RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570960
ทั้งหมด:13882856
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


กว่าจะเป็น พขร.





     สวัสดีครับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวรถไฟไทยทุกท่าน นับตั้งแต่เว็บบอร์ดแฟนรถไฟไทย ของพี่หมอรักษ์พงศ์ จนมาถึงเว็บรถไฟไทยแห่งนี้ เป็นเวลากว่า 8 เดือนแล้วที่ผมได้เข้ามาในสังคมของคนที่ชอบ และรักสิ่งเดียวกันกับผม นั่นคือ "รถไฟไทย" อยากบอกครับว่าดีใจเป็นอย่างยิ่ง (แต่ก่อนนึกอยู่ว่าตูบ้าอยู่คนเดียวหรือเปล่า) และในโอกาสต่อๆ ไปคงได้พบปะพูดคุยสังสรรค์กับเพื่อนๆ คอเดียวกันน่ะครับ อ้อ.. อีกประการหนึ่งถ้าหากในวันข้างหน้าเว็บฯแห่งนี้จำต้องการ การสนับสนุนในรูปแบบการเป็นสมาชิกรายป ีแบบมีค่าใช้จ่าย ผมเป็นอีกผู้หนึ่งที่ยินดีสนับสนุนครับ เพื่อความคงอยู่ และเป็นศูนย์รวมให้แก่ผู้รักรถไฟไทยสืบต่อไป

     สำหรับบทความนี้ผมพยายามเรียบเรียงขึ้น จากข้อมูลและประสบการณ์ตรงของพนักงานรถจักร 2-3 ท่านซึ่งก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

     มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับก่อนอื่นเลยเราควรทำความเข้าใจกับคำว่า "พนักงานรถจักร" เสียก่อน ซึ่งในหนังสือคู่มือพนักงานรถจักรระบุไว้ว่า "พนักงานรถจักรตามบทวิเคราะห์ของสมุดข้อบังคับ และระเบียบการเดินรถหมายความว่า พนักงานขับรถตลอดจนพนักงานอื่นๆ ที่มีหน้าที่ประจำรถจักรขณะกระทำหน้าที่นั้น พนักงานรถจักรที่มีหน้าที่ปฏิบัติบนรถจักร ขณะขับเคลื่อนรถจักรเพื่อลากจูงขบวนรถต่างๆก็ดี ในการทำสับเปลี่ยนหรือเดินเป็นรถจักรตัวเปล่าก็ดี จะต้องมีพนักงาน 1 ชุดซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นพนักงานขับรถ 1 นายและช่างเครื่อง 1นาย"

     ดังนั้นกว่าที่จะได้ก้าวเข้ามาทำหน้าที่ "พขร." นั้นเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ต้องผ่านการปฏิบัติงานในตำแหน่งช่างเครื่องมาก่อน ซึ่งเราสามารถแจกแจงการเลื่อนระดับจากช่างเครื่อง จนกระทั่งเป็นพขร. ได้ดังนี้ครับ

ช่างเครื่อง 2 ---> สอบเลื่อนระดับ ---> ช่างเครื่อง1 ---> สอบเลื่อนระดับ ---> พนักงานขับรถ

หมายเหตุ

  • การสอบเลื่อนระดับนั้นไม่ได้มีทุกปี (ทั้งการสอบชค.2 ขึ้นเป็นชค.1 และชค.1 ขึ้นเป็นพขร.) ปีที่มีภาวะการตึงตัว,อัตราขาดมากพอสมควร ถึงจะมึการเปิดสอบ (ถึงแม้ว่าทุกปีย่อมมีพนักงานที่ครบอายุเกษียณ แต่ถ้าไม่มีอัตราขาดมากก็ไม่เปิดสอบและพิจารณาจาก "รุ่น" พนักงานที่บรรจุด้วย สมมุติว่ารุ่น 20 มีพนักงานอยู่ 100 คนทั้งคนที่สอบเป็นพขรแล้วและคนที่เป็นช่างเครื่องที่สอบพขรไม่ได้ กำลังจะเกษียณในปีต่อมาจะมีอัตราขาดมาก ก็จะเปิดสอบและให้สิทธิ์พนักงานที่อายุงานมากกว่า -บรรจุก่อนได้สิทธิ์สอบก่อน
  • สำหรับช่างเครื่องนั้นมี 2 ระดับ คือ ช่างเครื่อง 2 และช่างเครื่อง 1 ช่างเครื่องทั้ง 2 ระดับนี้ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน นอกจากช่างเครื่อง 2 ทางการห้ามขับรถจักรเป็นอันขาด แต่ช่างเครื่อง1 ยังอนุโลมให้ขับรถจักรได้ในบางกรณี เช่น กรณีพขรหมดสติเป็นโรคปัจจุบันทันด่วน เป็นต้น
  • เมื่อมีการประกาศสอบเลื่อนตำแหน่ง (ทั้งจากชค.2 เป็นชค.1 และชค.1เป็นพขร.) จะเป็นการประกาศสอบทุกแขวงทั่วประเทศแต่การสอบและขั้นตอนต่างๆในส่วนกลาง (สรจ.บซ, สรจ.กท, สรจ.ธบ) จะสอบที่สโมสรรถไฟกรุงเทพฯ ตรงข้ามโรงเรียนเทพศิรินทร์ในส่วนภูมิภาค จะมีสารวัตรรถจักรแขวงนั้นๆ รับผิดชอบการสอบไม่ต้องเดินทางมาสอบในส่วนกลาง

