RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262727
ทั้งหมด:13574007
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 9) รถไฟความเร็วสูง 6





 

     จบตอนที่ 8 โดยทิ้งท้ายไว้ว่า จะนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ จะต้องมีทั้งเงินและความรู้ เพื่อยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น จึงจะขอเล่าเรื่องที่เคยไปด ูโรงซ่อมรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่ โอมิย่า ซึ่งทันสมัยขนาดที่ว่า ภาพหน้าตัดของล้อทุกล้อ (Wheel Profile) จะถูกบันทึกไว้ทันที โดยเครื่องอ่านที่ใช้แสงเลเซอร์ ในขณะที่รถวิ่งเข้าโรงซ่อม ภาพหน้าตัดที่บันทึกไว้ จะถูกนำไปเปรียบ กับหน้าตัดมาตรฐาน ฉะนั้น เมื่อรถถึงอู่ซ่อม ก็จะมีรายงานเรื่องล้อรออยู่แล้วว่า ล้อที่เท่าใด ของรถคันใดที่จะต้องทำการซ่อม หรือกลึงเพื่อขึ้นรูปใหม่

     ส่วนการซ่อมทางรถไฟนั้น จะมาใช้คนเดินตรวจ แบบที่เราทำกันอยู่ ก็ไม่ทันการ(ทันกิน) ฉะนั้น หลังเที่ยงคืน เมื่อขบวนรถสุดท้ายผ่านไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่ Dr. Yellow คือ รถตรวจสภาพทาง ซึ่งทาสีเหลือง ทั้งขบวน ออกทำหน้าที่ อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนรถ จะทำการบันทึกสภาพทาง การชำรุดของพื้นทาง การสึกหรอของราง สภาพสายส่งไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อเป็นข้อมูล ให้กับหน่วยซ่อม ดำเนินการซ่อมทันที ก่อนจะได้เวลา รถขบวนแรก ของวันรุ่งขึ้นออกวิ่ง

     ที่บรรยายออกมา เป็นตัวหนังสือให้ท่านที่อ่าน พอจะนึกภาพออกหรือไม่ครับว่า มันเกี่ยวกับเงิน และการบริหารจัดการ ซื้อเขาทุกอย่างแล้ว จะซ่อมให้ได้คุณภาพ แค่นี้ ก็หนักหนาพอดูแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ถ้านำวิธีแบบราชการ เข้าไปจัดการเรื่องคุณภาพด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ผู้เขียนเป็นวิศวกร ซึ่งทำหน้าที่บริหารโรงซ่อมรถจักร เช้าขึ้น เมื่อเข้าที่ทำงาน ก็ได้รับรายงานว่า รถด่วนพิเศษสายใต้ ชำรุดอยู่ที่ ราชบุรี พนักงานรถจักรแจ้งว่า ล้อรถจักรไม่หมุน เมื่อหน่วยซ่อมออกไปทำการแก้ไข จึงพบว่าล้อรถไฟยุบ "ยางมันแบน"

     เรื่องก็คือว่า ฝ่ายจัดหาล้อ เปิดประมูลซื้อล้อ ตามระเบียบของทางราชการ เผอิญไปได้ล้อ ราคาถูก จากประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งขณะนั้น ยังปกครองด้วย ระบบสังคมนิยมเข้มข้น (ไม่อยากเรียกว่าคอมมิวนิสต์) ฝีมือการผลิต ก็เป็นแบบสังคมนิยมเข้มข้น คือ มีฟองอากาศอยู่ข้างใน คนที่ไปเป็นวิศวกรตรวจ ถึงแม้ว่า จะไปจากประเทศ สังคมนิยมเจือจาง (ที่เรียกว่าประชาธิปไตย) แต่ก็ตรวจไม่พบ เพราะมันเกิดจา กขบวนการตอนผลิต ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในเนื้อข้างใน ถ้าจะตรวจให้เห็นได้ ต้องใช้ เครื่องเอ็กเรย์ (X-ray) หรือ คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound) ซึ่งขบวนการจัดซื้อ ตามระบบราชการ ของประเทศสารขัณฑ์ ใช้เวลาถกเถียงกัน มาเป็นสิบปีแล้ว ยังไม่เป็นที่ตกลงว่า จะซื้อเครื่องมือเช่นที่ว่าหรือไม่

