View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 20/02/2011 11:43 pm Post subject: ถ้าเราจะต่อรถจักรเอง |
|
|
ถ้าเราจะต่อรถจักรและรถดีเซลรางใช้เอง โดนการซื้อแปลนรถจักรรุ่นที่มีอยู่แล้ว(ซื้อ LC) เช่น GEK ,GEA, DAEWOO ,THN โดยการซื้อชิ้นส่วนที่ไม่สามารถผลิตเองได้ พวกเครื่องยนต์ โบกี้ ระบบควบคุมต่างๆ (เหลือแต่โครงประธาน) และอาจจะมีการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างตามความเหมาะสม ทางการรถไฟไทย มีความสามารถต่อเองได้รึไหมครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 21/02/2011 12:04 am Post subject: |
|
|
เอ่อ ถ้าซื้อหมดทุกอย่างแบบนี้มันก็ไม่ต่างอะไรกับการจ้างผลิต |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 21/02/2011 12:38 am Post subject: |
|
|
จากที่ตั้งประเด็น เรื่องนี้ ก่อนให้จะความเห็น ยังชอบคำถามแบบนี้อยู่แต่ ต่อไปตอบไปแล้วจะเป๋ไปบ้างเพี้ยนไปบ้างไม่ว่ากันนะ
nop2
Quote: | ถ้าเราจะต่อรถจักรและรถดีเซลรางใช้เอง โดนการซื้อแปลนรถจักรรุ่นที่มีอยู่แล้ว(ซื้อ LC) เช่น GEK ,GEA, DAEWOO ,THN โดยการซื้อชิ้นส่วนที่ไม่สามารถผลิตเองได้ พวกเครื่องยนต์ โบกี้ ระบบควบคุมต่างๆ (เหลือแต่โครงประธาน) และอาจจะมีการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างตามความเหมาะสม ทางการรถไฟไทย มีความสามารถต่อเองได้รึไหมครับ |
อย่างแรก ควรจะถามว่าในปัจจุบันขีดความสามารถในการประกอบ ของโรงงานที่อยู่ภายใต้การรถไฟ มีเครื่องมือ ในการประกอบครบทุกส่วนงานหรือไม่
อย่างที่สอง น่าจะเป็นคน ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีความพร้อมในระดับประกอบเองได้ทุกส่วนของรถจักร และในความเห็นน่าจะเป็นการประกอบ มากกว่า ต่อรถ......
อย่างที่สาม จากตัวอย่างชนิดรถ ที่กล่าวข้างต้น เทคโนโลยีที่อยู่ในรถชนิดดังกล่าว อุปกรณ์ถ้าเป็นไปตามแบบต้นฉบับของรถที่กล่าวมาข้างต้น เกรงว่าในปัจจุบันผู้ผลิต ชิ้นส่วนที่ว่า อาจจะยกเลิกการผลิตไปแล้ว
วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ง่วงนอนแล้ววว |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 21/02/2011 4:10 am Post subject: |
|
|
ในแง่การลงทุนแล้ว...
ประทศที่ผลิตรถจักรเขาไม่ได้ผลิตใช้อย่างเดียวหรือเปล่า... เขาน่าจะจะรับผลิต/ ผลิตจำหน่ายด้วยหรือไม่...
ถึงจะคุ้มกับการลงทุนตั้งฐานการผลิต
เพื่อมิให้ซับซ้อน ข้อนี้ขอสมมติโดยการคิดง่ายๆ สไตล์ "ยี่ปั๊ว"...
CASE I_ ผลิตจำหน่าย รายได้มาจาก ---> ตั้งราคา/ระดมทุน/ธุรกิจร่วม
[อาที GE ธุรกิจหลากหลายมาก รวมทั้งธุรกิจยีอีที่มาง้อให้เราเอาตังค์เขามาใช้ ]
CASE II_ รับผลิตตาม ORDER รายได้มาจาก ---> ดูต้นทุน; ค่าแรง; ค่าเสื่อมเครื่องมือ-โรงงาน แล้วตั้งราคาให้ได้กำไร
ขายเสร็จได้ตังค์มา... (คิดแบบ Basic สไตล์ ยี่ปั๊วครับ...)
CASE III_ ผลิตใช้เอง.... รายได้มาจาก...???!!! งบสนับสนุนจากรัฐ ... แล้วหากเจ้าของรถสร้างรถใช้เอง ซื้อเครื่อมือ ซื้อทรัพยากรมนุษย์
มาผลิต พอผลิตเสร็จแล้ว รถเดินออกจากโรงรายได้จะทันค่าเสื่อมหรือเปล่า...???
