Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264957
ทั้งหมด:13576240
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 1) การประชุม POINT





 

     ผู้เขียนไปญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม (วันที่ 21 - 26) แต่กว่าจะมีเวลาเขียนเรื่องนี้ก็นานพอสมควร และเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือ As The Future Catches You ซึ่งในนั้น มีลำดับของประเทศที่นักศึกษาไปเรียนปริญญาเอกในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วไม่ยอมกลับบ้าน ปรากฏว่าประเทศเกาหลีอยู่ต่ำสุด (หมายความว่านักศึกษาระดับปริญญาเอกชาวเกาหลีที่ไปศึกษาในอเมริกา เมื่อเรียนจบแล้ว ส่วนมากจะเดินทางกลับไปทำงานในประเทศเกาหลี) ตรงนี้ไม่ทราบว่า จะเกี่ยวกับการรักชาติ หรือความเป็นชาตินิยมก็ไม่อาจทราบได้

     สิ่งที่คิดเลยไกลกว่านั้นก็คือ ไม่เห็นประเทศญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อ ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ประการแรก ผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นไม่ได้นำประเทศญี่ปุ่นมายกตัวอย่าง หรือประการที่สองก็คือ คนญี่ปุ่นมีเลือดรักชาติยิ่งกว่าชาวเกาหลี จนไม่มีนักศึกษาที่เรียนจบปริญญาเอกในอเมริกา ไปตกค้างอยู่มากพอที่นำมายกเป็นตัวอย่างได้

     ที่ต้องตั้งคำถามเลยไปจากนั้นก็คือ ความเป็นรัฐชาติในอนาคตของยุคโลกาภิวัฒน์ จะยังเป็นสิ่งที่ต้องพูดถึง ต้องปลูกฝังให้คนยึดถือกันอยู่ต่อไปอีกหรือไม่ เพราะรู้สึกว่า ในยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเช่นทุกวันนี้ จะมีกระแสความคิดอยู่สองแนวซึ่งอยู่ตรงกันข้าม

     กระแสความคิดที่หนึ่ง คือ การคงอยู่ของความเป็นรัฐชาติ ซึ่งในกระแสความคิดนี้ ก็ยังต้องปลูกฝังเรื่องชาติ จะคิดจะทำอะไรก็ต้องนึกถึงชาติ วิธีการสร้างคน ก็ต้องปลูกฝังให้รักชาติ มีความเป็นชาตินิยม เหล่านี้ ล้วนสวนทางกับความคิดกระแสที่สอง ซึ่งเห็นว่า ความเป็นรัฐชาติจะเจือจางลง หมายความว่า เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัฐจะเลือนลางลง หรือหายไปหมดเลยในอนาคต

     ถ้าเป็นเช่นนั้น ต่อไป คนจะไม่พูดเรื่องชาติกันอีกแล้ว เป็นโลกไร้พรมแดน เป็นโลกาภิวัฒน์ในอุดมคติ ถ้าจะยึดถือแนวคิดกระแสที่สองแล้ว ต่อไปก็คงไม่มีความจำเป็นต้องทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในชั้นเรียน ไม่ต้องปลูกฝังเรื่องชาติ เรื่องส่วนรวม (ความจริงกำลังทำกันอยู่บ้างแล้ว) การสอนสมัยใหม่ ก็เพียงแค่จับเด็กนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องรับรู้เรื่องอื่นรอบตัว เน้นที่การพัฒนาตนเอง เมื่อพ้นวัยศึกษาออกมาทำงาน ก็พยายามหาสตางค์ให้ได้มาก ร่ำรวย ซึ่งหากสามารถทำดั่งเช่นที่ว่าได้แล้ว สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก็จะตามมาเอง ตรงไหนมีช่องทางพอจะหาประโยชน์เข้าตัว ก็รีบเข้าไปทำ ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม สิ่งที่ต้องยึดถือ คือ กฎระเบียบและข้อกฎหมาย ที่เป็นกรอบกำกับการดำรงชีวิต ซึ่งหากละเว้นไม่ปฏิบัติก็จะมีบทลงโทษ

"เมื่อไม่มีความเป็นรัฐชาติแล้ว ก็จะกลายเป็นคนไร้สังกัด อยู่ตรงไหนก็ทำเพื่อตนเองให้มากเข้าไว้"

     เมื่อก่อนนี้ก็คิดว่าคิดเรื่องนี้ไปคนเดียว แต่เมื่อมาได้ยินเรื่องนี้เมื่อตอนที่ไปเรียนที่สถาบันพระปกเกล้า ตอนที่ฟังบรรยาย ยังคิดว่าอาจารย์ที่สอนคิดมากเกินไป เมื่อได้มาอ่านหนังสือ As The Future Catches You จึงรู้ว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่มาก และเป็นเรื่องน่าคิด หนังสือเล่มนี้ อ้างถึงคำพูด ลี กวน ยู ที่ว่า "Will Singapore the independent city - state disappear? The island will not, but the sovereign nation, could vanish"

     สิงคโปร์ก็อาจจะคิดไปอย่างนั้นได้ แต่ประวัติศาสตร์ชาติไทยเท่าที่มีการจดบันทึกยาวนานถึง 800 ปี ถ้าศึกษาให้ลึกลงไปอีก ก็จะพบว่าความเป็นเชื้อชาติไทย ยังสามารถสืบสาวไปได้ไกลกว่านั้นมาก ในขณะที่ประวัติศาสตร์ชาติสิงคโปร์ มีอายุสั้นกว่าอายุผู้เขียนเสียอีก

