Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273059
ทั้งหมด:13584355
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ขุนนิพัทธ์จีนนคร กับการสร้างทางรถไฟสายใต้และเมืองหาดใหญ่





 

ภาพประกอบจากเว็บไซต์
http://www.hatyaiwit.ac.th

 

     บางกอกในปี พ.ศ. 2448 เป็นยุคของการปฏิรูปการปกครอง จัดกระทรวง ทบวง กรมใหม่ทั้งในด้านชลประทาน การรถไฟ การเกษตร การตั้งโรงไฟฟ้า กรมไปรษณีย์โทรเลข การประปา ฯลฯ ต่อมาในปี 2452 สมเด็จพระ ปิยมหาราชเจ้า มีพระ บรมราชโองการให้สร้างทางรถไฟสายเพชรบุรีจรดสุดชายแดนภาคใต้ ขุนนิพั ทธ์ฯได้สมัครเข้าทำงานกับบริษัทรับเหมาทางรถไฟสายนี้ โดยรั บหน้าที่เป็นผู้ตรวจการและผู้จัดการทั่วไป

     งานสร้างทางรถไฟสายใต้ในสมัยนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ปักษ์ใต้ยังมีพลเมืองน้อย เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยไข้ป่า บางแห่งเป็นที่ลุ่มน้ำขึ้นสูง ขุนนิพัทธ์ฯมีหน้าที่ควบคุมงานถางป่าให้เป้นแนวกว้างประมาณ 40 เมตร เพื่อเป็นแนวทางการลงดิน ลงหินสำหรับวางรางรถไฟ เนื่องจากงานสร้างทางรถไฟมีระยะ ทางยาวหลายร้อยกิโลเมตรจึงต้องแบ่งงานออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 30 กิโลเมตร แต่ละช่วงมีโรงงานขนาดใหญ่กว่า 10 แห่ง มีคนงานช่วงละ 200 คน มีนายช่างอิตาลีเป็นผู้ดำเนินการทางเทคนิค พร้อมผู้ช่วยชาวเอเชียอีก 2 คน คนงานสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นคนจีนหลายภาษา จึงต้องแบ่งหน้าที่การงานโดยให้

  1. ชาวจีนแคะทำหน้าที่บุกเบิืกถางป่า
  2. ชาวจีนแต้จิ๋วทำหน้าที่โกยดินถมทางให้สูงประมาณ 4.5 เมตร
  3. ชาวจีนกวางตุ้งทำหน้าที่โรยหินบนดินที่ถมไว้เพื่อเป็นแนวทางรถไฟ

     บางครั้งงานที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วถูกน้ำป่าเซาะทลาย ก็ต้องเริ่มต้นงานกันใหม่อีก ตลอดเส้นทางการสร้างรางรถไฟสายใต้นี้ ต้องใช้คนงานทั้งหมดหลายพันคน การสร้างรถไฟสายใต้นี้ รัฐบาลพระปิยมหาราชเจ้าได้กู้เงินจากอังกฤษ (จำนวน 4ล้านปอนด์สเตอริงค์ทองคำ หรือ 44 ล้านบาทอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปีในยุคทองคำราคาบาทละ 25 บาท) เพื่อการนี้โดยเฉพาะ วัสดุก่อสร้างต่างๆ กระทำสำเร็จรูปมาจากอังกฤษ การสร้างสะพานก็ต้องส่งปูนซิเมนต์มาก่อเป็นคอสะพานแล้วจึงส่งสะพานสำเร็จรูปซึ่งทำจากอังกฤษมาวางให้พอดี ขนาดของสะพานเหล็กนี้มีตั้งแต่ 30-80 ตัน การลำเลียงปูนซิเมนต์และ รางเหล็กจากเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ต้องลำเลียงโดยทางน้ำ และ ทางบกเป็นทอดๆ ไป จนถึงอำเภอและจังหวัดต่างๆ

      ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายใต้นี้ ได้สร้างมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า บ้านน้ำน้อย (อยู่ครึ่งทางระหว่างหาดใหญ่-สงขลา) บ้านน้ำน้อยหรือตำบลน้ำน้อย เป็นชื่อรวมของหมู่บ้าน ตั้งอยู่ริมถนนกาญจนวานิชย์ ในสมัยก่อนโน้น บ้านน้ำน้อยมีแร่เหล็กมากมาย จนได้ชื่อว่าชาวน้ำน้อยเป็นช่างเหล็กฝีมือดีแห่งหนึ่ง ขุนนิพัทธ์ฯได้ลาออกจากงานแล้วนั่งเกวียนไปสงขลา ตั้งใจจะพำนักอยู่ที่สงขลาสักระยะหนึ่ง แต่กลับถูกขโมยขึ้นบ้านกวาดทรัพย์สินไปเกือบหมด ท่านจึงต้องเช่าเรือจากสงขลาล่องเรือย้อนกลับไปพัทลุงเพื่อไปหา นายชี จื้อ ถิ่น ที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟสายนั้นอยู่ ขุนนิพัทธ์ฯจึงได้รับมอบหมายงานจากนายชี จื้อ ถิ่น ให้เป็นผู้ควบคุมทางรถไฟสายทุ่งสงเป็นเวลา 1 ปี

