Rotfaithai.Com :: View topic - อาชีพระบบขนส่งทางรางรุ่ง ปี 63 ต้องการ 3.1 หมื่นคน
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/04/2018 8:12 pm Post subject: อาชีพระบบขนส่งทางรางรุ่ง ปี 63 ต้องการ 3.1 หมื่นคน
อาชีพระบบขนส่งทางรางรุ่ง ปี 63 ต้องการ 3.1 หมื่นคน
กรุงเทพธุรกิจ 30 เม.ย. 61 การศึกษา
โดยชุลีพร อร่ามเนตร qualitylife4444@gmail.com
ผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าภายในปี 2563 เราต้องการกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบรางสูงถึง 3.1 หมื่นคน เป็นวิศวกร 6,000 คน ช่างเทคนิค 1.2 หมื่นคน และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี 1.3 หมื่นคน เนื่องจากรัฐบาลผลักดันการคมนาคมขนส่งทางราง
เช่น ระบบรถไฟธรรมดา รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง สถาบันการศึกษาจึงเปิดหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมระบบราง หรือการบริหารจัดการระบบราง ผลิตบุคลากรที่จะป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม
ทำให้ การเรียนวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง ได้รับความสนใจจากเด็กมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งหากเรียนเกี่ยวกับระบบรางสามารถเข้าทำงานได้ อาทิ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัทรถไฟฟ้า (BTS) และ บริษัทรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRTA) กลุ่มบริษัทค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าชั้นนำ บริษัทขนส่งและกระจายสินค้า
รวมทั้งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโดมิเนียม และอพาร์ตเมนท์ กลุ่มบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายรถไฟและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถไฟและระบบราง ทั้งในและต่างประเทศ และวิศวกรที่ปรึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ระบบ และแก้ปัญหาในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง
++ม.รังสิตปั้นวิศวะ-เทคโนฯ ระบบราง++
นิพนธ์ จงพิทักษ์ศีล หัวหน้าหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบราง วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่ามหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ ม.นิฮอง (Nihon University) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านระบบรางของประเทศญี่ปุ่น ส่งคณาจารย์มาร่วมสอนนักศึกษา และนักศึกษาจะได้ไปเรียนรู้ฝึกปฏิบัติที่ ม.นิฮอง หรือเลือกไปฝึกสหกิจศึกษาในบริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่นได้ โดยการเรียนการสอนเน้นแบบสหวิทยาการ นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์รวมกับวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา และการบริหารจัดการ ให้สามารถนำองค์ความรู้ทั้งหมดที่เรียนและฝึกปฏิบัติ ไปแก้ไขปัญหาในการทำงานทางด้านระบบราง
บัณฑิตที่จบการศึกษาจะสามารถดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง สามารถควบคุม ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ หรือผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรืออาชีพที่ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบรางในบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTS และบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์) ฯลฯ
บัณฑิตมีความรู้ความสามารถทั้งการควบคุมดูแลตรวจสอบ การซ่อมบำรุง และการบริหารจัดการ โดยเน้นการเรียนรู้จากปัญหาหน้างานจริง (Problem Based Learning) การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ ทดลองในห้องปฏิบัติการ วางแผนโดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างให้มีขีดความสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระยะยาว นิพนธ์ กล่าว
++อาเซียนต้องการ 1 หมื่นคน++
อย่างไรก็ตาม วิศวกรที่มีความรู้ทั้งด้านระบบรางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องยังขาดแคลนมากในประเทศอาเซียน มีองค์กรและบริษัทต่างๆ มีความต้องบุคลากรสายตรงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่ต่ำกว่าปีละ 1 หมื่นอัตรา ขณะที่ไทยมีความต้องการปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 อัตรา แต่ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการจัดการธุรกิจระบบราง
