View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
keadtisak
3rd Class Pass
Joined: 03/01/2008 Posts: 88
|
Posted: 01/03/2012 12:24 pm Post subject: คุณคิดเห็นอย่างไรกับการผลักดันจัดตั้ง กระทรวงรถไฟ |
|
|
สืบเนื่องจากข่าวนี้นะครับ http://hilight.kapook.com/view/68198 เพื่อน ๆ สมาชิกคิดเห็นอย่างไรกับข่าวนี้ครับ ส่วนตัวผมเห็นว่า เป็นสัญญาณที่ดีในการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่จะยกฐานะเป็นกระทรวง แทนที่จะถูกแปรรูปเป็นบริษัทเอกชนครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 01/03/2012 12:36 pm Post subject: |
|
|
ลองนึกถึงกระทรวงศึกษาธิการครับ ที่ดูแลกิจการทั้งโรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม อาชีวศึกษา โรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนหลวง ม.รัฐ ม.ในกำกับรัฐ ม.เอกชน
ดูแลทั้งโรงเรียนวัด โรงเรียนประชาบาล ที่ให้เรียนฟรี ไปจนถึงโรงเรียนนานาชาิติ ค่าเทอมแพงมหาศาล
จะตั้งเป็นกระทรวงรถไฟ แบบเดียวกับพม่าหรือจีน ต้องถามก่อนครับว่า รัฐมนตรีควรมีความรู้เรื่องการขนส่งระบบรางหรือไม่ และปลัดกระทรวงมีวิสัยทัศน์เป็นอย่างไร
ปัจจุบันพอพูดถึงกระทรวงคมนาคม ก็จะนึกถึงกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทมาก่อน ไม่ค่อยมีใครนึกถึงการรถไฟฯ
พอ ๆ กับพูดถึงกระทรวงศึกษาธิการ ก็ไม่ค่อยมีใครนึกถึงมหาวิทยาลัยเท่าไหร่ครับ ผมเองบางครั้งก็ลืมไปเลยว่าตัวเองเป็นข้าราชการกระทรวงศึกษาฯ กับเขาด้วย
ถ้าตั้งกระทรวงรถไฟ แล้วโครงการสร้างทางรถไฟสายใหม่ ๆ ที่ค้างอยู่ตั้งแต่ผมยังไม่เกิด และทางเก่า ๆ กลายเป็นทางคู่ ฟื้นฟูทางรถไฟสายสงขลาได้ ก็น่าตั้งครับ ถึงไม่เป็นกระทรวง แต่เป็นกรมรถไฟหลวง หรือทบวงรถไฟ ก็ยังดีกว่ากระทรวงคมนาคมที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาสร้างโรงไฟฟ้า |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
Posted: 01/03/2012 12:57 pm Post subject: |
|
|
เห็นข่าวนี้ ผมกังวลว่า...
1. ปัญหาภายในองค์กร(มีฝ่ายไหนบ้าง น่าจะรู้กันดี)ตกลงกันดีหรือยัง?
