Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268112
ทั้งหมด:13579398
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ประวัติรถไฟสายปากน้ำ





 

     ทางรถไฟสายแรกของไทย คือเส้นทางรถไฟของเอกชน ที่เชื่อมระหว่างพระนคร กับเมืองปากน้ำ (จังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน) ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะทางทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร ในขณะนั้นเมืองปากน้ำ เป็นที่พักทอดสมอ ของเรือเดินสมุทร ซึ่งเรือดังกล่าว ไม่สามารถแล่นเข้าถึง ตัวพระนครได้ โดยการก่อสร้างได้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) และเปิดดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2436 โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเปิด ในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกัน

     ตลอดเส้นทางจากพระนคร จนถึงปากน้ำ มีสถานีรถไฟทั้งหมดจำนวน 10 สถานี แต่ละสถานีจะมีรางหลีกต่างหาก ตัวสถานีจะมีหลังคาไม้ความยาว 40 เมตร ครอบคุลมรางรถไฟทั้ง 2 ตลอดจนถึง ตัวอาคารสถานี และสำนักงานด้วย ค่ารถไฟในสมัยนั้น ไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี คิดค่าโดยสาร ระยะสถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งคนโดยสารที่ ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้(หัวตะเข้) บ้านนางเกรง มหาวงษ์ แล้วก็ถึงปากน้ำ ที่เป็นสถานีโรงสังกะสีขนาดใหญ่

 

อาคารสถานีรถไฟหัวลำโพงของรถไฟสายปากน้ำ
(ภาพประกอบโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย)

 

     ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เส้นทางสายนี้ใช้ความกว้างของทางรถไฟ คือ ขนาด 1.00 เมตร (Metre-Guage) โดยรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบไปด้วย โบกี้โดยสาร 4 โบกี้ และโบกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้ โดยมีชั้นที่นั่งให้เลือกอยู่ 2 ระดับคือ ชั้นสองและชั้นสาม

 
Paknam Locomotive

หัวรถจักรชื่อ "ปากน้ำ" หนึ่งในหัวรถจักรจำนวน 4 คันของทางรถไฟสายนี้
สร้างโดยบริษัท Krauss & Co of Munich แบบล้อ 2-4-0-T
 

     ตลอดระยะทางทั้งหมด ใช้เวลาในการเดินทางหนึ่งชั่วโมง จะต้องข้ามคลอง และคูน้ำเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ จะเป็นสะพานไม้ แต่ก็มีบางส่วน ที่เป็นสะพานที่สร้างจากไม ้และเหล็กผสมกัน เส้นทางนี้รองรับความต้องการ ของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมาก และสร้างรายได้ ให้กับบริษัทเป็นอย่างดี

     ทางรถไฟสายปากน้ำ เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างเบลเยี่ยม และเดนมาร์ก เรียกกันในสมัยนั้น ว่า "กอมปานีรถไฟ" หรือ "บริษัทรถไฟปากน้ำ" หัวรถจักรไอน้ำที่นำมาใช้การทั้งหมด ถูกสร้างโดย บริษัท Krauss & Co of Munich มีจำนวนทั้งสิ้น 4 คัน หัวรถจักรในรูปที่สองนี้มีชื่อว่า "ปากน้ำ" มีน้ำหนักทั้งหมดรวม 15 ตัน

 
Paknam Tram

รถรางไฟฟ้าที่สร้างโดยบริษัทญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2493
 

     เมื่อการคมนาคมทางบก ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รถไฟสายปากน้ำ ถูกเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าแทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ที่ดีกว่ารถจักรไอน้ำ และระบบรถรางไฟฟ้า กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น (ภาพที่ 3 : รถรางไฟฟ้าสร้างโดยบริษัทญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2493)

     ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รถรางสายปากน้ำ ได้รับความเสียหาย เนื่องจากสายเคเบิลไฟฟ้าถูกตัดขาด ที่บริเวณบางจาก แต่ก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยพนักงานรถราง จะต้องปีนขึ้นไปบนหลังคารถ แล้วบังคับตัวสาลี่ (Pantograph) ให้สามารถรับกระแสไฟฟ้า ได้โดยตลอด ในขณะผ่าน บริเวณจุดที่เกิดความเสียหาย เพื่อให้ขบวนรถราง สามารถวิ่งต่อไปได้ จนถึงจุดหมายปลายทาง

     ทางรถไฟสายนี้ ถูกซื้อกิจการเป็นของรัฐ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และปิดดำเนินการในปี 2502 ปิดฉากประวัติศาสตร์ ของเส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศ และเป็นสายที่ใช้ระบบไฟฟ้า ทั้งระบบลง คงเหลือไว้ แต่เพียงความทรงจำเท่านั้น

 


แปลและเรียบเรียงโดย CivilSpice
ที่มา : "The Railways of Thailand"
by R. Ramer, published by White Lotus.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2004-08-30 (6576 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©