Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 19/07/2013 7:06 pm Post subject: โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
ระบบขนส่งมวลชลโคราช มูลค่า 4 พันล้านบาท
Korat Rapid Transit (KRT) เฟสแรก - BRT ลอยฟ้า
Light Blue Line
C1 - โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา Nakhon Ratchasima Hospital
C2 - ในเมือง Nai Mueang
Dark Blue
B1 - การเคหะนครราชสีมา Keha (National Housing Korat)
B2 - ต่างระดับปักธงชัย Pak Thong Chai Elevated
B3 - วัดอัมพวัน Amphawan
B4 - สำโรงจันทร์ Sam Long Chan
B5 - มหาชัย Maha Chai
B6 - บ้านเกาะ Ban Kaoh
S2 - ตรอกจันทร์ Trok Chan
Red Line
R1 - บขส. 2 Bus Terminal II
R2 - ประโดก Pra Dok
R3 - มหาวืทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล Wong Chavalitkul University
R4 - ขนาย Khanai
S4 - ต่างระดับจอหอ 1 Choho 1 Elevated
Yellow Line
S5 - จอหอ Choho
Y1 - โยธาธํิการจังหวัด Yothathigan (Civil Works authority)
Y2 - ต่างระดับจอหอ 2 Choho 2 Elevated
สายม่วง
P1 - ทุ่งสว่าง Tung Sawang
P2 - อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี Thao Sura
P3 - หัวทะเล Hua Thalae
P4 - หนองบัวศาลา Nong Bua Sala
P5 - หนองตะลุมพุก Nong Talumpuk
P6 - นิคมอุตสาหกรรมสุรนารี Suranaree Industrial Zone
รายงาน: ทุ่ม4,000ล.ผุด'สกายบัส''ตอบโจทย์'แก้รถติดโคราช
โดย เกษม ชนาธินาถ
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ลักษณะกายภาพเมืองโคราช ถือเป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ อุตสาหกรรม และเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ซึ่งมีศักยภาพเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมามีประชากรกว่า 164,000 คน และประชากรแฝง อีกร้อยละ 22 มีจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลจดทะเบียนสูงสุดในภูมิภาคกว่า 8 หมื่นคันต่อปี มีรถจักรยานยนต์ (จยย.) เป็นอันดับสองของประเทศ 6 แสนคันต่อปี ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด อุบัติเหตุทางถนน และการสูญเสียการใช้พลังงานมากขึ้นตามลำดับ หากไม่มีการวางแผนแก้ไขอย่างเป็นระบบ จะเกิดวิกฤตในสังคมเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ภายใน 10 ปี
โจทย์เหล่านี้ สุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา จึงต้องมีแนวคิดพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ในอนาคต โดยเน้นที่ความปลอดภัย 100% ค่าโดยสารต้องไม่แพง และไม่รบกวนระบบการจราจรเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น ไม่สร้างถนนขึ้นใหม่ และไม่ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ ที่จะสร้างความติดขัดมากกว่าเดิม
"สุรวุฒิ" บอกว่า คณะผู้บริหารเทศบาลนครนครราชสีมาจึงได้มีการศึกษาเรื่องระบบขนส่งในรูปแบบของ "สกายบัส" ซึ่งขณะนี้เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก กำลังให้ความนิยมมาก อาทิ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น และเมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ที่เคยมีปัญหาวิกฤติจราจร แต่เมื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบ "สกายบัส" ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะผู้บริหารฯจึงว่าจ้างกลุ่มคณาจารย์ สาขาวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลโยลีสุรนารี นครราชสีมา (มทส.) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา (Preliminary Design) ในระบบ "สกายบัส" ให้เหมาะสมกับลักษณะกายภาพ และด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน
"โดยลงพื้นที่หาข้อมูล ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนานร่วม 6 เดือน จากนั้นได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เน้นการออกแบบต้องคำนึงถึงองค์ประกอบพื้นที่ใช้สอยของระบบขนส่ง สามารถตอบรับกับการใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น โดยนำรูปแบบของประตูเมืองและกำแพงเมือง มาเป็นสัญลักษณ์ของโครงการ (Gate for future) เพื่อสื่อถึงประตูต้อนรับสู่เมืองโคราชสมัยใหม่"
"สุรวุฒิ" ระบุว่า ข้อสรุปจากการทำประชาคมเมือง 6 ครั้ง ได้คำตอบการออกแบบชื่อและตราสัญลักษณ์โครงการ ซึ่งต้องแสดงถึงความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัย และการเชื่อมต่อการเดินทาง โดยรูปสี่เหลี่ยม 4 สี แทนความสุขในเมืองโคราช สีเขียวแทนความร่มรื่น ต้นไม้ สุขภาพดี สีแดงแทนความสุข ความรัก ความรื่นเริง สีเหลืองแทนความสงบสุข คุณธรรม สีฟ้าแทนความสดชื่น ร่มเย็น เป็นสุข ส่วนตัว K แทนตัวระบบโครงสร้างที่เชื่อมต่อความสุขด้านต่างๆ โดยใช้ชื่อระบบขนส่งมวลชนนครราชสีมา "Korat Rapid Transit" หรือ KRT "ใช้รูปแบบรถบีทีอาร์ รถโดยสารทันสมัยยาว 12 เมตร บรรทุกผู้โดยสาร 80 คน และยาว 18 เมตรรองรับผู้โดยสาร 150 คน ใช้เครื่องยนต์มาตรฐานสูง ไม่ก่อมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบ Hybrid หรือไฟฟ้า รถโดยสาร BRT จะติดตั้งระบบ ITS เพื่อควบคุมการเดินรถ ทำให้ผู้บริหารระบบสามารถควบคุมกำหนดการเดินรถ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และแจ้งข้อมูลการเดินทางแก่ผู้โดยสาร ส่วนการออกแบบระบบตั๋วที่เป็นมิตรแก่ผู้โดยสาร มีระบบการจัดเก็บค่าโดยสารก่อนขึ้นรถ ด้วยระบบตั๋วไร้สัมผัส (Contact-less Smart Card) เช่นเดียวกับรถไฟฟ้า สามารถใช้ตั๋วร่วมกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ในกรุงเทพมหานครได้ เช่น รถไฟฟ้ายกระดับ และรถใต้ดิน
"สำหรับราคาค่าโดยสารคงที่ 10 บาทตลอดสาย กำหนดจุดขึ้น-ลงไว้ 6 สถานี
1.หน้าโรงเรียนเมืองนครราชสีมา
2.ห้าแยกหัวรถไฟ
3.หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์
4.ศูนย์บริการรถโปรตอนและ BMW
5.โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
6.โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช
ใช้ระบบควบคุมการเดินรถจากส่วนกลางทุกๆ 3 นาที ในชั่วโมงเร่งด่วนทุกๆ 7 นาที ให้บริการ 18 ชั่วโมงต่อวันไม่มีวันหยุด พร้อมเชื่อมต่อการให้บริการรูปแบบการขนส่งมวลชน รถสองแถว และมีระบบตั๋วต่อตลอดพัฒนาเป็นตั๋วร่วม พร้อมจัดจุดจอดรถจักรยานปั่น และรถจักรยานยนต์ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง หากระบบขนส่งสมบูรณ์แบบในชั่วโมงเร่งด่วนสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารกว่า 1 หมื่นคนต่อทิศทาง"
นายกเล็กนครโคราช บอกด้วยว่า หากดำเนินการสร้างระบบสกายบัสเสร็จ ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณ ต.โคกกรวด ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร จะสามารถใช้การเดินทางด้วยระบบขนส่งบนถนนปกติ มาถึงบริเวณโรงเรียนราชสีมาวิทยาชัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งช่วงนั้นการจราจรยังไม่ติดขัดนัก จากนั้นขึ้นรถสกายบัสเข้าสู่ตัวเมือง โดยรางของรถสกายบัสนี้จะใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นเส้นทางหลัก ไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดิน สามารถลดงบประมาณได้จำนวนมาก
"สำหรับเส้นทางที่วิ่งเข้าในตัวเมืองจะผ่านจุดสำคัญหลายแห่ง อาทิ ชุมชนเคหะนคร, โรงเรียนโคราชวิทยาคม, โรงแรมสีมาธานี, โรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา, เดอะมอลล์โคราช, บิ๊กซี, โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา, ไอทีพลาซ่า, โรงเรียนเมืองนครราชสีมา, โรงเรียนอนุบาลนครนครราชสีมา, โรงเรียนสุรนารีวิทยา, วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และไปสิ้นสุดที่ ต.จอหอ ซึ่งรวมระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร
"คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาท แต่จะได้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 20% ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน 246 ล้านบาทต่อปี คิดรวมเป็นมูลค่า 7,380 ล้านบาทตลอดอายุโครงการ ทั้งยังสามารถลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้ถึง 3.9 ล้านบาทต่อปี ถือว่ามีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ และไม่แพงสำหรับการแก้ไขปัญหาจราจรในอนาคต เนื่องจากเส้นทางที่ทำการสำรวจมานี้มีการจราจรแออัดไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1.5 แสนคน"
"สุรวุฒิ" ทิ้งท้ายว่า ล่าสุดได้นำเรื่องนี้ปรึกษากับ "ประเสริฐ จันทรรวงทอง" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งให้ความสนใจพร้อมจะเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณครึ่งหนึ่งของการก่อสร้าง ส่วนอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณของท้องถิ่น หากโครงการนี้ดำเนินแล้วเสร็จ เทศบาลนครนครราชสีมาจะเป็นเมืองใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีระบบ "สกายบัส" รองรับการเดินทาง ที่จะขยายตัวมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