      ในปี พ.ศ. 2453 ขุนนิพัทธ์ฯได้รับเหมางานสร้างทางรถไฟช่องพั ทลุงถึงร่อนพิบูลย์ ซึ่งมีช่องเขากันดารเป็นป่าทึบ ท่านรับเหมางานขุดดินเจาะ อุโมงค์ลอดเขา จากนายชี จื้อ ถิ่น ซึ่งเป็นผู้รับเหมาต่อจากบริษัทต่างประ เทศอีกทอดหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยมี บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด รับเหมาขุดเจาะ อุโมงค์อยู่ก่อนแล้ว แต่คนงานรุ่นแล้วรุ่นเล่านับร้อยๆ คนต้องประสบกับความตายมากมาย เนื่องจากเป็นช่องเขาอันกันดาร เมื่อขุนนิพัทธ์ ฯรับเหมางานนี้แล้ว ได้ใช้ความสุขุมรอบคอบในการควบคุมงานอย่างเต็มที่ จนสามารถขุดอุโมงค์เสร็จได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งอุโมงค์นี้ก็คือ อุโมงค์ช่องเขา หลังจากนั้นแล้วจึงเข้าควบคุมเส้นทางรถไฟสายฉวาง-ทุ่งสงต่ออีก 2 ปี

      เมื่อเสร็จจากงานรับเหมาช่วงฉวาง-ทุ่งสงแล้ว ก็ได้รับเหมาสร้างทางรถไฟสายใต้ช่วงต่อไปอีก งานรับเหมาได้มาสิ้นสุดลงที่ สถานีอู่ตะเภา ซึ่งตั้งอยู่แถบคลองอู่ตะเภา ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ชุมทาง สถานีอู่ตะเภา เป็นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ในสมัยนั้นปัจจุบันใช้เป็นเพียงที่หยุดรถไฟ

      ท่านรับเหมางานสร้างทางรถไฟช่วงต่อไปอีกที่อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นเวลาหลายปี เสร็จจากงานที่อำเภอโคกโพธิ์แล้ว ได้กลับมารั บงานซ่อมทางรถไฟสายอู่ตะเภา-สงขลา ซึ่งถูกน้ำท่วมทางขาด ระ หว่างการซ่อมทางรถไฟสายนี้ ท่านต้องอาศัยไปๆ มาๆ ระหว่างตำบลน้ำน้อย-อู่ตะเภายามว่างจากงานก็ออกสำรวจหาแหล่งแร่ดีบุก วุลแแฟรม ที่เขาวังพา ตำบลทุ่งตำเสา และตำบลท่าช้าง ซึ่งเป็นป่าทึบอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ บางครั้งต้องค้างคืนในป่าเพื่อการค้นหาแหล่งแร่ เป็นอยู่เช่นนี้จนเกือบจะ ตลอดชีวิตของท่านจนในบั้นปลายของชีวิตท่าน ได้ทิ้งมรดกการทำเหมืองแร่ให้กับลูกหลานได้รับช่วงต่อมา

     งานสร้างทางรถไฟสายใต้จากเพชรบุรีจรดสุดชายแดนภาคใต้เสร็จสิ้นลงด้วยดี สถานีสุดท้ายสุดชายแดนคือ สถานีสุไหงโกลก และ สถานีปาดังเบซาร์ ในปี พ.ศ. 2455 เสร็จจากงานรับเหมาสร้างทางรถไฟช่วงหนึ่งแล้ว ขุนนิพัทธ์ฯได้มาพักอาศัยอยู่ที่ริมคลองอู่ตะเภา ข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ แถบ สถานีรถไฟอู่ตะเภา นี้มีสภาพเป็นลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำ ท่านมีความรู้สึกว่าไม่เหมาะกับการตั้งสถานีและบ้านเรือน จึงได้ออกสำรวจหาแหล่งพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรั บการปลูกบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรต่อไป ก็พบป่าเสม็ดแห่งหนึ่งมีผู้อาศั ยอยู่บ้างประปราย เป็นป่าบริเวณโดยรอบ บ้านโคกเสม็จชุน อยู่ห่างจากที่ตั้งสถานีรถไฟอู่ตะเภาประมาณ 3 กิโลเมตร ท่านได้เริ่มทำการซื้อขายป่าต้นเสม็ดรายแรกเป็นจำนวน 50 ไร่ เป็นเงิน 175 บาท จากชาวบ้านผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณนั้น โดยผ่านนายหน้าช่วยติดต่อซื้อขายคือ ผู้ใหญ่บ้านหนูเปียก จันทร์ประทีป และ ผู้ใหญ่บ้านพรหมแก้ว คชรัตน์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านโคกเสม็จชุนแต่อาศั ยอยู่ในละแวกบ้านหาดใหญ่