หร้อหากให้เอกชนทำ ... ก็กลับไปที่ทีแรก...จะเอาเงินที่ไหนมาจ้างเขา หรือหากจ้างผลิตคิดไปคิดมา ก็ไปซื้อของเขามาใช้ก็น่าจะคุ้มกว่า... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 21/02/2011 7:48 am Post subject: |
|
|
จะทำแบบนี้นะครับ ต่อโครงประธาน+ตัวถัง ที่เหลือซื้อเอาแบบ Rotem อุปกรณ์บ้างอย่างเลิกผลิตไปแล้วก็จริง อาจจะต้องใช้รุ่นใหม่ๆ ถ้าทำใช้เองแล้วดี เราก็ทำขายซะเลยแบบเกาหลีใต้ แม้ว่าจะต้องลุงทุนโรงงาน+รางทดสอบ 8ขนาด ที่มีราคาสูง แต่เราจะได้รถไฟ เมดอินไทยแลนด์แล้ว
http://www.irrs.ie/Journal%20170/170%2022000%20Class.htm _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47247
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/02/2011 8:03 am Post subject: |
|
|
ผมคิดว่า สิ่งที่มีราคาแพงที่สุดในการประกอบรถจักรสักคัน
คือ เทคโนโลยี ที่อยู่ในรูปแผ่นกระดาษแบบแปลนและหลักการทำงานนั่นแหละครับ
สมัยก่อนเวลาเราซื้อทีวีมา 1 เครื่อง ในกล่องจะแถมกระดาษผังวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของทีวีมาให้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์กับช่างซ่อมทีวีประจำหมู่บ้านมาก
เสียก็ยกไปซ่อม ช่างซ่อมมีรายได้ ร้านขายอุปกรณ์ อะไหล่มีรายได้ โรงงานประกอบทีวีก็ไม่จำเป็นต้องเปิดศูนย์ซ่อมทั่วประเทศให้เปลืองงบบุคลากร
เพราะทีวียี่ห้อไหนซ่อมง่าย ก็ขายดีอยู่แล้ว ขายได้ทั้งตัวเครื่อง ทั้งอะไหล่
ปัญหาคือ รถจักร ไม่ใช่รถโตโยต้า ที่ชาวบ้านจะซื้อมาใช้เองที่บ้านหรือทำรถแท็กซี่
(ผมเคยเห็นอู่ซ่อมรถแถว ๆ บ้าน ขึ้นป้ายเลยว่า รับซ่อมรถทุกชนิด ยกเว้นรถไฟ)
นาน ๆ จะขายได้สักคัน
ไม่มีใครออกแบบรถจักร แล้วผลิตออกมาเป็นชุดคิท จากนั้นเราก็ซื้อมาประกอบเองที่โรงงาน(มักกะสัน)ได้ง่าย ๆ
การประกอบรถจักร แค่มีอุปกรณ์ประแจปากตาย ประแจแหวน ไขควง เครื่องเจียร์ เครื่องกลึง หัวแร้ง ตู้เชื่อม ฯลฯ ทำได้หรือไม่
สิ่งที่เห็นอยู่ตอนนี้คือ บ้านเรามีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมต่อเรือ วิศวกรรมอากาศยาน หรือแม้แต่อวกาศยาน ดาวเทียม
แต่ไม่มีสถาบันไหน เปิดสอนการสร้างรถไฟครับ มีแต่สอนขับรถไฟและสอนซ่อมให้ใช้งานได้ทันไปวัน ๆ หนึ่ง สร้างรถจักรไอน้ำสักคันยังทำไม่ได้เลย อย่าว่าแต่รถไฟไม้ไผ่แบบประเทศเพื่อนบ้าน
เพราะถึงสร้างได้ ก็ไม่รู้จะเอาไปทดลองวิ่งที่ไหน สร้างรถยนต์เอง ยังพอทดลองวิ่งตามถนน รพช.ในหมู่บ้านได้
ปล่อยสายสุพรรณบุรีให้รางตากแดดเล่นทั้งวันต่อไปก็แล้วกันครับ
ป.ล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีทางรถไฟผ่านทั้งวิทยาเขตบางเขน กำแพงแสนและศรีราชา
และขณะนี้เปิดสอนหลักสูตร
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน
แต่ไม่มีหลักสูตรการขนส่งระบบรางครับ
ต่อรางจากทางประธานเข้ามาในวิทยาเขตกำแพงแสนได้ไหมครับ
แล้วเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมการสร้างรถไฟ
(ขนาดซื้อรถจักรยังต้องใช้เวลา 2-3 ปีเลย จะเอารถจักรที่ไหนให้นิสิตใช้เป็นวัสดุฝึก) |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 21/02/2011 8:22 am Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ผมคิดว่า สิ่งที่มีราคาแพงที่สุดในการประกอบรถจักรสักคัน
คือ เทคโนโลยี ที่อยู่ในรูปแผ่นกระดาษแบบแปลนและหลักการทำงานนั่นแหละครับ