Korat Rapid Transit fan page
เวบไซท์ทางการ Korat Rapid Transit ที่ ม. เทคโนโลยีสุรนารี
http://ktran.sut.ac.th/dupal/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 05/11/2015 9:52 pm Post subject:
สุรวุฒิเร่งสกายบัส ๓,๙๗๗ ล. นักผังเมือง-นักธุรกิจค้าน ไม่ช่วยแก้ปัญหาจราจร
นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒๓๐๐ วันพุธที่ ๑ - วันอาทิตย์ที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
ย้ำระบบขนส่งมวลชนเมืองโคราช สุรวุฒิ เชิดชัย ยังชี้นำ สกายบัส เหมาะสมที่สุด วาดแผนวิ่งยกระดับบนถนนมิตรภาพ นำร่องสายสีน้ำเงิน ราชสีมาวิทยาลัย-บ้านเกาะ ค่าก่อสร้าง ๓,๙๗๗ ล้านบาท เชื่อมเดินทางกับรถไฟทางคู่ ค่าโดยสาร ๑๐ บาทตลอดเส้นทาง หลังรัเงินมาศึกษาออกแบบ ๕๐ ล้านบาท ด้านนักผังเมือง วิศวกรจราจร และปชช.ไม่เห็นดีด้วย เพราะยังไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการและสภาพเมือง หวั่น! เทคโนโลยีเดินรถเอื้ออู่เชิดชัย
เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่ห้องประชุมชั้น ๕ อาคารกาญจนาภิเษก เทศบาลนครนครราชสีมา นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังแนวคิด การจัดระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ทั้งนี้ สืบเนื่องจากนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยเทศบาลนครนครราชสีมานำเสนอ โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ซึ่งที่ประชุม คจร.มีมติเห็นชอบกับรูปแบบโครงการดังกล่าว และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสรรงบประมาณศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงสร้างทางวิศวกรรม พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีผู้บริหารเทศบาลนครนครราชสีมา สมาชิกสภาเทศบาลนครนครราชสีมา (ส.ท.) ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นจังหวัดนครราชสีมา และผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวนกว่า ๑๐๐ คน อาทิ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นายสุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์ กรรมการบริหาร หจก.คิงส์ยนต์, ผศ.ดร.นิคม บุญญานุสิทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการผังเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเภสัชกรจักริน เชิดฉาย ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
ให้ปชช.มีส่วนร่วมโดยไม่มีอคติ
นายธงชัย(เบิร์ด) ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวเปิดการสัมมนาว่า โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา เป็นแนวคิดที่จะเดินไปข้างหน้าของเทศบาลนครนครราชสีมา เพราะโคราชเป็นเมืองขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีปัญหาจราจรติดขัด โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน การจัดสัมมนารับฟังแนวคิดต่อโครงการดังกล่าวในวันนี้ อยากให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรับฟังและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดนครราชสีมา เพราะเป็นที่ทราบดีว่าการก่อสร้างถนนหลายๆ สาย คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้ ๑๐๐% แต่ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ต้องปราศจากอคติ ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่ได้ความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ เพราะฉะนั้น เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงคมนาคมมาดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้ว ก็ต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ ไปแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพเมืองและความต้องการของภาคประชาชนผู้โดยสารอย่างแท้จริง
สุรวุฒิรับงบศึกษา ๕๐ ล้าน
นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา แสดงวิสัยทัศน์ต่อโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมาว่า เป็นผลต่อเนื่องจากการศึกษาออกแบบโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษแบบยกระดับ หรือที่เรียกว่า Sky Bus เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ จากกรุงเทพฯ-หนองคาย และพัฒนาให้เมืองโคราชน่าอยู่ในอนาคต เป็นศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ การคมนาคมทางบก และอุตสาหกรรมของภาคอีสาน มีความต้องการการเดินทางจากประชากรในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ประมาณ ๑๖๕,๐๐๐ คน และมีประชากรแฝงอีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบขนส่งมวลชนมารองรับ มิเช่นนั้นจะเกิดวิกฤติการจราจร ถนนจะไม่สามารถรองรับต่อปริมาณยานพาหนะที่มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ตนจึงมีโอกาสนำเสนอข้อมูลให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และสนข. รับทราบรายละเอียด เมื่อประมาณ ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกระทรวงคมนาคมมีความต้องการให้จังหวัดนครราชสีมา จัดระบบขนส่งมวลชนรองรับการขยายตัวในอนาคต จึงอนุมัติงบประมาณ ๕๐ ล้านบาท ให้ สนข. ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการฯ มีกรอบระยะเวลา ๖ เดือน
อย่างไรก็ตาม ระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองนครราชสีมา ต้องขนส่งผู้โดยสารโดยไม่กระทบต่อการจราจรบนพื้นฐาน มีความปลอดภัยสูง ลดอุบัติเหตุ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางจากรถไฟทางคู่ ไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินในการก่อสร้าง ค่าก่อสร้างไม่เกิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ค่าโดยสารไม่สูงจนเกินไป คือประมาณ ๑๐ บาทตลอดเส้นทาง และสามารถซ่อมบำรุงได้โดยท้องถิ่น นายกเทศมนตรีฯ กล่าวย้ำ
เชื่อมโยง ๓๔ สถานีใกล้บ้าน
จากนั้นดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสมระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา และประธานกรรม การบริหาร บริษัท พีเอสเคคอลซัลแทนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบเทคโนโลยีขนส่งอัจฉริยะ นำเสนอการวางแผนระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองนครราชสีมา พร้อมชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการจราจรของเมืองมีสาเหตุหลักมาจากโครงข่ายถนนที่มีอยู่จำกัด ไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นได้ การขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ โดยระบบขนส่งสาธารณะในเมืองยังอาศัยรถสองแถวและรถรับจ้าง ซึ่งขาดความปลอดภัย และไม่สะดวกสบาย ในทางกายภาพของถนนในเมืองแคบ ย่านธุรกิจ โรงเรียน การจัดการจราจรไม่เป็นระบบ การนิยมใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง การจัดระบบขนส่งสาธารณะให้มีระบบ เพื่อเป็นแนวทางเลือก รองรับความต้องการในการเดินทางให้เปลี่ยนจากการใช้รถส่วนตัวมาใช้รถขนส่งสาธารณะมากขึ้น ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาการจราจรในพื้นที่ศึกษา โครงข่ายถนนสายหลัก ประกอบไปด้วย ถนนทางหลวงหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ), ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ (ถนนราชสีมา-กบินทร์บุรี) เชื่อมต่อจากทิศใต้ของเมืองนครราชสีมาจากภาคตะวันออก ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ (ราชสีมา-โชคชัย) และถนนทางหลวงหมายเลข ๒๒๖ (สามแยกหัวทะเล-อุบลราชธานี) โดยลักษณะของศูนย์กลางประกอบด้วยกิจกรรมหลัก เช่น โรงเรียน สำนักงาน แหล่งศูนย์การค้า ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพและอยู่ใจกลางเมือง จึงก่อให้เกิดปัญหาในด้านการใช้รถใช้ถนน
ดังนั้น การศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการดังกล่าว จะวางเชื่อมโยงพื้นที่เมืองนครราชสีมา สู่ใจกลางเมืองด้วย ๓๔ สถานีใกล้บ้าน โดยจะนำร่องระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา สายสีน้ำเงินก่อน เส้นทางจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย-บ้านเกาะ ระยะทางประมาณ ๑๓.๙-๑๔ กม. มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร ๑๔ สถานี ในระยะต่อไปจะดำเนินการสายสีฟ้า โคกกรวด-โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ระยะทาง ๗.๒ กม. ตามมาด้วยสายสีม่วง ประตูน้ำ-หนองตะลุมปุ๊ก ระยะทาง ๙.๓ กม., สายสีเหลือง บ้านเกาะ-ทางแยกต่างระดับ จอหอ ๒ ระยะทาง ๖.๑ กม., สายสีแดง ตรอกจันทร์-ทางแยกต่างระดับ จอหอ ๑ ระยะทาง ๗.๘ กม. และสายสีเขียว แยกต่างระดับปักธงชัย-มอเตอร์เวย์นครราชสีมา ระยะทาง ๕.๓ กม.
