RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312036
ทั่วไป:13627751
ทั้งหมด:13939787
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์)
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47118
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2020 12:24 pm    Post subject: 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์) Reply with quote

ปัตตานี-เปิดงาน 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี(โคกโพธิ์)
สำนักข่าว กรมประชาสัมพั้นธ์ 23 ธ.ค. 2563

Click on the image for full size

วันนี้ (23 ธันวาคม 2563) ผู้สื่อข่าวปัตตานีรายงานณ บริเวณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดงาน“100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์)” ในโครงการการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในสามจังหวัดภาคใต้ชายแดนด้วยแพลตฟอร์ม ขยายผลการท่องเที่ยวมูลค่าสูง : ต่อยอดจาก Pattani Heritage City โดยมีนายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี กล่าวรายงาน

ทั้งนี้ รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ร่วมให้การต้อนรับ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง “เส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานี” การเสวนาเรื่องบทบาทของระบบรางในการพัฒนาปัตตานีและชายแดนภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน และความคาดหวังในอนาคต การแสดงนิทรรศการ 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์) การประกวดภาพถ่ายสถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์) การประกวดเรียงความ การแข่งขันแฟนพันธุ์แท้รถไฟปัตตานี การแสดงรถไฟจำลอง การออกร้านและจำลองบรรยากาศสถานีรถไฟ และการสร้างสรรค์จุดเช็คอินและถ่ายภาพร่วมกัน ที่สำคัญคือ การเปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม “ชุมทางหาดใหญ่ – ปัตตานี – นาประดู่ – วัดช้างไห้” ในช่วงเดือนมกราคม 2564

พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานในพิธีเปิดกิจกรรม 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี กล่าวว่า รถไฟถือเป็นยานพาหนะในการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่าหัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานกำเนิดกิจการรถไฟในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาประมาณ 125 ปี ก่อให้เกิดการกระจายความเจริญ การสร้างชุมชน พัฒนาระบบเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงความเป็นหนึ่งเดียวกันในหลายมิติ

ซึ่งจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเส้นทางรถไฟร่วม 100 ปีแล้ว และเส้นทางรถไฟ มีส่วนสำคัญที่ได้สร้างความเจริญให้กับจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะอำเภอโคกโพธิ์ ซึ่งเป็นอำเภอที่มีเส้นทางรถไฟผ่านและเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟหลักประจำจังหวัดปัตตานี ซึ่งเดิมชื่อว่า “สถานีโคกโพธิ์” และได้พัฒนามาเป็น “สถานีปัตตานี (โคกโพธิ์)” ในปัจจุบัน

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : ธรรมนูญ คีรีนารถ
ผู้เรียบเรียง : กนกพร ประสงค์
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47118
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2020 7:48 am    Post subject: Reply with quote