    เอาล่ะครับเรามาดูกันว่าคนที่ดำรงตำแหน่งช่างเครื่อง2และ1ในปัจจุบันนี้มีที่มาอย่างไรกันบ้าง
  1. การรถไฟฯเปิดโอกาสให้พนักงานของการรถไฟฯ เองที่มีคุณสมบัติตามกำหนด เช่น เป็นช่างในโรงงาน, หน่วยซ่อม, เป็นพนักงานห้ามล้อ (ทั้งหมดนี้ต้องเป็นพนักงานที่บรรจุแล้ว)ได้สอบคัดเลือกเพื่อศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งช่างเครื่อง 2
  2. ช่างเครื่อง 2 ที่สำเร็จมาจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟสาขาช่างกลหลักสูตร 3 ปี (เรียน 2 ปีและฝึกงานอีก 1 ปี) โดยใช้วุฒิม.3 ในการสอบเข้า เมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีวุฒิเทียบเท่า ปวช.
  3. ช่างเครื่อง1 ที่สำเร็จมาจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟสาขาช่างกลหลักสูตร 2 ปี (ทั้ง 2 ปี เรียน 1 เทอมและฝึกงาน 1 เทอม) โดยใช้วุฒิปวช. ช่างยนต์ในการสอบเข้า เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้วุฒิเทียบเท่าปวส. คือผู้ที่สำเร็จในหลักสูตรนี้จะได้ตำแหน่งชค. 1เลย (ปัจจุบันมีช่างเครื่อง 1 ที่สำเร็จมาจากหลักสูตรนี้ 2 รุ่น)

     เมื่อสำเร็จการศึกษา (ในหลักสูตร3ปีจากวรฟ.) หรือพนักงานภายในรุ่นที่ได้โอกาสสอบเลื่อน (ตามข้อ1)ได้ผ่านการอบรมสำเร็จตามหลักสูตรแล้วจะได้ไปประจำในแขวงสารวัตรรถจักรต่างๆ ทั่วประเทศตามทางการกำหนดจะได้มาปฏิบัติงานในตำแหน่ง "ช่างเครื่องฝึกหัด" เป็นเวลาประมาณ 3 - 4 เดือนและเขียนรายงานสรุปการทำงานส่งยังแขวงที่ตนสังกัดพร้อมรับการสัมภาษณ์จากผู้ช่วยสารวัตรรถจักรแขวงฯ (เกี่ยวกับเรื่องการทำงานทั่วไป) เมื่อผ่านช่วงนี้แล้วก็จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ช่างเครื่อง 2" พร้อมเริ่มนับอายุงานทันที (สำหรับรุ่นหลักสูตร 2 ปีจากวรฟ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างเครื่อง1)

     เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างเครื่อง 2 แล้วก็ปฏิบัติงานในแขวงที่ตนสังกัดอยู่ และรอจนกว่าจะมีการประกาศสอบจากช่างเครื่อง 2 ขึ้นเป็นช่างเครื่อง 1 จะมีบัญชีรายชื่อชค. 2 ผู้มีสิทธิ์สอบ (อายุงานครบมีสิทธิ์) ก็ให้แจ้งความประสงค์เข้ารับการสอบ ณ แขวงที่ตนสังกัดเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการตรวจร่างกายและสอบข้อเขียน, สอบสัมภาษณ์ต่อไป

     เนื่องจากการสอบเลื่อนระดับจากชค. 2 ขึ้นเป็นชค.1 และชค.1 ขึ้นเป็นพขร. มีรายละเอียดที่คล้ายกัน (ต่างกันแต่เพียงการสอบเป็นพขร. มีการสอบปฏิบัติด้วย) ผมจึงขอข้ามไปเล่าถึงการสอบชค1. เป็นพขร. เลยครับเพื่อความไม่เยิ่นเย้อ

     เมื่อได้รับการแต่ตั้งเป็น ชค1. แล้วก็ปฏิบัติงานในแขวงที่ตนสังกัด จนกระทั่งมีการประกาศสอบเลื่อนระดับจากชค1. ขึ้นเป็นพขร. ก็ให้ตรวจสอบในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ซึ่งในประกาศจะระบุว่า "ช่างเครื่อง1 ที่มีสิทธิ์สอบเลื่อนระดับเป็นพขรต้องมีอายุงานไม่ต่ำกว่า 7 ปีนับตั้งแต่อายุงานเมื่อดำรงตำแหน่งช่างเครื่อง 2" (แต่ในความเป็นจริงเมื่อมีอายุงานครบแล้วก็ยังไม่ได้สอบ เพราะปีนั้นมิได้เปิดสอบดังเหตุผลที่กล่าวไว้ในตอนต้น จึงต้องรอจนกว่าจะเปิดสอบซึ่งก็จะมีอายุงานเฉลี่ย 8-10 ปีพอดี) เมื่อตรวจรายชื่อแล้วว่าตนเป็นผู้มีสิทธิ์สอบในปีนี้ ให้แจ้งความประสงค์เพื่อเข้ารับการสอบซึ่งมึหลายขั้นตอนดังนี้