อ้างSky Busเหมาะสมที่สุด
สำหรับระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสม คือ รถประจำทางด่วนพิเศษ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง เอกสิทธิ์ต่ำ ก่อสร้างง่าย เขตทางแคบ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ ที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการบำรุงรักษาต่ำ ทั้งนี้ การคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนที่มีความเหมาะสมมากที่สุดนั้น จะใช้เทคนิค AHP (Analytical Hierarchy Process) เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบ ความสำคัญของเกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการตัดสินใจ เพื่อหาน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ก่อน หลังจากนั้นจึงนำทางเลือก (Alternative) ที่มีทั้งหมดมาประเมินผ่านเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อจัดลำดับ ไม่ว่าจะเป็นระบบ BRT at Grade, Monorail, LRT, BRT Elevated, Light Monorail และTram (รถราง) จากนั้นจึงประเมินการให้คะแนน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ/การเงิน ๒๕ คะแนน, ด้านวิศวกรรม ๒๐ คะแนน, ด้านสิ่งแวดล้อม ๓๐ คะแนน และด้านสังคม ๒๕ คะแนน รวมเป็น ๑๐๐ คะแนน
ดร.กีรติ กล่าวสรุปว่า เมื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าสูงสุด (๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น.) ในพ.ศ.๒๕๙๐ (๓๐ ปีข้างหน้า) เท่ากับ ๑๑,๖๐๐ คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ประกอบกับการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงิน/การลงทุน และสิ่งแวดล้อม ได้ข้อสรุปว่า ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษแบบยกระดับ หรือ Sky Bus เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา โดยมีคะแนนรวมสูงสุด ๗๖.๘๘ คะแนน ที่สำคัญคือ ระบบยกระดับทำให้ไม่มีผลกระทบด้านการจราจรบนถนนมิตรภาพ และสามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ควบคุมเวลาการให้บริการได้ อีกทั้งการใช้ระบบรางบังคับล้อจากความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม จะช่วยให้การให้บริการมีความปลอดภัย และระบบ Sky Bus ที่เป็นรถโดยสารจะมีวงเลี้ยวแคบกว่าระบบราง ทำให้ลดปัญหาการเวนคืนพื้นที่ประชาชนตามแนวสายทาง ซึ่งมีตัวอย่างการดำเนินการในต่างประเทศ ที่เมืองนาโกย่า, โอไดบะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, เมืองเซียะเหมิน ประเทศจีน หรือเมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น
วิ่งยกระดับเกาะกลางถนนมิตรภาพ
ทั้งนี้ การออกแบบเบื้องต้นระบบขนส่งมวลชน จะมีทางวิ่งยกระดับบนเกาะกลางถนนมิตรภาพ ตามแนวเส้นทางนำร่องสายสีน้ำเงิน จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย-บ้านเกาะ โดยมีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ (Elevated) จะมีความสูงสุด ๑๕ เมตร ถ้าวัดจากระดับดินถึงทางขึ้นสถานีประมาณ ๕ เมตร และ ๙ เมตร สำหรับรูปแบบ BRT จะเป็นรถโดยสารทันสมัยยาว ๑๒, ๑๘ หรือ ๒๔ เมตร จุผู้โดยสารได้จำนวน ๘๐, ๑๕๐-๑๖๐ หรือ ๒๐๐ คน มีประตูรถกว้าง ๑๒๐ เซนติเมตรทั้งสองด้านของรถ ใช้เครื่องยนต์มาตรฐานสูง ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นระบบ Hybrid หรือไฟฟ้าทั้งระบบ ทั้งนี้ จะวางระบบการจัดเก็บค่าโดยสารก่อนขึ้นรถ ด้วยระบบตั๋วไร้สัมผัส (Contact-less Smart Card) เช่นเดียวกับรถไฟฟ้า พร้อมโครงสร้างค่าโดยสารแบบราคาเดียวตลอดเส้นทาง ไม่มีการเก็บค่าโดยสารเป็นเงินสดบนรถ ให้บริการในเส้นทางสายหลักด้วยความถี่สูงโดยใช้ระบบควบคุมการเดินรถจากส่วนกลางทุกๆ ๓ นาทีในชั่วโมงเร่งด่วน, ทุกๆ ๗ นาทีนอกชั่วโมงเร่งด่วน และยังให้บริการ ๑๘ ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีวันหยุด นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อการให้บริการ
โดยมีสถานีเชื่อมต่อการเดินทางกับรูปแบบการขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถสองแถว และมีระบบตั๋วต่อตลอดจนพัฒนาเป็นตั๋วร่วม มีการจัดจุดจอดรถจักรยาน และรถมอเตอร์ไซค์ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง พร้อมทั้งจัดสร้าง Sky Walk เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง รวมถึงการเชื่อมต่อระบบจักรยานสาธารณะด้วย
มูลค่าก่อสร้าง ๓,๙๗๗ ล้าน
โครงการนี้ประเมินมูลค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓,๙๗๗ ล้านบาท แบ่งเป็น การเตรียมงาน ๑๐๐ ล้านบาท, งานรื้อถอน ๑๐๐ ล้านบาท, งานก่อสร้างทางยกระดับ ๑,๗๑๐ ล้านบาท, งานก่อสร้างระดับพื้นดิน ๙ ล้านบาท, ตกแต่งภูมิทัศน์ในแนวเขตทาง ๑๐๐ ล้านบาท, ก่อสร้างอาคาร ๑,๓๖๐ ล้านบาท, ค่ารื้อย้ายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ๑๐๐ ล้านบาท, การจัดหาที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ๑๐๐ ล้านบาท และค่าก่อสร้างนอกเหนือจากที่ประมาณการ ๓๙๘ ล้านบาท อย่างไรก็ดี เมื่อประเมินผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จะทำให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่โครงการได้ถึงร้อยละ ๒๐, ทำให้ประหยัดการใช้น้ำมันได้ถึง ๒๔๖ ล้านบาทต่อปี คิดรวมเป็นมูลค่า ๗,๓๘๐ ล้านบาทตลอดอายุโครงการต่อปี และสามารถลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้ถึง ๓.๙ ล้านบาทต่อปี คิดรวมเป็นมูลค่า ๑๑๘ ล้านบาทตลอดอายุโครงการ ดร.กีรติ กล่าว
อย่าชี้นำด่วนสรุปSky Bus
ทั้งนี้ ช่วงที่เปิดให้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้รับฟัง เสียงส่วนใหญ่มองว่า การจัดระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองนครราชสีมา หรือโคราชนั้น ผู้บริหารเทศบาลนครนครราชสีมา ต้องตอบโจทย์ประชาชนผู้ใช้บริการทุกเพศ ทุกวัย เป็นหลักสำคัญ ซึ่งในอนาคตประเทศและเมืองโคราชจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงความเหมาะสมของการคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนที่มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย และไม่บดบังทัศนียภาพของเมืองโคราช ไม่ใช่การชี้นำระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษแบบยกระดับ หรือ Sky Bus เหมือนการศึกษาความเป็นไปได้ที่ผ่านมา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาระบบขนส่งมวลชนต่างๆ อย่างละเอียดเพื่อให้ตอบสนองกับเมืองโคราชและคุ้มค่างบประมาณการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ ก่อนจะด่วนสรุปว่า Sky Bus มีความเหมาะสม ที่สำคัญคือ ประชาชนทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกระบบขนส่งมวลชนอย่างกว้างขวาง และเทคโนโลยีการเดินรถต้องไม่เอื้อกับอู่เชิดชัย และจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะพิจารณาระบบ tram หรือรถราง ซึ่งเป็นพาหนะที่วิ่งบนราง หรือ monorail ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดียวร่วมด้วย
นักผังเมืองค้านบัสลอยฟ้า