https://www.facebook.com/100yearstrainpattani/posts/132961661962216

ภาพบรรยากาศบางส่วนในงาน “๑๐๐ ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์)” ในวันนี้ โดยความร่วมมือระหว่าง โครงการ Pattani Heritage City ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี การรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 43 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สก.สว.) วัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปัตตานี
ทั้งนี้โดยมี “พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร” เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้
หนึ่งความเข้าใจส่วนใหญ่ของผู้คนโดยทั่วไป มีข้อมูลพื้นฐานว่า สถานีรถไฟปัตตานีหรือสถานีโคกโพธิ์ในอดีต เปิดให้บริการพร้อมกับการเปิดเส้นทางรถไฟ “สายมณฑลปัตตานี” ระหว่างสถานีชุมทางอู่ตะเภาถึงสถานีนาประดู่ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวนี้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2460 ทำให้มีความเข้าใจว่าสถานีปัตตานีในปัจจุบันหรือสถานีโคกโพธิ์ในขณะนั้นเปิดให้บริการในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
แต่จากหลักฐานการวางศิลาฤกษ์ในการสร้างอาคารสถานีรถไฟปัตตานี หลังใหม่หลังจากที่เปลี่ยนชื่อจากสถานีโคกโพธิ์เป็นสถานีปัตตานีเมื่อปีพุทธศักราช 2539 พบว่า สถานีโคกโพธิ์เปิดใช้งานเมื่อปีพุทธศักราช 2463 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากเปิดเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีจากชุมทางอู่ตะเภาไปยังสถานี 3 ปี
ทั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า สถานีรายทางต่างๆตั้งแต่ชุมทางหาดใหญ่ถึงปัตตานีนั้น เมื่อย้อนดูแผนที่รถไฟในอดีตฉบับที่สามารถค้นหาได้เก่าแก่ที่สุดคือปี 2463 ปรากฏว่า บางสถานีรายทางในปัจจุบัน ไม่ปรากฏในช่วงเวลาดังกล่าว และบางสถานีมีชื่อที่เรียกแตกต่างไปจากปัจจุบัน
และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีทั้งการยุบสถานี การสร้างสถานี ตลอดจนเปลี่ยนชื่อสถานีในเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีหลายครั้งหลายแห่ง เช่น
- การยุบสถานีควนจง
- การสร้างสถานีรถไฟท่าแมงลักและตามแปดเพิ่มเติมภายหลัง
- การเปลี่ยนชื่อสถานีท่าม่วงเป็นสถานีเทพา
- การปรากฏมีสถานีจะโหนงปรากฏอยู่ในเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานี เป็นต้น
ดังนั้นหากจะมีการอนุมานข้อมูลโดยยึดเพียงแต่การเปิดเดินเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีระหว่างชุมทางอู่ตะเภาถึงหน้าประดู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 และจะอนุมานว่าทุกสถานีรายทางในเส้นทางนี้เปิดให้บริการพร้อมกันนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถชี้ชัดได้อย่างชัดเจนตามไปด้วย
ขณะเดียวกันจากเอกสาร จดหมายเหตุ หนังสือบันทึกเรื่องราวเก่าๆ ตลอดจนราชกิจจานุเบกษาที่มีปรากฏข้อความเกี่ยวข้องกับเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีบางส่วน พบว่า ในอดีตเส้นทางรถไฟสายนี้ มีสถานีรถไฟหลักของจังหวัดปัตตานี คือ สถานีนาประดู่และแทบไม่ปรากฏชื่อของสถานีโคกโพธิ์ในขณะนั้น
ส่วนหนึ่งข้อมูลเชิงวิชาการที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่า แท้จริงแล้วในช่วงเวลาที่มีการสร้างเส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีนั้นยังไม่มีอำเภอโคกโพธิ์ปรากฏอยู่ในขณะนั้น มีเพียงอำเภอมะกรูดซึ่งเป็นอำเภอในบริเวณนั้นเพียงอำเภอเดียว ส่วนโคกโพธิ์เป็นเพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆสังกัดอำเภอมะกรูด
ต่อมาภายหลังเมื่อมีปรากฏการณ์สุริยุปราคาพระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงได้เสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดปัตตานี เพื่อทอดพระเนตรปรากฏการณ์ดังกล่าวที่บ้านโคกโพธิ์ อำเภอมะกรูด จังหวัดปัตตานี และได้มีการสร้างศาลาที่ประทับเพื่อใช้เป็นสถานที่ทอดพระเนตรปรากฏการณ์สุริยุปราคาดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับทางการเห็นว่าศาลาดังกล่าวมีความคงทนถาวรจึงได้มีการ ย้ายอำเภอมะกรูดจากที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ศาลาประทับดังกล่าวแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโคกโพธิ์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2472 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามเรื่องการย้ายอำเภอนั้นแม้จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักฐานของการเปิดให้บริการสถานีรถไฟโคกโพธิ์โดยตรงก็ตามแต่แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นข้อมูลเล็กๆที่ทำให้เห็นว่าแท้จริงแล้วความสำคัญคงเมืองโคกโพธิ์ เพิ่งจะมาปรากฏในช่วงหลังประมาณ 10 ปีหลังจากที่มีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานีระหว่างชุมทางอู่ตะเภามาถึงสถานีหน้าประดู่นั่นเอง
แต่ทั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าขณะนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถพิเศษ “กรุงเทพ-โคกโพธิ์” เพื่อนำผู้สนใจเดินทางมาชมสุริยุปราคาที่จังหวัดปัตตานีด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เห็นว่าสถานีโคกโพธิ์น่าจะมีตัวตนและเป็นสถานีที่มีบทบาทสำคัญมาแล้วระยะหนึ่ง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการศึกษาเชิงวิชาการเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตรงนั้นจะมีข้อมูลใหม่ที่เข้ามาทุกเถียงประเด็นและเข้ามาร่วมล้างข้อมูลเดิมอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติสำหรับพลวัตของวิชาความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ที่เรียกกันว่าการชำระประวัติศาสตร์นั่นเองอย่างไรก็ตามข้อมูลของประวัติศาสตรถเราคงจะต้องหาข้อมูลอ้างอิงที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ใกล้เคียงและมีความน่าเชื่อถือจากบริบทต่างๆระดับหนึ่งว่าข้อมูลนั้นคือข้อมูลล่าสุดที่ปรากฏอยู่
ดังนั้นในวาระที่สถานีรถไฟปัตตานีหรือสถานีโคกโพธิ์ในอดีตมีอายุครบรอบ 100 ปีในปีนี้หากแม้นมีข้อมูลใหม่ที่สามารถยืนยันได้ว่า สถานีปัตตานีหรือสถานีโคกโพธิ์ในอดีตมีการก่อสร้างมาหรือเปิดใช้บริการมาก่อนหน้านี้ ก็จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นประเด็นบันทึกเรื่องราวความรู้ไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้ต่อไป
ดังนั้นหน้าที่ของพวกเราทุกคนขณะนี้ คือการบันทึกเรื่องราวในอดีตที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบันที่พอหาได้ เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต
และความรู้ที่เกิดขึ้นนี้ ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้น หรือแรงบันดาลใจ เสาะแสวงหาข้อมูลใหม่ๆ ที่อาจจะมีการค้นพบได้ในอนาคต เพื่อจะมาถกเถียงประเด็นและค้นคว้าหาข้อมูลหลักฐานที่มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นต่อไป
ไปหากวันนี้พวกเราไม่ทำอะไร ประวัติศาสตร์ที่พอจะย้อนอดีตไปได้บ้างก็จะลืมหายไปกับกาลเวลา และเมื่อเวลาผ่านไปในอนาคต สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เหลือหลักฐานใดให้คนรุ่นหลังได้เสาะแสวงหา ถกเถียงประเด็นข้อมูลความรู้ เพื่อหาข้อยุติในช่วงเวลาที่แท้จริงต่อไปอย่างแน่นอน
ที่สำคัญอย่าลืมว่าประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งที่จะมาเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ประวัติศาสตร์คือ สิ่งที่เป็นของทุกคน ที่จะต้องร่วมกันในการเสาะแสวงหาความจริง ด้วยหลักฐานข้อมูลและเหตุผลกันต่อไปและเมื่อมีข้อมูลใหม่ประวัติศาสตร์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
#๑๐๐ปีสถานีรถไฟปัตตานี
#ภาพโดย คุณ Sannusee Kariji
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47118
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2020 9:28 am    Post subject: Reply with quote