  1. การตรวจสุขภาพ
    เพราะผู้มาปฏิบัติหน้าที่พขรต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และสายตาดีโดยเฉพาะเรื่องของความดันโลหิต และอาการตาบอดสี ปัจจุบันในส่วนกลาง (บางซื่อ, กรุงเทพฯ, ธนบุรี) ให้เข้ารับการตรวจที่ รพ.รถไฟ ส่วนแขวงในภูมิภาคให้เป็นไปตามที่สารวัตรรถจักร แขวงที่ตนสังกัดกำหนด (ส่วนมากเป็นรพ. จังหวัด) เมื่อแพทย์ลงความเห็นแล้วว่ามีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นปัญหาขณะขึ้นทำขบวนก็พร้อมรับการสอบในขั้นต่อไป
  2. การสอบข้อเขียน
    มีอยู่ 2 วิชาคือ วิชารถกล (วิชาช่างกล) และข้อระเบียบการเดินรถ (ขดร.) ให้ผู้สอบบรรยายตามโจทย์ปัญหาที่ถามซึ่งวิชารถกล ผู้สอบต้องมีความเข้าใจในระบบของรถจักรและล้อเลื่อนต่างๆ ทั้งวงจรน้ำมันเชื้อเพลิง, วงจรน้ำมันหล่อลื่น, น้ำหล่อเย็น, วงจรไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งรถจักรแต่ละรุ่นก็มีรายละเอียด การทำงานต่างกันวิชา ขดร. เช่นการปฏิบัติเมื่อเจอสัญญาณประจำที่ชำรุด หรืองดใช้ป้ายชนิดต่างๆ หมายถึงอะไรเป็นต้น
  3. การสอบสัมภาษณ์ จะเป็นการสอบอธิบายปากเปล่า ในรายวิชาเช่นเดียวกับการสอบข้อเขียนคือวิชารถกล(ช่างยนต์), และข้อระเบียบการเดินรถ (ขดร.) ซึ่งการสอบดำเนินการโดยกรรมการให้คะแนน ที่สารวัตรรถจักรเป็นผู้แต่งตั้งประมาณ 2-3 คน โดยเนื้อหาการสอบอาจจะเป็นการถามคำถามเดียวกับวันที่สอบข้อเขียน เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้สอบมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้หรือไม่ (ทุจริตหรือไม่นั่นเอง) หรืออาจจะถามคำถามใหม่ต่างจากวันสอบข้อเขียน รวมถึงการตั้งสถานการณ์สมมุติ ว่าหากเกิดเหตุการณ์นี้ระหว่างทำขบวน ในฐานะพนักงานรถจักรต้องทำอย่างไร ซึ่งต้องปฏิบัติไปตาม ขดร.ที่กำหนดมา. วมถึงเรื่องราวทั่วไปเช่น ครอบครัว ฯลฯ เมื่อมีคะแนนผ่านตามเกณฑ์จึงจะได้มีสิทธิ์ขึ้นสอบปฏิบัติ
  4. การสอบปฏิบัติ สารวัตรรถจักรจะเป็นผู้กำหนดว่าผู้สอบแต่ละคน จะได้ขึ้นสอบปฏิบัติกับขบวนไหน ในวันอะไรซึ่งเป็นรถที่เดินประจำ (มิได้เป็นรถที่จัดมาเพื่อการสอบ) โดยบนรถจักรจะมีพขร.-ชค. ที่ประจำขบวนอยู่แล้ว และกรรมการผู้ให้คะแนนประมาณ 1-2 คน (แล้วแต่สารวัตรรถจักรแขวงฯ แต่งตั้ง) การให้คะแนนเริ่มตั้งแต่หลักการปฏิบัติในการขับรถ, การปฏิบัติตามขดร. การออกขบวน-การใช้ห้ามล้อดูว่ามีความนิ่มนวลขนาดไหน การใช้ห้ามล้อฉุดกระชากหรือเปล่า มีคำพูดของพขร. เก่าๆ บอกไว้ให้เห็นภาพว่า "วิ่งเร็วดั่งพายุ แต่ลงห้ามล้อให้นิ่มนวลเหมือนสายน้ำไหล"

    ต๊อบ









    สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

    อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
    หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
    พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

    ติดประกาศ: 2005-01-18 (32347 ครั้ง)

    [ ย้อนกลับ ]


    Content ©