View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2006 5:35 pm Post subject: เรื่องจากอดีต : สร้างคอกใหม่ให้ม้าเหล็ก |
|
|
มาอีกเรื่องหนึ่ง จากนิตยสาร เสรีภาพ ฉบับที่ 45 ปี พ.ศ. 2502 ลองอ่านดูสำนวนเก่าๆ ที่ผมคัดมาพร้อมภาพประกอบเช่นเคยครับ
.............................
สร้างคอกใหม่ให้ม้าเหล็ก
โรงงานรถไฟโคราชซ่อมล้อเลื่อนรถไฟทุกประเภท ในภาพ เป็นที่กลับหัวรถจักรขนาดมหึมาซึ่งหมุนได้รอบตัว
ประเทศไทยขยายกิจการบำรุงรักษาการรถไฟ
ในประเทศไทยนั้น แม่น้ำลำคลองเคยเป็นวิถีทางสำหรับการคมนาคมที่ใช้การได้ตลอดปี แต่บัดนี้ถนนหลวงและทางรถไฟกำลังเพิ่มความสำคัญมากขึ้นทุกวัน เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงในวิธีการขนส่งของประเทศไทย ก็คือ ความเจริญเติบใหญ่ของเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์กสิกรรมและป่าไม้จะต้องส่งไปตลาดและโรงงาน และสินค้าสำหรับบริโภคก็ต้องแจกจ่ายไปทั่วประเทศอย่างเร่งรีบและสม่ำเสมอยิ่งขึ้น
รัฐบาลไทย มุ่งประโยชน์ในการปรับปรุงการรถไฟให้ดีขึ้น จึงใช้ทุนช่วยเหลือจากสหรัฐ สั่งซื้อรถไฟ และเครื่องมือที่ใช้ในการรถไฟมากหลาย อีกทั้งยังได้สร้างทางรถไฟใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ และปรับปรุงทางรถไฟเก่าๆ ให้ดีขึ้น
พลตรี เนตร์ เขมะโยธิน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี อดีต ร.ม.ต.ช่วยคมนาคม (ซ้าย) ถ่ายร่วมกับผู้อำนวยการการรถไฟ
เพื่อที่ทางรถไฟเหล่านี้จะได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น จึงต้องขยายบริการซ่อมรักษาในการรถไฟขึ้นอีกด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้สั่งซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในโรงงานรถไฟมาเป็นราคา ๑.๕ ล้านเหรียญ เพื่อใช้ในโรงงานซ่อมรถไฟแห่งหนึ่งอยู่ที่มักสันในกรุงเทพฯ
และเมื่อไม่นานมานี้เอง โรงซ่อมแบบเดียวกันนี้ก็มีเปิดขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่งที่โคราช อันเป็นจังหวัดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
โรงงานรถไฟนี้มีเครื่องมือสมบูรณ์และทันสมัยพอๆ กับในประเทศชั้นนำอื่นๆ ในอาเซียอาคเนย์ทีเดียว โรงงานนี้ ประกอบด้วยโรงตรวจ ซ่อม รถจักรและรถตู้ แท่นหมุนสำหรับกลับหัวรถจักรแบบใหม่ ซึ่งสับรางให้รถเข้ารางต่างๆ ได้ถึง ๑๖ ราง โรงเก็บรถซึ่งจุรถจักรได้ทีละ ๑๔ คัน และโรงไฟฟ้าไอน้ำซึ่งผลิตไฟฟ้าออกมาใช้ในโครงการนี้ทั้งหมด
นอกจากจะได้เงินช่วยเหลือจากสหรัฐแล้ว ประเทศไทยยังกู้เงินได้อีก ๑๕,๓๐๐,๐๐๐ เหรียญ จากธนาคารฟื้นฟูและพัฒนาการสากล เพื่อส่งเสริมโครงการนี้อีกด้วย
โรงงานซ่อมรถไฟที่โคราชมีเครื่องมือทันสมัยสำหรับใช้งานหนักได้ ภาพนี้ คือโรงซ่อมรถด้วยเครื่องจักร
ประเทศที่กำลังสร้างตัวเพื่ออนาคต ไม่แต่จะต้องเพิ่มสมรรถภาพในทางการผลิตสิ่งของเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถขนส่งและขายผลผลิตได้โดยรวดเร็วอย่างมีความสามารถอีกด้วย และประเทศไทยอันเป็นประเทศเอกราชมาเก่าแก่นี้ ก็กำลังประกอบการนี้ ด้วยความช่วยเหลือร่วมมือของประเทศที่เป็นมิตรกับโลกเสรีอย่างเต็มที่
ช่างกลไทยผู้ชำนาญกำลังซ่อมหม้อน้ำรถจักร
...................................