     เมื่อผ่านการใช้งาน ไประยะหนึ่งแล้ว ล้อก็สึก ต้องกลึงขึ้นรูปใหม่ ที่เกิดเรื่อง ก็เพราะกลึงเข้าไป ใกล้ฟองอากาศข้างใน เนื้อเหล็กตรงนั้นก็บาง รับแรงกระแทกไม่ได้ จึงยุบลง คนขับก็ขับอย่างเดียวขับจริง ๆ ขับมันมาทั้งอย่างนั้น (น่าตัดเงินเดือน) แรงกระแทก ที่เกิดจากล้อไม่กลม ทำให้อุปกรณ์ใต้ท้องรถ หลุดออกจากที่ ไม่มีรายงานว่าอะไรหลุดไปบ้าง แต่ที่เป็นเรื่องก็เพราะ "ถังทราย" (เอาไว้โรยเพิ่มความฝืด เวลารางรถไฟลื่น) ใต้ท้องรถหลุดลงไปขัดล้อ ล้อเลยไม่หมุน สอบถามว่า เหตุใดจึงไม่แจ้งให้ชัดเจน ว่าถังทรายหลุด แจ้งไปว่าล้อไม่หมุน หน่วยซ่อมก็ไม่ได้เตรียมตัวมา ทำให้การแก้ไขล่าช้า คนขับเขาตอบได้น่ารักมากว่า “ก็มันมืด”

Image by greatkalli.blogspot.com

     ที่ยกตัวอย่างมาให้อ่านนี้ ก็เพราะอยากจะให้เห็นว่า เรื่องคนนี่ ก็ปัญหาหนึ่งล่ะ แต่ก็ไม่เป็นไร ยังพอหามาใหม่ มาฝึกกันใหม่ได้ แต่เรื่องล้อนี่ยาก จะซื้อล้อคุณภาพดี ต้องแพง เพราะผลิตออกมาร้อย ต้องคัดทิ้งยี่สิบ เนื่องจากไม่ผ่าน การควบคุมคุณภาพ ตรงนี้ คือ ต้นทุนของผู้ผลิต ที่ต้องนำไปบวก เข้ากับแปดสิบล้อ ที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ แต่ขืนไปซื้อเข้าละ ก็เป็นเรื่องเลย เพราะจะถูกกล่าวหาว่า ส่ออาการทุจริต ที่ซื้อของแพงมาใช้ ดังนั้น เมื่อต้องการซื้อของถูกมาใช้ ก็ต้องมีของที่ไม่ผ่าน การควบคุมคุณภาพ ปะปนมาบ้าง แบบว่าตาดีได้ ตาร้ายก็เสีย แต่ลองหลับตา นึกภาพว่า หากมีเรื่องล้อยุบเช่นนี้ เกิดขึ้นกับ ขบวนรถไฟความเร็วสูง ที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม. / ชม. ผลจะเป็นอย่างไร

     เรื่องล้อรถไฟที่ยกตัวอย่าง เป็นเรื่องเล็กๆ เรื่องเดียว บนขบวนรถไฟความเร็วสูง ยังมีอุปกรณ์ ที่ละเอียดอ่อน กว่านี้อีกมากมาย รถไฟความเร็วสูง จึงต้องเก็บค่าโดยสาร แพงกว่าเครื่องบิน ระบบการซ่อม ก็เป็นแบบเครื่องบิน คือ "ซ่อมก่อนที่จะเสีย" (Preventive Maintenance) คือจะเสียหรือไม่ เมื่อใช้ครบชั่วโมงแล้ว ต้องโยนทิ้ง จะมาพลิกคว่ำพลิกหงาย ดูแล้วใส่คืน อย่างที่ทำกันอยู่ไม่ได้ ประเทศที่ฉลาด เมื่อจะลงทุน สร้างรถไฟความเร็วสูง เขาจึงต้องตั้งเงื่อนไข เรื่องการถ่ายโอนเทคโนโลยี กล่าวคือ ถ้าต้องการจะขาย รถไฟความเร็วสูง ก็ต้องถ่ายทอด เทคโนโลยีมาด้วย วันข้างหน้า จะได้ผลิตอะไหล่เอง เงินจะได้หมุนเวียน ในประเทศ หลายรอบหน่อย ก่อนที่จะต้องจ่าย ให้กับพวกอาหรับ กลับไปเป็นค่าน้ำมัน

 
- จบตอนที่ 9 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-07-22 (2793 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©