     * บ้านโคกเสม็จชุน เขียนตัวสะกดตามบทความเรื่อง จำนวนบ้านเรือนและวัดเมืองสงขลาฯลฯ หจช.กรมศิลปากร ร.5 ม.5 3/1 ในหนังสืออณุสรณีย์ของคุณสุชาติ รัตนปราการ ก่อนปี พ.ศ. 2457 บ้านโคกเสม็จชุนมีบ้านอยู่ 10 หลังคาเรือน และบ้านหาดใหญ่มีอยู่ 4 หลังคาเรือน อยู่ในความปกครองของอำเภอหลวงรักษาพลสยาม สังกัดเมืองสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 มีบุตรหลานของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่บ้านหาดใหญ่ ได้ทำการสำรวจและทำหลักฐานขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ พบว่าเฉพาะฝั่งถนนศรีภูวนารถ มีบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนทั้งหมด 9 หลัง ปลูกเลียบริมฝั ่งคลองเตยอยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ไปทางตะวันออก ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านหาดใหญ่ อำเภอฝ่ายเหนือ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอหาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2460)

      หลังจากที่ขุนนิพัทธ์ฯได้ซื้อที่ป่าต้นเสม็ดแล้ว ทางการได้ขอซื้อที่ดินส่วนหนึ่งต่อจากท่านในราวปี พ.ศ. 2458 เพื่อทำเป็นย่านรถไฟ ได้ขอซื้อที่ถัดจากแนวทางรถไฟที่มีอยู่ก่อนแล้ว เริ่มจากด้านหลังของสถานที่หยุดรถไฟชั่วคราว โคกเสม็จชุน หรือสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันกินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง ตลอดริมถนนธรรมนูญวิถีทั้งสองฟาก (หรือถนนเจียกีซีในสมัยนั้น) จรดสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีติดกั บถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ขุนนิพัทธ์ฯก็ได้ทำการโค่นต้นเสม็ด เพื่อปราบพื้นที่ให้กว้างใหญ่ไว้สร้างห้องแถวให้กั บครอบครัวท่านพร้อมเพื่อนบ้าน เริ่มด้วยการสร้างห้องแถวหลังคามุงจากจำนวน 5 ห้อง ต่อจากเขตย่านรถไฟ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด) การเริ่มต้นของท่านครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นบุคคลที่กล้าหาญและ เป็นผู้มองการณ์ไกลอย่างยิ่ง ก่อนจะทำการสร้างห้องแถว ท่านไว้วางผังเมืองไว้อย่างมีระเบียบ โดยการตัดถนนดินแดงขึ้นสายแรก อยู่ด้านหลังของสถานีรถไฟ ถนนสายนี้แรกว่า ถนนเจียกีซี พร้อมกันนั้นท่านก็ได้ตัดถนนขึ้นอีก 3 สาย คือ ถนนเจียกีซี 1, ถนนเจียกีซี 2, และถนนเจียกีซี 3 ตัดผ่านถนนเจียกีซีมีลักษณะ เป็นตารางหมากรุก

      ต่อมา ถนนเจียกีซี ได้เปลี่ยนเป็น ถนนธรรมนูญวิถี ถนนเจียกีซี 1, ถนนเจียกีซี 2, และถนนเจียกีซี 3 ได้เปลี่ยนเป็นถนนนิพัทธ์อุทิศ 1, ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2, ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 (ชื่อนิพัทธ์ เป็นชื่อราชทินนามของขุนนิพัทธ์จีนนคร ซึ่งพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานให้เมื่อปี พ.ศ. 2472) ปัจจุบันถนนทั้ง 4 สาย ยังคงเป็นถนนสายสำคัญที่สุดของตัวเมืองหาดใหญ่