ผศ.นิคม บุญญานุสิทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการผังเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Nikhom Boonyanusith ว่า ขอให้ข้อมูลคนโคราชสักหน่อย รถบัสลอยฟ้าที่ท่าน(ใครก็ไม่รู้) อยากได้กันนักหนานั้น มันคือองค์ประกอบหนึ่ง(สัญลักษณ์เส้นหนาสีน้ำเงินในแผนที่) ของเครือข่ายระบบขนส่งเมืองของเมืองนาโกย่า อันถือว่าเป็นเมืองใหญ่ลำดับ ๓ ของญี่ปุ่น รถบัสลอยฟ้านั้นเป็นแค่ขนส่งตัวประกอบมีหน้าที่รับคนที่อยู่นอกรัศมีตัวขนส่งหลัก(คือพวกรถไฟใต้ดิน รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าทั้งหลาย ดังสัญลักษณ์ที่เขาแสดงไว้ด้านล่างข้างๆ แผนที่นี้) พูดง่ายๆ คือมันมีหน้าที่เก็บคนที่อยู่ด้านนอกใจกลางเมืองเข้ามาส่งระบบขนส่งใหญ่ในเมือง ดังนั้น มันจึงถูกออกแบบให้วิ่งบนถนนเป็นบัสธรรมดาเมื่ออยู่ในย่านพักอาศัย และยกระดับเมื่อเข้าสู่ย่านชุมชนหนาแน่นสูง (เพื่อไม่ต้องเปลืองค่าเวนคืนอาศัยสร้างมันลอยอยู่บนเกาะกลางถนน) เมืองของเขานั้นอยู่กันหนาแน่นกว่าโคราชเป็นสิบเป็นร้อยเท่า ขนาดมีระบบขนส่งขนาดใหญ่อย่างรถไฟใต้ดินได้
การที่จะเอารถบัสลอยฟ้ามาใช้ที่โคราชให้เป็นระบบขนส่งหลักมันจึงดูย้อนแย้ง เพราะมันถูกออกแบบมาให้เป็นตัวช่วยไม่ใช่ตัวหลัก อาจจะบอกว่ามันเหมาะกับโคราช เพราะคนเรายังไม่อยู่กันหนาแน่นเท่าญี่ปุ่นเขา ก็จะกลายเป็นข้อโกหกไปทำลายน้ำหนักที่ต้องยกมันขึ้นเมื่อผ่านเข้าสู่ในเมือง เพราะการยกขึ้นสูงจากพื้นดินทำให้ต้องออกแบบสถานีจอดที่อยู่สูงขึ้นไป สถานีจึงมีขนาดใหญ่และทำให้คนเดินขึ้นลำบาก ถ้าใช้บันไดเลื่อนก็เพิ่มต้นทุนอีก รวมทั้งเส้นทางที่ลอยขึ้นก็เปลืองค่าโครงสร้างอีกมหาศาล แล้วยังผิดหลักการของการแก้ปัญหาจราจรเมืองด้วยขนส่งมวลชน ที่จะต้องทำให้การใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นเรื่องลำบากกว่า เพื่อทำให้คนเปลี่ยนใจมาใช้ระบบขนส่งที่เราลงทุนไป แต่นี่จะสร้างให้วิ่งข้างล่างก็ไม่เอา เพราะกลัวว่าจะกระทบกับคนที่ใช้รถยนต์ จึงยืนยันให้มันลอยฟ้าซะงั้น คำถามง่ายๆ คือแล้วใครจะเป็นผู้ไปใช้งานมัน ในเมื่อคนโคราชที่มีตังค์น้อยก็นั่งสองแถวไม่เดือดร้อน มีตังค์หน่อยเขาก็ดาวน์มอเตอร์ไซค์มาใช้งาน คนที่มีรถยนต์ยิ่งไม่เปลี่ยนใจมาใช้แน่ เพราะชีวิตปกติเขาก็ขับรถยนต์ออกจากบ้านไปถึงที่หมายอยู่แล้ว ผศ.นิคม กล่าว
วิศวกรจราจรถามถึงประโยชน์?
นายอรชัย ปุณณะนิธิ ประธานมูลนิธิพุทธธรรม ๓๑ นครราชสีมา (ฮุก ๓๑) ซึ่งสำเร็จปริญญาโท ด้านวิศวกรรมจราจร จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา ตั้งคำถามต่อการผลักดันโครงการก่อสร้างรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษแบบยกระดับ หรือ Sky Bus ว่า ๑. ใช่คำตอบของระบบขนส่งมวลชนในอนาคตข้างหน้าหรือไม่ ๒. สามารถแก้ปัญหาการจราจรในเขตเมืองได้อย่างไร ๓. การค้าขายของคนเมือง ซึ่งเสียภาษีให้ท้องถิ่นโดยตรงได้ประโยชน์อะไรกับโครงการนี้ ๔. ทัศนียภาพของเมืองบนถนนมิตรภาพกับมลภาวะที่อาจเกิดขึ้นด้านล่างใครจะรับผิดชอบ และ ๕. ร้านค้าริมถนนมิตรภาพตลอดแนวโครงการจะค้าขายได้ดีขึ้นอย่างไร
ใครก็หยุดไม่ได้
อนึ่ง เทศบาลนครนครราชสีมา ในสมัยนายสุรวุฒิ เชิดชัย เป็นนายกเทศมนตรี ได้ว่าจ้างสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประกอบด้วย รศ.ดร.วัฒนวงศ์ รัตนวราห หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง, ผศ.ดร.สุดจิต ครุจิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และดร.ศิรดล ศิริธร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการประยุกต์ด้านการขนส่งและโลจิส ติกส์ รวมทั้งดร.กีรติ กิจมานะวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พีเอสเคคอลซัลแทนส์ จำกัด เป็นเงิน ๑๓ ล้านกว่าบาท จัดทำแผนแม่บทและการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนภาคส่วนต่างๆ แล้ว ๒ ครั้ง ซึ่งขณะนั้น รศ.ดร.วัฒนวงศ์ รัตน วราห หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง มทส. ชี้ให้เห็นว่า เมื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าสูงสุด (๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น.) ในอีก ๓๐ ปี (พ.ศ.๒๕๙๐) เท่ากับ ๑๑,๖๐๐ คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง สรุปได้ว่า รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษแบบยกระดับ(Elevated Bus Rapid Transit - BRT ยกระดับ หรือที่เรียกว่า Sky Bus) เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ทั้งทางด้านกายภาพของถนน ปริมาณผู้โดยสาร มูลค่าการลงทุน ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเงินการลงทุน ใช้เงินลงทุน ๔,๘๔๐ ล้านบาท โดยจะนำร่องเส้นทางจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย-บ้านเกาะ ระยะทาง ๑๓.๙๔ กิโลเมตร ทำให้เภสัชกรจักริน เชิดฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาขณะนั้น ท้วงติงกระบวนการศึกษา โดยระบุว่า ขาดความรอบด้าน ทั้งที่ระบบขนส่งมวลชนมีหลากหลายรูปแบบ แต่กลับสรุปว่า BRT ยกระดับมีความเหมาะสมกับระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมามากที่สุด และไม่ใช่การเปิดรับฟังความคิดเห็นที่ถูกต้อง เพราะไม่ครอบคลุมไปถึงภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะพ่อค้าและนักธุรกิจในพื้นที่ แต่นายสุรวุฒิ กล่าวว่า หากตนได้รับเงินศึกษาโครงการ ๕๐ ล้านบาท ตามที่ยื่นไว้ ใครก็มาขัดขวางโครงการนี้ไม่ได้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 20/10/2016 12:28 pm Post subject:
โครงการรถไฟฟ้า LRT สำหรับ โคราช โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม. สุรนารี
โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้พิจารณารูปแบบขนส่งมวลชนสาธารณะหลายรูปแบบที่เลือกใช้กันทั่วโลก ได้ 3 แนวทางสุดท้าย ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ, รถขนส่งมวลชนขนาดเบาด้วยรางแบบล้อยาง และรถขนส่งมวลชนขนาดเบาด้วยรางแบบล้อเหล็ก ซึ่งจากการเปรียบเทียบพบว่ารูปแบบ รถขนส่งมวลชนขนาดเบาด้วยรางแบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) มีความเหมาะสมที่สุด
มีความถี่ 15 นาที/คัน และเพิ่มเป็น 10 นาที/คัน ในชั่วโมงเร่งด่วน
อายุการใช้งาน 30 ปี
เงินลงทุน 19,650 ล้านบาท
เปรียบเทียบรูปแบบขนส่งสาธารณะต่างๆ
เปรียบเทียบรูปแบบขนส่งสาธารณะต่างๆ
LRT เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
LRT เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
สำหรับเส้นทางให้บริการนั้น แบ่งได้เป็น 3 สายหลัก โดยใช้วิธีการให้บริการเป็นเฟสๆ ในแต่ละช่วงสาย ดังนี้
สายสีเขียว เฟสแรก : ตลาดเซฟวัน สี่แยกปักธงชัย ปึงหงี่เชียง อู่เชิดชัย ถนนสืบศิริ วัดใหม่อัมพวัน สวนภูมิรักษ์ ตลาดสวายเรียง สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ เทศบาลนครนครราชสีมา ตลาดแม่กิมเฮง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์ (ตัวหนาคือสถานีเชื่อมต่อ หรือ Interchange)
