RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13638136
ทั้งหมด:13950186
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สหวิริยา - รฟท. ทดลองรถขนเหล็กแผ่นรีดร้อน นาผักขวง-ศรีสำราญ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สหวิริยา - รฟท. ทดลองรถขนเหล็กแผ่นรีดร้อน นาผักขวง-ศรีสำราญ
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 3:24 pm    Post subject: สหวิริยา - รฟท. ทดลองรถขนเหล็กแผ่นรีดร้อน นาผักขวง-ศรีสำราญ Reply with quote

สหวิริยา จับมือ รฟท. เปิดทดลองขบวนรถพิเศษ ขนเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน 46 ตัน
กรุงเทพธุรกิจ 15 พ.ค. 2566 เวลา 15:00 น.

Click on the image for full size

เอสเอสไอ-รฟท.เปิดทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่ง “เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน” 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยัง ที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี หวังช่วยลดปัญหาจราจรพร้อมลดต้นทุนขนส่ง

นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ เปิดเผยว่า วันนี้ (15 พ.ค.) บริษัทฯ ร่วมกับนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมเป็นประธานพิธีเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

โดยพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (บทต.) พิกัดบรรทุก 46 ตัน จำนวน 3 คัน จากสถานีนาผักขวง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักถึงโอกาสและประโยชน์ของการขนส่งสินค้าทางราง จึงได้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ริเริ่มโครงการขนส่งสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนทางรางขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สรุป 3 ประการ ได้แก่

1.ตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ช่วยขับเคลื่อนเพิ่มปริมาณ และสัดส่วนของการขนส่งสินค้าเหล็กทางรางให้มากขึ้น

2.บรรเทาปัญหาการจราจรทางถนน ลดมลภาวะทางอากาศอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของภาคประชาชน และสิ่งแวดล้อมได้

3.การขนส่งสินค้าทางรางจะเป็นอีกทางเลือกนอกเหนือจากทางถนนและทางเรือ

"การทดลองเดินขบวนขนส่งวันนี้ทำให้อำเภอบางสะพานเป็นต้นทางครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ในการเริ่มต้นการขนส่งสินค้าเหล็กทางราง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทและ รฟท. ได้ร่วมกันพัฒนาให้การขนส่งทางราง เป็นต้นแบบสำหรับสินค้าอื่นๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ"

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ร.ฟ.ท. ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบรางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติ ทั้งด้านโดยสารและการขนส่ง โดยเฉพาะการเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร การขนส่งสินค้าภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว

ซึ่งที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง ซึ่งถือว่าเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง

โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

“การทดลองขนส่งในพื้นที่นาผักขวงนี้ ถือเป็นมิติหมายที่ดีต่อคนในชุมชน เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยเปิดโอกาสทางการค้าให้กับชาวบ้านในชุมชนให้สามารถนำสินค้าไปขายไม่เพียงแค่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศด้วยเช่นกัน”

ทั้งนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสำคัญมากมายขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนรายใหญ่ที่สุดในประเทศ คือกลุ่มบริษัทสหวิริยา อีกทั้งยังมีท่าเรือน้ำลึกผู้ให้บริการท่าเรือพาณิชย์เอกชน และรองรับการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กได้ในปริมาณมาก

สำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางระบบราง นับเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่มีความปลอดภัยสูง ต้นทุนน้อย และช่วยลดปัญหาการจราจรทางถนนได้ อีกทั้งในอนาคต หากมีการเชื่อมต่อระบบรางถึงท่าเรือประจวบ จะเป็นการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถ ราง และเรือ ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

เอสเอสไอ-รฟท. เปิดทดลองขนส่งเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนทางราง
15 พฤษภาคม 2566 16:33 น. สยามรัฐออนไลน์ ข่าวทั่วไทย

Click on the image for full size

ตอบสนองนโยบายขนส่งทางรางภาครัฐ เอสเอสไอ-รฟท.เปิดทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่ง “เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน” 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี เชื่อมั่นว่าการขนส่งสินค้าทางราง ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรทางถนน ลดมลภาวะทางอากาศอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของภาคประชาชน และสิ่งแวดล้อมได้ และช่วยลดต้นทุนได้อีกด้วย