แถมด้วยข้อมูลการก่อสร้างโรงงานที่ชุมทางทุ่งสง นครราชสีมา และโรงงานอุตรดิตถ์ จากหนังสือครบรอบ 72 ปี การรถไฟฯ ซึ่งได้กล่าวถึงโดยสรุป ดังนี้ครับ
สืบเนื่องจากการดำเนินงานตามโครงการบูรณะกิจการรถไฟ ภายหลังสภาวะสงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง มีรถจักร และล้อเลื่อนใช้งานเพิ่มจำนวนมากขึ้น เหลือกำลังที่โรงงานมักกะสัน จะรับภาระทำการซ่อมทุกประเภทการซ่อม แก่รถจักร และล้อเลื่อนให้ทันใช้การ และครบถ้วนตามกำหนดได้ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2504 ทางการจึงได้กำหนดแผนงานให้มีโรงงานซ่อมในภูมิภาค ที่นครราชสีมา ชุมทางทุ่งสง และอุตรดิตถ์ ดำเนินการซ่อมประเภทปานกลาง และตามวาระ ( บางวาระ ) แก่รถจักรไอน้ำและล้อเลื่อน เพื่อแบ่งเบาภาระของโรงงานมักกะสัน โดยคงให้โรงงานมักกะสันดำเนินการซ่อมประเภทหนัก และผลิตอุปกรณ์อะไหล่ของรถจักรและล้อเลื่อนป้อนให้แก่โรงงานเหล่านั้น
นอกจากนี้ ยังอำนวยประโยชน์ให้แก่รถจักรและล้อเลื่อนมีโอกาสรับใช้งานเดินรถซึ่งเพิ่มขึ้นได้โดยเต็มที่ เพราะกระจายไปรับการซ่อมบำรุงทั้ง 2 ประเภทการซ่อมตามวาระ ที่โรงงานเหล่านั้นได้อย่างทั่วถึง และใช้เวลาการซ่อมรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรวบรวมจำนวนให้มาก และเสียเวลาเดินทางเข้าโรงงานมักกะสัน
ในโอกาสเดียวกันกับที่ตั้งโรงงานขึ้น ก็ได้สร้างโรงรถจักรขึ้นใหม่ด้วย เพื่อทดแทนของเดิมที่ได้รับความเสียหาย หรือชำรุดทรุดโทรมจากภาวะสงคราม และใช้การมานาน โดยปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับกิจการเดินรถและกิจการโรงงานซ่อม
แผนการนี้ ดำเนินการภายใต้การอำนวยการของ นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองลากเลื่อนในขณะนั้น มีการออกแบบ วางผังตัวโรงงาน กำหนดรายการเครื่องมือกล เครื่องจักรกล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง Mr. Eurl R Uwin ( ผู้ล่วงลับไปแล้ว ) แห่งองค์การบริหารวิสาหกิจของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ( USOM ) ทำหน้าที่เป็นวิศวกรปรึกษาด้านช่างกลให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย นายสหทัย โดษะนันทน์ วิศวกรประจำกองช่างกล ฝ่ายการช่างกล พร้อมด้วยวิศวกร เจ้าหน้าที่ในแผนกแบบแผน กองช่างกล เป็นผู้ดำเนินการด้านรายละเอียดต่างๆ หลักการดำเนินงานซ่อม การวางผัง และลักษณะตัวอาคาร อุปกรณ์เครื่องมือกล เครื่องจักรกลต่างๆ ที่จะนำมาติดตั้งใช้งานโดยครบครัน ยกเว้นอาคารโรงรถจักรแต่ละแห่ง ซึ่งแตกต่างกันตามสถานที่ตั้ง จำนวนรถจักร และสถานการณ์เดินรถที่มีอยู่ในภาคนั้นๆ
เพื่อเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการใช้ถ่านหินลิกไนต์ซึ่งเป็นทรัพยากรในประเทศ ที่จังหวัดลำปาง และกระบี่ เป็นเชื้อเพลิง จึงกำหนดให้มี โรงผลิตไฟฟ้ากำลังแบบความร้อน ( Thermal generating power plant ) เพื่อจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่โรงงานแต่ละแห่งขึ้น โดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงกับ หม้อน้ำแบบนอนเดินในท่อ ( Water