     กลับมาเรื่องไปประเทศญี่ปุ่น ตอนที่รับคำสั่งให้เดินทางไปประชุม ก็ยังไม่แน่ใจว่าประชุม POINT ตามที่สั่งให้ไปประชุมนี้คืออะไร เพราะเพิ่งมารับงานยังไม่ถึงเดือน

     POINT คือ Policy Initiative In Transport ซึ่งเป็นการประชุมในลักษณะสหภาคี ที่ต่อเนื่องมาจากการริเริ่มในระดับรัฐบาล ในส่วนของเรื่องรถไฟ ได้มีการจัดประชุมไปแล้วหลายครั้ง มาถึงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่า The 1st Collaborative Survey Committee (CSC) ซึ่งผู้นำในการจัดประชุมคือ Ministry of Land , Infrastructure and Transport (MLIT) หน่วยงานนี้ แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ เมื่อปี 2543 ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุม ยังใช้ชื่อกระทรวงขนส่ง ซึ่งเป็นชื่อเก่า แต่หลังจากทำการปรับโครงสร้างในปีนั้นแล้ว กระทรวงนี้ก็ใหญ่ขึ้น เพราะรวมเรื่องการขนส่งทางบก และโครงสร้างขนส่ง มาไว้ในกระทรวงเดียวกันทั้งหมด นึกว่าปรับแล้วใหญ่ขึ้น จะมีแต่ที่ประเทศไทย !

     ประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ญี่ปุ่น ( เจ้าภาพ ) ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เนื้อหาการประชุมที่เป็นการเรียนรู้จริง ๆ ก็มีเฉพาะการบรรยายเรื่อง Key Issues for Better Urban Railway Services โดยศาสตราจารย์ ดร. โมริชิ ที่เหลือก็เป็น การนำเสนอโครงการ เกี่ยวกับระบบการขนส่งมวลชนในเมือง จากประเทศที่เข้าร่วมประชุม และเป็นการดูงานระบบขนส่งมวลชน ในภาคสนาม คณะผู้แทนจากประเทศไทย มี โปรแกรมพิเศษ ถูกจับเข้าห้องเรียนเพื่อติวเข้มอีก 1 วัน เพราะไปวิพากษ์วิจารณ์ผลการศึกษา เรื่องโครงการสร้างทางรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิไว้มาก เลยอดไปดูการสร้างทางรถไฟ เพื่อขนคน ไปชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ที่สนามแข่งขันใน SAITAMA Prefecture ร่วมกับผู้แทนประเทศอื่น

     วันที่สาม คณะผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด จึงขึ้น รถไฟความเร็วสูง ขบวน NOZOMI (แปลว่า ความหวัง หรือ Hope) ซึ่งวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม./ ชม. จาก โตเกียว ไป โอซาก้า เพื่อดูระบบรถไฟขนส่งผู้โดยสารชานเมือง แล้วเลยไปดูการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโอซาก้า กับเมืองใหม่ที่ KANSAI Science City วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันสุดท้าย จึงมีกำหนดการไปดูระบบรถไฟเชื่อมสนามบิน Kansai กับเมืองโอซาก้า แต่ผู้เขียนเดินทางกลับก่อน 1 วัน จึงไม่ได้ดูงานในวันสุดท้าย

รถไฟความเร็วสูง JR West 500 Series ขบวน NOZOMI ของประเทศญี่ปุ่น

     ดร.โมริชิ พูดเกี่ยวกับวิชาการขนส่งอยู่หลายเรื่อง แต่สิ่งที่สร้างความแปลกใจให้กับสมาชิกที่อยู่ในห้องประชุม ก็คือ ได้รับการขอร้องจากรัฐบาลเวียตนามให้ช่วยเขียนแผนการขนส่งเพื่อลดจำนวนมอเตอร์ไซค์บนท้องถนน ที่กำลังจะกลายเป็นจราจลอยู่ในฮานอย และโฮจิมินห์ ซิตี้ แสดงว่ารัฐบาลประเทศเวียตนามเริ่มมองเห็นปัญหาแล้ว

     เรื่องรถมอเตอร์ไซค์บนถนนนี้ ผู้เขียนได้นำไปยกเป็นตัวอย่างเรื่อง การสร้างสำนึกในการเปลี่ยนแปลง (Establishing The Sense of Urgency) หลายครั้งแล้ว เพราะเป็นตัวอย่างที่ดี กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงมักจะมาจากความรู้สึกว่าอะไรต้องเปลี่ยน และถ้าเราไม่เปลี่ยน เราก็มีชีวิตต่อไปได้ แต่ด้วยวิถีทางของชีวิตอีกแบบหนึ่ง เราไม่เปลี่ยนเรื่องมอเตอร์ไซค์บนถนน เราก็อยู่ต่อไปได้ เพียงแต่อยู่ในแบบที่คนอื่นเขาอาจจะมองว่าเราล้าหลัง แต่ถ้าเราไม่แคร์ ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา

     แล้วยังไง "So what?"

 
- จบตอนที่ 1 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-05-15 (2889 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©