วันที่ 15 พ.ค.66 บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) โดยนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมเป็นประธานพิธีเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) โดยพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์(บทต.) พิกัดบรรทุก 46 ตัน จำนวน 3 คัน จากสถานีนาผักขวง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีนายอำเภอบางสะพาน ผู้นำองค์การบริหารส่วนปกครองท้องถิ่นและท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารกรมการขนส่งทางราง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และคณะผู้บริหารกลุ่มเหล็กสหวิริยาเข้าร่วม

นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ เอสเอสไอ กล่าวว่าตามที่ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มุ่งยกระดับพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและใหญ่สุดในอาเซียน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ เอสเอสไอซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตเหล็กได้ตระหนักถึงโอกาสและประโยชน์ของการขนส่งสินค้าทางราง จึงได้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ริเริ่มโครงการขนส่งสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนทางรางขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สรุป 3 ประการ คือ

1) สนองตอบนโยบายของภาครัฐ ช่วยขับเคลื่อนเพิ่มปริมาณ และสัดส่วนของการขนส่งสินค้าเหล็กทางรางให้มากขึ้น 2) บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการขนส่งสินค้าทางราง จะสามารถบรรเทาปัญหาการจราจรทางถนน ลดมลภาวะทางอากาศอันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของภาคประชาชน และสิ่งแวดล้อมได้ 3) การขนส่งสินค้าทางรางจะเป็นอีกทางเลือกนอกเหนือจากทางบรรทุก ทางเรือ ซึ่งการทดลองเดินขบวนขนส่งวันนี้ จะช่วยให้ทราบผลและช่องว่าง เพื่อร่วมกับ รฟท.พัฒนาให้การขนส่งทางรางต้นแบบสำหรับสินค้าอื่นๆ ให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

“การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาระบบคมนาคมทางรางอย่างพลิกโฉม และให้โอกาสบริษัทฯ ได้ริเริ่มดำเนินการขนส่งสินค้าเหล็กทางราง พร้อมสนับสนุนให้อำเภอบางสะพานได้เป็นต้นทางครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ในการเริ่มต้นการขนส่งสินค้าเหล็กทางราง” นายนาวากล่าว

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ร.ฟ.ท. ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบรางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาชาติ ทั้งด้านโดยสารและการขนส่ง โดยเฉพาะการเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรให้แก่พี่น้องเกษตรกร การขนส่งสินค้าภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรางถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว ซึ่งที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง ซึ่งถือว่าเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Click on the image for full size

“การทดลองขนส่งในพื้นที่นาผักขวงนี้ ถือเป็นมิติหมายที่ดีต่อคนในชุมชน เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยเปิดโอกาสทางการค้าให้กับชาวบ้านในชุมชนให้สามารถนำสินค้าไปขายไม่เพียงแค่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศด้วยเช่นกัน” ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าว

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า “จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสำคัญมากมาย ศักยภาพด้านการเกษตร และประมงพื้นบ้าน ถือเป็นอาชีพหลักของประชาชนที่สร้างรายได้ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนรายใหญ่ที่สุดในประเทศ คือกลุ่มบริษัทสหวิริยา อีกทั้งยังมีท่าเรือน้ำลึกผู้ให้บริการท่าเรือพาณิชย์เอกชน และรองรับการขนถ่ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เหล็กได้ในปริมาณมากอีกด้วย สำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางระบบราง นับเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่มีความปลอดภัยสูง ต้นทุนน้อย และช่วยลดปัญหาการจราจร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฯ ลุยหารายได้ ดึงเอกชนขนส่งสินค้าทางราง ก้าวสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
15 พฤษภาคม 2566 17:31 น. สยามรัฐออนไลน์ เทคโนโลยี-ไอที

Click on the image for full size

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งดังกล่าว เป็นความร่วมมือของการรถไฟฯ และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟฯ รวมทั้งช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ

ทั้งนี้การขนส่งสินค้าทางราง ถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว โดยที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง และขณะนี้ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง อาทิ สินค้าเกลือ ทุเรียน ยางพารา และ ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง

Click on the image for full size

อย่างไรก็ตามปัจจุบันการรถไฟฯ มีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานผลิตภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมของประเทศ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดหาโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า 946 คัน วงเงินประมาณ 2,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งสินค้าทางรางที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด การรถไฟฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งทางรางได้มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ และการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (CY) ที่ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางคู่สายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้าง การประหยัดพลังงาน และลดปัญหามลพิษทางอากาศ สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มมากขึ้น

สำหรับการเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลอง ขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ต้นทางการขนส่งเริ่มจากสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 356 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินรถเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมง ทั้งนี้สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ขนส่ง มีน้ำหนักแต่ละม้วนอยู่ระหว่าง 6-23 ตัน/ม้วน เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2,050 มิลลิเมตร โดยการทดลองขนส่งบนรถ บทต. มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน 2.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 2 ม้วน และ 3.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน และม้วนเล็ก จำนวน 2 ม้วน ซึ่งแต่ละรูปแบบน้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 46 ตัน

Click on the image for full size

ส่วนการทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่เริ่มขบวนรถทดลองในวันนี้ จากนั้นบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบ จัดทำแผนการขนส่ง และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานในช่วงปีถัดไป โดยเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนเริ่มขนส่งในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

นายเอกรัช กล่าวว่า การรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการนำระบบขนส่งทางราง มาสนับสนุนขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์โดยตรง สามารถนำสินค้าในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนขนส่งกับทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกด้านปริมาณการขนส่ง ลดมลพิษ ลดระยะเวลาการเดินทาง ช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งให้ภาคประชาชน และเอกชน เพิ่มขีดความสามารถระบบขนส่งโลจิสติสก์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการขนส่งสินค้า ภาคเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43965
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2023 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เดินหน้าหารายได้ ดึงเอกชนขนส่งสินค้าทางราง ยกระดับการบริการเพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 16:57 น.

การรถไฟฯ จับมือภาคเอกชน เปิดทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่ง “เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน” 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี 356 กิโลเมตร ใช้เวลา 10-12 ชั่วโมง แนวโน้มจะเริ่มขนส่งเชิงพาณิชย์ปีหน้า การรถไฟฯ เดินหน้าดึงเอกชนขนส่งสินค้า เปลี่ยนโหมดจากถนนสู่ราง ช่วยประหยัดต้นทุน เร่งงานทางคู่ จัดหาโบกี้บรรทุกตู้สินค้า รองรับการเติบโตขนส่งสินค้าทางรางในอนาคต
วันนี้ (15 พฤษภาคม 2566) เวลา 08.30 น. ณ สถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นประธาน และตัดริบบิ้นในพิธีเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน(HRC) ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในเส้นทางระหว่างสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์(บทต.) พิกัดบรรทุก 46 ตัน จำนวน 3 คัน
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งดังกล่าว เป็นความร่วมมือของการรถไฟฯ และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟฯ รวมทั้งช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ
การขนส่งสินค้าทางราง ถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว โดยที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง และขณะนี้ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง อาทิ สินค้าเกลือ ทุเรียน ยางพารา และ ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง
อย่างไรก็ตามปัจจุบันการรถไฟฯ มีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานผลิตภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมของประเทศ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดหาโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า 946 คัน
วงเงินประมาณ 2,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งสินค้าทางรางที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด การรถไฟฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งทางรางได้มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ และการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (CY) ที่ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางคู่สายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้าง การประหยัดพลังงาน และลดปัญหามลพิษทางอากาศ สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลอง ขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ต้นทางการขนส่งเริ่มจากสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 356 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินรถเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมง ทั้งนี้สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ขนส่ง มีน้ำหนักแต่ละม้วนอยู่ระหว่าง 6-23 ตัน/ม้วน เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2,050 มิลลิเมตร โดยการทดลองขนส่งบนรถ บทต. มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน 2.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 2 ม้วน และ 3.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน และม้วนเล็ก จำนวน 2 ม้วน ซึ่งแต่ละรูปแบบน้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 46 ตัน
ทั้งนี้ การทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่เริ่มขบวนรถทดลองในวันนี้ จากนั้นบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบ จัดทำแผนการขนส่ง และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานในช่วงปีถัดไป โดยเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนเริ่มขนส่งในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
นายเอกรัช กล่าวทิ้งท้ายว่า การรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการนำระบบขนส่งทางราง มาสนับสนุนขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์โดยตรง สามารถนำสินค้าในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนขนส่งกับทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกด้านปริมาณการขนส่ง ลดมลพิษ ลดระยะเวลาการเดินทาง ช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งให้ภาคประชาชน และเอกชน เพิ่มขีดความสามารถระบบขนส่งโลจิสติสก์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการขนส่งสินค้า ภาคเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/623476886476973