     การวางผังเมืองนี้ท่านได้ความคิดจากเมืองสุไหงปัตตานี ประเทศมลายู เนื่องจากสภาพเมืองสุไหงปัตตานี มีลักษณะคล้ายกับสภาพพื้นที่ที่ท่านได้จับจองไว้ (ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบริเวณตัวเมืองหาดใหญ่) ห้องแถวห้าห้องแรกของขุนนิพัทธ์ฯ สร้างด้วยเสาไม้กลม ตัวบ้านเป็นฝาขัดแตะ หลังคามุง จาก ห้องแถวหลังแรกและหลังที่สอง เพื่อของท่านได้เช่าทำโรงแรม มีชื่อว่า โรงแรมเคี่ยนไท้และ โรงแรมหยี่กี่ ส่วนสามห้องสุดท้ายนั้น ท่านใช้เป็นที่พักอาศัย ร้านขายของชำ และโรงแรม ซีฟัด หลังสุดท้ายนี้สร้างไว้ตรงหัวมุมสี่แยก ถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 (ที่ตั้งของธนาคารนครหลวงไทย จำกัดในปัจจุบัน)

     ในระหว่างที่ขุนนิพัทธ์ฯและครอบครัวพร้อมทั้งเพื่อนบ้านได้ย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวสร้างใหม่นั้นท่านยั งคงมีการติดต่อจดหมายกับชาวมลายูเสมอ แต่บริเวณที่ท่านพักอาศั ยนี้เคยเป็นป่าต้นเสม็ด ไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ เพื่อเป็นการสะ ดวกในการติดต่อจดหมายกับชาวต่างประเทศ ท่านได้ใช้ชื่อ บ้านหาดใหญ่ ซึ่งเป็นชื่อของละแวกบ้านใกล้เคียงเป็นสถานที่ติดต่อส่งจดหมายมายังจุดหมายปลายทางก็ปรากฎว่าส่งได้ถูกต้อง

     หลังจากที่ทางการได้ซื้อที่ดินจากขุนนิพัทธ์ฯไว้บริเวณย่านรถไฟแล้ว อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณปี พ.ศ. 2460-2461) ได้มีการเปลี่ยนป้าย สถานีโคกเสม็จชุน มาเป็น สถานีรถไฟหาดใหญ่ แต่ก่อนจะ มีการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีรถไฟใหม่นี้ ข้าราชการหลายท่านพร้อมทั้งปลัดเทศาภิบาล นายไปรษณีย์ ได้เชิญขุนนิพัทธ์ฯ ไปปรึกษาหารือเกี่ยวกับการตั ้งชื่อสถานีรถไฟ ขุนนิพัทธ์ฯได้ชี้แจงในที่ประ ชุมถึงการที่ท่านมีการติดต่อจดหมายกับชาวมลายู และได้ใช้ชื่อ หาดใหญ่ เป็นสถานที่ติดต่อ ที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับการใช้ชื่อนี้จึงเสนอให้ใช้ชื่อ สถานีหาดใหญ่

     ตลาดหาดใหญ่ได้เริ่มขึ้นจากห้องแถวห้าห้องริมถนนเจียกีซี ถนนสายแรกหลังสถานีรถไฟหาดใหญ่ เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของขุนนิพัทธ์ฯ ดั งมีจดหมายของพระประมณฑ์ปัญญาจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาชลบุรี ถึงนายกสมาคมจีนแคะ เมื่อ 2 มีนาคม 2508 ที่ได้รับหนังสือชีวประวัติขุนนิพัทธ์จีนนคร ซึ่งพิมพ์ในปี พ.ศ. 2507 มีข้อความตอนหนึ่งว่า

     ...ผมมีความยินดีมากที่ได้หนังสือฯ นี้มาไว้ในห้องสมุดของผม เพราะ ได้เปิดหูเปิดตาผมหลายประการ เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2462 ผมไปเที่ยวประ เทศชวาได้ผ่าน หาดใหญ่เ ป็นครั้งแรก และขากลับได้พักค้างคืนที่โรงแรมชั่วคราวหลังสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นโรงแรมทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก ใช้ฟากทำด้วยไม้ไผ่เหมือนกัน แต่ก็พักนอนหลับได้สบายดี ผมมาคำนึงถึงโรงแรมชั่วคราวนี้เป็นของใครหนอมาสร้างไว้ เพราะมองดูรอบๆ แล้วก็เป็นป่าละเมาะทั้งนั้น เพิ่งทราบจากหนังสือฯนี้เองว่าท่านขุนนิพั ทธ์จีนนครเป็นผู้สร้างไว้ หาดใหญ่เวลานั้นก็คือป่าละเมาะเราดีๆ นี่เอง จะ แลไปทางไหนไม่เห็นบ้านผู้คน รู้สึกว่า สถานีหาดใหญ่ ตั้งอยู่โดเดี่ยวกลางทุ่ง ต่อจากนั้นมาถึงบัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมา 45 ปี และเมืองหาดใหญ่ของท่านขุนฯ ก็ได้เกิดขึ้น ที่ดินซึ่งเกือบจะไม่มีค่าอะไรเลย ซื้อขายกันในขณะนี้ไร่หนึ่งราคาเป็นล้านๆ บาท ชาวต่างประเทศผู้หนึ่งซึ่งเดินทางผ่านหาดใหญ่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทำนายว่าหาดใหญ่จะเป็นเมืองกัวลาลัมเปอร์อีกเมืองหนึ่ง ก็ดูจะ เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้เพราะท่านขุนฯเป็นกำลังสำคั ญที่สุดสมควรอย่างยิ่ง ที่ชาวหาดใหญ่ จะต้องสร้างอนุสาวรีย์ให้เป็นที่ระลึกแก่ ท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจียกีซี)