tube boiler ) ยี่ห้อ Bancock และ Wilcock จำนวน 2 ชุด ( ชุดหนึ่งเป็นสำรอง ) แต่ละชุดมีกำลังผลิตไอสด 1,2000 ปอนด์/ ชั่วโมง และนำเอาไอน้ำนี้ไปเดินเครื่องกังหันไฟฟ้าขนาด 150 กิโลวัตต์ 2 ชุด ( ชุดหนึ่งเป็นสำรอง ) ที่ทุ่งสง และเดินเครื่องกลไกไอน้ำแบบลูกสูบไฟฟ้าขนาดเดียวกัน 2 ชุด ( สำรองหนึ่งชุด ) ที่นครราชสีมา สำหรับไอน้ำที่เหลืออยู่จากการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้ว ก็นำไปใช้เดินเครื่องสูบน้ำไอน้ำ สำหรับระบบล้างหม้อน้ำรถจักรด้วยน้ำร้อน และเดินเครื่องอัดอากาศ เพื่อจ่ายอากาศอัดไปใช้การยังโรงซ่อม
นอกจากนี้แล้ว แต่ละโรงงาน ได้ติดตั้งระบบล้างหม้อน้ำรถจักรด้วยน้ำร้อน และเร่งการกำเนิดไอน้ำรถจักรด้วยไอน้ำ ( Hot water boiler washing and steam raising plant ) เพื่อใช้การกับรถจักรไอน้ำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น มีเวลาที่จะนำไปใช้การ ( Availability ) เร็วขึ้นด้วย
สำหรับการนำเอาไอเสียจากอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงจำหน่ายกำลัง มาใช้การให้เป็นประโยชน์ แทนที่จะทิ้งไปในบรรยากาศ โดยนำมาทำให้น้ำเย็นที่เก็บอยู่ในถังร้อนขึ้น ( Make up water ) แล้วนำเอาน้ำร้อนนั้นไปล้างหม้อน้ำรถจักร ( แทนที่จะใช้น้ำเย็นตามวิธีทั่วไป ) และนำเอาไอดีจากหม้อน้ำในโรงหม้อน้ำไปช่วยเติม และเพิ่มความร้อนให้แก่หม้อน้ำรถจักร ที่เติมน้ำร้อนไว้ก่อนแล้ว ทำให้ไอน้ำเกิดขึ้นเร็วพอที่จะนำไปทำขบวนต่อไป การติดตั้งอุปกรณ์นี้ ทำให้ลดเวลาที่ใช้ล้างหม้อน้ำและติดไฟเพื่อกำเนิดไอจากวิธีปกติไม่ต่ำกว่า 5 - 6 ชั่วโมงต่อคัน เหลือเพียงหนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง
สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสร้างโรงงานที่นครราชสีมา การรถไฟฯ ได้รับความช่วยเหลือส่วนหนึ่งเป็นเงิน 280,000 ดอลล่าร์ จาก USOM ซึ่งมีเจตจำนงให้สามารถใช้ถ่านลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ ลำปาง มาเป็นเชื้อเพลิงเผาหม้อน้ำ และการรถไฟฯ ได้ออกเงินสมทบ ( Counterpart fund ) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอย่างเดียวที่ชุมทางทุ่งสง
ในส่วนของโรงงานซ่อม และโรงรถจักรที่ชุมทางทุ่งสง ได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2497 และติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรกลเสร็จ เปิดทำการเมื่อปี พ.ศ.2500 สำหรับโรงงานและโรงรถจักรที่นครราชสีมา ดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2498 และเปิดทำการเมื่อปี พ.ศ.2501 ทั้งสองแห่งได้ดำเนินการโดย นายสหทัย โดษะนันทน์ วิศวกรกำกับการช่างกลเขต 4 กองลากเลื่อนที่ทุ่งสง และต่อมา ได้ดำรงตำแหน่งวิศวกรกำกับการแผนกแบบแผน กองช่างกล ในฐานะวิศวกรพิเศษที่นครราชสีมา พร้อมด้วยสารวัดโรงงาน และช่าง คนงานของโรงงานแต่ละแห่ง
