RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311295
ทั่วไป:13272259
ทั้งหมด:13583554
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 14) : รถไฟความเร็วสูง 11





 

ทำไมจึงเรียกระบบขนส่งแบบนี้ว่า Maglev ?

     ที่เรียกอย่างนั้น ก็เพราะ เป็นรถไม่มีล้อ ใช้แม่เหล็กดันประคอง ให้ตัวรถยกลอยขึ้น เหนือพื้นทาง แล้วใช้ลิเนียร์มอเตอร์ ผลักให้เคลื่อนที่ ฟังดูแล้วก็เหมือนว่าง่าย แต่ตรงที่ว่าง่ายนี่แหละ ที่ใช้เวลาวิจัยกันมานานกว่า 30 ปี อยากรู้ว่ายากอย่างไร ก็ลองนึกภาพว่า จะต้องสร้างทาง ที่มีขดลวด สำหรับใช้สร้างสนามแม่เหล็ก เพื่อยกตัวรถให้ลอยขึ้น และต้องสร้างขดลวด ของมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนตัวรถ วางยาวไปตลอดทาง เป็นร้อยเป็นพันกิโลเมตร อยู่กลางแดดกลางฝนด้วย ทำอย่างไรจึงจะออกแบบ ให้สร้างได้ในราคาถูก และทนทาน ใช้งานได้นาน

     เหตุผลที่ญี่ปุ่นใช้เวลาทำการศึกษาวิจัย เป็นระยะเวลายาวนาน มีการเรียนรู้เรื่องรถไฟ Maglev ไปไกลกว่าใคร แต่ยังไม่ยอมเอาออกใช้งานนั้น ตามความเข้าใจของผู้เขียน น่าจะมีเหตุผลอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก ยังไม่อยากเอาเทคโนโลยีใหม่ มาทำลายเทคโนโลยีเก่า และ ประการที่สอง คือ ยังไม่แน่ใจ ในปัญหาทางเทคนิคบางอย่าง ซึ่งหากรีบร้อนเกินไป นำออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แล้วเกิดการเสียหาย จะกลายเป็นได้ไม่คุ้มเสีย

     เหตุผลประการแรก อธิบายได้โดยหลักการตลาด กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์ทุกตัว จะมีอายุการวางจำหน่าย อยู่ในตลาด (Product Life Cycle) ผลิตภัณฑ์แต่ละตัว ต้องใช้งบประมาณในการวิจัย และพัฒนาจำนวนมหาศาล กว่าจะมาถึงขั้นการวางตลาด เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์คืน หากผลิตภัณฑ์มีอายุการวางจำหน่าย อยู่ในตลาดยาวนาน ก็จะยิ่งเป็นเรื่องดี เพราะมีโอกาสจะคืนทุนสูง ดังนั้น ถ้าตลาดไม่มีการแข่งขันมากนัก ผู้ผลิตก็จะพยายาม ยืดอายุการวางจำหน่าย ให้นานที่สุดจนกว่าลูกค้าจะเบื่อ ซึ่งก็คือ เมื่อตลาดอิ่มตัว ด้วยสินค้าตัวนั้นเอง แต่ในโลก ที่มีการแข่งขัน กันอย่างเข้มข้น คู่แข่งจะทำให้อายุการวางจำหน่ายสั้นลง เพราะจะมีผู้เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาสู่ตลาดตลอดเวลา ลูกค้าจึงมีทางเลือกอื่น เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการ ก็จะมีเวลา ในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จากผลิตภัณฑ์แต่ละตัวได้สั้นลง

     ก็เช่นเดียวกัน Maglev ที่มีเยอรมัน และจีน เป็นตัวชูโรง ก็กำลังจะทำให้ช่วงเวลา ในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ของรถไฟความเร็วสูงสั้นลง คนที่เดือดร้อน คือ ฝรั่งเศส กับญี่ปุ่น

