Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570960
ทั้งหมด:13882856
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 13) : รถไฟความเร็วสูง 10





 

      ปี 2525 เมื่อผู้เขียนไปเป็นวิศวกรตรวจการสร้างรถจักรที่เมือง Kassel ในเยอรมนี ได้เห็นขบวนรถไฟแม่เหล็กที่กำลังอยู่ระหว่างทำการวิจัยและพัฒนาในโรงงานของบริษัท Thyssen Henschel แต่หลังจากนั้น ข่าวคราวก็เงียบหายไป (อาจเป็นไปได้ว่า ผู้เขียนตกข่าว) จนกระทั่งถึงประมาณปี 2539 หลังจากรวมตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกันแล้ว จึงปรากฏเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อรัฐบาล ของประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี ประกาศจะทำโครงการก่อสร้าง ระบบรถไฟแม่เหล็ก (Maglev) เชื่อมระหว่าง เมือง Hamburg ถึง Berlin โดยจะวิ่งเร็วถึง 500 กม. / ชม. และจะเปิดการเดินรถในปี 2006 หรือ พ.ศ. 2549 ข่าวดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้บริหารรถไฟตอนนั้น เกิดวิสัยทัศน์ว่า จะสร้างรถไฟระบบ Maglev ขึ้นในประเทศไทยบ้าง แล้วข่าวคราวก็เงียบหายไปอีกครั้งหนึ่ง

      จนเมื่อประมาณสามปีที่ผ่านมาเห็นจะได้ จึงมีข่าวว่า รัฐบาลเยอรมันได้ล้มเลิกโครงการสร้างระบบรถไฟ Maglev และขายเทคโนโลยีให้กับประเทศจีน ผู้เขียนจึงได้ติดตามข่าวต่อมาและได้ทราบข้อเท็จจริงว่า รัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งก่อนหน้านั้น กำลังคิดจะสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงแบบใช้ล้ออยู่ก่อนแล้ว พอได้สัมผัสกับเทคโนโลยี Maglev ก็เกิดความคิดว่า สร้างรถไฟความเร็วสูงแบบมีล้อเสร็จแล้วก็เท่านั้น ไม่มีอะไรที่แปลกไปกว่าที่เป็นอยู่ และก็คงจะไม่มีใครยอมรับนับถือว่า มีหน้ามีตาอะไรนัก เพราะไม่ใช่ของใหม่ เป็นของที่มีใช้กันอยู่ก่อนแล้วทั่วโลก แต่ถ้าหากเปลี่ยนมาคิดอีกแบบหนึ่ง คือ คิดถึงวันที่ประเทศจีนเปิดเดินขบวนรถไฟความเร็วสูงแบบ Maglev เป็นชาติแรกในโลกก่อนใครๆ ละก็ “It means something” มันจะเป็นอะไรที่ไม่ธรรมดา ค่อยสมศักดิ์ศรีของประเทศที่กำลังจะไต่เต้าขึ้นสู่ระดับชั้นผู้นำของโลกหน่อย

      คิดดังนั้นแล้ว รัฐบาลจึงสั่งให้หยุด โครงการรถไฟความเร็วสูง แบบมีล้อไว้ก่อน (เล่นเอาฝรั่งเศสฝันค้างไปเลย หมูจะหามอยู่แล้ว ถูกไส้กรอกเข้ามาสอด) แล้วจะเปลี่ยนมาทดลองสร้าง รถไฟแม่เหล็กสายสั้นๆ เชื่อมสนามบินใหม่ที่ผู่ตง กับสถานีรถไฟในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ดูก่อน ประมาณว่า จะใช้ตรงนี้ เป็นที่ทดลองเทคโนโลยีใหม่ จะดูให้แน่ใจว่า รถไฟแม่เหล็ก ที่เยอรมันออกแบบไว้ สามารถใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

German Maglev Train ของประเทศเยอรมนี
Image by http://jalopnik.com/

      ถ้าหากว่าใช้งานได้ผล สามารถวิ่งได้เร็ว 500 กม./ชม. จริง มีความทนทานต่อการใช้งาน ไม่วิ่งเดี๋ยวเดียวแล้วชำรุด และมีความปลอดภัย ไม่ลอยหลุดออกมานอกทาง หรือเกิดเหตุที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น อย่างนี้ แผนการสร้าง ระบบรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ของประเทศจีน ก็จะเลิกโครงการ สร้างรถไฟความเร็วสูงแบบมีล้อ เปลี่ยนเป็นการสร้างรถไฟ Maglev อย่างเต็มตัว จะเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นใหม่ ระบบใหม่แห่งแรกในโลก เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงระบบนี้ก็จะขยายออกไปทั่วประเทศจีน เป็นอย่างที่เขาเรียกว่า “The End of Transportation on Wheels” เป็นการสิ้นสุดของยุคสมัยที่ใช้ยานพาหนะแบบมีล้อมาทำการขนส่ง ปล่อยให้ฝรั่งเศสบ้าไปเลย เพราะเท่าที่ทราบ ฝรั่งเศสยังไม่ได้จับเรื่องเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาทำการวิจัยแม้แต่น้อย