เฉพาะตัวโรงงานทั้งสองแห่ง ซึ่งเหมือนกัน มีพื้นที่ประมาณ 3,280 ตารางเมตร ( 42.5 x 82 เมตร ) มีรางจอดรถซ่อม 9 ทาง และมีอุปกรณ์ความสะดวก เครื่องมือกลเพื่อการผลิต และซ่อมงานโลหะและไม้อยู่ภายในนั้น และยังประกอบด้วย อาคารต่างๆ อีก คือ อาคารโรงหม้อน้ำ โรงจำหน่ายกำลังไฟฟ้า สูบน้ำและลมอัด โรงเหล็ก โรงเก็บน้ำมัน ระบบล้าง หม้อน้ำรถจักรด้วยน้ำร้อน บ่อและสะพานเลื่อนสำหรับถ่ายรถ หอถังน้ำพร้อมสูบน้ำไฟฟ้า อาคารโรงรถจักรแบบสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่ชุมทางทุ่งสง และแบบทรงกลม ( Roundhouse ) ที่นครราชสีมา สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น รวมทั้งค่าอุปกรณ์ความสะดวก เครื่องจักรกล และเครื่องมือกลของโรงงานที่ทุ่งสง 11,780,000.00 บาท และที่นครราชสีมาเป็นเงินประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งรวมเงินจำนวน 280,000 ดอลล่าร์ ช่วยเหลือโดย USOM อยู่ด้วย
ปัจจุบัน การปฏิบัติงานของโรงงานซ่อมทั้งสองแห่ง มีดังนี้
1. การซ่อมรถจักร มีหน้าที่รับซ่อมวาระ 1 ปี 6 เดือน และซ่อมพิเศษให้กับรถจักรไอน้ำแขวงต่างๆ ภายในเขต 4 คือ แขวงรถจักรชุมพร ทุ่งสง และหาดใหญ่ สำหรับโรงงานที่ทุ่งสง และภายในเขต 2 คือ แขวงรถจักรแก่งคอย และนครราชสีมา สำหรับโรงงานที่นครราชสีมา
2. การซ่อมวาระรถพ่วง ได้ดำเนินการซ่อมวาระรถพ่วงของเขต โดยทำการซ่อมวาระ 4 เดือน วาระปานกลาง 20 เดือน ให้กับรถโดยสาร และซ่อมวาระ 8 เดือน วาระปานกลาง 2 ปี ให้กับรถสินค้า กับซ่อมหนักรถสินค้าจำนวนหนึ่งตามที่รับมอบหมายนโยบายจากฝ่ายการช่างกล
3. ผลิตเครื่องอุปกรณ์อะไหล่ต่างๆ ให้แขวงโรงรถจักรภายในเขตใช้การตามกำลังความสามารถของโรงงาน เป็นการแบ่งเบาภาระงานของโรงงานมักกะสันได้อีกทางหนึ่ง
4. โรงกำลังไฟฟ้า มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง ผลัดเปลี่ยนการทำงาน เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นกำลังงานของเครื่องมือกลทั้งหมด และใช้งานแสงสว่างภายในย่านสถานีด้วย
สำหรับโรงงานที่อุตรดิตถ์นั้น ได้ใช้หลักการซ่อม ออกแบบและอื่นๆ อย่างเดียวกับโรงงานสองแห่งแรก แต่อาศัยประสบการณ์ที่ได้รับจากการดำเนินงานของโรงงานทั้งสองมาก่อน จึงได้ปรับปรุงตัวอาคารโรงงานต่างๆ และเครื่องมือ เครื่องจักรกลบางประการให้เหมาะสมขึ้น สำหรับกระแสไฟฟ้ากำลัง ได้ใช้จากแหล่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงไม่มีโรงหม้อน้ำและจำหน่ายไฟฟ้า ส่วนโรงรถจักรไอน้ำซึ่งย้ายมาจากสถานีพิษณุโลก ได้สร้างขึ้นชั่วคราว พร้อมที่จะสร้างเป็นโรงรถจักรดีเซลขึ้นถาวร เมื่อใช้การรถจักรดีเซลแทนรถจักรไอน้ำ ได้รับการปฏิบัติโดยสมบูรณ์ในอนาคต
โรงงานอุตรดิตถ์แห่งนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2502 แล้วเสร็จใช้การเมื่อปี พ.ศ.2508 โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งวิศวกรกำกับการช่างกลเขต 3 กองลากเลื่อนในขณะนั้น คือ นายสมพงษ์ จารุภูมิ และต่อมา นายชูพงษ์ อุดมพิทยภูมิจารณ์ เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ( รวมทั้งอาคารบ้านพัก ) ประมาณ 17 ล้านบาทเศษ ปัจจุบันได้ดำเนินการปฏิบัติการให้กับรถจักรไอน้ำ รถพ่วง ในเขต 3 คือ แขวงรถจักรปากน้ำโพ อุตรดิตถ์ และลำปาง
...............................................