     หลักการตลาดที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาฆ่าผลิตภัณฑ์เดิมนี้ เคยเห็นของจริง จากประสบการณ์เมื่อปี 2525 – 26 ซึ่งผู้เขียนมีโอกาส ไปดูศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ของ บริษัท โซนี่ ที่ประเทศญี่ปุ่น ขณะนั้น บริษัท โซนี่ ได้คิดค้นเครื่องเล่นเสียง CD สำเร็จ และได้ผลิตสินค้าต้นแบบ ตั้งแสดงอยู่ก่อนแล้ว แต่บริษัทก็ยังไม่นำออกวางจำหน่าย เพราะจะทำให้ผลิตภัณฑ์เดิม คือ เครื่องเล่นเทป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุเทป Walkman ที่เพิ่งออกสู่ตลาด ต้องหมดอายุการวางจำหน่ายไปทันที ทั้งที่เสียเงิน เสียเวลา ทำการค้นคิดผลิตภัณฑ์มานาน เสียค่าทำโปรแกรม ส่งเสริมการขายไปมากมาย แต่ในที่สุด เมื่อบริษัทเครื่องเสียงอื่น นำเครื่องเล่น CD ออกมาวางจำหน่าย บริษัท โซนี่ ก็ต้องนำสินค้าของตนเอง ออกจำหน่ายด้วย ซึ่งตรงนั้น ได้นำไปสู่จุดจบ ของเทคโนโลยีแอนนาลอค Analog และเป็นจุดเริ่มต้น ของเทคโนโลยีดิจิทอล Digital ในตลาดเครื่องเล่นเสียง

     หากถามว่า อายุการวางจำหน่าย ของรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้อยู่ตรงไหน ผู้เขียนคิดว่า ยังไม่ถึงจุดสูงสุดด้วยซ้ำไป ถ้าไม่มีใครนำ Maglev Technology เข้ามาแทรก ในตลาดผลิตภัณฑ์รถไฟความเร็วสูง ก็คงจะขายไปได้อีกนาน แต่เหมือนอย่างเคย ญี่ปุ่นก็เตรียมความพร้อม ไว้อีกขั้นหนึ่งแล้ว โดยได้ทำการศึกษา และวิจัยเรื่อง Maglev มานานมาก แทบจะกล่าวว่า เรียนรู้มามากกว่าใครทั้งหมด แต่เยอรมันมาจากไหนก็ไม่รู้ กำลังจะฆ่าตลาดรถไฟความเร็วสูงแบบมีล้อ ที่ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น กำลังตักตวงผลประโยชน์ด้วยเทคโนโลยี Maglev อย่างนี้ก็ต้องสู้กันหน่อย

รถไฟความเร็วสูงแบบแม่เหล็ก Maglev ของประเทศจีน
ซึ่งสร้างโดยเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมัน มูลค่า 1.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Image by http://people.hofstra.edu

     ท่านที่ได้อ่านเรื่องรถไฟความเร็วสูง มาตั้งแต่ต้น ก็คงไม่แปลกใจ ที่เยอรมันจะต้องทำอย่างนี้ ซ้ำร้าย ยังเดินเกมส์อย่างเหนือชั้นกว่า โดยยืมมือจีน เป็นคนทำการทดลอง ถ้าล้มเหลว คนที่จ่ายเละเลยก็คือ จีน

     ส่วนเหตุผลประการที่สองที่ว่า ญี่ปุ่นยังไม่นำ Maglev ออกใช้งาน เนื่องจากกำลังแก้ไข บางสิ่งบางอย่างทางด้านเทคนิค ก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะ Maglev ของสองค่ายนี้ ต่างกันในหลักการออกแบบ (เท่าที่ผู้เขียนทราบ) กล่าวคือ ประการแรก สมมติว่านำเอามอเตอร์พัดลม มาผ่าซีกแล้วคลี่ออกตามยาว ก็จะกลายเป็น ลิเนียร์มอเตอร์

     ถ้าเป็นระบบ Maglev ของญี่ปุ่น จะเป็นแบบที่เรียกว่า ลิเนียร์อินดั๊คชั่น มอเตอร์ฝานอกของมอเตอร์ที่เรียกว่า Stator จะอยู่ด้านตัวรถ (Car Side) ส่วนแกนหมุนข้างในที่เรียกว่า Rotor จะอยู่ด้านทางวิ่ง (Track Side)

     แต่ถ้าเป็น Maglev ของเยอรมัน จะเป็นแบบที่เรียกว่า ลิเนียร์ซิงโครนัสมอเตอร์ จะกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ ฝานอกของมอเตอร์จะอยู่ด้านทางวิ่ง ส่วนแกนหมุนจะอยู่ข้างตัวรถ

โดยต่างฝ่ายก็อ้างว่า ของตนเองมีข้อดี มากกว่าข้อเสีย

     

- จบตอนที่ 14 -
 

 
อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม
โดย อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)
เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice
ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie









สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.

อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน

ติดประกาศ: 2007-09-02 (4083 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]


Content ©