บริการขนส่งในเขตสถานีทั้งสิ้น 105 สถานี นอกจากนี้ในสถานีที่ยังไม่มีบริการขนส่งในเขตสถานี (อาจเป็นสถานีที่มีการขนส่งสินค้าไม่สม่ำเสมอ) ก็ได้มีการจัดชุดกรรมกรเดินทางติดตามไปกับขบวนรถไฟเพื่อให้บริการดังกล่าวด้วย
การเปิดการขนส่งนอกเขตสถานี
คือการให้บริการรับส่งสินค้าระหว่างสถานีกับสถานที่ที่ผู้ใช้บริการว่าจ้าง ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากบริการขนส่งในเขตสถานี ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้า
การรับจัดการส่งสินค้าแทน
คือการให้บริการจัดส่งสินค้าโดยที่ผู้ใช้บริการมีข้อจำกัด ไม่สามารถอยู่รอและเฝ้าดูแลการขนถ่ายสินค้าจนเสร็จสิ้นได้ ก็จะมาติดต่อและส่งมอบสินค้าให้ ร.ส.พ. เป็นผู้ดำเนินการให้แทน ต่อมาเมื่อ ร.ส.พ. มีการจัดสร้างคลังเก็บสินค้าใกล้กับสถานีรถไฟแล้วก็ได้เพิ่มบริการนำรถไปรับสินค้าจากที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง มาพักไว้ในคลังสินค้าก่อนดำเนินการขนส่งทางรถไฟต่อไป
การรับขอรถบรรทุกสินค้า
เป็นบริการที่เกิดเนื่องจากระเบียบของกรมรถไฟกำหนดให้ผู้ต้องการใช้รถบรรทุกสินค้ามาลงชื่อขอรถบรรทุกสินค้า และกรมรถไฟจะพิจารณาจ่ายรถให้ตามลำดับชื่อผู้ขอ ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลสถานีไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากไม่รู้ว่าจะได้รับรถเมื่อใด และเมื่อได้รถแล้วก็ต้องรีบดำเนินการขนถ่ายสินค้าภายในกำหนดเวลาที่กรมรถไฟกำหนด ร.ส.พ. จึงเข้ามาดำเนินการขอรถสินค้าแทนให้
 |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:24 pm Post subject: |
|
|
เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงทำให้ ร.ส.พ. ถูกย้ายโอนต้นสังกัดตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในช่วงเวลาต่างๆ โดยมีลำดับดังนี้
1 กุมภาพันธ์ 2490 สังกัดขึ้นกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม
28 เมษายน 2490 สังกัดขึ้นกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม
1 เมษายน 2491 สังกัดขึ้นสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
3 สิงหาคม 2492 สังกัดขึ้นกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม
1 กรกฎาคม 2494 สังกัดกระทรวงคมนาคม
ต่อมาได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2496 มีผลทำให้ ร.ส.พ. มีสภาพเป็นนิติบุคคล และเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม
 |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:30 pm Post subject: |
|
|
จะเห็นได้ว่าในอดีตนั้นกิจการรถไฟ ได้ประโยชน์จาก ร.ส.พ. ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของรถไฟ ในการขนส่งสินค้าถึงจุดหมายปลายทางของลูกค้าแต่ละราย ในขณะที่ ร.ส.พ. เองก็ได้ประโยชน์ค่าตอบแทนในการให้บริการข้างต้นแล้ว ร.ส.พ.ยังได้อาศัยเครือข่ายของการรถไฟในการขนส่งสินค้าของลูกค้า ร.ส.พ. เองโดยใช้รถไฟขนส่งในช่วงกลาง และใช้รถยนต์บรรทุกของ ร.ส.พ. ทำการขนส่งในช่วงต้นทางและปลายทาง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็คือรูปแบบการขนส่งร่วมในลักษณะที่เรียกว่า bimodal transportation แม้ว่าการพึ่งพาอาศัยดังกล่าวจะเป็นไปด้วยเหตุผลด้านข้อจำกัดของเครือข่ายเส้นทางถนนในเวลานั้นก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากรูปแบบหนึ่ง
แม้ว่าในภายหลัง การดำเนินกิจการของ ร.ส.พ. ในระยะหลังจะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มให้กับการขนส่งทางรถไฟแล้วก็ตาม แต่ลักษณะการขนส่งที่ใช้รถยนต์ของ ร.ส.