Last edited by black_express on 15/09/2014 10:51 am; edited 7 times in total |
|
Back to top |
|
|
narita_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 28/03/2006 Posts: 1170
Location: PSU. Original Campus
|
Posted: 20/12/2006 5:57 pm Post subject: |
|
|
โอ้ว...ว้าว สุดยอดเลยครับสำหรับภาพเก่าเหล่านี้ โดยเฉพาะภาพแรกเนี่ย ผมประทับใจรางทั้งหลายจริงๆ ช่างมากระจุกตัวได้อย่างคลาสิคยิ่งเลยครับ... สงสัยคงเป็นรางที่ส่งรถจักรเข้าไปโรงเก็บเป็นแน่แท้เลยนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Schnellzug
3rd Class Pass
Joined: 03/07/2006 Posts: 170
Location: ศาลายา
|
Posted: 20/12/2006 6:08 pm Post subject: |
|
|
ผมก็ชอบภาพแรกเหมือนกันเลยครับ สุดยอดจริงๆๆ วงเวียนกลับรถจักรประเทศไทยมีอย่างนี้ด้วย สุดยอด _________________
|
|
Back to top |
|
|
anusorn
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/09/2006 Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์
|
Posted: 20/12/2006 6:22 pm Post subject: |
|
|
ตอแรกดูภาพแล้วนึกว่าสหรัฐอเมริกาซะอีกน่ะครับ |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 23/12/2006 11:34 am Post subject: ที่เดียวกัน |
|
|
ที่เดียวกันเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม ครับพ้ม
_________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 25/12/2006 9:49 am Post subject: |
|
|
เสียดาย ที่โปรแกรมนี้ ในเครื่องผมใช้ไม่ได้ แหม..ดีมากๆ ครับ ที่ อ.กิตติ หามาประกอบเรื่องให้
ยังเด่นสง่าเหมือนเดิม..
Last edited by black_express on 25/12/2006 10:05 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 07/09/2008 11:29 am Post subject: |
|
|
ดูจากข้อมูลทั้งภาพและเรื่องราวข้างบนแล้ว
รถไฟไทยของเราเมื่อเกือบ 50 ปี ที่แล้วนี่เจริญเติบโตและยิ่งใหญ่จริงๆนะครับ
|
|
Back to top |
|
|
bennakrab
3rd Class Pass
Joined: 05/08/2006 Posts: 70
Location: อุบลราชธานี
|
Posted: 07/09/2008 12:35 pm Post subject: |
|
|
ถ้าของเราพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เราคงนั่งรถไฟอุบล-กรุงเทพแค่ 4-5 ชั่วโมง แน่ๆ เลย ก็หวังว่าในอนาคตคงจะได้มีโอกาสสัมผัสกับรถไฟความเร็วสูงในเมืองไทยบ้าง (เพราะเมืองนอกคงไม่มีโอกาสได้ไป ) |
|
Back to top |
|
|
Intersec
3rd Class Pass
Joined: 18/11/2006 Posts: 104
Location: หัวตะเข้
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/09/2008 11:56 pm Post subject: |
|
|
ตอนนี้ผมลงโหลดโปรแกรมใหม่ ใช้งานได้เรียบร้อยแล้วครับ |
|
Back to top |
|
|
|