ส่วนต่อขยายสายสีเขียว มีสองเส้นทางคือ : ต่อขยายจากตลาดเซฟวัน จนถึงห้วยบ้านยาง และต่อขยาย จากบ้านนารีสวัสดิ์ ถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดฯ แห่งที่ 2
ตัวอย่าง LRT รถราง ในต่างประเทศ
ตัวอย่าง LRT รถราง ในต่างประเทศ
สายสีเขียวจะเป็นการขนส่งประชาชน จากสองทิศของตัวเมือง คือทางเซฟวันและบ้านเกาะ ส่วนสายสีม่วง จะเป็นการเกาะตามแนวถนนมิตรภาพ ซึ่งมีห้างสรรพสินค้า 3 แห่ง รายละเอียดดังนี้
สายสีม่วง เฟสแรก : ตลาดเซฟวัน สี่แยกปักธงชัย ปึงหงี่เชียง อู่เชิดชัย โรงแรมสีมาธานี โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา เดอะมอลล์ เทอร์มินอล 21 สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมา 2 (บขส. ใหม่) แม็คโคร สี่แยกประโดก เซ็นทรัล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซอยสุรนารายณ์ 13 (ไนท์บ้านเกาะ) สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์ (ตัวหนาคือสถานีเชื่อมต่อ หรือ Interchange)
ส่วนต่อขยายสายสีม่วง เริ่มจาก มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ไปถึงสี่แยกจอหอ และสิ้นสุดที่ค่ายสุรนารายณ์
นอกเหนือจากรอบตัวเมือง ด้วยประโยชน์ของรถราง LRT ที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม ทำให้สามารถวิ่งเข้ามาในเขตคูเมืองได้ด้วย จึงมีเส้นทางสายสีส้ม รายละเอียดดังนี้
สายสีส้ม เฟสแรก เส้นทางวิ่งเป็นลูปวน : อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมา 1 (บขส. เก่า) เทอร์มินอล 21 สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมา 2 (บขส. ใหม่) แม็คโคร สี่แยกประโดก โรงแรมวีวัน โรงพยาบาลมหานครราชสีมา วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ถนนชุมพล ศาลากลางจังหวัด ถนนมหาดไทย แยกถนนสรรพสิทธิ์ ถนนพลล้าน ถนนอัษฎางค์ ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าเก่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ตัวหนาคือสถานีเชื่อมต่อ หรือ Interchange)
ส่วนต่อขยายสายสีส้ม จะขยายต่อจาก แยกถนนสรรพสิทธิ์ ไปทางหัวทะเลจนถึง ดูโฮม
http://www.korat-publictransport.sut.ac.th/index.php
http://wekorat.com/2016/10/20/lrt-mass-transport-korat-update/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 01/11/2016 3:55 am Post subject:
โคราช ผุดรถราง LRT ไร้สายไฟ วิ่ง 7 สาย นำร่องเซฟวัน-บ้านเกาะ
โคราช ผุดรถราง LRT ไร้สายไฟ วิ่ง 7 สาย นำร่องเซฟวัน-บ้านเกาะ โคราช ผุดรถราง LRT ไร้สายไฟ วิ่ง 7 สาย นำร่องเซฟวัน-บ้านเกาะ โคราช ผุดรถราง LRT ไร้สายไฟ วิ่ง 7 สาย นำร่องเซฟวัน-บ้านเกาะ
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) จัดทำโครงการศีกษา แผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะหรือระบบขนส่งมวลชน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 17-19 ตุลาคม 2559 โครงการศึกษาฯ ได้ดำเนินการลงพื้นที่รับฟังความเห็นของประชาชน โดยแบ่งพื้นที่ย่อยออกเป็น 5 โซน ลงพื้นที่ 5 ครั้ง เพื่อการเข้าถึงความเห็นของผู้คนในพื้นที่จริงได้มากยิ่งขึ้น
การศึกษาในครั้งนี้ได้มีการนำรูปแบบและเทคโนโลยีการขนส่งมวลชนจากทั่วทุกมุมโลกมาปรับใช้ศึกษา เพื่อหาระบบที่เหมาะสมที่สุดกับเมืองโคราช โดยมีระบบที่ผลคะแนนการศึกษามีความหมาะสมที่สุด 3 แบบคือ
1.ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ พลังงานไฟฟ้า (BRT)
2.ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก)
3.ระบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อยาง (LRT ล้อยาง)
รถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) เหมาะสมสุด
ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมที่สุดเป็นแบบรถขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา แบบล้อเหล็ก (LRT ล้อเหล็ก) โดยมีทางวิ่งระดับดินเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความคุ้มค่าในการลงทุนที่มากที่สุด มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีค่าบำรุงรักษาต่ำที่สุด
เส้นทางระบบขนส่งมวลชนเมืองโคราชมีทั้งหมด 7 สาย คือ
1.สายสีเขียวเข้ม (นำร่อง) เริ่มจากตลาดเซฟวัน-แยกปักธงชัย-ปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-ถนนสืบสิ-วัดใหม่อัมพวัน-สวนภูมิรักษ์-สวายเรียง-สถานีรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา-5 แยกหัวรถไฟ-เทศบาลนครนครราชสีมา-ตลาดแม่กิมเฮง-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-รร.สุรนารีวิทยา-ม.ราชภัฏนครราชสีมา-มทร.อีสาน-รร.ดุสิตปริ๊นเซส ชุมชุนมหาชัย-บ้านนารรีสวัสดิ์ บ้านเกาะ
2.สายสีเขียวอ่อน (ต่อขยายจากเซฟวัน) เริ่มที่ตลาดเซฟวัน-รร.ราชสีมาวิทยาลัย-รร.อุบลรัตนราชกัญญาฯ-วิทยาลัยนครราชสีมา-เจ้าสัว-สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 ห้วยบ้านยาง
3.สายสีเขียวอ่อน (ต่อขยายจากบ้านเกาะ) เริ่มจากสถานีบ้านนารีสวัสดิ์-หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา-ปภ.เขต 5-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์-สำนักงานขนส่งฯ 2
4.สายสีม่วงเข้ม เริ่มที่ตลาดเซฟวัน-แยกปักธงชัย-ปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-โรงแรมสีมาธานี-รพ.กรุงเทพราชสีมา-เดอะมอลล์โคราช-เทอร์มินอล 21 โคราช -สถานีขนส่งแห่งที่ 2 บขส.ใหม่-แม็คโค-แยกประโดก-เซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา-ม.วงษ์ชวลิตกุล-สุรนารายณ์ซอย 13 ข้างไนท์บ้านเกาะ-บ้านนารีสวัสดิ์
5.สายสีม่วงอ่อน (ต่อขยายจากม.วงษ์ชวลิตกุล) ม.วงษ์ชวลิตกุล-รพ.สต.ขนาย-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์
6.สายสีส้มเข้ม เริ่มจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-สถานีขนส่ง 1 บขส.เก่า-เทอร์มินอล 21 โคราช-สถานีขนส่งแห่งที่ 2 บขส.ใหม่-แม็คโคร-แยกประโดก -โรงแรมวีวัน-รพ.มหาราชนครราชสีมา-วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา-ถนนชุมพล-ศาลากลาง-ถนนมหาดไทย-ถนนสรรพสิทธิ์-ถนนพลล้าน-ถนนอัษฏางค์-คลังเก่า-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
7.สายสีส้มอ่อน (ต่อขยายจากถนนสรรพสิทธิ์) แยกถนนสรรพสิทธิ์-สถานีบำบัดน้ำทน.นครราชสีมา-สุสานเม้งยิ้น-เทสโก้โลตัสหัวทะเล-สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 5
ระบบ LRT แบบใหม่ ที่จะนำมาใช้พัฒนาขนส่งมวลชนเมืองโคราชนั้น ที่ตัวรถจะไม่มีเสาเพื่อยื่นขึ้นไปแตะกับสายไฟด้านเหนือตัวรถ แต่ตัวรถจะใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ประจุไว้ในตัวรถเอง และทุกๆการจอดรับผู้โดยสารที่สถานีจะมีการชาร์จไฟฟ้าเข้ามาเก็บยังตัวรถ ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะบดบังทัศนียภาพของเมือง ใช้ระบบประจุไฟฟ้าเข้ามาเก็บยังตัวรถทุกๆการจอดที่สถานีแทน รองรับการใช้งานได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องหยุดรถชาร์จไฟเป็นเวลานาน