ดัน'ปัตตานี'ศูนย์การขนส่งทางราง
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ปัตตานี - พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงกิจกรรม 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี ว่าจังหวัดปัตตานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเส้นทางรถไฟร่วม 100 ปีแล้ว และเส้นทางรถไฟมีส่วนสำคัญที่ได้สร้างความเจริญให้กับจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะอำเภอโคกโพธิ์ เป็นอำเภอที่มีเส้นทางรถไฟผ่านและเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟหลักประจำจังหวัดเดิมชื่อว่า "สถานีโคกโพธิ์" และมาเป็น "สถานีปัตตานี (โคกโพธิ์)" ศอ.บต.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรางของรถไฟในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มที่ จะพัฒนาให้จังหวัดปัตตานีเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าทางรางของจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ยังจะพัฒนาให้ "สถานีนาประดู่" เป็นสถานีหลักขนส่งสินค้า ทั้งสินค้าระบบ ตู้คอนเทนเนอร์ ปูนซีเมนต์ และประเภทอื่นๆ

เปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม "ชุมทางหาดใหญ่ - ปัตตานี - นาประดู่ - วัดช้างให้" เริ่มช่วงเดือนมกราคม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43930
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2020 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ดัน'ปัตตานี'ศูนย์การขนส่งทางราง
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ดัน'ปัตตานี'ศูนย์การขนส่งทางราง
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕ กอ.รมน.
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 04:27 น.

สิงก์มาแล้วจ้า : ดัน'ปัตตานี'ศูนย์การขนส่งทางราง
ข่าวสด
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:51 น.
https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_5623249
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43930
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2020 12:41 pm    Post subject: Re: 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์) Reply with quote

Mongwin wrote:
ปัตตานี-เปิดงาน 100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี(โคกโพธิ์)
สำนักข่าว กรมประชาสัมพั้นธ์ 23 ธ.ค. 2563


พลิกโฉมสถานีรถไฟปัตตานี รับโลจิสติกส์ ท่องเที่ยว จชต.
.เขียนโดยศูนย์ข่าวภาคใต้
เขียนวันที่วันอาทิตย์ ที่ 27 ธันวาคม 2563 เวลา 00:21 น.
การเร่งผลักดันให้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟปัตตานี หรือ "สถานีโคกโพธิ์" สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาการขาดแคลนระบบการขนส่งขนาดใหญ่ หรือ โลจิสติกส์ ที่จะมารองรับการขนส่งสินค้าคราวละมากๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากเขตอุตสาหกรรมที่ ศอ.บต.ให้การสนับสนุน หรือสินค้าเกษตรตามฤดูกาล ซึ่งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลผลิตขึ้นชื่อหลายชนิด

ตัวอย่างปัญหาที่เด่นชัดที่สุด คือ การประกาศยุติการผลิตของ บริษัท ซูเพิร์บ ครีเอเชั่น เฟอร์นิเจอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ลงทุนเปิดโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 62 ตามแผนชักชวนนักลงทุนให้มาลงทุนในพื้นที่ โดย บริษัท ซูเพิร์บฯ เข้าไปตั้งโรงงานโดยใช้สถานที่โรงเรียนดอนบอสโก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นโรงงานชั่วคราว จากนั้นก็ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อเตรียมขยายโรงงาน แต่กลับต้องขาดทุุน เพราะรัฐบาลไม่ยอมชดเชย "ส่วนต่างค่าขนส่ง" ตามที่ตกลงกันไว้ และเป็นเงื่อนไขการลงทุนที่เสนอตั้งแต่แรก ส่งผลให้บริษัทฯแบกรับต้นทุนไม่ไหว

ที่ผ่านมา ศอ.บต.ได้รับทราบปัญหานี้ แต่ไม่สามารถเจรจาให้กระทรวงการคลังยอมอนุมัติจ่ายชดเชยค่าขนส่ง ในอัตรา 15,000 บาทต่อตู้คอนเทนเนอร์ได้ เพราะไม่มีระเบียบกฎหมายใดรองรับการชดเชยในรูปเงินสด เหตุนี้ ศอ.บต.จึงเร่งปรับแผนด้วยการใช้รถไฟในการขนส่งแทน โดยมีแผนขยายสถานีนาประดู่ (สถานีรถไฟปัตตานี) เพื่อรองรับการขนส่งทางราง เชื่อมไปยังแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และพื้นที่ EEC (โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) โดยมีแผนจะลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การพัฒนาสถานีรถไฟนาประดู่เป็นความตั้งใจที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะขณะนี้มีเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และในพื้นที่การค้าชายแดนด้วย แต่ปัญหาก็คือในภาคใต้ตอนล่างไม่มีระบบขนส่งตู้คอนเทนเนอร์มาก่อน จึงต้องใช้การขนส่งทางบก คือทางรถยนต์เท่านั้น ทำให้ต้นทุนสูง