เพราะถ้าเป็น"กระทรวง"แล้ว แต่คนในองค์กรยังตีกันเองเหมือนเมื่อครั้งอดีต ผลลัพธ์ใแง่เนื้องานและภาพลักษณ์ก็ไม่ต่างกันกับครั้งที่เป็น"การ"ครับ
2. คนที่เอามานั่งแท่น"รัฐมนตรีว่าการกระทรวง"(นักการเมือง)"รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง"(นักการเมือง)และ"ปลัดกระทรวง"(ข้าราชการ)ล่ะ ในเมืองไทยมีสักกี่คนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านระบบราง(จริงๆ) มีคุณสมบัติพอที่จะกระทรวงนี้ให้รอดผ่านไปได้
3. แผนบริหารจัดการหนี้สิน(ทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่)พอเป็นกระทรวงแล้วมันต้องมีแผนจัดการที่ชัดเจน เร่งรัด และรอบคอบกว่าที่เป็นอยู่ ไม่อย่างนั้นประชาชนจะมองว่ากระทรวงรถไฟ เป็น กระทรวงสะสมหนี้ จนทำให้ภาพลักษณ์ของรถไฟไทยที่แย่แล้วก็แย่ลงไปอีก
_________________ ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618 |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 01/03/2012 1:37 pm Post subject: |
|
|
ความเห็นผม กิจการรถไฟในบ้านเรายังไม่ใหญ่โตกว้างขวางจนถึงระดับบริหารงานในรูปกระทรวงนะครับ เผลอๆ อาจใหญ่โตเทอะทะ จนเป็นอุปสรรคในองค์กรตัวเองด้วยซ้ำไป
เอาแค่กรม หรือทบวงขนส่งทางรางน่าจะเพียงพอแล้ว และรับผิดชอบดูแลเพียงด้านโครงสร้างก็พอ |
|
Back to top |
|
|
nutsiwat
2nd Class Pass
Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
|
Posted: 01/03/2012 2:38 pm Post subject: |
|
|
ผมคิดว่ายังไม่สามารถที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงรถไฟได้ เนื่องจากการดูแลกิจการรถไฟ จะต้องครอบคลุมเกี่ยวกับกิจการรถไฟทุกอย่าง อย่างเช่น แอร์พอร์ตลิงค์ BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ที่จะก่อสร้าง รวมทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วย จะต้องบริหารแบบรวมการทุกอย่าง โดยมีปลัดกระทรวงเป็นผู้บริหารระดับสูง และก็ต้องมี รมว.รถไฟ เป็นข้าราชการการเมืองที่คอยดูแลและควบคุมกระทรวง และที่สำคัญรถไฟในบ้านเรา มีระบบขนส่งทางรางที่ยังไม่มากพอ ยังไม่ครอบคลุมได้ทั่วถึง และยังไม่อยู่ในวงกว้างมาก เหมือนยังสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ที่ประเทศของเค้ามีขนาดใหญ่ และมีเส้นทางรถไฟที่มาก จึงสามารถที่จะจัดตั้งกระทรวงรถไฟได้ เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ การดูแล และการสั่งการในเรื่องต่าง ๆ จึงให้การรถไฟสังกัดกระทรวงคมนาคมเหมือนเดิม แต่ว่าทางกระทรวงคมนาคมก็ไม่เคยให้ความสำคัญกับระบบรางมากพอ งบประมาณที่ลงมาก็มีน้อย บางครั้งก็ตัดงบไปให้กับกรมทางหลวงซะส่วนใหญ่ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43965
Location: NECTEC
|
Posted: 03/03/2012 12:25 am Post subject: ข่าวที่เป็นต้นราก |
|
|
เพื่อไทยดัน"กระทรวงรถไฟ" คุมลอยฟ้า-ใต้ดิน รฟท.เปิดอีกรอบหลักสูตรวิศวกรรมฯ เรียน2ปีค่าเทอม2พัน
มติชน วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:48:40 น.
