RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570919
ทั้งหมด:13882815
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟฯ 2014"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟฯ 2014"

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 18/12/2014 1:23 pm    Post subject: บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟฯ 2014" Reply with quote

Click on the image for full size

บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟ ในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย" โดย อ.ปริญญา ชูแก้ว จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถอ่านเป็นความรู้ในหลากหลายแง่มุม ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมา การแบ่งระดับของสถานีรถไฟ วิธีการอนุรักษ์ และการดูแลอาคารสถานีรถไฟต่างๆ เป็นต้นครับ

ดาวน์โหลด PDF ฉบับเต็มได้ที่นี่

http://goo.gl/QnQCFZ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2014 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณอาจารย์ปริญญา ชูแก้วมากครับ ที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ออกมาเผยแพร่
และขอบคุณคุณบอมบ์ที่ช่วยเผยแพร่ต่อไปครับ Very Happy

ตอนนี้อาคารสถานีรถไฟสงขลากำลังอยู่ระหว่างบูรณะซ่อมแซม ปรับปรุงครับ ปีหน้า (2558) คงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่าจะสวยกว่าเดิมแค่ไหน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 18/12/2014 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing ตอนนีี้โครงการรถไฟทางคู่กำลังจะเกิด ต้องลุ้นกันล่ะ ครับ ว่าสถานีที่สร้างใหม่ จะใช้โครงสร้างแบบเดิม หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่

โดยส่วนตัวแล้ว ชอบแบบเดิมมากกว่า ถ้าสร้างใหม่ควรใช้แบบแปลนเดิม ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2017 11:25 am    Post subject: Reply with quote

จากเรื่องสถานีโดนรื้อ เมื่อทำทางคู่ ที่อาจารย์ปริญญา และ สถาปนิกสยาม ได้เปิดประเด็นขึ้นนี่ ทำให้สื่อทีวี ต้องเอามาเล่นจนได้ ตามข่าวนี้ครับ

https://www.facebook.com/1PMThaiPBS/videos/426717534348436/?hc_ref=NEWSFEED
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2017 7:38 am    Post subject: Reply with quote

ย้อนยลสถานีรถไฟเก่า รื้อหรืออยู่?เมื่อ"ทางคู่"มาถึง
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 11.02 น.


เปิดโฉมให้ย้อนยลสถานีรถไฟเก่า บันทึกประวัติศาสตร์ไทยอันยาวนานกว่า 100ปี ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม จะถูกรื้อถอนหรืออยู่เมื่ออภิมหาโปรเจ็กท์ที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลอย่างโครงการรถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลมาถึง


ระหว่างที่รัฐบาลกำลังเร่งรัดเปิดประมูลรถไฟทางคู่   และรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน ภายในปีนี้จะได้บริษัทผู้ชนะการประมูล   ในรอบปีที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  ซื้อขบวนรถไฟใหม่เอี่ยมจากประเทศจีนบรรจุวิ่ง 4 สาย เหนือ อีสานและใต้จนยอดจองตั๋วล้นทะลัก   ช่วยยืนยันว่าการเดินทางด้วยรถไฟยังได้รับความนิยม แม้จะมีสายการบินโลว์คอสท์มาเป็นทางเลือกในการเดินทางก็ตาม

เส้นทางรถไฟผ่านทั้งชุมชนเมือง หมู่บ้านชนบท มีประวัติศาสตร์ยาวนาน120 ปี จวบจนปัจจุบันยังมีชีวิตชีวา สถานีรถไฟหลายร้อยแห่งยังเปิดใช้บริการในวันนี้   บางแห่งยังคงเดิมทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม จนได้รับการโปรโมทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว

“สถานีรถไฟหัวหิน” จ.ประจวบคีรีขันธ์  ดุจดั่งเพชรเม็ดงามของการรถไฟแห่งประเทศไทย   ได้รับการยกย่องทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารอนุรักษ์ ก่อสร้างขึ้นในปี 2454 โดยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการรถไฟ แห่งกรุงสยาม

อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรีย และ สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้คือ พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯเป็นพลับพลาจตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พลับพลานี้มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯเสด็จประทับทอดพระเนตร กองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี
หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟฯได้รื้อถอนมาเก็บไว้  เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์

สถานีรถไฟกันตัง  ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่าย ต.กันตัง อ.กันตัง  จ.ตรัง  ถือเป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน  สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่1เม.ย.2456  อดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย   มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือกันตัง ท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ

ตัวสถานีรถไฟกันตัง  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่า อาคารมีช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า
 