ศอ.บต.จึงได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับปรุงสถานีรถไฟนาประดู่ หรือ สถานีรถไฟปัตตานี ที่ อ.โคกโพธิ์ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางราง ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายเดือน ม.ค.2564 จะเริ่มมีการปรับพื้นที่แล้ว น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนอีกหนึ่งเรื่องในอนาคต และจะได้เห็นการขนส่่งทางรถไฟในแบบตู้คอนเทนเนอร์ จะมีการขนส่งสินค้าทางการเกษตรรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ นับเป็นการพัฒนาการที่ดีขึ้นในภาคใต้

trainhorz

นอกจากการเร่งพัฒนาสถานีรถไฟปัตตานีให้เป็นสถานีรถไฟที่มีระบบขนส่งขนาดใหญ่รองรับการขนส่งสินค้าในปริมาณมากแล้ว เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.63 ที่ผ่านมา ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ อ.โคกโพธิ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย และภาคส่วนต่างๆ จัดงาน "100 ปี สถานีรถไฟปัตตานี (โคกโพธิ์)" ภายใต้โครงการการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน ด้วยแพลตฟอร์มขยายผลการท่องเที่ยวมูลค่าสูง : ต่อยอดจาก Pattani Heritage City เพื่อเปิดเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม "ชุมทางหาดใหญ่ – ปัตตานี – นาประดู่ – วัดช้างให้" ในช่วงเดือน ม.ค.2564 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเปิดหน้าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชายแดนใต้ ทำให้เห็นว่า เส้นทางรถไฟสายมณฑลปัตตานี เป็นระบบคมนาคมการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่สำคัญ

นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอโคกโพธิ์ กล่าวว่า สถานีรถไฟหลักประจำจังหวัดปัตตานี คือ สถานีปัตตานี (โคกโพธิ์) สถานีนาประดู่ และสถานีวัดช้างให้ ด้วยระยะเวลา100 ปีของการมีเส้นทางรถไฟสายหลักพาดผ่าน ได้สร้างความเจริญให้กับพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ รวมถึงส่งผลต่อภาพรวมของจังหวัดปัตตานีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การกระจายความเจริญ ความมั่นคง การเชื่อมต่อคมนาคมทั้งผู้คนและสินค้าตามไปด้วย

การจัดงานครั้งนี้นับเป็นกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี อันเป็นการนำประวัติศาสตร์สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ และทำให้สังคมได้เห็นถึงการเรียนรู้ตัวตนและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สำคัญ อันจะเป็นประโยชน์ในการเข้าใจรากเหง้าและการเรียนรู้เรื่องราวรอบตัวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47118
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2021 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

ปี 2460 มีสถานีโคกโพธิ์แล้ว

Arrow https://www.facebook.com/100yearstrainpattani/posts/146103477314701
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3294
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 11/01/2021 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปี 2460 มีสถานีโคกโพธิ์แล้ว