Last edited by Wisarut on 15/05/2023 11:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2023 8:07 pm    Post subject: Reply with quote

GEA4537 ทำขบวนรถพิเศษสินค้า 2412 นาผักขวง - สุพรรณบุรี ทดลองขนเหล็กรีดร้อนไปศรีสำราญ
Banpong station
May 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=Euhzm2dVFfA

มุ่งหน้าสู่สุพรรณบุรีใช้เส้นทางให้คุ้ม GEA4537 ทำรถพิเศษสินค้าทดลอง 2412 จากนาผักขวง ขนเหล็กรีดร้อน
Banpong station
May 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=gOKZ1EPrVHc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43965
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2023 11:06 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.จับมือ “สหวิริยาสตีลฯ” ทดลองขนส่ง เร่งจัดหารถสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.4 พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 18:56 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 18:56 น.

รฟท.จับมือ “สหวิริยาสตีลฯ” ทดลองขนส่งเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน จาก จ.ประจวบฯ-จ.สุพรรณบุรี 356 กม. พร้อมเร่งจัดหารถสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.4 พันล้านบาท รองรับตลาดขนส่งทางราง หารายได้เพิ่ม

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ณ สถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ร่วมเป็นประธาน และตัดริบบิ้นในพิธีเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) ของ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ในเส้นทางระหว่างสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (บทต.) พิกัดบรรทุก 46 ตัน จำนวน 3 คัน


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ รฟท. เปิดเผยว่า การเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งดังกล่าวเป็นความร่วมมือของการรถไฟฯ และ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟฯ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟฯ รวมทั้งช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ

สำหรับการเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลอง ขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนของ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี เส้นทางเริ่มจากสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 356 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินรถเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมง



โดยสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ขนส่งมีน้ำหนักแต่ละม้วนอยู่ระหว่าง 6-23 ตัน/ม้วน เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2,050 มิลลิเมตร โดยการทดลองขนส่งบนรถ บทต. มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน 2. ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 2 ม้วน และ 3. ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน และม้วนเล็ก จำนวน 2 ม้วน ซึ่งแต่ละรูปแบบน้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 46 ตัน

ซึ่งหลังจากการทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่เริ่มขบวนรถทดลองในวันนี้ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรีจะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบ จัดทำแผนการขนส่ง และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานในช่วงปีถัดไป โดยเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนเริ่มขนส่งในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

การขนส่งสินค้าทางราง ถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว โดยที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง และขณะนี้ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น สินค้าเกลือ ทุเรียน ยางพารา และไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง

X



นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดหาโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า 946 คัน วงเงินประมาณ 2,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งสินค้าทางรางที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด และเชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งทางรางได้มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ และการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (CY) ที่ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางคู่สายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้าง การประหยัดพลังงาน และลดปัญหามลพิษทางอากาศ สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการนำระบบขนส่งทางรางมาสนับสนุนขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์โดยตรง สามารถนำสินค้าในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนขนส่งกับทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกด้านปริมาณการขนส่ง ลดมลพิษ ลดระยะเวลาการเดินทาง ช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งให้ภาคประชาชน และเอกชน เพิ่มขีดความสามารถระบบขนส่งโลจิสติสก์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2023 11:37 am    Post subject: Reply with quote