     บุคคลอีกท่านหนึ่งที่เป็นต้นเหตุให้เกิดเมืองหาดใหญ่ ซึ่งผมจะละ เว้นกล่าวเสียมิได้คือ เสด็จในกรมพระกำแพงเพชร์อัครโยธิน ซึ่งได้ทรงตั ดทางรถไฟผ่าป่าดงไปทางนั้นและทรงตั้งสถานีรถไฟขึ้นที่นั่น

     ประมาณปี พ.ศ. 2463 ขุนนิพัทธ์ฯได้สร้างห้องแถวหลังคามุงจากเพิ่มขึ้นอีกหลายห้อง โดยได้สร้างต่อจากห้องแถวห้องที่ห้า เริ่มจากหั วมุมสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ไปทางด้านตะวันออก (ปัจจุบันคือที่ตั้งของร้านขายหนังสือหนานหยาง และร้านรอยัลตลอดแถว) จรดสี่แยกถนนธรรมนูญวิถี ตัดกับถนนถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ภายหลังต่อมาห้องแถวช่วงนี้ ได้ขายให้กับพระยาอรรถกระวีสุนทร ตลาดหาดใหญ่เริ่มมีผู้คนสั ญจรไปมามากมาย เนื่องจากกรรมกรสร้างทางรถไฟสายใต้ที่เสร็จสิ้นจากงานแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2458-2459 ได้ลงทุนทำสวนยางบริเวณรอบนอกอำเภอหาดใหญ่ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ในราวปี พ.ศ. 2466 กรรมกรสวนยางจากท้องที่อื่นๆ และ กรรมกรเหมืองแร่เริ่มทะยอยเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น ขุนนิพัทธ์ฯ ได้ขยายกิจการโดยเปิดสำนักงานยี้ซุ้นชอง และโรงแรม วั้นออนฝ่อ ที่เรือนไม้สองชั้นหลังคามุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้นสองหลังแรกในหาดใหญ่ ที่สร้างไว้ริมถนนเจียกีซีฝั่งตรงข้ามกับห้องแถวห้าห้องแรก ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนี้เอง คุณพระเสน่หามนตรี นายอำเภอหาดใหญ่ ก็ได้ให้ผู้อื่นมาเช่าที่ของท่านเพื่อปลูกบ้านพักหรือร้านค้า ที่ดินของท่านอยู่บริเวณช่วงถัดไปของสี่แยกถนนธรรมนูญวิถีตัดกับถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ถึง 3 (บริเวณที่ตั้งของโรงแรมแหลมทองในปัจจุบัน) ในสมัยนั ้นห้องแถวช่วงนี้สร้างเป็นห้องแถวหลังคามุงจากเช่นกัน

     ขุนนิพัทธ์จีนนครได้ขายที่ดินว่างเปล่าริมถนนเจียกีซี 1, 2 และ 3 ให้กับชาวจีนในประเทศมลายูหลายแปลง บุคคลเหล่านี้ ได้มาลงทุนปลูกสร้างบ้านไม้สองชั้นไว้หลายหลัง ในช่วงของการขยายตัวของตลาดหาดใหญ่นี้ คุณพระเสน่หามนตรีพระยาอรรถกระวีสุนทร และ คุณชีกิมหยง ต่างก็มีที่ดินว่างเปล่ามากมาย ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความเจริญ ให้กับท้องถิ่น โดยการสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้น และตัดถนนอีกหลายสาย ภายหลังต่อมา คุณชีกิมหยงยังได้อุทิศที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนศรีนคร และตัดถนนสายต่างๆ เช่น ถนนละม้ายประดิษฐ์ ถนนชีวานุสรณ์ ถนนฉัยยากุล เป็นต้น รวมทั้งได้สร้างตลาดชีกิมหยง และ ยังอุทิศที่ดินหลายแห่งในการสร้างวัดจีน, สุเหร่า, โรงเจ และ โรงพยาบาลมิชชั่นด้วย

