Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570804
ทั้งหมด:13882700
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


อุโมงค์รถไฟในประเทศไทย





 

      ในการสำรวจ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟนั้น จำเป็นต้องมีการหาแนวทางที่ดี เหมาะสมที่สุด และประหยัดที่สุด หากพื้นที่ใดเป็นบริเวณภูเขา ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ เพราะการก่อสร้างทางรถไฟ ผ่านภูเขานั้น ทำได้ลำบาก และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง กว่าการสร้างทางรถไฟในทางราบเป็นอย่างมาก เว้นไว้แต่มีความจำเป็น ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในบางกรณี ก็ใช้วิธีเจาะเป็นช่อง เข้าไปในภูเขา เพื่อให้ขบวนรถลอดผ่าน ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ช่องทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้น โดยให้ลอดไปใต้ภูเขานี้ เรียกว่า อุโมงค์ (Tunnel) ในปัจจุบัน มีอุโมงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นทางรถยนต์ และทางรถไฟหลายแห่ง ในต่างประเทศ มีการสร้างอุโมงค์ลอดลงไปใต้ดิน บางแห่งก็สร้างอุโมงค์จากเกาะหนึ่ง ลอดลงไปใต้ทะเล แล้วไปโผล่ขึ้นที่อีกเกาะหนึ่ง เป็นต้น สำหรับทางรถไฟทุกสายในประเทศไทย มีอุโมงค์อยู่ทั้งสิ้นรวม 7 แห่ง ล้วนแต่เป็นอุโมงค์ลอดภูเขาทั้งสิ้น ได้แก่

 
เส้นทางสายเหนือ
 
  • อุโมงค์ปางตูบขอบ

         อุโมงค์ "ปางตูบขอบ" ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ บริเวณ กม.513+721.55 ถึง กม.513+841.64 ระหว่าง สถานีปางต้นผึ้ง (กม.509.36) - สถานีห้วยไร่ (กม.517.02) ตัวอุโมงค์มีความยาว 120.09 เมตร ภายในเป็นผนังอิฐก่อ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ปางต้นผึ้ง, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง

 

อุโมงค์ปางตูบขอบ

อุโมงค์ปางตูบขอบ
ภาพโดย เมธี สุมณฑา (Nakhonlampang)

 
  • อุโมงค์เขาพลึง

         ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ห้วยไร่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ บริเวณ กม.516+410.66 ถึง กม.516+773.10 ระหว่าง สถานีปางต้นผึ้ง (กม.509.36) - สถานีห้วยไร่ (กม.517.02) ตัวอุโมงค์มีความยาว 362.44 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต แต่จะมีบางส่วนเป็นหินล้วนๆ ไม่ได้ดาดคอนกรีตตลอดอุโมงค์ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ปางต้นผึ้ง, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง
 

อุโมงค์เขาพลึง

อุโมงค์เขาพลึง
ภาพโดย เมธี สุมณฑา (Nakhonlampang)

 
  • อุโมงค์ห้วยแม่ลาน

         ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ลอง จ.แพร่ บริเวณ กม.574+048.00 ถึง กม.574+178.20 ระหว่าง สถานีบ้านปิน (กม.563.86) - สถานีผาคัน (กม.578.46) ตัวอุโมงค์มีความยาว 130.20 เมตร ภายในเป็นผนังหินดาดคอนกรีตบางส่วน ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ผาคัน, แขวง สบท.เด่นชัย, เขต วบข.ลำปาง
 

อุโมงค์ห้วยแม่ลาน

อุโมงค์ห้วยแม่ลาน
ภาพโดย พรชลิศ ครุฑเมือง (CivilSpice)

 
  • อุโมงค์ขุนตาน

         ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง บริเวณ กม.681+578.70 ถึง กม.682+940.80 ระหว่าง สถานีแม่ตานน้อย (กม.671.80) - สถานีขุนตาน (กม.683.14) โดยอยู่ห่างจากสถานีขุนตานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตัวอุโมงค์มีความยาว 1,362.10 เมตร (หากไม่รวมปากทางทั้งสองด้านจะมีความยาว 1,352.15 เมตร) ภายในเป็นผนังคอนกรีต, ใช้หมอนไม้เนื้อแข็ง (เดิมเป็นหมอนคอนกรีต), ใช้รางเชื่อมยาว แบบ 70 อาร์. (12.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของตอน นตท.ขุนตาน, แขวง สบท.ลำพูน, เขต วบข.ลำปาง ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย
 

อุโมงค์ขุนตาน

อุโมงค์ขุนตาน
ภาพโดย กิตติธัช กีรตินิชกาล (Sammy)

 
เส้นทางสายใต้
 
  • อุโมงค์ช่องเขา

         ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ช่องเขา อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช บริเวณ กม.769+822.30 ถึง กม.770+058.20 ระหว่าง สถานีช่องเขา (กม.767.78) - สถานีร่อนพิบูลย์ (กม.776.33) ตัวอุโมงค์มีความยาว 235.90 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 เอ (18.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.ร่อนพิบูลย์, แขวง สบท.เขาชุมทอง, เขต วบข.ทุ่งสง
 

อุโมงค์ช่องเขา

อุโมงค์ช่องเขา
ภาพโดย กิตติธัช กีรตินิจกาล (Sammy)

 
เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
 
  • อุโมงค์เขาพังเหย

         ตั้งอยู่บริเวณ กม.248+800.40 ถึง กม.249+031.00 ระหว่าง สถานีโคกคลี (กม.240.87) - สถานีช่องสำราญ (กม.250.64) ตัวอุโมงค์มีความยาว 230.60 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 เอ (18.00 เมตร) อยู่ในความรับผิดชอบของ ตอน นตท.โคกคลี แขวง สบท.ลำนารายณ์ เขต วบข.แก่งคอย
 

อุโมงค์เขาพังเหย

อุโมงค์เขาพังเหย
ภาพโดย กิตติธัช กีรตินิจกาล (Sammy)

 
เส้นทางสายคลองสิบเก้า - แก่งคอย
 
  • อุโมงค์พระพุทธฉาย

         ตั้งอยู่บริเวณ กม.147+102.046 ถึง กม.148+299.046 ระหว่าง สถานีวิหารแดง (กม.138.40) - สถานีบุใหญ่ (กม.149.00) ในเขต จ.สระบุรี ตัวอุโมงค์มีความยาว 1,197 เมตร กว้าง 5 เมตร สูง 5.5 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต ใช้หมอนคอนกรีต และรางเชื่อม 100 ปอนด์ อยู่ในความรับผิดชอบของตอน นตท.วิหารแดง แขวง สบท.แก่งคอย เขต วบข. ฉะเชิงเทรา อุโมงค์พระพุทธฉาย เป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวเป็นอันดับสอง รองจากอุโมงค์ขุนตานเท่านั้น ออกแบบโดยบริษัท Transystem ประเทศ Italy ราคาค่าก่อสร้าง 127.5 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2537 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2538
 

อุโมงค์พระพุทธฉาย

อุโมงค์พระพุทธฉาย
ภาพโดย กิตติธัช กีรตินิจกาล (Sammy)

 

 
แหล่งข้อมูล : เว็บบอร์ดฝ่ายการช่างโยธา รฟท.
ภาพประกอบ : กิตติธัช กีรตินิจกาล (Sammy),
เมธี สุมณฑา (Nakhonlampang)
เรียบเรียง : CivilSpice









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2004-10-03 (7944 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©