โดยกระบวนการต่อไปจะเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านวิศวกรรมและการลงทุน ศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (TOD) และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) หลังจากนั้นจะสรุปผลส่งไปยังสนข. และยื่นเสนออนุมัติงบประมาณกับกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะเริ่มตอกเข็มการก่อสร้างได้เร็วที่สุดภายในปี 2562
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 22/12/2016 10:10 am Post subject:
เลือก3สายทำขนส่งมวลชนโคราชแก้รถติด
เดลินิวส์
พุธที่ 21 ธันวาคม 2559 เวลา 12.59 น.
ผลการศึกษาชี้3เส้นทางสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา รอลุ้นสรุปรูปแบบรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ด่วนมี.ค.60
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า สนข.ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) เป็นที่ปรึกษาศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อแก้ปัญหารถติด ใช้เวลาศึกษา 14 เดือน ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือนมี.ค. 60 ล่าสุดได้ประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการเพื่อติดตามความคืบหน้า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก ที่ปรึกษาเสนอก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดเบาด้วยระบบรางอาจจะเป็น รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) หรือรถราง เพื่อลงทุนระยะยาวใช้งานได้นานถึง 30 ปี ส่วนว่าจะเป็นยกระดับหรือระดับดินยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตามที่ประชุมเสนอให้พิจารณาระบบล้อยางเช่น รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที มาเปรียบเทียบกับระบบรางเพื่อนำเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เบื้องต้นที่ประชุมเห็นชอบแนวเส้นทางโครงการ3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สายสีส้ม ระยะทาง 15 กม. วิ่นเส้นทางใจกลางเมือง เริ่มจากหน้าร้านขายวัสดุดูโฮม ถนนราชสีมา-โชคชัย -ศูนย์การค้าเทสโก้โลตัส- สุสานเม้งยิ้น-สถานีบำบัดคุณภาพน้ำเทศบาลนครราชสีมา-แยกถนนสรรพสิทธิ์-ถนนพลล้าน-ถนนอัษฎางค์-ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าเก่า-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่1 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่2 - ศูนย์การค้าแม็คโคร-สี่แยกประโดก-โรงแรมวีวัน-รพ.มหาราชนครราชสีมา-วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา-ถนนชุมพล-ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา-ถนนมหาดไทย
เส้นทางที่ 2 สายสีเขียว 23 กม. วิ่งตามแนวถนนมิตรภาพ และบริเวณพื้นที่ในเมืองนครราชสีมาตั้งแต่สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3(บ้านห้วยยาง)-ร้านเจ้าสัว-วิทยาลัยนครราชสีมา-โรงเรียนอุบลรัตน์ราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา-โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย-ตลาดเซฟวัน-สี่แยกปักธงชัย-ร้านปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-ถนนสืบสิริ-วัดใหม่อัมพวัน-สวนสาธารณะภูมิรักษ์-ตลาดสวายเรียง-สถานีรถไฟนครราชสีมา-ห้าแยกหัวรถไฟ-เทศบาลนครนครราชสีมา-ตลาดแม่กิมเฮง-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-โรงเรียนสุรนารีวิทยา-ม.ราชภัฎนครราชสีมา-ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา-โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา-ศูนย์ปภ.เขต5 นครราชสีมา-สี่แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์-สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมาแห่งที่ 2
เส้นทางที่ 3 สายสีม่วง 16.4 กม. กม. วิ่งตามแนวถนนมิตรภาพ และพื้นที่ในเมืองนครราชสีมาตั้งแต่ตลาดเซฟวัน-สี่แยกปักธงชัย-ร้านปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-โรงแรมสีมาธานี-รพ.กรุงเทพราชสีมา-ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา-ศูนย์การค้าเทอร์มินอล21-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 - ศูนย์การค้าแม็คโคร-สี่แยกประโดก-ศูนย์การค้าเซ็นทรัลนครราชสีมา-ม.วงษ์ชวลิตกุล-รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย-สี่แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์(เส้นทางไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง) ซอยสุรนารายณ์ 13(ซอยไปไนท์บ้านเกาะ)-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็นระยะๆ ในการดำเนินการซึ่งอาจจะเพิ่มหรือลดระยะทางของแนวเส้นทางได้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 05/04/2017 11:55 am Post subject:
เผยร่างแผนที่เส้นทางรถราง LRT เมืองโคราช พร้อมรายชื่อสถานีในเขตเมืองนครราชสีมา
By wekorat -
4 เมษายน 2560
เรียบเรียงจาก : โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา และ หนังสือพิมพ์คนอีสาน
We Korat ได้อัพเดตข้อมูลผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองโคราชมาโดยตลอด ล่าสุดมีการจัดสัมมนาระหว่างกาล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งมีภาพที่ชัดเจนมากขึ้นของการวางเส้นทางรถรางเบา ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของอนาคตเมืองมากขึ้น จึงมานำเสนอกัน
จากผลการศึกษาในครั้งที่แล้ว รูปแบบขนส่งที่เลือกใช้คือ ระบบรถรางเบาระดับพื้น (High Floor) เป็นระบบหลัก แล้วเสริมด้วยระบบรถโดยสาร โดยมีหลักการคือ
ให้การขนส่งรวดเร็ว ตรงเวลา
ช่องทางการจราจรของรถราง ไม่ถูกกีดขวางด้วยยานพาหนะใดๆ
รถรางได้รับความสำคัญในการใช้สัญญาณไฟจราจรก่อนพาหนะ
ตัวอย่างภาพเรนเดอร์ บริเวณตลาดแม่กิมเฮง ซึ่งไม่รบกวนเส้นทางการจราจร
สำหรับแนวเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะนั้น We Korat เคยนำเสนอภาพคร่าวๆ ของเส้นทางแล้ว แต่ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้นำเสนอเอกสารที่มีภาพชัดเจนมากขึ้นของเส้นทางต่างๆ ดังภาพ
แผนที่เส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองนครราชสีมา
ในโครงการก่อสร้างระยะที่ 1 จะดำเนินการในสายสีส้มเข้ม (โรงเรียนเทศบาล 1 หน้าย่าโม เทอร์มินอล 21 ศาลากลาง) และสายสีเขียวเข้ม (เซฟวัน เดอะมอลล์ หน้าย่าโม โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส) มีรายละเอียดสถานีดังนี้
รายละเอียดสถานีของโครงการก่อสร้างระยะที่ 1
เมื่อจบระยะที่ 1 จะเป็นการก่อสร้างระยะที่ 2 ในเส้นทางสายสีม่วง เส้นทางเซฟวัน เดอะมอลล์ เทอร์มินอล 21 เซ็นทรัล สุรนารายณ์
รายละเอียดสถานีของโครงการก่อสร้างระยะที่ 2
ส่วนระยะที่ 3 จะเป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายของเส้นทางสายต่างๆ ไปถึงจอหอ, ดูโฮม, ชลประทาน
เริ่มก่อสร้างเมื่อไหร่? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงสงสัย การก่อสร้างนั้น ในเฟสแรก เส้นทางสายสีเขียวและสีส้ม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563-2565 เฟสที่สองสายสีม่วง ปี 2566-2568 และเฟสที่สาม ส่วนต่อขยายเส้นทางต่างๆ ปี 2569-2571