     ในปี พ.ศ. 2467 ได้มีการทำพิธีฉลองเปิด สถานีหาดใหญ่ และ ตลาดหาดใหญ่ ที่ขุนนิพัทธ์ฯเป็นผู้เริ่มก่อตั้งและวางผังเมืองเอง ซึ่งในสมัยนั ้นมีบ้านเรือนในตลาดหาดใหญ่กว่า 100 หลังคาเรือนแล้ว ตลาดหาดใหญ่ได้เริ่มกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ มีการทำการค้ากับชาวมลายูมากขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ท้องที่ตลาดหาดใหญ่ได้ถูกยกฐานะให้เป็นสุขาภิบาล ขุนนิพัทธ์ฯได้รับการแต่งตั ้งให้เป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วย ต่อมาเมื่อ 7 ธันวาคม 2478 ได้ยกฐานะ เป็นเทศบาลตำบลหาดใหญ่ และเมื่อ 16 มีนาคม 2492 ได้ยกฐานะ เป็นเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ก่อนที่ถูกยกเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่

     ในราวปี พ.ศ. 2470 ขุนนิพัทธ์ฯ ได้ย้ายครอบครัวจากห้องแถวริมถนนเจียกีซี หรือถนนธรรมนูญวิถี ในปัจจุบันไปอยู่ที่ฝั่งถนนเพชรเกษม แต่ท่านมิได้หยุดพัฒนาเมืองเพียงเท่านี้ ท่านได้สร้างห้องแถวบนที่ดินว่างเปล่าของท่านเอง ซึ่งอยู่ปลายถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ในราวปี พ.ศ. 2480 ที่ท่านได้ขยายบ้านเรือน ไปยังปลายถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 นั้น ถนนสายนี้ยังเป็นสถานที่ค่อนข้างเงียบเหงา ท่านได้ขายห้องแถวห้องแถวเหล่านั้น ในราคาต่ำกว่าต้นทุน เพื่อเป็นการชักจูงให้ผู้คนขยายแหล่งทำกินออกไปให้กว้างขวางขึ้นอีก ท่านได้ตั้งตลาดเอกชนขึ้นด้วย เรียกว่าตลาดเจียกีซี ตั้งอยู่ที่ 636 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1-2 ซึ่งได้อนุญาตจากนายกเทศมนตรีตำบลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2482 ตามใบอนุญาตที่ 192/2483 ให้เปิดตลาดตั้งแต่เวลา 04.00 น. ถึง 19.00 น. และต่อมาก็ได้สร้างโรงภาพยนต์เฉลิมยนต์ และตึก 3 ชั้นได้เช่าให้กับ ธนาคารเอเซีย จำกัด

      ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกเสด็จประ พาสภาคใต้ ได้พิจารณาถึงคุณงามความดีและกิตติศัพท์อันเลื่องลือ ถึงความขยั นขันแข็งของท่าน ในการสร้างตนเองและพัฒนาตลาดหาดใหญ่จากป่าต้นเสม็ดมาเป็นเมืองใหญ่ของภาคใต้ จึงมีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็น ขุนนิพัทธ์จีนนคร และพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยในปี พ.ศ. 2472

     เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.อ.พระ ยาพหลยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้กราบทูลขอพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นสามแก่ท่าน จนกระทั่งมาสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้กราบทูลขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งเหรียญตราและเข็มกว่า 30 ชนิด

      มีบทความตอนหนึ่งของ นายวิทย์ บุญรัตน์ นักท่องเที่ยวและเป็นผู้สังเกตการณ์ท่านหนึ่งได้มีโอกาสมาเยือนเมืองหาดใหญ่ ได้นำบันทึก สภาพเมืองหาดใหญ่ ลงตีพิมพ์ในหนังสือกรุงเทพฯวารศัพท์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2479 ดังนี้