รท หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะอนุกรรมาธิการ กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ว่าที่ รต พงษ์พันธุ์ สุนทรชัย ส.ส. หนองคาย พรรคเพื่อไทย ประธานคณะอนุกรรมาธิการ กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญฯ จะผลักดันให้ยกฐานะการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ขึ้นเป็นกระทรวงรถไฟ จะเสนอรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ปรับปรุงกิจการ กระทรวง. ทบวง กรม เพื่อขอความเห็นชอบของสภา ให้ผลักดัน ร่าง พรบ ดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเนื่องจากเป็น พรบ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ตั้งกระทรวงการรถไฟ. กำกับดูแลกิจการด้านรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟธรรมดาหรือรถไฟฟ้าทั้งลอยฟ้าและใต้ดิน
ร.ท.หญิงสุณิสากล่าวถึงกรณีตัวแทนลูกจ้างเฉพาะงานหรือลูกจ้างชั่วคราว และผู้แทนสหภาพแรงงาน การรถไฟฯเดินทางมาทวงถามความคืบหน้าในการเปิดบรรจุพนักงานการรถไฟ 2,438 อัตรา ต่อว่าที่ รต พงษ์พันธุ์ ว่า ขณะนี้กำลังรอการลงนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อยืนยันต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องใหคณะรัฐมนตรีพิจารณา ว่ากระทรวงคมนาคมเสนอให้ ครม มีมติยกเลิก มติ ครม เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม2541 ที่ไม่อนุญาตให้บรรจุพนักงานการรถไฟเพิ่มเติม นอกเหนืออัตราที่กำหนด เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ส่งผลให้การรถไฟฯ ขาดแคลนพนักงานและอาจไม่สามารถรองรับภารกิจที่อาจเพิ่มขึ้น จากโครงการต่างๆที่รัฐบาลวางแผนไว้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือการพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ คาดว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะลงนามภายในสัปดาห์หน้า ส่วนกระบวนการพิจารณาของ ครม น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน
ร.ท.หญิงสุณิสากล่าวว่า ตัวแทนลูกจ้างและสหภาพแรงงานการรถไฟฯ แสดงความกังวล อาจไม่ได้รับความเป็นธรรมในการบรรจุ โดยอยากให้หน่วยงานพิจารณาบรรจุบุคคลภายในเป็นลำดับแรก และไม่มั่นใจว่าจะสอบแข่งขันเข้าทำงานได้ เนื่องจากวุฒิการศึกษาไม่สูงนัก และยังห่างการเรียนมานาน เพราะต้องทุ่มเทกับการให้บริการประชาชน ว่าที่ รต พงศ์พันธุ์ จึงเสนอให้การรถไฟฯ ขอความร่วมมือกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน)จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ของพนักงานและเปิดโอกาสให้พนักงานใช้ประสบการณ์เทียบวุฒิการศึกษาได้ การรถไฟฯ เห็นด้วยและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษาหน้านี้ จะเปิดหลักสูตร วิศวกรรมรถไฟ หลักสูตร 2 ปี อีกครั้ง หลังจากหยุดการเรียนการสอนไปหลายปี โดยปิดสอน 4 สาขา คือ ช่างกล สื่อสาร การเดินรถ และการช่างโยธา ค่าใช้จ่ายต่ำ ประมาณเทอมละ 2,000 บาท เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องมีวุฒิ ปวช. ในสาขาที่เกี่ยวข้อง |
|
Back to top |
|
|
pitipon_7
3rd Class Pass
Joined: 30/08/2010 Posts: 158
Location: สถานีชุมทางบ้านดินแดง
|
Posted: 03/03/2012 9:44 am Post subject: |
|
|
ในความคิดเห็นของผม ถ้าจะจัดตั้งเป็นกระทรวงรถไฟเลย ไม่เหมาะเพราะเนื่องจากกิจการรถไฟ ของบ้านเรา ยังไม่ใหญ่โตอะไรมากมาย ควรจะเป็นแค่กรมการขนส่งทางราง และให้มีหน่วยงานในสังกัด คือ รฟท รฟม บีทีเอส แอร์พอร์ทลิ้งค์ มากกว่าครับ |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 03/03/2012 1:41 pm Post subject: |