16 พ.ค. 66 ยกเหล็กม้วนลงจากขบวนรถที่สถานีศรีสำราญ
ขอบคุณภาพถ่าย คุณ Panuwat Sittekun ส่งมาให้ครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47214
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2023 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้รถนอนแอร์แทนบพห. ขบวนรถพิเศษสินค้าเปล่า 2414 จากสายสุพรรณบุรี ออกหนองปลาดุก
Banpong station
May 16, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=qAmOiIkgfws
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43965
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2023 3:27 am    Post subject: Reply with quote

การ Mode Shift การขนส่งเริ่มต้นแล้ว จากถนนสู่ราง
แก้ปัญหาจราจร เริ่มต้นที่ม้วนเหล็ก สหวิริยา
เส้นทาง นาผักขวง (ประจวบคีรีขันธ์) - ศรีสำราญ (สุพรรณบุรี)
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การรถไฟได้เริ่มต้นทดสอบการขนส่งสินค้ากลุ่มเหล็กแปรรูป ร่วมกับเอกชนกลุ่มสหวิริยา ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตเหล็กแปรรูปรายใหญ่ของไทย
—————————
ซึ่งปัจจุบันเหล็กแผ่นม้วน หรือหลายๆคนเรียกลูกเหล็ก ใช้การขนส่งผ่านทางถนนด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่คนขับรถลงภาคใต้เห็นกันบ่อยๆ ซึ่งคันนึง ขนได้ไม่เกิน 3 ก้อน เพราะเรื่องน้ำหนักเกินความสามารถในการขนส่งทางถนน
แต่ก็อย่างที่รู้ๆว่า การขนทางถนนสำหรับสินค้าที่หนัก และขนทางถนนได้ทีละน้อยๆแบบนี้ สร้างปัญหาให้กับจราจร และบางส่วนทำให้ถนนพังเพราะน้ำหนักที่มาก
ทำให้เอกชนเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง และรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่ราง (Shift Mode)
—————————
โดยใช้เส้นทางทดสอบการขนส่งสินค้า จาก สถานีนาผักขวง (ประจวบคีรีขันธ์) - ที่หยุดรถศรีสำราญ (สุพรรณบุรี)
ซึ่งตัวสถานีนาผักขวง เป็นสถานีที่ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมสหวิริยา เพียง 4 กิโลเมตร
โดยตัวสถานีนาผักขวง ก็ถูกวางพื้นที่ไว้เป็น ย่านขนสินค้า (CY) ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ เส้นทาง ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ
คู่ขนานกับทาง กลุ่มสหวิริยา ก็มีการวางแผนในการพัฒนาสถานีนี้เป็น SSI’s Distribution Hub และ SSI’s Logistic Terminal
ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงระบบการขนส่งทางรางรองรับอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน ช่วยลดปัญหาด้านการจราจรการขนส่งทางบก และยังเสริมศักยภาพระบบคมนาคมการขนส่งต่อเนื่อง (รถ เรือ รถไฟ)
แต่ในส่วนของโครงสร้างของการรถไฟ คงต้องเร่งพัฒนาการเชื่อมต่อ โครงข่ายทางรถไฟเลี่ยงกรุงเทพ เส้นทาง สุพรรณบุรี-บ้านภาชี ให้เร็วที่สุด
เพื่อลดปริมาณจราจรรถไฟจากสายเหนือ-อีสาน-ตะวันออก ต้องการจะเชื่อมต่อลงใต้ ต้นไม้ผ่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เท่านั้น!!!
ทำให้ลำบาก ติดขัด และวุ่นวายกับย่านสินค้าพหลโยธินมาก
—————————
อนาคตการพัฒนาการเชื่อมต่อ และการใช้งานระบบราง คงไปได้อีกไกลแน่นอน และหวังว่าจะมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันในการให้บริการทั้งด้านโดยสาร และสินค้า ได้อย่างเต็มที่โดยเร็ว
—————————
รายละเอียดข่าว
การรถไฟฯ เดินหน้าหารายได้ ดึงเอกชนขนส่งสินค้าทางราง ยกระดับการบริการเพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน
การรถไฟฯ จับมือภาคเอกชน เปิดทดลองเดินขบวนรถพิเศษขนส่ง “เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน” 46 ตัน จากสถานีนาผักขวง ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ สุพรรณบุรี 356 กิโลเมตร ใช้เวลา 10-12 ชั่วโมง แนวโน้มจะเริ่มขนส่งเชิงพาณิชย์ปีหน้า การรถไฟฯ เดินหน้าดึงเอกชนขนส่งสินค้า เปลี่ยนโหมดจากถนนสู่ราง ช่วยประหยัดต้นทุน เร่งงานทางคู่ จัดหาโบกี้บรรทุกตู้สินค้า รองรับการเติบโตขนส่งสินค้าทางรางในอนาคต
วันนี้ (15 พฤษภาคม 2566) เวลา 08.30 น. ณ สถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นประธาน และตัดริบบิ้นในพิธีเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน(HRC) ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในเส้นทางระหว่างสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจะพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์(บทต.) พิกัดบรรทุก 46 ตัน จำนวน 3 คัน