      สิ่งที่สะดุดตาและสดุดใจข้าพเจ้ามาก และจะ ได้นำมากล่าวเป็นพิเศษก็คือ ชื่อถนนซึ่งปรากฎว่ามีหลายต่อหลายสายที่ใช้ชื่อ เจียกีซี ซึ่งข้าพเจ้าได้นำเอาความแปลกใจอันนี้ไปถามชาวหาดใหญ่บางคนดู ซึ่งได้รั บคำตอบอธิบายว่า ในการที่หาดใหญ่มีถนนชื่อเจียกีซี หลายต่อหลายถนนนั้น ก็เพราะถนนเหล่านั้น ท่านเจียกีซี ธนบดีผู้มั่งคั่งคนหนึ่งในหาดใหญ่ได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเอง สร้างถนนเหล่านั้นขึ้นเพื่อความเจริญและสดวกในการขนส่ง จึงได้นำเอาชื่อท่านผู้สร้างนั้น มาเป็นชื่อถนนเพื่อเป็นที่ระ ลึกของท่านผู้สร้างนี้ต่อไป และต่อมาเมื่อรัฐบาลได้ตั้งสุขาภิบาลขึ้นแล้ว ต่อมาได้ประกาศใช้การเทศบาล ท่านผู้นี้ได้ยกบรรดาถนนต่างๆ และ ที่ดินที่ท่านได้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวนั้น ให้อยู่ในความดูแลของสุขาภิบาล และเทศบาลหมด ด้วยเหตุที่ท่านเจียกีซีผู้นี้ ได้เป็นผู้หนึ่งที่ทำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่หาดใหญ่ มาทางรัฐบาลจึงได้แต่งตั้ง ให้เป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ท่านผู้นี้ ได้ตังใจช่วยเหลือรัฐบาล ในการสร้างความเจริญ ให้แก่ประเทศชาติโดยมิได้หวังผลตอบแทนอย่างไร.. และบทความอีกตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า

     เท่าที่ข้าพเจ้าได้ทราบมา นอกจากท่านผู้นี้ได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัว สร้างถนนให้หาดใหญ่หลายต่อหลายแล้วนั้น ท่านเจียกีซียังได้อุทิศที่ส่วนตัวของท่าน ให้เป็นที่สำหรับจอดรถสาธารณะเพื่อสดวกในการจราจรอีก และ เมื่อเดือนสิงหาคมปีนี้ ( พ.ศ. 2479) ท่านผู้นี้ได้เสนอเรื่องราวเพื่อซ่อมแซมถนนสายหนึ่ง ซึ่งเมื่อ 30 ปีก่อนนายอำเภอคนเก่าได้สร้างไว้และ เวลานี้ถูกทอดทิ้งจนใช้เป็นทางคมนาคมไม่ได้แล้วนั้นขึ้น เพื่อเป็นผลประโยชน์ในการคมนาคม และการขนส่ง ไปยังคณะกรรมการอำเภอเพื่อขอนุมัติในการสร้างและซ่อม และขอให้ทางคณะกรรมการอำเภอ ติดต่อกับเจ้าของที่ดิน ซึ่งอยู่ติดกับทางสายนั้น ในอันที่จะต้องทำถนนให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้รถยนต์หลีกกันได้ ความประสงค์ในการสร้างและ ซ่อมแซมถนนสายคลองเรียน ไปจดถนนไทรบุรีนี้ก็ได้รับอนุมัติ และราษฎรเจ้าของที่ดินตอนที่จะต้องถูกทับถม เป็นถนนขึ้นเพื่อให้รถยนต์หลีกกันได้นั้น ก็เต็มใจยินดีเสียสละที่ดินตอนนั้นให้ด้วย การลงมือการสร้างก็ได้ดำเนินมาจนถึงบัดนี้ ปรากฎว่ายังมีทางที่กำลังซ่อมแซมอีกเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะเปิดใช้การได้แล้ว การสร้างและ ซ่อมถนนสายนี้ พร้อมทั้งได้สร้างสพานไม้ข้ามคลองเตย ปรากฎว่าท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร จะต้องใช้เงินส่วนตัวนับเรือนพันๆ ที่เดียว ควรนับว่าท่านผู้นี้ ควรจะเป็นตัวอย่างของท่านผู้มีเงินทั้งหลายได้คนหนึ่ง...

      นับแต่ปี พ.ศ. 2459 เรื่อยมาขุนนิพัทธ์ฯได้พยายามทำความเจริญให้กับท้องถิ่นและเพื่อที่จะทำให้หาดใหญ่เป็นชุมทางคมนาคม ท่านได้อุทิศที่ดินและ วางผังเมืองด้วยตนเอง จากการตัดถนนสายแรกขึ้นคือ ถนนเจียกีซี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนธรรมนูญวิถี และได้ตัดถนนสายต่างๆ ดังนี้ คือ ถนนเจียกีซี สาย 1 ต่อมาเปลี่ยนเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1 ถนนเจียกีซี สาย 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็๋น ถนนไทยอิสระ แล้วเปลี่ยนอีกครั้งเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ถนนเจียกีซี สาย 3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น ถนน 24 มิถุนาฯ แล้วเปลี่ยนอีกครั้งเป็น ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 หลังจากท่านได้ย้ายไปอยู่ฝั่งถนนเพชรเกษมแล้ว ท่านยังได้พัฒนาที่ดินแถบนั้นอีก โดยการอุทิศที่ดินให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อตั ดถนนอีก 35 สายดังนี้คือ ถนนนิพัทธ์สงคราะห์ 1-5 ถนนซอยนิพัทธ์สงเคราะห์รวม 25 สาย ถนนจิระนคร ถนนจิระอุทิศ ถนนซอย 1 นิพัทธ์อุทิศ 1 และ วอย 2 นิพัทธ์อุทิศ 1 ตรอกจิระพัทธ์ ถนนนิพัทธ์ภักดี