|
|
เป็นระดับกรม น่าจะพอมั้ง
อย่างน้อย ในเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะได้เดินเรื่องงบลงทุน และซ่อมบำรุง ที่จะจัดจากงบประมาณประจำปีได้
ส่วนภาระกิจหลักของกรมนี้ คงจะเป็นด้าน กำกับนโยบายแผนงานของระบบราง และการเสนองบลงทุนและงบผูกพัน
ส่วนเรื่องการจัดการแบ่งเป็น หน่วยธุรกิจ ที่สามารถเพิ่มช่องทางการจัดการ และบริหาร ในเรื่องการร่วมทุน และลดช่องว่างในด้านกฎกติกา ต่างให้คล่องตัว
ส่วนที่จะแก้ไข พรบ หรือเสนอ พรบฉบับใหม่ สิ่งที่ต้องกลับมาสังเคราะห์ คือ สินทรัพย์ และโครงสร้างของบุคลากร ที่แต่ละหน่วยธุรกิจ ภารกิจ และศักยภาพ บุคลากรมีความสามารถไม่เท่าเทียมกัน สนุกสนานงามไส้ เป้นแน่ |
|
Back to top |
|
|
suraphat
1st Class Pass (Air)
Joined: 12/02/2007 Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง
|
Posted: 03/03/2012 9:49 pm Post subject: |
|
|
คงเป็นกรมการขนส่งระบบรางเป็นแน่ เพราะคิดดูสิว่า หากเป็นทางถนน ก็มีอยู่หลายกรม หลายสำนักดูแลอยู่ เช่นกรมทางหลวงดูแลเรื่องถนนหนทาง ตลอดจนระบบอาณัติสัญญาณที่อยู่บนทางหลวงทุกเส้นทาง กรมการขนส่งทางบกดูแลเรื่องตัวรถยนต์ที่นำมาวิ่งทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถบัส รถบรรทุก ซึ่งก็จะตรวจสอบทั้งสภาพรถต่างๆเหล่านี้เพื่อนำมาใช้วิ่งกันบนท้องถนนได้
ในส่วนของทางน้ำก็เห็นว่าจะมีกรมเจ้าท่าและกิจการพานิชย์นาวี เป็นผู้ดูแลในเรื่องของระบบเรือทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความกว้างของแม่น้ำลำคลอง การขุดลอกร่องน้ำ การจัดการจราจรทางน้ำในวาระสำคัญเช่นการประกาศปิดการเดินเรือเข้าออกในบริเวณที่มีอุบัติเหตุเรือล่มตามที่ต่างๆตลอดจนในเรื่องของการนำร่องเรือเพื่อที่จะได้นำเรือออกเดินทางไปในที่ต่างๆได้
ซึ่งหากได้แยกระบบรถไฟออกมาเป็นกรมการขนส่งระบบรางแล้ว การซ่อมบำรุงราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบตัวรถต่างก็จะแยกออกเป็นหน่วยงานในระดับกองได้นะครับ
นอกจากนี้แล้วหากได้เปิดเป็นระดับกรมแล้ว เราเองก็อาจจะได้เห็นการแข่งขันในระบบรางนี้ก็อาจเป็นได้ โดยมีการรถไฟฯก็จะเข้าไปเป็นเพียงผู้แข่งขันรายหนึ่งเท่านั้น และเราก็อาจจะได้เห็นมีบริษััทต่างๆมากมายเข้ามาเป็นผู้แข่งขันรายอื่นก็ได้
ซึ่งตัวอย่างนี้เราเห็นได้ชัดจากการให้บริการขนส่งของรถทัวร์ไทย ที่เราจะพบว่า บริษัท ขนส่ง จำกัด ก็ลงมาเป็นเพียงผู้ให้บริการรายหนึ่งเท่านั้น เช่นหากเราต้องการเดินทางไปเชียงใหม่ เราก็สามารถเลือกที่จะใช้บริการเอาจากรถทัวร์ในบริษัทต่างๆได้นอกเหนือจากบริษัท ขนส่ง จำกัด เช่นจะหันไปใช้บริการรถทัวร์ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด บริษัท สมบัติทัวร์ จำกัด หรือจะหันไปใช้รถทัวร์ของบริษัท ทันจิตต์ทัวร์ จำกัดก็ได้
ซึ่งหากโครงสร้างระบบรางได้ออกแบบมาเป็นเช่นนี้แล้ว เราเองก็อาจจะได้เห็นการให้บริการของบริษัทเอกชนมาให้บริการรถไฟในแบบเดียวกับรถทัวร์นี้ก็อาจเป็นได้นะครับ
ทั้งนี้ก็ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันที่ว่าบรรดาผู้แข่งขันเหล่านนี้จะรับผิดชอบอยู่เพียงส่วนเดียวเท่านั้นคิอในส่วนของตัวรถเท่านั้น ในส่วนของระบบอื่นๆเช่นระบบซ่อมบำรุงราง ซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัณญาณ ตลอดจนระบบของการควบคุมการเดินรถ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกรมขนส่งระบบรางนี้ไปนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/03/2012 4:38 pm Post subject: |