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลองขนส่งดังกล่าว เป็นความร่วมมือของการรถไฟฯ และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟฯ รวมทั้งช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ
การขนส่งสินค้าทางราง ถือเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ประหยัดพลังงาน และมีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจำนวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว โดยที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง และขณะนี้ยังดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง อาทิ สินค้าเกลือ ทุเรียน ยางพารา และ ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าจากถนนมาสู่ระบบราง
อย่างไรก็ตามปัจจุบันการรถไฟฯ มีนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าในแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานผลิตภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมของประเทศ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดหาโบกี้รถบรรทุกตู้สินค้า 946 คัน
วงเงินประมาณ 2,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งสินค้าทางรางที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด การรถไฟฯ เชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งทางรางได้มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ และการก่อสร้างย่านกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (CY) ที่ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม ตลอดจนทางคู่สายอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้าง การประหยัดพลังงาน และลดปัญหามลพิษทางอากาศ สิ่งเหล่านี้จะทำให้บริษัทเอกชนต่างๆ มีความเชื่อมั่นต่อการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการเดินขบวนรถพิเศษสินค้าทดลอง ขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ต้นทางการขนส่งเริ่มจากสถานีนาผักขวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังที่หยุดรถศรีสำราญ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 356 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาการเดินรถเฉลี่ย 10-12 ชั่วโมง ทั้งนี้สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ขนส่ง มีน้ำหนักแต่ละม้วนอยู่ระหว่าง 6-23 ตัน/ม้วน เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2,050 มิลลิเมตร โดยการทดลองขนส่งบนรถ บทต. มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน 2.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 2 ม้วน และ 3.ขนส่ง HRC ม้วนใหญ่ จำนวน 1 ม้วน และม้วนเล็ก จำนวน 2 ม้วน ซึ่งแต่ละรูปแบบน้ำหนักบรรทุกรวมไม่เกิน 46 ตัน
ทั้งนี้ การทดลองขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่เริ่มขบวนรถทดลองในวันนี้ จากนั้นบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการจัดทำรายงานสรุปผลการทดสอบ จัดทำแผนการขนส่ง และรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานในช่วงปีถัดไป โดยเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนเริ่มขนส่งในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป
นายเอกรัช กล่าวทิ้งท้ายว่า การรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการนำระบบขนส่งทางราง มาสนับสนุนขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์โดยตรง สามารถนำสินค้าในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนขนส่งกับทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกด้านปริมาณการขนส่ง ลดมลพิษ ลดระยะเวลาการเดินทาง ช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งให้ภาคประชาชน และเอกชน เพิ่มขีดความสามารถระบบขนส่งโลจิสติสก์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ และก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป
ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการขนส่งสินค้า ภาคเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/570885525187039/?mibextid=cr9u03
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©