Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311946
ทั่วไป:13590130
ทั้งหมด:13902076
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 11) รถไฟความเร็วสูง 8





 

     ขอพูดเรื่องรถไฟความเร็วสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกาต่อ วิชาการขนส่ง กล่าวว่า ความต้องการใช้บริการขนส่ง เป็น อุปสงค์โดยอ้อม (Derived Demand) คือ เป็นอุปสงค์ที่ถูกกำหนด โดยเหตุปัจจัยอื่น พูดอย่างชาวบ้านก็คือ คนเราไม่ได้ต้องการบริโภค การขนส่งโดยตรง แต่ใช้บริการขนส่ง เพราะต้องการทำอย่างอื่น ฉะนั้น ความเข้าใจในเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดอุปสงค์ในการขนส่ง จึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้เรา จัดการกับระบบขนส่ง ได้อย่างถูกหลักเกณฑ์

    เหตุปัจจัย ที่กำหนดอุปสงค์ในการขนส่ง คือ กิจกรรมการใช้ที่ดิน และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ภาษาอังกฤษคือ Land Use and Human Settlement แล้วสองอย่างนี้ ในประเทศอเมริกา กับประเทศไทย นั้น ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงไม่สามารถ นำทฤษฎีอย่างเดียวกัน มาใช้ได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกัน ต้องเทียบระหว่างรัฐ ๆ เดียว กับประเทศไทย อย่างนี้ก็พอจะเทียบกันได้ เช่น เทียบว่าการขนส่งใน เมืองเดนเวอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของรัฐโคโรราโด้ว่า เขาทำกันอย่างไร และการขนส่ง ระหว่างชานเมืองเดนเวอร์ กับตัวเมืองเขา ทำกันอย่างไร ถ้าอย่างนี้ ก็พอจะเปรียบเทียบกันได้ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน

     แต่ถ้าไปนำวิธีการขนส่งคน ระหว่าง เมืองเดนเวอรกับ เมืองซีแอตเทิ้ล (เมืองหลวงของรัฐ วอชิงตัน) มาเปรียบเทียบ กับประเทศไทย แล้วบอกว่า “เห็นไหม เขาเลิกใช้รถไฟกันแล้ว ใช้แต่เครื่องบิน” ความคิดอย่างนี้ ก็เลยเป็นที่มาว่า จะสร้างสนามบินให้ครบ 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย (ขณะนี้บางจังหวัด มีสนามบินตั้งสามแห่ง) อย่างนี้ไม่ถูกเรื่องแน่นอน

รถไฟ Amtrak Acela Express ของประเทศสหรัฐอเมริกา
(Image by http://thetransitcoalition.us)

     ที่เขียนมายืดยาวนี่ ก็เพื่อจะเรียนท่านที่อ่านว่า นอกจากอเมริกา จะไม่ใช่ไทยแลนด์แล้ว อเมริกาก็ไม่ใช่ยุโรปด้วย แต่ก็มีคนอเมริกันส่วนหนึ่ง ที่คิดเหมือนคนไทย คือ คิดว่าอเมริกาเป็นยุโรป ดังนั้น เมื่อเห็นพวกยุโรป ทำรถไฟความเร็วสูงนั่งกัน ก็อยากจะทำบ้าง แต่ดังที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า Land Use and Human Settlement เหมือนกันซะที่ไหน ยุโรปมีแต่ประเทศเล็กๆ เมืองหลวงอยู่ใกล้กัน แต่ที่อเมริกา ถ้าท่านเที่ยว ที่ดิสนี่ย์แลนด์เสร็จแล้ว ท่านอยากจะไปดู อนุสาวรีย์เสรีภาพ ท่านต้องนั่งเครื่องบินไปอีกห้าชั่วโมง

     เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เลยได้แต่คิด คิดจะทำ รถไฟความเร็วสูงที่ ลอสแอนเจลีส คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงที่ ซานฟรานซิสโก คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงที่ ซีแอตเทิ้ล และคิดจะทำรถไฟความเร็วสูง ตรงที่มีเมืองใหญ่ อยู่ไม่ไกลกันจนเกินไปนัก มีลักษณะ Land Use and Human Settlement ใกล้เคียงยุโรปอยู่บ้าง ว่าอย่างนั้นเถอะ บริเวณดังกล่าว คือ แถวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติค ด้านทิศเหนือ ได้แก่เมือง วอชิงตัน ดีซี. นิวยอร์ค และ บอสตัน แต่ทั้งหมดนี้ ก็เป็นได้เพียงโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ หลอกให้นักขาย รถไฟความเร็วสูงจากฝรั่งเศส และญี่ปุ่น หมดเงินหมดทองไปมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเป็นเรื่องเป็นราว สองประเทศนั่น เสียค่าการตลาดไปเป็นจำนวนมาก

     ที่นำอเมริกามาเขียนไว้หลังสุด ก็เพราะนโยบายไม่แน่ไม่นอน เดี๋ยวจะทำ เดี๋ยวจะไม่ทำ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ตอนแรกก็ว่า จะใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่น เดี๋ยวก็ว่า จะใช้เทคโนโลยีฝรั่งเศส ล่าสุดเพิ่งเห็นเรื่องลงตีพิมพ์ในหนังสือ Railway Gazette ว่า จะเปิดเดินขบวนรถไฟความเร็วสูง สรุปแล้ว ก็คือ จะมีรถไฟความเร็วสูงกับเขาบ้าง แต่คงจะไม่มีประเด็นอะไรที่เหลือให้หยิบมาเป็นจุดขายได้แล้ว

     ในระยะแรก ที่ รัฐบาล ยอร์ช ดับเบิ้ลยู บุช เข้าบริหารประเทศ ก็ทำท่าจะปล่อย Amtrak ล้มละลาย แต่หลังจากตั้ง David Gunn เข้ามาบริหารได้ปีเศษ ก็เริ่มจะเข้าใจเรื่องรถไฟมากขึ้น จึงมีข่าวคราว เรื่องรถไฟความเร็วสูง ออกมาสู่มวลชนมากขึ้น

     Amtrak เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่ตั้งขึ้นมาดูแลเรื่อง กิจการรถไฟขนส่งผู้โดยสารในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1972 ตั้งแต่ตั้งขึ้นมา ก็ลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอด ดังนั้น เมื่อเป็นหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมาย ให้จัดการ เรื่องรถไฟความเร็วสูง ก็เลยพลอยทำให้ การสร้างรถไฟความเร็วสูงในอเมริกา ลุ่มๆ ดอนๆ ตามไปด้วย

 
- จบตอนที่ 11 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-08-20 (2934 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©