|
|
กระทรวงรถไฟ แค่คิดก็ผิด
เดลินิวส์ วันพุธที่ 7 มีนาคม 2555
ผมสนับสนุนการเคลื่อนไหวโดยคนของพรรคเพื่อไทยผ่านทางสภาผู้แทน ตั้งเป้ายกระดับงานบริการรถไฟซึ่งพัฒนาช้ามาก ๆ ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยการจัดตั้งกระทรวงรถไฟ
พอเอ่ยชื่อกระทรวงรถไฟผมก็ไม่เห็นด้วย ยิ่งทีมงานผู้ศึกษาบอกว่าเป็นกระทรวงที่ยกฐานะมาจากการรถไฟแห่งประเทศไทยก็น่าจะไปกันใหญ่
ข้อแรก ไม่มีความจำเป็นเข้มข้นขนาดต้องจัดตั้งกระทรวงใหม่เพื่อบริหารจัดการงานรถไฟ ผมเคยเสนอไปและยังยืนยันตามนั้นว่าที่ควรจะเป็นคือตั้ง กรมการขนส่งระบบราง สังกัดกระทรวงคมนาคม เหมือนที่เรามีกรมการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางอากาศ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
กรมขนส่งระบบรางดูแลสายงานตามชื่อที่เรียก รถไฟต้นตำรับที่ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2429 แล้วก็รถไฟฟ้า,รถไฟใต้ดิน,แอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟความเร็วสูงที่เข้าคิวแจ้งเกิดยาวเหยียด
เนื้องานที่เห็นควบคุมในระดับกรมก็น่าจะเอาอยู่
ข้อที่ 2 การยกฐานะการรถไฟฯเป็นกระทรวงการรถไฟเป็นความเข้าใจผิดอย่างฉกรรจ์ โดยทั่วไปต้องแยกระหว่าง ผู้คุมกฎ และ ผู้ปฏิบัติตามกฎ ออกจากกัน ความจริงอันหนึ่งที่ทำให้การรถไฟฯล้มเหลวก็เพราะเหมาหน้าที่ทั้งคุมกฎและวิ่งรถเอง จะโทษใครก็ไม่ได้เพราะประเทศไทยมีหน่วยงานกำกับดูแลระบบรางแค่หนึ่งเดียว
นึกออกใช่ไหม? ขนาดสร้างแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งควรบริหารโดยมืออาชีพอย่างอิสระ ก็กลายเป็นว่ารฟท.ในฐานะบริษัทแม่อาสาเลี้ยงลูกเองส่งรองผู้ว่าฯมาบริหาร ผลคือเชื้อขาดทุนลามมาถึงลูก
หนทางพัฒนาระบบรางก็โดยตั้งกรมขนส่งระบบรางมาเป็นผู้คุมกฎหรือ Regulator โดยรฟท.จะเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติตามกฎหรือ Operator แข่งขันกับรายอื่นๆ อาทิ รถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้าบีทีเอส และรายอื่นๆที่จะเกิดตามมาอีกมากมาย
งานของผู้คุมกฎไม่เพียงพัฒนาเส้นทางใหม่ๆและดูแลกติกาการแข่งขันอย่างเป็นธรรม แต่รวมความถึงการพัฒนาบุคลากรด้านรถไฟซึ่งของเราขาด สถาบันพัฒนาทักษะด้านนี้จำกัด
อันนี้สำคัญ เมื่อคิดจะมีรถไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบในอนาคตเราก็ต้องสร้างคนของเรามารองรับ ไม่เช่นนั้นต้องจ้างต่างชาติยืมจมูกคนอื่นหายใจเช่นกรณีแอร์พอร์ตลิงก์
เรื่องดี! ที่พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลใส่ใจพัฒนางานด้านรถไฟอย่างสร้างสรรค์ เช่นที่เรียนไว้อย่ามองไกลไปถึงตั้งกระทรวง ให้เริ่มที่กรมมารับผิดชอบแบบบูรณาการแทนรฟท.ซึ่งสันทัดงานเดินรถมากกว่าบริหารทั้งระบบ
ขอบคุณแทนประชาชนผู้รอใช้บริการระบบราง ทั้งโดยสารและขนส่งสินค้าซึ่งท้อแท้กับสภาพปัจจุบันที่ไม่แตกต่างจากอดีตมาหลายสิบปี
มาถูกทางแล้วล่ะ เรามีโครงการรถไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบที่ยังไม่มีคือ เจ้าภาพ บริหารจัดการในภาพรวม อันนี้รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจ.
แมงเม่า |
|
Back to top |
|
|
|