Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570965
ทั้งหมด:13882861
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 8) รถไฟความเร็วสูง 5





 

     เยอรมัน มาเล่นกับเรื่องรถไฟความเร็วสูงหลังสุด ก็ต้องยอมรับความจริง ในเรื่องที่ว่า เป็นการยาก ในการที่จะข่มคู่แข่ง เพราะเหลือที่ว่าง ไว้เล่นน้อยมากแล้ว ดังนั้น สิ่งที่จะยกขึ้นมา เป็นหน้าเป็นตาในครั้งแรก คือ ตั้งเป้าหมายว่าจะวิ่งเร็วถึง 300 กม./ชม. แต่ความเร็วระดับนี้ ถือเป็นของธรรมดามาก ประกาศออกมายังไม่ทันข้ามคืน ฝรั่งเศสก็ประกาศปรับเป้าหมายของ TGV จากที่เคยกำหนดว่า จะวิ่ง 270 กม./ชม. ขึ้นไปเป็น 300 กม./ชม. ในทันที จุดขายเรื่องวิ่ง 300 กม./ชม. ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปอย่างรวดเร็ว

     ขบวนรถไฟความเร็วสูง สีงาช้างของเยอรมัน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า ICE (Inter City Express) แค่การตั้งชื่อ ก็ดูไม่น่าสนใจ แล้วก็ไม่มีจุดขายอยู่แล้ว

รถไฟความเร็วสูง Inter City Express (ICE) ของประเทศเยอรมัน
(Image by http://en.wikipedia.org)

     ขบวนรถนี้ ก็จะคล้ายกับชินกังเซน เป็นรถไฟฟ้า แต่จุดขายที่ยกมา ที่เป็นเรื่องเป็นราวเรื่องหนึ่ง คือ ปัญหามลภาวะเสียง เสียงดังรบกวน ที่เกิดจากรถไฟฟ้าความเร็วสูง มีอยู่สองแหล่งกำเนิด ได้แก่ เสียงล้อกระทบกับราง และ เสียงหวีดหวิวเมื่อสาลี่ หรือ แพนโทกราฟ สำหรับรับกระแสไฟฟ้า จากสายส่งเหนือหัว เสียดสีกับสายส่ง เยอรมันหยิบเอาตรงนี้ มาเป็นจุดขายของ ICE โดยใช้ล้อ รถไฟความเร็วสูง แบบเดียวกับที่ใช้อยู่ ในรถรางที่วิ่งในเมือง กล่าวคือ มี ปลอกล้อ (Wheel Tire) และ แว่นล้อ (Wheel Disc) ระหว่างล้อสองส่วนนี้ ก็จะแทรกด้วยยาง

     เทคโนโลยีเรื่องยางนี้ เป็นความชำนาญพิเศษ ของเยอรมัน จึงอวดอ้างว่า ยางที่จะใช้กับล้อรถ ICE เป็นยางที่ใช้ เทคโนโลยีในการผลิตสูงส่ง สามารถใช้กับ รถไฟความเร็วสูง ได้อย่างปลอดภัย ลดการสั่นสะเทือน และเสียง ซึ่งยังไม่มีใช้งาน ในรถไฟความเร็วสูงอื่นๆ ที่สร้างกันมาแล้ว

     ปรากฏว่า เมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2544 ขบวนรถไฟความเร็วสูง ICE884 จาก Hannover จะไปยัง Hamburg ตกรางที่ความเร็ว 300 กม./ชม. แล้วไปชนเอา ตอม่อสะพานรถยนต์หัก สะพานคอนกรีตพังลงมา รถพ่วงในขบวน วิ่งมาชนทับกัน รถไฟทั้งขบวน พังยับเยินไม่มีชิ้นดี คนตายไป 100 คน บาดเจ็บสาหัส 50 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 300 คน ขบวนการในการสอบสวน หาสาเหตุในกรณีนี้ ได้ทำเป็นสารคดี และนำเสนอในรายการโทรทัศน์มาแล้ว หรือเข้าไปดูในอินเตอร์เนต จะรู้ว่าน่าสยดสยองเพียงใด