     นอกจากการอุทิศที่ดินเพื่อตัดถนนหลายสายแล้ว ท่านยังได้อุทิศที่ดินส่วนหนึ่ง และขายอีกส่วนหนึ่งให้กับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อุทิศที่ดินจำนวนสี่ไร่ครึ่งให้กับเทศบาล เพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ อุทิศที่ดินจำนวนสี่สิบไร่ให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่ และ ต่อมาได้ขายที่ดินอีกส่วนหนึ่ง ให้กับเทศบาลเมืองหาดใหญ่เพื่อสร้างสนามกีฬาจิระนคร จากการขายที่ดินในครั้งนั้น ท่านได้บริจาคเงินอีกสองแสนบาท เพื่อเป็นเงินสมทบส่งเสริมการกีฬาให้กับเทศบาล ในปี พ.ศ. 2498 ปัจจุบันนี้สถานที่ทั้งสามแห่ง เช่นสนามกีฬาจิระนคร โรงพยาบาลหาดใหญ่ และ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดในภาคใต้

      ขุนนิพัทธ์ฯได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยจากกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2482 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2484 ท่านได้รับอนุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวคือนิพัทธ์ จากกระทรวงมหาดไทย และได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนนามสกุล จิระนคร จากกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2487 ตามลำดับ

     นอกจากท่านจะเป็นผู้มองการณ์ไกล มีจิตใจกว้างขวางและ โอบอ้อมอารีแล้ว ท่านยังมีความสามารถในการคิดค้นทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ด้วย เช่น สมัยสงครามเอเซีย ราวปี พ.ศ. 2486 น้ำมันขาดแคลน เนื่องจากภาวะ สงคราม ท่านเริ่มทดลองกลั่น น้ำมันจากยางพารา ทันทีได้ใช้เวลาทดลองอยู่ประมาณ 6 เดือน ก็นำสินค้าออกสู่ตลาด แต่คุณภาพยังไม่อยู่ในเกณฑ์ดีเท่าที่ควร ท่านก็มิได้ย่อท้อ ยังคงทดลองเพื่อปรับคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอีก จนในที่สุดสามารถกลั่นจากยางพาราซึ่งมีคุณภาพระดับมาตรฐานได้ประมาณเดือนละ 70,280 ปี๊บ อุปโภคกันทั่วทั้งหาดใหญ่-สงขลา รวมทั้งประ เทศเพื่อนบ้าน 4 รัฐมาเลเซีย เช่น รัฐเปอร์ลิส รัฐเคดาห์ รัฐตรังกานูและรัฐกลันตัน แห่งประเทศมลายูก็ยังสั่งซื้อน้ำมันจากท่านเช่นกัน

      ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการต่อสู้ชีวิต ขุนนิพัทธ์ฯ มิเคยละเว้นการประกอบคุณงามความดี แม้แต่สักครั้ง ดังจะ เห็นได้จากการช่วยเหลือเกื้อกูลทุกหน่วยงาน รวมทั้งสมาคมต่างๆ ในหาดใหญ่เต็มกำลังความสามารถของท่าน จนมีอายุได้ 87 ปี ท่านได้ถึงแก่กรรมที่บ้านเลขที่ 428 ถนนเพชรเกษม หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธั นวาคม 2515 ได้รับพระราชทานเครื่องขอขมาในการฝังศพ เมื่อวันที่ 25 ธั นวาคม 2515 ที่สุสานจิระนคร ภายในสวนขุนนิพัทธ์ฯอยู่ด้านหลังของ สถานีรถไฟน้ำน้อย ตำบลน้ำน้อย (ครึ่งทางระหว่างหาดใหญ่-สงขลา)


เรียบเรียงโดย ลักษมี จิระนคร/10 มิถุนายน 2528
นำเสนอโดย วิศรุต พลสิทธิ์
อ่านบทความเต็มได้ที่นี่









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2005-04-13 (5548 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©