จะเห็นว่าระยะเวลาที่ สนข. ประเมินไว้อยู่ราว 10 ปี ซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป ทั้งปัจจัยด้านงบประมาณ และการพัฒนาเมืองประกอบกัน อาทิ การจัดการจราจรใหม่ การก่อสร้างถนนวงแหวน ซึ่งจะเชื่อมต่อทั้งหมดให้เป็นระบบ โดยประเมินงบประมาณโครงการนี้ราว 15,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามต้องย้ำว่าแผนนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุปทั้งหมด ยังมีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอยู่ แล้วจากนั้นในลำดับถัดไป สนข. จะนำเสนอแผนที่เป็นข้อสรุปให้กับรัฐบาลเพื่อของบประมาณสนับสนุน และหากได้รับการอนุมัติก็จะทำแผนฉบับสมบูรณ์เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 18/04/2017 5:29 pm Post subject:
สนข. เคาะรถไฟฟ้ารางเบาเมืองย่าโม
เศรษฐกิจ
18 เมษายน 12:55:00
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาว่า สนข. ได้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นที่ปรึกษาศึกษาโครงการ ใช้เวลาศึกษา14 เดือน ผลการศึกษาเบื้องต้นเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา โดยมีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน ซึ่งมีความความ
เหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า กำหนด 3 เส้นทาง คือ
1) สายสีเขียว เส้นทางโคกกรวด-จอหอ
2) สายสีส้ม เส้นทางดูโฮม-วิ่งวนในเมืองชั้นใน และ
3) สายสีม่วง เส้นทางเซฟวัน-จอหอ
มีแผนดำเนินโครงการ 3 ระยะ
ระยะที่ 1 สายเขียวและส้ม ออกแบบรายละเอียดปี 62 ก่อสร้างระบบปี 63-65 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 66 ระยะที่2 สีม่วง ออกแบบรายละเอียดปี 65ก่อสร้างระบบปี 66-68 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 69 และ
ระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายทั้งหมด อาทิ สีเขียวอ่อน ส้มอ่อน และม่วงอ่อนออกแบบรายละเอียดปี 68 ก่อสร้างระบบปี 69-71 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 72
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ที่ปรึกษากำลังออกแบบลักษณะและรูปแบบสถานี จำนวนสถานี การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี และรูปแบบการลงทุน ที่เสนอให้ใช้เงินลงทุนจากภาครัฐ เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม. ) เป็นเจ้าของโครงการ ส่วนการบริหารจัดการเดินรถควรเป็นลักษณะให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐหรือรูปแบบพีพีพี รวมทั้งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล อบจ. อบต) และนักธุรกิจท้องถิ่น ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบราง (จะช่วยผลักดันในเชิงกลยุทธ์ และการใช้เทคโนโลยี) ผู้ประกอบการรถหมวด 1 และ 4 และประชาชนทั่วไป
รายงานข่างแจ้งด้วยว่า แม้การดำเนินโครงการเมื่อมองด้านการเงิน การบริหารการ เดินรถอาจขาดทุน ภาครัฐต้องอุดหนุนค่าโดยสารในช่วงแรก แต่จะได้กำไรทางสังคม และมีรายได้จากค่าโฆษณา ธุรกิจริมสายทางในอนาคต เหมือนกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงแรกขาดทุน แต่ได้กำไรทางสังคม เช่น ประเทศลดการใช้พลังงาน น้ำมันจากการลดใช้รถยนต์ส่วนตัว ลดมลพิษทางอากาศ ธุรกิจตามแนวเส้นทางรถมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้น คาดว่าเดือน พ.ค. จะได้ข้อสรุปผลการศึกษา เพื่อจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับผลการศึกษาทั้งหมด และสรุปผลการศึกษาโครงการฉบับสมบูรณ์ให้ สนข. ในเดือน มิ.ย. นี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 20/04/2017 4:36 pm Post subject:
โคราชผุดรถไฟฟ้ารางเบา รับเมืองเติบโต งบ1.5หมื่นล้าน-เฟสแรกเปิดใช้ปี66
ออนไลน์เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2560
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,254 วันที่ 20 - 22 เมษายน พ.ศ. 2560
สนข.เร่งศึกษาแผนแม่บทแก้ปัญหาจราจรโคราชหลังเมืองเติบโตรวดเร็ว ชี้รถไฟรางเบาหรือ LRT เหมาะสมที่สุดคาดใช้งบก่อสร้าง 1.5 หมื่นล้านบาท ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท เผยเปิดเวทีรับฟัง 2 ครั้งชาวโคราชตอบรับดีคาดเฟสแรกเปิดใช้งานได้ในปี 66
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่ สนข.ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ทำการศึกษาแผนแม่บทจราจร และแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือนโดย สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ครั้ง และได้จัดสัมมนาใหญ่ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนศึกษา การวางแผนโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส ชอบธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา คือ ระบบรถรางเบาระดับพื้น (High Floor) ซึ่งจะเป็นระบบหลัก มีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง สำหรับแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ มีทั้งหมด 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง โดยจุดจอดแต่ละสถานี จะมีระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร
ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะผู้จัดการโครงการ เปิดเผยถึงรายละเอียด โครงการศึกษาแผนแม่บทฯ ว่า แนวคิดการจัดทำแผนแม่บทจราจรและระบบขนส่งสาธารณะ เริ่มจากผลการสำรวจปริมาณการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองพบว่า 51% เป็นรถและการเดินทางผ่านเมือง จึงเสนอแผนการวางโครงข่ายถนนด้วยถนนวงแหวนทั้งรอบนอกและรอบในให้สมบูรณ์ เพื่อผันรถผ่านเมืองให้วิ่งอ้อมเขตเมืองได้สะดวกไม่ต้องเข้ามาในเขตเมือง ส่วน 49% เป็นการเดินเท้า ทางเข้า-ออกตัวเมืองเสนอแผนให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้ รถยนต์ ส่วนบุคคลเข้าเมืองหัน มาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน จากผลการศึกษาและทำนายปริมาณความต้องการเดินทาง นำมากำหนดเส้น ทางระบบขนส่งสาธารณะ 3 เส้นทาง คือสายสีเขียว สายสีส้มและสายสีม่วง มีแผนการดำเนินโครงการพัฒนา เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 สายสีเขียวและสีส้ม เปิดบริการปี 2566 ระยะที่ 2 สายสีม่วง เปิดบริการปี 2569 และ ระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายทั้งหมด เปิดบริการปี 2572
"อนาคต 20 ปี คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะประมาณ 2 หมื่น คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางในชั่วโมงเร่งด่วน ผลการเลือกรูปแบบเทคโนโลยีระบบขนส่ง สาธารณะที่เหมาะสมที่ ความเร็ว ประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทางเลือก 2 กลุ่มคือ รถเมล์ ไฟฟ้า ด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit, BRT และรถรางเบา (Light Rail Transit, LRT) สรุปผลการเปรียบเทียบโดยใช้ กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น(Analytic Hierarchy Process, AHP) ตามเกณฑ์ 5 ข้อ ในการจัด ลำดับ ความสำคัญ (ความน่า เชื่อถือของเทคโนโลยี ความเหมาะสมทางกายภาพ ศักยภาพในการรองรับ ปริมาณผู้โดยสาร ต้นทุนที่เกี่ยวข้องและค่าโดยสาร และ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน) พบว่าระบบ LRT มีความเหมาะสมมากที่สุดแผนแม่บท ระบบ ขนส่งสาธารณะจึงเสนอให้ใช้ระบบ LRT มีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน ผลการรับฟังความคิด เห็น จากเวที ต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเส้น ทางรถไฟฟ้า ทั้ง 3 สาย"