วัชรวี จันทรประกายกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค.)กล่าวว่า การสร้างงานให้กับวิศวกรไทยในอนาคตมีความจำเป็นและสำคัญมาก จึงเปิดหลักสูตรที่นำเสนอความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมออกแบบ และจัดการระบบราง มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ
การจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบรางไม่ใช่เกี่ยวกับการซ่อม สร้าง หรือมีสถานีรางเท่านั้น แต่ต้องสร้างคนที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ต่อเนื่องเชื่อมต่อกับโลจิสติกส์ รวมถึงการวางผังเมือง อย่างการสร้างคอนโดมิเนียมเชื่อมโยงระบบราง การบริหารทรัพยากรทางกายภาพ หรือบริหารสถานีเพื่อสร้างรายได้
ทั้งนี้ ม.หอการค้าไทยได้ร่วมกับวิทยาลัย Luizhou College ประเทศจีน และบริษัทรถไฟฟ้า รฟท จำกัด พัฒนาหลักสูตรและผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้การจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง ตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งก่อสร้างในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุม 76 จังหวัด รวมระยะทางมากกว่า 3 หมื่นกิโลเมตร ผ่านย่านธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาสถานีและย่านธุรกิจโดยรอบ 76 จังหวัด ไม่น้อยกว่า 400 สถานี
++เรียนจบมีงานทำอย่างแน่นอน++
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มกค. กล่าวอีกว่า คนที่จะมาเรียนวิศวกรรมการจัดการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมเท่านั้น แต่ขอให้สนใจระบบการขนส่งโลจิสติกส์ เนื่องจากไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องการกำลังคนด้านระบบราง แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องการสูง ดังนั้นขอให้เด็กที่มาเรียนต้องชอบ รักอยากที่จะเรียนรู้ และอยากร่วมพัฒนาระบบการขนส่งโลจิกติกส์ และต้องการนำความรู้ไปประยุกต์วางแผนและสร้างธุรกิจอิสระของตนเองที่สอดประสานกับการขยายตัวของระบบขนส่งทางรางด้วย
โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพวิศวกรระบบราง, วิศวกรช่างซ่อมบำรุงระบบขับเคลื่อนยานพาหนะระบบราง, วิศวกรซ่อมบำรุงระบบควบคุมอาณัติสัญญาณ, ผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน และอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีระบบราง วิศวกรโลจิสติกส์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ, วิศวกรประจำคลังสินค้า, วิศวกรที่ปรึกษา, วิศวกรควบคุม, วิศวกรการจัดการ, วิศวกรวางแผนและวิเคราะห์ เป็นต้น
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
Posted: 19/06/2018 12:21 pm Post subject:
ไทยต้องการ"คน"ระบบราง3หมื่นอาชีวะ-อุดมศึกษาเร่งผลิตรองรับ
คอลัมน์... เจาะประเด็นร้อน โดย... ชุลีพร อร่ามเนตร -qualitylife4444@gmail.com
19 มิถุนายน 2561
ไทยต้องการ"คน"ระบบราง3หมื่นอาชีวะ-อุดมศึกษาเร่งผลิตรองรับ :
ปัจจุบันมีการก่อสร้างระบบราง การขนส่งทางราง ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีแผนด้านคมนาคมขนส่งเร่งด่วน 44 โครงการ งบกว่า 2 ล้านล้านบาท ขณะที่ส่วนของอุดมศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ประมาณการความต้องการกำลังคนรวม 31,307 คน โดยจำนวนนี้มีความต้องการกำลังคนระดับช่างเทคนิค 11,479 คน และระดับวิศวกร 5,740 คน เพื่อรองรับพัฒนาและขยายระบบขนส่งทางรางของไทย
เร่งผลิตคนรับอุตสาหกรรมระบบราง
นายดิสพล ผดุงกุล นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) กล่าวว่า วศรท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำหลักสูตรพัฒนาครูช่าง เพื่อนำความรู้ถ่ายทอดสู่บุคลากรสายช่าง ให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้และตรงต่อความต้องการตลาด มุ่งพัฒนาบุคลากรด้านระบบรางจำนวนมาก โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษา ทั้งช่างซ่อมบำรุง ช่างไฟฟ้า เครื่องกล โยธา พนักงานบริการในสถานี พนักงานขายตั๋ว พนักงานต้อนรับ พนักงานดูแลชานชาลา ซึ่งขณะนี้มีการอบรมไปแล้ว 1 รุ่น รวมถึงได้สนับสนุน อบรมการเรียนการสอนร่วมกับอุดมศึกษา
ไทยต้องการ"คน"ระบบราง3หมื่นอาชีวะ-อุดมศึกษาเร่งผลิตรองรับ
ทั้งนี้ภาคเอกชนไทย สถานประกอบการของไทย สวทน. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัย และหน่วยงานเกี่ยวกับระบบรางได้มีแนวทางในการพัฒนาด้านต่างๆ มีศักยภาพและทำได้อยู่แล้ว หากได้รับการสนับสนุน ลงทุนจากภาครัฐว่าอุตสาหกรรมระบบราง ทั้งผลิตอะไหล่ ชิ้นส่วนต่างๆ ก็สามารถดำเนินการได้
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group