พ. เป็นระบบ Feeder ให้กับรถไฟในอดีตนั้น ได้กลับกลายมาเป็นระบบการขนส่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงกันใหม่ เพราะการใช้การขนส่งทางรถไฟเป็นระบบหลัก และขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบรองในการรวบรวมและกระจายสินค้าเป็นรูปแบบที่เป็นทางออกของการลดต้นทุนด้าน Logistic ของประเทศได้เป็นอย่างดี ต่างกันตรงที่ว่าการใช้รถไฟในอดีตเป็นไปเพราะความจำเป็นอันเนื่องมาจากความไม่พร้อมของเครือข่ายถนน แต่เหตุผลในปัจจุบันที่จะนำรถไฟมาใช้เป็นระบบหลักนั้นเป็นเพราะประสิทธิภาพของรถไฟที่จะทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งและ Logistics ในภาพรวมลดต่ำลง ซึ่งการหวนกลับไปใช้รถไฟในครั้งใหม่นี้เพียงแต่เพิ่มเติมประสิทธิภาพในการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะและการบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องต้องกันก็จะสามารถสร้างระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่งถ้าแนวคิดนี้จะกลายเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง การขนส่งทางรถไฟก็จะได้มีการพัฒนาอย่างมีทิศทาง ไม่ถูกปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นสิ่งที่โลกลืมอีกต่อไป
ข้อมูลและภาพประกอบ : หนังสือ ฉลองครบรอบสี่สิบเอ็ดปี ร.ส.พ. |
|
Back to top |
|
 |
BanPong1
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 22/09/2010 10:34 pm Post subject: |
|
|
ู^
Warehouse กลุ่มนี้อยู่ที่ไหนครับ
ขอบคุณคุณหนุ่มครับที่นำประวัติศาสตร์ของ ร.ส.พ. มาให้ชมครับ
ได้เห็นรถสิินค้าของการรถไฟหลายแบบที่กำลังจะหายไปจากราง
ติดตามอ่านต่อครับ  _________________

Last edited by BanPong1 on 22/09/2010 10:47 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:35 pm Post subject: |
|
|
แถมท้ายด้วยวาระสุดท้ายของ ร.ส.พ. ครับ
คณะกรรมการ ร.ส.พ. มีมติในคราวประชุมคณะกรรมการ ร.ส.พ.ครั้งที่ 14/2548 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ให้ยุบเลิก ร.ส.พ.เพื่อลดภาระด้านงบประมาณของประเทศ
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอยุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.)
-------------------------------------------------------
ปิดท้ายด้วยภาพรถบรรทุก ร.ส.พ. ยุคสุดท้ายก่อนเลิกกิจการครับ
 |
|
Back to top |
|
 |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 3297
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 22/09/2010 10:55 pm Post subject: |
|
|
BanPong1 wrote: | ู
Warehouse กลุ่มนี้อยู่ที่ไหนครับ
|
ดูเหมือนจะเป็น ท่าเรือคลองเตย ครับ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48291
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/09/2010 1:39 am Post subject: |
|
|
ในชีวิต เคยเกี่ยวข้องกับ ร.ส.พ. อยู่ 2 ครั้งครับ เท่าที่จำได้
ครั้งแรก สมัยประถม ราว ๆ ป.5 ส่งธนาณัติไปสั่งซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากร้านศึกษาภัณฑ์ พวกหลอดทดลอง บีกเกอร์ เอามาเล่นสนุก ๆ ที่บ้าน (ทำตัวเป็นนักวิทยาศาสตร์) ปรากฏว่าทางร้านส่งของมาให้ถึงบ้านที่เทพา จ.สงขลา ทาง ร.ส.พ.ครับ
อีกครั้งตอนขึ้นมาเรียน ป.ตรี ที่กรุงเทพฯ พ่อก็อุตส่าห์ส่งจักรยานที่ใช้มาตั้งแต่มัธยม ขึ้นมาให้ทาง ร.ส.พ.อีกครับ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48291
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/09/2010 1:48 am Post subject: |
|
|
ผมมาเห็นภาพนี้ครับ สถานียะลาในอดีต สมัยที่ยังเป็นป้ายไม้ ตัวหนังสือขาวบนพื้นดำ (น่าจะก่อนยุค 2500 เพราะในภาพถ่ายเมื่อครั้งในหลวงเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร พ.ศ. 2502 นั้นเป็นป้ายคอนกรีตแบบปัจจุบันแล้ว)
ชมได้ที่นี่ครับ http://img157.imageshack.us/img157/892/yala2502vh6.jpg
Nakhonlampang wrote: |
 |
ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ภาพนี้น่าจะช่วยไขปริศนาบางอย่างในภาพถ่ายเก่าของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณได้ครับ
สถานียะลาในอดีต มี 4 ราง คือ รางประธาน ราง 2 ราง 3 และราง 4 มีชานบรรทุก แต่ไม่มีรางตัน และมีที่เติมน้ำรถจักรไอน้ำ อาคารสถานีอยู่ทางด้านเดียวกับเสาโทรเลข (ด้านขวามือเมื่อมุ่งหน้าไปสุไหงโก-ลก)
ดังนั้น ในภาพจากหนังสือ 41 ปี ร.ส.พ. รถบรรทุกที่เข้ามาเทียบด้านข้างของชานชาลา ริมทางรถไฟนั้น ป้ายประเพณีเป็นป้ายด้านเหนือ (ด้านที่มาจากกรุงเทพ) และถนนที่มีทางเลี้ยวเข้ามาถึงริมทางรถไฟตรงนี้ น่าจะเป็นถนนสิโรรส (ทางหลวง 410) ในปัจจุบันครับ
Last edited by Mongwin on 23/09/2010 11:02 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
 |
|