ศ.ดร.สุขสันติ์ กล่าวอีกว่าสำหรับงบประมาณในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ขั้นตอนจากนี้จะมีการสัมมนาครั้งใหญ่อีก 1 ครั้งถือเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสรุปแผนทั้งหมด ก่อนที่จะสรุปเพื่อนำเสนอรัฐบาลให้ความเห็นชอบแผน และใช้แผนนี้ในการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต ส่วนจะสามารถเริ่มต้นได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล
โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ เฟสแรกจะเป็นเส้นทางสายสีเขียวและสีส้ม ช่วงปี 2563-2565 เฟสที่2 เป็นเส้นทางสายสีม่วง ช่วงปี2566-2568 และเฟสที่ 3 เป็นเส้นทางส่วนต่อขยาย ช่วงปี2569-2571 ส่วนอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 15-20 บาทตลอดสาย ซึ่งก่อนการก่อสร้างเส้นทางตามแผนแม่บท จะมีการนำรถพลังงานไฟฟ้ามาทดลองวิ่งให้บริการก่อน เพื่อพิจารณาว่าได้ผลดีตามที่ได้ทำการวิจัยหรือไม่ก่อนจะลงทุนทำ LRT
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46867
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 22/06/2017 7:56 pm Post subject:
เคาะรถไฟฟ้ารางเบาโคราช
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 13.14 น.
รถไฟฟ้ารางเบาโคราชผ่านฉลุย 3 เส้นทาง คาดใช้งบก่อสร้าง 1.5 หมื่นล้านบาท เตรียมรับฟังความคิดเห็นประชาชนรอบสุดท้ายปลายเดือน ก.ค.นี้
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) แจ้งความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมาว่า เมื่อวันที่ 19มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้ประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯที่สนข.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.)เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบเกี่ยวกับผลการศึกษาที่เลือกใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) หรือรถรางซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่ารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที ซึ่งมี 3เส้นทาง คือสายสีเขียวโคกกรวด-จอหอ สายสีส้มดูโฮม-วิ่งวนในเมืองชั้นในและสายสีม่วงเซฟวัน-จอหอ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับแผนการก่อสร้างมี3ระยะ ระยะที่ 1 สายสีเขียวโคกกรวด-จอหอ และสายสีส้ม ดูโฮม-วิ่งวนในเมืองชั้นใน ออกแบบรายละเอียดปี 62 ก่อสร้างระบบปี 63-65 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 66 ระยะที่ 2 สายสีม่วง เซฟวัน-จอหอ ออกแบบรายละเอียดปี 65ก่อสร้างระบบปี66-68 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 69และระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายทั้งหมดอาทิ สีเขียวอ่อน ส้มอ่อน และม่วงอ่อนออกแบบรายละเอียดปี 68ก่อสร้างระบบปี 69-71 เปิดให้บริการเร็วที่สุดปี 72 ที่ประชุมได้มอบหมายที่ปรึกษาไปออกแบบสถานี จำนวนสถานี การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีการพัฒนาระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้ารางเบา และรูปแบบการลงทุน โดยเบื้องต้นเสนอให้ใช้เงิน ลงทุนจากภาครัฐ เช่นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่วนการบริหารจัดการเดินรถ ควรให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐหรือรูปแบบพีพีพี คาดว่าจะใช้งบประมาณ การก่อสร้าง1.5หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า จะจัดประชุมสัมมนาครั้งสุดท้ายเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนจ.นครราชสีมา ปลายเดือน ก.ค. นี้จากนั้นจะสรุปผลการศึกษาโครงการฉบับสมบูรณ์ให้สนข. เดือน ส.ค. เพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคมเดือน ก.ย.-ต.ค. สำหรับรายละเอียดเส้นทาง สายสีส้มระยะทาง 15 กม. วิ่นเส้นทางใจกลางเมือง จากหน้าร้านขายวัสดุดูโฮม ถนนราชสีมา-โชคชัย -ศูนย์การค้าเทสโก้โลตัส-สุสานเม้งยิ้น-สถานีบำบัดคุณภาพน้ำเทศบาลนครราชสีมา-แยกถนนสรรพสิทธิ์-ถนนพลล้าน-ถนนอัษฎางค์-ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าเก่า-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่1 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่2 - ศูนย์การค้าแม็คโคร-สี่แยกประโดก-โรงแรมวีวัน-รพ.มหาราชนครราชสีมา-วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา-ถนนชุมพล-ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา-ถนนมหาดไทย
เส้นทางที่ 2สายสีเขียว 23กม. วิ่งตามแนวถนนมิตรภาพ และบริเวณพื้นที่ในเมืองนครราชสีมาตั้งแต่สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (บ้านห้วยยาง)-ร้านเจ้าสัว-วิทยาลัยนครราชสีมา-โรงเรียนอุบลรัตน์ราชกัญญาราชวิทยาลัยนครราชสีมา-โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย-ตลาดเซฟวัน-สี่แยกปักธงชัย-ร้านปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-ถนนสืบสิริ-วัดใหม่อัมพวัน-สวนสาธารณะภูมิรักษ์-ตลาดสวายเรียง-สถานีรถไฟนครราชสีมา-ห้าแยกหัวรถไฟ-เทศบาลนครนครราชสีมา-ตลาดแม่กิมเฮง-อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-โรงเรียนสุรนารีวิทยา-ม.ราชภัฎนครราชสีมา-ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา-โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสโคราช-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา-ศูนย์ปภ.เขต5นครราชสีมา-สี่แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์-สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมาแห่งที่ 2
เส้นทางที่ 3 สายสีม่วง 16.4 กม. กม. วิ่งตามแนวถนนมิตรภาพและพื้นที่ในเมืองนครราชสีมาตั้งแต่ตลาดเซฟวัน-สี่แยกปักธงชัย-ร้านปึงหงี่เชียง-อู่เชิดชัย-โรงแรมสีมาธานี-รพ.กรุงเทพราชสีมา-ศูนย์การค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา-ศูนย์การค้าเทอร์มินอล21-สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2- ศูนย์การค้าแม็คโคร-สี่แยกประโดก-ศูนย์การค้าเซ็นทรัลนครราชสีมา-ม.วงษ์ชวลิตกุล-รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย-สี่แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์(เส้นทางไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง) ซอยสุรนารายณ์ 13 (ซอยไปไนท์บ้านเกาะ)-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารี
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group