     หน่วยสอบสวน ที่เข้าไปตรวจสอบอุบัติเหตุ ได้พบเศษปลอกล้อ ที่แตกออก ตกอยู่ก่อนถึงที่เกิดเหตุประมาณ 7 กม. ซึ่งคำนวณดูแล้ว จากจุดที่ล้อแตกจนถึงที่เกิดเหตุ ใช้เวลาประมาณ 84 วินาที ถึงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ก็แก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว

ภาพอุบัติเหตุของรถไฟความเร็วสูง ICE
(Image by http://www.emergency-management.net)

     เมื่อตรวจสอบย้อนหลัง ไปที่ประวัติการซ่อม ก็พบรายงานของฝ่ายช่าง ซึ่งได้ตรวจพบว่า ล้อรถ ที่เข้ารับการซ่อม เบี้ยว ไม่กลม (Out of Round) แต่ยังไม่ทัน ได้สั่งการ ว่าจะแก้ไขอย่างไร ก็เกิดเรื่องเสียก่อน ผลจากตรงนั้น เป็นเหตุให้ การรถไฟเยอรมัน สั่งลดความเร็วขบวนรถ ICE ทั่วประเทศลงเหลือ 100 กม./ชม. อยู่เป็นเวลานานเกือบสองปี แม้ว่าปัจจุบัน จะกลับไปวิ่งที่ความเร็ว 300 กม./ชม.ตามเดิมแล้ว แต่จุดขายก็เสียหายไปหมด ไม่สามารถ นำไปใช้เชิดหน้าชูตา ในงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของชาติได้มากนัก ทำได้แค่วิ่งเป็นรถธง เป็นหน้าเป็นตาอยู่ในประเทศ ไม่สามารถ ใช้เป็นหัวรถจักร ฉุดลากสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ไปขายได้ ดังที่ตั้งใจไว้แต่เดิม

     รถไฟความเร็วสูงตกราง แม้ว่าจะเคย เกิดมาบ้างก่อนหน้านี้ แต่ก็ไม่เคยเกิด ที่ความเร็วเต็มพิกัดอย่างนี้ คราวนี้ จึงได้เห็นกันว่า รถตกรางที่ความเร็ว 300 กม./ชม. สภาพจะออกมาอย่างไร ก็เละซีครับ! แล้วในยุค ที่การสื่อสารไร้พรมแดนแบบนี้ มีรายละเอียด ให้ดูกันอย่างชัดเจน มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดูไปแล้วเหมือนประจานกัน แต่ตัวอย่างนี้ เป็นอุทาหรณ์ที่ดีว่า ถ้าเงิน และความรู้ไม่ถึง ก็อย่าริอ่านไปทำเข้า เวลาเกิดเรื่องแล้ว ความเสียหาย เกินกว่าจะตีค่าออกมา เป็นเงินได้ “รถตกรางที่ความเร็วสูง ไม่ใช่ส่งคนไปยกรถ แต่เป็นการส่งคนไปเก็บศพ”

     ต้องขอบคุณ ที่เกิดเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งพอจะช่วย ให้ผู้เขียน ถูกมองในแง่ดีขึ้นมาบ้าง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ถูกมองว่าเป็นพวกหลังเขา ที่คอยคิดขัดขวางความทันสมัย ไม่มีวิสัยทัศน์ คอยแต่จะโต้แย้ง ไม่เห็นด้วย กับการนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้

     อยากจะเรียนว่า ผมเป็นวิศวกรนะครับ ทำไมจะไม่ฝัน อยากเห็นประเทศไทย มีรถไฟความเร็วสูง เหมือนคนอื่น เพียงแต่ผมเป็นวิศวกร ที่เรียนบริหาร จึงเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อใดมีเงิน และมีความรู้แล้วค่อยว่ากัน

"อย่าลืมครับ ต้องมีทั้งเงิน และความรู้ มีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่พอ"

 
- จบตอนที่ 8 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-07-15 (3462 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©