สถานีรถไฟนครลำปาง ตั้งอยู่ที่ จ.สบตุ๋ย อ.เมือง  จ. ลำปาง  มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างอ.เมือง 5 กม.สร้างขึ้นราวปี 2458  เปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจ.ลำปางในวันที่ 1เม.ย.2459  ตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ มีการประดับราวระเบียงและช่องแสงเหนือประตูหน้าต่างด้วยช่องปรุไม้ แกะสลักลวดลายเลียนแบบศิลปะพื้นเมือง

น่าดีใจว่าเมื่อ2 ปีที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) มีแผนจะรื้อสถานีนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งของรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ แต่ชาวลำปางไม่เห็นด้วย ท้ายที่สุดยังให้คงเดิม

สถานีรถไฟเชียงใหม่  เป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทางรถไฟสู่ภาคเหนือ อาคารสถานีปัจจุบัน ได้รับการออกแบบโดย หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ  ในพ.ศ.2489 หลังจากอาคารหลังแรกถูกทิ้งระเบิด พังไปเมื่อปี 2486 สถานีรถไฟเชียงใหม่เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนแบบไทยภาคกลางประยุกต์ เช่น การใช้ตัวเหงาปั้นลมที่หลังคา ใช้หลังคาจัตุรมุขซ้อนชั้นบริเวณหอนาฬิกา  รวมถึงการประดับตกแต่งส่วนรายละเอียดบริเวณเสา บัวหัวเสา เป็นต้น   ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในการออกแบบผังอาคารตามประโยชน์ใช้สอย และการใช้ผนังชั้นบนของอาคารด้านทิศตะวันตกรูปแบบฮาฟ ทิมเบอร์ (Half timber)

ในพื้นที่ ภาคเหนือ สถานีรถไฟบ้านปิน จ.แพร่ เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทย  ที่สร้างด้วยสไตล์ "เฟรมเฮ้าส์" แบบบาวาเรียน (Bavarian Timber FrameHouse) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียนของเยอรมัน เป็นสไตล์ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุสำคัญ  ออกแบบผสมผสานให้เข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทยๆ  กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้นด้วย  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6  พ.ศ.  2457 มีนายช่างชาวเยอรมัน ชื่อ ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง  สถานีบ้านปิน เป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้นายช่างชาวเยอรมันออกแบบสถานีแห่งนี้

เส้นทางรถไฟสายอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมา   (คนโคราชมักเรียก “หัวรถไฟ” ) เป็นแลนด์มาร์คสำคัญทางสถานีรถไฟ ของเส้นทางรถไฟสายอีสาน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เดิมชื่อสถานีโคราช เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2443 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ต่อมาได้สร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้นขึ้นมาทดแทนอาคารไม้หลังเดิม  เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2498 ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน   

สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บนถนนมุขมนตรี ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา

เทศกาลสงกรานต์ วาระแห่งการเดินทางมากที่สุดในรอบปี  รถไฟไทยทำหน้าที่ขนส่งผู้คนจำนวนมากกลับบ้านมาอย่างยาวนาน อีกไม่เกิน2 ปีตามที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้รถไฟจะต้องมีรางคู่และรถไฟความเร็วสูง แต่ก่อนไปถึงจุดนั้นผู้คนส่วนใหญ่อยากเห็นแผนการก่อสร้างกระทบกับสถานีเดิมน้อยที่สุดหรือมีทางออกให้สถานีเดิมคงอยู่แต่บนที่ตั้งใหม่ก็น่าจะทำได้ ....เพราะสถาปัตยกรรมยาวนานกว่าอายุขัยของผู้คน


ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

ขอบคุณภาพจาก Misterlee.com,We love thai trip
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีบ้านปิน
แป้หม่าเก่า Ancient Phrae
13 กันยายน 2563 เวลา 23:51 น.

สถานีรถไฟบ้านปิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นสถานีรถไฟที่มีตัวอาคารมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยศิลปะยุโรป มีอายุกว่า 100 ปี เป็นสถานีรถไฟแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างด้วยสไตล์ “เฟรมเฮ้าส์” แบบบาวาเรียน หรือแบบโครงไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ประกอบกับเมืองแพร่มีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ที่สุด ทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบผสมผสานให้เข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทย ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้นได้อย่างลงตัว ถึงแม้จะผ่านมามากกว่าร้อยปีแล้วแต่อาคารก็คงยังดูสวยงามทรงคุณค่า

สถานีรถไฟบ้านปิน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม มีนายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง โดยตัวอาคารสองชั้นตัวตึกประกอบด้วยไม้ หลังคาจั่วและปั้นหยา ตัวอาคารทาด้วยสีเหลือง ตัดกับโครงสร้างสีน้ำตาลเข้ม หน้าต่างโค้งมีลายฉลุสวยงาม ประตูหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูหน้าต่างและหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายพรรณพฤกษามีความงดงามอ่อนช้อยประณีตละเอียดอ่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©