สังเกตว่ารายชื่อสถานีที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือที่คุณพิเชษฐ์ แช่มเนียม ถ่ายรูปมาให้ดูนี้ หลายสถานีอยู่ในช่วงเส้นทางที่เปิดใช้งานหลังปี 2460 อย่างทางช่วง คลองทราย - บาลอ ก็เปิดเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2463 และทางช่วงต่อๆไปจนถึงสุไหงโกลก หรือทางช่วง หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ก็เปิดเมื่อ 1 กรกฎาคม 2461
Idea ทำให้มาคืดต่อว่าเวลาจะนับอายุสถานี ควรจะเริ่มนับตอนไหน Arrow ที่จริงสถานีที่สร้างเสร็จก่อนแล้ว ก็ต้องถูกกำหนดชื่อไว้ก่อนเปิดอยู่แล้ว และก็อาจจะภูกใช้งานเพื่อควบคุมการเดืนรถงานไปก่อนด้วย
Exclamation ตรงนี้ไม่น่ามีผลกับข้อสงสัยกรณีสถานีโคกโพธิ์นะครับ เพราะอยูในช่วงเวลาของหนังสือพอดี แต่ผมตั้งประเด็นเผื่อไว้กรณีที่อาจจะมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานีอื่นที่มีรายชื่อในหนังสือฉบับนี้ที่อยู่ในช่วงเส้นทางที่เปิดหลังปี 2460 นี้แหละ

ขอนอกเรื่องโคกโพธิ์อีกนิดครับ Wink จากข้อมูลการย้ายตัวจังหวัดตร้งจากกันตังมาอยู่ที่ปัจจุบันเมื่อปี 2458 นั้น Arrow สังเกตว่าในหนังสือฉบับนี้ สถานีตรัง ยังใช้ชื่อ ทับเที่ยง และสถานีปลายรางยังใช้ชื่อ ตรัง อยู่นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43930
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2021 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

Nakhonlampang wrote:
Mongwin wrote:
ปี 2460 มีสถานีโคกโพธิ์แล้ว


ขอนอกเรื่องโคกโพธิ์อีกนิดครับ Wink จากข้อมูลการย้ายตัวจังหวัดตร้งจากกันตังมาอยู่ที่ปัจจุบันเมื่อปี 2458 นั้น Arrow สังเกตว่าในหนังสือฉบับนี้ สถานีตรัง ยังใช้ชื่อ ทับเที่ยง และสถานีปลายรางยังใช้ชื่อ ตรัง อยู่นะครับ


เห็นร่องรอยการแก้ไขชื่อสถานีหลังจากมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อ 9 ธันวาคม 2460 ด้วยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47118
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2021 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

ปัญหาเรื่องวันเปิดสถานีรถไฟ ก็คงคล้าย ๆ กับสถานีรถไฟสงขลาด้วยครับ
Arrow https://www.facebook.com/songkhlaline/posts/1099135060100134

ประกาศเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ คือ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1914 นับอย่างปัจจุบันคือ พ.ศ. 2457)

แต่เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พระเจ้าอยู่หัว ร.6 ก็ได้เสด็จโดยทางรถไฟจากสถานีรถไฟสงขลาไปประพาสน้ำน้อยแล้วครับ

Click on the image for full size
ขอบคุณภาพถ่ายเปรียบเทียบโดยคุณ Jeff SRT
ภาพบน ถ่ายในสมัย ร.6 (19 เม.ย. 2454)
ภาพล่าง ถ่ายเมื่อ 27 มิ.ย. 2552
ห่างกัน 98 ปี

Click on the image for full size
ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน ประพาสทะเลและเสด็จกลับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/165_1.PDF

Click on the image for full size
ประกาศกระทรวงคมนาคม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2218_1.PDF
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43930
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2021 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปัญหาเรื่องวันเปิดสถานีรถไฟ ก็คงคล้าย ๆ กับสถานีรถไฟสงขลาด้วยครับ
Arrow https://www.facebook.com/songkhlaline/posts/1099135060100134

ประกาศเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ คือ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1914 นับอย่างปัจจุบันคือ พ.ศ. 2457)

แต่เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พระเจ้าอยู่หัว ร.6 ก็ได้เสด็จโดยทางรถไฟจากสถานีรถไฟสงขลาไปประพาสน้ำน้อยแล้วครับ


ประกาศกระทรวงคมนาคม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2218_1.PDF

ออ เพราะตอนนั้น ทางรถไฟสายสงขลาไปได้ถึงน้ำน้อยครับ เลยพอทำขบวนให้พระองค์ได้สัมผัสว่ารถไฟไทยสายใต้เริ่มทำให้เดินเป้นการทดลองให้ดูแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©