      แต่ถ้าผลการใช้งานที่เมืองเซี่ยงไฮ้ กลับกลายเป็นตรงกันข้าม คือ ใช้งานไม่ได้ผล คราวนี้เยอรมัน ก็จะหน้าแตก ฝรั่งเศสก็จะยิ้มต้อนรับผู้กลับใจ พร้อมทั้งเตรียมฟัน เพราะรู้ว่าหมูอ้วน ๆ อย่างจีนไม่มีทางอื่นจะไปแล้ว ถ้าไม่ติดขัดที่ว่า ไปข่มเหงรังแกกันมาก เดี๋ยวญี่ปุ่นจะมาเสียบแทนละก็ จะบวกเพิ่มค่าเสียเวลา (ที่ให้รอ) ให้หนำใจเลย

      ประเทศญี่ปุ่นทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบรถไฟ Maglev อย่างจริงจังมากว่า 30 ปีแล้ว เสียเงินทองไปก็มิใช่น้อย แต่ติดขัดอะไร จึงยังไม่ยอมนำออกมาใช้งาน ผู้เขียนได้มีโอกาส ไปนั่งฟังการบรรยายเรื่อง Maglev ของญี่ปุ่นมาหลายครั้งแล้ว ก็ออกจะชื่นชม กับความรอบคอบ และใจเย็นของญี่ปุ่นที่ไม่รีบร้อน โดยเริ่มทำการทดลอง ด้วยรถต้นแบบเล็กๆ ยังไม่มีคนนั่ง มีเป้าหมายเพียงเพื่อ จะตรวจสอบความเป็นไปได้ ในด้านเทคนิคการออกแบบก่อน แล้วจึงค่อยเพิ่มระดับการเรียนรู้ขึ้น จนถึงขณะนี้ การทดลอง มีผลคืบหน้าไปมากแล้ว ปัจจุบัน ได้สร้างเส้นทางสำหรับวิ่งทดลอง ความยาว 18.4 กม. ไว้ที่เมืองโอสุกิ จังหวัดยามานาชิ รถทดลองรุ่นล่าสุดคือ MLX01 - 901 ซึ่งเป็นรถคันหน้า และ MLX01 - 22 ซึ่งเป็นรถคันตาม ทั้งสองคัน สามารถบรรทุกผู้โดยสารในระหว่างการวิ่งทดลองได้ด้วย

Superconducting Maglev Cars MLXO1 ของประเทศญี่ปุ่น
Image by http://www.n-sharyo.co.jp

      เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 มีรายงานออกมาว่า รถทดลองนี้ได้ผ่านการวิ่งใช้งานไปแล้ว รวมเป็นระยะทาง 176,000 กม. เป็นเวลาที่วิ่งทดลอง 613 วัน และมีผู้ขึ้นไปทดลองนั่งแล้ว เป็นจำนวน 26,000 คน ถ้าจีนสามารถเปิดเดินขบวนรถ Maglev เชื่อมระหว่างเมืองเซี่ยงไฮ้ กับสนามบินได้จริง ในปี 2547 ญี่ปุ่นก็พร้อมจะเปิดเดินรถ Maglev ของตนเองเพื่อไม่ให้น้อยหน้าได้เช่นเดียวกัน

      ผู้เขียนอ่านต้นฉบับรายงานเรื่องการทดลองวิ่งรถต้นแบบของญี่ปุ่นที่ ยามานาชิ ตั้ง 2 เที่ยว ยังไม่พบว่า รถทดลองวิ่งด้วยความเร็วเท่าใด แต่ไม่น่าจะทำความเร็วได้มากนักเพราะทางที่ใช้ทดลองยาวแค่ 18.4 กม. เท่านั้น เอาเป็นว่า เดาว่าคงจะไม่ต่ำกว่า 500 กม./ชม. เพราะถ้าช้ากว่านั้น ก็จะเป็นการเสียเชิงในเรื่องของการเป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูง นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังกล่าวว่าจะเปิดเดินรถเก็บสตางค์ค่าโดยสารในปี 2548

      ดูไปแล้ว สมรภูมิใหม่นี้ ก็คงเป็นการต่อสู้กัน อย่างดุเดือดระหว่าง Maglev ค่ายเยอรมันที่ขึ้นชกโดยจีน กับ Maglev ค่ายญี่ปุ่นซึ่งเจ้าของค่ายขึ้นชกเอง ว่าแต่อย่าให้เสียหน้า วิ่งแล้วพัง วิ่งแล้วชนกันเละ หรือหลุดลอย ออกมานอกทาง ต้องรีบเก็บของกลับบ้าน

 หากเคราะห์หามยามร้ายเกิดเป็นดังเช่นที่ว่าแล้ว แทนที่จะได้ชื่อ ก็กลับเสียชื่อหนักเข้าไปอีก

     

- จบตอนที่ 13 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-09-02 (3477 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©