สมัยก่อนเวลาเราซื้อทีวีมา 1 เครื่อง ในกล่องจะแถมกระดาษผังวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของทีวีมาให้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์กับช่างซ่อมทีวีประจำหมู่บ้านมาก
เสียก็ยกไปซ่อม ช่างซ่อมมีรายได้ ร้านขายอุปกรณ์ อะไหล่มีรายได้ โรงงานประกอบทีวีก็ไม่จำเป็นต้องเปิดศูนย์ซ่อมทั่วประเทศให้เปลืองงบบุคลากร
เพราะทีวียี่ห้อไหนซ่อมง่าย ก็ขายดีอยู่แล้ว ขายได้ทั้งตัวเครื่อง ทั้งอะไหล่
ปัญหาคือ รถจักร ไม่ใช่รถโตโยต้า ที่ชาวบ้านจะซื้อมาใช้เองที่บ้านหรือทำรถแท็กซี่
(ผมเคยเห็นอู่ซ่อมรถแถว ๆ บ้าน ขึ้นป้ายเลยว่า รับซ่อมรถทุกชนิด ยกเว้นรถไฟ)
นาน ๆ จะขายได้สักคัน
ไม่มีใครออกแบบรถจักร แล้วผลิตออกมาเป็นชุดคิท จากนั้นเราก็ซื้อมาประกอบเองที่โรงงาน(มักกะสัน)ได้ง่าย ๆ
การประกอบรถจักร แค่มีอุปกรณ์ประแจปากตาย ประแจแหวน ไขควง เครื่องเจียร์ เครื่องกลึง หัวแร้ง ตู้เชื่อม ฯลฯ ทำได้หรือไม่
สิ่งที่เห็นอยู่ตอนนี้คือ บ้านเรามีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางด้านวิศวกรรมต่อเรือ วิศวกรรมอากาศยาน หรือแม้แต่อวกาศยาน ดาวเทียม
แต่ไม่มีสถาบันไหน เปิดสอนการสร้างรถไฟครับ มีแต่สอนขับรถไฟและสอนซ่อมให้ใช้งานได้ทันไปวัน ๆ หนึ่ง สร้างรถจักรไอน้ำสักคันยังทำไม่ได้เลย อย่าว่าแต่รถไฟไม้ไผ่แบบประเทศเพื่อนบ้าน
เพราะถึงสร้างได้ ก็ไม่รู้จะเอาไปทดลองวิ่งที่ไหน สร้างรถยนต์เอง ยังพอทดลองวิ่งตามถนน รพช.ในหมู่บ้านได้
ปล่อยสายสุพรรณบุรีให้รางตากแดดเล่นทั้งวันต่อไปก็แล้วกันครับ
ป.ล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีทางรถไฟผ่านทั้งวิทยาเขตบางเขน กำแพงแสนและศรีราชา
และขณะนี้เปิดสอนหลักสูตร
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน
แต่ไม่มีหลักสูตรการขนส่งระบบรางครับ |
ผมเห็นมีขายเกือบทุก อย่างนะครับอาจารย์ เช่น โบกี้ ชุดอินเวริสเตอร์ เบส ระบบหล่อเย็น ระบบเบรก เท่าที่ผมลองขอข้อมูลดู ไม่มีแค่มีโครงประธานเท่านั้นเองที่ไม่มีขาย _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47247
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/02/2011 8:36 am Post subject: |
|
|
โครงประธานไม่มีขาย คงเป็นเพราะประกอบแล้วสั่งเข้ามา ค่าขนส่งไม่คุ้ม น้ำหนักมาก กินพื้นที่มาก มูลค่าต่ำ
สามารถสร้างในประเทศได้ใช่ไหมครับ
เหมือนคอมพิวเตอร์ ได้อะไหล่มาครบแล้ว ประกอบคอมพ์ได้ ขาดแต่ case
รถไฟบ้านเรา ถ้าเปรียบเป็นคอมพ์ ก็คงมีเมนบอร์ด ซีพียู แรม การ์ดจอ OS ฯลฯ ครบหมด
ขาดแต่เคสกับเครื่องมือและวิธีประกอบ นั่นแหละครับ
ลองอ่านข่าวนี้ครับ
------------------------------------
ลุยหลักสูตรปั้นคนป้อนรถไฟ ชูธงเป้าหมายผู้นำ
แนวความคิดในการจัดตั้งโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า จากนโยบายการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท. ออกเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ (BU) และ 1 บริษัทลูก (บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.) เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ในฐานะประธานกรรมการ ร.ฟ.ท.มองว่า การรถไฟฯ จำเป็นจะต้องวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรควบคู่กันไปด้วย
โดยมีโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟเป็นหัวใจในการพัฒนาคน ปัจจุบันผู้ที่จบการศึกษาในโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ล่าสุดทาง ร.ฟ.ท. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ลงนามเอ็มโอยูเพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต่อเนื่องอีก 2 ปี เพื่อให้ได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจุบันได้มีนักศึกษา รุ่นแรกจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีระบบรางจำนวน 40 คน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ร.ฟ.ท.ต่อไปในอนาคต
ส่วนในปี 2554 ได้วางแผนจะเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ ๆ ได้แก่
1) หลักสูตรวิศวกรรมสาขารถไฟฟ้า โดยรับนักศึกษาระดับ ปวส.มาเรียนต่ออีก 2 ปี เพื่อรับวุฒิปริญญาตรี โดยจะให้สิทธินักศึกษาจากสถาบันอื่นนำหน่วยกิตมาเทียบโอนได้ และ
2) หลักสูตรวิศวกรรมระดับปริญญาตรี 4 ปี
ซึ่งเชื่อว่าบุคลากรที่จบการศึกษาจะเป็นที่ต้องการต่อไปในอนาคต โดยเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาระบบการเรียนการสอนคือ การก้าวไปสู่การจัดตั้ง "สถาบันพัฒนาระบบรางภาคพื้นอาเซียน" ซึ่งปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีประเทศใดจัดทำ
วัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาดูแลการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานระบบรางทั้งหมด รวมถึงงานศึกษาวิจัยด้วย จากปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ใช้วิธีว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาช่วยศึกษาหรือทำวิจัยโครงการก่อสร้างรถไฟหรือรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ อนาคตก็สามารถใช้บุคลากรที่จบจากสถาบันระบบรางภาคพื้นอาเซียนได้ โดยเฉพาะบุคลากรที่จบหลักสูตรสาขารถไฟฟ้าเชื่อว่าจะเป็นที่ต้องการอย่างมาก
"ในเรื่องบุคลากรไม่เฉพาะเรื่องการพัฒนาศักยภาพ แต่เรื่องโครงสร้างตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงก็คงต้องมาดูเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีตำแหน่งรองผู้ว่าการมากถึง 10 ตำแหน่ง แต่มีภารกิจหลัก 4 อย่าง คือ งานบำรุงรักษาทางรถไฟ ขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร บริหารจัดการทรัพย์สิน และซ่อมบำรุงรถไฟ เท่ากับว่า รองผู้ว่าการบางคนจะดูแลงานทับซ้อนกัน เป็นปัญหาที่ต้องมีการบริหารจัดการใหม่".
วันที่ 16 สิงหาคม 2553 จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4236 (หน้า10)
---------------------------
คุณนพว่า อีกกี่ปีเราจะสร้างรถไฟเองได้ครับ (แม้แต่ในรูปซื้อชุทคิทมาประกอบก็เถอะ)
Last edited by Mongwin on 21/02/2011 8:42 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 21/02/2011 8:40 am Post subject: |
|
|
ประมาณนั้นแหละครับอาจารย์ ถ้าเราต่อเองได้ เวลาต้องการใช้เพิ่ม ก็ต่อเพิ่มเอาครับ
ประหยัดเวลา ประหยัดรายจ่ายด้วย ขอบคุณครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47247
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/02/2011 8:48 am Post subject: |
|
|
ในระบบราชการ อย่างที่ผมทำงานอยู่นี้ งบครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง เป็นงบที่ขอยากที่สุดครับ ไม่เหมือนงบซ่อม ที่ยังพอขอได้
เวลาอยากได้คอมพ์ใหม่สักเครื่อง บางครั้งต้องซื้อเป็นอะไหล่แยกส่วนครับ แล้วมา(แอบ) ประกอบเป็นคอมพ์ไม่มีเลขครุภัณฑ์ครับ
รถจักรก็คงไม่ต่างกัน |
|
Back to top |
|
|
|